เซนเซ เพื่อนของเด็กรักป่า


“ อย่างนี้ ต้องขอให้ช่าง สลักชื่อไว้ในอิฐด้วย ทำไปๆ เวลาใช้ไปๆ มันคุณภาพไม่ดี จะได้รู้ว่า ใครทำ..........ทำอะไร ต้องตั้งใจทำ ไม่งั้นเสียเวลา เสียใจ.........”
เด็กรักป่า มีเพื่อนสนิทชื่อ เซกิกาวา เป็นชาวญี่ปุ่น เขาเรียนจบวิศวะ เรารู้จักเขาตอนที่มาเป็นอาสาสมัครผู้บำเพ็ญประโยชน์ที่สุรินทร์ เมื่อ 19 ปีก่อน ใช้ชีวิตสมถะมาก ทานข้าวมื้อเดียว มีชุดใส่ไม่กี่ชุด มีมอเตอร์ไซด์เก่าๆหนึ่งคัน .........................................ชาวบ้านจะเรียก เซนเซ ....เขาบอกว่า เขาไม่ใช่ เซนเซ ( อาจารย์ ) แต่คนก็เรียกเขาแบบนี้.........................................................................................................เขามีความคิดว่า ทุกๆปีจะ มีคนญี่ปุ่นมาร่วมกับคนสุรินทร์ ปลูกต้นไม้ตามที่ต่างๆในป่าสงวน ปลูกเสร็จ ไม่มีใครดูแล ต้นไม้ก็ตาย เขาเสียใจมาก.................................เขาจะบ่นให้เราฟังเสมอๆ...............เซนเซ เป็นคนที่ทำอะไรแล้วก็จริงจัง ตั้งใจมาก ...................................อย่างตอนที่ เด็กรักป่า ก่อสร้างโรงเรียนใหม่ๆ มีช่างชาวบ้านมาทำอิฐดินชนบท คุณภาพ ยังไม่ได้ ไม่ดี .............เซนเซ ก็พูดมาว่า “ อย่างนี้ ต้องขอให้ช่าง สลักชื่อไว้ในอิฐด้วย ทำไปๆ เวลาใช้ไปๆ มันคุณภาพไม่ดี จะได้รู้ว่า ใครทำ..........ทำอะไร ต้องตั้งใจทำ ไม่งั้นเสียเวลา เสียใจ.........” ........................................................หลังๆ เซนเซไปนอนเฝ้าต้นไม่ที่คนอื่นปลูกเอาไว้ในป่า ถ้าต้นเล็กๆ เซนเซก็จะ เอามุ้งนอนไปกางให้ต้นไม้........................................ถ้ามีแมลงมากินต้นไม้ เซนเซก็จะค่อยๆหยิบออกๆ และบ่นแมลง ว่าไม่ควรจะมากินต้นไม้เลย ทำไมไม่กินอย่างอื่น .........................................................................แต่ก็เป็นเรื่องขำไม่ออก ที่มุ้งครอบต้นไม้เพื่อกันแมลงของเซนเซ หายไป......................คงมีชาวบ้านที่ต้องการมุ้งไปกางนอนมากกว่าต้นไม้ก็เป็นได้....................................................................เซนเซ รักเด็กรักป่ามาก เรารู้ว่าเซนเซไม่มีเงิน แต่เซนเซ ก็จะหาต้นไม้ที่หลากหลายมาให้ เด็กรักป่า เสมอๆ เซนเซมีความรู้มากเรื่องต้นไม้ .......................................... ทุก สามเดือน เซนเซจะมาให้ฉันช่วยเขียนภาษาไทย ทำเรื่องต่ออายุวีซ่า และเดินทาง นั่งรถไฟ ชั้น 3 จากสุรินทร์ ลงใต้ ไปมาเลย์เซีย กลับมา เซนเซ ก็จะมี สีไม้น้ำ มาฝาก เด็กรักป่าทุกครั้ง ครั้งละหลายๆกล่อง เพราะรู้ว่า เราวาดรูปกันเป็นประจำ.....เซนเซ ไม่มี เงินเดือน ไม่มีรายได้ ใช้จ่ายประหยัด เราไม่รู้ว่า เซนเซอยู่อย่างไร และไม่เคยกลับญี่ปุ่นเลยจนวาระสุดท้าย เด็กรักป่าก็รัก เซนเซมาก ......ตอนนี้ เซนเซไม่ได้อยู่กับเราแล้ว......จากเราไปนานแล้ว ลมหายใจของเซนเซอยู่ในต้นไม้ ใบหญ้า รอบๆเด็กรักป่า ระลึกถึงเซนเซคะ.....................................................................................................
หมายเลขบันทึก: 71999เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2007 06:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะ คุณดอกแก้ว,

ขอบคุณอีกครั้งค่ะสำหรับเรื่องเล่าดี ๆ  อ่านแล้วเห็นภาพตามเป็นช้อท ๆ ชนิดนำไปเขียนสคริปต์สร้างหนังเลยค่ะ  เป็นเรื่องที่ซาบซึ้งมาก และคุณดอกแก้วก็เล่าได้ดีมากด้วย

ฟังแล้วนึกภาพลักษณะนิสัยคนญี่ปุ่น typical สมัยก่อนออกเลยนะคะ  สมัยก่อนนั้นฟังดูว่าจะมีลักษณะประจำชาติร่วมกัน  คือสมถะ ประหยัด เรียบง่าย จริงจัง ตั้งใจ  รักธรรมชาติ บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมและไม่นึกถึงตัวเอง 

ฟังแล้วนึกถึงหลักบูชิโดของซามูไรเปี๊ยบเลยค่ะ คุณดอกแก้ว  ซึ่งก็ไม่แปลกใจเลย เพราะจากที่พอทำทบทวนวรรณกรรมในวิทยานิพนธ์แล้วพบว่ามันมีอิทธิพลเข้าไปในทุกชนชั้นของญี่ปุ่นจริง ๆ ค่ะ ไม่ใช่เฉพาะชนชั้นซามูไร และแม้นแต่จะยกเลิกการปกครองโดยชนชั้นซามูไรไปแล้ว

โดยเฉพาะการท่องมาอย่างโดดเดี่ยวเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนเล็ก ๆ  อย่างนี้น่ะค่ะ ฟังแล้วมูซาชี้ มูซาชิ

งานของคุณดอกแก้วนั้นดีจังเลยนะคะ ทำให้ได้สัมผัสกับคนที่มีจิตใจงดงามอยูบ่อย ๆ

ทำให้รู้สึกนึกอนุโมทนาไปด้วยอยู่ทุกทีที่ได้อ่านเรื่องราว  ดีจังค่ะ

อ้อ, วันนี้มีเรื่องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคุณดอกแก้วด้วยล่ะค่ะ  ดีใจที่ได้ทำตัวเป็นประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ เสียที หลังจากที่ได้แค่ตามอ่าน ตามชื่นชมอยู่อย่างเดียว

คือแนวคิดเรื่องเขียนชื่อผู้ทำไปบนอิฐนี่น่ะค่ะ  บังเอิญเพิ่งทราบที่มาที่ไปมาหมาด ๆ เลยล่ะค่ะนี่

มันมีที่มามาตั้งแต่สมัยยุคโตกุกาว่าแล้วล่ะค่ะ อย่างน้อยนะคะ  นั่นก็คือ เมื่อราว ๆ ๔๐๐ ปีที่แล้ว

เมื่อไม่กี่อาทิตย์ที่แล้ว  ระหว่างช่วงที่ยังรับทุนวิจัยอยู่ญี่ปุ่น ได้มีโอกาสไปเดินโต๋เต๋อยู่หลายปราสาท  หลายเมืองค่ะ

แหม....ก็ทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับซามูไรนี่คะ ฮิ ๆ ก็ต้องเอาเงินทุนไปเที่ยว เอ๊ย ไปเก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์บ้างเป็นธรรมดา

ระหว่างเดิน ๆ ด้อม ๆ มอง ๆ อยู่ที่ฐานปราสาท นิโจ ของโชกุน โตกุกาว่า ที่เกียวโต นั้น  สายตาก็พลันเหลือบไปเห็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ ขีดเขียนเหมือนเป็นรอยสลักบ้าง รอยขีด ๆ บ้าง บนหินก้อนยักษ์ต่าง ๆ ที่เขานำมาก่อเป็นฐานปราสาท

หินแต่ละก้อนไม่ใช่เล็ก ๆ นะคะ  โห....ใหญ่มากกกกก  และสมัยก่อนก็ไม่มีอุปกรณ์ไฮเทคด้วย  ในการปราสาทยักษ์ขนาดนั้น (ขนาดกว้างขวางที่สุดในโลกสมัยนั้นแล้วมั้งคะ บรรดาปราสาทต่าง ๆ ของอิเอยาสุน่ะค่ะ โดยเฉพาะที่เอโด)   เห็นแล้วก็ยังนึกว่าเขาลากกันไปยังไงเนี่ย  แล้วไปเรียงกันเรียบร้อยสวยงามเป็นทรงปิรามิดขึ้นไปเป็นฐานปราสาทอีก

สักพักคุณไกด์ของรัฐบาลญี่ปุ่นก็โฉบมาอธิบายเรื่องรอยสลักบนหินยักษ์เหล่านั้นค่ะ  โดยบอกว่า  สมัยก่อน เนื่องจากระบบโชกุนนั้น ใช้เจ้าแคว้นแต่ละแคว้นให้ช่วยกันขนหินมาใช้ในการก่อสร้างปราสาทส่วนกลางของโชกุน  เหมือน ๆ กับเป็นการแสดงความสวามิภักดิ์ และการส่งส่วยกลาย ๆ ด้วย.....

ดังนั้น  ใครส่งหินใดเข้ามา  มาร่วมก่อสร้างมากน้อยแค่ไหน  หินดีหรือไม่  ใครเป็นคนรับผิดชอบ จึงมีการสลักชื่อเจ้าแคว้นนั้น ๆ ลงไปบนหินเหล่านั้นไงคะ

อุ๊ย...เมื่อกี๊มือไปโดนปุ่มกดส่งออกไป แหะ ๆ ยังพิมพ์ไม่เสร็จเลย 

อ้าว เลยลืมไปเลยว่าจะพิมพ์อะไร ฮิ ๆ สงสัยจะแก่แล้วเรา

คุณ เซนเซ ท่านนี้น่ารักมากนะคะ  ตรงที่เจอแมลงก็ไม่ฆ่าด้วย  แต่ค่อย ๆ หยิบออก

แถมทานข้าวมื้อเดียวอีกต่างหาก โห....ฟังแล้วเหมือนพระป่า พระปฏิบัติเลยค่ะ  สมถะจริง ๆ

อ้อ, นึกออกแล้ว จะบอกว่า คนญี่ปุ่นนั้น  ไม่ได้จำกัดคำว่า เซนเซ เฉพาะไว้เรียกครูบาอาจารย์เท่านั้นน่ะค่ะ คุณดอกแก้ว

เอาไว้เรียกใครที่เราเคารพด้วยก็ได้ในเชิงความรู้กึ่ง ๆ วิชาอาชีพ  เช่น  ไว้เรียกเวลาคุยกับคุณหมอก็ได้ค่ะ  ก็เรียกว่าเซนเซเหมือนกัน

หรือถ้าดูจากรากศัพท์  ก็จะยิ่งเข้าใจและ appreciate การที่คนจีนและญี่ปุ่นเลือกคำ ๆ นี้มาใช้เรียกคนกลุ่มนี้ที่เขาเคารพนับถือ  ไม่ว่าจะด้วยความเป็นครูบาอาจารย์  ที่ "สอน" เราในชีวิตจริง ไม่ใช่ตำแหน่งหน้าที่  หรือว่าผู้ที่มีบุญคุณกับเรา

เพราะตัวอักษรนั้น  ให้เกียรติกับ "ผู้ที่มาก่อน" หรือ  "ผู้ที่ใช้ชีวิตมาก่อน" เรานั่นเองค่ะ  อารมณ์ประมาณคนไทยเรียกว่า "อาบน้ำร้อนมาก่อน" นั่นเอง

เซน แปลว่า ก่อนหน้า  เซ หมายถึงชีวิต

ชีวิตของคุณเซกิกาว่าท่านนี้  เป็นคนรุ่นก่อนหน้า ที่เราคนรุ่นหลังน่าศึกษาและให้เกียรติเสมือนท่านเป็นอาจารย์เราคนหนึ่งจริง ๆ ค่ะ

คนสุรินทร์เรียกท่านอย่างนั้นน่ะถูกแล้ว....

สวัสดีค่ะ,

ณัชร

 

คะ คุณณัชร ตระกูลเซกิกาวาญาติๆเขาก็น่ารักคะ เขารู้ว่า เซนเซ สนิทกับเรา เวลาเขามาเมืองไทยก็จะมาเยี่ยมที่เด็กรักป่าเสมอ ปีใหม่ส่งการ์ดมาให้ แม้ว่า เซนเซจะเสียไปนานแล้ว .....เรื่องสลักชื่อ มีจริงด้วยหรือคะ ....มีที่มาที่ไปจริงๆ แปลกมาก ตั้ง 400 ปี ......และที่คิดว่า เซนเซประหยัด เพราะ อยากอยู่ เมืองไทยนานๆ อยากอยู่ที่จะได้ทำตามความคิดของตัวเองมากกว่า......ก็จะมีเงินก้อนเล็กๆจาก พี่สาวที่ญี่ปุ่นส่งมาให้ คิดว่า นะคะ ก้อนเล็กๆ อยู่ หมู่บ้าน....ก็ได้นานเหมือนกัน อยู่แบบซามูไรสมัยก่อน....

มีค่ะมี  มีทุกปราสาทเลยด้วย  ที่ปราสาทนาโงย่าก็มีค่ะ คิดว่ามีถ่ายรูปไว้ไม่ทราบที่ไหนบ้าง  ยังรื้อข้าวของไม่หมดเลยค่ะ จากญี่ปุ่น หาเจอเมื่อไหร่  (ว่าเซฟไว้ที่ไหนแหะ  ๆ ) จะอัพโหลดรูปรอยสลักบนก้อนหินใหญ่ที่รากฐานปราสาทให้ดูนะคะ 

คือไม่ได้สวยงามนะคะ เป็นเหมือนรอยขูดขีดข่วนซะละมากกว่า แต่อาจจะเป็นเพราะคนงานขนอิฐน่ะค่ะใช้เครื่องมือแถวนั้นทำเอาลวกๆ  ไม่ใช่งานช่างฝีมือเขาแล้วเวลามันผ่านมานานหลายร้อยปีแล้ว

ใช่ค่ะ เซกิกาว่า  เซนเซ ท่านอยู่แบบซามูไรสมัยก่อนจริง ๆ ด้วยนิ  (ว่าแล้วอยากโค้งให้หนึ่งทีด้วยความเคารพ)

ณัชร

คะ คุณณัชร ที่บ้านดิฉัน บนหิ้งพระ มีรูป เซกิกาวา อยู่ด้วยคะ ยิ้มให้กันทุกวันคะ........... ดิฉันจะตื่นตีสี่ สวดมนต์ ไหว้พระ ทำสมาธิ ระลึกขอบคุณผู้ที่อุปถัมภ์เรา ดูแลเราและเอ่ยชื่อมาเรื่อยๆ รวมทั้ง เซนเซ ด้วยคะ ...จำท่าโค้งคำนับของ เซนเซ ติดตาคะ และเซนเซ ชอบไหว้ พระอาทิตย์ ด้วยคะและ เซนเซก็จะยิ้มอย่างมีความสุข รอยยิ้มเหมือนเด็กๆ ........ ตอนเขียนเรื่องนี้ ดิฉันก็ร้องไห้คะ ระลึกถึงคุณความดี และเราก็ทำไม่ได้เท่า เซนเซเลยคะ

โถ...ชอบไหว้พระอาทิตย์ด้วยหรือคะ...อย่าพูดซิคะเดี๋ยวร้องไห้ด้วยคน   เพราะกำลังจะมาเฉลยอีกแล้วว่าทำไมเขาถึงไหว้พระอาทิตย์...โถ...คุณตาเซกิกาว่า เป็นซามูไรจริง ๆ  ด้วย  ฮือ ๆ

เพิ่งกลับมาจากเรียนดาบคาบยาวเลยค่ะ  สองคลาส  สองวิชาดาบ    กับเซนเซ  แล้วก็คลาสหลังมีเรียนกับเด็กอนุบาลญี่ปุ่นตัวจิ๋ว ๆ  ด้วย  ฮิ   ๆ  น่ารักมาก  ตอนนี้เลยเหนื่อยจัดจะเป็นลมแล้ว (ด้วยความหิว) เดี๋ยวจะมาคุยด้วยใหม่นะคะ คุณดอกแก้ว

ฮือๆ....ทานข้าวก่อนคะ เด๊ยวเป็นลม จริงๆ

เรื่องนี้น่ารักมากเลยค่ะ มีรูปเซนเซ มั๊ยคะน้องปัถย์อยากเห็นจังค่ะ

ด้วยรักและชื่นชม

จากน้องปัถย์

ยังนะลึกถึงเสมอ ต้นไม้ ใบไม้ ดอกหญ้า อาคาที่เริ่มก่อสร้างยังอยู่ในความทรงจำตลอดไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท