วาระแห่งชาติ


การศึกษาคือรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน

สวัสดีครับชาว Blog ที่รักทุกท่าน        

             ในวันเสาร์ที่ 28 เมษายน 2550 นี้  ช่วงเช้าผมได้รับเกียรติจากโครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตการบริหารการพัฒนา  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เรียนเชิญผมร่วมอภิปรายวาระแห่งชาติที่เร่งด่วนด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และการศึกษา โดยมีผู้ร่วมอภิปราย คือ นายกร  ทัพพะรังสี,            ศ.ดร.สุชาต  ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, ศ.ดร.ทินพันธุ์ นาคะตะ, นายประพัฒน์  โพธิวรคุณ ณ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์  โดยผู้ฟังประกอบไปด้วยอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษาปริญญาเอก จากสถาบันอุดมศึกษา และผู้สนใจจำนวน 200 คน ผมจึงได้เปิด Blog นี้ขึ้นมาเพื่อทุกคนจะได้มีส่วนแสดงความคิดเห็นเรื่องวาระแห่งชาติที่เร่งด่วนเพื่อเป็นแนวทางในการไขปัญหาของหลาย ๆ ฝ่าย           

          หวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะได้รับความคิดเห็นจากทุกท่าน                                               

                                                       จีระ  หงส์ลดารมภ์

ภาพบรรยากาศการบรรยาย

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 92944เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2007 20:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

แล้วในงานผู้ร่วมอภิปราย เขาว่าอย่างไรกันบ้างล่ะ ค่ะ จะได้ร่วมแสดงความคิดเห็นถูก

ยินดีต้อนรับท่าน ศ.ดร จีระ  หงส์ลดารมภ์

  • ยินดีมากที่ได้บุคคลชั้นมันสมองเพิ่มอีกหนึ่งคน
  • ยินดีมากชาว g2k จะได้สท้อนปัญหาบางอย่างผ่านท่าน
  • ยินดีมาก ถ้าท่านมีเวลา คลิก ดูความหลากหลายความคิดในมุมมองของชุมชนชาว g2k
  • ยินดีมากอีกเช่นกันถ้าท่านแวะเข้ามาบ่อยๆ    
  • ถ้าเป็นไปได้อยากขอให้ท่าน นำสาระในการอภิปรายถ่ายทอดให้รู้ด้วย
  • ขอบคุณมากๆครับ  
อธิดล ลูกแม่รำเพย

สวัสดีครับท่านอาจารย์จิระครับ  ผมศิษย์เก่าทศ.ครับเพิ่งเข้ามาเว็บนี้เป็นครั้งแรกประทับใจมากครับโดยเฉพาะทราบว่าท่านอาจารย์มีการจัดอบรมให้กับรุ่นน้องที่โรงเรียนไม่ทราบว่าผมพอจะมีโอกาสได้รับใช้ท่านอาจารย์ได้บางไหมครับ

ผมสามารถประสานงานกับทางทีมงานท่านอาจารย์ได้อย่างไรบ้างครับ

ขอบคุณครับ

อธิดล  โทร 0896802817

สรุปประเด็นการอภิปรายวาระแห่งชาติที่เร่งด่วนด้านการศึกษา
            โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์                        
          การศึกษาคือหัวใจสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและการแข่งขันที่ยั่งยืนคนเราต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เช่นนักเรียนไม่ใช่แค่หาความรู้เฉพาะในห้องแต่ต้องศึกษาหาความรู้ที่นอกห้องที่สดตลอดเวลาเพราะจะสะท้อนความจริงทุกๆด้าน รวมทั้งการหาความรู้ข้ามศาสตร์และต้องต่อเนื่อง            
          การศึกษาเป็นการลงทุนในเรื่องตลาดแรงงานในอนาคต แต่ตอนนี้การศึกษาทำทางด้าน Supply แต่ไม่ได้ดูที่ Demand ว่าอนาคตในอีก 10-20 ปี ตลาดแรงงานจะเป็นไปในทิศทางใด 
           
          การศึกษามีความสำคัญต่อจิตสำนึกในเรื่องประชาธิปไตย ความสมานฉันท์และสันติภาพในประเทศ ต้องสอนเน้นที่การพัฒนาคน ให้มีความเข้าใจในการใช้เหตุผลและเป็นตัวของตัวเอง เน้นที่มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม แต่ในขณะนี้ผู้นำยังขาดการเอาใจใส่ทางด้านการศึกษาอย่างแท้จริง            
          วาระแห่งชาติที่เร่งด่วนเรื่องการศึกษา คือ
1.      จาการวิจัยของธนาคารชาติ พบว่าการดูแลเรื่องโภชนาการที่ดีและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะทำให้สมองเด็กมีการพัฒนาการตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึง 3 ขวบ แต่ปัญหาของคนไทยส่วนใหญ่คือความยากจน เด็กขาดการดูแลเอาใจใส่เรื่องอาหารการกิน สมองจึงอ่อนแอในช่วงอายุที่เพิ่มขึ้นสิ่งที่รัฐบาลจะเอาใจใส่จริงจังของเรื่องนี้คือการตั้งศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียนเพื่อดูแลการโภชนาการและสร้างเสริมพัฒนาการต่างๆเพื่อเตรียมพร้อมกับการพัฒนาในช่วงอายุต่อไป  
2.      การที่รวมการศึกษาระดับและมัธยมเข้ารวมไว้ด้วยกันนั้นไม่ควรอย่างยิ่ง เพราะการบริหารในสองระดับนี้ต่างกันรวมทั้งโครงสร้างหลักสูตรก็ต่างกัน ในเรื่องนี้รัฐบาลต้องทบทวนโดยด่วน
3.      การยกเลิกกรมวิชาการฯ โดยที่ให้อำนาจผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้อำนวยการเขตเป็นผู้กำหนดหลักสูตรจะทำให้การศึกษาไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
 4.      การปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้การศึกษามีคุณภาพดีขึ้น ต้องให้ความสนใจกับ Behavior ต้องกำหนดหลักสูตรให้มีการสร้างสังคมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง      
สิ่งที่ควรเริ่มต้นวันนี้ คือ
1.      การกระจายคุณภาพการศึกษาที่ได้มาตรฐานในทุกๆพื้นที่ทั่วประเทศ ยกตัวอย่างการสร้างระบบโรงเรียนพี่เลี้ยง(Cluster) คือสร้างโรงเรียนในเครือในพื้นที่ต่างๆ เพื่อกระจายโอกาสการพัฒนาโครงสร้างการเรียนการสอนที่ได้มาตรฐานออกไป เช่นโรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนสวนกุหลาบ
2.      การกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น(อบต. เทศบาล อบจ.) มีส่วนในการพัฒนาโรงเรียนได้ทั่วถึงมากขึ้นแต่ต้องมีการผลักดันให้เอาใจใส่จริงจัง
3.      ปัญหาการขาดครูเฉพาะทางคือคณิตศาสตร์,วิทยาศาสตร์, ภาษาอังกฤษ, ศิลปะ, ดนตรี และการพัฒนาภาวะผู้นำ,ผู้บริหารสำหรับครูทั่วไป
4.      การแยกการเมืองออกจากการศึกษาเพราะที่ผ่านมาการแต่งตั้งผู้บริหารสถานศึกษาการเมืองเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องจึงส่งผลในแง่ลบสู่ระบบการศึกษาไทย            
          ปัญหาต่างๆ ถ้าไม่แก้ไขประเทศไทยจะล้มละลายทางปัญญาอย่างช้าๆ คนก็จะไม่มีคุณภาพจะส่งผลไปสู่การขาดความสามารถในการแข่งขัน ปัญหาประชาธิปไตย การขาดคุณธรรม ขาดสันติสุข  
ความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้เข้าร่วมฟังการอภิปราย
คนที่ 1 ตอนนี้คนส่วนใหญ่ส่งลูกหลานเข้าเรียนในโรงเรียนที่เชื่อว่าสามารถพัฒนาลูกหลานให้เป็นคนเก่งสามารถแข่งขันกับคนอื่นได้ แต่ในสมัยก่อนจะมีแต่โรงเรียนวัดคนที่เข้าไปเรียนจะพัฒนาทั้งด้านวิชาการและได้รับการปลูกฝังด้านคุณธรรมไปด้วยไม่ได้เน้นที่การแข่งขันเพราะจริงๆ แล้ว บวรคือ วัด บ้าน โรงเรียนเป็นสิ่งที่ผูกพัน กันน่าพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้เท่าเทียบกัน
คนที่ 2 การที่รัฐบาลสนับสนุนให้คนได้เรียนหนังสือเป็นสิ่งที่ดีแต่สถาบันการศึกษาหรือโรงเรียนเก็บค่าเล่าเรียนแพงมาก แม้แต่รัฐบาลเองทีให้เรียนฟรีในการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่ต้องมาจ่ายเงินเพิ่มค่าเรียนภาษาอังกฤษ ค่าเรียนคอมพิวเตอร์ อยากให้รัฐบาลออกกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บค่าเล่าเรียนให้มีมาตรฐาน เพราะตอนนี้เป็นการศึกษาเชิงพานิชเยอะ  
คนที่ 3 การบริหารจัดการจัดหลักสูตรน่าจะคำนึงถึงตลาดแรงงานว่าต้องการอะไร เพราะตอนนี้ปัญหาคนตกงานมาจากการผลิตคนมาไม่ตรงกับตลาดที่รออยู่  
คนที่ 4 การเรียนวิชาศิลปะเป็นการฝึกให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์และมีผลกระทบทางอารมณ์ปลูกจิตสำนึกที่ดี แต่ในขณะนี้ขาดครูศิลปะ

เรียนท่าน ดร. จิระ

ท่านลองเข้าไปดูในบันทึก ของมิสเตอร์ช่วย คงจะช่วยได้อีกเยอะ

 

สวัสดีครับ

P

เห็นควรอย่างยิ่งที่จะขับเคลื่อน คุณธรรมนำชาติ ให้เป็นวาระแห่งชาตด้วยครับ รบกวนให้คำชี้แนะและร่วมระดมสมองใน concept idear การเผยแพร่ธรรมะในเชิงรุก ด้วยครับ

ขอบคุณครับ

  • การแยกการศึกษาออกมาจากการเมืองนั้น ห้ามนักการเมืองมาบริหารนะครับ เราจะไม่รับคนทำงานการเมืองมาทำงานทางด้านการศึกษาเพราะมันคนละเรื่องกัน ตอนนี้ต้องเข้าใจว่าการเมืองแทรกไปในวงการศึกษาทั่วทุกแห่ง เมื่อแยกออกมาจะลำบากในช่วงแรก แต่ผมเชื่อว่าไปได้ อันนี้ต้องขอความเห็นใจจากคนทำงานการเมือง หากเห็นอยากจะให้การศึกษาโตจริงๆ
  • P
    • สวัสดีครับ ผมขอมองต่างมุมเพิ่มอีกนิดนะครับ
    • จริงๆ แล้วผมไม่ค่อยจะเห็นด้วยที่จะไปโทษ "ค่านิยม สังคม และวัฒนธรรมไทย ซึ่งกำลังถูกทำลายด้วยค่านิยม และวัฒนธรรมจากสังคมตะวันตก" ผมว่าเราไม่น่าจะไปโทษสังคมตะวันตกเลยครับ
    • ผมว่าเราน่าจะโทษตัวเราเองต่างหากครับ ที่เราไม่สร้างภูมิคุ้มกันให้กับสังคมไทยเราให้เด็กรู้จักเลือก ให้ครูรู้จักเสพ ให้ผู้บริหารรู้จักคิด ว่าอะไรควรอะไรไม่ควรที่จะนำมาใช้ต่างหากครับ
    • สังคมตะวันตกเป็นของเค้าอย่างนั้น เค้าก็มีรากเหง้าของเค้านะครับ เราก็มีรากเหง้าของเราอยู่ เราจะทำอย่างไรหล่ะครับที่จะให้รากเหง้าของเรามันอยู่และเกิดแต่สิ่งดีๆ และยังอยู่ในสังคมเรา ไม่ใช่อะไรเราก็รับๆ รับ รับ มาอย่างเดียว โดยไม่ผ่านกระบวนการโดยการใช้ปัญญาที่เรามี มองและดูว่าเหมาะสมแค่ไหนกับบ้านเรา เราจะยืนอยู่บนขาเราเองได้ไหมครับ
    • หากผมมีลูก ลูกผมกับลูกคนข้างบ้านทะเลาะกันผมต้องตีลูกผมไว้ก่อนนะครับ
    • หากเรารู้จักประเมินตัวเราผมว่าเราจะรู้ว่าเรามองแล้วมีส่วนไหนดีไม่ดี หากเราพร้อมจะปรับปรุง เราก็ทำได้ครับ
    • การศึกษาไทย หากจะเอากันให้จริงๆ แล้ว เราต้องแยกออกจากการเมือง นะครับ ไม่งั้นไม่มีทางหรอกครับ ที่จะพัฒนาได้ เพราะว่าตอนนี้ประเทศไทยเราหน่ะครับ ถูกปกครองด้วยการเมือง แทนที่จะเป็นการศึกษาปกครองประเทศ
    • จะมีใครกล้าแยกออกมาไหมครับ ที่จะแยกมาบริหารกันแยกส่วน โดยเอาเงินงบประมาณแผ่นดิน 10-20% มาใส่ในด้านการศึกษาไปเลย หรือมากน้อยแล้วแต่เป้าหมายในการพัฒนา โดยที่ไม่มีการเมืองมาเกี่ยวข้องในส่วนนี้เลย การศึกษาจะได้คิดและพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง เพราะการเมืองขึ้นกับพรรคการเมือง แล้วมีวาระ แต่การศึกษาต้องห้ามล้มเหลว การเมืองล้มเหลวได้ ก็ล้มไป แต่การศึกษาต้องยังอยู่ เด็กต้องมีชีวิตกันต่อไป
    • ต่อไปเมื่อแยกการศึกษาออกมาแล้วนะครับ ก็จัดการล้างส่วนที่เน่าๆ ในการศึกษาออกให้สะอาด ตรงไหนมีปัญหาก็ซ่อมเสีย แล้วสร้างครูให้เป็นอาชีพที่คนอยากเป็นให้ได้ มีการให้แรงจูงใจที่ดีในการเป็นครู การขาดสิ่งต่างๆ ไม่ว่าเทคนิคการสอน จิตวิทยาการเป็นครู เรื่องเหล่านี้ ใครๆ ก็สามารถจะเรียนรู้ได้ หากได้คนที่มีจิตใจอยากสอน อยากให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
    • ผมเองเป็นครูแบบไม่ได้เรียนผ่านกระบวนการทางศึกษาศาสตร์มาก่อน แต่ผมก็ต้องพร้อมจะศึกษาเรื่องเหล่านี้ ว่าต้องทำอย่างไรเช่นกัน
    • ต่อมา เมื่อการศึกษามีมาแล้ว การจะจัดการเรื่องการพัฒนาครูให้มีคุณภาพทำได้ไม่ยากครับ เพราะงบประมาณก็มี บริหารได้เต็มที่ อาจจะมีการสร้างชุดคณะกรรมการประเมินผลด้วย การจะสร้างการศึกษาให้บริการชุมชนจริง การศึกษาต้องเกิดจากความต้องการของชุมชนด้วย ตามรากเหง้าของแต่ละภาค เพราะแต่ละภาคจะต่างๆ กัน ดังนั้น การเรียนการสอน แล้วแต่สาขา ศึกษากันให้ดี หลักสูตรไม่เน้นรับต่างชาติมามากเกินไป จนเราเป็นง่อย
    • เมื่อคัดครูได้ แล้วครูที่ไม่ผ่านเกณฑ์ในระบบคุณจะทำอย่างไร ทำได้ง่ายๆ อาจจะมีการให้โอกาสครูปรับปรุงตัวเอง ให้แนวทางในการเรียนการสอน ให้ปรับความรู้เพิ่ม อาจจะมีการสอบคัดคุณภาพครูทุกๆ สามปี เปิดสอบเนื้อหา และเปิดสอบการสอน โดยที่คณะกรรมการการสอน อันนี้แบ่งงานกับทำตามภาคส่วนได้ เพื่อปรับปรุงและคัดออก (มันดูเหมือนจะโหดไปหน่อยครับ สำหรับครู แต่นี่หล่ะ ที่มาของคำว่าคุณภาพ)
    • คราวนี้ ทีมบริหารการศึกษาก็มีคณะกรรมการประเมินผลการบริหาร ครูก็มีคณะกรรมการประเมินผลครู โดยชุมชนมีส่วนร่วมด้วยครับ แล้วเด็กหล่ะครับ ใครประเมิน ก็สถาบันนี่หล่ะครับประเมินในการสอบเข้า หรือว่าไม่มีการสอบเข้าก็ได้ ตามรูปแบบที่วางไว้ อันนี้คิดกันได้ หากเล่นกันตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถม ดีขึ้นมาเรื่อยๆ ระดับอุดมศึกษา ก่อนสอนง่ายขึ้นครับ
    • ต่อมาถึงระดับของการสร้างคนดี มีคุณธรรม และปัญญา ส่งออกไปในองค์กรต่างๆ ในประเทศ เช่นการเมือง การศึกษา ภาครัฐ เอกชน ชุมชน และส่วนอื่นๆ ในประเทศ
    • คนที่มีปัญหาก็จะเริ่มจางลง ไปเองครับ แรงต้านก็จะหายไปครับ ระบบเจ้าพ่อ ระบบอะไรก็จะหดไปมากขึ้น เพราะเรามีการศึกษาให้กับชุมชนออกแบบการศึกษาให้กับตัวเองด้วย โดยทีมการศึกษาจะต้องทำงานกับภาคชุมชน การวิจัยก็ต้องเกิดการทำร่วมกัน
    • เมื่องานวิจัยก็มี การสอนก็ได้คุณภาพ ประเทศตะวันตกเค้าก็มาดูงานเมืองไทยเองหล่ะ ว่าเราจัดการบริหารกันอย่างไร
    • เราส่งคนมาดูงานในยุโรป ตะวันตกกันแล้วกลับไปก็ทำอะไรกันได้บ้างครับ นอกจากเขียนรายงานว่าได้อะไรบ้าง เราจะจัดการอย่างไร จัดการไม่ได้ใช่ไหมครับ เพราะมันโยงใยกันทั้งหมด นี่คือหนทางที่ผมแนะนำให้แยกออกมา
    • ซึ่งผมก็เขียนไว้ในบทความแยกกันบริหารจะได้ไหม เรื่องการศึกษาและการเมือง ลองเข้าไปเยี่ยมได้ที่นี่ ครับ การศึกษากับการเมืองควรรวมหรือแยกกันบริหาร คุณคิดอย่างไร
    • เมื่อการศึกษาไปได้ดีแล้ว ปัญหาอื่นๆ ก็ไม่ต้องมีอะไรมากครับ คือ ไม่ต้องเขียนกฏหมายให้ยุ่งยาก ซับซ้อน เพราะคนมีคุณธรรม ไม่ต้องส่งคนมาเรียนกฏหมายต่างประเทศมากมาย เพราะไม่จำเป็น ส่งไปฝึกงานหรือร่วมงานประชุมก็พอ
    • ไม่ต้องแก้ปัญหาการว่างงาน เพราะคนถูกวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
    • และปัญหาอื่นๆ ไม่ต้องวุ่นวายกันต่อไป
    • การแยกการศึกษาออกมาจากการเมืองนั้น ห้ามนักการเมืองมาบริหารนะครับ เราจะไม่รับคนทำงานการเมืองมาทำงานทางด้านการศึกษาเพราะมันคนละเรื่องกัน ตอนนี้ต้องเข้าใจว่าการเมืองแทรกไปในวงการศึกษาทั่วทุกแห่ง เมื่อแยกออกมาจะลำบากในช่วงแรก แต่ผมเชื่อว่าไปได้ อันนี้ต้องขอความเห็นใจจากคนทำงานการเมือง หากเห็นอยากจะให้การศึกษาโตจริงๆ
    • แต่.....หากคนเล่นการเมืองให้ความสำคัญกับการศึกษาจริงๆ ไม่จำเป็นต้องแยกเลยครับ ที่พูดมาทั้งหมดนี้ เพราะหากเห็นความสำคัญและจริงใจในการแก้ไขปัญหาจริง รวมหรือแยกก็ไม่ใช่ประเด็น แต่นั่นหมายถึงว่าคนทำงานการเมืองจะต้องมีคุณภาพจริงๆ ที่เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นกิจที่หนึ่ง ส่วนตนมาเป็นอันดับสอง
    • ขอบคุณมากนะครับ ต้องขออภัยด้วยนะครับ หากความเห็นอาจจะตรงและแรงไปบ้าง แต่นี่คือความอัดอั้นในใจผมที่อยากจะบอกนะครับ
    • ส่วนเรื่องคุณภาพอาจารย์นั้น.....ผมว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่หรอกครับ.... กู้คืนระบบเก่าขึ้นมาให้ได้ก่อนครับ อย่าไปโทษตะวันตกครับ เพราะข้อดีเค้าก็มี เราควรเลือกข้อดีๆ มาปรับใช้ เรากล้าวิจารณ์คนไทย กันหรือเปล่าครับ เรากล้าจะวิจารณ์ทำให้เราเสียหน้าไหมครับ หากเรากล้าฉีกหน้าตัวเราเอง นั่นหล่ะเราพร้อมที่จะปรับปรุงระบบของเราแล้วครับ
    • ขอบคุณมากนะครับ ขอโทษด้วยครับที่พิมพ์ไปยาวมากเลยนะครับ ท่าทางจะยาวพอสมควรนะครับพี่กมลวัลย์
    • กราบสวัสดี ท่าน ศ.ดร.จีระ ที่เคารพ
    • มีท่านหนึ่งนำบทความผมมาเพิ่มเติมต่อในประเด็นนี้ เข้ามาดูด้วย แล้วอ่านดูแล้วทำให้ผมสนใจประเด็นหนึ่งมากๆ คือ
    • 4.      การแยกการเมืองออกจากการศึกษาเพราะที่ผ่านมาการแต่งตั้งผู้บริหารสถานศึกษาการเมืองเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องจึงส่งผลในแง่ลบสู่ระบบการศึกษาไทย       
    • ไม่ทราบว่าในส่วนนี้ เป็นการแยกกันในเชิงไหนครับ เป็นการแยกกันบริหาร หรือว่า แยกอย่างไรบ้างครับ พอดีผมได้เขียนบทความไว้ด้วย ตามที่มี ท่านหนึ่งเอามาโพสต์ไว้ด้วยนะครับ
    • อยากจะขอความกรุณาช่วยให้ความกระจ่างในส่วนความคิดข้อที่ 4 นี้ด้วยนะครับ ว่ามีส่วนใดเพิ่มเติมอีกบ้างครับ
    • กราบขอบพระคุณมากๆ นะครับ
    ประยูร พงษ์ประภาพันธ์

    นายประยูร พงษ์ประภาพันธ์

    เมื่อ เสาร์ 26 พฤษภาคม 2550

    เรียน ศ.ดร. จีระและเพื่อนร่วมรุ่นทุกท่าน

     

                    ผมเสียดายมากที่ไม่ได้ไปอบรมในสัปดาห์ที่ 1 ณ โรงแรมเมธาวลัย อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เนื่องจากต้องเดินทางไป ปฏิบัติราชการที่ประเทศภูฏานกับคุณ พิบูลย์ บัวแช่ม (อคฟ) ระหว่างวันที่ 14-18 พฤษภาคม 2550จริง ๆ แล้วผมและคุณพิบูลย์     บัวแช่ม เดินทางไปกับผู้บริหารระดับสูงของกฟผ อีก 2 ท่าน

                    ผมเชื่อว่าภูฎาน คือจุดหมายในฝันแห่งหนึ่งที่ทุกท่านอยากมาเยือน แต่อีกนั่นแหละ มีไม่มากคนนักที่เคยได้ไปเยือนเนื่องจากค่าใช้จ่ายไปภูฎานค่อนข้างสูง จากข้อมูลคร่าว ๆ เที่ยวภูฎาน 5 วันมีค่าใช้จ่ายประมาณ 70,000 บาท หลายคนจึงเก็บแผนเดินทางไปภูฎาน ซุกเอาไว้ในความฝัน...

                    ผมอยากจะ SHAREประสบการณ์ในการไปภูฏาน ครั้งนี้กับการอบรมของหลักสูตรของเรา โดยเฉพาะ  newsletter เป็นสกู๊ปบทเรียนจากความจริง ของอาจารย์ใน น.ส.พ แนวหน้า วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม 2550 ในหัวข้อเรื่อง คนไทยต้องเอาจริงกับการเรียนภาษาอังกฤษ

                    ภาษาซ็องค่า(Dzongkha)เป็นภาษาประจำชาติของชาวภูฎาน แต่ผู้ที่มีการศึกษาพอสมควร จนถึงระดับสูงจะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดีแม้กระทั่งพนักงานขับรถที่มาให้บริการเรา เท่าที่ทราบผู้ที่เรียนเก่งรัฐบาลจะส่งไปเรียนต่างประเทศเพื่อกลับมาพัฒนาประเทศ หันกลับมาประเทศไทยผมว่าคนที่จบปริญญาตรียังมีปัญหาการพูดการเขียนภาษาอังกฤษพอสมควร ผมว่าแนวการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในบ้านเราควรต้องพิจารณาใหม่

                    ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ว่า ครูภาษาอังกฤษต้องมี life long learning และมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง ผู้นำและผู้บริหารในวันนี้ต้องเก่งงานและเก่งคน แล้วควรต้องเก่งภาษาอังกฤษและเก่ง computer ด้วยจึงจะเจ๋งจริง

                    ขอขอบคุณทุกท่าน

                    ประยูร พงษ์ประภาพันธ์
    สุภาพบุรุษเทพศิรินทร์

       กราบเรียนที่ผู้มีอุดมการณ์เป็นห่วงชาติทุกท่าน

       กระผมขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมนะครับ

    1.ในเมื่อมีการพัฒนาด้านโภชนาการก็ควร  พัฒนาเรื่องที่อยู่ที่อ่านหนังสือหรือทำการบ้านที่เหมาะสมก็ควรให้ความรู้ประชาชนเรื่องนี้ด้วย  จะได้มีบรรยากาศในการเรียนรู้ที่เหมาะสม 

    2.การรวมประถมกับมัธยมผมว่ารวมได้และดีด้วยถ้าเรื่องที่เรียนจบไวก็นำเรื่องที่ยากมาปูพื่นทำให้กระชับเวลาการศึกษา แต่ในตอนนี้ยังไม่ควรรวมเพราะม.ต้นกับม.ปลายยังจัดกันไม่เข้าถ้าอยู่เลย  แก้แล้วข่อยขยายน่าจะดี 

     3.ผอ.กำหนดหลักสูตรผมว่าดี  เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจะทำให้แต่ละโรงเรียนมีอิสระในการแสดงฝีมือและเกิดการแข่งขันอะไรที่มีการแข่งขันจะพัฒนาเร็ว  มีสิทธิเพิ่มหนือลดคาบไปเลยยิ่งดี  แต่จะทำให้ที่เรียนพิเศษต่างจัดคอสลำบากถ้าทำเช่นนั้นคงต้องมีทางออกให้เด็กเหล่านั้น  เช่น ให้รุ้นพี่สอนพิเศษน้องโดยมีการกำกับจากครู ก็เป็นอีกทางออกที่แก้ปัญหาที่สอนไม่ทันของครูได้

     4.การกระจายความเจริญทางการศึกษาไปสู่ต่างจังหวัด  อันนี้เจงมากทำให้ได้นะครับ  เพิ่มเติมนำสิ่งดีๆจากต่างจังหวัดมาให้กรุงเทพด้วยนะครับ  และควรมีการค้นหาช้างเผือกด้วย 

     5.สำหรับปัญหาขาดครูเฉพาะทางก็ทำ"โครงการสอนครูฟรีให้ดีกว่าเดิม"  อบรมครูทั่วประเทศโดนนำผู้รู้จริงมาสอนช่วงปิดเทอมเพื่อให้ครูเข้าใจลึกสึ่งที่การศึกาต้องการให้เด็กทราบอยางแจ่มแจ้ง 

    6.การเมืองกับการศึกษาถ้าไม่อยากให้การเมืองมาข้องเกียวก็อย่ามีข้อเสียให้มาเกินหานโยบายมาปิดจุดอ่อนตนซะไม่ต้องให้การเมืองมาสอน

    7.อยากให้เด็กเข้าวัดก็กำหนดให้เด็กบวชเรียนสัก1พรรษาเพื่อเป็นการศึกษาเข้าเป็นหลักสูตรบังคับไปเลย

    8.เรื่องค่าเล่าเรียนลองมีนโยบายเพื่อนให้ทุนเพื่อนสิให้น.ร.ในร.ร.เก็บเงินวันละบาทเพื่อเป็นทุนเรียนฟรีให้เพื่อน  โดยมีข้อแม้ว่าเด็กที่ได้ทุนต้องมาจากคุณสมบัติ2ประการ 1.ทุนเรียนดี  2.ทุนเด็กดี  (โดยมีข้อแม้ให้งบกับผู้ที่ยากจน) สองทุนควรแยกหรือรวมกันผู้ให้ทุนควรพิจารณาตามความเหมาะสม

    9.ปัญหาผลิตคนไม่ตรงตลาดนี้ควรมีคำแนะนำตลาดให้คนในประเทศก็จริงและควรอธิบายงานนั้นๆด้วย  ให้เยาวชนตัดสินใจเองไม่ควรบังคับ 

    สวัสดีครับอาจารย์

    พอดีเปิดเจอได้อ่าน และขอใช้ช่องทางนี้สื่อแสดงความคิดเห็น สังคมการศึกษาของเราไม่สมควรแบ่งแยกระหว่างการเมืองกับการศึกษา ผมใคร่เห็นทุกภาคส่วนของสังคมไทย ถูกขับเคลื่อนไปพร้อมกัน เพราะการเมืองเป็นภาคที่มีศักยภาพด้านขับเคลื่อนดำเนินการ ถึงเวลาที่สังคมเราควรต้องเข้าไปมีบทบาทกำกับการเมือง เพื่อให้การเมืองเป็นตัวแทนที่ดีอันแท้จริงของเรา โดยสร้างภาคประชาสังคมให้เข้มแข็งไม่ว่าจะเป็นการเปิดใช้ช่องทางสื่อเดี่ยว แล้วขยายออกไปเป็นกลุ่ม และขอให้เป็นไปในแนวทางสร้างสรรค์ ไม่ประสงค์ต่อผลประโยชน์ส่วนตน หรือพรรคพวก การเมืองไทยสมควรต้องเข้าไปทำหน้าที่สนองตอบให้แก่ภาคประชาสังคม หากการเมืองใดไม่สนองตอบสังคม สังคมสมควรต้องรวมกลุ่มกดดัน ไปไหน เจอที่ไหนไม่ให้เกียรติ ไม่เชิญ ไม่ทักทาย ไม่ยกมือไหว้ ไม่ให้ความสำคัญ หรือทำเมินมองไม่เห็น ให้เกิดความละอาย เพราะนักการเมืองนั้นมิใช่นายเรา แต่เขาเป็นเพียงตัวแทนของเรา หากไม่ดีพอสมัยต่อไปช่วยกันประโคมประจานขับไล่ มิให้ชาวบ้านเลือกเข้ามาทำหน้าที่อีก แต่ถ้าดีต้องช่วยกันรักษาสนับสนุน ให้ความร่วมมือพัฒนาประเทศกันอย่างเป็นระบบ เพราะหากเราไม่อาศัยการเมือง เราก็คงได้แต่คิด แต่ไม่สามารถขับเคลื่อนกันได้อย่างที่เป็นอยู่ จึงจำเป็นต้องร่วมดำเนินไปด้วยกัน

    ระบบการศึกษาของเราเช่นกัน ต่างศึกษากันไปอย่างไร้ทิศทาง แก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันเท่านั้น จบมาตกงานกันมากมาย เสียเวลา เสียโอกาส ยกตัวอย่างเช่น สาขาพยาบาลต่างประเทศต้องการมาก สามารถสร้างงานสร้างรายได้ที่ดีให้กับคนไทยได้ แต่ไปติดขัดกับข้อจำกัดสัดส่วนด้านปริมาณระบบครูผู้ฝึกสอนในแต่ละปีการศึกษาเป็นผลให้ไม่สามารถสนองตอบสังคมได้ ใคร่เห็นระบบการศึกษาไทยควรอ้างอิงกับฐานข้อมูลความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อแจ้งทิศทางปริมาณความต้องการแรงงานในแต่ละสาขาวิชาชีพให้เด็กได้ตัดสินใจ อาจจะค่อย ๆ ดำเนินการในแต่ละภาคส่วนวิชาชีพที่สามารถบริหารจัดการได้ไปก่อนแล้วระบบจะค่อย ๆ ปรับตัวเข้าสู่ฐานข้อมูลเชิงประสิทธิภาพในที่สุด ทุก ๆ ปัญหาของสังคมล้วนมีที่มาที่ไปจากต้นน้ำของสังคม เรามักไม่ไปใส่ใจแก้ไขแต่ต้นมือ รอแก้ไขเฉพาะปลายทางของสายน้ำที่ต่างแตกแขนงก่อปัญหาไปอย่างมากมาย สิ้นเปลืองทั้งทรัพยากร เวลา แรงงาน งบประมาณอย่างไม่สมควรเป็น จึงประสงค์จะเห็นแนวคิดดี ๆ ที่มีกระจัดกระจายอยู่มากมายในสังคมสมควรนำมาเชื่อมร้อยเข้าด้วยกัน แล้วให้ระบบการเมืองมาศึกษาเชื่อมโยง จัดระบบเข้าดำเนินการในรูปของกิจกรรม หรือโครงงานรองรับ เชื่อว่าสังคมไทยจะเกิดความร่วมมือสมัครสมานสามัคคี ไม่แบ่งแยก แบ่งฝ่ายเช่นที่เป็นอยู่ เราต้องยอมรับว่าสังคมไทยต้องประกอบกันจากคนหลากหลายภาคส่วน แต่ต้องมาหลอมใจรวมกันทำหน้าที่ด้วยสำนึกแห่งความรู้รักสามัคคี ปัญหาทุกอย่างจึงจะได้ข้อยุติ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท