ปานตะวัน-ปานวาด ศิริราช และแม่


เสียงกระซิบจากหัวใจ ด้วยพลังแห่งรัก สิ่งไหนเลยจะบดบัง การปรากฎขึ้นของสิ่งดีงามเช่นนี้

           เมื่อครั้งได้รับรู้ ข่าวคราวเกี่ยวกับ ความสำเร็จของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชฯ ที่สามารถผ่าตัดแยกร่างหนูน้อยฝาแฝดที่มีอวัยวะสำคัญติดกัน(หัวใจและตับ)ได้สำเร็จ เป็นรายแรกของโลก ก็ให้รู้สึกทั้งดีใจ และภูมิใจ          

          ผมเป็นศิษย์เก่าศิริราชฯ ร่ำเรียนวิชาจากสถาบันอันเป็นที่รักนี้(ทั้งระดับ พบ.และ วุฒิบัตร) เดินวนเวียนอยู่ในศิริราชจนรู้ทุกซอกมุม เมื่อได้ข่าวเกี่ยวกับความสำเร็จของสถาบันนี้จึงภูมิใจเป็นธรรมดา แต่ที่รู้สึกตื้นตันและน้ำตาคลอก็เมื่อได้อ่านรายละเอียด  เกี่ยวกับ ที่มาที่ไปจนถึงวันที่ศิริราชแถลงข่าว

ด.ญ. ปานตะวัน ธิเย็นใจ และ ด.ญ. ปานวาด ธิเย็นใจ (17 มิถุนายน พ.ศ. 2549 - ) เป็น ฝาแฝดติดกันที่มีหัวใจและตับติดกัน รอดชีวิตทั้งคู่เป็นครั้งแรกของโลก เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 โดย ทีมคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งแถลงข่าวไปเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2550

         ให้รับรู้ถึงปรากฎการณ์ แห่งความงดงาม บนโลกใบนี้ ส่งผ่านโดยผู้หญิงธรรมดาๆ คนหนึ่งกับความรักอันยิ่งใหญ่ของแม่ ความรักของแม่ที่มีพลังอำนาจอันมหาศาล ความรักของแม่ทำให้สมัยเด็กๆเราเคยพูดว่า รักแม่เท่าฟ้า แต่เมื่อโตขึ้นผมว่ามันใหญ่กว่านั้นนะ!!!

         จาก นิตยสาร ฅคน เขียนไว้ในตอนหนึ่งว่า

         12 ชั่วโมงในห้องผ่าตัด : เมื่อแฝดมีอายุครบ 8 เดือนและทีมแพทย์พร้อมที่จะทำการผ่าตัดแยกร่าง จึงเป็นช่วงเวลาระทึกใจ มิใช่น้อย  คำพูดสั้นๆจากปากของแม่ก่อนที่ลูกน้อยจะถูกเข็นเข้าห้องผ่าตัด ก็คือ สู้ๆ นะลูก ออกมาอย่างปลอดภัยนะ ใหญ่-เล็ก         

         ขบวนการผ่าตัด เริ่มตั้งแต่การดมยาสลบ จนทารกทั้งคู่ออกจากห้องผ่าตัด ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 12 ชั่วโมงเศษ โดยใช้ทีมงานทั้งสิ้น 61 คน เป็นวิสัญญีแพทย์ 14 คน ศัลยแพทย์หัวใจ 5 คน ศัลยแพทย์ตกแต่ง 7 คน กุมารศัลยแพทย์ 5 คน และพยาบาลห้องผ่าตัด 30 คน จึงเป็นครั้งแรกของโลก กับความสำเร็จของคณะแพทย์โรงพยาบาลศิริราช ในการผ่าตัดแยกแฝดสยาม ที่มีหัวใจและตับติดกัน แล้วมีชีวิตรอดทั้งคู่        

        จากการผ่าตัดอันยาวนาน ทั้งปานตะวันและปานวาดจึงถูกเข็นออกมาสู่ห้อง ICU และคำให้กำลังใจของแม่ที่สื่อผ่านไปยังหนูน้อยทั้งคู่(ที่ขณะนี้ถูกแยกออกจากกันแล้ว) ด้วยพลานุภาพแห่งความรัก        

        สู้ๆนะเล็ก สู้ๆนะใหญ่ แม่อยู่นี่นะแม้ในนาทีนั้น จะยังไม่มีใครบอกได้ว่า อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป       

       ใหญ่ แม่อยู่นี่...อย่าขยับมาก เดี๋ยวเจ็บลูก       

        เล็ก แม่อยู่ข้างๆนี่นะ สู้นะลูก สู้นะ       

        และในที่สุดพลานุภาพแห่งความรักที่แม่คนหนึ่งพยายามถ่ายทอดให้กับลูกก็สัมฤทธิ์ผล      

        หากจะถามว่าความสำเร็จครั้งนี้เกิดขึ้นจากอะไร?      

        สำหรับผม คงตอบได้ด้วยคำเพียง2คำ ความรัก       

       ความรักที่มีให้หนูน้อยผู้ไร้เดียงสา    ทั้งจากทีมแพทย์ ทีมพยาบาล ทีมงานที่เกี่ยวข้องของศิริราช  ญาติมิตร พ่อ และแม่ ก่อเกิดเป็นความสำเร็จอันงดงาม ได้จดจารเป็นปรากฎการณ์ที่สุดในโลกเอาไว้     

                      เสียงกระซิบจากหัวใจ ด้วยพลังแห่งรัก

                      สิ่งไหนเลยจะบดบัง การปรากฎขึ้นของสิ่งดีงาม

                      เช่นนี้                                                       

                                    Sirikasem Sirilak     

                                     May 13, 2007

หมายเลขบันทึก: 95916เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2007 10:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เรียนท่านอาจารย์หมอศิริเกษม

 สิ่งที่ดีงาน จะสรรค์สร้างให้เกิดพลังครับ

 ชื่นชมกับ ศิริราช สมกับเป็นโรงเรียนแพทย์ ชั้นนำที่พัฒนาจนเป็นที่ยอมรับและศรัทธา ของชาวไทยครับ

ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเกิดจากความรัก ความสามารถ   และความร่วมมือร่วมใจกันของทุกๆ คน เพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีงามและสำเร็จตามความตั้งใจค่ะ

ได้ดูเหมือนกันคะคุณหมอ รายการทางช่อง 9 นะคะ จริง ๆ แล้วหมอในเมืองไทยเก่งนะคเห็นเขาร่วมมือกันทำงานหลาย ๆ ฝ่าย เก่งมาก ๆ เลยคะ

อำนาจแห่งรักยิ่งใหญ่จริงๆ คุณหมอรักษาด้วยหัวใจ แม่ที่เต็มเปี่ยมด้วยรักที่ให้ลูก หัวใจรักเพื่อนมนุษย์ของกำลังใจรอบๆ ทุกคนมีรักให้กัน ทำให้เกิดความปิตินี้  อ่านแล้วแอบซึ้ง และตื้นตันค่ะ 

ขอขอบคุณเรื่องดีดี ที่ทำให้หัวใจพองโตค่ะ

เห็นด้วยกับคุณรัตน์ชนกค่ะ คุณหมอเมืองไทยเรานี้เก่งนะค่ะ

"ทีมงาน​ทั้ง​สิ้น​ 61 คน​ ​เป็น​วิสัญญี​แพทย์​ 14 คน​ ​ศัลยแพทย์หัวใจ​ 5 คน​ ​ศัลยแพทย์ตกแต่ง​ 7 คน​ ​กุมารศัลยแพทย์​ 5 คน​ ​และ​พยาบาลห้องผ่าตัด​ 30 คน​ ​จึง​เป็น​ครั้งแรกของโลก​ ​กับ​ความ​สำ​เร็จของคณะ​แพทย์​โรงพยาบาลศิริราช​ ​ใน​การผ่าตัดแยกแฝดสยาม​ ​ที่มีหัวใจ​และ​ตับติด​กัน​ ​แล้ว​มีชีวิตรอด​ทั้ง​คู่​"

  • นี่คือความพยายาม และการทำงานประสานกัน ซึ่งก่อให้เกิดความสำเร็จขึ้นได้ 

 

ไม่ว่างานใหญ่งานเล็ก ลองได้ทำกันเป็นทีม (Team work) เชื่อมั่นค่ะว่าต้องสำเร็จ  โดยเฉพาะกรณีน้องใหญ่-น้องเล็ก นี้ สุดยอดค่ะทีมงานทุกท่าน  ยินดีกับความสำเร็จอันนี้ เพราะดิแนก็มีลูกฝาแฝดเหมือนกัน แต่โชคดีกว่าหน่อยหนึ่ง คือ ตัวไม่ติดกัน ... แต่ก็สัมผัสได้ถึงความรัก ความผูกพัน ความห่วงใย ของแม่ที่มีต่อลูกฝาแฝด

ตอนนี้โต 3 ขวบแล้วค่ะ

เดชา ปัทมสิริวัฒน์

อาจารย์ครับ

เรื่องจัดตั้งนิติบุคคลที่หมู่บ้านวนาทาวน์โฮมดำเนินการไปถึงไหนแล้ว ช่วยแจ้งให้ผมทราบด้วย เพราะอาจารย์ดิเรกมอบอำนาจให้ผมจัดการแทนในที่เปล่าของอาจารย์ ติดบ้านผู้บังคับการจังหวัดทหารบกพิษณุโลก

เดชา ปัทมสิริวัฒน์

โทร. 081 - 8877980

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท