ตั้งใจจะเขียนเรื่องเงิน, ธนบัตร หรือ Banknote (paper money) แต่เลยไปเรื่อง "เงิน เงิน เงิน" และ "มิตร ชัยบัญชา" 2 บันทึกแล้ว กลับมาเข้าเรื่องดีกว่า
ได้ยินมาว่า ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (แหล่งพิมพ์ธนบัตร) เวลาพนักงานจะเข้าไปทำงาน จะเก็บของไว้ที่ ล็อกเกอร์ ไม่พกกระเป๋าสตางค์หรือธนบัตรติดตัวเข้าไปในที่ทำงาน แล้วที่นั่นเขาจะสอนว่า "ธนบัตรนี่ก็คือกระดาษ" เขาจะสอนไม่ให้โลภและยินดีต่อเงินที่ธนาคารฯ จ่ายเป็นเงินเดือน
ที่ธนาคารพาณิชย์ทั่วไป พนักงานคนหนึ่งมีเงินผ่านมือวันละเป็นล้านหรือหลายล้าน (ใช้เครื่องนับเงินอัตโนมัติ) เขาสอนพนักงานอย่างไร คงสอนให้เห็นว่าเงินของลูกค้าเหมือนกระดาษ ต่อเมื่อเงินหรือธนบัตรนั้น อยู่ในกระเป๋าของเราถึงมีค่า
สมัยก่อนธนบัตรไทยจะมีคำว่า "ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" แต่เดี๋ยวนี้ไม่เห็นแล้ว ท่านสังเกตอะไรบ้างในธนบัตรในกระเป๋าของท่านก่อนที่จะใช้แลกเปลี่ยนสินค้า
ผมสะสม "Banknote" เวลาเดินทางไปประเทศต่างๆ ก็จะเก็บธนบัตรของประเทศนั้นไว้ เอาที่ราคาต่ำๆ แต่บางประเทศก็สะสมได้ทุกราคา เช่น ธนบัตรของประเทศสปป.ลาว (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) เป็นต้น ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บไว้เป็นประวัติศาสตร์ในเรื่องเงินตราของประเทศนั้นๆ และเราได้มีโอกาสไปใช้ชีวิตในประเทศของเขาและใช้เงินตราของเขา
ขณะเดียวกันผมก็สะสม ธนบัตรของไทยด้วย ท่านทราบไหมว่า ธนบัตรของไทยที่หมุนเวียนใช้ในปัจจุบันมีกี่ชนิดราคา ลองนับดูนะครับ ชนิดราคา 10 บาท (เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว), 20 บาท, 50 บาท, 100 บาท, 500 บาท, 1000 บาท รวม 5 ชนิดราคา (10 บาท ไม่นับแล้วเพราะว่าเดี๋ยวนี้ใช้เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 10 บาทแทน)
ลองมาสังเกตดูธนบัตรในกระเป๋าของท่านกันบ้าง ผมลองเอาภาพที่เพิ่งถ่ายมาวันนี้ (13 ธ.ค.) มาให้ท่านได้ชมกันบ้างสัก 2 ชนิดราคา (รู้สึกว่าถ้าจำไม่ผิด ธนบัตรรุ่นนี้จะเป็นรุ่นที่ 15 แล้วครับ)และผมขออธิบายด้วยภาพเลยนะครับ
|
||
ภาพที่ 1 ธนบัตรชนิดราคา 500 บาท ลองดูตรงลายเซ็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ธนบัตรใบบน เซ็นโดย คุณสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ธนบัตรใบล่างเซ็นโดย คุณสุชาติ เชาว์วิศิษฐ์ 2 ท่านนี้ คุณสมคิดเป็นรมต.ว่าการฯ ก่อนคุณสุชาติ แล้วคุณสมคิดก็มาเป็นรมต.ว่าการฯ หลังคุณสุชาติอีกสมัย หากท่านมีธนบัตร 500 อยู่ในมือ ที่มีลายเซ็นคุณสมคิด จะบอกได้ไหมว่า เป็นสมคิด 1 หรือ สมคิด 2 ; ส่วนถ้าใครเก็บธนบัตร "เก้าหน้าเก้าหลัง" ต้องเก็บแบบธนบัตรใบบน คือ มีเลข 9 ทั้งหมด 3 ตัว ได้แก่ (เลข 9 ตัวหนา) เลขหมวด 9 A ตามด้วยเลข 9665979 | ||
ภาพที่ 2 เราเคยสังเกตไหมว่า ด้านหลังธนบัตรใบละ 500 บาทเป็นภาพอะไร มีโลหะปราสาท กับเรือสินค้า จะเกี่ยวข้องกับรัชกาลใด |
ภาพที่ 3 ธนบัตรใบละ 100 บาท ด้านหน้าดูคล้ายกัน แต่ลายเซ็น รมต.ว่าการกระทรวงการคลังต่างกัน คุณสมคิด (2) เป็นรมตก่อน คุณทนง พิทยะ เป็นรมต.ว่าการฯ คนปัจจุบัน แต่คุณทนงก็เคยเป็นรมต.ว่าการสมัย พลเอกชวลิต เป็นนายกรัฐมนตรี (ใครเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยสมัยนั้น ทราบไหมครับ) | ||
|
||
ภาพที่ 4 ถ้าดูภาพที่ 3 ด้านหน้าจะคล้ายกัน (ต่างที่ลายเซ็น รมต.ว่าการฯ) แต่ถ้าดูด้านหลังธนบัตรจะต่างกัน ธนบัตรใบบนเป็นภาพรัชกาลที่ 5 คู่กับรัชกาลที่ 6 กับการศึกษาของไทยส่วนธนบัตรใบล่างจะเป็นภาพรัชกาลที่ 5 กับการเลิกทาส | ||
|
|
ภาพที่ 5 ผมเพิ่งได้ธนบัตรใบนี้มา คงต้องไปอ่านข้อความที่เขียนไว้หลังธนบัตรแหละครับ เดาว่าต้องเกี่ยวกับการเลิกทาสเป็นแน่ |
อันที่จริง สิ่งที่อยู่รอบตัวเราสามารถเป็นครูให้ความรู้แก่เราได้ อยู่ที่เราจะหมั่นสังเกตและเห็นอะไรหรือไม่ แม้แต่ธนบัตรก็ยังเป็นขุมความรู้ให้กับเราได้อยู่ที่เราจะหมั่นศึกษาไหม ดังนั้นธนบัตรไม่ได้มีไว้ใช้ (หามาใช้ด้วย) เพียงอย่างเดียวแต่ยังมีไว้เพื่อศึกษาอีกด้วย