BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ปรัชญามงคลสูตร ๒๔ : การตระเตรียมเข้าสู่ปัจฉิมวัย


ปรัชญามงคลสูตร

คาถาที่ ๗ ว่า

ความเคารพ. ความถ่อมตน. ความสันโดษ. ความกตัญญู. และการฟังธรรมตามกาล. ห้าประการนี้ จัดเป็นมงคลอันสูงสุด...

ดังที่เริ่มต้นไว้ว่า มงคลสูตรนี้ สามารถจัดเป็นธรรมลูกโซ่ คือ หลักธรรมที่ดำเนินการไปต่อเนื่องตามลำดับชั้นวัย ซึ่งผู้เขียนได้เล่ามาตามลำดับ (ผู้สนใจการจัดลำดับ ดู ปรัชญามงคลสูตร ๑ ) ซึ่งเมื่อมาถึงคาถาที่ ๗ ก็จะเข้าสู่ภาคปัจฉิมวัย...

ในคาถาที่ ๖ ผู้เขียนได้ให้ความเห็นว่าเป็นหลักในการดำเนินชีวิตเพื่อเป็น ตัวแทนทางศีลธรรม (ผู้สนใจดู ปรัชญามงคลสูตร ๒๐ : ตัวแทนทางศีลธรรม )... ส่วนในคาถาที่ ๗ นี้ ความเป็นตัวแทนทางศีลธรรมก็จะพัฒนาไปสู่ความละเอียดปราณีตยิ่งขึ้น ซึ่งผู้เขียนตั้งชื่อไว้ว่า การตระเตรียมเข้าสู่ปัจฉิมวัย ... (ถ้าจะกะอายุโดยประมาณ คาถาที่ ๖-๗ นี้ จะควรอย่างยิ่งสำหรับผู้อายุ ๔๐-๕๐) ...

คาถาที่ ๗ นี้ ประกอบด้วยมงคลธรรมห้าประการด้วยกัน กล่าวคือ...

  • ความเป็นผู้เคารพ
  • ความเป็นผู้ถ่อมตน
  • ความเป็นผู้สันโดษ
  • ความเป็นผู้กตัญญู
  • การฟังธรรมตามกาล

เมื่อพิจารณาเพียงผิวเผิน บางท่านอาจมองเห็นว่ามงคลธรรมเหล่านี้ น่าจะเหมาะสมต่อเด็กหรือเยาวชนมากกว่า.... ทำไม ? จึงต้องจัดไว้เป็นมงคลสำหรับผู้จะเข้าสู่ปัจฉิมวัย คือกำลังจะเป็นผู้สูงอายุหรือคนแก่เล่า !

รายละเอียด ผู้เขียนจะนำมาเล่าในตอนต่อไป...

 

หมายเลขบันทึก: 95194เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2007 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • นมัสการหลวงพี่
  • รออ่านต่อครับผม
  • ชอบอันนี้
    • ความเป็นผู้เคารพ
    • ความเป็นผู้ถ่อมตน
    • ความเป็นผู้สันโดษ
    • ความเป็นผู้กตัญญู
    • การฟังธรรมตามกาล
  • ของเด็กๆๆแต่ผู้ใหญ่ชอบ
  • ฮ่าๆๆๆๆ
นมัสการ.. ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องของความเคารพครับ(อาจจะนอกประเด็นที่ท่านอาจารย์ต้องการแสดงธรรม) คือ ผมมีมุมมองในเชิงสังคมศาสตร์ ผมมีความคิดเห็นว่า ในสภาพสังคมไทย ความเคารพ เป็นที่มาของระบบอาวุโสนะครับ และสังคมไทยเราก็ยึดมั่นในความเคารพ ยึดมั่นในระบบอาวุโสอย่างเหนียวแน่นตราบจนปัจจุบัน ระบบอาวุโสมีนัยสองอย่างครับ คือ มีความหมายในเชิงพุทธและความหมายในเชิงพราหมณ์ และในสภาพสังคมไทย ผมมองในเชิงพราหมณ์ครับผมว่า ทั้งความเป็นผู้เคารพ ความเป็นผู้ถ่อมตน ความเป็นผู้สันโดษ ความเป็นผู้กตัญญู ก็มักจะสื่อถึง การจะทำอะไรก็ให้ยึดหลักอาวุโส และหลักธรรมดังกล่าว ถ้ามองกันอย่างง่ายๆ ก็น่าจะเป็นหลักธรรมที่เหมาะสำหรับเด็กใช้ในการคารพผู้ใหญ่ ส่วนผู้สูงวัยก็ต้องหมั่นตรวจตราดูว่า เด็กคนใดบ้าง ที่มาเคารพ เด็กคนใดไม่เคารพ ส่วนความหมายในเชิงพุทธจริงๆ ของความเคารพ ผมคงต้องรอท่านอาจารย์นำมาเล่าในตอนต่อไปครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท