ส่งกำลังใจ เด็กไทยไปแข่งหุ่นยนต์กู้ภัยชิงแชมป์โลก


ข่าวประชาสัมพันธ์ ส่งใจเชียร์ "คนเก่ง พระนครเหนือ" แข่งหุ่นยนต์กู้ภัยชิงแชมป์โลก

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจพ. ได้สนับสนุนนักศึกษาในการแข่งขันเกี่ยวกับหุ่นยนต์มาต่อเนื่องกันหลายปีแล้ว ตั้งแต่ในช่วงคณบดีท่านที่ผ่านมา (อ.ศิริศักดิ์) จนปัจจุบัน มีทั้งการสนับสนุนให้ไปแข่ง แล้วก็มี Robot Camp สำหรับเด็กประถมตอนช่วง Summer ด้วยค่ะ

แต่ละปีหุ่นที่ส่งก็ได้รับรางวัลในระดับประเทศ และนานาชาติมาอย่างต่อเนื่อง นับเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมยินดี ที่เด็กไทยมีความสามารถดีมาก ถ้าได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสม (สามารถดู KMITNB Robot Hall of Fame ได้ที่นี่ค่ะ)

วันนี้อ่านมติชน เห็นข่าวประชาสัมพันธ์ ส่งใจเชียร์ "คนเก่ง พระนครเหนือ" แข่งหุ่นยนต์กู้ภัยชิงแชมป์โลก ก็เลยนำมาประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมใน gotoknow ด้วยค่ะ เป็นกำลังใจให้เด็กไทย ที่กำลังไปแข่งในระดับโลกด้วยกันค่ะ (ปีที่แล้วเด็กไทยจาก สจพ. ก็เป็นแชมป์โลกในรายการนี้ค่ะ)

งานหุ่นยนต์ที่เด็กๆ กำลังจะไปนั้นคืองาน World Robocup Rescue 2007 จัดที่ Atlanta, Georgia, USA  เห็นบอกกันว่าจะออกเดินทางในวันที่ ๑ ก.ค. นี้ (งานจัดระหว่างวันที่ ๓-๘ ก.ค.)  แต่หุ่นยนต์ต้อง Pack ส่งล่วงหน้าก่อน  พอไปถึงแล้วยังคงต้องไปเตรียมงานให้ทันแข่งอีกมาก ไหนจะต้องปรับตัว ไหนจะ jet lack อีก และคงต้อง unpack หุ่นยนต์และซ้อมให้ดี เพราะถ้ามีอะไรระหว่างการขนส่ง ก็คงหา  spare part หรือ ซ่อมค่อนข้างยาก นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งของเด็กๆ ๒ ทีมนี้

ดูรายชื่อและภาพของหุ่นยนต์และเด็กๆ + ทีมงานเบื้องหลังได้ที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์เปิดตัวทีมเยาวชน สู้ศึกหุ่นยนต์กู้ภัยที่สหรัฐอเมริกา และดูรายละเอียดของหุ่นยนต์ที่จะไปแข่งเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ

ฝากทุกท่านส่งกำลังใจให้เด็กไทยเหล่านี้ด้วยกันนะคะและขอขอบคุณบริษัทเครือซีเมนต์ไทยที่เป็นผู้สนับสนุนหลักในการส่งเด็ก ๒ ทีมนี่ไปแข่งด้วยค่ะ

หมายเลขบันทึก: 106255เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2007 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)
  • เข้ามาเป็นกำลังใจให้เด็กไทย และ "คนเก่งพระนครเหนือ" ทุกๆคนค่ะ...รวมถึงทีมงาน  คณาจารย์ที่เกี่ยวข้องด้วยค่ะ.....ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ....แพ้ชนะไม่สำคัญ...พวกท่านชนะใจผู้ชมแล้วค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกค่ะ

ขอบคุณคุณกฤษณา มากๆ เลยนะคะ สำหรับกำลังใจ

ตอนนี้มีเรื่องอะไรดีๆ เกี่ยวกับเด็กๆ ต้องรีบนำมาประชาสัมพันธ์เพิ่มจำนวนข่าวดีในสื่อค่ะ ^ ^

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะเรื่องการแพ้ชนะไม่ใช่เรื่องสำคัญ

ที่สำคัญคือประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กที่จะได้จากการแข่งขันต่างหากค่ะ

จริงๆ แล้วยังมีเด็กๆ อีกเยอะค่ะที่ทำงานหุ่นยนต์ ดิฉันเห็นเขาอยู่ดึกดื่นใต้อาคารเรียน ทำหุ่นยนต์กันอยู่บ่อยๆ ค่ะ ถ้ามาเช้าๆ ก็จะเห็นเด็กๆ นอนกันอยู่แถวนั้นด้วย ดูแล้วก็ขำดีค่ะ สภาพดูไม่ได้เลยค่ะ แต่เด็กๆ เขาเก่งและมีมานะพยายามดีค่ะ สิ่งเหล่านี้ก็จะติดตัวเขาไปค่ะ

ขอบคุณที่แวะเข้ามาส่งกำลังใจนะคะ ^ ^

สวัสดีครับพี่กมลวัลย์

      ขอเป็นกำลังใจให้น้องๆ ทุกคน โชคดีและสนุกในการพบประสบการณ์ครั้งใหม่ครับ ขอให้องค์กรที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ด้วยครับ จะได้ช่วยกันส่งเสริมน้องๆ ที่ทำๆ กันอยู่ และน้องๆ รุ่นใหม่ๆที่สนใจครับ ขอให้สู้ให้เต็มที่ครับ

      เชียร์ขาดใจจากเยอรมันครับผม...

เม้งครับ

  • สวัสดีครับ
  • อันที่จริงสถาบันของอาจารย์เชี่ยวชาญและสันทัด  รวมถึงการมีชื่อเสียงในกิจกรรมประเภทนี้อย่างชัดเจนอยู่แล้ว
  • ในระดับประเทศ  ผมจึงไม่แปลกใจที่ประสบความสำเร็จมาอย่างท่วมท้น
  • รวมถึงนานาชาติก็เคยผงาดมาแล้วชัดเจน 
  • สิ่งเหล่านี้   สะท้อนถึงศักยภาพของสถาบันที่ควรค่าต่อการเอาเป็นแบบอย่าง ..
  • ผมชื่นชมและขอเป็นกำลังใจในเวทีเหล่านั้นนะครับ -

สวัสดีค่ะน้องเม้ง

วันนี้ไม่ได้ log in หรือคะ ^ ^ 

ขอบคุณแรงใจจากเยอรมันค่ะ เมื่อปีที่แล้วถ้าจำไม่ผิดเขาไปแข่ง Rescue Robot ที่ Bremen นะคะ งานนั้นชนะแชมป์โลกมาด้วย ที่สจพ.ดีใจกันมากๆ ค่ะ ^ ^ เสียดายตอนนั้นยังไม่รู้จักน้องเม้ง ไม่งั้นจะให้ไปเชียร์ข้างสนาม อิอิ (ไม่รู้ไกลหรือเปล่า แต่ไม่สน 555)

ปีนี้ไม่รู้จะเป็นอย่างไร..แต่แพ้ชนะไม่เป็นไรค่ะ เพราะเด็กๆ ได้ประสบการณ์ เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับน้องๆ รุ่นใหม่ๆ พี่ว่ามีการเรียนรู้ในการแข่งขันเยอะมากเลย ได้ engineer กันจริงเพราะคงต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ใช้ทั้งทักษะและ skill มากๆ เลยค่ะ ได้ข่าวแว่วๆ ว่าปีที่แล้วชนะเพราะโปรแกรมเราดี และ controller ของเราเก่งค่ะ ควบคุมหุ่นได้ดีมาก แต่ถ้าเทียบอุปกรณ์ของเรากับทีมอเมริกากับญี่ปุ่นแล้ว เห็นเขาบอกว่าอุปกรณ์ของเราเหมือนของเซียงกงเลย 55555  จะเห็นได้ว่าเด็กไทยเราเก่งขนาดไหน ^ ^ ขอโม้หน่อย..อิอิ

ขอบคุณสำหรับแรงใจจากเยอรมันนะคะ ^ ^

สวัสดีค่ะคุณแผ่นดิน

จริงค่ะที่สจพ.อาจมีประสบการณ์มากกว่า เพราะเริ่มทำมาก่อน แต่จริงๆ เราก็มีจุดอ่อนเยอะค่ะ ^ ^ เงินทุนก็เป็นส่วนหนึ่งค่ะ  ถ้าเราไม่ได้ชนะมาเรื่อยๆ คงหา sponsor ได้ยากค่ะ

ปัจจัยอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้ได้รางวัลมาเรื่อยๆ อีกอันหนึ่งคือประสบการณ์ค่ะ ตอนนี้นักศึกษาที่เริ่มเข้างานหุ่นยนต์จะเริ่มตั้งแต่ปี ๒  ในแต่ละทีมจะมีนักศึกษาจากหลายชั้นปีสืบทอดความรู้กัน และมาจากหลายภาควิชาค่ะ การเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์กันในทีมเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ค่ะ ถ้ามองในมุม KM นับเป็น Tacit Knowledge ที่คนอื่นเรียนรู้ได้ยากค่ะ

อีกปัจจัยที่สำคัญมากคือกลุ่มพี่เลี้ยงที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในกลุ่มค่ะ เพราะจะเป็นคนไกด์ให้นักศึกษาและแก้ไขปัญหาต่างๆ ทั้งในเรื่องทางเทคนิคระหว่างทำหุ่น ระหว่างแข่ง และในเรื่องระเบียบจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ เรื่องเงินๆ ทองๆ ในการซื้ออุปกรณ์น่ะค่ะ

ดิฉันว่าถ้าสถาบันอื่นๆ สนับสนุนกิจกรรมเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง (เหมือนที่ดิฉันเห็นคุณแผ่นดินดูแลนักศึกษาที่มมส.) ก็จะประสบความสำเร็จเหมือนกันค่ะ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะคะ จะเอาไปบอกอาจารย์ผู้ควบคุมทีมค่ะ ^ ^

  • ตามมาเชียร์เด็กไทยด้วยคน
  • คนไทยเก่งๆๆมีมากเสียดายขาดโอกาสครับอาจารย์
  • ขอเอาใจช่ายผู้ควบคุมทีมด้วยคนครับผม

ขอบคุณหลายๆ ค่ะ อ.ขจิต ฝอยทอง

จริงค่ะเด็กไทยเก่งๆ มีเยอะเลยค่ะ น่าเสียดายบางคนไม่ได้โอกาสจริงๆ แล้วก็น่าตีบางคนที่มีโอกาสแล้วไม่ใด้ใช้อย่างเต็มที่เหมือนกันค่ะ (กำลังนึกถึงเด็กขี้เกียจบางคนค่ะ ^ ^  )

แล้วจะไปบอกอาจารย์ผู้ควบคุมทีมให้นะคะ

ขอบคุณมากๆ สำหรับกำลังใจค่ะ ^ ^

  • อ่านบันทึกแล้วทำให้เข้าใจเด็กๆมากขึ้นค่ะ...บางคราวลูกขอไปทำกิจกรรมกลับดึกๆ...เราก็เป็นห่วง  กลัวเหลวไหล.....เห็นเขาเหน็ดเหนื่อยกันอย่างนี้แล้วต้องยิ่งให้กำลังใจค่ะ
  • ขอเป็นกำลังใจให้เด็กๆเสมอค่ะ

สวัสดีค่ะ

อ่านแล้วปลื้มค่ะ เป็นโรคชอบปลื้มกับเด็กเก่งๆ ทำไงจะให้ความเก่งนี้กลายเป็นโรคระบาด แพร่ไปทั่วๆประเทศละคะ

เด็กบางคนหัวดี แต่ไม่มีแรงบันดาลใจ น่าให้เขามาดูตัวอย่างนะคะ

เห็นเขาบอกว่าอุปกรณ์ของเราเหมือนของเซียงกงเลย 55555  จะเห็นได้ว่าเด็กไทยเราเก่งขนาดไหน ^ ^ ขอโม้หน่อย..อิอิ

อย่างนี้ เรียกว่า เก่งจริงค่ะ ถ้าพร้อมหมดทุกอย่าง ก็ยังเก่งไม่เท่าค่ะ

สวัสดีค่ะคุณกฤษณา

ขอบคุณสำหรับกำลังใจอีกรอบนะคะ ^ ^

เรื่องเด็กมาทำงานดึกๆ ค้างคืนดิฉันบางทีก็ไม่เห็นด้วยหรอกค่ะ เพราะบางทีก็สุ่มเสี่ยงเหมือนกัน แต่กรณีนี้เขามีที่สำหรับทำงานนี้โดยเฉพาะ เพียงแต่น่าเสียดายที่เราไม่มีพื้นที่มากพอที่จะกั้นห้องเป็น Lab ให้เขาใช้กันถาวรได้ ส่วนใหญ่จะใช้พื้นที่โล่งใต้อาคารเรียนมากั้นชั่วคราวเป็น lab ค่ะ เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ชัดว่าเด็กทำอะไรกันบ้าง ดีไปอย่างค่ะ เพราะก็มีแล้วเหมือนกันที่เด็กไปมั่วสุมในพื้นที่หรือห้องที่มิดชิดที่จัดไว้ไห้ชมรมต่างๆ น่ะค่ะ แต่อันนี้ไม่ใช่กรณีเด็กที่ทำงาน robot นะคะ พูดถึงกรณีทั่วๆไปน่ะค่ะ

ดิฉันว่าถ้าน้องเขาขออยู่ดึกเพื่อทำโครงการ แล้วตรวจสอบได้ว่ามีกิจกรรมกันจริง และมีครูผู้ดูแลโครงการรับทราบ มีพื้นที่ทำงานชัดเจน ดิฉันคิดว่าน่าจะอนุญาตให้ไปได้ค่ะ เพราะถ้าเป็นโครงการที่มีอาจารย์ผู้ดูแลชัดเจน อาจารย์เขาจะคอยกำกับอยู่ค่ะน่าจะพอไว้ใจได้อยู่ เด็กๆ จะได้เรียนรู้เยอะจากการทำงานร่วมกัน ตัดสินใจร่วมกันเป็นทีมงาน ดิฉันว่าได้ประสบการณ์เยอะค่ะ อันนี้มองจากมุมของงานหุ่นยนต์นี้นะคะ

ขอบคุณที่แวะเข้ามา ลปรร อีกครั้งค่ะ  ^ ^

สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์ (sasinanda)

ดิฉันก็เป็นปลื้มเหมือนกันค่ะ เลยเอามาประชาสัมพันธ์กันเยอะๆ ค่ะ ทำให้นึกได้ว่าจุฬาฯ ก็มีอีกทีมหนึ่งค่ะ แต่เป็นหุ่นยนต์แข่งแตะฟุตบอลค่ะ ดูรายละเอียดได้ที่นี่ กับที่นี่ ค่ะ เอารูปที่เขาลงไว้มาแปะไว้ที่นี่ด้วยแล้วค่ะ ปีที่แล้วทีมนี้ก็ได้ที่ 3 ในการแข่งที่เยอรมันด้วยนะคะ ปีนี้เขาก็ไปที่อเมริกาด้วยค่ะ แต่แข่งคนละประเภทกับของสจพ.ค่ะ

แชมป์ประเทศไทย

มีอีกทีมให้เชียร์ด้วยแล้วค่ะ ^ ^ น่าปลื้มใจจริงๆ เลยนะคะ

เรื่องเงินทุนของทีมไทยดิฉันว่าคงเป็นรองอเมริกา ญี่ปุ่น กับเยอรมันเยอะค่ะ ปีนี้ไปแข่งที่อเมริกาคงมีหลายทีมจากหลายมหาวิทยาลัยในอเมริกาเข้าแข่ง ดิฉันว่าการที่เรามีอุปกรณ์ที่ไม่ค่อยดีนักทำให้เราได้เปรียบค่ะ เพราะเราต้องคิดเตรียมพร้อมแก้ปัญหาไว้ล่วงหน้าเยอะ เรียกได้ว่าต้องจัดกลยุทธ์ไว้เยอะค่ะ เด็กๆ พวกนี้ดิฉันจัดว่าเขาเป็นวิศวกรน้อยจริงๆ เลยค่ะ

ดีใจมากๆ เลยที่เรามีเด็กเก่งๆ ที่เป็นตัวอย่างให้กับเด็กๆ ในรุ่นต่อๆ ไป ต้องประชาสัมพันธ์กันให้มากๆ ค่ะ จะได้เห็นตัวอย่างดีๆ กันเยอะๆ ค่ะ

ขอบคุณที่แวะเข้ามาให้กำลังใจส่งแรงเชียร์เด็กๆ นะคะ...

สวัสดีครับอาจารย์กมลวัลย์

แวะมาเป็นกำลังใจให้ทีมหุ่นยนต์กู้ภัยทั้ง ๒ ทีมครับ

ชอบใจความคิดเห็นของคุณศศินันท์ที่ว่า"ทำไงจะให้ความเก่งนี้กลายเป็นโรคระบาด แพร่ไปทั่วๆประเทศล่ะคะ"  ถ้าทำได้ประเทศไทยคงเขยิบไปเป็นประเทศพัฒนาได้แน่ครับ 

น่าจะเป็น"ปัญหาที่ท้าทาย"สำหรับผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบกระทรวงศึกษาธิการนะครับ

  • สวัสดีค่ะ ..

มาส่งกำลังใจให้น้อง ๆ ค่ะ 

  • ตามลุ้นตามเชียร์ "คนเก่งพระนครเหนือ"
  • เท่าที่ติดตามข่าวคราวของนักศึกษา สถาบันมีชื่อเสียงในเรื่องนี้มากจริง ๆนะ ก็ดีเหมือนกัน เก่งคนละด้าน ช่วยชื่อเสียงให้กับประเทศ

สวัสดีค่ะ อ.ศิริศักดิ์

อ่านแล้วรำลึกความหลังตอนเป็นคณบดีบ้างไหมคะ ^ ^ จำได้ว่าอาจารย์กับอ.วรา ไปเฝ้าเชียร์มากกว่าคนอื่นๆ... จำได้ว่าเหนื่อยกันน่าดู ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่..

เรื่อง"ทำไงจะให้ความเก่งนี้กลายเป็นโรคระบาด แพร่ไปทั่วๆประเทศล่ะคะ"นั้น ดิฉันว่าคงต้องทำกันเองแบบนี้ไปก่อน เพราะรอท่านๆ ในกระทรวงไม่ไหวค่ะ เขาอาจคิดว่าให้งบรวมมาแล้ว ให้ไปจัดการกันเองก็ได้กระมังคะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์สำหรับกำลังใจ ^ ^ เขียนไปบอกอาจารย์วราให้มาอ่านบันทึกแล้วค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ

P

และคุณ

P

ขอขอบคุณมากๆ นะคะ สำหรับกำลังใจให้เด็กๆ ค่ะ

ดิฉันก็เชื่อว่ายังมีเด็กเก่งๆ อีกมากเลยค่ะ เพียงแต่ยังไม่มีเวทีให้เขา และก็ยังไม่ได้รับการสนับสนุน 

ตอนนี้เราสนับสนุนได้ก็เพียงกำลังใจ ซึ่งก็เต็มร้อยอยู่แล้วค่ะ

ขอบคุณอีกครั้งที่แวะมาเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจนะคะ

  • สวัสดีค่ะ อ.กมลวัลย์
  • อ่านบันทึกนี้ก็รู้สึกภูมิใจกับต้นกล้าของไทยที่จะเดินทางไปสร้างชื่อเสียงนะคะ
  • ขอเป็นกำลังใจให้เด็กไทยทุก ๆ คนที่จะไปแข่งขัน  แพ้...ชนะ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่การทีได้มีโอกาสไปร่วมเวทีนี้เป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับเด็กมาก ๆ เลยค่ะ
  • เด็กไทย... สู้...สู้.. ค่ะ

ขอบคุณคุณ P อ้อ - สุชานาถ มากเลยนะคะ สำหรับกำลังใจให้เด็กๆ ต้นกล้าเหล่านี้ค่ะ ^ ^

เอาข้อมูล กฎ กติกา กำหนดการเบื้องต้น และรูปของสนาม rescue robot มาฝากกันค่ะ

อ่านดูคร่าวๆ แล้ว หุ่นต้องเก่งน่าดูเลยค่ะ

ดูรูปสนามที่จะแข่งแล้ว ท้าทายมากๆ เลย...

ดูข้อมูลและรูปได้ที่นี่ค่ะ

  • แวะมาส่งแรงใจด้วยคนค่ะพี่กมลวัลย์...

สวัสดีค่ะ อ.ลูกหว้า

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับกำลังใจ

จากกำหนดการที่เขาลงไว้ เข้าใจว่าคงได้ซ้อมลงสนามไปบ้างแล้ว วันแข่งน่าจะเริ่มคืนนี้ค่ะ แต่ยังไม่เห็นกำหนดการละเอียด

เอารูปสนามไปดูเล่นๆ ก่อนค่ะ นำมาจาก webที่ให้ไว้ข้างต้นค่ะ ^ ^

Image:red1.jpg

Image:red4.jpg

Image:yellow3.jpg 

รู้สึกทึ่งและดีใจที่เด็กไทยสามารถทำได้ ชนะหรือไม่ ไม่สำคัญ ทำให้มหาอำนาจอย่าง อมเริกา ญี่ปุ่น เยอรมัน หันกลับมามองเห็นความสารถของเด็กไทยได้ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว ผมติดตามตั้งแต่ครั้งที่ไปญี่ปุ่น เยอรมัน แล้วก็อเมริกา น่าเสียดายที่ผมรู้สึกเหมือนกับว่าภาครัฐบาลไม่ค่อยจะสนับสนุนหรือให้ความสำคัญกับเยาวชนเหล่านี้สักเท่าไหร่ การประชาสัมพันธ์อ่อนไปหน่อย คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้เรื่องนี้ คิดว่าน่าจะสนับสนุนมากกว่านี้จะต้องมีคนเก่งเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

สวัสดีค่ะ คุณธนชัย เมื่อจ. 02 ก.ค. 2550 @ 11:35

เห็นด้วยเลยค่ะว่าชนะหรือไม่ ไม่สำคัญค่ะ แต่ประสบการณ์และ recognition จากในประเทศไทยและในประเทศอื่นๆ สำคัญมากๆ ค่ะ

ปีที่แล้วที่ Bremen, Germany ที่สองในกลุ่มเดียวกันนี้เป็นญี่ปุ่น ค่ะ แต่ปีนี้ทีมที่อเมริกาน่าจะส่งอยู่หลายทีมค่ะ เพราะแข่งที่อเมริกาเอง

อยากให้มีการประชาสัมพันธ์ในภาครัฐเพิ่มเหมือนกัน เห็นเพื่อนที่ทำงานบอกว่าเมื่อเช้ากรมประชาสัมพันธ์มีการออกอากาศทางวิทยุ เป็นการสัมภาษณ์อาจารย์ผู้ควบคุมทีม (รศ.ดร.วรา วราวิทย์) ด้วย แต่บังเอิญตัวเองไม่ทันได้ฟังค่ะ

เรื่องงบสนับสนุนนั้น ปีแรกๆ น้อยมากค่ะ ปีแรกๆ ที่ไปแข่ง อ.ศิริศักดิ์ (อดีตคณบดี คณะวิศวฯ) เล่าให้ฟังว่า อุปกรณ์เช่นกล้อง กับ sensor บางอย่างเรายังยืมไปใช้แข่งเลยค่ะ (แข่งเสร็จเอามาคืน) เพราะไม่มีงบซื้อค่ะ... อุปกรณ์ sensor บางตัวแพงจริงๆ ค่ะ 

ตอนนี้การสนับสนุนที่ได้รับจะเป็นการสนับสนุนในส่วนของคณะเอง..ส่วนของบริษัทเอกชน และก็สมาคมวิชาชีพหุ่นยนต์ค่ะ

แต่ยังไงจะนำรายงานผลมาลงที่บันทึกเรื่อยๆ ค่ะ ไม่ว่าจะแพ้หรือชนะ ^ ^  ช่วยกันลุ้นเด็กไทยค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท