Attention กับ Concentration ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน


... “Attention” หมายถึง "ความใส่ใจ" เป็นคนละความหมายกับคำว่า “Concentration” ที่หมายถึงการเพ่ง การตั้งใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง...

          ในบันทึกที่แล้วตอนที่พูดเรื่องการฟังอย่าง ใส่ใจ นั้น คำว่าใส่ใจหมายถึง “Attention” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีความหมายที่แตกต่างไปจากคำว่า “Concentration” เพราะ Concentration เป็นการเพ่ง เป็นการตั้งใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งในเรื่องนี้กฤษณมูรติเคยพูดไว้ว่า 

 ....เมื่อผู้พูด (หมายถึงตัวกฤษณมูรติ) ใช้คำว่า ความใส่ใจ (attention) คุณ (ผู้ฟัง) ต้องการรู้ว่ามันคืออะไร แล้วผู้พูดก็ต้องอธิบายต่อไป แต่หากจิตใจของคุณตื่นตัว คุณจะรู้ได้ในทันทีว่าความใส่ใจคืออะไร คุณไม่สามารถเก็บเกี่ยวบ่มเพาะ (cultivate) ความใส่ใจได้ แต่คุณสามารถทำเช่นนั้นได้กับการตั้งใจจดจ่อ (concentration) การตั้งใจจดจ่อคือการเพ่งพลังของความคิดไปที่จุดใดจุดหนึ่ง ปิดกั้นสิ่งอื่นๆ ไม่ให้ล่วงล้ำเข้ามา รักษาจุดสนใจจดจ่อไว้ที่จุดเดียว ตามปรกดิแล้วนี่คือสิ่งที่เราเรียกว่าการเพ่งจิต คุณมองเห็นความแตกต่างระหว่างการใส่ใจและการเพ่งจิตไหม...   (จากหนังสือ ความรู้สึกตัวอันไร้ขอบเขต หน้า 83 จัดพิมพ์โดยมูลนิธิอันวีกษณา) 

ท่านมีประสบการณ์เกี่ยวกับคำสองคำนี้อย่างไรบ้าง แชร์มาให้ฟังบ้างนะครับ

คำสำคัญ (Tags): #attention#concentration
หมายเลขบันทึก: 92319เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2007 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

โอ้โฮ!!! แจ่มขึ้นมาด้วยเรื่องภาษาอีกแล้ว... นี่ถ้าอาจารย์ไม่อธิบาย 2 คำนี้มาในครั้งนี้นะคะ แหววก็จะเผลอใช้ 2 คำนี้แทนกันได้อย่างสบายใจ เพราะในช่วงที่ผ่านมา เวลาที่แหววพูดถึง"การฟังอย่างตั้งใจ"ของแหววในความหมายก็คือการฟังอย่างใส่ใจ(ด้วยความที่ยังเขลาอยู่ไม่ละเอียดอ่อนเกี่ยวกับภาษา) แต่พอมี 2 คำให้เลือกใช้เข้าจริงๆพร้อมคำอธิบายนิยามแบบนี้ ตอนนี้แหววคิดว่าในกรณีเมื่อวันก่อนที่แหววยกตัวอย่างกรณีการใช้สุนทรียสนทนานั้นเป็นการฟังแบบใส่ใจ มิใช่การฟังแบบเพ่งหรือตั้งใจ ค่ะ โดยถ้าเป็นความคิดเห็นหรือประสบการณ์อันน้อยนิดส่วนตัว การฟังอย่างใส่ใจเป็นเรื่องของการฟังที่ให้เกียรติ ยอมรับนับถือในความเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่าในตัวเองของผู้พูดทุกคน เป็นการฟังที่ใช้ ความรัก ความเมตตา หรือบางครั้งก็อาจผสมผสานด้วยความกรุณา เอื้ออาทร เป็นพื้นฐานในการเข้าถึงผู้พูด การรู้ในอารมณ์หรือสิ่งที่อยู่เบื้องหลังคำพูด หรือสิ่งที่แสดงออก ก่อน -ระหว่าง -หลัง การพูดซึ่งเป็นภาษากายและภาษาใจ ของเขา (เป็นการฟังด้วยใจ-ถึงใจ)อันเป็นการฟังของกัลยาณมิตร ก่อให้เกิดความไว้วางใจ และศรัทธา เสมือนเป็นการ"รู้เขาจนเหมือนเป็นคนหัวอกอันเดียวกันได้"  พอมาถึงตรงนี้ก็อยากให้อาจารย์ได้ให้ความรู้ ความคิดเห็นเพิ่มเติม เผื่อว่าแหววจะเข้าใจอะไรผิดไปอีก และเพื่อที่แหววจะได้เข้าใจด้านภาษาให้ดีขึ้นค่ะ  โถ!! ที่แล้วมาเลยชักไม่แน่ใจ ว่าเผลอไปใช้คำใหนที่คนอื่นจะตีความผิดไปจากที่ต้องการจะสื่อหรือเปล่าก็ไม่รู้นะคะ  ..ต้องขอบพระคุณอาจารย์ประพนธ์อีกครั้งนะคะที่กรุณาให้ความกระจ่างทางปัญญาขึ้นมาอีก 1 เรื่อง ...

ด้วยจิตสงสัย  เอ!! ถ้าอย่างนั้นแล้ว แหววตีความหมายอีกแง่มุมหนึ่ง ว่า การฟังแบบใส่ใจเป็นการรู้เขารู้เราในปัจจุบันขณะ ส่วนการฟังแบบตั้งใจคือการใช้สมาธิหรือ สมถะ ได้หรือไม่คะ ซึ่งการเพ่งจ้องหรือสมาธิ สามารถสะสมได้ แต่ ปัจจุบันขณะไม่สามารถสะสมบ่มเพาะได้ เพราะเหมือนกับจิตที่เปลี่ยนแปลงเกิดแล้วดับได้ตลอดเวลา (ถึงตอนนี้อาจารย์คิดว่าสอนเด็กคนหนึ่งก็แล้วกันนะคะ) ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

เรียน อ.ประพนธ์ที่เคารพ

จากประสบการณ์การถอดความรู้จากผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่ทำงานเป็นเลิศ พบว่าการ concentration สำคัญมาก เมื่อนำมาใช้ร่วมกับการคิดเป็นภาพ จะทำให้เกิดพลังของการจับความรู้ได้อย่างมาก ยิ่งถ้ามีความรู้และความเข้าใจที่เป็นพื้นฐานในเรื่องที่ฟัง จะยิ่งสนุกในการถอดความรู้ แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ engineer มาเล่าเรื่อง เรื่องที่เล่าเป็น technical มากๆๆๆๆ ทำให้เกือบตกม้าได้ แต่บังเอิญโชคดีที่ผู้เล่าเล่าด้วยภาพ (มี power point) เลยทำให้จับความรู้ได้ แต่ได้เป็นส่วนๆ ไม่ประสานเป็นภาพเดียวกัน วันนั้นเรียนรู้ว่าฐานความรู้เดิมเป็นสิ่งสำคัญมากในการถอดความรู้ค่ะ

"ใส่ใจ" และ "สนใจ" หากผนึกกำลังกัน จะกลายเป็น"ปัญญา"

   จากประสบการณ์ และ ความเห็น ผมว่า Attention เป็นเรื่องเบื้องต้น ที่สร้างได้ไม่ยาก  เช่นในการเรียนการสอน การที่ครูหาเรื่องนำเข้าสู่บทเรียนให้ทุกคนมาสนใจนั้น มีวิธีการมากมาย เช่นใช้สื่อรูปภาพ เสียงเพลง ข่าวสาร เรื่องเล่า ฯลฯ แล้วสรุปให้ไปลงที่สิ่งที่จะเรียน ก็ทำกันอยู่ทั่วไป  แต่นั่นไม่ใช่หลักประกันผลสำเร็จของการเรียนการสอน  เป็นเพียงเสมือนความสำเร็จของการทำให้คนสนใจแค่ เหลียวมาดู เท่านั้น  ส่วนจะให้เขาถึงขั้น เพ่งจิต คิดและทำกิจกรรมแห่งการเรียนรู้ ชนิดกัดไม่ปล่อย ด้วยใจจดจ่อ หรือเกิดConcentration ได้นั้น ทำได้ยากยิ่งขึ้นทุกวัน เพราะเหตุสำคัญเกิดจาก ค่านิยม และสภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป  การจัดสภาพการณ์ หรือกิจกรรมส่งเสริมให้เกิด Concentration ในหมู่นักศึกษารุ่นหลังๆนั้นยากมาก เทียบกันไม่ได้เลยกับรุ่นเก่าๆ .. คนเป็นครูน่าจะยอมรับความจริงข้อนี้ดีครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท