ชื่นชมความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ณ "วัดหน้าพระเมรุ"


"ด้วยบุญญาธิการอันศักสิทธิ์ แห่งหลวงพ่อพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์ไตรโลกนาถประธานในอุโบสถ เป็นวัดเดียวที่ไม่ถูกพม่าทำลายในสมัยกรุงศรีอยุธยา"

พอดี... เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ได้กลับบ้านที่จังหวัดสิงห์บุรี หลังจากที่หมู่นี้ไม่ค่อยได้กลับสักเท่าไหร่... พอถึงบ้านก็หายเหนื่อยทันที เมื่อได้เจอบรรยากาศเดิม ๆ ความทรงจำเดิม ๆ และก็ความรักเดิม ๆ แค่ได้เห้นแค่นี้ก็หายเหนื่อยแล้วหละ...

วันที่ 22 เมษายน 2550 ก้ได้ไปพักผ่อนตามเคย... เที่ยวนี้ขอเลยผ่านไปอยุธยาซะหน่อย เพราะไม่รู้เป็นไง ชอบวัดอยู่วัดหนึ่งที่นั่น... ชื่อ "วัดหน้าพระเมรุ" หรือเป็นเพราะบรรยากาศดี ๆ ภูมิหลังที่น่าเลื่อมกระมัง..จึงทำให้อยากไปอีกหน...

จะเล่าความเป็นมาของวัดนี้ให้ฟัง...

ประวัติศาสตร์ "วัดหน้าพระเมรุ" มีอยู่ว่า...

วัดหน้าพระเมรุ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ พระองค์อินทร์ในสมเด็จพระรามาธิปดีที่ 2 รัชกาลที่ 10 แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. 2046 ประทานนามว่า "วัดพระเมรุราชิการาม" แต่ประชาชนส่วนมากเรียกกันว่า "วัดหน้าพระเมรุ"

วัดหน้าพระเมรุ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งว่า สมเด็จพระมหาจักพรรดิ์ ได้ใช้สถานที่แห่งนี้เจรจาสงบศึก เมื่อปี พ.ศ. 2106 และในอีกตอนหนึ่ง เมื่อคราวสมเด็จพระเจ้าอะลองพญา มาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2303 พม่าได้เอาปืนใหญ่มาตั้งที่วัดเมรุราชิการาม กับวัดหัสดาวาส (วัดช้าง) พระเจ้าอะลองพญาทรงบัญชาการและทรงจุดปืนใหญ่เอง ปืนใหญ่ที่ตั้งอยู่ได้แตกต้ององค์บาดเจ็บสาหัสประชวรหนักในวันนั้น พอรุ่งขึ้นพม่าเลิกทัพกลับไปทางเหนือ แต่ยังไม่พ้นแดนเมืองตาก พระเจ้าอะลองพญาก็สิ้นพระชนม์ระหว่างทาง

ด้วยบุญญาธิการอันศักสิทธิ์ แห่งหลวงพ่อพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์ไตรโลกนาถประธานในอุโบสถ จึงทำให้กรุงศรีอยุธยารอดจากข้าศึกมาตลอด องค์ของพระองค์ท่านยังคงสภาพเดิมอยุ่ทุกส่วน และเป็นวัดเดียวที่ไม่ถูกพม่าทำลายในสมัยกรุงศรีอยุธยา

     

     

     

     

 

คำสำคัญ (Tags): #วัดหน้าพระเมรุ
หมายเลขบันทึก: 92881เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2007 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท