จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดการความรู้


เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน จึงควรจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและเผยแพร่องค์ความรู้แก่โรงเรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษานำไปสู่การพัฒนาการจัดการความรู้ที่ยั่งยืนต่อไป

โครงการ                                       จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ

                                                       ขององค์กรในระดับเขตพื้นที่การศึกษา

กลยุทธ์                                         เร่งปฏิรูปการศึกษา บุคลากร กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ลักษณะโครงการ                        ต่อเนื่อง

หน่วยงานที่รับผิดชอบ             กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา

                                                       สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 3

ผู้รับผิดชอบ                                 นายวิชิต  เยี่ยมเวหา  นายวีระ  ทะคะทิน  และนายยอดทอง  จันดาวัลย์

ระยะเวลาดำเนินการ                 เดือนพฤษภาคม -  เดือนมิถุนายน  2550

1.  หลักการและเหตุผล                ด้วยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 3  ได้รับคัดเลือกให้เป็นกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรทางการศึกษาด้วยการจัดการความรู้ ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม มีโรงเรียนนำร่องในการดำเนินการจำนวน 6  โรงเรียน คือ โรงเรียนหนองหานวิทยา  โรงเรียนบ้านดุงวิทยา  โรงเรียนชุมชนคำตาหนองกุง  โรงเรียนร่มเกล้า 2  โรงเรียนอนุบาลกู่แก้ว  และโรงเรียนบ้านหว้านใหญ่ประชาคม   ซึ่งกำลังดำเนินการในระหว่าง เดือนมีนาคม  2549 มีนาคม  2550  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โรงเรียน นำหลักการและแนวทางการจัดการความรู้มาประยุกต์ใช้ ทำให้เกิดการนำสติปัญญาขององค์กรมาเพิ่มพลังในการเรียนรู้ การเข้าถึงความรู้ การรู้จักเลือกใช้ ดัดแปลง ปรับปรุง ต่อยอดความรู้ที่มีอยู่เดิมและหรือสร้างความรู้ใหม่ อันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของสถานศึกษา ในสังกัดที่จัดและสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับเด็กและเยาวชนต่อไป  ซึ่งการดำเนินงานโครงการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จากการนิเทศติดตามจากหน่วยงานเจ้าของโครงการวิจัยเองและจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอย่างต่อเนื่อง  ทำให้เกิดผลด้านการปฏิบัติที่น่าพึงพอใจ   เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน  จึงควรจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและเผยแพร่องค์ความรู้แก่โรงเรียนในระดับเขตพื้นที่การศึกษานำไปสู่การพัฒนาการจัดการความรู้ที่ยั่งยืนต่อไป  2.  วัตถุประสงค์

                2.1  เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้โรงเรียนสามารถบริหารและจัดการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพมากยิ่งขึ้น

                2.2   เพื่อให้โรงเรียนมีการนำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

                2.3   เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานองค์ความรู้และประสบการณ์ให้กับโรงเรียนในสังกัดที่ไม่ได้ร่วมโครงการได้ร่วมศึกษา ตระหนัก เรียนรู้ร่วมกัน และนำความรู้กลับไปพัฒนาการจัดการความรู้ในโรงเรียน3.  เป้าหมาย

                3.1  ผลผลิต (Outputs)

                       โรงเรียนโครงการจัดการความรู้   6  โรงเรียน คือ โรงเรียนหนองหานวิทยา  โรงเรียนบ้านดุงวิทยา  โรงเรียนชุมชนคำตาหนองกุง  โรงเรียนร่มเกล้า 2  โรงเรียนอนุบาลกู่แก้ว  และโรงเรียนบ้านหว้านใหญ่ประชาคม  มีการการจัดการความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

                3.2  ผลลัพธ์ (Outcomes)

                        3.2.1  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 3  มีโรงเรียนแบบอย่างที่ดีในการจัดการความรู้                     3.2.2  ผู้เรียน ครู  ชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียน

4.  กิจกรรมการดำเนินการ           4.1 ให้โรงเรียนโครงการจัดการความรู้ทั้ง 6 โรงเรียน นำผลงานมาจัดนิทรรศการ(ตลาดการเรียนรู้)ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี  เขต 3           4.2 ประชาสัมพันธ์  เชิญชวนโรงเรียนในสังกัดชมนิทรรศการ

         4.3 ประเมินผลและรายงาน

5.  งบประมาณ

                      ใช้งบประมาณจากสำนักงานโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมฯ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา   จำนวน 15,000    บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

 
รายการ งบประมาณที่ใช้
ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ
1. จัดสรรให้โรงเรียนโครงการฯ จำนวน 6  โรงเรียนๆละ 2,000  บาท  เป็นค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ

2. ค่าวัสดุและจัดทำเอกสารประชุมและการเผยแพร่ผลงาน

3. ค่าอาหาร/อาหารว่าง/เครื่องดื่ม ในวันประชุมวางแผนการดำเนินการ จำนวน 25  คน  คนละ 80 บาท  1 วัน (อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 2 มื้อ และอาหารกลางวัน ถัวจ่ายคนละ 80 บาท) รวม  2,000  บาท
        

2,000

 

12,000 

1,000

    
รวมงบประมาณทั้งสิ้น (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วนทั้งนี้ขอถัวจ่ายทุกรายการ)

-

2,000

13,000

15,000  บาท
   6.  การประเมินผล 
ตัวชี้วัดความสำเร็จ วิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้
ผลผลิตโรงเรียนสามารถนำผลงานโครงการจัดการความรู้จัดนิทรรศการเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ  

การสังเกต  การสอบถาม

การสำรวจ  และการประเมินผลงานที่นำมาจัดเวทีการแสดงผลงาน

 

-แบบสังเกต

แบบสำรวจ แบบประเมินผลงาน

ผลลัพธ์ร้อยละความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู นักเรียนที่นำผลงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และโรงเรียนในสังกัดที่มาศึกษาดูงานการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  สำรวจและการสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน  ครู  และชุมชน  

- แบบสำรวจ

- แบบสอบถาม

 

7.  ผลผลิตที่ได้ (ผลที่คาดว่าจะได้รับ)

              โรงเรียนโครงการจัดการความรู้สามารถนำเสนอผลงานได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพและสามารถเป็นโรงเรียนแบบอย่างที่ดีในการบริหารและจัดการความรู้  โรงเรียนที่สนใจศึกษาดูงานสามารถนำไปประยุกต์ใช้  และนำประสบการณ์จากการศึกษาไปเป็นรูปแบบในการจัดการความรู้ในโรงเรียนของตนได้
คำสำคัญ (Tags): #erkm
หมายเลขบันทึก: 96920เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2007 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 11:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท