เลิกเหล้า ลดเสี่ยงมะเร็งเต้านม


การเติบโตของเนื้องอกที่โตเร็ว เช่น มะเร็ง ฯลฯ จำเป็นต้องมี "ท่อน้ำเลี้ยง(ขอยืมสำนวนจากรัฐบาลไทย)" มะเร็งจึงจะเติบโตต่อไปได้

Hiker 

เหล้า (แอลกอฮอล์รวมเบียร์ ไวน์...) เป็น 1 ในปัจจัยเสี่ยงมะเร็งเต้านม วันนี้มีข่าวดีเกี่ยวกับกลไกการกระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านมมาฝากครับ...

อาจารย์ดอกเตอร์เจี้ยน-ไหว่ กู่ และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยมิสซิสซิพพี เมดิคอล เซนเทอร์ สหรัฐฯ รายงานผลการศึกษาวิจัยว่า

เหล้ากระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านม โดยผ่านกระบวนการกระตุ้นให้เกิดเส้นเลือดใหม่ (angiogenesis)

เหล้ากระตุ้นทำให้เกิดสาร VEGF (vascular endothelial growth factor) ซึ่งมีผลทำให้เกิดเส้นเลือดใหม่ไปเลี้ยงเนื้องอก

การเติบโตของเนื้องอกที่โตเร็ว เช่น มะเร็ง ฯลฯ จำเป็นต้องมี "ท่อน้ำเลี้ยง(ขอยืมสำนวนจากรัฐบาลไทย)" มะเร็งจึงจะเติบโตต่อไปได้

ถ้าไม่มี "ท่อน้ำเลี้ยง" หรือเส้นเลือด... มะเร็งจะขาดเลือด และอาจเน่าตายไปเลย

ตรงกันข้าม... ถ้ามะเร็งมีท่อน้ำเลี้ยง หรือเส้นเลือดใหม่ดี มะเร็งจะแบ่งตัวเร็ว โตไว และอาจแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้เสียชีวิตได้

อาจารย์กู่ท่านทำการศึกษาในหนูตัวเมีย อายุ 6 สัปดาห์ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือ "กลุ่มหนูไม่เมา" ให้ดื่มน้ำ อีกกลุ่มหนึ่งคือ "กลุ่มหนูเมา" ให้ดื่มน้ำผสมแอลกอฮอล์ 1%

น้ำผสมแอลกอฮอล์ 1% มีค่าเทียบเท่าการดื่มเหล้าประมาณ 2-4 ดริ๊งค์ หรือการดื่มปานกลางในผู้หญิง

เหล้า 1 ดริ๊งค์มีค่าเท่ากับเบียร์ฝรั่งแบบจืดจาง (ไม่ใช่แบบเข้มข้น) ประมาณ 1 กระป๋องเล็ก

อาจารย์กู่และคณะฉีดเซลล์มะเร็งเต้านมเข้าไปในตัวหนูทดลองในสัปดาห์ที่ 2 และเว้นช่วงไปอีก 4 สัปดาห์

ผลปรากฏว่า มะเร็งในกลุ่ม "หนูเมา" โตเร็วกว่ามะเร็งในกลุ่ม "หนูไม่เมา" ถึง 1 เท่าตัว หรือขนาดโตกว่ากันเกือบ 2 เท่า และพบสารกระตุ้นเส้นเลือดใหม่ (VEGF) ในกลุ่ม "หนูเมา" สูงกว่ากลุ่ม "หนูไม่เมา"

อาจารย์กู่กล่าวว่า เหล้ามีส่วนกระตุ้นให้เกิดการสร้างเส้นเลือดใหม่ ซึ่งจะส่ง "น้ำเลี้ยง" ให้กับมะเร็งเต้านม

สำนักวิจัยมะเร็งสหราชอาณาจักร(หมู่เกาะอังกฤษ)กล่าวว่า แอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์...) เป็นสารก่อมะเร็งช่องปาก มะเร็งกล่องเสียง มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม และอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

ถึงตรงนี้... เรียนเชิญพวกเรามาช่วยกันลด ละ เลิกแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์) เพื่อป้องกันมะเร็งครับ

    แนะนำให้อ่าน:                                  

    รวมเรื่อง "มะเร็ง"...       

  • 5 วิธีป้องกันมะเร็ง
  • [ Click - Click ]
  • 9 วิธีป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • [ Click - Click ]
  • 4 ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งปอด
  • [ Click - Click ]

  • 5 วิธีเลิกบุหรี่
  • [ Click - Click ]
  • 18 ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งเต้านม
  • [ Click - Click ]
  • 7 ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • [ Click - Click ]

 

 

  • 7 วิธีลดเสี่ยงมะเร็ง
  • [ Click - Click ]
  • งานบ้าน ลดเสี่ยงมะเร็งเต้านม
  • [ Click - Click ]
  • งานบ้านหรือเดิน ลดเสี่ยงมะเร็ง
  • [ Click - Click ]

  • ออกกำลัง ป้องกันมะเร็ง 
  • [ Click - Click ]
  • 5ทำ 5ไม่ ไกลมะเร็ง
  • [ Click - Click ]
  • เชิญดาวน์โหลด "ไม่อยากเป็นมะเร็ง ต้องอ่านเล่มนี้" ฟรี
  • [ Click - Click ]

 

 

  • อาหารไขมันสูง เสี่ยงมะเร็งเต้านม 
  • [ Click - Click ]
  • เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลดมะเร็งเต้านม
  • [ Click - Click ]
  • วิธีลดเสี่ยงมะเร็งเต้านม 23%
  • [ Click - Click ]

  • ผักผลไม้ ลดเสี่ยงมะเร็งส่วนหัว-ลำคอ
  • [ Click - Click ]
  • ผักผลไม้ ลดเสี่ยงมะเร็งตับอ่อน
  • [ Click - Click ]
  • อาหารป้องกันมะเร็ง
  • [ Click - Click ]

  • ดื่มเหล้าหนัก เสี่ยงมะเร็งเต้านม
  • [ Click - Click ]
  • เลิกบุหรี่ หรือกินผัก ลดเสี่ยงมะเร็งตับอ่อน
  • [ Click - Click ]

    แหล่งที่มา:                 

  • ขอขอบพระคุณ (thank) > สำนักข่าวรอยเตอร์ (Reuters) > Magan Rauscher. Why alcohol boosts breast cancer risk: study. > [ Click - Click ] > http://today.reuters.com/news/articlenews.aspx?type=healthNews&storyid=2007-04-30T173002Z_01_COL055587_RTRUKOC_0_US-EXERCISING-HARDER.xml&src=nl_ushealth1400 > April 30, 2007. // source: American Physiological Society’s annual meeting, part of Experimental Biology 2007, Washington D.C.
  • ขอขอบพระคุณ (thank) > สำนักวิจัยมะเร็งสหราชอาณาจักร (Cancer Research UK) > Alcohol and cancer > [ Click - Click ] > http://info.cancerresearchuk.org/healthyliving/alcohol/ > April 30, 2007.
  • ขอขอบพระคุณ > คุณรังสรรค์ พรเรืองวงศ์ > แนะนำให้ทำหัวข้อเชื่อมโยง (related articles).
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี IT ศูนย์มะเร็งลำปาง > สนับสนุนทางเทคนิค + อินเตอร์เน็ต.
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ IT + หน่วยรังสีกรรม โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี > สนับสนุนทางเทคนิค + อินเตอร์เน็ต.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 1 พฤษภาคม 2550.
  • เชิญอ่าน "บ้านสาระ" ที่นี่ > [ Click - Click ]
หมายเลขบันทึก: 93701เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2007 17:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะ
  • การดื่มเหล้าไม่มีผลดีเลยค่ะ มีคนในครอบครัวเคยดื่มคุณตาค่ะ ดื่มมากจนร่างกายจะไม่ไหวแล้วน่ะค่ะ ก็เลยขอร้องให้เขาหยุดบอกท่านว่าต้องอยู่รอเห็นหลานคนนี้ประสบความสำเร็จก่อน แล้วท่านก็ยอมเลิกค่ะดีใจมากที่ทำให้คนคนหนึ่งเลิกดื่มเหล้าได้ค่ะ แต่ยังกลัวท่านจะเป็นมะเร็งตับค่ะคงต้องพาท่านไปตรวจค่ะ แต่อ่านหนังสือบางเล่มก็เจอที่ว่าดื่มเหล้าเป็นยาคือกระตุ้นให้อยากอาหารค่ะแต่ต้องดื่มในปริมาณที่ไม่มากค่ะ) 
  • มีเรื่องอยากรบกวนถามน่ะค่ะ คือมีเพื่อนเป็นโรคโลหิตจาง เฮทเทอโรไซกัส เบตา ธาลัสซีเมีย แล้วทำไมต้องกินยาบำรุงเลือดด้วยคะ ไม่กินไม่ได้เหรอคะ เพราะยังไงคนไข้ก็ไม่มีอาการอยู่แล้ว และเค้าไม่กินเนื้อสัตว์ด้วยค่ะจะมีผลอะไรกับเขาไหมคะ เขากินอาหารอย่างอื่นครบทุกประเภท ออกกำลังกาย นอนพอค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

ขอขอบคุณ... คุณนิสิตช่วยงาน

  • ก่อนอื่นขออนุโมทนาสาธุกับทุกท่านที่มีส่วนทำให้คุณตาเลิกเหล้าได้...
  • คนที่ดื่มเหล้าส่วนใหญ่ "เบรค" ไม่อยู่... กินจนเกิดอุบัติเหตุ บ้านแตกสาแหรกขาด...

เหล้า...

  • ที่สำคัญมากคือ เหล้าเป็นเหตุใกล้ให้คบเพื่อนชั่ว ซึ่งเป็นอัปมงคล (เหตุให้ถึงความเสื่อม) ข้อ 1 ในมงคลสูตร (มงคล 38)

เลือดจาง...

  • คนที่เป็นเลือดจางธาลัสซีเมียควรกินวิตะมินบี "กรดโพลิค (folic acid)" วันละ 1 เม็ด...

ไขกระดูก... 

  1. ไขกระดูก (bone marrow) จะสร้างโปรตีนที่จับออกซิเจนผิดปกติ (abnormal hemoglobin) ออกมา
  2. ทำให้เม็ดเลือดแดงจะมีรูปร่างผิดปกติ
  3. ระบบตรวจจับ และทำลายเม็ดเลือดผิดปกติในม้าม - ตับจะทำลายเม็ดเลือดส่วนหนึ่งทิ้งไป คล้ายๆ ด่านที่จับคนลักลอบเข้าเมือง
  4. ไขกระดูกจะต้องทำงานหนักกว่าคนทั่วไป เพื่อสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า...

การแบ่งเซลล์...

  • กระบวนการสร้างโปรตีน + แบ่งเซลล์จะใช้วิตะมินบี (กรดโฟลิค)
  • การให้กรดโฟลิคช่วยป้องกันคนไข้ธาลัสซีเมียจากการขาดกรดโฟลิค ซึ่งจะทำให้ซีดมากขึ้น
  • ยาบำรุงเลือดในที่นี้ไม่ใช่ธาตุเหล็กครับ...

แนะนำให้อ่านเรื่องธาลัสซีเมียที่นี่...

  1. [ Click - Click ]
  2. [ Click - Click ]
  3. [ Click - Click ]
  4. [ Click - Click ]
  5. [ Click - Click ]
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท