โครงการเพื่อนวันอาทิตย์


กิจกรรมใส่หัวใจความเป็นมนุษย์ให้อนาคตแพทย์รุ่นใหม่ ที่ คณะแพทย์ศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

“เพื่อนวันอาทิตย์” ... มิติใหม่ระบบการศึกษาแพทย์ไทย

<div style="border-right: medium none; padding-right: 0cm; border-top: windowtext 1pt solid; padding-left: 0cm; padding-bottom: 1pt; border-left: medium none; padding-top: 1pt; border-bottom: windowtext 1pt solid">คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เตรียมความพร้อมแพทย์รุ่นใหม่ ใส่หัวใจมนุษย์ พัฒนาหลักสูตรการผลิตแพทย์  เสริมด้วยกิจกรรมให้นักศึกษาแพทย์ได้สัมผัสและเรียนรู้จากผู้ป่วยให้มาก เช่น โครงการเพื่อนวันอาทิตย์  กิจกรรมที่ให้นักศึกษาแพทย์ได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองฝึกพัฒนาการทักษะการดูแลผู้ป่วยด้วยใจ และได้ทำประโยชน์เพื่อผู้ป่วย จากการลงไปสัมผัส พูดคุย รับฟังความต้องการของผู้ป่วย ฯลฯ หวังปลูกฝังนิสัยการ ดูแลผู้ป่วยรอบด้านทั้งกายใจ เพื่อเป็นแพทย์ที่เก่งและดีในอนาคต </div>

   
   

           หกปีเต็มสำหรับชีวิตการเรียนของนักศึกษาแพทย์นั้นเต็มไปด้วยภาวะเคร่งเครียดจากการท่องจำตำราซึ่งไม่อาจผิดพลาดได้ เป็นอาชีพที่ถูกขีดเส้นอยู่ระหว่างความเป็นและความตาย มีผู้ป่วยจำนวนมากที่รอคอยด้วยความหวังนับเป็นภาระที่ค่อนข้างกดดัน ต้องอาศัยความใส่ใจและความรับผิดชอบมาก ส่งผลให้โอกาสในการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างลดน้อยลง ขณะเดียวการผลิตแพทย์ในปัจจุบันพุ่งเป้าไปที่การรักษาโรคมากจนอาจละเลยเรื่องของความทุกข์ทางจิตใจของผู้ป่วย ซึ่งบ่อยครั้งกลายเป็นปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยเกิดเป็นช่องว่างไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจกันได้

 

 
ผศ.นพ.อานนท์ วิทยานนท์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า คุณสมบัติของการเป็นแพทย์ที่ดีไม่เพียงมีความรู้ในการรักษาโรคให้หายเท่านั้น แต่ต้องเป็นผู้ที่มีจิตวิทยาในการสื่อสารที่ดี มีความอดทน สามารถรับฟังความทุกข์ผู้ป่วยได้และมีการจัดการกับปัญหาได้ดี แม้นักศึกษาแพทย์ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนที่เรียนเก่ง มีไอคิวสูง ก็ใช่ว่าจะมีคุณสมบัติเหล่านี้ครบถ้วนทุกประการ นักศึกษาแพทย์แต่ละคนจะมีคุณสมบัติที่เป็นข้อดี ข้อด้อยแตกต่างกันไป ซึ่งแม้จะไม่ใช่ปัญหารุนแรงสำหรับการอยู่ในสังคม แต่สิ่งเหล่านี้คือเป็นปัจจัยสำคัญของการก้าวสู่การเป็นแพทย์ที่ดีในอนาคต

                       เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาและเตรียมความพร้อมแพทย์รุ่นใหม่ให้มีการบริการทางการแพทย์ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์มากยิ่งขึ้น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้มีการจัดกิจกรรม ”โครงการเพื่อนวันอาทิตย์” ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่1 โดยมุ่งเน้นเติมเต็มทักษะด้านการสื่อสาร การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมถึงสะท้อนปัญหาซึ่งเป็นจุดอ่อนของนักศึกษาแพทย์แต่ละคน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและแก้ไข ด้วยการเปิดโอกาสให้เด็กรู้จักคิดเอง ทำเอง ลองผิดลองถูกด้วยตนเองจากชีวิตของผู้ป่วย

<table border="0"><tbody>

 

 
นายวีรเชียร ถวัลย์วงศรี นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประธานโครงการเพื่อนวันอาทิตย์รุ่นที่ 2 กล่าวว่า ตนได้รับคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมนี้ด้วยข้อบกพร่องที่ตนเองก็ยอมรับคือไม่สามารถเรียงคำพูดได้อย่างเหมาะสมจนทำให้คนอื่นไม่เข้าใจในสิ่งที่พูด เมื่อได้มาทำกิจกรรมของกลุ่มเพื่อนวันอาทิตย์ซึ่งได้รับมอบหมายให้ช่วยกันคิดโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยในอาคารเย็นศิระ บริเวณวัดโคกนาว ใกล้ ๆ มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับทุนการก่อสร้างจากมูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เป็นอาคารของผู้ป่วยไร้ญาติและผู้ป่วยโรคมะเร็งที่รอการรักษาโดยมีอาสาสมัครเป็นผู้ดูแล

                        หลังจากไปดูผู้ป่วยและกลับมาช่วยกันคิดจนได้ไอเดียมากมายที่คิดว่าถ้าทำแล้วผู้ป่วยจะรู้สึกดี เช่น ทาสีตึกใหม่ , ทำอาหารให้คนไข้, ทำความสะอาด ,ทำกระดานหมากรุก, จัดหาหนังสือนิตยสารและของเล่นสำหรับเด็ก  นศ.พ.วีรเชียร กล่าวว่า เหล่านี้คือสิ่งที่เขาคิดกันเองโดยไม่ได้ถามความต้องการของผู้ป่วย จนเมื่ออาจารย์ติงและแนะนำว่าสิ่งที่จะทำควรเป็นความต้องการของผู้ป่วยด้วย จึงย้อนกลับไปพูดคุยกับผู้ป่วยอีกครั้งและพบว่าสิ่งที่คิดว่าดีสำหรับผู้ป่วยอาจไม่ใช่สิ่งที่ผู้ป่วยต้องการเสมอไป

                   ผู้ป่วยบางรายเพียงแค่ต้องการคนพูดคุย ต้องการให้มีคนไปเยี่ยมไปรับฟังความกังวลหรือความทุกข์ใจของเขามากกว่ามากกว่าการรักษาโรคซึ่งเรายังเป็นเพียงนักศึกษาที่ยังไม่สามารถรักษาโรคให้เขาได้ แต่เรารับฟังและคลายทุกข์ใจให้เขาได้ ผู้ป่วยมักจะเล่าเรื่องความทุกข์ใจให้ฟังมากกว่า เช่น คิดถึงลูก เจ็บตรงนี้ หรือว่าวันนี้ไปหาหมอแล้วถูกหมอดุมาไม่สบายใจเลย  สังเกตเห็นว่าแม้จะเป็นเรื่องที่ไม่สบายใจแต่ผู้ป่วยกลับพูดด้วยน้ำเสียงที่สดใสและใบหน้าที่เปื้อนยิ้ม  เพราะสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการมากที่สุดและเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยผ่อนคลายความทุกข์ใจให้คนไข้ได้อีกทางหนึ่ง นั่นคือการรับฟังและเข้าใจเขาอย่างจริงใจ 

 

 

นาย อนุวัตร พลาสนธิ์ นักศึกษาจากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หนึ่งในนักศึกษาที่เข้าร่วม “โครงการเพื่อนวันอาทิตย์” กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ตนเป็นคนตัดสินใจช้า และในบางครั้งก็มีภาวะผู้นำหลังจากได้ร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อนวันอาทิตย์ ได้พูดคุยรับฟังเรื่องราวของผู้ป่วย ซึ่งแม้ว่าเป็นเรื่องทุกข์ใจแต่ก็ทำให้เข้าใจความหมายของชีวิตมากขึ้นว่าชีวิตของผู้คนในสังคมนั้นมีแง่มุมที่หลากหลาย  ปัญหาที่ผู้ป่วยพบเจอไม่ใช่แค่ความเจ็บป่วย หากแต่ยังมีเรื่องให้กลุ้มใจและต้องคิดอีกมากมาย บางครั้งเราอาจเกิดมาในครอบครัวที่พร้อมจึงทำให้ไม่เข้าใจถึงปัญหา ทำให้ละเลยความรู้สึกของผู้ป่วยไป

                      และนี่คือสิ่งสำคัญที่ทำให้ผมเข้าใจเป้าหมายในการเป็นแพทย์มากขึ้น ทำให้ได้เรียนรู้ว่าหน้าที่ของแพทย์มิใช่เพียงรักษาโรคให้หาย แต่ยังต้องบำบัดความทุกข์ในใจให้ผู้ป่วยได้ด้วย ไม่ควรดูเพียงเบื้องหน้าที่ผู้ป่วยเดินเข้ามาหาเท่านั้น แต่ควรมองอ้อมไปเบื้องหลังด้วยว่าสภาพปัญหาที่นอกเหนือจากความเจ็บป่วยเป็นเช่นไร  ที่สำคัญต้องสร้างสุขกับสิ่งที่เขามีอยู่ด้วย นั่นคือทำอย่างไรที่จะให้ผู้ป่วยทำใจได้ ดำรงชีวิตได้ และมีความสุขโดยไม่ใส่ใจกับโรคร้ายที่เป็นอยู่ได้ ”

           ผศ.นพ. อานนท์ กล่าวเสริมว่า โครงการดังกล่าวได้ช่วยฝึกนักศึกษาแพทย์ให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วย และพูดคุยซักถามกับคนไข้ด้วยหัวใจในฐานะเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง และใช้เรื่องราวชีวิต ประสบการณ์ของผู้ป่วยมาเป็นครูที่ช่วยสอนให้ค้นพบด้วยตนเองว่าบางครั้งสิ่งที่แพทย์คิดอาจไม่ใช่สิ่งที่ดีทีสุดสำหรับคนไข้เสมอไป ที่สำคัญการช่วยเหลือห่วงใย ผู้ป่วยในฐานะเพื่อนมนุษย์คนหนึ่งนั้นจะช่วยให้พวกเขาได้ซึมซับความรู้สึกภาคภูมิใจในการทำความดี  ทำให้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่และ เป้าหมายการเป็นแพทย์ที่ดีในอนาคตมากขึ้น

                   ทั้งนี้ กิจกรรม “โครงการเพื่อนวันอาทิตย์” นับเป็นมิติใหม่ของการเรียนการสอนแพทย์ไทย ที่จะช่วยให้นักศึกษาแพทย์ได้เรียนรู้ความหมายของชีวิต ช่วยสะท้อน จุดอ่อนที่เป็นปัญหาของนักศึกษาแพทย์เอง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขและก้าวไปสู่ความเป็นแพทย์ที่ดี ไม่หลงยึดติดกับกระแสทุน ที่สำคัญโครงการนี้ยังช่วยหล่อหลอมความมีจริยธรรม ปลูกฝังนักศึกษาแพทย์ให้มีหัวใจความเป็นมนุษย์ในการดูแลผู้ป่วยอย่างลึกซึ้ง  และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยในสังคมให้ดียิ่งขึ้น.

</tbody></table></span></strong><p>                       </p></span><p></p><p>ข่าวเผยแพร่โดย งานสื่อสารสาธารณะ แผนพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์   สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ</p>

หมายเลขบันทึก: 106251เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2007 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
นักศึกษาแพทย์ก็เหมือนนักเรียนทุกคนในบ้านเรา  ควรได้เรียนวิชาสอนความเป็นคนก่อนที่จะเริ่มเรียนวิชาการครับ 
  • มายกมือสนับสนุนโครงการที่ดีๆแบบนี้ และเป็นกำลังใจให้ทุกท่านค่ะ

ขอบคุณ นพ.ประเสริฐ และ nutim

nutim ที่พิษณุโลกมีเรื่องราวดี ๆ ก็นำมาเล่าสู่กันฟังบ้างซิคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท