อนุทินล่าสุด


P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

  เมื่อท้อใจ...ให้มองที่จุดหมาย...ไม่ใช่อุปสรรค



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

                                                                    อายุยืน…

           มีเด็กชายคนหนึ่งซึ่งรูปร่างค่อนข้างอ้วนเนื่องจากชอบกินอาหารจำพวก Fast food

          วันหนึ่งขณะที่เด็กชายกำลังรอรถอยู่หน้าปากซอย (ในมือถือแฮมเบอร์เกอร์กำลังกินอย่างเอร็ดอร่อย) ก็เผอิญพบชายหนุ่มที่อยู่บ้านติดกัน...ทักทายตามประสาคนรู้จัก...

         “นี่ไอ้น้องพักนี้ดูหุ่นหนาขึ้นเยอะเลยนะ...เป็นเพราะเรากินอาหาร Fast food นีแหละ พี่เจอเราทีไร ก็เห็นกินแบบนี้ประจำ”

         เด็กชายเหลือบมองนิดนึง...ก่อนที่จะสนใจแฮมเบอร์เกอร์ในมือต่อ...

         “เรารู้ไหม กินอาหารพวกนี้บ่อย ๆ มันไม่ดีต่อสุขภาพ ทำให้เกิดโรคอ้วนได้ง่ายและก็ตามมาอีกหลาย ๆ โรค...และที่สำคัญอาจทำให้อายุสั้นด้วยนะ”

          ชายหนุ่มอธิบายด้วยความหวังดีในขณะที่เด็กชายก็เคี้ยวแฮมเบอร์เกอร์ในมือต่อ...ก่อนที่จะพูดขึ้น

          “ปู่ผมอายุเก้าสิบ...ยังแข็งแรงอยู่เลย”

         “โอ้โห...แล้วปู่เราชอบกินอาหาร Fast food  แบบนี้เหรอ ถึงได้อายุยืน” ชายหนุ่มถามขึ้นด้วยความแปลกใจ

        “เปล่า...” เด็กชายตอบก่อนที่จะเหลือบมองนิดนึงและพูดต่อ

        ปู่ผมไม่ชอบยุ่งเรื่องชาวบ้าน”  



ความเห็น (2)

๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕ เอิ้ก ^_,^

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

             การที่เราชอบคน ๆ หนึ่งมาก ทั้ง ๆ ที่แท้ที่จริงแล้ว เขาคนนั้นเป็นคนเลว คดโกง แต่เราก็ยังเห็นเขาเป็นคนดีในสายตาและความคิดของเรา แสดงว่า เราถูกมิจฉาทิฏฐิ คือ ความรัก/ความหลง ครอบงำจนบดบังกระบวนการกลั่นกรองความคิดของตรรกะเหตุและผลที่ก่อให้เกิดปัญญาและตาสว่าง หาใช่ เป็นแก่นของความคิดเห็นแตกต่างจากคนอื่นไม่

             การที่เราเกลียดคน ๆ หนึ่ง ทั้ง ๆ ที่แท้จริงแล้ว เขาเป็นคนดี ทำประโยชน์ให้กับสังคม แต่เราก็ยังมองเขาว่าเป็นคนไม่ดีในสายตาและความคิดของเรา แสดงว่า เราถูกมิจฉาทิฏฐิ คือ ความเกลียด/ความอาฆาต/ความพยาบาท ครอบงำจนบดบังกระบวนการกลั่นกรองทางความคิดของตรรกะเหตุและผลที่ทำให้เกิดปัญญาและตาสว่าง หาใช่ เป็นแก่นแท้ของความคิดเห็นแตกต่างจากคนอื่นไม่



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

...ครั้งหนึ่งลูกชายคนเล็ก (เอดูอาร์ด) ได้ถามไอน์สไตน์ว่าทำไมพ่อถึงได้มีชื่อเสียงโด่งดังขนาดนี้ เขาตอบลูกชายโดยใช้ภาพง่าย ๆ ในการอธิบายความรู้อันยิ่งใหญ่ที่เขาค้นพบที่ว่า ความโน้มถ่วงคือการบิดโค้งของผืนกาลอวกาศ โดยอธิบายว่า

          “เมื่อแมลงตาบอดคลานอยู่บนพื้นผิวโค้งของกิ่งไม้...มันไม่ได้สังเกตหรอกว่าเส้นทางที่มันกำลังคลานอยู่เป็นพื้นผิวโค้ง...พ่อโชคดีที่เห็นในสิ่งที่เจ้าแมลงตัวนั้นมองไม่เห็น” 

   

  จากหนังสือ ไอน์สไตน์ ชีวประวัติ และ จักรวาล (ฉบับสมบูรณ์) :หน้า.๒๓๓



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

การทำสงครามกับกิเลสเป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่...มนุษย์ไม่สามารถเอาชนะกิเลสได้ด้วยการวิ่งไล่กวดกิเลส กิเลสมีความสัมพันธ์กับศีลธรรมในทิศทางตรงกันข้าม กล่าวคือ หากศีลธรรมตกต่ำ (เสื่อมถอย)ลง จะทำให้กิเลสก่อตัวได้เร็วขึ้น และ ถ้าหากศีลธรรมสูงขึ้น จะทำให้กิเลสก่อตัวได้ช้าลง

      รากเหง้าของกิเลสก่อเกิดขึ้นมาจากนาม การทำสงครามแบบถอนรากถอนโคนที่รากเหง้าต้องใช้อาวุธนาม (จิต) ในการต่อสู้ถึงจะชนะสงคราม หากใช้อาวุธรูป (วัตถุ) ในการต่อสู้ นอกจากจะพ่ายแพ้อย่างราบคาบแล้วยังเป็นการเติมพลังและเสริมพัฒนาการให้กับกิเลสอีกด้วย

 

“กิเลสบริโภค อวิชชา เป็นอาหาร...หากอวิชชาเบ่งบานยิ่งสร้างความสำราญรื่นเริงบันเทิงใจให้กับกิเลส”

 



ความเห็น (1)

กำลังกุมขมับ เมาหมัดอยู่เลยเจ้าค่ะท่่านอาจารย์

อ่านบันทึกอาจารย์หมอปัทมาล่าสุด

พอจะนึกออกว่าต้องถอดรหัสโดยใช้ปัญญา

แต่ต้นทาง ที่ก้าวมา มาด้วยมานะ

ด้วยไม่สมปรารถนา ในอะไรหลายอย่าง

เลยมีภาวะแทรกซ้อนจากตัณหาล้ำหน้า

ตัวตนยิ่งยึดมั่นหลายชั้นเหลือเกินเจ้าค่ะ

จะแยกสภาวะฉันทะ แยกรูปแยกนาม

ถอนรากอุปปาทานที่พาตัณหาเบ่งบานสารพัดนั้น

มีดก็ไม่คมพอ ลูกศร เชือกคันศรก็ย่อหย่อน

จะยิงลูกศร จักตอกจักเส้นผม ให้เป็นร้อยแฉกนั้น

ยังเป็นสงครามที่... ต้องนั่งดีดพิณบนกำแพง มิให้กิเลสตกกะใจอยู่เลยค่ะ ๕๕๕

(อันว่า ศีลธรรมนั้น เพื่อนส่งกาแฟมาเป็นห่อ ไม่ปฏิเสธเลย.. ทวนทางคุณปริมนิ อิอิ)

ขอขอบพระคุณมากมายเลยนะคะ สำหรับลายแทงสำคัญทุกชุด

ยังต้องกุมขมับแกะรอยต่อไป อย่างไม่ท้อถอยเจ้าค่ะ สาธุ ๆ ๆ

 

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

         …คู่ต่อสู้ของเราในวันนี้ ก็คือ ตัวเราในเมื่อวาน...คู่ต่อสู้ของเราในวันพรุ่งนี้ ก็คือ...ตัวเราในวันนี้...



ความเห็น (1)

รู้ตน..รู้ธรรม..ปราบกิเลสมาร ด้วยการละวาง >> ผ่านพ้นทุกข์เป็นนิรันดิ์..ขอบคุณค่ะ..

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

“ธรรมชาติมีความเป็นกลาง มนุษย์ยื้อแย่งอำนาจจากธรรมชาติมาเปลี่ยนโลกให้เป็นทะเลทราย หรือเปลี่ยนทะเลทรายให้เบ่งบาน ไม่มีความชั่วร้ายใดอยู่ในอะตอม...จะมีอยู่ก็แต่เพียงในจิตวิญญาณของมนุษย์เท่านั้น...

แอดไล สตีเวนสัน (Adlai_Stevenson) อดีตผู้สมัครชิงตำแหน่งปธน.สหรัฐอเมริกา

จากหนังสือ : ควอนตัมกับดอกบัว หน้า ๔๕.




ความเห็น (1)
  • มนุษย์เกิดมาพร้อมกิเลส เป็นผู้สร้างและผู้ทำลาย น่าเสียดายนะคะ
P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

         …รางวัลแห่งความเอร็ดอร่อย...เป็นรางวัลที่ผ่านเข้ามาทางการผัสสะในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งรางวัลที่ได้รับเหล่านั้นก็จะถูกจับแปลงค่ามาเป็นความสุขความรื่นเริงบันเทิงใจ...ส่งผ่านมาให้จากรุ่นสู่รุ่นสั่งสมและเพิ่มพูนตามวิวัฒนาการและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีมาอย่างยาวนาน... มันก็เหมือนกับ ความจริง (แท้) ที่ถูกซ้อนทับด้วยความจริงย่อย ๆๆๆ... ที่ถูกสร้างสร้างขึ้นด้วยอิทธิพลของผลตอบแทนทางรางวัลแห่งความเอร็ดอร่อยที่ได้รับจากการสัมผัสในรูปแบบต่าง ๆ กดทับซ้ำไปซ้ำมายาวนานกว่าหลาย ๆๆๆ...ปี หรือหากเราเขียนคำว่า “จริง” ไว้แล้วก็มีคนมาเขียนทับซ้ำลงไปซ้ำแล้วซ้ำเล่าตลอดเวลาไม่มีขาดตอน...อีกกี่...ข้างหน้า...จะรู้ว่า....แท้จริงแล้วคำนั้นคืออะไร...?



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

         มือที่มองไม่เห็น (invisible hand) ถือได้ว่าเป็นวาทะกรรมยอดฮิตในแวดวงวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ ที่ถูกประดิษฐ์คิดขึ้นโดย

อดัม สมิท (Adam Smith : ค.ศ. ๑๗๒๓ – ๑๗๙๐) ผู้ที่ได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็น บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์... 

        แต่สิ่งที่อยู่เหนือกว่ามือที่มองไม่เห็น...ต้องไปถามลูกหลานแท้ (เทียม) ของ Radhanite หรือ ผู้รู้เส้นทาง (สายไหม)...

        ฤา...ในโลกแห่งความเป็นจริง...มือที่มองไม่เห็นหามีไม่...มีแต่มือที่ (จงใจ) มองไม่เห็น?...:)



ความเห็น (2)

ขอบคุณ คุณแสงแห่งความดีและทุกท่าน ๆ ที่มอบกำลังใจผ่านทางดอกไม้นะครับ...

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

...มนุษย์เราไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้...ไม่สามารถ... ตลอดกาล... ไม่ว่าจะเป็นอดีต ปัจจุบัน รวมถึงอนาคต เราทำได้เพียงแค่ปรับตัว ปรับเปลี่ยนทางกายภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีที่มีอยู่ให้เข้ากับแรงบีบคั้น บังคับจากการจัดสมดุลของธรรมชาติใหม่เท่านั้นเอง ไม่มีทางที่กฎเกณฑ์ในธรรมชาติจะปรับตัวเข้ามาหาด้วยแรงบีบคั้น บังคับจากเทคโนโลยี... ไม่มีทาง...



ความเห็น (2)

มนุษย์เราไม่สามารถเอาชนะธรรมชาติได้....ใช้แล้วค่ะ... มันคือความจริง (Fact) ... มัน คือ สิ่งที่หลีกหนีไม่พ้น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

   ...ผมเคยตอบคำถามลูกชายในเรื่องเดียวกันแต่เป็นคนละคำตอบ...

   ครังแรก...ตอบด้วยอารมณ์ที่หงุดหงิด...ตอบให้ผ่าน ๆ ไป...

   ครั้งที่สอง...ตอบด้วยเหตุและผล

   ลูกชายเลยสงสัยถามว่า “พ่อ...ทำไมไม่เห็นเหมือนกับตอนที่ตอบหนูครั้งแรกเลย”

   ผมจึงได้ฉุกคิด... คำถามที่น่ากลัวที่สุด...คือคำถามของลูกชาย (ผมเอง)?”…

   และสัญญากับตัวเองว่า...ความผิดพลาดจะต้องไม่ได้รับอนุญาตให้เกิดขึ้นอีก.



ความเห็น (8)

ทบทวนด้วยสติจริง ๆ ครับผม ;)...

 

รูปการ์ตูนคุณพ่อหล่อเชียวค่ะ น้องโจ้ อดชมความเห็นก่อนไม่ได้

มาช่วยเสนอแนะคุณพ่อจัตุเศรษฐธรรม ว่า บอกลูกได้นะคะว่าทำไมเราถึงตอบไม่เหมือนกัน พี่โอ๋เชื่อว่าการที่เราแสดงให้ลูกเห็นว่า เราทำผิดแล้วเราขอโทษและพยายามแก้ไข อธิบายแบบสบายๆให้ลูกได้รู้ว่า สิ่งที่เราแสดงตอนเราหงุดหงิดต่างจากตอนที่เรามีเหตุผลยังไง ถามความเห็นลูกด้วยก็ได้ว่าเขาเห็นว่าเราในสองแบบนี้เป็นยังไง เราควรจะจัดการตัวเองอย่างไรถ้ากำลังหงุดหงิดแล้วต้องตอบคำถามคนอื่น ฯลฯ เป็นการทำให้ลูกรู้ว่า เราคุยกันได้ เวลาเขาหงุดหงิดเขาจะได้นึกถึงวิธีการแบบนี้ได้ เด็กๆเขาคิดเก่งค่ะ เราเพียงแต่พูดให้ง่ายๆตรงกับวัยเขาเท่านั้นเอง 

ขอบพระคุณ อาจารย์Wasawat มากครับที่แวะมาให้กำลังใจอยู่เสมอ...:)

ขอบพระคุณ พี่ชลัญธร มากครับสำหรับรูปการ์ตูนที่นำมาฝาก...ชอบมากครับ...:)

ขอบพระคุณ พี่โอ๋ - อโณ มากครับ...สำหรับคำแนะนำดี ๆ ที่พี่มีมาฝาก...ประทับใจผมมากครับ...:)

ยินดีกับลูกชายด้วยค่ะที่คุณพ่อเห็นความสำคัญของการตอบบคำถามเช่นนี้..

ขอบพระคุณ อาจารย์พี่ใหญ่ มากนะครับที่แวะมาให้กำลังใจอยู่เสมอ... :)

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

กายใจพอเพียง...เลี้ยงชีพพอประมาณ...บริหารจัดการสมเหตุผล...ธรรมชาติและคนสมดุล...ช่วยเสริมสร้างเป็นภูมิคุ้มกันให้กับสังคม...



ความเห็น (3)

อยู่อย่างพอเพียง ใกล้ตัวความสุขยังมี
อยู่อย่างพอดี ไม่มีความทุกข์ร้อนในใจ

 

ขอบพระคุณกำลังใจที่มอบผ่านดอกไม้จากทุก ๆ ท่านครับ... :)

ขอบพระคุณ อ.นุ มากครับสำหรับเพลงที่นำมาฝาก...ไพเราะและเนื้อหาดีมากครับ

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

“การค้นคว้าวิจัยปรากฏการณ์ของโลกภายนอกในอนาคต จะนำเราไปสู่บทสรุปที่ว่า เนื้อหาสาระของความจริงทางด้านจิตวิญญาณเป็นความจริงแท้อันสูงสุดหรือ อันติมสัจ (ultimate reality)

                                             ยูจีน วิกเนอร์ (Eugene Wigner)

                            จากหนังสือ : ศาสตร์แห่งจักรวาล (เล่ม๑) โดย ชัยพฤกษ์ เพ็ญวิจิตร. 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

ปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ไม่นิยมชมชอบในกระบวนการใช้ความคิดที่เป็นระบบในการไล่เรียงจากปัจจัยเหตุไปหาผลหรือจากผลไปหาปัจจัยเหตุ แต่จะนิยมชมชอบในการหยิบเอาผล (สำเร็จรูป) ไปใช้ในการยืนยันหรือนำไปปฏิบัติ หากว่าผลของสิ่งนั้นเข้ากันได้กับความชอบ (ถูกใจ) ของตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงที่มาและที่ไป กลับกลายเป็นว่าใช้มาตรวัดทางความชอบไม่ชอบมาเกณฑ์ตัดสินแทนการพิจารณาอย่างสมเหตุสมผลตามความเป็นจริง...หรือว่านี่เป็น

 

“กับดัก...(ความมักง่าย)...ทางความคิด”

************************************************************************************************

Windom begins in wonder “ปัญญาเริ่มต้นจากความสงสัยใคร่รู้”

โสกราตีส (Socrates : ๔๗๐ – ๓๙๙ ก่อน ค.ศ.)

นักปราชญ์ชาวกรีก         



ความเห็น (2)

อรุณสวัสดิ์รับข้อคิดดีๆนี้ค่ะ..ทุกอย่างเกิดจากเหตุและปัจจัย..ใคร่ครวญพิจารณาให้เห็นแจ้งในธรรมความเป็นจริง..ตามพุทธวิถีแห่งอริยสัจสี่..

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

วางกับว่างมันเป็นของคู่กัน...วางไม่ได้ก็ไม่ได้ว่าง...ถ้าหากวางได้ก็ว่างได้...หากไม่อยากว่างก็ไม่ต้องวาง...แต่หากอยากว่างก็ต้องวาง...



ความเห็น (6)

วันนี้ได้ว่างบ้างไหมคะท่านอาจารย์ ปริมแบกกล้องไปส่องนกทั้งบ่ายเลย เมื่อยแขนมากค่ะ ไม่ว่างและวางไม่ได้ด้วย อิอิอิ

แต่อยู่กับปัจจุบันมากค่ะ จิตใจไม่ค่อยได้ออกไปไกลจากเขตดูนกสักเท่าไหร่ สรุปแล้วไม่ว่าง ไม่วาง แต่มีความสุข เอ๊ะยังไง...

ฝันดีค่ะ

ไม่วาง (กล้อง)...และไม่ว่าง...อย่างคุณปริมเป็นความสุขที่น่าอิจฉามากเลย... :) 

 เหนื่อยแต่มีความสุขกับสิ่งที่ได้ทำ...ก็ถือว่าล้ำค่า...ยังไง คุณปริม รักษาสุขภาพด้วยนะครับ... :)

 คุณปริม เหมือนรู้เลยนะครับ... (อิ...อิ...)...ช่วงนี้ผมยุ่งปานกลางค่อนข้างไปทางเยอะเหมือนกัน...โดยเฉพาะงานวิจัย...ทั้งงานวิจัยของตัวเองและงานวิจัยของสำนักฯ...ปิดเทอมนี้คงต้องเร่ง...เฮ้อ...(ขอเหนื่อยล่วงหน้าก่อนนิดนึงนะครับ)... :)

ขอบคุณ คุณแสงแห่งความดี มากครับที่แวะมาให้กำลังใจอยู่เสมอ... :)

ขอขอบคุณ กำลังใจจากทุกท่านที่มอบผ่านทางดอกไม้นะครับ... :)

เล่นคำได้เยี่ยมยอดเลยค่ะ อ่านแล้วก็อ่านซ้ำ ได้ใจความลึกซึ้งจริงๆ

ขอบพระคุณ พี่โอ๋ - อโณ มากครับที่แวะมาให้กำลังใจอยู่เสมอ... :)

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

                  พระพุทธเจ้าทรงแสดงฐานะของพ่อแม่ไว้ว่า

                  ๑. เป็น พระพรหม เป็นผู้ให้กำเนิด เป็นผู้สร้างชีวิตให้กับลูก แล้วก็เป็นผู้เลี้ยงลูก เป็นผู้แสดงโลกนี้ให้แก่ลูก

                  ๒. เป็น บูรพาจารย์ ของลูก คือ เป็นครูอาจารย์คนแรก สอนตั้งแต่ กิน ดื่ม นั่ง นอน เดิน พูด ทุกอย่างที่จะใช้ในการดำเนินชีวิต หรือ เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเองต่อไป

                  ๓. เป็น อาหุไนยบุคคล ของลูก ‘อาหุไนยบุคคล’ นี้เป็นคำเรียกพระอรหันต์และพระอริยะทั้งหลาย ในสังคมไทยจึงเรียกพ่อแม่ง่ายๆ ว่าเป็นพระอรหันต์ของลูก คือ มีคุณธรรม อย่างน้อยท่านมีจิตใจบริสุทธิ์ต่อลูก รักลูกด้วยใจจริง ไม่มีอะไรเคลือบแฝง

                  ฐานะทั้ง ๓ ประการนี้ถือว่าเป็นสำคัญ ขอย้ำอีกครั้งว่า หนึ่งเป็นพระพรหม สองเป็นบูรพาจารย์ สามพระอรหันต์ของลูก

                                              พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). คูมือชีวิต. หน้า : ๑๐๐.



ความเห็น (2)

ร่วมรำลึกพระคุณอันสุดประมาณมิได้ของบุพพการีค่ะ

  ขอบพระคุณ คุณปริมและอาจารย์พี่ใหญ่ มากครับ

      ขอบคุณภาพสวย ๆ ที่ อาจารย์พี่ใหญ่นำมาฝากมากครับ 

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

“พฤติกรรมเศรษฐกิจ เมื่อหลักพระพุทธศาสนาเข้ามาสัมพันธ์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การบริโภค หรือการวิภาคแบ่งปันกระจายรายได้อะไรก็ตาม ก็จะเริ่มต้นจากจุดยืนที่ตัวมนุษย์ว่า จะต้องมีความรู้จักประมาณก่อน ความรู้จักประมาณ หรือความรู้จักพอดีนี้ ทางพระเรียกว่า มัตตัญญุตา เช่นรู้จักพอดีในการบริโภคอาหารก็เป็น โภชเนมัตตัญญุตา

หลักการฝึกหรือพัฒนาคนในพระพุทธศาสนา เบื้องต้นพอมีคนเข้ามาบวชพระก็ต้องเริ่มทันที ให้มีโภชเนมัตตัญญุตา พระสมัยก่อนต้องท่อง ปฏิสังขา – โย ทุกองค์ แต่สมัยนี้ไม่ค่อยท่อง ปฏิสังขา – โย นั้นแปลว่า ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉันภัตตาหาร ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงครองจีวร เป็นต้น สำหรับปัจจัยสี่แต่ละอย่าง สำหรับอาหารก็ให้พิจารณาว่า ที่เราบริโภคอาหารนี้ไม่ใช่มุ่งเพื่อเห็นแก่เอร็ดอร่อย ไม่ใช่เพื่อแสดงฐานะอวดโก้กัน ไม่ใช่เพื่อจะหาความสนุกสนานมัวเมา แต่เพื่อจะได้เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต ให้ร่างกายมีสุขภาพดี เป็นอยู่ผาสุก เมื่อเรามีร่างกายดี อยู่ผาสุกแล้วก็จะได้ไปทำกิจกรรมที่ดีงาม ทำหน้าที่การงานของตนด้วยดี

การพิจารณาอย่างนี้เป็นการฝึกให้มีปัญญารู้จักแยกแยะระหว่าง คุณค่าแท้กับคุณค่าเทียม เพราะเมื่อเราสัมผัสกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสิ่งบริโภค เช่น ปัจจัย ๔ ในลักษณะที่มองดูหรือมองหาคุณค่าแท้ โดยไม่หลงไปตามคุณค่าเทียมแล้ว พอเราจะบริโภคอะไร เราก็จะมองในแง่ที่จะหาหรือจับเอาคุณค่าแท้จากสิ่งนั้น ๆ ทันที เริ่มด้วยตั้งคำถามแก่ตนเองว่า นี่เรากินมันเพื่ออะไร เราใช้สิ่งนี้เพื่ออะไร เรื่องนี้มนุษย์ไม่ค่อยได้มอง ถ้ามองแล้วจะเห็นทันที เพราะฉะนั้นพระจึงสอนเบื้องแรกให้ปฏิสังขา-โย แปลว่า ข้าพเจ้าพิจารณาแล้วจึงเสพปัจจัย ... โดยมองให้เห็นคุณค่าที่แท้ของมันว่าเราเสพหรือบริโภคเพื่ออะไร”

           จากหนังสือ “การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) หน้า. ๑๙๘ – ๑๙๙.

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

ปัจจุบัน คนส่วนใหญ่วิ่งไล่ไขว่คว้าเพื่อให้ได้มาซึ่ง “อิสรภาพ” ในการดำรงชีวิตในทุก ๆ ด้าน แต่กาลผ่านไปกลับกลายเป็นว่า อิสรภาพถูกกำกับและบังคับไว้ด้วยปัจจัยภายนอกคือ “วัตถุ” นัยคือ

              -  เมื่อหาวัตถุเสพได้มากขึ้น  จะทำให้ได้รับความสุขเพิ่มขึ้น

              -  เมื่อหาวัตถุเสพได้น้อยลง  จะทำให้ได้รับความสุขลดลง

 

“อิสรภาพที่ถูกพันธนาการรอบด้านไปด้วยวัตถุ...จะบรรลุซึ่งอิสรภาพแท้จริงได้อย่างไร...?”



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

เด็กกับความใฝ่รู้

            ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ พูดเสมอว่า หากจะพัฒนาเด็กไทย ต้องสอนให้มีความใฝ่รู้ เมื่อรู้แล้วแต่ยังไม่ชัด ก็มีความใฝ่ใจที่จะหาความรู้ต่อไป เพื่อให้รู้ชัดเจน แจ่มแจ้ง อย่างถึงที่สุด

           ถ้าเป็นอย่างนี้ได้ เด็กนั้นจะมีความสุขในการหาความรู้ ในการเล่าเรียนศึกษาเอง โดยไม่ต้องใช้ความสุขจัดตั้งอย่างที่เป็นอยู่

          ความสุขจัดตั้ง ก็คือ ความสุขที่ผู้ใหญ่คอยจัดสรร ปรุงแต่ง กระบวนการเล่าเรียนศึกษาให้มันสนุกแต่ไม่รู้ตัวว่า ไม่ได้ปลุก ‘ปัจจัยภายใน’ ให้เด็กมีความสุขด้วยตัวเอง ตัวผู้ใหญ่เหมือนผู้จัดสรร ให้บริการ ให้เด็กมีความสุข สนุกสนาน พอทำอย่างนี้เด็กจะรู้สึกสนุก

           แต่โลกที่เป็นจริง ไม่มีคนมาจัดสรรหรือคอยให้บริการอย่างนั้น เด็กจึงต้องมีความสามารถที่จะอยู่ได้ในโลกที่เป็นจริงได้ อย่างมีความสุขและอย่างดีที่สุดด้วย  ทำอย่างไรเด็กจะมีความสุขได้ ก็ต้องสร้างจากปัจจัยภายในให้เขามีความสุขได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องอาศัยความสุขจัดตั้ง

         สิ่งสำคัญก็คือ ทำอย่างไรจะพัฒนาให้เด็กเกิดมีปัจจัยภายใน ที่จะให้เด็กมีความสุขในการเรียนรู้ จนกระทั่งไม่ต้องอาศัยครูหรือพ่อแม่มาคอยช่วยเหลือ เด็กก็มีความสุขในการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง.

 

                      จากหนังสือ “วิถีแห่งปราชญ์ : ปฏิปทา จริยาวัตร ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)  หน้า. ๑๖๖ –๑๖๗.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

“ความปรกติ” เป็นคำที่พบเห็นบ่อยและทั่วไปในสังคมปัจจุบันจนถือเสมือนหนึ่งว่าคนส่วนใหญ่เข้าใจนัยของคำนี้ได้ถูกต้องและตรงกัน ความปรกติที่ในอดีตมีดัชนีชี้วัดจาก ศีล แต่ในปัจจุบันได้กลายพันธุ์ไปสู่ดัชนีชี้วัดจากการยึดเอาความปรกติจากพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่เป็นมาตรวัด เช่น

           - สังคมส่วนใหญ่เห็นว่าการทำแท้งกลายเป็นเรื่องปรกติเห็นจนชินตาโดยเฉพาะในข่าวสารปัจจุบัน...(ผิดศีลข้อหนึ่ง)

           - สังคมส่วนใหญ่เห็นว่านักการเมืองคอรัปชั่นเป็นเรื่องปรกติในสังคมที่ต้องยอมรับความจริงขึ้นอยู่กับว่ามากหรือน้อยเท่านั้นเอง...(ผิดศีลข้อสอง)

           - สังคมวัยรุ่นเห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การเปลี่ยนคู่นอน มั่วเพศ เป็นเรื่องปรกติในสังคมปัจจุบัน...(ผิดศีลข้อสาม)

           - สังคมส่วนใหญ่มองว่าการพูดโกหกกลายเป็นเรื่องปรกติในสังคม แม้แต่ผู้บริหารประเทศยังโกหก... (ผิดศีลข้อสี่)

           - สังคมส่วนใหญ่มองว่าการดื่มสุราและของมึนเมาเป็นเรื่องปรกติในสังคม ส่วนคนที่ไม่ดื่มกลับถูกมองว่าแปลกและเข้าสังคมไม่ได้...(ผิดศีลข้อห้า)



ความเห็น (2)

 

“ความปรกติ”  ==> KPI คือ ศิล .... OK  ใช่เลยค่ะ  ... น้อง จัตุเศรษฐธรรม

ขอบพระคุณ อาจารย์ P'Ple มากครับสำหรับกำลังใจและข้อคิดเห็นดี ๆ ที่มีให้เสมอมา

และขอบพระคุณสำหรับดอกไม้จากทุกท่านที่มอบให้นะครับ

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

การเรียนรู้ในการผลิต ความรัก และ ความเข้าใจ ให้กับเด็ก อย่างพอประมาณและสมเหตุสมผล ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ จะกลายเป็นพลังทางต้นทุนของจิตใจที่สั่งสมและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีและยั่งยืน กว่า การคาดหวังในตัวของเด็ก โดยอาศัยบรรทัดฐานของ ต้นทุน กำไร (ขาดทุน) ที่มีมูลค่าเป็นตัวเงิน มาเป็นตัวชี้วัด

                     ความรัก              เป็นการให้ความรักความอบอุ่นแก่เด็ก

                    -  ความเข้าใจ          เป็นการเข้าใจในความคิด ความต้องการของเด็ก

                    -  ความคาดหวัง       เป็นความคาดหวังอย่างมีตรรกะของเหตุและผล โดยอาศัย ความรัก และ ความเข้าใจ เป็นมูลฐานแห่งการคาดหวัง อย่าเอา ต้นทุน กำไร (ขาดทุน) ที่มีมูลค่าทางตัวเงิน มาเป็นบรรทัดฐานในการคาดหวังสำหรับเด็ก...เพราะสิ่งเหล่านั้นจะแปรกลับเป็น ต้นทุน ของแรงกดดันให้กับตัวของเด็กเอง…



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

          การเรียนรู้ให้เข้าถึงและเข้าใจในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งยวด การอวดดีและยโสโอหังโดยไม่ฟังเสียงธรรมชาติที่ส่งสัญญาณผ่านหลายด้านที่สะท้อนออกมาทั้งภาวะโลกร้อน  ความแปรปรวนของสภาพอากาศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น เสมือนการบ่งชี้เป็นนัยไว้...

          ให้มนุษย์เข้าใจในกฎธรรมชาติอย่างถูกต้องตามจริง เพื่อที่จะประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้องในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์กับธรรมชาติ  การทำความเข้าใจในกฎธรรมชาติไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป และไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่เป็นพันธะผูกพันของมนุษย์ทุกคนทั้งในปัจจุบันและในอนาคตที่จะต้องเรียนรู้เพื่อให้ เข้าถึงและเข้าใจในกฎธรรมชาติดังกล่าว นำไปสู่การประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องและสอดคล้องกับกฎธรรมชาติ เพื่อที่จะช่วยสร้างโอกาสในการรักษาเยียวยาอาการเจ็บป่วยของธรรมชาติ...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

      “... ทัศนคติที่ดีของมนุษย์ต่อธรรมชาตินั้น ไม่ควรจะหยุดเพียงแค่เลิกมองตนเองแยกต่างหากจากธรรมชาติ และเลิกคิดจะพิชิตจัดการกับธรรมชาติโดยชอบใจ แล้วมองตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ และจะต้องมีชีวิตที่สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติเท่านั้น เพราะนั่นยังเป็นทัศนคติกึ่งเชิงลบและเฉื่อยชา

         แต่ควรจะก้าวต่อไปถึงขั้นแสดงศักยภาพของมนุษย์ในทางที่ตรงข้ามจากเดิม กล่าวคือ ก่อนหน้านี้ มนุษย์วัดความสามารถของตนด้วยการที่เอาชนะธรรมชาติและจัดการกับธรรมชาติได้ตามปรารถนา ต่อไปนี้มนุษย์มองเห็นแล้วว่าการทำได้อย่างนั้นไม่ใช่เป็นความสามารถที่แท้จริงอันน่าภูมิใจแต่อย่างใดเลย ความสามารถที่แท้จริงของมนุษย์ก็คือการทำให้โลก ซึ่งเคยมีการเบียดเบียนกันมากให้เบียดเบียนกันน้อยลง ทำให้โลกที่มนุษย์และสรรพชีพเคยพออยู่กันได้ สามารถอยู่กันได้ดียิ่งขึ้น อย่างเกื้อกูลกันมากขึ้น...

 

          จากหนังสือ “การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) หน้า : ๒๕๗.



ความเห็น (3)

หากร่วมมือกันโลกเราจะน่าอยู่ สวยงาม และมีการเบียดเบียนกันน้อยลงนะคะ

สาธุค่ะ

อยู่กับธรรมชาติอย่างเป็นมิตร..สร้างสุขสมดุลแห่งความพอเพียงอย่างยั่งยืนค่ะ

เห็นด้วยกับ คุณปริมและอาจารย์พี่ใหญ่ ครับ

         ขอบพระคุณมากครับ

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

ในปัจจุบัน วิกฤติธรรมชาติที่ก่อเกิด เป็นเพราะมนุษย์ได้ไปละเมิด “กฎธรรมชาติ”

           ในการอยู่ร่วมกันในสังคม หากว่าเรามีการกระทำที่ไปละเมิดกฎ ระเบียบของสังคม เราก็จักต้องได้รับผลแห่งการกระทำ ซึ่งนำไปสู่การถูกลงโทษตามกฎเกณฑ์ในสังคมนี้  และในกรณีที่หากว่าเราได้กระทำซึ่งนำไปสู่การละเมิดในกฎธรรมชาติ เราก็จักได้รับผลจากการกระทำโดยการถูกธรรมชาติลงโทษ เช่นกัน

แต่จะต่างกันตรงที่

             กฎ ข้อบังคับ ทางสังคมเป็นผลผลิตที่ลิขิตจากมนุษย์ด้วยกันเอง แต่ กฎธรรมชาติเป็นผลิตผลจากธรรมชาติที่ไม่มีใครหรือว่าสิ่งใดที่สามารถควบคุมในบทลงโทษทางธรรมชาติดังกล่าวได้ เช่น

 

                - สมมติว่า ตัดต้นไม้ ๑๐๐ ล้านต้น แล้วบังคับธรรมชาติลงโทษโดยขอให้น้ำท่วมแค่ ๑ เซนติเมตร หรือ

                - สมมติว่า ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ๑๐๐ ล้านตัน แล้วบังคับธรรมชาติลงโทษโดยขอให้โลกร้อนเพิ่มขึ้น ๐.๐๐๐๐๑ องศาเซลเซียส

เป็นต้น

       ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่มีใครหรือสิ่งใดที่จะควบคุมกลไกและเงื่อนไขของบทลงโทษดังกล่าวของธรรมชาติได้

 

             “วิกฤติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นนั้น...เป็นเสมือนสัญญาณเตือนที่ส่งตรงมาถึงมวลมนุษยชาติว่า ธรรมชาติได้พิพากษา เรียกค่าสินไหมทดแทนอย่างแสนสาหัส จากการที่มนุษย์นั้นบังอาจไปรุกล้ำกระทำการละเมิดกฎธรรมชาติอย่างอหังการ ทั้งการตัดต้นไม้ทำลายป่า ปล่อยสารพิษขึ้นบนท้องฟ้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนนำพามาสู่วิกฤติ”    




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

P. Rinchakorn
เขียนเมื่อ

        “การพัฒนาจิตใจนั้น รวมถึงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนสุขภาพจิตโดยทั่วไป การพัฒนาจิตใจ ตลอดจนการพัฒนาคนทั้งคนนั้น เป็นงานหลักของพระพุทธศาสนา พูดอีกอย่างหนึ่งว่า คำสอนทั้งหมดในพระพุทธศาสนามีศูนย์รวมอยู่ที่การพัฒนาคน

 

จากหนังสือ “วาทะธรรมเพื่อการพัฒนาตนของ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) หน้า : ๒๘๔.



ความเห็น (2)

ขอบคุณมาก การพัฒนาแบบองค์รวมนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท