ดินแดนแห่งสัจจะและไมตรี


ผีตาโขน / ประเพณีบุญหลวง / บุญผะเวส
                     ดินแดนแห่งสัจจะและไมตรี  คือเมืองด่านซ้าย  จังหวัดเลย  เมืองที่มีพระธาตุศรีสองรัก  เป็นสัญลักษณ์แห่งการเคารพและนับถือ  ที่คนทั่วไปรู้จักกันว่าเป็นอนุสรณ์สถานแห่งการรำลึกของคนไทยและไทยลาวสองชาติ ที่ผูกสายสัมพันธไมตรีและสัจจะ  เป็นเครื่องมือในการสร้างสันติ เพื่อให้พี่น้องทั้งสองชาติได้อยู่เย็นเป็นสุข  โดยที่ไม่ต้องพึ่งพากระบวนการสมานฉันท์เฉกเช่นปัจจุบัน  ที่มีแต่สมานฉันท์ฝ่ายเดียว  ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งไม่รู้จักแม้แต่คำว่าสมาน                    อีกอย่างหนึ่งที่ชาวไทยรู้รักคือ  ประเพณีผีตาโขน หรือเรียกว่า ประเพณีบุญหลวง หรือประเพณีบุญผะเวส (ประเพณีเทศน์มหาชาติ)  ซึ่งจะจัดในช่วงเดือนมิถุนายน ก่อนเข้าพรรษดินแดนแห่งสัจจะและไมตรี  คือเมืองด่านซ้าย  มีโบราณสถานที่เป็นสิ่งเคารพนับถือคือ  พระธาตุศรีสองรัก ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งไมตรีและสัจจะระหว่างไทยกับลาว  เมื่อสมัยที่ประเทศต่างๆนิยมการล่าอาณาเขต  และเป็นสัญลักษณ์แห่งความสงบของสองแผ่นดินตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน  นอกจากพระธาตุศรีสองรักแล้ว  ยังมีประเพณีเป็นที่นิยมกันมากและเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป มีการละเล่นที่รู้กันทั่วคือ  ผีตาโขน  ในประเพณีดังกล่าวได้สะท้อนความเป็นวัฒนธรรม หลายด้านคือ๑.                       วัฒนธรรมความเชื่อผี  ผีตาโขนจะมี ๒ รูแบบ คือผีตาโขนใหญ่ และผีตาโขนเล็ก  การสร้างผีตาโขนใหญ่นั้น จะสร้างตามความเชื่อว่า คนโบราณในอดีตนั้นมีรูปร่างสูงใหญ่ถึง ­๘  ศอก  ผู้ที่จะสร้างได้ต้องได้รับการอนุญาตจากเทพหรือเจ้าพ่อ หรือเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้สร้างมาแล้วติดต่อกัน ๓ ปี  ซึ่งก่อนทำต้องมีพิธีโดยแต่งขันดอกไม้ เทียนและขันห้า ขันแปด ใส่พานหรือขัน  กล่าวคำขอขมาและอนุญาตต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์๒.                       วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา  โดยเฉพาะพุทธศาสนา  ในงานจะมีการทำผ้าป่าสามัคคี  ซึ่งเป็นบุญใหญ่มาก (บุญหลวง) โดยจะทำการแห่งไปพร้อมกับขบวนผีตาโขน  เพื่อไปทำการทอดที่วัดโพนชัย  นอกจากเป็นแนวหนึ่งการทำบุญอุทิศในช่วงก่อนเข้าพรรษา  ของชาวพุทธแล้ว  กล่าวกันว่า การแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะเดินทางออกจากป่า กลับสู่เมืองบรรดาผีป่าหลายตนและสัตว์นานาชนิดอาลัยรักจึงพาแห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสองพระองค์กลับเมือง เรียกกันว่า "ผีตามคน" หรือ "ผีตาขน" จนกลายมาเป็น "ผีตาโขน" อย่างในปัจจุบัน นอกจากนี้  ความเชื่อดังกล่าวยังผูกโยงไปถึงศาสนาฮินดู  สิ่งที่แสดงความเป็นศาสนาฮินดู คือความเชื่อเรื่องเกี่ยวกับศิวลึงค์   กล่าวคือ  ในกระบวนแห่งสัญลักษณ์สำคัญอันหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์แห่งประเพณี  คือ รูปแทนอวัยวะเพศชาย หญิง  แต่เพศชายจะชัดเจนมากกว่าเพศหญิง  สัญลักษณ์ดังกล่าว   แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของการดำรงชีพ  ซึ่งลักษณ์ทางพฤติกรรมเช่นนี้  จะได้จากการสร้างศิวลึงค์ไว้ตามโบราณที่ต่างๆ  ในสมัยที่ขอมเรืองอำนาจ การที่ขอมเรืองอำนาจจึงเป็นผลให้ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวแพร่กระจาย  ไปยังที่ต่างๆ  ที่ขอมรุกรานไปหรือขยายอาณาเขตไปถึง๓.                        ความเชื่อเกี่ยววิถีชีวิต   กระบวนแห่งสิ่งแสดงความเป็นชีวิตของสังคม  คือการแสดงเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับการทำมาหากิน  ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ล้วนแต่เป็นวิถีชีวิตของคนด่านซ้าย  มีสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ คือควายตู้ (ควายที่มีแข็งแรง)  คือสัตว์ที่มีความสำคัญต่อการทำนา  นอกจากนี้ความยังเป็นสัตว์ใหญ่ในการเข้าประกอบการแก้บนกับเจ้าพ่อกวน  ในกรณีที่บนบานต่อเรื่องใหญ่ๆ  ให้สำเร็จด้วย  รวมความเชื่อที่ว่า  ควายคือสัตว์ที่จะช่วยป้องกันภัยร้ายต่างๆ ที่จรมาจะทำร้าย  หรือไม่ประสงค์ต่อสังคมอีกด้วย  ที่ขาดมิได้อีกอย่างหนึ่งคือ  ตนป่าชุดดำ  ที่แต่งกายทาสีดำทั้งตัว  ที่มีไม้เฮี้ย (ไม้ไผ่)  กระแทกไปตามถนนที่กระบวนดำเนินไป  ซึ่งเป็นการสะท้อนความมีอยู่ทางทรัพยากรในท้องถิ่น คือไม้ไผ่ที่มีมาก                เรื่องเกี่ยวกับประเพณีผีตาโขนนั้น  ได้ให้ข้อคิดหลายด้าน  แล้วแต่มุมมองซึ่งสามารถสะท้อนความคิดได้หลายประเด็น  อาจต่างมุมมองและต่างกระบวนการคิด  แต่สิ่งหนึ่งที่สะท้อนความเจริญทางวัฒนธรรมและสังคม  ความเชื่อและความงมงายไม่เคยทำร้ายใคร  หรือย่ำยีสังคมให้เกิดความเสียหาย  ความเชื่อความรู้แบบวิทยาศาสตร์มากกว่าที่ทำให้สังคมเดือดร้อน มากกว่าจะสร้างความไม่เดือดร้อน                ในปีนี้งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขนขึ้น ในวันที่ 23 –25 มิถุนายน 2550 ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลยกิจกรรมที่สำคัญประกอบด้วยวันเสาร์ที่23มิถุนายน2550เป็นวันเริ่มต้นการจัดงาน
03.00น.จะมีพิธีเบิกพระอุปคุตตามความเชื่อของชาวด่านซ้ายที่บริเวณสะพานลำน้ำหมัน
07.00น.ทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารเช้าที่วัดโพนชัย
08.30น.พิธีบายศรีสู่ขวัญที่บ้านเจ้าพ่อกวน
09.30น.ตั้งขบวนผีตาโขนที่โรงเรียนชุมชนบ้านด่านซ้าย,การแข่งขันกิจกรรมผีตาโขน
10.30น.พิธีเปิดงานประเพณีการละเล่นผีตาโขนอย่างเป็นทางการ ชมขบวนแห่ผีตาโขนอันยิ่งใหญ่            ตระการตาที่หน้าที่ว่าการอำเภอด่านซ้าย
20.30น.ชมการแสดงวงดนตรีหมอลำที่โรงเรียนชุมชนบ้านด่านซ้าย
                วันอาทิตย์ที่24มิถุนายน2550
09.00น.การสาธิตการทำหน้ากากผีตาโขนที่พิพิธภัณฑ์ผีตาโขน(วัดโพนชัย)
09.30น.การประกวดการเต้นผีตาโขนน้อยรอบชิงชนะเลิศ
11.00น.การโชว์กระโดดร่ม โดยนักกระโดดร่มจากกองบิน 46 และนักกระโดดร่มกิตติมศักดิ์
13.00น.ขบวนพาเหรดผีตาโขนทั้ง5ชุมชนไปยังวัดโพนชัย
15.00 น. ขบวนแห่พระเวสสันดรเข้าเมืองและจุดบั้งไฟ และ 19.00 น. ฟังการเทศน์พระมาลัยหมื่น พระ  มาลัยแสนที่วัดโพนชัย
                วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2550 ไม่มีการละเล่นผีตาโขน เป็นกิจกรรมทางพุทธศาสนา
04.00น.ฟังเทศน์มหาชาติ13กัณฑ์
07.00น.ทำบุญตักบาตร
09.00น.พิธีสะเดาะเคราะห์บ้านเมือง
10.00 น. ขบวนแห่กัณฑ์หลอนเพื่อถวายพระ โดยต้องถวายก่อนพระรูปสุดท้ายเทศน์จบ
  
คำสำคัญ (Tags): #ประเพณีผีตาโขน
หมายเลขบันทึก: 106253เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2007 16:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท