ตลาดที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน(Community based tourism)


หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรงอาจเชื่อมต่อกับ เครือข่าย และข้อมูลที่มีอยู่แล้วร่วมกันวางแผน กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาต่อไป

คุณอุบลวรรณ  ประดับศุข จาก ททท.(การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)  บอกให้ช่วยเขียนเกี่ยวกับ การตลาดที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน ผมเองก็รับปากเพราะคิดว่า ในการทำงานเชิงรุกด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทยเรา กำลังก่อร่างสร้างตัว ททท.เองก็เริ่มให้ความสนใจการท่องเที่ยวแบบนี้มากขึ้น ถือว่าเป็นโอกาสที่ดี

 

การท่องเที่ยวที่ไม่ใช่เฉพาะเพื่อการท่องเที่ยวแต่เพียงอย่างเดียว การท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อสังคมของประเทศ ส่งผลบวกต่อการพัฒนาชุมชนโดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ

มีหลากหลายมุมมองต่อการพัฒนาโดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ สุ่มเสี่ยงที่ทำให้ชุมชนซึมซับเอาวัฒนธรรมข้างนอกจนเสียสมดุล การท่องเที่ยวนี่เองชักนำทุนนิยมเข้ามาท้าทายภูมิปัญญาเดิม

เราควรต้องตระหนักว่า หากไม่มีการท่องเที่ยว สิ่งเหล่านี้ก็เข้ามาอยู่แล้วในรูปแบบของสื่อที่หลากหลาย รวดเร็วและรุนแรง หากประเทศไทยชูเรื่องการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรายได้ที่สำคัญของประเทศ สิ่งที่ชุมชนเราต้องรับมือก็คือ การเตรียมชุมชนเพื่อรองรับปรากฏการณ์เหล่านี้ แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะปิดหมู่บ้านชุมชน และปฏิเสธสิ่งเหล่านี้

กระแสการท่องเที่ยวแบบการท่องเที่ยวทางเลือก  กำลังได้รับความสนใจจากชาวยุโรป และประเทศที่ใฝ่ฝันอยากมาเที่ยวเอเชีย พวกเขามองภูมิปัญญาตะวันออกด้วยท่าทีที่สนใจ และเริ่มเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยมาในรุปแบบการท่องเที่ยวมากขึ้น

การตลาดที่เหมาะสมสำหรับ การท่องเที่ยวโดยชุมชน(Community based tourism) จึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่จะเชื่อมให้เกิดความสมดุลระหว่างชุมชน (Host) และนักท่องเที่ยว (Guest) เป็นตัวที่ทำให้เกิดความเข้าใจ และเตรียมพร้อมสำหรับทั้งสองฝ่าย

กระบวนการพัฒนาหลักๆมีดังนี้

ตั้งวัตถุประสงค์ในการทำการตลาดให้กับชุมชนท่องเที่ยว ให้ชัดเจนว่าเพื่ออะไร และต้องการได้ผลผลิตใด ต้องทำความเข้าใจเป็นพื้นฐานก่อนว่า เมื่อเทียบรายได้กับการท่องเที่ยวกระแสหลัก(Mass tourism)แล้ว การท่องเที่ยวโดยชุมชน(Community tourism)อาจไม่ใช่คำตอบ แต่หากเป็นไปเพื่อการพัฒนาชุมชนไทยโดยใช้กระบวนการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือแล้ว น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

หาข้อมูลชุมชนที่จัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่มีอยู่ส่วนหนึ่งในประเทศไทย ที่พร้อมในการบริหารจัดการ พร้อมที่จะรองรับนักท่องเที่ยวได้ ซึ่งตรงนี้เองสามารถเชื่อมข้อมูลกับโครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการอยู่(โครงการพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน)  ในช่วงแรกเรากำลังเก็บข้อมูลชุมชนท่องเที่ยวอยู่และข้อมูลจะถูกนำมาแจกแจง(Identify) และตรงนี้เองข้อมูลจะถูกจัดเป็นกลุ่มเพื่อง่ายต่อการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว นำประชาสัมพันธ์เชิงรุกในระบบตลาดได้

วางแผนการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว ตรงนี้สำคัญมาก เพราะชุมชนจำเป็นต้องรับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาชุมชนเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นการบริหารจัดการในชุมชนเอง และส่วนอื่นๆ ได้แก่  พัฒนาศักยภาพด้านการสื่อความหมาย ผู้นำเที่ยว พัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว(Tourism Products) ฯลฯ ต้องพัฒนาให้ชุมชนพร้อมอย่างเต็มที่ และพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวประเด็นใหม่ๆ ควบคู่กันไป ตอนนี้เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่เกิดการรวมตัวกันของชุมชนที่ทำการท่องเที่ยวโดยชุมชนแต่ละภาคเริ่มขับเคลื่อน และเริ่มมีการมองการเชื่อมเครือข่ายระดับประเทศ (CBT. Thailand Network) โดยวัตถุประสงค์หลักๆคือ การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท่องเที่ยวในประเทศไทยโดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมกัน

เมื่อพร้อมในประเด็นหลักๆเหล่านี้แล้ว เชื่อมต่อไปยัง การตลาดเพื่อการท่องเที่ยว  โดยนิยามแล้ว คือ  ความพยายามที่จะทำให้นักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวของตน ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวและบริการในแหล่งท่องเที่ยวนั้น บทบาทจะอยู่ใน ๒ วิธี ได้แก่ การให้บริการข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยว และ การโฆษณาประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว

คำถามต่อก็คือ รูปแบบการตลาดที่เหมาะสมกับ การท่องเที่ยวโดยชุมชนน่าจะเป็นรูปแบบใด?

 

ผมมองว่ากลุ่มนักท่องเที่ยวที่เป็นกลุ่มเป้าหมายน่าจะเป็น กลุ่มนักท่องเที่ยวที่แสวงหาความรู้หรือสนใจสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นพิเศษโดยเฉพาะ(Travelers) และมีบางส่วนที่เป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางเพื่อพักผ่อนและแสวงหาความเพลิดเพลิน(The Vacation and Leisure Traveler)

ดังนั้นการตลาดที่เหมาะสมขอเขียนในประเด็นสำคัญเพื่อการมองให้เห็นในรูปแบบกว้างๆในภาพรวม

  • สอดคล้องกับศักยภาพชุมชน ความพร้อมของชุมชนท่องเที่ยว(บนพื้นฐานของข้อมูล)
      • ความพร้อมของชุมชนด้านการบริหารจัดการท่องเที่ยว มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นสำคัญเพราะชุมชนเป็นเจ้าของทรัพยากร
      • ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สอดคล้องความต้องการนักท่องเที่ยว
      • อัตราการรองรับนักท่องเที่ยว(carrying capacity)
      • คำนึงถึงวิถีชีวิตวิถีขนบธรรมเนียมที่ท้องถิ่นตามช่วงเวลา รวมทั้งสิ่งที่นักท่องเที่ยวควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด Do and Don’t

  • การวิจัยและพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวในแต่ละระดับโดยรูปแบบบูรณาการต่อเนื่อง ทั้ง เครือข่าย,หน่วยงาน ,คน ,ชุมชน
      • งานวิจัยและพัฒนา (เครือข่าย,ชุมชน,คน)
      • งานวิจัยผลกระทบที่เกิดจากการท่องเที่ยว(ในแต่ละระดับ)

  • การประชาสัมพันธ์ตรงให้กับกลุ่มเป้าหมาย เน้น การสร้างความเข้าใจให้กับนักท่องเที่ยว

อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องนี้ เป็นเรื่องใหม่และค่อนข้างละเอียดอ่อนสำหรับการก้าวเข้าสู่ ระบบการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน การรุกในครั้งนี้อาจต้องใช้กระบวนการศึกษา วิจัยควบคู่ไปด้วย เลือกหารูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการจัดการท่องเที่ยวทางเลือกแบบนี้ ในมุมมองผมในฐานะนักพัฒนาที่ทำงานด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนคิดว่าต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง

หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรงอาจเชื่อมต่อกับ เครือข่าย และข้อมูลที่มีอยู่แล้วร่วมกันวางแผน กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาต่อไป   

 

 

ยินดีรับข้อแลกเปลี่ยน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
๑๐ พ.ค.๕๐
  เมืองปาย,แม่ฮ่องสอน   
   
หมายเลขบันทึก: 95326เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2007 09:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • เรื่องพวกนี้นะครับ น่าสนใจมาก ผมไม่มั่นใจว่าในหลักสูตรการท่องเที่ยวที่สอนตามมหาวิทยาลัยต่างๆ จะบรรจุความรู้เหล่านี้ไว้รึเปล่า
  • และไม่รู้ว่าจะมีอาจารย์สาขาท่องเที่ยวที่ไหนได้มาอ่านหรือไม่
  • เรียนเสนอให้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผูที่มีความรู้ในพื้นที่ กับอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างองค์ความรู้จากพื้นที่จริง ส่งไปให้ผู้เรียนที่ไม่มีโอกาสได้สัมผัส น่าจะสร้างประโยชน์แก่วงการศึกษาอย่างมาก
  • ผมยังตัวเล็กครับพี่จตุพร เรียนเสนอได้ เพียงเท่านี้ ขอบคุณครับ

P
หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในประเทศไทยยังกล่าวถึงเรื่องนี้กันน้อยครับ ส่วนใหญ่จะเน้น mass tourism มากกว่า เน้นส่งคนเข้าสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากกว่าครับ

ผมเองอยากเรียนต้อทางด้านนี้ด้วยครับ หากเป็นไปได้ แต่ในประเทศไทยก็ยังไม่มีครับ

เรากำลังวิจัยและพัฒนากันอยู่ครับโดยใช้ชื่อ

โครงการพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ผมเองเป็นหนึ่งในทีมนักวิจัยครับ รายละเอียดต่อจากนี้จะนำมาเขียนเพื่อแลกเปลี่ยนBlog เรื่อยๆครับ

ขอบคุณน้องบีเวอร์มากครับ

น่าดีใจนะครับที่มีนิสิตสนใจประเด็นนี้

ผมก็เป็นหนึงคนที่สนใจในเรื่องของ CBT นะครับ

ด้วยผมทำวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้พอดีครับ

แล้วผมจะแวะเข้ามาอ่านหาความรุ้ในนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆนะครับ

ไม่มีรูป
HELLOSUCHIN
ยินดีครับสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

บล๊อกนี้ผมเขียนเรื่องราวของ การท่องเที่ยวโดยชุมชนครับ แลกเปลี่ยนกันได้เลย

และหากมีโอกาสเชิญเข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนที่เราจัดบ่อยๆช่วงนี้ (โครงการวิจัย)

อาจติดต่อผมทางเมลล์ได้นะครับ  และงานวิจัยสังเคราะห์การท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ปแม่ฮ่องสอนก็กำลังจะปิดเล่ม หากได้ช่วยกันเติมก็จะดีมากครับ

---- - - -

ตอนนี้ผมก็อยู่ที่หลวงพระบางครับ มา Workshop เกี่ยวกับประเด็น การท่องเที่ยวโดยชุมชนเช่นกัน

ขอบคุณครับ

เรื่องเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเริ่มมีสอนกันในมหาวิทยาลัยแล้ว มหาวิทยาลัยนี้ คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ที่เปิดหลักสูตรเดียวในประเทศไทย คือ การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เป็นหลักสูตรปริญญาโท และการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรนี้ หากท่านใดสนใจ เชิญเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ WEBSITE: WWW.STM.CMRU.AC.TH

น่าสนใจครับ แต่เรื่องการจัดการท่องเที่ยวแนว การท่องเที่ยวทางเลือก แบบนี้ ระดับปริญญาโทก็เปิดในหลายแห่ง เพียงแต่ไม่ได้ใช่ชื่อว่า "การท่องเที่ยวโดยชุมชน" หากเชียงใหม่เปิด เป็นเรื่องที่น่ายินดีครับ

สนับสนุนครับผม

 

สุดยอดความสนุก ในการท่องเที่ยว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท