วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกด้าน KM


วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกด้าน KM

         ผมเคยเขียนเล่าเรื่องวิทยานิพนธ์ของ ผศ. ฉลาด  จันทรสมบัติ  ไว้เมื่อวันที่ 27 ก.ย.48 (click)   และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผศ. ฉลาดได้นำเอกสารข้อเสนอวิทยานิพนธ์ภาคภาษาอังกฤษ   เรื่อง Developing a Knowledge Management Model of Self-Reliant Communities in Northeast Thailand มาส่ง   แต่ไม่ได้สื่อสารว่าส่งมาให้ผมทำอะไร   ผมจึงเดาว่าต้องการให้ช่วยให้ความเห็น   ผมจึงขอให้ความเห็นสื่อสารไปยัง ผศ. ฉลาด ดังนี้

     1. น่าจะนัด อจ.ที่ปรึกษาทั้ง 3 คน  พบหารือกับ อ.ฉลาดพร้อมกันสักครั้ง   เพื่อทำให้โจทย์วิจัยคมชัดและ research methodology ชัด
     2. ผมอยากให้วิธีวิทยาเน้นการวิจัยเชิงคุณภาพมากกว่า
     3. เนื่องจากมีเวลามากพอ   น่าจะทำวิจัยแบบเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม   คือกลุ่ม interventional กับกลุ่ม control (non-interventional) วัดผลเปรียบเทียบกัน   เพื่อจะหาคำตอบปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาแบบพึ่งพาตนเองได้
     4. สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ   ชุมชนต่าง ๆ ไม่ได้อยู่ในสูญญากาศ   แต่มีโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ จากภายนอกเข้าไปอยู่ตลอดเวลา

วิจารณ์  พานิช
 13 ธ.ค.48

หมายเลขบันทึก: 9636เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2005 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

เรียน ท่านอาจารย์ศาสตราจารย์ ดร.วิจารณ์ พานิช ที่เคารพยิ่ง

     กระผมต้องขอกราบขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงยิ่งที่ให้โอกาสแก่กระผมนิสิตปริญญาเอก ที่อยู่ในมหาวิทยาลัยชนบท ทำให้กระผมมีกำลังใจที่จะทำโครงการบริการวิชาการกับชุมชนมากยิ่งขึ้น และกำลังขอรับการสนับสนุนโครงการจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ ร่วมกับสถาบันการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุขภาคอีสาน โดยกระผมขอในนามโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันการเรียนเพื่อชุมชนเป็นสุขมหาสารคามมีแผนงานกิจกรรมที่ชุมชนเป็นผู้แสดงหลัก คือคุณกิจ นักวิชาการและนักพัฒนาเป็นผู้อำนวยความสะดวก อบต.เป็นคุณเอื้อเฟื้อส่งเสริมสนับสนุน และผู้นำกลุ่มองค์กรชุมชนเป็นคุณลิขิต  ในส่วนของวิทยานิพนธ์ขอกระผมนั้นยินดีที่จะปรับโจทย์วิจัยคมชัดและ research methodology ชัดโดยใช้วิธีวิทยาเน้นการวิจัยเชิงคุณภาพ ตามที่ท่านเสนอแนะ ได้ประสานอาจารย์ที่ปรึกษาควบคุมวิทยานิพนธ์แล้ว  ทราบว่าจะเดินทางไปพบท่านด้วยกันที่กรุงเทพฯ ซึ่งกำลังหาวันเวลาที่ว่างตรงกันอยู่ในเดือน มกราคม 2549  จึงขอขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูงยิ่งโดยจะแจ้งให้ท่านทราบโดยด่วนอีกครั้ง

ฉลาด  จันทรสมบัติ

ผู้นำในการเปลี่ยนนักจัดการความรู้ตั้งแต่ปี 2540-ปัจจุบัน-อนาคต 

เรียน อาจารย์พัชรี ดำรงสุนทรชัย เครือข่ายทีมนักจัดการความรู้
ผมกำลังวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความรู้ของกลุ่มองค์กรชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอาจารย์ต้องการคำนิยาม การจัดการความรู้ว่าผมใช้อะไรนั้น ผมใช้คำนิยาม คำว่า "รูปแบบการจัดการความรู้ว่า" หมายถึง
แบบแผนหรือสัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนของการบริหารจัดการความรู้ ซึ่งได้จัดทำไว้ล่วงหน้าอย่างรอบคอบตามหลักการ แนวคิดและทฤษฎีโดยมีการจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ให้มีความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วยวิสัยทัศน์ ภารกิจ นโยบาย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ ฝ่ายงาน ทีมรับผิดชอบ กระบวนการ สิ่งแวดดล้อมที่เกี่ยวข้อง ผลการดำเนินงานและการประเมินผล

จากทีมนักจัดการความรู้วิทยานิพนธ์

ข้อความรู้ของการจัดการความรู้บางส่วน

Organizational Perspective on Knowledge Management
            Wiig (1993 : 129-131) considers knowledge management in organizations form three perspectives, each with different horizons and purposes:
1.      Business Perspective-focusing on why, where, and to what extent the
Organization must invest in or exploit knowledge. Strategies, products and services, alliances, acquisitions, or divestments should be considered from knowledge-related point of view.
2.      Management perspective-focusing on determining, organizing,
directing, facilitating, and monitoring knowledge-related practices and activities
required to achieve the desired business strategies and objectives.
3.      Hands-on Perspective-focusing on applying the expertise to conduct
explicit knowledge-related work and task.

ขอความกรุณาให้เครือข่ายแสดงความคิดเห็นจากข้อมูลข้างต้น

 

เรียน ท่านอาจารย์ศาสตราจารย์ ดร.วิจารณ์ พานิช ที่เคารพยิ่ง

               ผมเป็นครูมัธยมในเขตกรุงเทพมหานคร  มีประสบการณ์การสอนมา ยี่สิบปี ครับ  ระยะสิบปีหลังผมรู้สึกเป็นห่วงนักเรียนทางด้านคุณธรรมและจริยธรรมมากครับ  ผมเคยทำปริญญานิพนธ์ วิเคราะห์แนวคิดท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุเปรียบเทียบกับธอโร นักคิดนักเขียนชาวอเมริกัน เอาไว้เมื่อสิบปีก่อน  มาบัดนี้ตระหนักดีว่า ได้ความรู้อย่างเดียวยังไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมสักเท่าไหร่  จึงคิดจะต่อยอดปริญญานิพนธ์ที่เคยทำเอาไว้  โดยจะเน้นทั้งในแง่ความรู้และปฏิบัติครับ     พอดีมีโอกาสได้มาเข้า web ของท่านครับ จึงถือเป็นโอกาสที่ดี  ที่ความตั้งใจจะสานต่อภาระกิจ ของท่านอาจารย์พุทธทาสที่ฝากเป็นพินัยกรรมเอาไว้ คงเป็นจริงขึ้น ช่วงนี้กำลังใช้ความคิดหาโจทย์ที่คมชัดครับ

นายชัชวาล  คงผึ้ง

  

เรียน ท่านศาสตราจารย์ ดร.วิจารณ์ พานิช อาจารย์ที่ปรึกษาที่เคารพยิ่ง

      ผมได้ศึกษาเอกสาร การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ ของท่านอาจารย์แล้ว ทำให้เกิดความหวังในการที่จะค้นหาความรู้ความจริงโดยผ่านการปฏิบัติ ปรับปรุงและพัฒนางานในการจัดทำวิทยานิพนธ์ให้จงได้ โดยเฉพาะเป้าหมายสุดท้ายของการจัดการความรู้ คือ การที่กลุ่มคนที่ดำเนินการจัดการความรู้ร่วมกัน มีชุดความรู้ของตนเอง ที่จะร่วมกันสร้าง สำหรับใช้งานของตน คนเหล่านี้จะสร้างความรู้ขึ้นใช้อยู่ตลอดเวลา โดยการสร้างนั้นเป็นการสร้างเพียงบางส่วน เป็นการสร้างผ่านการทดลองเอาความรู้จากภายนอกมาปรับปรุงให้เหมาะสมต่อสภาพบริบทของตนและทดลองใช้งาน ปรังปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ในลักษณะของกระบวนการเรียนรู้สู่การพัฒนาคนที่มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืนในที่สุด

Dear Prof.Vijarn

        Now I'm doing topic of KM for  my research and I would like to know KM problem in Thailand. Could you please suggest to me.

      Regards.

ผมขอแสดงความชื่นชมยินดีกับท่านที่กำลังจะทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการพัฒนา/ต่อยอดองค์ความรู้อย่างเป็นระบบและยั่งยืนต่อไป  ผมขอให้กำลังใจและหากจะให้ผมมีส่วนสนับสนุนส่งเสริมด้านใดถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงก็ยินดีครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท