เรื่องเล่าจากดงหลวง 76 หมากแหน่ง หรือเร่ว ดงหลวง


เร่ว หรือ หมากแหน่ง เป็นพืชท้องถิ่น ขึ้นตามป่าใต้ร่มไม้ใหญ่ ลักษณะเหมือนต้นข่า ขึ้นเป็นกอและแตกขยายออกไปเป็นดงขนาดใหญ่ ออกผลสีส้มหรือสีแดง ที่ผลมีขน ขนาดผลเท่าผลมะปรางย่อมๆ

 

บ้านเมืองกำลังมีการเปลี่ยนแปลง พี่น้องดงหลวงก็ยังใช้ชีวิตดิ้นรนไปตามเงื่อนไขที่แต่ละคนมีอยู่ ไม่น่าเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยครั้งใหญ่ๆนั้นพื้นที่ดงหลวงเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย..

แต่ก่อนนั้นดงหลวงติดต่อกับโลกภายนอกโดยการเดิน หรือขี่ม้าเพิ่งจะมีเส้นทางคมนาคมแบบง่ายๆเมื่อ   พ.ศ. 2520 โดยประมาณ  ดงหลวงเป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างสกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ และอำนาจเจริญ หรือ อุบลราชธานีในสมัยก่อน และที่สำคัญใกล้ชิดติดกับแม่น้ำโขงซึ่งสามารถข้ามไปฝั่งประเทศลาวโดยสะดวก  

ลักษณะป่าของดงหลวง

ลักษณะทำเลแบบนี้จึงเหมาะที่จะเป็นที่ฝังตัวของขบวนการเสรีไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้เฒ่าบ้านมะนาวกล่าวว่า บนภูเขาฝั่งขวามือนั่นมีถ้ำ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักสงฆ์ ถ้ำแห่งนี้เป็นที่หลบภัยของผู้นำเสรีไทยสายอีสานและเป็นที่เก็บอาวุธเพื่อเอามาต่อสู้กับทหารญี่ปุ่น  ต่อมาเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก่อตั้งขึ้นและเผยแพร่ลัทธิสังคมนิยมนั้น ดงหลวงก็คือเป้าหมายและเป็นที่กำหนดเขตปลดปล่อยแห่งแรกๆ บนภูเขามีทั้งโรงเรียนการเมือง โรงพยาบาล ค่ายทหาร การฝึกอาวุธ คลังอาวุธ และที่พักพิงของคณะกรรมการกลางหลายต่อหลายคนพลัดเปลี่ยนกันมาอาศัย

นับตั้งแต่คุณรวม วงศ์พันธ์ ยุคแรกๆของ พคท.ด้วยซ้ำ จนดงหลวงคือเป้าหมายของการตีให้แตกของทหารในยุค หลังเสียงปืนแตก ระหว่าง พ.ศ. 2508-2523 สหายเก่าเล่าว่า ทหาร 15 กองพันบุกขึ้นภูเข้าตี พคท. ทั้งหมด ซึ่งก็คือพี่น้องไทโซ่ ที่เข้าป่าร่วมกับ พคท.แบบยกหมู่บ้าน ยกตำบลขึ้นไปเลยนั้นเป็นที่เล่าขานกันมากว่า ทหารทำอะไรไม่ได้เลย มีแต่ นโยบาย 66/23 และเนื้อในของ พคท.เองที่แตกแยกจึงทำให้ พี่น้องไทโซ่ตัดสินใจลงมาจากป่าแบบยกทัพลงมาหมด ที่น่าคิดคือ ไทโซ่ดงหลวงเป็น พคท. กลุ่มสุดท้ายที่ออกจากป่ามาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยจนถึงปัจจุบัน...  

ไกลลงไปในประวัติศาสตร์อดีต เอกสาร ทางราชการจังหวัด และเอกสารของท่าน สุรจิตต์ จันทรสาขา ทายาทเจ้าเมืองมุกดาหารคนสุดท้าย กล่าวไว้ว่า สมัยรัชการที่ 5 ไทโซ่เคยได้รับบรรดาศักดิ์เป็นท่านขุนคนหนึ่ง เพื่อเป็นตัวแทนปกครองไทโซ่ดงหลวง และส่งส่วยให้กับทางราชการ  ผู้สนใจประวัติศาสตร์ก็จะพบว่า การส่งส่วยจากหัวเมืองนี้เข้าสู่ราชสำนักบางกอกนั้น หนึ่งในเครื่องราชบรรณาคาร หรือ ส่วยก็คือ ผล เร่วเท่านั้นเท่านี้หาบ เร่วนี้ก็คือ หมากแหน่ง

ในประวัติศาสตร์เมืองมุกดาหารนั้นก็มีการพูดถึงว่าเจ้าเมืองต้องเข้าเฝ้ากษัตริย์ไทยทุกปี โดยการอาศัยลงเรือล่องแม่น้ำโขงไปขึ้นที่นครจำปาสัก หรือเสียมราฐ พระตะบอง แล้วจึงขี่ช้างจากทิศตะวันออกเข้ากรุงเทพฯ  สิ่งที่ต้องนำไปด้วยคือ เร่ว หรือ หมากแหน่ง จากพื้นที่ดงหลวงนี่เอง  แม้แต่ก่อนหน้านั้นมีการกล่าวต่อต่อกันมาว่า ผู้บำเพ็ญบุญของดงหลวงที่เป็นที่เคารพบูชากันมาก ขนาดมีวันบุญของท่าน ที่เรียกกันในปัจจุบันว่าท่านปู่ผ้าดำก็เคยได้รับพระราชทานไม้เท้าจากกษัตริย์ไทยมาแล้ว 

เร่ว หรือ หมากแหน่ง คืออะไร เป็นพืชท้องถิ่น ขึ้นตามป่าใต้ร่มไม้ใหญ่  ลักษณะเหมือนต้นข่า ขึ้นเป็นกอและแตกขยายออกไปเป็นดงขนาดใหญ่ ออกผลสีส้มหรือสีแดง ที่ผลมีขน ขนาดผลเท่าผลมะปรางย่อมๆ เร่วเป็นสมุนไพร ที่ส่งออกไปเมืองจีน เพื่อประกอบทำยาแก้โรคเกี่ยวกับท้องแน่น ท้องเฟ้อ เร่ว ยังประกอบเครื่องยาสมุนไพรพื้นบ้านอีกด้วย เร่วมีหลายพันธุ์ ที่นิยมคือเร่วหอม หากเราเอาใบมาขยี้ดมนะครับ ท่านจะบอกว่าหอม

ชาวไทโซ่กล่าวว่าในอดีตพื้นที่ดงหลวงทุกป่ามีต้น เร่ว หรือ หมากแหน่ง เต็มไปหมด เมื่อมีมูลค่าก็เก็บส่งขายที่ตลาดในเมืองมุกดาหารจน เหลือน้อยเต็มทีแล้วเพื่อเป็นการอนุรักษ์เร่วดงหลวง เครือข่ายไทบรูจึงนำเร่วป่ามาขยายกันครับ 

คำสำคัญ (Tags): #เร่ว หมากแหน่ง
หมายเลขบันทึก: 91738เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2007 21:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (31)
  • ขอบคุณท่าน  บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)  ที่เล่าเรื่องที่ดีให้ได้อ่านประดับความรู้  เรื่องต้นไม้  ต้นเร่ว  ใช่ไหมคะ  
  • รุ่นครูอ้อยยังเพิ่งจะได้รู้ตอนอายุจะ 50  แล้วรุ่นลูกจะรู้จักไหมนี่

ขอบคุณมากค่ะ

  • สวัสดีครับครูสิริพร กุ่ยกระโทก
  • ใช่ครับน้อยคนที่จะรู้จัก  แถมบางคนอาจจะไม่เคยได้ยินด้วยซ้ำไป
  • บันทึกนี้อาจช่วยย้อนประวัติศาสตร์กันบ้างครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะคุณ P บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

ดิฉันก็ไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับต้นสมุนไพรชนิดนี้เหมือนกันค่ะ แต่ยอมรับว่าตัวเองมีความรู้เกี่ยวกับไม้ดอก ไม้ผล หรือไม้อื่นๆ น้อยมากๆ

ได้อ่านเรื่องที่เขียนเป็นประวัติศาสตร์ย้อนไปแล้วรู้สึกดี แต่รู้สึกแย่ที่ได้ยินว่าอะไรๆ ก็จะสูญพันธ์ ดีใจที่จะมีการรักษาไว้ เอาใจช่วยพี่น้องชาวดงหลวงนะคะ

ขอบคุณที่เล่าประสบการณ์ให้ฟังค่ะ

  • สวัสดีครับอาจารย์ ดร. กมลวัลย์ ลือประเสริฐ
  • งานอนุรักษ์แบบนี้ ผมเห็นแต่เครือข่ายชาวบ้านเท่านั้นที่พูดและทำกันอย่างจริงจัง หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ท่านมีงานมากจนล้นมือนะครับ จึงไม่ได้ทำเรื่องเหล่านี้
  • เครือข่ายไทบรูทำนี้ก็เพิ่งเริ่มต้น ยังไม่กว้างขวางเท่าที่ควร
  • ผมคิดเอาแบบ ซื่อๆ ตรงๆ ว่า องค์กรพัฒนาเอกชนที่สนใจทำงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติหลายองค์กร คนกลุ่มนี้ทำจริง  รัฐไม่ควรรังเกียจและน่าที่จะสนับสนุนเขาให้งบประมาณเขามาทำการรณรงค์ทำเรื่องเหล่านี้กับชาวบ้าน เมื่อหน่วยงานรัฐไม่สามารถทำได้เอง
  • ควรจะทำการสำรวจลักษณะการใช้ทรัพยากรจากป่าทุกเรื่อง ว่าอะไรที่ใช้เกินความสมดุลบ้าง แล้วจัดทำแผนงานร่วมกับชาวบ้านที่จะผลิตขึ้นมาใหม่เพื่อมิให้นั่งดูเขาสูญพันธุ์ไป ใช้งบประมาณเศษเสี้ยวของการก่อสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ  กรุงเทพฯอยู่ไม่ได้หรอก หากชนบทและสิ่งแวดล้อมรอบตัวพังทะลายไปหมด
  • เนื่องจากงานที่ผมทำครอบคลุมงานกว้างและจำนวนคนทำมีน้อยเกินไป กะว่าทำ stage 2 ต้องปรับโครงสร้างคนและทิศทางการทำงานมากเพื่อให้สอดคล้องกับภูมินิเวศน์เกษตรและวัฒนธรรมครับ
  • ขอบคุณครับอาจารย์

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

  • ดูจากภาพเห็นว่าดงหลวงยังเป็นพื้นที่ ที่อุดมสมบูรณ์อยู่เลยค่ะ
  • เพราะมีทั้งพืชที่หายาก และสมุนไพรที่ขึ้นตามธรรมชาติ
  • ผลของ เร่ว หรือ หมากแหน่ง ทานได้ไหม (ไม่รู้จริง ๆ ค่ะ) พึ่งเคยได้ยินชื่อนี่แหละค่ะ
  • ป่าต้องมีสัตว์ อยากให้เป็นป่าอนุรักษ์ที่สมดุลอย่างชัดเจนค่ะ
  • เคยอ่านแต่ในประวัติศาสตร์
  • เคยเห็นแต่ในพิพิภัณฑ์
  • ไม่น่าเชื่อว่ามันยังคงมีอยู่จริง
  • สัณนิฐานเองนะครับว่ามันคงมีคุณสมบัติทางยาดีมาก ถึงขนาดเอามาเป็นเครื่องส่งส่วยได้
  • นักสมุนไพรศึกษาไม่ควรพลาดที่จะศึกษา ผลแหน่งนี้
  • สวัสดีครับน้องราณี
  • พื้นที่โดยรวมอยู่ในสภาพที่พึงพอใจอยู่ครับ
  • ใช่ครับมีพืชสมุนไพรอยู่มากพอสมควร ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตไทโซ่ ที่พึ่งสมุนไพรมาก แม้ในปัจจุบัน เรียกได้ว่าเกือบทุกครัวเรือนยังใช้สมุนไพร
  • สำหรับผลเร่ว เอามาทานไม่ได้ครับ ใช้ทำยาสมุนไพรอย่างเดียวครับ ใบเร่วหอมก้เข้าเครื่องสมุนไพรพื้นบ้านที่เอามาผสมกับสมุนไพรตัวอื่นๆต้มกินน้ำครับ หอมครับ
  • ป่าไม้มีสัตว์ครับ แต่เนื่องจากชาวบ้านจะใช้เป็นอาหารแล้วยังเอามาขายอีกด้วย(ซึ่งผิดกฏหมาย)  แต่เป็นรายได้ที่เขาหาได้เองด้วยการพึ่งตนเองไม่ต้องไปเอ่ยปากของานจากใคร  สิ่งเหล่านี้คือประเด็นของปัญหาที่ต้องหาทางแก้ไขต่อไป  ไม่ง่ายเลยที่เราจะไปบอกว่า หยุดเถอะ อย่าไปหาสัตว์ป่ามาขายเลย เดี๋ยวหมดป่า อยากให้ป่ามีความอุดม...เป็นเจตนาดีแต่ชาวบ้านเขาก็ฟังเราอยู่ครับแต่คงไปห้ามให้หยุดทันทีไม่ได้ 
  • แล้วรายได้เขาล่ะ จะเอาอะไรมาทดแทน เมื่อชีวิต ตลอดมาเขาอยู่กับป่า วันดีคืนดีใครก็ไม่รู้มาบอกให้เขาหยุด  แล้วก็จากไป
  • ปัญหานี้ไม่ใช่เฉพาะดงหลวงหรอกครับ ทุกที่ที่มีสภาพใกล้เคียงกันก็พบปัญหาทำนองเดียวกัน
  • เราต้องใช้เวลามากและค่อยๆทำไป  แต่เงื่อนไขโครงการมักจะต้องจบลงแค่นั้นแค่นี้ปี มันจึงไม่ต่อเนื่องและไม่ค่อยสอดคล้องกับลักศณะปัญหาและทางออกที่ต้องเป็นแบบ ค่อยเป็นค่อยไป
  • นี่คือภาระหนักของเรา  จะทำอย่างไรจึงจะมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนคนให้ได้ในระยะเวลาอันสั้น??????  ใครมียาวิเศษบอกด้วยยยยย ครับบบบบ
  • สวัสดีครับคุณออต
  • จริงครับหลายคนไม่เคยทราบ ไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยินด้วยซ้ำไป หากไม่สนใจประวัติศาสตร์บ้างก็จะไม่ทราบเลย ชื่อก็แปลกๆ อ่านก็ยาก  มีด้วยหรือเจ้าพืชอะไรเนี่ยะ
  • เร่ว หรือหมากแหน่งมีมากที่ภูเขาในจังหวัดจันทบุรีครับ
  • กรมส่งเสริมการเกษตรพยายามจะส่งเสริมเป็นพืชเศรษฐกิจอยู่ครับโดยให้ปลูกระหว่างแถวในพื้นที่ปลูกยางพารา ครับ เพราะเป็นพืชที่อาศัยร่มไม้พืชใหญ่ จึงเหมาะที่จะปลูกระหว่างแถวสวนยางพาราครับ แต่ไม่ทราบว่าก้าวหน้าไปถึงไหน เงียบๆครับ
  • ก่อนที่ผมจะไปทำงานที่ไหน นิสัยผมก็คือจะหาเอกสารอ่านเกี่ยวกับพื้นที่นั้นๆก่อน โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ของพื้นที่ เมื่อผมได้รับภาระกิจให้ไปทำงานที่ดงหลวงกับไทโซ่ก็ต้องหาเอกสารเกี่ยวกับไทโซ่มาอ่านครับ ก็พอหาได้ โดยเฉพาะที่มุกดาหารมี "หอแก้ว" ที่ท่านสุรจิตต์ จันทรสาขา ท่านเป็นลูกพี่ลูกน้องกับจอมพลสฤษ ธนรัตน์ และท่านเป็นบุตรอดีตเจ้าเมืองคนสุดท้าย ท่านมีเอกสารประวัติศาสตร์มากมายจึงไปทำ "หอแก้ว" รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับมุกดาหารไว้ที่นั่นครับ
  • หากท่านไปมุกดาหารก็เชิญที่ "หอแก้ว" นะครับ ซึ่งอยู่ในเมือง หางไปอำเภอดอนตาล

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

มารายงานตัวค่ะ..ป่าสวยจัง

ต้นเร่ว..มีสรรพคุณทางยา แล้วผลเค้าอร่อยมั้ยคะ ?

มีเร่วหอมด้วย..ใบขยี้แล้วหอม น่าสนใจจัง ดอกเค้า หอมมั้ยคะ ?...

  • สวัสดีน้องเบิร์ดครับ
  • ผลเขา...ทานไม่ได้ครับ
  • ดอกเขา..อื้อ...ไม่เคยดมครับ ต้องสอบถามชาวบ้านดูก่อนครับ เพราะที่ไปพบเป็นช่วงที่ไม่มีดอกครับ
  • ความจริงมีรูปเก็บไว้แต่ค้นมา 2 วันแล้วไม่รู้ว่าเอาไปซ่อนไว้ที่ไหน ทั้งผลและต้นที่เห็น..จะ.จะครับ เดี๋ยวพบแล้วจะเอกมาอวดครับ
  • สวัสดีดีครับ

สวัสดีค่ะพี่บางทราย  เห็นด้วยที่สุดว่านี่น่าจะเป็นยุทธศาสตร์ที่แก้ปัญหาได้ในระดับพื้นที่

....องค์กรพัฒนาเอกชนที่สนใจทำงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติหลายองค์กร คนกลุ่มนี้ทำจริง  รัฐไม่ควรรังเกียจและน่าที่จะสนับสนุนเขาให้งบประมาณเขามาทำการรณรงค์ทำเรื่องเหล่านี้กับชาวบ้าน เมื่อหน่วยงานรัฐไม่สามารถทำได้เอง

  • ควรจะทำการสำรวจลักษณะการใช้ทรัพยากรจากป่าทุกเรื่อง ว่าอะไรที่ใช้เกินความสมดุลบ้าง แล้วจัดทำแผนงานร่วมกับชาวบ้านที่จะผลิตขึ้นมาใหม่เพื่อมิให้นั่งดูเขาสูญพันธุ์ไป ใช้งบประมาณเศษเสี้ยวของการก่อสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ  กรุงเทพฯอยู่ไม่ได้หรอก หากชนบทและสิ่งแวดล้อมรอบตัวพังทะลายไปหมด
    • สังคมทุกวันนี้ที่อะไรดีๆก็กำลังสูญหายเพราะเราลืม"ราก" ไม่รู้ประวัติศาสตร์ของตนเอง สอนประวัติศาสตร์ในห้องเรียนก็ไกลจากชีวิต ไม่สามารถใช้ประวัติศาสตร์ให้เกิดประโยชน์ได้
    • จะส่งข่าวเรื่องเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายพันธ์ผักหวานป่าค่ะ ได้โทร.คุยกับน้องที่ทำงานสวทช. เขาเคยอยู่ในโครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืน เขาคุยให้ฟังเรื่องการขยายพันธ์ผักหวานป่าว่าเคยทำอยู่ที่หนึ่งใช้วิธีตอนกิ่ง เพราะเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออาจมีผลกับระบบรากเมื่อต้องย้ายต้นกล้า พอดีมันเป็นวันเสาร์ อาทิตย์ น้องเขาไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์รู้เรื่องไม่ละเอียด เขาจะถามรายละเอียดเพิ่มเติมให้ แล้วจะรายงานความคืบหน้าทันทีที่ได้ข้อมูลนะคะ

     

    มีมีเร่วอยู่มุมกระจิ๊ดหนึ่ง ปลูกไปอย่างนั้นเองไม่รู้วิธีใช้ ตอนนี้มันขยายตัวออกไปยังพื้นที่รอบๆ ฝนนี้จะเอาไปลงในร่มไม้ใหญ่  ทราบว่ามีแถวๆจันทบุรีเยอะ   เห็นป่าดงหลวงแล้วน่าหลบ ไปเป็น กขค..อ.ขจิต อิอิ

    • สวัสดีครับพี่บ่าว
    • ขอบคุณมากคับผมที่นำภาพบรรยากาศมาฝาก นับว่าเป็นการบริหารสายตายที่ดีมากทีเดียวครับ
    • อย่างน้อยผมก็ยังมันไปว่าหากพายุวิ่งเข้าป่าดงหลวงของพี่ ความเสียหายก็คงได้รับน้อยกว่าภูเขาหัวโล้นครับ
    • ตอนนี้ที่เราต้องคิดต่อเพิ่มคือ การเปลี่ยนจากป่ามาเป็นสวนครับ คือปกติป่าจะมีความหนาแน่นของพืชพันธุ์มาก แต่พอเป็นสวนก็จะมีรูปแบบที่โดนปรุงแต่งมากขึ้น
    • การเปลี่ยนป่าเป็นสวน มองง่าย จาก ป่าไม้เป็นสวนยาง
    • ขอบคุณมากครับ ได้รู้จักเร่วด้วยครับ
    • โชคดีและจงสู้ต่อไปนะครับ
    • สวัสดีครับคุณนายคุณนายดอกเตอร์
    • โอโฮ..อย่างนี้รักกันตายเลย..เป็นความกรุณาพี่อย่างมากเลยครับ  พี่เองก็มัวยุ่งทั้งเรื่องคนทั้งน้องหมา(กำลังจะ Post ขึ้น)
    • ยอดเยี่ยมเลยเนี่ยะ   "สังคมทุกวันนี้ที่อะไรดีๆก็กำลังสูญหายเพราะเราลืม"ราก" ไม่รู้ประวัติศาสตร์ของตนเอง สอนประวัติศาสตร์ในห้องเรียนก็ไกลจากชีวิต ไม่สามารถใช้ประวัติศาสตร์ให้เกิดประโยชน์ได้" คุณครูทั้งหลายช่วยกันหน่อยครับ
    • พี่ต้องขอขอบคุณมากเรื่องวิธีการขยายผักหวานป่าด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือทางอื่นๆที่มีผู้ศึกษาไว้ นอกจากชาวบ้าน อยากศึกษาไว้หลายๆทางเพื่อช่วยชาวบ้านขยายพันธุ์ออกไปให้มากขึ้น  โดยเฉพาะกลุ่มป่าชุมชนที่มีอยู่รอบ "ภูพาน" ทราบว่ามีถึง 145 ป่าชุมชน  มหาศาลนะครับ หากทำอะไรที่เป็น Mass ออกมาขนาดนั้นมีผลมากพอสมควร 
    • ขอบคุณมากครับ
    • สัวสดีครับครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์
    • เร่วดงหลวง เป็นประวัติศาสตร์ ผมจึงตื่นเต้น (เกินเหตุ) ยุให้เพื่อนที่ทำสวนเอาเร่วไปปลูก เขาก็สนใจ  แต่ในแง่เศรษฐกิจเข้าใจว่าราคายังไม่กระตุ้นความสนใจมากนัก เขาเลยเงียบๆไป  แต่กลุ่มสมุนไพรก็เอาไปขยายพันธุ์กัน แต่ไม่ใช่จำนวนมาก  เอาไปปลูกแค่มีเอาไว้ใช้เท่านั้น  ก็ยังดีครับ

     

    • ท่านครูบาเคยถามผมถึงเมล็ดผักหวานป่า ผมหาให้ได้ เมื่อวันศุกร์ผมประชุมคณะกรรมการป่าชุมชนบ้านพังแดง สอบถามเรื่องนี้ เขาบอกว่ามีครับ มีเมล็ดผักหวานป่าให้ท่านแน่นอนครับ
    • วันที่ 25 นี้ผมจะขึ้นป่าไปดูถึงถิ่นผักหวานป่าต้นพ่อต้นแม่เขา ที่ซ่อนตัว หลุดรอดสายตาจากชาวบ้านที่ขึ้นไปเก็บยอด เก็บดอกเมื่อต้นฤดูที่ผ่านมา  จะไปดูเร่วในป่า และสำรวจป่าด้วยครับ
    • สวัสดีน้องเม้ง
    • พี่ได้ประโยชน์มากจากข้อมูล Climatology mapping
    • เวลาพี่พูดเรื่องป่า เรื่องภูเขา เรื่องต้นไม้ ก็นึกถึงน้องเม้งทันทีครับ
    • ขอบคุณมากครับ

    สวัสดีคะ

    ขอขอบคุณท่านมากคะที่เห็นคุณค่าของดงหลวง เท่าที่ทราบดงหลวงจะมีป่าชุมชน(ดอนปู่ตา)เกือบทุกหมู่บ้าน ไม่ต้องปีนเขาสูงๆก็ได้พบป่าที่สมบูรณ์ เคยไปเดินสำรวจยังมีพืชพันธ์ที่หายากและเป็นป่าที่สมบูรณ์แต่ที่น่าห่วงก็คือตอนนี้เริ่มจะมีการรุกลำพื้นที่ป่าเพิ่มมากขึ้น ส่วนหมากแหน่งเคยเห็นตั้งแต่สมัยเด็กๆ(ด้วยความที่เป็นคนดงหลวงแต่กำเนิด)ชาวบ้านจะเก็บมาตากแห้งแล้วเอาไปขายเพราะจะมากตามหัวไร่ปลายนาสมัยนี้เริ่มหายากขึ้นแตก็ยังพอมี อยากชวนเด็กๆเดินเข้าป่าให้เขาเห็นคุณค่าเขาจะได้รักและหวงแหน อยากให้เด็กๆภูมิใจในรากของตนเอง

    ด้วยความยินดีครับคุณ bab หมากแหน่งพบมากในสมัยก่อน พี่น้องดงหลวงคงเห็นมามากแล้ว แต่ผมเพิ่งมาเห็นครับ หลายปีก่อนชาวบ้านพาเข้าป่าไปสำรวจแหล่งน้ำก็พบต้นหมากแหน่งเป็นดงเลยครับ

    มีหมากแหน่งหอม ที่มีคนมารับซื้อไปประกอบการทำสปาในกรุงเทพฯครับ เราเคยมีการจัดค่ายเยาวชนเดินป่าครับ ดีมาก ผมชอบ แต่เรามีงบประมาณน้อยปีต่ิมาจึงหย่อนยายลงไป ต่อไปจะทำมากขึ้นครับ

    รบกวนท่านอีกนิดคะ เครือข่ายไทยบรูคืออะไรคะ ใครป็นคนจัดตั้งวัตถุประสงค์เพื่ออะไรบ้างคะ แล้วทำไมต้องจัดตั้งเฉพาะไทยบรูมีวัฒนธรรมหลายเผ่าในมุกดาหารที่น่าสนใจ...ทำไมต้องเฉพาะไทยบรู สนใจคะและก็สงสัยด้วย

    คุณ bab ครับ

    • เครือข่ายไทบรูคือ เครือข่ายองค์กรชาวบ้านในอำเภอดงหลวงในพื้นที่ ส.ป.ก. ซึ่งเป็นพื้นที่โครงการที่ผมรับผิดชอบอยู่ องค์กรชาวบ้านนี้มีกระจายอยู่ในตำบลดงหลวง หนองแคน พังแดง และกกตูม
    • วัตถุประสงค์หลักของเครือข่ายองค์กรคือการมุ่งสร้างกิจกรรมเพื่อการพึ่งตนเองตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียง แต่ละองค์กรรวมกันเป็นเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ กิจกรรมต่างๆ แนวความคิดและอื่นๆ แล้วตั้งชื่อว่าไทบรู เพราะ คำว่าบรู คือคำที่ชนชาวโซ่ดงหลวงเรียกตัวเอง หรือ บรูก็คือโซ่ ไทยโซ่นั่นเอง แต่คำว่าไทที่อยู่หน้าไทบรูนั้นย่อมาจากคำว่าผู้ไท เพราะในพื้นที่ดงหลวงไม่ใช่มีบรูหรือโซ่เท่านั้น ยังมีกลุ่มผู้ไทด้วยซึ่งส่วนมากอยู่ที่ตำบลกกตูม บางส่วนอยู่ในตำบลหนองแคนฯ จึงรวมกันใช้ชื่อ ไทบรู คือ ไท=ผู้ไท บรู=โซ่
    • แล้วทำไมต้องจัดตั้งเฉพาะไทยบรูมีวัฒนธรรมหลายเผ่าในมุกดาหารที่น่า สนใจ...ทำไมต้องเฉพาะไทยบรู สนใจคะและก็สงสัยด้วย  มุกดาหารมี 8 เผ่าครับ แต่ที่ใช้ไทบรู เพราะเครือข่ายนี้อยู่เฉพาะ อ.ดงหลวงเท่านั้น ซึ่งมีเฉพาะ ผู้ไท และโซ่ หรือบรู จึงใช้ไทบรูครับ

    ขอบคุณครับที่สนใจ  คุณ bab อยู่ที่ไหนเล่าครับจึงมาสนใจไทบรูครับ  วันนี้ผมเพิ่งปิดงานสัมมนาเครือข่ายไทบรูครั้งที่ 4 ที่อำเภอดงหลวงครับ

    ไม่ทราบว่า หมากแหน่ง คือต้นเดียวกันกับว่านสาวหลงมั้ยคะ เพราะกำลังปลูกหมากแหน่ง เผอิญได้ต้นมาจากพ่อค่ะ (ที่ศรีสะเกษค่ะ) แต่ดูจากข้อมูลของว่านสาวหลงแล้วคล้ายกันมาก ลักษณะต้นก็คล้ายกัน หอมเหมือนกัน แต่ยังไม่เห็นดอกหมากแหน่งค่ะเพราะเพิ่งปลูกค่ะ พ่อบอกว่าหมากแหน่งมี 2 พันธุ์คือ หมากแหน่งเขียว(ใหญ่)และหมากแหน่งน้อยค่ะ เผื่อใครมีข้อมูลมาร่วมกัน

    สวัสดีครับคุณเมตตาครับ

    ถาม:ไม่ทราบว่า หมากแหน่ง คือต้นเดียวกันกับว่านสาวหลงมั้ยคะ

    ตอบ:ใช่ครับ แต่เป็นพันธ์เฉพาะของมัน ผมไม่มีข้อมูลทางวิชาการครับ เอาข้อมูลที่ชาวบ้านบอกมาก็บอกว่า เรียกเร่วเหมือนกัน แต่เร่วหอมเขาก็เรียก "ว่านสาวหลง" น่ะครับ

    หมากแหน่งหอม หรือ ว่านสาวหลง เขาเอาไปทำ สปา ในกรุงเทพฯด้วยครับ ได้ข่าวมาอย่างนั้นนะครับ

    หากมีข้อมูลเพิ่มเติมเอามาแบ่งกันบ้างนะครับ

    ขอบคุณครับ

     

     

    ขอบคุณค่ะ เผอิญไปเกาะเกร็ด เห็นเขาวางขายบอกว่าเป็นว่านสาวหลง ขออนุญาตเขาลองเด็ดใบดม ก็เลยคิดว่าน่าจะตัวเดียวกันอย่างว่าน่ะค่ะ เพราะที่ปลูกพ่อบอกว่าเป็นหมากแหน่งหอม พอดีสอนและสนใจเรื่องสมุนไพร ตอนนี้กำลังจะขยายพันธุ์สำหรับทำสมุนไพรสำหรับอบตัวค่ะ ยังงัยก็จะช่วยอนุรักษ์พันธุ์ไม้และเอาใจช่วยอีกแรงค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

    ด้วยความยินดีครับคุณเมตตา  ผมก็เอามาปลูกที่บ้านขอนแก่น เขาชอบน้ำ และเมื่อเขา้จริญจะมีไหล(รากที่หากินตามใต้ผิวดิน) แทงไปรอบๆแล้วก็เป็นต้นใหม่ขึ้นมา หากทิ้งไว้และมีน้ำตลอดเผลอๆก็เป็นดงว่านสาวหลงไปเลยครับ

    ค่ะ ตอนนี้ที่ขยายพันธุ์ เอาไปปลูกแบบซ่อนไว้ในป่าใกล้ชายน้ำ (ไม่ได้ใช้วิชาการเลยค่ะ) เข้าใจว่าเขาน่าจะชอบมากกว่าปลูกที่บ้าน เวลาจะใช้ก็ค่อยไปเก็บมาใช้ค่ะ อาศัยธรรมชาติค่ะ

    คุณเมตตาครับ  หมอสมุนไพรทุกคนจะกล่าวว่า พืชสมุนไพรจะมีสรรพคุณทางยามากน้อยแค่ไหน ธรรมชาติเลือกสรรค์เขาไว้ สมุนไพรที่เชียงใหม่ กับที่อีสานอาจจะมีสรรพคุณต่างกันแม้จะเป็นชนิดเดียวกัน เพราะสภาพธรรมชาติและดินที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามเราก็ควรจะขยายและทดลองปลูกในทุกที่เพื่อพิสูจน์สรรพคุณของเขานะครับ ยกเว้นบางชนิดที่หมอสมุนไพรยืนยันว่า ต้องเอามาจากสถานที่นั้นเท่านั้น... ผมฟังเขาเล่ากันมานะครับ ผมไม่ใช่หมอสมุนไพร เพียงใฝ่รู้เท่านั้นครับ ขอให้มีความสุขกับการขยายว่านสาวหลงนะครับ

    สวัสดีค่ะ จากการสืบค้นและสอบถาม ทราบมาว่าเร่วหอมกับว่านสาวหลงเป็นคนละตัวกันค่ะ เร่วหอม  ใบจะไม่มีขนอ่อนนุ่มปกคลุมด้านหลังใบค่ะ ส่วนว่านสาวหลงจะมีขนอ่อนนุ่มปกคลุมด้านหลังใบคล้ายกำมะหยี่ และหอมทุกส่วนค่ะ ใบแห้งยิ่งหอมแรงค่ะ

    ขอบคุณครับ

    • เป็นไปได้ครับ อาจจะเป็นตระกูลเดียวกันแต่คนละ spicies เพราะลักษณะต้นโดนรวมเหมือนกัน มีส่วนที่แตกต่างดังกล่าว
    • ผมเอามาปลูกที่บ้านเหมือนกันขยายเต็มใต้ต้นมะม่วงเลนครับ หอมตั้งแต่รากจรดใบครับ 
    • ขอบคุณครับ
    ดร.ธีรกานต์ โพธิ์แก้ว

    สวัสดีค่ะ ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบเรื่องของสมุนไพร มีโอกาสเข้าไปวิจัยแหล่งน้ำแร่ (น้ำทิพย์) ในช่วง ปี 2550 บริเวณวัดถ้ำผาขาว ของชาวผู้ไท บ้านเป้า อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร แล้วไปพบ "เร่วดง" บนเทือกเขาผาน้ำย้อย จึงได้บอกให้ชาวบ้านช่วยกันปลูก และอนุรักษ์ไว้ เพราะเดิมชาวบ้านเคยเก็บส่งขายให้คนจีนไปเป็นจำนวนมาก ดิฉันจึงกลัวว่าจะหมดไป ถ้าพื้นที่ใดยังหลงเหลือ อยากให้ช่วยกันอนุรักษฺ์ไว้มากๆ นะค่ะ และดีใจค่ะที่ คุณพี่บางทราย ก็เล็งเห็นความสำคัญเรื่องเร่วเช่นกัน สมุนไพรท้องถิ่นอีสานที่มีตำนานมายาวนาน

    สวัสดีครับ ดร.ธีรกานต์ เร่วหอมนั้นชาวบ้านบอกว่ามีคนมาสั่งซื้อเอาไปทำ สปา หอมๆครับ ผมเพียงสนับสนุนเรื่องสมุนไพร แต่ไม่มีความรู้เรื่องนี้ อยากเรียนรู็แต่ยังไม่สามารถจัดการตัวเองได้ครับ ผมให้ความสำคัญมากกับเรื่องสมุนไพร เพราะเป็นภูมิปัญญาของไทยและคนรุ่นเก่า แม้ว่าจะมีจุดอ่อน แต่เราน่าจะใช้ความรู้สมัยใหม่กับความรู้เดิม อาจเรียกว่ายกระดับภูมิความรู้โบราณก็ได้ครับ ยินดีที่ได้รู้จักครับอนาคตผมขอเรียนรู้จาก ดร.บ้างนะครับ

    หมากแหน่งเป็นยาชนิดครับ อันผมกำลังต้องการหาอยู่ครับพื้นที่ใดมีก็เมมลมาได้ครับต้องการเยอะครับ เพราะที่อุบลราชธานีนำมาใช้กับเตาอบสมุนไพรเพื่อบำบัดโรคหลายโรคและก็กำลังทำการวิจัยเพื่อนำผลมาวิเคราะห์เกี่ยวกับการรักษาบางโรคครับ หมากแหน่งนี้เรียกอีกอย่างว่าสาวหลงครับและก็มีสรรพคุณมากมายที่นำมาใช้ในการรักษาโรคต่างครับทั้งใช้ต้มเืพื่อดื่มกินครับ อีกทั้งตอนนี้ที่จังหวัดอุบลราชธานีก็มีเตาอบสุมนไพรที่วัดในตัวจังหวัดด้วยครับ ที่นี่ http://ubonguide.org/candle50papak.html

    ที่บอกว่าต้องการเยอะเพื่อจะไปศึกษาข้อมูลด้วย ตอนนี้กำลังจะทำบล๊อคเกี่ยวกับสมุนไพรครับเพราะปัจจุบัน ยาสมุนไพรมีประโยชน์มากครับ เอาไว้โอกาสหน้าจะนำข้อมูลมาฝากใหม่ครับ หนุ่มเมืองดอกบัวครับ

    www.morkeaw.com www.morkeaw.net > แพทย์แผนวิถีพุทธครับ ลองเข้าไปดูนะครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท