จัดการความรู้...ต้องคู่กับจัดการอัตตา


"ทันทีที่คุณลดอัตตาลงได้มากเท่าใด การจัดการความรู้ก็ก่อตัวเพิ่มขึ้นได้มากเท่านั้น "

      เมื่อกล่าวถึง อัตตา หลายคนเชื่อว่า อัตตา คือสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเอาตัวรอดในสังคมโลกปัจจุบันที่แสนจะ...โหดร้าย ในโลกซึ่งไร้ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน (สิ่งที่เห็นอาจไม่จริง สิ่งที่จริงอาจไม่เหมือนสิ่งที่เห็น) จึงไม่แปลกที่หลายองค์การกำลังแข่งขันกันอย่างดุเดือดและเข้มข้ม เข้าทำนอง "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก" (อาจรวมถึงปลาทูด้วยก็ได้) ...แท้ที่จริงแล้วเป็นความเชื่อที่ผิด เป็นการปิดโอกาสในการเรียนรู้โดยไม่รู้ตัว เพราะเราไม่ได้พูดกันถึงการใช้ อัตตา ในแง่บวกนั่นเอง

      อัตตา จะนำมาซึ่งความยโสพร้อมจะกลืนกินทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้า ผู้มีอัตตาสูงย่อมต้องการอยู่เหนือคนอื่น ทั้งเรื่องความคิด การปฏิบัติ ตำแหน่งหน้าที่การงาน และอื่นๆ เท่าที่จะทำได้ คนพวกนี้จะพอใจเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างดูเหมือนจะเหนือกว่าคนอื่น เขาจะคิดว่าตนเองถูกต้องอยู่ตลอดเวลาเพราะเคยชินกับการแสแสร้งว่าตนเองรู้ทุกอย่างมากกว่าคนอื่น

บทสรุป 

      ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่มีใครรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง การจัดการความรู้ ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ต่อสังคมไทย การนำแนวคิดนี้มาใช้ควรมีการปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมการเรียนรู้แต่ละองค์การ เพราะการการดำเนินกิจกรรมและการตัดสินใจจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือ สนับสนุนข้อมูล แนวคิด และความรู้จากเพื่อนร่วมงาน ...ตรงกันข้าม เราจะไม่ได้รับความร่วมมือแต่อย่างใด หากเพื่อนร่วมงานรู้สึกว่าคุณหยิ่งยโสโอหัง คิดถึงแต่ตัวเอง เอาประโยชน์ของตนเป็นที่ตั้ง หากเป็นเช่นนั้น ก็เท่ากับว่าคุณได้ปิดโอกาสที่จะเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ ในชีวิตการทำงาน เมื่เป็นเช่นนี้แล้วโอกาสที่จะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ย่อมเป็นไปได้ยาก เป็นการปิดโอกาสที่จะปรสบความสำเร็จสำหรับตัวคุณเองไปโดยอัตโนมัติ

      จงเปลี่ยนทัศนคติ หมั่นสำรวจอัตตาของตนเอง ลดอัตาที่มีอยู่แล้วสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สร้างสรรค์ความเข้าใจเข้าหากัน สนทนากันด้วยถ้อยคำที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ มีการสื่อสารที่เปิดกว้าง รวมทั้งการเปิดโอกาสให้กับความคิดที่เป็นไปได้อย่างเสมอภาคและกว้างขวางทั่วทั้งองค์การ และทันทีที่คุณลดอัตตาลงได้มากเท่าใด การจัดการความรู้ก็ก่อตัวเพิ่มขึ้นได้มากเท่านั้น ...การจัดการความรู้ได้เริ่มขึ้นแล้ว ณ วินาทีที่คุณลดอัตตาลงนั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 95921เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2007 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คงต้องขอโทษครับ ถ้าจะต้องเห็นต่างออกไปจากที่ คุณวิชิต เห็น เพราะการจัดการความรู้ เป็นสิ่งที่เราคาดหวัง เมื่อเราคาดหวังก็จะเป็นกิเลส ทั้งกิเลสที่อยากได้(วิภาวะตัญหา)และกิเลสที่ไม่อยากได้(ภาวะตัญหา) หรือกลาง ๆ ก็เป็นอัพยากตา

อนัตตา ไม่สามารถควบคุมได้ ไม่ใช่ตัวตนเราเขา เพราะอย่างนี้การจัดการรู้ย่อมเพราะต้องการควบคุมให้ได้  ภาษาจอมยุทธมักจะเรียกว่า "เก่งจนไม่มีกระบวนท่า" นี้คือการจัดการ....แท้จริง ไม่ยึดติดว่าต้องเริ่มที่ KV ต่อไป เรื่อง KS และต้องมี KA เป็นเสมือนขุมพลัง เป็นต้น ธรรมะสร้างปัญญา  พุทธะแปลว่าผู้รู้  เมื่อเป็นผู้รู้ แล้วจัดการความรู้ไปทำอะไร?

ขอแลกเปลี่ยนครับ และต้องขอโทษถ้ารู้สึกไม่ดีเมื่ออ่านบทความนี้ ขอโทษครับ.....

เรียน คุณสมพงศ์

ขอบคุณที่มองต่างมุมออกไปครับ ...ดีเสียอีกครับที่จะได้ใช้กระจกส่องกันหลายๆ มุม ภาพจะได้แจ่มชัดเจนยิ่งขึ้น

แต่เมื่อต้องการอยากได้ แล้วก็ต้องให้ด้วย (Give & Take) ทั้งสองสิ่งนี้ ต้องไปด้วยกันอย่างพอเหมาะพอควรครับ

ภาษาจอมยุทธในหนังกำลังภายในที่ท่านว่า ...ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็น "ยอดซามูไร คือทิ้งใจทิ้งกระบี่"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท