เรื่องกล้วยที่ไม่กล้วย และการก้าวข้ามหลุมดำ KM


การจัดการความรู้ต้องใช้ “ใจ” “การแลกเปลี่ยนแบ่งปัน” และ “การเป็นผู้นำที่ดีของ CKO คุณอำนวย และคนที่เกี่ยวข้อง ”

เรื่องกล้วยที่ไม่กล้วย และการก้าวข้ามหลุมดำ KM

หลายคนคงคุ้นกับ  หลุมดำ  แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกกองแผนงาน ที่ได้เข้าร่วมการประชุมกองแผนงานประจำเดือนเมษายน 2550 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2550 เนื่องจากคณะทำงานจัดการความรู้ของกองแผนงาน ได้นำ VCD หลุมดำ ที่บรรยายโดยอาจารย์ประพนธ์  ผาสุขยึด สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ซึ่งบันทึกจากงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 3 ที่  ศูนย์นิทรรศการ และการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 1-2 ธันวาคม 2549  มาฉายให้ได้ดูกันด้วย จาก VCD สรุปได้ว่าการจัดการความรู้มีข้อพึงระวังอยู่ 5 ด้าน ได้แก่ 


1.       People Trap เป็นปัญหาด้าน คน ใน 2 ลักษณะคือ มีคนไม่ว่าจะเป็น CKO คุณอำนวย คุณกิจ และคุณอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะ หรือพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ต่อการจัดการความรู้ ประเภทแบบว่า ไม่เห็นคุณค่า บ้าอำนาจ ขาดอิทธิบาท 4 ไม่เข้าใจบทบาท ไม่ไฝ่รู้ ไม่ไฝ่พัฒนา หวงวิชา อัตตาสูง หมดแรง หมอใจ อะไรทำนองนี้ หรือขาดคนที่มีทักษะต่างๆ เช่น คุณอำนวย คุณลิขิต

2.       Purpose Trap เป็นปัญหาด้าน วัตถุประสงค์   คือ มีการกำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดการความรู้ไม่ชัดเจน ไม่เหมาะสม  เช่น ทำเพียงเพื่อผ่าน กพร.  หรือวัตถุประสงค์ขององค์กร กับหน่วยงานย่อยไปด้วยกันไม่ได้

3.       Process Trap  เป็นปัญหาด้าน กระบวนการ คือมีบรรยากาศที่แข็งเกินไป ให้ความสำคัญแต่ความรู้ประเภท Explicit (ความรู้ชัดแจ้ง) และเกิดความติดขัดในการดำเนินกระบวนการ เช่น มัวแต่ถกเถียงกันเรื่อง นิยามความหมาย  การทำออกมาให้ได้เป็นขั้นตอนที่ตายตัว การสอนคนให้เดินตาม และการพยายามที่จะควบคุม

4.   Platform Trap เป็นปัญหาด้าน เทคโนโลยี เช่น การติดขัดด้านเทคโนโลยี   การยึดติดเทคโนโลยี  หรือการใช้เทคโนโลยีไม่เป็น/ไม่เหมาะสม/ไม่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ตัวอย่าง การใช้ IT มีการนำความรู้ขึ้นเผยแพร่ทางเว็บไซต์ แต่ปรากฏว่าไม่มีการ Update หรือชำรระสะสางความรู้ในระบบเลย ทำให้คลังความรู้ที่เป็นเว็บไซต์นั้นมีแต่ความรู้ที่ตาย ใช้ประโยชน์ไม่ได้ซึ่งก็เปรียบเหมือนขยะ

5.       Performance Trap เป็นปัญหาด้าน การปฏิบัติ  คือ ไม่มีการนำแนวคิดการจัดการความรู้ไปใช้ปฏิบัติจริงๆ  <p align="left">และตอนท้ายของ VCD อาจารย์ได้แนะนำว่าเราจะสามารถก้าวข้ามหลุมดำทั้ง 5 ประการได้ด้วย 3 L  ได้แก่ Learning     Living together และ Leading    ซึ่งผู้เขียนมานึกทบทวนดู...ก็มีความเห็นว่า... จริงอย่างที่อาจารย์แนะนำ เพราะถ้าบุคลากรขาดความไฝ่รู้  อยู่ร่วมกัน หรือทำงานเป็นทีมไม่ได้  และขาดภาวะผู้นำที่ดีในองค์กร การที่จะผลักดันให้มีการดำเนินการจัดการความรู้คงเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากการจัดการความรู้ต้องใช้ ใจ การแลกเปลี่ยนแบ่งปัน  และ การเป็นผู้นำที่ดีของ CKO  คุณอำนวย และคนที่เกี่ยวข้อง  </p> <p align="left">พูดถึงความไฝ่รู้...ตอนที่ไปเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการของสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่  ผู้จัดเขาจัดให้พักห้องเดียวกับคุณประหยัด มะโนพะเส้า นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7 ว สำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน...เลยทำให้เราได้เห็นตัวอย่างที่ดีของคนไฝ่รู้ และการจัดการความรู้ระดับปัจเจก ก็ตอนก่อนนอนพี่หยัดเขาหยิบสมุดเล่มใหญ่สีน้ำเงินมาอ่านเราก็สงสัยว่าพี่เขาต้องทำบัญชีหรืออย่างไร บวกกับความเกรงใจว่าเราเปิดโทรทัศน์จะรบกวน หรือเปล่าก็เลยถามพี่เขาว่าทำอะไร เสียงดังรบกวนไหมจากนั้น พี่หยัด...เล่าให้ฟังว่ากำลังเรียนทางไกลด้วยระบบ E-learning ของ กพ. พี่เขาลงเรียนมาหลายวิชาแล้ว ซึ่งจะเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร เนื่องจากคิดว่าปัจจุบันมีการพัฒนาระบบราชการแบบใหม่ ดังนั้นในการทำงานยุคใหม่ ถึงแม้ตนเองจะเป็นนักวิชาการด้านส่งเสริมการเกษตร แต่ก็จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ในด้านบริหารบุลากรด้วย ดังนั้น จึงตั้งใจที่จะหาความรู้เพิ่มเติม ครั้นจะไปเรียนต่อ...         การทำงานก็จะไม่อำนวย  เมื่อทราบว่า กพ. มีระบบการเรียนด้วยตัวเองผ่านระบบอินเตอร์เน็ต จึงสมัครเรียน มันไม่ต้องลงทุนอะไรมากแค่ค่าบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง อาศัยมีความตั้งใจ...และมีวินัย...จัดเวลาให้ตนเองได้เรียนอย่างสม่ำเสมอและทำแบบฝึกหัด พี่หยัด กับ คลังความรู้ของตัวเอง       ทดสอบตามที่หลักสูตรกำหนด...ก็จะใช้เวลาว่างตอนกลางคืนก่อนเข้านอน... พี่หยัดเล่าให้ฟัง  พร้อมโชว์สมุดบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้ดูด้วย... เราทึ่งมากๆ เลยค่ะ ก็มันเยี่ยมมากๆ พี่เขาจัดทำเป็นรายวิชา แบ่งเป็นบทๆ เรียบร้อย เนื้อหาครบถ้วน ...จนอดไม่ได้ที่จะบอกพี่เขาว่า... โอโห!..นี่มันคลังความรู้..แล้วพี่ทำเก็บไว้ดูทบทวนเองหรือ?”   แล้วพี่หยัดตอบว่าไงรู้ไหมคะท่านผู้อ่านทั้งหลาย  อ๋อ...พี่ทำไว้ให้เพื่อนๆ ที่เขาสนใจ แต่ไม่มีเวลาเข้าเรียนเอง หรือไม่มีอินเตอร์เน็ตที่บ้าน...หยิบยืมไปอ่านกันน่ะ..  </p> <p align="left">        </p> <p align="left">คืนนั้น...ก่อนที่จะหลับ เราเลยตัดสินใจว่าเราต้องชาร์จถ่านถ่ายรูปซะหน่อย เดี๋ยวพรุ่งนี้เช้าจะต้องขอถ่ายภาพพี่หยัดกับคลังความรู้ของพี่เขา...นำมาเขียนเล่าให้คนอื่นๆ ได้เห็นเพราะนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการจัดการความรู้...โดยคิดเริ่มที่ตัวเองก่อน...ไฝ่รู้..เสาะหาความรู้ที่ควรจะรู้..ปฏิบัติการเรียนรู้...จัดทำคลังความรู้...และแบ่งปันความรู้สู่คนอื่นๆ... ซึ่งหากเราเทียบเคียงกับที่อาจารย์ประพนธ์กล่าวถึง กับกรณีของพี่หยัด เราจะพบเลยว่า พี่หยัดมีความไฝ่รู้   การอยู่ร่วมกันกับคนอื่นๆ ในที่ที่ทำงานพี่หยัดมีน้ำใจจึงคิด และทำการแบ่งปันความรู้ให้ผู้อื่นด้วย  สุดท้ายด้วยความมีภาวะเป็นผู้นำของพี่หยัด พี่หยัดจึงกล้าคิด กล้าทำในสิ่งที่เหมาะสมเช่นนี้  และนำทางเป็นตัวอย่างให้กับคนอื่นๆ โดยไม่รอให้ใครสั่ง...</p> จากการที่ได้เข้าไปมีส่วนในหลายเวทีทั้งภายใน และภายนอกกรมส่งเสริมการเกษตร  สิ่งที่จะสังเกตเห็นได้เสมอๆ มีอยู่ 2 ประการ  ประการแรกก็คือ การปฏิเสธหลักการจัดการความรู้ตั้งแต่แรกเริ่ม โดยที่ยังไม่ยอมทดลองทำดูก่อน ด้วยคิดว่างานที่ตัวเองทำอยู่ทุกวันไม่เห็นต้องจัดการความรู้อะไร ฉันก็ทำได้  อีกประการหนึ่งก็คือ ปัญหาการอยู่ร่วมกันของกลุ่มคุณกิจที่มีแต่ความขัดแย้งส่งผลให้เกิดการปิดกั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ...ตรงนี้ เราจึงอยากให้หลายๆ คน ที่มีแนวคิดเช่นนั้น ลองดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในครอบครัวหนึ่ง...ซึ่งจริงๆ แล้วก็เป็นเรื่องจริงที่มีการนำมาเล่าขำๆ ในหมู่เพื่อนฝูง แต่เราเห็นว่าจากเรื่องจริงที่เป็นธรรมชาตินี้..สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีอีกตัวอย่างหนึ่งที่จะสะท้อนให้เกิดข้อคิดอะไรบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้..การอยู่ร่วมกัน..และการแบ่งปัน  เราจึงเก็บตกเรื่องนี้มาเล่าต่อ..และด้วยความกลัวว่าจะไม่เห็นภาพ..ก็เลยไปขอให้หลานเขียนภาพประกอบให้ ลองอ่านกันดูเน่อะ เรื่อง  กล้วยที่ไม่กล้วย...การอยู่ร่วมกัน...และการแบ่งปันความรู้      อ่านแล้วคิดเห็นประการใด ก็บอกกันบ้างก็แล้วกัน.............. <p align="center">เรื่องกล้วยที่ไม่กล้วย...การอยู่ร่วมกัน...และการแบ่งปันความรู้</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เรื่องจริงที่เกิดขึ้น ณ ครอบครัวของสามี ภรรยา       คู่หนึ่ง ซึ่งอยู่ด้วยกันด้วยความกลมเกลียว...</p> อยู่มาวันหนึ่งเกิดเรื่องขัดเคืองใจกัน ถึงกับทะเลาะเบาะแว้งกัน...จนฝ่ายหญิงเห็นหน้าฝ่ายชายแล้วใจนึกอยากจะเอามีดฟันหน้าให้....หลายวันต่อมา ความขุนเคืองก็ยังไม่จางหายไป....ขณะกำลังเดินไปสวนครัวหลังบ้าน...ภรรยาก็ไปเห็นกล้วยกำลังสุกได้ที่....  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อ้ะนั่น!...กล้วยกำลังสุกพอดี...ไม่ได้การ...จะต้องตัดซะหน่อย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เอ้!...เราจะตัดอย่างไร...  ภรรยาคิดในใจแล้วก็นึกถึงช่วงที่ผ่านมา...ทั้งสองเคยร่วมแรงแข็งขันช่วยกันตัดกล้วย โดยนำไม้ไปค้ำต้นกล้วยด้านใน...แล้วตัวเองก็ดันไม้ไว้...ในขณะที่สามีก็ใช้มีดฟันฉับไปที่บนโค้งต้นกล้วยด้านนอก...แล้ว 2 คน ก็ช่วยกันค่อยๆ ลดไม้ค้ำลง.... พอถึงระดับจับเครือกล้วยได้...อีกคนก็จับเครือกล้วยกันตกพื้น...และอีกคนก็ตัดเครือกล้วยออกจากต้น...</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ก็เรายังไม่ดีกันนี้หน่า....เรื่องอะไรจะไปง้อ...ตัดเองคนเดียวก็ได้  ภรรยาคิดและตัดสินใจในที่สุด</p> ว่าแล้วภรรยาก็ทำอย่างที่เคยทำ แต่ต่างกันที่เมื่อก่อนทำ 2 คน ตอนนี้ทำคนเดียว <p>เชอะ! ...ทำคนเดียวก็ได้ไม่เห็นจะยากเลย... เธอคิดในใจ    พลางก็จัดแจงไปหาไม้มาค้ำ หามีดคมๆ  พอค้ำกล้วยเสร็จก็ลงมีดฉับเข้าให้บนโค้งต้นกล้วยด้านนอก ....โดยไม่ได้ดูด้วยว่าตำแหน่งที่ตัวเองยืนอยู่...มันอยู่ในทิศทางที่หากต้นกล้วยส่วนที่ถูกตัดเกิดหล่นลงมาตัวเองจะหลบไม่พ้น...</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><div style="text-align: center"></div> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">โคลม!+-!??”  เสียงดังสนั่น ทั้งต้นกล้วย เครือกล้วย และไม้ค้ำ หล่นลงมาอย่างแรง ทันทีที่ลงมีดฟันลำต้น  ทับคนตัด..นอนแอ้งแม๊ง กองอยู่กับพื้น  คนก็เจ็บ เพราะทั้งกล้วย และไม้ค้ำกล้วยหล่นฟาดศีรษะ...โอ้ย!!...อู้ย..ว..โย้วๆๆๆ…”  เธอเดินรำพึงเข้าบ้านไปด้วยความเจ็บ    .... พอเดินผ่านสามีๆ เห็นภรรยามีแผลที่หน้าผาก เนื้อตัวมอมแมม...ก็เลยเอ่ยปากถาม...</p> อ้าวนั่น...ไปทำอะไรมานะ?”ก็ตัดกล้วยนะซิ ...ภรรยาตอบ  สามีก็ถามต่อว่าแล้วไปตัดอีท่าไหนหละ?”  ...ภรรยาก็เล่าให้ฟัง.... <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> </p><div style="text-align: center"></div><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> ไม่ใช่อย่างนั้น...ตอนนั้น...ช่วยกัน 2 คน ...ก็ทำได้โดยไม่ต้องระวัง และใช้เทคนิคอะไร...จะบอกให้เวลาตัดคนเดียว...เราจะต้องนำไม้ไปค้ำไว้ตรงบริเวณคอต้นกล้วย...และเวลาตัดก็ตัดโค้งด้านใน
ลำต้นกล้วย แล้วจึงค่อยๆ ลดไม้ค้ำลง....
ยอดต้นกล้วยก็จะโน้มต่ำลงมา...พอถึงระดับที่เรา
จับก้านเครือกล้วยได้...เราก็จับเครือกล้วย...แล้วก็ตัดเครือกล้วย
  สามีบอกเล่าถึงวิธีการตัดกล้วยที่ถูกต้องให้กับภรรยา ...พลางกล่าวเสริมท้ายไปด้วยว่า
<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div></p>
<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

ทีหลัง…ไม่ต้องมาโกรธเคืองอะไรอย่างนี้นะ…แล้วมาตัดสินทำอะไรแบบนี้อีกนะ….คนเราอยู่ด้วยกัน…ทำคนเดียวได้มันก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าทำคนเดียวไม่ได้ หรือทำไม่เป็น …ก็ต้องมาถามมาพูดคุยกัน…ช่วยกันทำ หรือทำอย่างถูกต้อง…งานมันก็จะสำเร็จด้วยดี…เห็นมั้ย…คนก็เจ็บ…กล้วยก็เสีย   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ในที่สุด…ต่างฝ่ายต่างก็ละอัตตาของตนเอง…หันมาคุยกัน…ฟังกัน…ครอบครัวก็กลับมากลมเกลียวกันดั่งเดิม</p>

----------------------------------------------------------------------------- 

</strong></span><p>เล่าจากเรื่องจริงโดย  อุษา   ทองแจ้ง</p>

ภาพการ์ตูนประกอบวาดโดย  เด็กหญิงอภิชรญา  วิวิธศิริ (เอม)   

 

</span><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="left"> </p> </span></span></span></span></span></span></font></span></font></span>

คำสำคัญ (Tags): #km#หลุมดำ km
หมายเลขบันทึก: 97858เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2007 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
     ขอบพระคุณมากครับที่นำมาแบ่งปัน
  • ขอบคุณครับที่เก็บมาฝาก
  • ถ้าทุกอย่างแก้ง่ายๆเหมือนนิทานตัดกล้วยก็ดีนะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท