ยางพันธุ์ RRIM 1200


ยางพันธุ์ RRIM 1200 การเดินหน้าหรือถอยหลังของการพัฒนาการยางไทย
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา 21 เม.ย. 50 อยู่บ้านเงียบๆ ก็เลยแก้เซ็งโดยการขับรถไปเที่ยวหมู่บ้านเกษตรกรที่เคยทำงานอยู่ โดยได้เข้าไปกระตุ้นให้มีการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา เพื่อต่อสู้กับการถูกกดขี่ขูดรีดของพ่อค้ายางในท้องถิ่นรวมกับนักการเมืองท้องถิ่นและข้าราชการบางคน ทำให้เกษตรกรที่อยู่หมู่บ้านชายแดนแถบนั้นขายยางแผ่นดิบได้ราคาถูกกว่าราคาที่เป็นจริงประมาณ 2-5 บาท/กก. จนในปัจจุบันมีตลาดประมูลยางของตนเองอยู่ในท้องถิ่น เป็นตลาดประมูลยางที่สามารถตัดพ่อค้าคนกลางออกไปได้เกือบจะสิ้นเชิงเพราะผู้ที่ประมูลยางได้เป็นโรงงานโดยตรง ทำให้เกษตรกรขายยางได้ในราคาที่สูงมากๆ ในบางรอบของการประมูลราคายางที่เกษตรกรขายได้เท่ากับหรือสูงกว่าราคายางที่ตลาดกลางหาดใหญ่ ซึ่งกลุ่มที่ไปกระตุ้นให้เกิดการรวมตัวกันนี้ ตอนนี้ได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน ภายใต้ชื่อ กลุ่มภูฝอยลมวิสาหกิจยางพารา เพื่อสร้างตลาดแบบ"เปเปอร์ รับเบอร์ฯ" ทางรอดผู้ค้ายางแผ่นระดับท้องถิ่น http://www.komchadluek.net/2007/03/10/b001_97353.php?news_id=97353 ซึ่งรายละเอียดจะเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไป และการเข้าไปในหมู่บ้านในครั้งนี้ปรากฏว่า ไม่พบใครอยู่บ้านเลยสักคน จึงขับรถขึ้นภูเขาไปเรื่อยๆ กะว่าเจอใครอยู่ในสวนยางก็จะเข้าไปพูดคุยกันด้วย จนไปถึงแปลงยางแปลงหนึ่ง ซึ่งเป็นแปลงยางที่ปลูกใหม่ส่วนหนึ่ง กับอีกส่วนหนึ่งเป็นแปลงยางที่มีอายุประมาณ 5-6 ปีแล้ว ซึ่งก็ไม่น่าจะแปลกใจอะไรใช่ไหมครับ ส่วนที่ทำให้สะดุดตาก็คือ ในแปลงยางที่ปลูกใหม่อายุสัก 2 ปี ทำไมมีต้นยางต้นเล็กๆ ขึ้นอยู่เต็มไปหมดเมื่อเข้าไปดูจึงรู้ว่า ภายหลังจากที่รัฐได้แจกยางชำถุงในโครงการยาง 1 ล้านไร่มาเมื่อปี 2548 แล้ว เมื่อปีที่ผ่านมา ภายหลังจากมีเมล็ดยางในแปลงยางที่ปลูกก่อนอายุ 6-7 ปีนั้น โดยเป็นยางพันธุ์ RRIM 600 ส่วนหนึ่งได้มีเมล็ดร่วงหล่นลงมา เกษตรกรก็เลยนำเมล็ดส่วนที่เก็บได้มาทำการเพาะลงในระหว่างแถวยางที่ว่างๆ อยู่ของแปลงยางใหม่ จากนั้นเมื่อมีการตัดแต่งกิ่งของยางแปลงใหม่ โดยเป็นยางพันธุ์ RRIM 600 ก็นำตายางของ RRIM 600 ไปติดกับ ต้นตอที่ได้เมล็ดมาจากแปลง RRIM 600 เช่นกัน ปรากฏว่า เกษตรกรก็ได้ยางพันธุ์ใหม่ขึ้นมาพันธุ์หนึ่งซึ่งเป็นพิมพ์นิยม (แงะๆ พันธุ์นิยม)มากในภาคอีสานตอนนี้ และคงจะดังพอๆ กับ จตุคาม-รามเทพ ของเมืองนครฯ บ้านเกิดผมก็เป็นไปได้ ก็เลยทำให้ผมนึกถึงบทความของพี่เฒ่า จากชุมพร http://gotoknow.org/blog/lamae/46546  ที่ได้เขียนขึ้นมาก่อนหน้านี้ และหน่วยราชการของไทยเรา ทั้งสถาบันวิจัยยาง , อสย. , สกย., หรือแม้แต่กรมส่งเสริมการเกษตรของพี่เฒ่าเอง ซึ่งพี่เฒ่าก็เป็นถึงท่านเกษตรอำเภอ กำลังทำอะไรกันอยู่ ถ้าหากว่า หรือสมมุติว่า การระบาดของโรคใดโรคหนึ่งเกิดขึ้นกับยางพันธุ์ RRIM 600 เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะยางเดิมที่ปลูกในภาคอีสานมาตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมาส่วนใหญ่เป็นยางพันธ์ 600 ถึงแม้นจะมี BPM 24 และ 311 บ้าง ก็เป็นส่วนน้อย ซึ่งห้วงเวลาที่ทำให้ยางพันธุ์ 1200 ระบายแพร่หลายอย่างรุนแรงก็ภายหลังจากรัฐบาลมีนโยบายให้ขยายพื้นที่ปลูกยาง1 ล้านไร่ ในภาคอีสานกับภาคเหนือ เพราะว่าบริษัทผู้ประมูลได้คือ ซี.พี. ไม่มีต้นยางอยู่ในมือแม้แต่ต้นเดียว แต่ภายหลังจากประมูลได้ก็ได้มีเจ้าหน้าที่ของ ซี.พี. ไปรวบรวมแปลงต้นตาสำหรับผลิตยางตาเขียวทางภาคใต้ให้ได้ให้มาที่สุด แต่เนื่องจากการร่วงของเมล็ดยางของภาคใต้จะร่วงหลังภาคอีสาน (อีสานร่วง ตั้งแต่ต้นเดือน กรกฎาคม) จึงแนะนำให้เจ้าของแปลงกล้าทางใต้นำเมล็ดยางจากอีสานลงไปเพาะ ซึ่งเมล็ดยางของอีสานอย่างที่กล่าวมาแล้ว 98 % เป็นยาง 600 และในสัญญาที่ กรมวิชาการเกษตร เซ็น กับ บริษัท ซี.พี. ก็ไม่ได้กำหนดเสปกของต้นตอว่าไม่ให้หรือให้เป็นพันธุ์อะไร แต่ไปกำหนดเสป็กของกิ่งตาที่มาต่อว่า ต้องเป็นพันธุ์ยางชั้น 1 พันธุ์ RRIT 251 หรือ RRIM 600 แต่เนื่องจากกิ่งตาของยางพันธุ์ 251 ยังมีน้อยประกอบกับยาง 251 เพิ่งจะปรับชั้นจากชั้น 2 มาเป็นยางชั้น 1 ส่วนมากจึงมีแต่กิ่งตายางพันธุ์ 600 รวมไปถึงความไม่พร้อมของ ซี.พี. เอง ก็เลยมีการรวมหัวกันของหลายฝ่ายทำให้โครงการนี้ มีทั้งกิ่งตายางตาเขียว ยางตาสอย ยางตาสาง ที่กลายพันธุ์เป็น ยางพันธุ์ 1200 เข้ามาระบาดในภาคอีสาน กับภาคเหนือจนถึงทุกวันนี้ และเมื่อเร็วๆ นี้ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมทางวิชาการทางด้านยางพารา จากรายงานของนักวิจัยฝรั่งเศส พบว่าอาการยางหน้าแห้งที่พบมาอยู่ในขณะนี้ส่วนหนึ่งเชื่อได้ว่ามาจากความอ่อนแอของระบบรากยางในการหาอาหาร และความไม่ต้านทานโรค โดยเฉพาะยางพันธุ์ RRIM 600 ที่มีความต้านทานต่อโรคที่เกิดจากเชื้อไฟท๊อปเทอร่าในภาคใต้ แต่ไม่ต้านทานต่อโรคที่เกิดจากเชื้อไฟท๊อปเทอร่า ในภาคอีสาน แล้วถ้าเป็นจริงตามสมมุติฐานที่ว่าล่ะ โอ้อนิจจา! แล้วยางพันธุ์ RRIM 1200 ของข้อยจะเฮ็ดจั๋งใด๋
คำสำคัญ (Tags): #เฮ็ดจั๋งใด๋
หมายเลขบันทึก: 92004เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2007 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 23:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

พบกับมิติใหม่ของยางพารา clone series 2000 http://www.hinlotom.com

ตัดทิ้งแล้วปลูกใหม่อาจารย์ ง่ายที่สุด

ราคายางคงจะดีต่อไปนะครับ100ขึ้นจะใด้สดชื่นหนี้สินหมดซะที

จำหน่ายพันธุ์ยางพารา ชั้น 1 ส่งให้ทั่วประเทศ ราคาเป็นกันเอง

คิดอยากปลูกยางพารา วางแผนล่วงหน้า พันธุ์ยางราคาไม่แพง สั่งจองล่วงหน้าราคาพิเศษ

เช่นพันธ์ RRIM251, RRIM 600, RRIM 470

รับเหมาปลูกกล้ายาง ทั่วประเทศ ราคาไม่แพง อย่างที่คิด

สนใจสอบถามรายละเอียดหรือสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่

ชัย กิ่งพันธุ์

โทร. 083-590-8634, 088-167-4364, 081-5144-378

จำหน่ายพันธ์ยางตาขียวสกุล RRIM 600 และพันธุ์ยางชั้น 1 ราคาต้นละ 9.00 บาท (รับหน้าแปลง )

แปลงยางตั้งอยุ่ที่องค์การสวนยางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นครศรีธรรมราช

สนใจติดต่อ 087-2735961 หรือ อีเมล : [email protected]

จำหน่ายพันธุ์ยางพารา ชั้น 1 จากภาคใต้ ส่งให้ทั่วประเทศ ราคาเป็นกันเอง

คิดอยากปลูกยางพารา วางแผนล่วงหน้า พันธุ์ยางราคาไม่แพง สั่งจองล่วงหน้าราคาพิเศษ

เปิดสั่งจองกล้ายางล่วง หน้าปลูกปี 2554 ราคาพิเศษ

เช่นพันธ์ RRIM251, RRIM 600, RRIM 600 มาเล รับประกันคุณภาพต้นพันธุได้มตราฐานของเกษตร

เพาะพันธุ์ติดตาด้วยเกษตรกรมืออาชีพ

มีตาเขียวประมาณ 100,000-150,000 ต้นพร้อมส่ง สนใจสั่งจองได้ครับ

สนใจสอบถามรายละเอียดหรือสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่

คุณหนุ่ม สำนักงานอยู่ที่ หนองคาย และ นครศรีธรรมราช

โทร. 084-911-6854 Email : [email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท