beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

สถิตินิสิตชีววิทยา มน.


อัตราส่วนผู้ชาย : ผู้หญิง เท่ากับ 1 : 5.4

    วันนี้ผมเข้าไปดูสถิติ จำนวนนิสิตชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในรอบ ๔ ปี ข้อมูลที่พบมีดังนี้

 

 รหัส ๔๙

 รหัส ๔๘

 รหัส ๔๗

 รหัส ๔๖

 รวม 

 

 ชาย  หญิง

 ชาย  หญิง

 ชาย  หญิง

 ชาย  หญิง

 ชาย   หญิง

 

 13    89

  12    84

14    53 

19    86 

 58  312

รวม 

 102

 96

 67

 105

 370

                 

   ผมลองรวมนิสิต ๔ ชั้นปี แล้วนำมาคิดเป็นเปอร์เซนต์ พบว่ามีผู้ชายร้อยละ ๑๕.๖๘ ส่วนผู้หญิงมีร้อยละ ๘๔.๓๒ หรือหากคิดเป็นอัตราส่วน มีผู้ชาย : ผู้หญิง เท่ากับ 1 : 5.4 (หากมีการวิเคราะห์สถิติทุกสาขา แล้วจะพบว่า สัดส่วนของนิสิตหญิงมากกว่าชาย แน่นอน)

   ข้อมูลนี้น่าสนใจทีเดียว...ผมเคยให้นิสิตชีววิทยาจับกลุ่มกันและวิเคราะห์ประเด็นว่า "ทำไมในมหาวิทยาลัย จึงมีสัดส่วนของนิสิตหญิงมากกว่านิสิตชาย"  คำตอบที่นิสิตตอบมา (ไม่เรียงลำดับมากน้อย)

  1. เป็นเพราะประชากรผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
  2. เป็นเพราะคนรุ่นก่อน ผู้หญิงถูกกีดกันทางการศึกษา (มีลูกหลายคนให้ผู้ชายเรียนก่อน) คือบางบ้านไม่ค่อยนิยมส่งลูกสาวไปเรียนหนังสือสูงๆ เกิดความเก็บกดเอาไว้ พอมาถึงรุ่นนี้ แม่ก็เลยสนับสนุนลูกสาวให้เรียนสูงๆ....ประเด็นนี้ก็น่าสนใจ

   ประเด็นที่นิสิตสรุปกันได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ก็มี ๒ ข้อ

    ถ้าเป็นความคิดของผม ผมวิเคราะห์ว่า

  • ระบบหรือหลักสูตรการศึกษา โดยเฉพาะขั้นอุดมศึกษา...เหมาะสำหรับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย....ข้อนี้ผมให้น้ำหนักค่อนข้างมาก

   ยังมีประเด็นอื่นๆ รองลงไปเป็นส่วนประกอบอีกมากมาย....หากท่านใดจะให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมก็เชิญได้ครับ..

   ผมลองนำเหตุผลทางชีววิทยา มาเป็นส่วนประกอบ ในการวิเคราะห์ดังต่อไปนี้นะครับ

  1. อัตราการเกิดของเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย
  2. ความอดทนในการทำงานซ้ำกันในเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย
  3. ส่งผลถึงทำให้เพศหญิงอ่านหนังสือได้ทนกว่าเพศชาย และเพศหญิงยังมีความสามารถทางด้านการจำดีกว่าเพศชาย (ขณะที่เพศชายมีความสามารถทางคิดคำนวณสูงกว่าเพศหญิง)
  4. เพศชาย เป็นเพศที่ชอบใช้พละกำลัง..ในการตัดสิน..ชอบการผจญภัย..ความสามารถจึงออกไปทางใช้พละกำลัง, เล่นกีฬาที่ใช้กำลัง เช่น ฟุตบอล มวย เป็นต้น
  5. ...........

   ผมคิดว่าข้อที่..เพศหญิงมีความอดทนทำงานซ้ำๆ หรืองานนั่งอยู่กับที่ ได้สูงกว่าผู้ชาย ทำใหเพศหญิงอ่านหนังสือได้ทนกว่าเพศชาย ประกอบกับมีความสามารถในการจดจำได้สูงกว่าเพศชายเล็กน้อย...เมื่อประกอบกันแล้ว

   ทำให้เพศหญิงเหมาะสำหรับระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ทั้งระบบ Admission และ ระบบโควต้า....ส่งผลให้นิสิตหญิงมากกว่าชาย..

   ต่อมาก็มีระบบสอบเก็บคะแนน...ซึ่งเน้นสอบทางด้านทฤษฎี : ปฏิบัติในสัดส่วน ๗๐ : ๓๐ หรื ๖๐ : ๔๐ ทำให้เพศหญิงอยู่ในระดับต้นๆ ของการตัดเกรด....

   อาจจะมีเหตุผลอื่นๆ ครับ

   ทีนี้พอไปประกอบอาชีพ เพศหญิงไปทำงานอะไรบ้าง

  • ทำงานใน Office (ไปถึงขั้นบริหาร)
  • ทำงานในห้องปฏิบัติการต่างๆ เป็นนักวิจัย เป็นนักวิทยาศาสตร์
  • วิชาชีพ เช่น พยาบาล แพทย์ กายภาพบำบัด สถาปนิก วิศวกร ฯลฯ
  • งานอาชีวศึกษา เช่น พนักงานบัญชี คหกรรม คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
  • ครู อาจารย์
  • วงการบันเทิง นางแบบ
  • การขาย ขายตรง โดยเฉพาะเครื่องสำอาง พนักงานห้างสรรพสินค้า
  • การตลาด
  • แม่ค้าขายอาหาร
  • อื่นๆ..............

   เพศชายไปทำงานอะไรบ้าง

  • เป็นนักกีฬา, นักกิจกรรมการศึกษา
  • ทหาร,ตำรวจ, ตม., ศุลการักษ์, รปภ.
  • วิชาชีพ แพทย์ ทันตแพทย์ วิศวกร สถาปนิก กายภาพบำบัด เภสัชกร ศิลปินอิสระ ฯลฯ
  • ดารา นักแสดง Dancer
  • งานอาชีวศึกษา เช่น อู่ซ่อมรถยนตร์ ติดตั้งอุปกรณ์รถยนตร์ งานในโรงงานอุตสาหกรรม เครื่องกลต่างๆ ฯลฯ
  • พนักงานขายเครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • นักบวช ใน ศาสนา
  • ผู้บริหารบริษัท
  • นักกฎหมาย..รัฐศาสตร์ ปกครอง..
  • นักกีฬา
  • แท๊กซี่ จักรยานยนต์รับจ้าง
  • อาชีพที่ใช้กำลัง....ติดตามทวงหนี้...รื้อถอนร้านค้า
  • อื่นๆ .......

    อาชีพของเพศชายจะหลากหลายกว่าเพศหญิง ซึ่งเพศหญิงก็ทำได้แต่มีสัดส่วนจำนวนคนน้อยกว่านั่นเอง....

    ผมก็ยังอยากสรุปว่า ระบบหรือหลักสูตรการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเหมาะสำหรับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย....นะครับ

   เดี๋ยวนี้ ผมเห็นผู้หญิงเรียนเก่ง ที่จบ ด๊อกเตอร์

  • อยู่เป็นโสด
  • แต่งงานกับผู้ชายที่เรียนน้อยกว่า เช่น เป็นนักคอมพิวเตอร์, เจ้าของกิจการซ่อมเครื่องยนต์, นักบริหาร....
  • แต่งงานเมื่ออายุใกล้ๆ เลข ๔ หรือ เลข ๕
  • แต่งงานแล้วเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัว
  • เป็นนักบริหารบริษัทเอกชน
  • อื่นๆ....

   ผู้หญิงเก่งขึ้น...โลกหมุนกลับ...ผู้หญิงจะเป็นผู้นำประเทศ

BeeMan

BeeMan

หมายเลขบันทึก: 72004เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 07:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 08:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • ผมเคยแซวประเด็นนี้ เพราะเห็นตัวเลขลักษณะเดียวกันมาเป็นสิบกว่าปี เมื่อก่อนยังเข้าใจเอาเองว่าเกิดกับบางสายวิชาชีพ มาตาสว่างตอนเห็นตัวเลขภาพรวมที่มีคนเผยแพร่ไว้ระดับประเทศ
  • ข้อมูลค้นเองจาก สนง.สถิติแห่งชาติยังชี้ให้เห็นว่าจำนวนผู้ชายกับจำนวนผู้หญิงมีเท่ากัน
  • คาดว่าโครงสร้างการศึกษาของไทยเอื้อให้เกิดการกีดกันผู้ชายออกจากระบบมหาวิทยาลัย แต่กลไกการกีดกันนี่ ผมยังไม่แน่ใจ อาจเป็นอย่างที่อาจารย์คาดก็ได้ครับ

เรียนคุณวิบูลย์

  • ข้อมูลสำนักงานสถิติของคุณวิบูลย์ปีไหนครับ...ปีที่ผมเคยเข้าไปดูเมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อน ผู้หญิง กับ ผู้ชายใกล้เคียงกัน..
  • ผมไม่ได้เข้าไปดูสถิติ ของสนง.สถิติหลายปีแล้ว มีคนบอกว่าตัวเลขของผู้หญิงเพิ่มขึ้น (เข้าใจว่าคงรวมประชากรทั้งหมด..จำนวนหญิงสูงอายุ ผู้หญิงมากกว่าผู้ชายจึงทำให้ตัวเลขเพศหญิงสูงกว่าเล็กน้อย)
  • แต่ผู้ชายจะบวชเป็นพระสงฆ์ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ กว่าคนครับ...จำนวนผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์จึงสูงกว่าผู้ชาย
  • ส่วนข้อสุดท้าย...ความเห็นคล้ายๆ กันครับ...เป็นความรู้สึกของผมเมื่อ ๒๐ ปีที่แล้วด้วย...รุ่นผม (ชีววิทยา) มี ๒๒ คน เป็นชาย ๔ หญืง ๑๘ เป็นสัดส่วน ๑๘ : ๘๒ ครับ 
  • ขอโทษครับ ที่ทำให้เข้าใจผิดเรื่องข้อมูล เพราะมีข้อมูลสองแหล่ง ซึ่งผมกล่าวถึงอย่างละเอียดในบทแซว แต่ตรงนี้พูดรวมกันไป จึงทำให้งง

คืออย่างนี้ครับ...

  • ตัวเลขของ สนง.สถิติแห่งชาติ บอกว่า ชาย ~ หญิง (ตาม link ภาพ)

http://gotoknow.org/file/wwibul/ThaiPop2544.jpg

(ภาพนี้เป็นภาพที่สร้างเองจากข้อมูล ซึ่งซีกซ้ายและขวาค่อนข้างสมมาตรกัน)

  • ในระดับชาติ การที่บอกว่าอัตราเกิดเป็นหญิงเพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราการเกิดเป็นชาย ต่อให้จริง ก็จะไม่ได้ต่างกันแบบถล่มทลาย เพราะต่างกันแค่ 0.1% ก็ถือว่าต่างกันมากทางสถิติแล้วครับ (ผมแสดงการพิสูจน์ข้างท้าย)
  • มีตัวเลขของจำนวนผู้เรียนในมหาวิทยาลัยเมื่อไม่กี่ปีก่อน (คิดว่าน่าจะยังไม่เก่าเก็บจนเกินไปนัก) ที่ชี้ว่า หญิง >> ชาย

http://www.mua.go.th/infodata/47/46grad24.xls

  •  หากประมาณว่าวัยเจริญพันธุ์มี 30 ล้านคน ก็จะมีผู้ชายราว 15 ล้านคน ผู้หญิง 15 ล้านคน ลบจำนวนผู้ชายที่บวชพระออกไป 3 แสนคน ก็จะทำให้สัดส่วนที่เอียงไปจาก 1:1 เพียงไม่เกิน 2 % ครับ
  • สรุป: ตัวเลขในมหาวิทยาลัย จะมี หญิง >> ชาย โดยไม่สามารถจะอธิบายได้จากโครงสร้างประชากร หรือการบวช เพราะโครงสร้างประชากรและการบวช รวมกันแล้ว มีผลให้เกิดความแตกต่างเพียงไม่เกิน 3 % เท่านั้น

-----------------------------------

 การพิสูจน์เรื่องอัตราส่วนประชากร

ไทยมีประชากรราว 60 กว่าล้านคน เคยอ่านพบว่าตัวเลขคงนิ่งอยู่แถวนี้ไปเป็นสิบปี แล้วอาจจะค่อย ๆ ลดลง

ผมตั้งประมาณการไว้ที่ 64 ล้านคน จะได้คำนวณง่ายหน่อย

ตั้ง Ho: P(ชาย) = P(หญิง) = 0.5

ใช้ binomial distribution ค่า SE ของ P จะได้

SE = square root (0.25/N) = 0.5/8000

ที่ระดับความเชื่อมั่น 99.73 % (+3SE)

3 SE = 0.0001875 

จะได้ว่า P ที่เบี่ยงเบนไปจาก 0.4998 - 0.5002 ก็ต่างทางสถิติแล้ว สำหรับโครงสร้างประชากร

 

เรียนคุณวิบูลย์ครับ

  • ตามรอยไปดูข้อมูลแล้วครับ
  • และดูสถิติที่คำนวณมาให้ดูแล้วครับ
  • แต่เนื่องจากผมไม่ได้เรียนเอกสถิติ จึงพอเข้าใจ ๔๙ % ไม่เข้าใจ ๕๑% ครับ
  • แต่สรุปว่า โครงสร้างทางการศึกษา ได้ทำให้เพศชายหายไปจากค่าปกติที่ควรจะเป็นมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเชียวครับ
  • ผมถือโอกาสปรับข้อมูลของตัวเองไปด้วย โดยค้นจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ

ประมวลข้อมูลสถิติที่สำคัญของประเทศไทย พ.ศ.2549

  • ขอลอกข้อมูลบางส่วนของปี 2548 มาลงไว้ดังนี้ (หน่วยจำนวนเป็น ล้านคน ยกเว้นช่องอัตราส่วนหญิง/ชาย จะไม่มีหน่วย)

ช่วงอายุ

ชาย

หญิง

หญิง-ชาย

หญิง/ชาย

0-4

2.0330

1.9186

-0.1144

0.944

5-9

2.3909

2.2640

-0.1269

0.947

10-14

2.4570

2.3336

-0.1234

0.950

15-19

2.3497

2.2536

-0.0961

0.959

20-24

2.5793

2.5241

-0.0552

0.979

25-29

2.6827

2.6678

-0.0148

0.994

30-34

2.7265

2.7843

0.0578

1.021

35-39

2.6723

2.7942

0.1219

1.046

40-44

2.4390

2.5671

0.1281

1.053

45-49

2.0427

2.1899

0.1471

1.072

50-54

1.5830

1.7262

0.1432

1.090

55-59

1.1459

1.2629

0.1170

1.102

60-64

0.8849

0.9946

0.1097

1.124

65-69

0.7395

0.8743

0.1348

1.182

70-74

0.5327

0.6688

0.1361

1.256

75-79

0.3222

0.4340

0.1118

1.347

80-84

0.1637

0.2381

0.0744

1.455

 

  • ได้ข้อสรุปว่า ตัวเลขประมาณการณ์ของผมผิดไปพอสมควรเพราะมีความผันแปรตามช่วงอายุค่อนข้างมากอย่างน่าแปลกใจ กลายเป็นว่า ในช่วงอายุวัยเรียน ผู้ชายมีมากกว่าผู้หญิง แต่การสรุปภาพรวมยังไม่เปลี่ยนครับ คือในมหาวิทยาลัย หญิง >> ชาย
  • ในกรณีนี้ ผู้ชายจะเป็นคล้ายสสารมืด (dark matter) คือแม้คาดว่าจะมีมากกว่าสสารปรกติ (baryonic matter) แต่จะล่องหนหายไปจากการมองเห็นเมื่อไปถึงขั้นมหาวิทยาลัยได้
  • อึ้งครับ..

 

  • อาจจะมีสถิติแฝงอยู่ครับคุณวิบูลย์
  • คือช่วงวัยเรียนมีผู้ชายมากกว่าผู้หญิงก็จริง แต่พอฝ่ายชายจะตายจากอุบัติเหตุมาก (พวกขี้เมา)
  • เคยมีคนที่ผมรู้จักครับ...ช่วงอายุประมาณ ๓๖ ปี คนรุ่นเดียวกับแกตายไปหมดแล้ว (มีประมาณ ๕-๖ คน) เหลือแกคนเดียว ที่ตายเพราะเมา..ขับรถไปชนต้นไม้ตายครับ

สัดส่วนนิสิตนักศึกษาชายและหญิงคาดว่าจะเหมือนกันแทบทุกสถาบันในบางสาขาวิชา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มี 13 คณะในระดับป.ตรี ดังนี้ คณะแพทย์ ทันตะ เภสัช พยาบาล การแพทย์แผนไทย วิทยาศาสตร์ วิศวะ  ทรัพยากรธรรมชาติ อุตสาหกรรมเกษตร เศรษฐศาสตร์ นิติ  วิทยาการจัดการ ศิลปศาสตร์  ภาพรวมนักศึกษาเป็นผู้หญิงมากกว่าชายเช่นกัน  มีข้อสังเกตนะ

มีมุมมองบางประการที่มองไม่เหมือนคนอื่นผู้ชายมีทางเลือกในการศึกษามากกว่าหญิง เช่นเรียนป่าไม้ ทหาร ตำรวจ และผู้ชายเสียชีวิตมากกว่าหญิงในช่วงวัยรุ่นตอนต้นและตอนกลางตามนิสัยกล้า บ้าบิ่น ชอบลอง ยาเสพติดตามวิสัยชาย รถซิ่งเป็นปัจจัยหนึ่งทำให้ผู้ชายหล่นหายไปก่อนเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย เช่นกัน

  • ขอบคุณ คุณอัมพรครับ ที่เข้ามาลปรร.
  • มุมมองที่กล่าวมา..เป็นเหตุผลส่วนหนึ่งครับ...
  • น่าจะมีหลายสาเหตุ....ประกอบกัน

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ

ละก็ขออนุญาต นำข้อมูลบางส่วนไปใช้ด้วยนะครับ

คือผมเป็นนิสิตชั้นปีที่สอง คณะจิตวิทยา จุฬาฯทำรายงานเรื่องนี้อยู่ด้วยพอดีครับ

ก้วยเวลาที่ค่อนข้างและจำกัด และเทอมนี้เรียนต่อนข้างหนักจึงทำรายงานที่มีเหตุผลสนับสนุนเรื่องในเรื่อง จำนวนเพศหญิงที่มากว่าเพศชายในสถาบันระดับอุดมศึกษา เพียงเท่านี้ ซึ่งข้อสรุปเกือบทั้งหมดนี้เป็นการหาวิเคราะห์จากข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเชิงสถิติทั้งสิ้นหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจไม่มาก็น้อยนะครับ

ที่จุฬาฯก็มีนิสิตหญิงมากกว่าชายในทุกระดับด้วยครั้บ ทั้ง ป.ตรี โท เอก ประกาศนียบัตรบัณฑิตและประกาศนียบัตรบัณฑิตขั้นสูง ครับ

สรุป

สมมติฐานที่กล่าวว่า “มีเพศหญิงศึกษาอยู่ในสถาบันระดับอุดมศึกษามากกว่าเพศชาย” นั้นมีข้อมูลและงานวิจัยขึ้นมาเพื่อสนับสนุนสมมติฐานนี้มากมาย และเหตุผลที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นก็ถูกนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุโดยใช้หลักฐานที่เป็นข้อมูลทางสถิติ เพื่อยกเป็นเหตุผลสนับสนุนสมมติฐานนี้เช่นกัน

จากข้อมูลอัตราการเกิดของประชากรนั้นพบว่าเพศชายมีอัตราการเกิดที่สูงกว่าเพศหญิงนั่นหมายึงว่าเป็นไปมากที่ จะมีประชากรวัยเรียนเพศชายสูงกว่าเพศหญิงในเวลาต่อมา และส่งผลให้ประชากรวัยเรียนเพศชายในสถาบันระดับอุดมศึกษามีจำวนมากกว่าประชากรวัยเรียนเพศหญิงแต่จากข้อมูลที่พบอยู๋ในปัจจุบันพบว่ามีนิสิตนักศึกษาหญิงจำนวนมากกว่านิสิตนักศึกษาชายเกือบทุกสถาบัน ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก อัตราการตายช่วง 0-14 ปี ของเพศชายมีสูงกว่าเพศหญิง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชากรวันเรียนเพศชาย (ในเวลาต่อมา) ลดลงเมื่อเทียบกับเพศหญิงต่อมาเมื่อ ประชากรวัยเรียนทั้งเพศชายและเพศหญิงศึกษาจบในช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6) และช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3) พบว่าเพศชายมีอัตราการไม่เรียนต่อสูงกว่าเพศหญิงสูงถึง 21,700 คน ต่อมาประชากรวัยเรียนเพศชายที่เลือกเรียนต่อหลังจากจบช่วงชั้นที่ 3 นั้นนักเรียนชายเลือกที่จะเรียนต่อสายอาชีวะศึกษามากกว่าเพศหญิง โดยที่ต้องยอมรับว่าผู้ศึกษาในสายอาชีวะศึกษามีโอกาสที่จะเข้าสถาบันระดับอุดมศึกษาน้อยมากโดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งนักเรียนชายเลือกที่จะเข้ารับการศึกษานอกระบบโรงเรียนรวมถึงศึกษาสายอาชีวะศึกษามากกว่านักเรียนหญิงถึง 42,100 คน ในช่วงวัยรุ่นตอนต้นนี้เองที่วัยรุ่นชายเพศชาย เป็นเพศที่ชอบใช้พละกำลังในการตัดสิน ชอบการผจญภัย มีการใช้เวลาว่างในการออกกำลังมากกว่าเพศหญิงจึงนำไปสู่ปัญหาทางด้านพฤติกรรม ซึ่งปัญหาทางความประพฤตินี้นำไปสู่จำนวนเยาวชนที่ถูกจับเข้าสถานพินิจ หรือถูกจับขัง พบว่าเยาวชนชายที่เข้าสถานพินิจลคุ้มครองเด็กและเยาวชนจะมีมากกว่าเยาวชนหญิงคิดเป็น 7,386 คน เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้นิสิตนักศึกษาชายลดลง อีกสาเหตุหนึ่งคือมีประชากรวัยเรียนก่อนระดับอุดมศึกษาที่ติดโรคติดต่อร้ายแรง ทำให้ไม่สามารถเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาได้ เนื่องจากต้องเข้ารักษาตัวและไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมเท่าที่ควร นอกจากนั้นวัยรุ่นตอนต้นชายยังมีอัตราการตายจากอุบัติเหตุ และความความรุนแรงสูงกว่าเพศหญิง (ไม่สามารถหาหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอเพื่อการวิเคราะห์ออกมาได้ แต่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่สำคัญ) เหตุผลที่กล่าวมานั้นเป็นเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่าประชากรวัยเรียนเพศชายนั้นไม่มีคุณสมบัติพอที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้โดยมีปริมาณผู้ที่จะเหมาะสมแต่การถูกคัดเลือกเข้าศึกษาต่อลดลงเป็นลำดับตามช่วงอายุ ยิ่งไปกว่านั้นในผู้ที่จะเข้าแข่งขันในการคัดเลือกเพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมทั้งชายและหญิง มีงานวิจัยที่เสนอว่าเพศหญิงมีความสนใจในการหาความรู้และการศึกษาเล่าเรียนมากกว่าเพศชาย โดยมีงานวิจัยเรื่องการอ่านหนังสือเป็นตัวอย่าง โดยธรรมชาติแล้ว เพศหญิงมีความอดทนทำงานซ้ำๆ หรืองานนั่งอยู่กับที่ ได้สูงกว่าผู้ชาย ทำใหเพศหญิงอ่านหนังสือได้ทนกว่าเพศชาย และพบว่าเพศหญิงมีการอ่านหนังสือประเภทต่างๆมากกว่าเพศชาย รวมไปถึงหนังสือประเภทตำราเรียนตามหลักสูตรซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้อนุมานได้ว่า การอ่านหนังสือที่มากกว่าย่อมทำให้มีโอกาสในการเข้าศึกษาต่อมากกว่า นิสัยการอ่านหนังสือไม่เพียงแต่เป็นการบอกถึงความสนใจในการหาความรู้เพิ่มเติมแต่ยังเป็นการบอกถึงความเป็นคนใฝ่รู้ในความเป็นไปต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นได้ว่านักเรียนเพศหญิงจะติดตามข่าวสารการศึกษาต่อมากกว่านักเรียนชาย ยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับนักเรียนหญิงมากขึ้นในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาด้านเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษานั้นเกือบจะทุกคณะจำเป็นต้องใช้คะแนนวิชาภาษาอังกฤษ และในหลายๆคณะที่มีการกำหนดเกณฑ์ในการให้น้ำหนักของวิชาภาษาที่สามด้วย ทักษะด้านนี้พบว่าเพศหญิงสามารถสื่อสารหรือใช้ภาษาอื่นนอกเหนือจากภาษาไทยได้ดีกว่าเพศชาย หมายความว่าในคณะหรือเกณฑ์การคัดเลือกนั้น นักเรียนหญิงยิ่มมีโอกาสที่จะถูกคัดเลือกมากกว่าเพศชาย ในขณะเดียวกันเพศชายส่วนใหญ่ก็มีความสามารถในทักษะไม่เท่าเพศหญิง

จากข้อสรุปข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อสนับสนุนสันนิษฐานนี้เท่านั้น ยังมีเหตุผลอีกมากมายที่จะสนับสนุนสันนิษฐานข้อนี้ และหวังว่างานวิจัยที่จะเกิดขึ้นต่อๆขึ้นมาจะช่วยพัฒนามาตรฐานการศึกษาไทยและปรับสมดุลระหว่างชายหญิงในช่วงชั้นการศึกษาต่างๆเพื่อคุณภาพชีวิตและการขับเคลื่อนไปในทางเจริญก้าวหน้าของประเทศไทยต่อไป

**นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งนะครับ

****ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ

******ผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ดวย

********และขอรับเป็นความผิดของผมผู้เดียว

ขอบคุนครับ

ขอบคุณน้อง Jojoe ที่เข้ามาลปรร.นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท