บุคลิกลูกสะท้อนการเลี้ยงดู


ระหว่างทางกลับบ้านของสองครอบครัว ความแตกต่างเกิดจากบทบาทของผู้สอน พ่อ(เพื่อนดิฉัน) แม่(ดิฉันเอง) ความเป็นหญิงเป็นชาย

      วันนี้เจอเพื่อนที่คุ้นเคยกันตอนไปรับลูกที่โรงเรียน ลูกของเราอยู่ประถม 2  ดิฉันกล่าวชม  "ลูกของเธอเรียนเก่งจัง" (ได้คะเต็มแนนเต็มทุกวิชาที่สอบ) "ฉั๊นเห็นเธองานยุ่งจะตาย แม่เขาเอาใจใส่ดีนะเก่งจังติวกันหรือเปล่าก่อนสอบ 
คู่สนทนา "ก็สอนกันตอนอยู่ในรถนั่นแหล่ะระหว่างทางไปกลับโรงเรียน
คุยกัน สอนให้เขาหาที่มาที่ไปของเรื่องการบวก การคูณ การลบให้เขาเห็นหลักการที่มาที่ไป  ทำซ้ำๆ บ่อยๆ เขาจะเข้าใจ ทำโจทย์ได้"
"พาไปสอบวัดผลตามสถานที่เปิดติวต่างๆบ้าง วันเสาร์อาทิตย์ เด็กจะมีประสบการณ์ ครั้งที่ 1ได้เท่านี้ สอนกันใหม่ไปสอบใหม่ได้เท่านี้ สอนกันเน้นวิชาหลักๆ" 
เราแยกจากกันไป........... แต่ยังมีอะไรในห้วงคำนึงของดิฉัน
ระยะทางใกล้เคียง 3 กม.ห่างจากโรงเรียน เราเป็นคนขับรถส่งลูกเองทั้งคู่  ดิฉันคิดเปรียบเทียบ เขาเป็นบทบาทพ่อ ดิฉันเป็นบทบาทแม่ 
       ดิฉันไม่เคยทำและไม่นึกจะทำอย่างนั้นเลยในชีวิต นึกภาพการอยู่ในรถระหว่างทางของดิฉันกับลูกระหว่างทางไปกลับโรงเรียน ระหว่างทางกลับบ้านสิ่งที่ดิฉันทำคือชวนลูกคุย "วันนี้มีอะไรจะเล่าให้แม่ฟังบ้าง เขาก็จะเล่าตามประสาเค้าบางวันก็ไม่เล่า บางวันแหย่กันไปกับน้องเสียงดังลั่นรถตลอดทาง 
อย่างวันนี้ระหว่างอยู่ในรถ  
ลูกเล่า      "วันนี้ลูกฉี่แตกสองหยด"
แม่            "อ้าว!ทำไม โตแล้วยังฉี่แตกน่าอายจัง"
ลูกเล่าต่อ   "ลูกปวดฉี่มากวิ่งไปห้องน้ำเกือบไม่ทันนั่งลงแล้วเห็นที่ ข้างฝาห้องน้ำว่า "ผีมี" ลูกเลยกลัววิ่งกลับไปชวนเพื่อนมาด้วยกว่าจะชวนได้ลูกฉี่แตกไปแล้ว สองหยด"
ดิฉันถาม  ด้วยความขำ "ผีมี"หรือ"มีผี" ลูกอ่านกลับกันหรือเปล่า
ลูกย้ำ  "ผีมี" จริงๆ 
แม่ "แล้วทำไมลูกยังกลัวอยู่อีกแม่บอกแล้วไงว่าผีไม่มีในโลก ลูกยังไม่เชื่อเหรอคะ 
ลูกนิ่งคิด "แม่.....แต่เวลาอยู่กับครูครูชอบเล่าเรื่องผีให้ฟัง ตั้งแต่เตรียมแล้วแม่(แกหมายถึงก่อนอนุบาล 1) คุณครูชอบบอกว่าถ้าเด็กไปตรงนั้นผีจะหลอกจน ป 2 ครูก็เล่าเรื่องผีตลอดเลยเล่ากันทุกชั้นเลยเพื่อนๆ ก็เล่าว่าเคยเห็น"
ดิฉัน นึกโกรธครูว่าเล่าเรื่องผีให้เด็กจินตนาการ ที่จริงก็รู้สึกไม่ชอบใจทุกครั้งที่ลูกกลับมาเล่าเรื่องผีเป็นตุเป็นตะจากเรื่องเล่าของครู ดิฉันคิดว่ามันเป็นความเชื่อพื้นฐานที่ส่งผลถึงการคิดของเด็ก
แม่ "แล้วลูกเคยเห็นผีมั๊ย 
ลูก "ลูกจะเห็นได้ไง "ผีมันมีสำหรับบางคนแม่" 
ระหว่างทางกลับบ้านของสองครอบครัวความแตกต่างเกิดจากบทบาทของผู้สอน พ่อ(เพื่อนดิฉัน) แม่(ดิฉันเอง) ความเป็นหญิงเป็นชายที่ใกล้ชิดกับลูก  ดิฉันก็เดาไม่ออกว่าคุยกับลูกแบบแม่ๆ กับสอนวิชาการแบบพ่อๆ ใช้เวลาระหว่างทางในรถ ผลผลิตจะแตกต่างกันอย่างไร เด็กสองคนนี้ซึ่งเขามีสภาพแวดล้อมที่คล้ายกันอยู่หลายประการคือ พ่อ แม่ วัยเดียวกัน ลูกทั้งสองถูกเลี้ยงมาจากศูนย์เลี้ยงเด็กเดียวกันตั้งแต่ 3 เดือน(ด้วยความเป็นครอบครัวเดี่ยว) บุคลิกเด่นของลูกชายเพื่อน เรียบร้อย เป็นเด็กรับผิดชอบ ขี้อาย เรียนเก่งมาก ขี้ใจน้อยผลการเรียนสม่ำเสมอคือที่ 1 ของห้องทุกครั้งที่สอบ ลูกสาวดิฉัน ชอบเป็นผู้นำช่างเจรจา ผลสอบจะอยู่ที่ 5-7 คะแนนจะดีในวิชาที่ชอบครูผู้สอน  
หาก gotoknow ยังอยู่ หรือดิฉันยังอยู่ คงได้ฟังเรื่องเด็กสองคนนี้ไปเรื่อยๆ ค่ะ   

หมายเลขบันทึก: 40192เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2006 03:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอแชร์ประสบการณ์ด้วยคนนะคะ  จะเห็นได้ว่าจากที่คุณเมตตาเล่ามา  จะเห็นความแตกต่างของบทบาทพ่อ และบทบาทแม่ ระหว่างอยู่ในรถ  ซึ่งที่คุณเมตตาเปรียบเทียบมานั้น ถูกต้องเหลือเกิน  แต่โชคดีที่ครอบครัวดิฉัน  คนที่อยู่ในรถ เป็นทั้งคุณพ่อ และคุณแม่  ขณะที่คุณพ่อ (บทบาทเหมือนเพื่อนคุณเมตตาเปี๊ยบเลย) ชี้ชวนให้ลูกสาวคนเล็ก อนุบาล 2  ฝึกฝนตัวเลข และตัวอักษรภาษาไทย  ผ่านทางป้ายทะเบียนรถยนต์ คันข้างหน้าเรา  ซึ่งสองพ่อลูก ก็โต้ตอบกันไปมาอย่างถูกต้อง  สำหรับลูกสาวคนโต ป.3 คุณพ่อก็จะฝึกภาษาอังกฤษให้โดยวิธีการเล่นเกมส์ต่อคำภาษาอังกฤษ "ตัวอย่างเช่น " ถ้าคุณพ่อ พูดคำว่า  "tiger แปลว่า เสือ" ลูกคนโต ก็จะต้องหาคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ขึ้นต้นด้วยตัว R เช่น "Ring  แปลว่า แหวน" เป็นอย่างงี้เกือบทุกวัน ในขณะที่ดิฉัน มีบทบาทคล้าย ๆ คุณเมตตา คือ  จะเล่านิทานให้ลูกฟัง  จะให้ลูกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันให้ฟัง เช่นเดียวกันค่ะ ลูกสาวทั้งสองคน ไม่ใช่คนที่เรียนเก่งที่สุดในห้อง แต่คนโต มักได้รับเลือกจากคุณครูให้เป็นตัวแทนห้องไปประกวดอ่านทำนองเสนาะบ้าง  ไปประกวดเล่านิทานบ้าง  ซึ่งทุกครั้งถึงแม้เขาจะไม่เคยได้รางวัลอะไรกลับมาเลย แต่พยายามบอกเขาเสมอค่ะ ว่า  แค่ลูกได้มีโอกาสได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนห้อง นั่นคือ รางวัลที่ยิ่งใหญ่แล้ว  การหยิบยื่นโอกาสให้เด็กได้แสดงออกในสิ่งที่เขาสนใจ ถือเป็นรางวัลที่เด็กจะรู้สึกภาคภูมิใจไปได้นานคะ

          นอกเรื่องอีกแล้ว เขียนทีไร มีเรื่องเล่ายาวทุกที  แค่อยากบอกค่ะว่า ทั้งบทบาทที่คุณเมตตา กับเพื่อนคุณเมตตา แสดงต่อลูก ๆ ไม่มีใครดีกว่าใครหรอกค่ะ  ขึ้นอยู่กับว่า แต่ละคนอยู่ในบทบาทไหนมากกว่า  จริงไหมค่ะ

     หลายวันแล้วไม่ได้เจอน้องเดมเลย อยากแชร์บ้างเลยยังไม่มี ขออ่านก่อนนะพี่
     บางทีนึกอะไรเผลง ๆ พี่จะว่าไหม หากเราตั้ง CoP ของเด็ก ๆ เหล่านี้ (CoP เด็กที่ถูกนินทาใน GotoKnow) แล้วเดือนสองเดือนชวนเขามา F2F กันบ้าง เอาที่ใกล้ ๆ กัน ผมว่าได้หลานคนแล้วพี่ ลูกพี่โอ๋ พี่เม่ย พี่เมตตา พี่รัตติยา ... ผม จากนั้น เราก็ได้เรื่องเม้าส์ต่อ (นี่แหละที่ผมว่าแผลง ๆ)
  • ขอชื่นชมด้วยคนครับ ที่คุณเมตตามีลูกสาวน่ารัก  
  • "ชอบเป็นผู้นำช่างเจรจา ผลสอบจะอยู่ที่ 5-7 คะแนนจะดีในวิชาที่ชอบครูผู้สอน"
  • เป็นความสมบูรณ์แบบและเป็นเหตุเป็นผลที่ยอดเยี่ยมเลยนะครับ
  • ผมเชื่อมั่นว่า เขาจะ "เก่ง ดี และมีสุข" ในอนาคตอย่างแน่นอนครับ  

แวะมาทักนะคะ..เดี๋ยวพี่กะปุ๋มจะมา ลปรร.อีกครั้ง

แต่ชอบมากเลยที่น้องปลาบอกว่า "ฉี่แตกสองหยด"...

น่ารักมาก...คะ..

เออ..ลืมไปคะว่า...

คุณแม่น้องปลารูปใหม่แจ่มมากเลยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท