อสม. ฟันเฟื่องระดับรากแก้วของกระทรวงสาธารณสุข


อสม. ฟันเฟื่องระดับรากแก้วของกระทรวงสาธารณสุข

อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) นับว่าเป็นฟันเฟื่องที่สำคัญในระดับชุมชน เพราะเป็นคนที่อยู่ในชุมชน รับรู้ความเป็นไปของชุมชนอย่างท่องแท้และเข้าใจ แต่การที่จะพัฒนาศักภาพของ อสม. เหล่านี้ได้ต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข ที่จะทำอย่างไรให้ฟันเฟื่องชี้นนี้สามารถช่วยให้กลไกการขับเคลื่อนทางด้านสุขภาพถึงฝั่งฝันได้

วันนี้เจองานวิจัยเกี่ยวกับ อสม. โดย หมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ จึงนำมาฝากทุกท่านครับ

 ชื่อวิจัย ศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง : การสังเคราะห์ความรู้สู่ยุทธศาสตร์การพัฒนา

ผู้วิจัย โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ แหล่งทุน โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ปีที่พิมพ์ 2549

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพที่ดำรงอยู่ของอสม.ในประเทศไทยที่สอดคล้องกับบริบททางสังคมและสถานการณ์สุขภาพที่เป! ลี่ยนแปลงไป โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ความรู้จากการทบทวนสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งจากเอกสารและการประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านสุขภาพ มีการทบทวนสถานการณ์และแนวคิดสำคัญ โดยนักวิจัยที่มีศักยภาพในประเด็นต่างๆ รวมทั้งใช้การศึก ษาเชิงปริมาณเพื่อประเมินศักยภาพ ระบบสวัสดิการ และปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อการทำงานของ อสม. ด้วย จากผลการศึกษาพบว่าได้ข้อค้นพบจากการศึกษานี้มี 8 ประการ ได้แก่ (1)จากการที่แนวคิดและตัวแบบของปฏิบัติการเกี่ยวกับอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นผลผลิตจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ (2)อาสาสมัครบาง ส่วนอาจมีปัญหาในการเข้ามาเป็นอาสาสมัครเพราะระบบพวกพ้องหรือต้องการสิทธิประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ (3)อาสาสมัครสาธารณสุขส่วนใหญ่ยังคงมีชีวิตอยู่ และมีผู้หญิงเข้ามาเป็นอาสาสมัครมากขึ้นถึงร้อยละ 70 ในขณะที่มากกว่าร้อยละ 35 ของอาสาสมัครเป็นคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งเป็นอาสาสมัครได้ไม่เกิน 5 ปี (4) อาสาสมัครสาธารณ สุขที่มีอยู่มีความสามารถในการทำงานซึ่งเสร็จสิ้นได้ในระยะเวลาสั้นๆ (5)อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีอยู่ส่วนใหญ่มาจากผู้ที่มีการศึกษาและมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่สูงนัก (6)อ! าสาสมัครสาธารณสุขในชุมชนมีส่วนร่วมในกลไกการประสานงานในระดับที่! สูงกว่าจ ังหวัดค่อนข้างน้อย (8)การเป็นอาสาสมัครในโรงพยาบาลจนถึงการเป็นอาสาสมัครบรรเทาพิบัติภัย รูปธรรมเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า แนวคิดเกี่ยวกับอาสาสมัครในสังคมไทยได้ก้าวหน้าจนเป็นที่ยอมรับกันมากขึ้น สรุปผลการศึกษาได้ว่าการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขในอนาคตมีดังนี้ (1) กระทรวงสาธารณสุขจำเป็นต้องปรับบทบาทจากการเป็นเจ้าของอาสาสมัครสาธารณสุขไปเป็นผู้ส่งเสริมแนวคิดอาสาสมัครเพื่อสุขภาพในลักษณะที่หลากหลายมากขึ้น (2) สนับสนุนให้เกิดอาสาสมัครสาธารณสุขในทุกๆ ด้านของงานสาธารณสุข โดยทุกหน่วยงานของสาธารณสุขควรสร้างเครือข่ายอาสาสมัครของตนเองแทนที่จะหวังพึ่งเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเท่านั้น (3) เปิดพื้นที่ในหน่วยงานสาธารณสุขเพื่อรองรับงานอาสาสมัครให้กว้างขวางที่สุด (4) ส่งเสริมรูปแบบอาสาสมัครในชุมชนให้มีความหลากหลาย เพื่อเสริมส่วนที่เป็นข้อจำกัดซึ่ง อสม. ไม่สามารถทำได้มากนัก (5) ส่งเสริมให้บุคลากรสาธารณสุขทำตัวเป็นแบบอย่างของการเป็นอาสาสมัครด้วยตนเอง (6) พัฒนากลไกการควบคุมดูแลกันเองเพื่อให้เกิดองค์กรอาสาสมัครสาธารณสุขที่ไม่ฝักใฝ่พรรคการเมือง

คลิก ดูรายล! ะเอียดและดาวน์โหลดฉบับเต็ม http://library.hsri.or.th/cgi-bin/websis?from=res1&show=979

หมายเลขบันทึก: 95197เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2007 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ผมทำโครงงานบูรณาการเกี่ยวกับ อสม.

หัวข้อใหญ่ "ตลาดน้ำอัมพวา" หัวข้อย่อย " ศึกษาการทำงานของ อสม.

งานหนักโครงงานบูรณการ

น่าชื่มชมครับ อสม. เป็นพลังขับเคลื่อนระดับชุมชนครับ

๑. ขอทราบจำนวน อสม.ทั้งหมดในประเทศไทย

๒.อสม.ทุกคนได้รับเงินตอบแทนหรือช่วยเหลือเท่ากันทุกคนหรือไม่

๓.จะรับเพิ่มอีกหรือไม่?

ในบทคัดย่อ จากการศึกษาดังกล่าว ข้อ 7 หายไปไหน??

ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมตาม link ด้านล่างบทความครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท