ทำไม ผู้หญิงอายุยืนกว่าผู้ชาย


ทำไมผู้หญิงจึงมีอายุยืนกว่าผู้ชาย และทำไมช่องว่างอายุขัยนี้มีแนวโน้มจะลดลง เรามีคำตอบครับ...

Hiker <p>พวกเราคงทราบกันดีว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่อายุยืนกว่าผู้ชาย วันนี้มีข่าวดีครับ... เพราะช่องว่างอายุขัย(ระหว่างเพศ)นี้มีแนวโน้มจะลดลง </p>

ทำไมผู้หญิงจึงมีอายุยืนกว่าผู้ชาย และทำไมช่องว่างอายุขัยนี้มีแนวโน้มจะลดลง เรามีคำตอบครับ...

ผู้หญิงทั่วโลกมีแนวโน้มจะมีอายุขัยเฉลี่ยมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในประเทศอุตสาหกรรมที่ร่ำรวย เช่น สหรัฐฯ ฯลฯ

เนื่องจากเศรษฐกิจดีขึ้น(คนรวยและคนชั้นกลางมีอายุขัยเฉลี่ยสูงกว่าคนจน) ระบบสาธารณสุข และบริการทางการแพทย์ เช่น วัคซีน การคลอดลูก ฯลฯ ดีขึ้น

อายุขัยผู้หญิงเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี 1900 (พ.ศ. 2443) ทำให้ช่องว่างอายุขัยระหว่างเพศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดสูงสุดในช่วงปี 1970s (พ.ศ. 2513-2522) หลังจากนั้นช่องว่างค่อยๆ ลดลงดังตาราง (ตารางที่ 1)

   ตารางที่ 1:                  

แสดงอายุขัยผู้หญิง และผู้ชายสหรัฐฯ

</font><table border="1" cellspacing="1" cellpadding="7" width="495"><tbody>

ปีคริสตศักราช

ปีพุทธศักราช

อายุขัยผู้หญิง(ปี)

อายุขัยผู้ชาย(ปี)

ช่วงห่าง(ปี)

1900

2513

48.3

46.3

2

1975

2518

46.6

68.8

7.8

2003

2546

80.1

74.8

5.3

</tbody></table>

 

อาจารย์ดอกเตอร์บริดเกท เค. กอร์แมน และดอกเตอร์จัน นัน กาซาล รีดอธิบายว่า
  1. ฮอร์โมนเพศหญิง(เอสโทรเจน) มีส่วนช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน เช่น ลดระดับโคเลสเตอรอล ฯลฯ ทำให้ความเสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันลดลง
  2. ฮอร์โมนเพศชาย(เทสโทสเทอโรน) ที่มีส่วนเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) ทำให้ความเสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตันเพิ่มขึ้น
  3. ระบบภูมิคุ้มกันผู้หญิงดีกว่าผู้ชาย... ส่วนหนึ่งเกิดจากฮอร์โมนเพศชาย(เทสโทสเทอโรน) มีส่วนกดภูมิคุ้มกัน ผู้เขียนสังเกตว่า ผู้หญิงที่ติดเชื้อไวรัสเอดส์ (HIV) มีแนวโน้มจะอยู่ได้นานกว่าผู้ชายหลายปี
  4. ผู้ชายมีอัตราตายก่อนวัยสูงกว่าผู้หญิง 2-4 เท่า เช่น อุบัติเหตุสูงกว่า ฆ่าตัวตายมากกว่า ฆ่าคนอื่นมากกว่า ฯลฯ
  5. ผู้ชายดื่มแอลกอฮอล์(เหล้า เบียร์ ไวน์...)มากกว่า ทำให้มีอัตราตายจากโรคตับเรื้อรัง เช่น ตับอักเสบจากเหล้า ไขมันในตับเพิ่มขึ้น ตับแข็ง ฯลฯ มากกว่าผู้หญิงเกิน 2 เท่า
  6. ผู้ชายสูบบุหรี่มากกว่า... การสูบบุหรี่มีผลต่อการทำให้เกิดช่องว่างอายุขัยระหว่างเพศ 75% ตั้งแต่ปี 1910-1962 (พ.ศ. 2453-2505) ซึ่งถ้านับรวมโรคปอด และมะเร็งจากการสูบบุหรี่แล้ว บุหรี่จะมีผลต่อช่องว่างอายุขัยระหว่างเพศมากกว่านี้ ข่าวดีสำหรับผู้ชายคือ ผู้ชายสูบบุหรี่น้อยลงในอัตราที่เร็วกว่าผู้หญิง

ประเทศอุตสาหกรรมที่ร่ำรวย เช่น สหรัฐฯ ฯลฯ พบมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมากคือ ผู้ชายสูบบุหรี่น้อยลงเรื่อยๆ ดังตาราง (ตารางที่ 2)

   ตารางที่ 2:                 

แสดงอัตราการสูบบุหรี่ในสหรัฐฯ (%)

ปีคริสตศักราช

ปีพุทธศักราช

ผู้ชายสูบบุหรี่ (%)

ผู้หญิงสูบบุหรี่ (%)

ส่วนต่าง (%)

1960s

2503-2512

52

34

18

2005

2548

23.9

18.1

5.8

 

การที่ผู้ชายสูบบุหรี่ลดลงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้อายุขัยเฉลี่ยผู้ชายสหรัฐฯ และประเทศอุตสาหกรรมที่ร่ำรวยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ทีนี้ผู้ชายจะอายุยืนเท่าผู้หญิงหรือไม่... ข่าวดีสำหรับผู้หญิง และข่าวร้ายสำหรับผู้ชายคือ "ไม่"... อาจารย์ท่านบอกว่า ผู้หญิงจะยังคงมีอายุยืนกว่าผู้ชายไปเรื่อยๆ อย่างน้อยจนถึงปี 2020 (พ.ศ. 2563)

ผู้ชายมีดีหน่อยตรงที่ออกกำลังกันมากกว่า ซึ่งข้อได้เปรียบนี้ไม่ยั่งยืนอะไร เพราะผู้หญิงทุกวันนี้หันมาใส่ใจสุขภาพ และออกกำลังกันมากขึ้นเรื่อยๆ

ถึงตรงนี้... ขอเรียนเชิญพวกเราหันมาใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ชายควรลด ละ เลิกบุหรี่ และเหล้าให้ได้

ควรหันมาใช้ชีวิตให้มีคุณค่าทุกวัน เช่น รักษาสุขภาพให้ดี เพื่อเตรียมตัวบริจาคเลือดเป็นประจำ ฯลฯ เพราะชีวิตจะยืนยาวเท่าไรไม่สำคัญเท่ากับว่า ใช้ชีวิตนั้นให้มีค่าอย่างไร...

    ขอแนะนำให้อ่าน...                             

  • เรียนเชิญให้ทำ "แบบทดสอบอายุขัย"
  • [ Click - Click ]
  • แนะนำให้อ่านรวมเรื่อง "อายุขัย"
  • [ Click - Click ]
  • บล็อกสารคดีแบบสบายๆ > "บ้านสาระ"
  • http://gotoknow.org/blog/talk2u

    แหล่งที่มา:                                      

  • ขอขอบพระคุณ (thank medscape) > Bridget K. Gorman, Ph.D.; Jan’nan Ghazal Read, Ph.D. > Why men die younger than women. > Medscape public health & prevention medpulse. > [ Click - Click ] > http://www.medscape.com/viewarticle/555221_1 > May 9, 2007. // source: Geriatrics Aging. 2007; 10(3):182-191.
  • ขอขอบพระคุณ > โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี + อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT + หน่วยรังสีกรรม > สนับสนุนทางเทคนิค + อินเตอร์เน็ต.
  • ขอขอบพระคุณ > ศูนย์มะเร็งลำปาง + อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT > สนับสนุนทางเทคนิค + อินเตอร์เน็ต.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > 11 พฤษภาคม 2550.

</span></span></span></span></span></span></span></span>

หมายเลขบันทึก: 95677เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2007 18:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
แวะเข้ามาอ่านครับ ได้ประโยชน์จริงๆครับ ขอบพระคุณครับ

ขอขอบคุณอาจารย์นิรันดร์...

  • ขอขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน และให้ข้อคิดเห็นครับ
เรียนท่านอาจารย์ หมอวัลลภ มองในอีมมุมหนึ่ง โชคดีของผู้หญิงครับ ไม่ต้องดูแลผู้ชายที่แก่ๆ เนาะ เพราะไปสู่ที่ชอบ ที่ชอบก่อนผู้หญิง

สวัสดีค่ะอาจารย์

ชอบค่ะอายุยืน แต่ยืนๆแบบแข็งแรงนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์P

               เข้ามาอ่านค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • มีคำกล่าวว่าผู้หญิงอายุยืนกว่าผู้ชายก็จริง แต่ผู้หญิงแก่เร็วกว่าผู้ชาย จริงหรือไม่คะ
  • ชอบประโยคว่า "ชีวิตจะยืนยาวเท่าไรไม่สำคัญเท่ากับว่า ใช้ชีวิตนั้นให้มีค่าอย่างไร... "
  • ขอบคุณค่ะ

ขอแสดงความเคารพท่านอาจารย์หมอ JJ...

  • เป็นการ "มองต่างมุม" ที่น่าสนใจมากครับ
  • ไม่ทราบว่า ท่านผู้อ่านท่านอื่นคิดอย่างนี้กันบ้างหรือเปล่า

ขอขอบคุณอาจารย์ sasinanda...

  • ตกลงอาจารย์ชอบแบบนี้ (ผู้หญิงอายุยืนกว่าผู้ชาย)...
  • ขอให้พวกเรามีอายุยืนอย่างสง่างาม (แข็งแรง ไม่หลงลืม ไม่เลอะเลือน ไม่เชือนแช และไม่เชื่องช้า) ครับ...

ขอขอบคุณอาจารย์ cath.

  • ขอขอบคุณที่แวะเข้ามาเยี่ยมเยียน และให้กำลังใจครับ...

ขอขอบคุณ อ.หนู ...

  • คำกล่าวว่า "ผู้หญิงแก่เร็วกว่าผู้ชาย" นี่... เท่าที่ทราบ > ไม่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ หรืองานวิจัยรองรับ

ทีนี้ถ้าพิจารณารูปภายนอก > อาจเป็นไปได้เหมือนกัน...

  1. ผู้หญิงมีสัดส่วนไขมันมากกว่า(ผู้ชาย) + มีมวลกล้ามเนื้อน้อยกว่า > เวลาเคลื่อนไหวจะดูกล้ามเนื้อหย่อนยานเร็วกว่า > แก้ไขได้ไม่ยากด้วยการออกกำลัง โดยเฉพาะการออกกำลังต้านแรง เช่น ยกน้ำหนัก ฯลฯ
  2. ผู้หญิงเสี่ยงโรคอ้วนมากกว่าผู้ชาย > ข้อที่รับน้ำหนัก เช่น หัวเข่า ฯลฯ อาจจะเสื่อมเร็วกว่า
  3. ผู้หญิงมีโครงกระดูกเล็กกว่า + สูญเสียกระดูกเร็วกว่า > โอกาสเกิดกระดูกหักมีมากกว่า > ป้องกันได้ด้วยการออกกำลัง โดยเฉพาะเดิน + ยกน้ำหนัก + กินแคลเซียมให้พอ + ไม่กินเนื้อมากเกิน(เนื้อที่มากเกินทำให้เกิดกรด ขับทางปัสสาวะ + เสียแคลเซียม)
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท