นิราศมณฑลพายัพ (11): เสขิยธรรม ภาค 2


บางครั้งคำถามบางคำถาม คำพูดบางคำพูด มีวัตถุประสงค์เดียวแฝงไว้ก็คือ "อย่าพึ่งไปไหนนะ อยู่กับผมต่ออีกนิด ผมกลัว" เท่านั้น

เสขิยธรรม ภาค 2

กลับเข้ามาห้องหลังอาหารกลางวัน ก็พบว่าพี่โอ้เตรียมห้องใหม่อย่างสวยงาม เพิ่มชีวิตลงไปกลางห้องด้วยกระถางต้นไม้เก้ากระถาง แก้วไวน์แดงลอยเทียนตรงกลาง

อาจารย์ประสาทกรุณาเตรีมกีต้าร์มาแล้ว อย่ากระนั้นเลยเชิญอาจารย์มานำเข้า bodyscan เพื่อสำรวจ theta ของแต่ละคนกันดีกง่า รบกวนพี่โอ้ มือนำ bodyscan กิตติมศักดิ์ของเราพาสมาชิกเข้าห้อง theta กัน เห็นพี่โอ้ขยุกขยุยเขียนบทนำเงียบๆทันที (มืออาชีพวะแล้ว ไม่ใช่ amateur ธรรมดาๆ)

ทุกคนปูผ้า พับเบาะเป็นหมอน นอนราบปล่อยตัวตามสบายกับพื้น สองมือวางข้างลำตัว หายใจเข้าออกช้าๆ ลึกๆ ผ่อนคลาย อ่อนโยน

เสียงกีต้าร์ เริ่มโปรยปรายเข้าโสตสัมผัส เป็นท่วงทำนองลื่นไหลตามจังหวะใจของคนดีด และแล้วเสียงหวานใส นุ่มนวลของพี่โอ้ก็เริ่มลำนำ พาวิญญาณที่สงบนิ่งเคลื่อนไหวไปตามจินตนาการที่ฝังลึกในห้วงจิตใต้สำนึก

เพลงบรรเลงผ่อนคลาย เสียงพรรณนานำจินตนาการ คลื่นสมองเริ่มช้าลง เปิด alpha wave พร้อมที่จะเข้าสู่ theta wave ความช้า ความอ่อนโยนอ่อนหวาน ไพเราะ ความปลดปล่อยที่มาจากความรู้สึกปลอดภัย ความรู้สึกรัก เมตตากรุณา

ดนตรีนำเอาทุ่งหญ้าเขียวขจีมาสู่ภวังค์รับรู้ ผีเสื้อบิน ลงโชยพัดสัมผัสผิวหนัง กลิ่นดินหญ้าน้ำ

สุนทรียสนทนา

เรากลับเข้ากลุ่มใหญ่ดั้งเดิม ลองให้รวบรวมสิ่งที่คุยกันเมื่อเช้า จัดเข้าหมวด เข้าหมู่ ปรากฏว่า โดยมิได้ตั้งใจ เราได้ปฏิกิริยาต่างๆของผู้ป่วยเวลารับรู้ว่าตนเองกำลังจะตาย เหมือนกับที่อลิซาเบธ คูเบลอร์ รอส เคยสังเกตไว้ได้แก่

  • โกรธ (anger)

  • ปฏิเสธ (denial)

  • ต่อรอง (bargaining)

  • เศร้าซึม (depression)

  • ยอมรับ (acceptance) 

  • ผมลองโยนโจทย์เข้าไปใหม่ว่า ขอให้คิดหาวิธีการดูแลผู้ป่วย ที่มีปฏิกิริยาแต่ละอย่างนี้  และขอให้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ สักประมาณ 5 กลุ่ม

    ไม่ทราบว่าเป็นเพราะ theta wave กำลังเปิดอยู่มากน้อยแค่ไหน แต่กลุ่ม 5 กลุ่มก็ถูกสร้างขึ้นมา จัดสรรขึ้นมาอย่างเป็นอิสระ รวมทั้ง "กลุ่มเก้าอี้" ที่สมาชิกอาวุโสของเรายึดครองอยู่ห้าหกท่าน ก็ดึงเอาเก้าอี้มาล้อมและตั้งวงสนทนาอย่างอัตโนมัติ กลุ่มที่เหลือๆก็เริ่มสนทนากันอย่างออกรส

    อาจารย์ประสาทเนื้อหอม นั่งอยู่ท่ามกลางกลุ่มพยาบาลกลุ่มใหญ่ (ช่วยไม่ได้มาก เพราะทั้งห้องมีผู้ชายไม่กี่คน ฉะนั้น เราจะมีกลุ่มดาวล้อมเดือนอยู่รายรอบห้องเต็มไปหมด ยกเว้นกลุ่ม "เก้าอี้" ที่เป็นหญิงล้วน) จากที่สังเกตไว้ตอนต้น เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่ของกลุ่มครั้งนี้ เป็นพยาบาลวิชาชีพ (หรือเคยเป็น) ฉะนั้น เรื่องเล่า และประสบการณ์ น่าจะดึงอะไรออกมา ร่วมกับว่าที่อาสาสมัคร ที่บางคนก็มีพลังในการต้องการช่วยเหลือคนอื่นอยู่แล้ว ก้ได้ catch up และให้ความเห็นออกมาไม่น้อย

    เต๊งงงง!!! หมดเวลา

    เต๊ง เต๊ง!!! หมดเวลา

    เต๊ง เต็ง เต๊ง!! หมดเวลาคร้าบ

    เสียงจ็อกแจ็กของการสนทนาอย่างออกรส ค่อยๆแผ่วลง เป็นการ cool down หลังพลังงานเหลือล้นที่ได้หลั่งไหลแลกเปลี่ยนกัน ได้เชื้อเชิญให้ทุกกลุ่มกัลเข้าหากลุ่มใหญ่อีกที และแล้วโดยไม่ต้องคิดมาก เราก็เริ่มเชื้อเชิญแต่ละกลุ่ม เสนอวิธีแก้ไข วิธีการดูแล และการช่วยเหลือ เมื่อประสบพบปฏิกิริยาของแต่ละแบบ

    เป็นการยากที่ผมจะเก้บรายละเอียดมาทั้งหมด แต่ข้อมูลที่ได้จากที่ทุกกลุ่มช่วยกันสร้างขึ้นมาสดๆเดี๋ยวนี้ บอกได้คำเดียวว่า

    หัย์

    มหัศจรรย์เพราะอะไร? เพราะว่างาน research งานเขียนตำรา ที่วางขายกันเล่มละหลายสิบ หรือร้อยดอลล่าร์สหรัฐ ปรากฏว่าก็สามารถได้ออกมาจากกลุ่มพูดคุยสนทนาชั่วเพียงบ่ายเดียว ชั่วโมงกว่าๆ จากคนธรรมดาๆ 20+ คนเท่านั้น

    จะขอพยายามเก็บมาถ่ายทอด ดังต่อไปนี้

    โกรธ

    ความโกรธเป็นการแสดงออกของอารมณ์ บางทีก็มาควบคู่กับการไม่ยอมรับ หรือไม่อยากจะยอมรับ เวลาคนที่เราดูแลโกรธ โดยเฉพาะหลังจากการแจ้งข่าวร้าย อาจจะช่วยโดยการรับฟังอย่างมีเมตตา ทำตัวเป็นฟองน้ำ ดูดซับคลื่นความโกรธ เข้าใจในอารมณ์ที่เกิดขึ้น และแสดงความเห็นอกเห็นใจ

    ในกรณีที่รู้สึกไม่แน่ใจในเรื่องความรุนแรง หรือ aggression ของคนไข้ ก็อาจจะมีการระแวดระวัง เช่น หาคนมาอยู่เป็นเพื่อน ซึ่งโดยปกติ ในการบอกข่าวร้ายนั้น ถ้าคนไข้ไม่ได้มีข้อปฏิเสธ เรามักจะเห็นว่าดีกว่าถ้าจะมีคนอยู่ด้วย อาจจะเป้นญาติสนิท คนในครอบครัว คนที่ผป.มีความรู้สึกอบอุ่น ได้กำลังใจ และสามารถพึงพาหรือยึดเหนี่ยวได้

    การแสดงความโกรธ ถ้ามองจุดแข็งก็คือ คนไข้มี sense of agency หรือยังมีพลังในการอยากจะควบคุมสิ่งต่างๆอยู่ ตรงนี้ถ้าสามารถจะปรับเปลี่ยน หล่อเลี้ยงพลังงานของคนไข้ไปเป้นกิจกรรมที่มีประโยชน์ เช่น การค้นหาวิธีรักษา การค้นหาวิธีที่จะเผชิญ หรือแก้ปัญหาต่อไปได้ เป็นการเปลี่ยนวิกฤติเป้นโอกาส

    ข้อพึงตระหนักก็คือ แม้แต่ในคนไข้ที่กำลังโกรธ นั่นไม่ได้ ลดความเป็น vulnerable หรือ คนที่กำลังทุกข์อย่างมาก ลงเลย เขายังต้องการการสนับสนุนและการประคับประคองอยู่ ในฐานะคนที่ดูแล หากเรายังคงสติอยู่ได้ ไม่ตระหนกตกใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ได้แสดงอาการรังเกียจ หรือเกิดทัศนคติด้านลบขึ้น เราก็ยังจะสามารถดำเนินการช่วยเหลือคนไข้ต่อไปได้ การเผชิญอารมณ์โดยมีญาติของผู้ป่วยอยู่ด้วย ไม่ได้เป็นการเผชิญหน้าสองต่อสอง ก็อาจจะช่วยบรรเทาลงไปได้ และเป็นการช่วยทั้งสองทาง หรือสามทาง คือ คนไข้ ญาติ และฝ่ายผู้ดูแล

    ปฏิเสธ

    เป็นอีกรูปแบบของการไม่สามารถยอมรับความจริง ซึ่งปฏิกิริยาต่อไปคือสิ่งที่เราสนใจต่อไปว่าจะเกิดอะไรขึ้น

    ในระยะต้นที่คนไข้ปฏิเสธ เช่น บอกว่าไม่เชื่อ ไม่จริง เราก็มีโอกาสที่จะปรับความเข้าใจ หรือสืบค้นว่าคนไข้กำลังคิดอะไรอยู่ อะไรคือ ความหมายของความเจ็บป่วยในครั้งนี้ และมีการเตรียมตัว ทำใจ หรือรับรู้อย่างไรบ้าง

    สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงก็คือ สถานการณ์แบบนี้คนไข้ส่วนใหญ่ หรือคนธรรมดาๆเกือบทั้งหมด จะเกิดอารมณ์อย่างมากมาย ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ที่คนจะเกิดอารมณ์เมื่อเผชิญความตาย เพราะเป็นเรื่องที่คนธรรมดาๆ จะไม่คุ้นเคย เป็นปริศนา เป็นอะไรที่เต็มไปด้วยความไม่รู้ ไม่แน่นอน และเหนือการควบคุม ผนวกกับความเชื่อ ศรัทะ และระบบศาสนาในลักษณะต่างๆอีกด้วย กอปรเป็นสภาวะอารมณ์ที่ซับซ้อน ดังนั้น การที่จะพยายามอธิบายโดยให้ข้อมูลเพิ่มเติมในขณะนี้ อาจจะได้ผลไม่ได้เท่าที่เราคิด

    เมื่อคนไข้มีการปฏิเสธเกิดขึ้น ก็อาจจะรับฟัง สืบค้นต่อ หาว่าอะไรคือสิ่งที่คนไข้คิดจะทำต่อ บางคนก็จะไปหาหมออีกคนเพื่อหา second opinion บางคนก็จะไปค้นคว้าหาข้อมูลตามแบบ sty;e ของตนเอง เช่น ถามญาติ เพื่อนฝูง อ่านหนังสือ เข้า internet etc ถ้าหนทางที่คนไข้จะหาทางออก ไม่ได้ขัดขวางต่อขั้นตอนกระบวนการรักษา หรือการทำอะไรที่เกิดประโยชน์ในการรักษาดูแล ก้น่าจะปล่อยให้ระบบความคิดของคนไข้ ค่อยๆรับทราบความจริงทีละน้อย ตามเวลาอันเหมาะสมของคนไข้เอง ซึ่งหมายความว่าจะมีปัยหาตอนที่การปฏิเสธของคนไข้ นำไปสูพฤติกรรมที่ทำให้การรักษาเนิ่นช้าออกไป เช่น ไม่ยอมไปตรวจเพิ่ม หรือ regress เป็น passive ไป

    ต่อรอง

    มีหลายรูปแบบ บางทีต้องแยกจากการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมธรรมดาๆ หรือกำลังพยายามค้นหาอะไรที่ตนเองเป็นผู้ควบคุมได้อยู่ พบเห็นบ่อยๆในคนไข้ที่มีบุคลิกควบคุมตนเอง และคนรอบข้างมาเป็นอุปนิสัย เช่น คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ผู้บริหาร คนที่มีอำนาจ คนที่เคยเป็นผู้นำในวงการต่างๆมาก่อน

    คนไข้บางคนถูกถอดยศ ถอดศักดิ์ศรี โดยความรู้เท่าไม่ถึงการ หรือการไม่ตั้งใจของบุคลากรทางการแพทย์ได้ง่ายๆ นายพลบางคน ผู้ว่าฯ นายอำเภอ มาตรวจ มานอน รพ. ก็โดนสั่งเปลี่ยนเสื้อผ้า เปลี่ยนชุด นั่นเป้นแค่โหมโรงขั้นต้น ถ้าอยู่โรงเรียนแพทย์ นศพ. หน้าใสบางท่านก็อาจจะเดินเข้ามาวางถ้วยให้ แล้วบอกว่า "ขอปัสสาวะในถ้วยนี้ด้วยนะคะ" คนไข้บางคนพยายามจะ gain control นิดๆหน่อยๆกลับมาบ้าง เช่น ขอเลือกแขนข้างที่แทงน้ำเกลือ ขอเวลาเปลี่ยนเสื้อผ้า ขอเวลาก่อนจะลงเปลไปห้อง X-ray ทั้งหมด เป็นสัญญลักษณ์ของการบอกเป็นนัยว่า "นี่คือชีวิต ของฉัน"  ที่ screaming ออกมา (เบาๆ) ในทุกขณะจิต

    การต่อรองจึงมีความสำคัญ การต่อรองบางอย่างก็ก้ำกึ่งระหว่าง denial หรือการปฏิเสธ เช่น "อยากจะขออยู่ต่อจนลูกเรียนจบมหาวิทยาลัย" ฟังดูเหมือน bargaining หรือ ต่อรองธรรมดาๆ ปรากฏว่าลูกอายุ 3 ขวบ!! การขอนี้ก็เสมือนการพูดออกมานั่นเองว่า "ผมยังไม่อยากตาย"

    ดังนั้นภาษาที่คนไข้กำลังสื่อสารกับเรานั้น เป็นภาษาที่ละเอียดอ่อน ไม่ใช่ภาษาเชิงตรรกะ เชิงวิทยาศาสตร์ เชิง a-matter-of-fact-ly เสมอไป บางครั้งคำถามบางคำถาม คำพูดบางคำพูด มีวัตถุประสงค์เดียวแฝงไว้ก็คือ "อย่าพึ่งไปไหนนะ อยู่กับผมต่ออีกนิด ผมกลัว" เท่านั้น และบางครั้งการทำอย่างนั้น เป็นการที่คนำข้บางคน "พร้อม" ที่จะเปิดเผยตนเองกับหมอ กับพยาบาล กับคนดูแล ก็เป็นได้ ขอเพียงมีคนมีเวลาอยู่คุยต่อ อยู่ฟังต่อ ว่าเขาจะพูดว่าอะไร เราอาจจะได้ฟังเรื่องที่มีความสำคัญมากๆสำหรับจิตวิญยาณของคนไข้ก้ได้ นำไปสู่การช่วยเหลือที่สำคัญมากที่สุดสำหรับคนไข้ระยะนี้ คือการตายอย่างสงบ

    เศร้าซึม

    เป็นปฏิกิริยาที่พบได้บ่อย อาจจะมาหลายระลอก ทุกครั้งที่ reality checks in ในใจ ในตัวตนของคนไข้ คนที่มีบุคลิก introvert ที่จะนำเรื่องราว พลังงานจากภายนอก กลับเข้าหาตนเอง ลงไปด้านใน

    บางทีเราสังเกตเห็นคนไข้บางคนนอนคุดคู้ งอเข่าสองข้าง กอดอก คางงุ้มเข้าหาหน้าอก นั่นเป็น ท่านอนท่าทารกในครรภ์ (embryo position) ซึ่งอาจจเป็นโดยสัณชาติญานว่านี่เป็นท่าที่คนเราทุกคนรู้สึกว่าปลอดภัยที่สุด ก็คือตอนอยู่ในครรภ์มารดา การเกิดนั้น บางคนเรียกว่า "การตายจากท้องแม่" เด็กทุกคนจึงร้องไห้ เพราะในท้องแม่นั้นสบาย อบอุ่น ปลอดภัย และเป็นที่ที secure ที่สุดในช่วงชีวิตของมนุษย์

    บางคนเคยบอกว่าในบรรดา type reaction ที่มีปัญหา ภาวะเศร้าซึมจะดุแลยากที่สุด เป็นเพราะว่า type อื่นๆนั้น คนไข้ยังพอพูดจา มีปฏิกิริยาโต้ตอบ ให้ข้อมูลเราเพิ่มเติม เปิดดอกาสให้เราเข้าไปช่วยเหลือได้บ้าง คนไข้ที่ panic attack หรือ เศร้าซึมมากๆ อาจจะตัดขาดจากโลกภายนอกไปเลย

    ในกลุ่มมีหลายคนเสนอว่าภาวะนี้ ญาติ ครอบครัว หรือคนที่รักใคร่ผูกพันกับผู้ป่วย อาจจะช่วยได้ดีที่สุด ดีกว่าอาสาสมัคร หรือหมอ หรือ พยาบาล เสียอีก ซึ่งน่าจะเป็นการ approach emotion ด้วย emotional symbol เพราะคนที่เรารัก ครอบครัว หรือคนที่เราผูกพันนั้น มีพลังด้านอารมณ์เหนือกว่าหมอ พยาบาล ที่เป็นคนแปลกหน้ามาก ในช่วงนี้ คนไข้ที่กำลังคิดถึงความตายของตนเอง กำลังขาด self หรือคิดว่า self กำลังสาบสูญ กำลังแตกสลาย คนที่เป็นสัญญลักษณ์ว่าเขามีตัวตน มีคุณค่า มีความหมาย เบื้องต้นสุดของสัตว์สังคมก็คือ ครอบครัว นั่นเอง

    ข้อพึงระวังจากผู้มีประสบการณ์ก็คือ ในภาวะนี้ คนไข้บางคนอาจจะอยู่ใน state ที่เกิดความคิดอยากจะฆ่าตัวตายขึ้นมา

    ไม่เหมือนในคนไข้ anger ที่อารมณ์โกรธกำลังระบายออกภายนอก หาคนอื่นมารองรับ แต่การเศร้าซึมนั้นคนไข้จะม้วนกลับเข้าภายใน บางคนยังมี guilty complex ตามมา เช่น เกิดสำนึกผิด หรือคิดว่าเป็นบาปกรรมที่ตนเคยได้กระทำไว้ตามมาสนอง เป็น victimized ตนเองหลายขั้น หลายตอน

    ยอมรับ

    คนเข้าอบรมกลุ่มนี้เยี่ยมยอดมาก เพราะหลายคนคิดต่อว่าจะช่วยในคนไข้กลุ่มนี้ ที่ยอมรับความจริงได้ อย่างไรด้วย

    หลายคนเสนอให้คุยกันถึงเรื่องการวางแผนชีวิตต่อไปเลย ว่าจะเอาอย่างไร ค้นหาความหมายของการเจ็บป่วย ทำความรู้จักกับคนไข้มากขึ้น ศึกา เข้าใจ และ empower คนไข้และญาติ

    ข้อสำคัญก็คือ อย่าลืมเรียนรู้จากคนไข้กลุ่มนี้ ว่า "เขายอมรับ หรือทำใจได้อย่างไร"  

    ใครจะรู้ว่า สักวันหนึ่ง เราอาจจะนำความรู้นี้ วิธีนี้ไปช่วยใครได้บ้าง ช่วยคนไข้คนอื่นที่หาทางออกไม่ได้ ช่วยคนที่เรารักเอง หรือสุดท้าย แม้แต่การช่วยเหลือตนเอง เมือ่ตัวเราถึงคราวตกอยู่ในสถานการณ์นี้บ้างในอนาคต

    เป็นการที่กลุ่มที่เยี่ยมยอดมากที่สุดครั้งหนึ่งทีเดียว

    สุดท้ายผมนำกลุ่มเข้าวิถี ภาวนาโพวา  เสร็จสิ้นกิจกรรมเกือบๆจะ 5 โมงเย็น หลายๆคนยังอ้อยอิ่ง นั่งรับซึมซับบรรยากาศ ที่เหลือค่อยๆอำลาอาลัยกันอย่างสวยงาม อารมณ์ของคนที่พร้อมจะช่วยเหลือคนอื่น และเกิดปิตินั้น อย่างเป็นสิ่งที่น่ารับรู้ และมองเห็น อย่างยิ่ง

    หมายเลขบันทึก: 97697เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2007 00:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (1)
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท