เตรียมตัวประเมินTQA


ประเมิน TQA ไม่ใช่ต้องไปทำใหม่ แต่เป็นการนำเอาสิ่งที่ทำอยู่แล้วมาจัดหมวดหมู่ให้เห็นชัดตามเกณฑ์ทั้ง 7 หมวด การประเมินTQAเป็นการมองเชิงระบบหรือsystem approach ที่ดูทางการบริหารอย่างครอบคลุม และTQAได้แปลงร่างไปเป็นภาคราชการในนามของ PMQA
                          การสมัครเข้าร่วมประเมินTQAนั้น เป็นการหาผู้ช่วยประเมินระบบริหารจัดการของโรงพยาบาลเราซึ่งผมพิจารณาแล้ว เราได้ปฏิบัติตามค่านิยมหลัก แนวคิดขององค์กรที่เป็นเลิศตามที่TQAกำหนดทั้งการนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์, ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้า, การเรียนรู้ขององค์กรและของแต่ละบุคคล, การเห็นคุณค่าของพนักงานและคู่ค้า, ความคล่องตัว, การมุ่งเน้นอนาคต, การจัดการเพื่อนวัตกรรม,การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง, ความรับผิดชอบต่อสังคม, การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และการสร้างคุณค่า, มุมมองในเชิงระบบการนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์, ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้า, การเรียนรู้ขององค์กรและของแต่ละบุคคล, การเห็นคุณค่าของพนักงานและคู่ค้า, ความคล่องตัว, การมุ่งเน้นอนาคต, การจัดการเพื่อนวัตกรรม,การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง, ความรับผิดชอบต่อสังคม, การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และการสร้างคุณค่า, มุมมองในเชิงระบบ

                      การนำองค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ มีกำหนดเป้าหมายสมดุลสามสิ่งและเป้าหมายบทบาท 3 ด้านของโรงพยาบาลพร้อมทั้งวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัฒนธรรม(ค่านิยมร่วม)ที่เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่เข้าใจเช่นการสอบ ปฐมนิเทศ โอดี

ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้า รับฟังความต้องการลูกค้าหลายช่องทางทั้งรับและรุกไปในชุมชน จัดระบบข้อร้องเรียนละตอบสนอง ดูลุกค้าทั้งกลุ่มปกติ ป่วย เสี่ยงและนำมาจัดบริการตอบสนอง

                           การเรียนรู้ขององค์กรและของแต่ละบุคคล กระตุ้นให้เรียนรู้ 4 วิธี เรียนรุ้ร่วมกันในโรงพยาบาล เปิดโอกาสให้ไปอบรมหรือดูงานภายนอก เรียนรู้และนำเทคโนโลยีมาใช้เช่นเครื่องมือแพทย์และระบบไอซีที

                          การเห็นคุณค่าของพนักงานและคู่ค้า เน้นมองเชิงบวก ให้อภัยกัน ชื่นชมให้รางวัล ให้มีส่วนร่วมทำ คิด ประเมิน วางแผนและตัดสินใจ ร่วมมือกับหน่วยงานอื่นพัฒนาทั้งความรู้และความสุขเจ้าหน้าที่ เช่นHWP, QWL, ธรรมานามัย, ครอบครัวล้อมรัก

                                ความคล่องตัว มีการปรับเพิ่มบุคลากรให้ครอบคลุมบริการด้านต่างๆ เปิดบริการนอกเวลาและวันหยุด มีผู้รักษาการแทนที่ทำหน้าที่แทนกันได้ตลอดเวลา จัดบริการนอกสถานที่ได้ง่ายเช่นตรวจสุขภาพ

                                การมุ่งเน้นอนาคต มีการเตรียมการหากต้องออกเป็นองค์การมหาชนเช่นตั้งมูลนิธิหรือ กพร. การเน้นให้ชาวบ้านและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและจัดกิจกรรมด้านสุขภาพ

                             การจัดการเพื่อนวัตกรรม กระตุ้นส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับสร้างนวัตกรรมทั้งเชิงระบบและสิ่งประดิษฐ์โดยเฉพาะที่ช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัย

                            การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง มีการกำหนดตัวชี้วัดทั้งงาน โครงการและระดับโรงพยาบาลมีการติดตามใน กบร.ทุกเดือน สรุปงานและปรับแผนทุก 6 เดือน เปรียบเทียบงานย้อนหลัง 5 ปี เข้าร่วมเครือข่ายKM

ความรับผิดชอบต่อสังคม มีสิ่งที่รับผิดชอบต่อสังคมเช่นบริการที่ครอบคลุม ขยะ น้ำเสีย การปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนด การรับนักศึกษาฝึกงาน เปิดสอน วชช.ตาก การร่วมกับ อบต./เทศบาลจัดกิจกรรมด้านสุขภาพ เช่นตรวจสุขภาพ ผู้สูงอายุ อาหารปลอดภัย

                              การมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และการสร้างคุณค่า กำหนดตัวชี้วัดตามมิติ 4 ด้านและกำหนดเป้าหมายสุดท้ายที่สมดุลคือประชาชนมีสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข โรงพยาบาลอยู่รอด

                             มุมมองในเชิงระบบ มีการประยุกต์เป็นตัวแบบบ้านคุณภาพสร้างสุขเพื่อทำทุกเรื่องให้เป็นเรื่องเดียวกัน มีแผนฉบับเดียวที่ครอบคลุมทุกเรื่อง กำหนดเป้าประสงค์หน่วยงานที่สนับสนุนวิสัยทัศน์โรงพยาบาล
                      หมวด 7 จะแยกผลลัพธ์องค์กรออกเป็น 6 กลุ่มคือด้านผลิตภัณฑ์และบริการ, ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า, ด้านการเงินและตลาด, ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร, ด้านประสิทธิผลของกระบวนการ, ด้านการนำองค์กร ซึ่งเราจะต้องเอาตัวชี้วัดที่เราใช้อยู่มาจัดกลุ่มตาม 6 กลุ่มนี้

                       การเขียนแบบประเมินTQAได้กำหนดไว้ว่าต้องไม่เกิน 100 หน้ารวมโครงร่างองค์กรด้วย ในส่วนของโครงร่างองค์กรก็มอบหมายให้ทีมศูนย์คุณภาพเป็นผู้จัดทำ โดยการเขียนประเมินในส่วนกระบวนการ(หมวด 1-6) จะเขียนตามหลักของ ADLI (Approach, Deploy, Learning, Integration) ส่วนผลลัพธ์ (หมวด 7) เขียนตามหลัก LeTCL

                     ADLI (Approach กำหนดแนวทางหรือระบบไว้อย่างไร ทำซ้ำได้ไหม เปลี่ยนคนเปลี่ยนเวลาก็ยังทำได้เหมือนเดิม วัดได้ คาดการณ์ได้ เช่นกำหนด QP/WI/CPGไว้, Deploy การนำแนวทางหรือวิธีการไปปฏิบัติ ควรใช้ 5 แผนกก็ต้องใช้ 5 แผนก, Learning แนวทางในการทบทวนและปรับปรุง มีการทบทวนและปรับให้ดีขึ้นไหม, Integration ความครอบคลุมทั่วถึง เชื่อมโยง เป็นทองแผ่นเดียวกันไหม)

                           LeTCL (Level ระดับของผลการดำเนินการ, Trend อัตราหรือแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลง, Compare การเปรียบเทียบผลการดำเนินการ, Link ความเชื่อมโยงของตัววัดผล)

                        มอบหมายงานการเขียนประเมิน TQAใหม่ โดยให้หัวหน้ากลุ่มงานทุกท่านทำหน้าที่หัวหน้าทีม (TQA criteria champion) ดังนี้เกณฑ์ 1 การนำองค์กร นพ.สุวิชัย (จินตนา ภิพาภรณ์ วรวรรณ)เกณฑ์ 2 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ คุณสุนทรี ( ศศิธร สีนวล พี่จอย รัชดา)เกณฑ์ 3 การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด คุณดารณี (ศรัณยา สุภาภรณ์ บ. วรวรรณ ) เกณฑ์ 4 การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ ภก.วรุตม์ (เกศราภรณ์, พัชรีญา, อภิชาติ)เกณฑ์ 5 การมุ่งเน้นบุคลากร คุณวราภรณ์ (จารุวรรณ จ. จารุวรรณ/เงาะ สุภาภัดต์ พุทธรักษา พี่เจ๊ก)เกณฑ์ 6 การจัดการกระบวนการ หมออัจฉริยา (ทญ.วราพรรณ เทพทวย สุภาพร ศรีวรรณ)เกณฑ์ 7 ผลลัพธ์ คุณปริญฎา (บุศรา ปิย์วรา ธนารักษ์ บุญคุ้ม)                                   ทั้งนี้ในแต่ละทีมอาจเพิ่มทีมงานได้ โดยแบบประเมินตนเองของปี 2550 น่าจะได้ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ กำหนดส่งแบบประเมินน่าจะเป็นกรกฎาคม-สิงหาคม ฝากทางศูนย์พัฒนาคุณภาพช่วยติดตามให้ด้วย
 
                                  การเข้าร่วมโครงการประเมินตนเองตามเกณฑ์ TQA ซึ่งทางสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติจัดขึ้นโดยมีงบสนับสนุนทำให้ องค์กรที่ได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการเสียเงินไม่มาก โดยช่วงแรกเป็นการอบรม ทำความเข้าใจและฝึกเขียนแบบประเมินตนเอง ช่วงที่สองเป็นการส่งที่ปรึกษาเข้ามาช่วยให้คำปรึกษาในหน่วยงานเพื่อติดตามดูว่าเขียนได้ตรงกับความเป็นจริงหรือไม่ ซึ่งผมคิดว่าจะได้ประโยชน์กับโรงพยาบาลเรามาก โดยเขาจะรับหน่วยงานละ 1 รุ่นๆละ 4 คนเท่านั้น แต่ผมได้เจรจาต่อรองขอเข้า 2 รุ่น ผมขอให้หัวหน้ากลุ่มงานทุกคนเข้าร่วมอบรมครั้งนี้โดยรุ่นแรกช่วง 21-23 พฤษภาคม มีผม หมอสุวิชัย คุณวราภรณ์ คุณสุนทรี ส่วนรุ่นสองช่วง 11-13 มิถุนายน มีหมออัจฉริยา คุณปริญฎา คุณดารณี คุณวรุตม์
หมายเลขบันทึก: 95200เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2007 13:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • มาทักทายคุณหมอ
  • ขอบคุณนะครับสำหรับความรู้

ขอบคุณคุณหมอคะ  รพ. กำลังเข้าสู่การเตรียมการเหมือนกัน ขออนุญาตใช้แนวคิดนี้ด้วยนะคะ

คุณหมอครับ รพ.บ้านตากเป็นหน่วยงานภาครัฐ ทำไมไม่สมัครขอ PMQA ด้วยล่ะครับเพราะขอบเขตน้อยกว่า TQA ด้วย ผมสงสัยว่าทำไม กพร.ต้องกำหนดให้ทำ PMQA ขององค์กรที่เป็นกรมหรือเทียบเท่า เพราะบางกรมมันเหมือนมีหลาย SBU เช่น โรงพยาบาล นี่แหละ อย่างนี้บางกรมที่มีหน่วยงานทั่วประเทศ ก็คงทำกันถึงชาติหน้ามั้งครับ
โดยส่วนตัวแล้วผมไม่ชอบทำอะไรที่เน้นรูปแบบมากเกินไป เพราะรูปแบบจะบดบังเนื้อแท้ของงานได้ เท่าที่ผมทราบ PMQAจะกำหนดให้ต้องมีแบบฟอรืมนั่น แบบฟอร์มนี่ มากเกินไป ไม่อิสระครับ ผมว่าTQAท้าทายกว่า แต่อย่างไรก็ตามอีกไม่นานก็ต้องถูกบังคับเช่นกันครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท