อนุทินล่าสุด


P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

@สุขจากการแบ่งปันนั้นยิ่งใหญ่กว่า...การกอบโกย@



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

@ความจริงคือสิ่งที่มิอาจถูกทำลายด้วยน้ำลายของอสัตบุรุษ@



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

 

ผู้ที่ได้หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความใคร่รู้และความสงสัยไว้ในจิตใจได้ชื่อว่าเข้าสู่วิถีแห่ง...ปราชญ์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

ในภาวะปัจจุบันนั้นการที่เราดำรงอยู่ในสังคมย่อมมีการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้เราต้องตกอยู่ในภาวะแวดล้อมที่อุดมไปด้วยการแข่งขันในด้านต่าง ๆ ทั้งทางตรง (เต็มใจเข้าสู่วงจรของการแข่งขันเอง) และทางอ้อม (ถูกเทียบสัมพัทธ์กับคนอื่น) ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบก็ตามที...แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่ การเรียนรู้ในการพัฒนาศักยภาพของตัวเราเองที่ดียิ่งขึ้น เข้าทำนองในลักษณะ แข่งกับตัวเอง...

 

"การแข่งขันเมื่อเทียบสัมพัทธ์กับผู้อื่นเพื่อมุ่งหาผู้ชนะที่เป็นเลิศ จะมีผู้ชนะได้เพียงหนึ่งคนบนเส้นทางของการแข่งขัน แต่  การแข่งขันเพื่อเอาชนะตัวเองนั้น  เป็นสิ่งสำคัญที่เราทุกคนสามารถเป็นผู้ชนะได้ทุกคน"

 

 



ความเห็น (1)

ชนะใดไม่เท่า…เท่ากับการชนะใจตัวเองค่ะ

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

                การสร้างคนดีเพิ่มขึ้นหนึ่งคน = การทำลายคนไม่ดีลงไปหนึ่งคน

 

สุขสดชื่นในเช้าอันสดใส...ที่ทุกคนมีไมตรีให้กันนะครับ...



ความเห็น (2)

เมื่อก่อนชอบอ่านกำลังภายใน ชอบที่ในนั้นสอนเรื่องคุณธรรม น้ำมิตร แต่มีจุดหนึ่งในหนังสือกำลังภายในมักเขียนถึงคือ มีแค้นก็ต้องชำระ (อันนี้ไม่เห็นด้วยค่ะ) แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ประทับใจมากค่ะ(แต่จำชื่อไม่ได้เพราะอ่านมานานแล้ว) เพราะตัวเอกไม่นิยมฆ่าฟัน ล้างแค้นเหมือนเรื่องอื่นๆ แต่เค้าจะใช้โอกาสคนไม่ดีกลับตัว แล้วบอกประมาณว่า ถ้ากลับตัวได้เท่ากับ เพิ่มคนดีขึ้นคนหนึ่ง และลดคนชั่วลงคนหนึ่ง อ่านที่คุณจัตุเศรษฐธรรมนำมาลงแล้วหวนให้นึกถึงค่ะ

ถ้าสังคมได้ดั่งที่เราหวัง สังคมคงมีความงามมากขึ้น ลด ละเลิก ความเห็นแก่ตัวลงบ้าง…ขอบคุณอาจารย์ครับที่ส่งสิ่งดีๆมอบให้สังคม

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

         คนดี    =   คิดดี + พูดดี + ทำดี

 

        ความดี  =   ผลิตผลของคนดี



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

                    ความขาดแคลน...มีสองลักษณะ
       หนึ่ง : ขาดแคลนเพราะไม่มี...เป็นความขาดแคลนทางวัตถุวิสัย
       สอง : ขาดแคลนเพราะมี (แต่) ไม่พอ...เป็นความขาดแคลนทางจิตวิสัย

 

“...เมื่อจะทำงาน อย่าหยิบยกเอาความขาดแคลนเป็นข้ออ้าง จงทำงานท่ามกลางความขาดแคลนให้บรรลุผล จงทำด้วยความตั้งใจและซื่อสัตย์...”
         (พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๘)

 

 



ความเห็น (2)

เป็นปรัชญาการทำงานของโรงเรียนบ้านหนองผือเลยล่ะ

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

        อิสรภาพหรือเสรีภาพ เป็นไปในลักษณะของความสามารถ ที่จะทำอะไร ได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็นคิด พูด ทำ โดยที่ต้องไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น รวมทั้งไม่ทำให้ ตนเองเดือดร้อน หรืออาจมองในแง่ของเป็นการเคารพนับถือคนอื่น เคารพกฎหมาย และประเพณี อันดีงามของสังคม
        ภราดรภาพ เป็นไปในลักษณะของ หลักปฏิบัติต่อกันและกันระหว่างบุคคลต่อบุคคล และระหว่างรัฐต่อบุคคล แบบมีความเป็นฉันพี่น้องกัน ค่านิยมอันนี้ เน้นเรื่องความรัก ความปรารถนาดี ต่อกันโดยตรง นำไปสู่ ความช่วยเหลือ เกื้อกูล และการพึ่งพาอาศัยกัน อันจะก่อเกิด ความสงบสุข อันเป็นยอดปรารถนาของบุคคล และสังคมก็จะตามมา…

             ๑. อิสรภาพหรือเสรีภาพ เป็นเรื่องแรงขับ (คิด พูด ทำ) ขั้นปฐมฐานของปัจเจกชน
             ๒. ภราดรภาพ เป็นไปในลักษณะขององค์ประกอบที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชน ชุมชน สังคม...
             ๓. เมื่อใดที่อิสรภาพหรือเสรีภาพถูกต้องตามจริง (ไม่ไปละเมิดหรือเบียดเบียนบุคคลอื่น) ภราดรภาพก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ เกี่ยวเนื่องจาก เมื่อทุกคนในสังคมตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพที่ตนพึงมี ไม่ไปละเมิดสิทธืผู้อื่น เคารพผู้อื่น...เมื่อนั้นความรัก ความปรารถนาดี ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคมก็จะบังเกิดขึ้น (ภราดรภาพ นั่นเอง)

                    อิสรภาพหรือเสรีภาพที่ถูกต้องตามหลักพื้นฐาน...คือสารตั้งต้นของภราดรภาพที่ยั่งยืน...

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

คำว่า "ดีที่สุด" มีไว้ให้กับพรุ่งนี้เสมอ...


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

ความรักของแม่...คือ สิ่งที่ประเสริฐและสวยงามที่สุด...ถึงแม้ (บางครั้ง) มองไม่เห็นและจับต้องไม่ได้...แต่สัมผัสได้ด้วยหัวใจ...




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

    เศรษฐี  คือ เสฏฐะ (เสด-ถะ) ในภาษาบาลีแปลว่า “ประเสริฐ” คนที่เป็นผู้ประเสริฐ (เป็นเศรษฐี) จึงต้องมีมากกว่าความร่ำรวย นั่นคือต้องมี คุณธรรม กำกับความรวยด้วยเสมอไป...




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

       ในความเห็นของผม เศรษฐกิจแบบอนาธิปไตยในสังคมทุนนิยมที่เป็นอยู่ทุกวันนี้  เป็นที่มาของความเลวร้ายอย่างแท้จริง...

         เงินอยู่ในกำมือคนไม่กี่คน บริษัทเงินทุนหรือสถาบันการเงินมีอำนาจมหาศาลโดยที่สังคมการเมืองประชาธิปไตยไม่สามารถตรวจสอบได้ เพราะสมาชิกขององค์กรฝ่ายนิติบัญญัติส่วนใหญ่ที่พรรคการเมืองเลือก ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินหรืออิทธิพลจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน ผลก็คือ ตัวแทนของประชาชนไม่สามารถปกป้องผลประโยชน์ของผู้ด้อยโอกาสได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้สถาบันการเงินที่มุ่งทำเงินอย่างเดียวยังควบคุมแหล่งข้อมูลข่าวสารหลัก (หนังสือพิมพ์ วิทยุ การศึกษา) ทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงเป็นเรื่องยากและมักเป็นไปไม่ได้ที่ปัจเจกชนจะบรรลุเป้าประสงค์หรือใช้สิทธิทางการเมืองให้เป็นประโยชน์

         ความบอบช้ำของปัจเจกชนเป็นความเลวร้ายสุด ๆ ของลัทธิทุนนิยม ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบการศึกษาของเรา นักศึกษาถูกอบรมให้ชิงความได้เปรียบและบูชาความสำเร็จในการศึกษาเพื่ออาชีพการงานในอนาคต...”

         ข้อคิดบางส่วนจากบทความของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein, ๑๘๗๙-๑๙๕๕)  “ทำไมต้องลัทธิทุนนิยม” ใน Monthly Review ฉบับแรก (เดือน พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๔๙)

  จากหนังสือ “The Einstein File : แฟ้มลับ FBI ล่าไอน์สไตน์” โดย Fred Jerome แปลโดย โรจนา นาเจริญ. หน้า ๒๑๖.




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

         ในแง่ของการบริหารจัดการความต้องการให้มีความพอเหมาะหรือพอเพียงนั้น...ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ปราชญ์แห่งพุทธธรรม ได้ให้แง่คิดทางมุมมองไว้...

             ๑. มองอย่างวัตถุวิสัยหรือมองภายนอก คือ ต้องมีกินมีใช้ มีปัจจัยสี่เพียงพอ ที่เราพูดว่าพอสมควรกับอัตภาพ ซึ่งใกล้เคียงกับคำว่าพึ่งตนเองได้ในทางเศรษฐกิจ

            ๒. ส่วนความหมายด้านจิตวิสัยหรือด้านจิตใจภายใน คือ คนจะมีความรู้สึกเพียงพอไม่เท่ากัน บางคนมีเป็นล้านก็ไม่พอ บางคนมีนิดเดียวก็พอ เป็นการเพียงพอทางจิต"

                        เพราะพอเพียงทางจิตวิสัย...จึงทำให้มีเพียงพอทางวัตถุวิสัย




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

     การเริ่มต้น...คือ...การไม่ผัดวันประกันพรุ่ง




ความเห็น (1)

มีสูตรมาเสรอม ครับ คือ ททท = ทำทันที

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

หากลดเงื่อนไข (ที่ฟุ่มเฟือย) ในชีวิตลงได้บ้าง...หนทางที่สงบและเรียบง่ายคือจุดหมายที่รออยู่...




ความเห็น (1)

'กำลัง' ค่ะ ท่านใด 'ยัง' ลองดูนะคะ จะรู้สึก 'โล่ง เบา สบาย' confirm ค่ะ

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

   การมีสมองที่ดียังไม่เพียงพอ...ประเด็นสำคัญคือ...ต้องรู้จักใช้มันไปในทางที่ดี”

                   เรเน่  เดส์คาร์ตส์ (René Descartes: ค.ศ. ๑๕๙๖ – ๑๖๕๐)

                        นักปรัชญาและนักตรรกะคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

       การใคร่ครวญหาเหตุผลในเรื่องความคิด...เป็นไปในลักษณะที่ว่า การใช้ความคิดพิจารณาว่าทำไมเราต้องคิดเช่นนั้น?...อะไรทำให้คิดเช่นนั้น?...ซึ่งจะทำให้เราได้หยุดคิดพิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วน กินลึกลงไปถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความคิดเช่นนั้น...แล้วส่งผ่านต่อยอดไปยังผลที่จะตามมาหากว่ายังคิดเช่นนั้น...ท่านเปรียบเหมือน

                 -  หากว่ากำลังวิ่งด้วยความเร็วก็จะเปลี่ยนเป็นวิ่งช้าลง

                 -  หากว่ากำลังวิ่งช้า ๆ ก็จะเปลี่ยนไปเป็นเดิน

                 -  หากว่ากำลังเดินก็จะเปลี่ยนไปเป็นหยุดยืน

                 -  หากว่ากำลังหยุดยืนก็จะเปลี่ยนไปเป็นนั่ง

                 -  หากว่ากำลังนั่งก็จะเปลี่ยนไปเป็นนอน

         การได้หยุดคิด...ทำให้สติได้ติดเครื่องทำงานอีกครั้ง” เมื่อมีสติกำกับการใช้ความคิดก็จะละเอียด ถี่ถ้วน แยบคายยิ่งขึ้น

                         “การฝึกใคร่ครวญเหตุผลทางความคิด...ทำให้การดำเนินชีวิตมีความสมดุล”




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

การเชื่อฟังหรือทำตามผู้มีอำนาจอย่างไม่ลืมหูลืมตา...เป็นศัตรูตัวฉกาจของความจริง

                             “Blind respect for authority is the greatest enemy of truth”


จากหนังสือ “ไอน์สไตน์ ชีวประวัติ และ จักรวาล (ฉบับสมบูรณ์) : หน้า.๘๐

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

รู้สึกพอเพียงทางจิตวิสัย...เพื่อจะได้รู้จักเพียงพอในวัตถุวิสัย...ซึ่งถือได้ว่าเป็นการปีนป่ายขั้นบันไดแห่งความสุขของการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืน”




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

หากไม่คิดลบ ก็จะพบกับกับโอกาส...ที่รอท้าทายความสามารถอยู่รอบตัว




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

            "เมื่อชีวิตพบเจอกับสิ่งเลวร้าย...เราควรเขียนมันไว้ในผืนทราย เพราะ สายลมแห่งการให้อภัยจะพัดผ่านทำลายลบล้างความหมางใจไปไม่มีเหลือ..."

                                                                   หาก...

             "เมื่อมีสิ่งงดงามเกิดขึ้นมามากมายในจิตใจเราควรสลักไว้บนก้อนหินแห่งความทรงจำในหัวใจซึ่งจะไม่มีสายลมแม้ว่าจะรุนแรงเพียงใดมาลบล้างและทำลายไปได้..." 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

คนที่ประสบความสำเร็จ...ก้าวสำคัญคือความกล้าในการแปลงค่าจากความฝัน...ให้มันกลายเป็นความจริง




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

ปาฏิหาริย์ไม่ใช่สิ่งที่อยู่เหนือ (กฎ) ธรรมชาติ ...แต่เป็นเพียงสิ่งที่ความสามารถของมนุษย์ปุถุชนเรายังพัฒนาไปไม่ถึง...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

      อย่ามัวอาวรณ์กับอดีตที่ผ่านพ้นไป...อย่ามัวกังวลใจในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

                                     ปัจจุบัน...ปัจจุบัน...ปัจจุบัน

               ทำเหตุให้ดีในปัจจุบัน...เพื่อผลนั้นจะก่อเกิดในอนาคต




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

ความสำเร็จ คือ จุดพักระหว่างทาง...เพื่อรอการก้าวย่างต่อไป...ต่อไป...ต่อไป...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท