การเตรียมบุคลากรสำหรับตำแหน่งบริหาร เรื่องที่ดิฉันยังไม่พัฒนา


การเตรียมบุคลากรสำหรับตำแหน่งบริหาร

  8-4-50 

 วันอาทิตย์นี้ดิฉันมีเวลามาอ่านผลการประเมินตนเองที่

ดร.สิริพรได้ประเมินไว้ในการรายงานสรุปผลการจัดระดับความสำคัญของโอกาสในการปรับปรุงองค์กรเรื่อง      การเตรียมบุคลากรสำหรับตำแหน่งบริหาร     โดยที่เกณฑ์ของการเลือกสิ่งที่จะมาพัฒนาหรือOFIว่า

 จะต้องมีความสำคัญต่อวิสัยทัศน์ 

  เร่งด่วน

  เป็นไปได้

  ตอบสนองต่อความต้องการ

การเตรียมบุคลากรสำหรับตำแหน่งบริหาร

ซึ่งเป็น OFI อยู่ในหมวดที่5 ของPMQA ว่าด้วยการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล 

  ดิฉันยอมรับว่าในการพัฒนาในระยะแรกๆ ทางสถาบันไม่มีความรู้เรื่องนี้         เมื่อเราทำงานมานานก็จะเริ่มเห็นว่าการเตรียมคนสำหรับตำแหน่งบริหารจริงๆยังขาดการทำอย่างเป็นระบบ          การเตรียมคนเป็นหัวหน้าตึกและสมรรถนะที่จำเป็น         และการสอบสมรรถนะก่อนเข้าสู่ตำแหน่งไม่มีการทำไว้เป็นหลักฐานชัดเจน           ตำแหน่งผู้อำนวยการ รองและผู้ช่วยผู้อำนวยการ หัวหน้างานต่างๆพร้อมกับการประเมินและพัฒนายังไม่มีการทำทั้งระบบ

  ปีนี้กรมมีการตกลงที่จะทำเรื่องการวัดผลการทำงานPerformance Management      ดิฉันดีใจที่กรมดำเนินการเรื่องนี้       แต่ดิฉันยังหวั่นใจในการใช้งานจริงๆค่ะ        

   ถ้าหมุนเวลากลับไปได้ดิฉันอยากจะตกลงกับผู้บริหารทุกระดับถึงการใช้ตัววัด competency ที่ดิฉันอยากได้คือ    

1    การสื่อสารวิสัยทัศน์ และเป้าหมายทั้งเป้าหมายใหญ่และเป้าหมายเล็ก 

 2    การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ 

 3    การใช้Empowerment  Knowledge  Management       เป็นเครื่องมือการทำงาน

 4    การควบคุมและประเมินผลการทำงาน 

 5    การนำผลการงานไปกำหนดนโยบายและมาตรฐาน     

ก่อนการทำงานควรมีข้อตกลงที่ชัดเจนถึงวิธีที่จะทำงานร่วมกัน         เวลาสร้างทีมแล้วบางทีมไม่สามารถทำงานด้วยกันได้ทำให้เสียเวลาและเสียความรู้สึก      เกิดบรรยากาศองค์กรที่ไม่ดี       

 ที่สำคัญผู้บริหารต้องนิ่งเป็นค่ะ       อย่าเป็นผู้ทำให้เกิดปัญหาซะเองค่ะ  

 เคยอ่านตำราTQMว่าปัญหาทั้งหลายเกิดจากผู้บริหารซะมากกว่าค่ะ        น่าจะเป็นความจริงนะคะ     ลองไปอ่านหน้าที่ของคุณเอื้อที่อาจารย์วิจารณ์เขียนไว้ก็ได้ค่ะ       

 ดิฉันบันทึกเพื่อให้เป็นข้อเตือนใจเพื่อจะส่งงานต่อ

 เป็นประสบการณ์ทางลบที่จะถ่ายทอดให้น้องๆ       และเป็นเครื่องมือให้ผู้บริหารทราบว่าดิฉันอยากได้อะไรค่ะ 

  ถึงจะช้าหน่อยแต่ก็ดีกว่าไม่มีนะคะ    (ทั้งคนที่จะเป็น ผอ. และหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลและรองๆทั้งหลาย)  

คำสำคัญ (Tags): #hrd#ผู้บริหาร teamwork
หมายเลขบันทึก: 89157เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2007 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
 First Piority ขอให้ได้ใจก่อนเป็นอันดับแรก  แล้วก็จะได้งาน
ขอบคุณที่มาเติมให้เต็มเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคนที่จะเป็นผู้บริหารเรียนรู้จากพี่ๆที่ทำถูกบ้างผิดบ้างเพราะส่วนใหญ่มักจะดูตัวเองไม่ออกจริงๆค่ะ
เห็นด้วยค่ะ อยากให้ พิจารณา สนับสนุน หัวหน้าระดับต้น หัวหน้าระดับกลาง ทุกสายอาชีพ เพราะ เป็น ส่วนใหญ่ที่ผลักดันงานทุกจุดในสถาบัน และยังมีอายุไม่สูงวัยมากปรับเปลี่ยนได้ง่าย การเรียน บริหารเป็นสิ่งจำเป็นที่เติมให้ผู้ที่ต้องทำงานร่วมกับคนอื่นๆ ได้เห็นว่าทุกคนมีส่วนสำคัญ ให้ยอมรับฟังความคิดเห็น และเรียนรู้เข้าใจมนุษย์มากขึ้น รวมทั้งการวางตัว และบุคลิกภาพ น้องสาว จบ สายงานวิทยาศาสตร์ อายุ 48 ปี อยู่หน่วยงานสวทช ทำงานเป็นระดับผู้จัดการยังมีการส่งไปอบรมต่างประเทศ ในประเทศ ด้านบริหาร และด้านบุคลิกภาพ ที่สถาบันที่อบรม ผู้เข้าประกวดนางงาม ( จอห์น โรเบิรต์ พาวเวอร์) เพื่อ ปรับให้เป็น Professional มากขึ้น เพราะ เป็นภาพลักษณ์ ขององค์กร ปกติ น้องสาว จะ ไม่ค่อยแต่งหน้า แต่แต่งตัวดูดี มีบุคลิกดี หลังการอมรมไปหาซื้อ ที่ปัดแก้มมาเพื่อปรับเปลี่ยนให้ดูดีขึ้นตามที่อุตส่าห์ ส่งไปอบรม การอบรมที่สำคัญเช่น เทคนิคการนำประชุม ก็จะช่วยให้ประสบการณ์ ทีดี ทำให้การประชุม ได้ข้อสรุปและเกิดความคืบหน้าของงาน เคยฟังวิทยุ FM 96.5 วันพุธ ดร. จิระ หงส์ลดารมย์ เจ้าพ่อ เกี่ยวกับ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เล่าให้ฟังว่า ขนาด อบต. ยังมีงบประมาณให้เรียนต่อ ระดับ ปริญญาตรี เพื่อสอดคล้องกับนโยบายใหม่ แนวทาง ของ กพ. ที่เน้น เรื่อง การพัฒนาทุนมนุษย์
ลืมบอกไป ว่า รายการเวที ความคิด มีตอนเย็น ประมาณ 19 -20.30 น. ฟังใน รถขณะกลับบ้าน เป็นการเรียนรู้ที่ไม่ต้องลงทะเบียนเรียนและได้ประโยชน์นำมาใช้ในการทำงานจริงได้ สามารถดูย้อนหลังที่ WWW.MCOT.NET
ขอบคุณที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ   การพัฒนาถ้าไม่กำหนดเป้าหมายก่อนว่าจะมาทำอะไร  จะทำให้การส่งคนไปเรียนได้ประโยชน์น้อย    สุดท้ายคนทำไม่ได้เรียน     คนเรียนแล้วไม่กลับมาทำ    ซึ่งสถาบันกำลังแก้เรื่องนี้อยู่ค่ะ     บางคนเรียนแล้วกลับมาขอย้ายหน่วยงานทำให้ดิฉันต้องมาดูเรื่องนี้มากขึ้นว่าเราส่งผิดคนจากการมองการส่งคนอบรมเป็นโควต้า      ลืมนึกถึงว่าใครจะมาทำงานก่อนส่งคนไปอบรมค่ะ
งบพัฒนา บุคลากร เช่นส่ง ไป เรียนต่อ โท เอก น่าจะเป็นงบประมาณของสถาบัน ที่ ตั้งไว้เป็นประจำทุกปี แทน การจัดอบรม แบบ 100% ที่เป็นเบี้ยหัวแตก อบรมซ้ำเรื่องเดิมคนเดิม ได้วัดผลว่าเอาไปใช้งานจริงๆได้กี่คน ถ้าเงินสนุบสนุน มีไม่พอก็ต้องมาแย่งกัน ทำให้ไม่สามารถเห็นผลได้จริง เป็นการลงทุนที่หวังผลยาก หรืออาจทำให้เกิดปัญหาอันใหม่ที่ต้องมาแก้กันอีก เคยได้ยิน บางหน่วยงานเช่น คณแพทย์รามาธิบดี กรมวิทย์ มีแผน ชัดเจนและส่งคนเรียน ตามนั้น จริง เห็นเด็ก รุ่นที่รู้จักตั้งแต่จบ แค่ ป ตรี เดี๋ยวนี้ จบ เอก แล้ว มา สร้างงาน ให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ ขององค์กร ได้ในปัจจุบัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท