คำหลักของชุมชน (Community Keyword) สำคัญอย่างไร


ช่วยในการสืบค้น (Search)และช่วยในการสร้างแผนที่ความรู้ (Knowledge Mapping) ในอนาคต

ความสำคัญของคำหลักของชุมชน (Community Keyword)
     ความสำคัญของคำหลักของชุมชน (Community Keyword) จะมีอยู่มาก ผมสรุปได้เป็น 2 ส่วน ที่ผมใช้อยู่เอง ซึ่งอาจจะมีอีก แต่ผมยังเข้าไม่ถึงในประโยชน์ส่วนนั้น

          ความสำคัญส่วนที่ 1 คือ ช่วยในการสืบค้น (Search) ในอนาคตหลังจากที่บันทึกได้ถูกตีพิมพ์ออกไปมาก ๆ แล้ว ทั้งตัวเจ้าของ Blog เอง และผู้ที่เข้ามาใช้ ส่วนวิธีการใช้จะได้กล่าวถึงในลำดับถัดไป เพราะจะค้นหาลำบากมาก หากไม่ใช้วิธีการค้นหาโดยใช้คำหลัก (Keyword) เป็นตัวช่วย

          ความสำคัญส่วนที่ 2 คือ ช่วยในการสร้างแผนที่ความรู้ (Knowledge Mapping) ในอนาคต เพื่อการนำไปสู่การสร้างเป็นแก่นความรู้ (Core Competence) สำหรับรายละเอียดหาอ่านได้ในหนังสือที่เกี่ยวกับการจัดการความรู้ อันนี้ที่ สคส. ครับ แน่นอนที่สุด ส่วนนี้ผมได้รับคำแนะนำจาก อ.ดร.จันทรวรรณฯ จึงได้ลงมือศึกษาเพิ่มเติมดู และพบว่า ทั้งคำหลักของชุมชน (Community Keyword) และ คำหลักของ Blog (Blog Keyword) มีความจำเป็นมาก

          จากความสำคัญที่กล่าวข้างต้นแล้ว แต่ด้วยการกำหนดคำหลัก (Keyword) เป็นอิสระสำหรับเจ้าของ Blog และผู้บริหารชุมชน Blog ส่วนนี้จึงยังเป็นเรื่องยากเพราะบางครั้งคำหลัก (Keyword) ที่เราว่าใช่ พอเข้าไปดูที่บันทึกแล้ว กลับไม่ใช่สิ่งที่เรากำลังพยายามสืบค้น (Search) อยู่ก็ได้ สำหรับการกำหนดคำหลัก (Keyword) ของผมแล้ว ในส่วนคำหลักของ Blog (Blog Keyword) ซึ่งเราใช้ใส่ในบันทึกได้คนเดียว ค่อนข้างจะเป็น Specific แต่ถ้าเป็นคำหลักของชุมชน (Community Keyword) เราจะใช้ร่วมกันหลาย Blog ก็จะเป็น General หน่อย เน้นที่การทำแผนที่ความรู้ (Knowledge Mapping) ในอนาคต อันนี้ผมเอามาลงบันทึกไว้ที่นี่ในตอนท้ายด้วย ขณะนี้มีจำนวน 171 คำหลัก บางคำก็ยังไม่ถูกใช้เลย เขียนมาถึงตอนนี้ก็อยากแนะนำให้ท่านที่เขียนบันทึกลงใน Blog ได้ใส่คำหลัก (Keyword) ให้ครบทั้งในส่วนคำหลักของ Blog (Blog Keyword) และที่เป็นคำหลักของชุมชน (Community Keyword)

วิธีการกำหนดและใช้คำหลักของชุมชน (Community Keyword)
      ก่อนอื่นหากท่านจะทำความเข้าใจเรื่องชุมชนบล็อก (Blog Community) แนะนำให้ท่านได้ไปอ่านบทความที่ อ.ดร.จันทวรรณ น้อยวัน และ อ.ดร.ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตีพิมพ์ลงหนังสือนานาเรื่องราวการจัดการความรู้ และบางส่วนก็ได้ตีพิมพ์ไว้ที่บันทึก ชุมชนบล็อก = คลังความรู้เฉพาะด้าน ซึ่งรวบรวมจากบล็อกที่คัดสรร ก่อนกรณีที่เพิ่งเข้ามาใช้ GotoKnow.org หากเข้าใจอยู่ ก็จะมาต่อด้วย คำหลักของชุมชน (Community Keyword) กันเลย ว่าจะกำหนดและใช้กันอย่างไร

     คำหลักของชุมชน (Community Keyword) จะไม่ปรากฏให้เห็นที่หน้าหลักของชุมชน Blog แต่จะปรากฎให้เห็นที่หน้าหลักของ Blog และที่ตอนท้ายของบันทึก หากท่านได้ใส่คำหลัก (Keywords) ไว้ คำหลักของชุมชน (Community Keyword) นั้นท่านสามารถเลือกได้สูงสุด 3 คำ ต่อ 1 บันทึก แต่การกำหนดคำหนัก (Keyword) จะมีกี่คำก็ได้ในแต่ละ Blog แต่ละชุมชน blog และสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยเจ้าของบันทึก ไม่จำกัดจำนวนครั้งของการแก้ไขครับ ส่วนคำหลักของ Blog ก็เช่นเดียวกัน แต่จะไม่ขอพูดถึงในบันทึกนี้ในรายละเอียด กล่าวถึงความแตกต่างในแง่การจัดการสักเล็กน้อย คือ คำหลักของชุมชน (Community Keyword) ผู้บริหารชุมชน Blog ที่ Blog ท่านอยู่ด้วยเป็นคนกำหนดไว้ให้ ส่วนท่านเจ้าของ Blog ก็จะกำหนดได้เพียงแค่คำหลัก (Blog Keyword) ของ Blog เท่านั้น แต่เวลาจะใช้คำหลัก (Community Keyword) ของชุมชนท่านมีสิทธิใช้ได้ และกรณีที่ท่านสังกัดอยู่ในชุมชนหลายชุมชน ท่านก็จะได้คำหลักของชุมชน (Community Keyword) ทุกชุมชนรวมกันครับ ถ้าหากผู้บริหารชุมชน Blog เชิญให้ท่านเจ้าของ Blog เข้าร่วมเป็นผู้บริหารชุมชน Blog ด้วย ท่านก็จะกำหนดคำหลักของชุมชน (Community Keyword) เพิ่มได้เอง ส่วนสิทธิในการจัดการอย่างอื่น ผมไม่สามารถทดลองปฏิบัติได้ จึงยังไม่ทราบในส่วนนั้น (คงต้องรบกวน อ.ดร.จันทวรรณฯ และอ.ดร.ธวัชชัยฯ ช่วยอธิบายเพิ่มเติมในส่วนนี้ครับ)

     คำหลักของชุมชน (Community Keyword) ซึ่งจะปรากฏให้เห็นอยู่ใน 2 ส่วน คือ ท้ายบันทึกแต่คลิ้ก link ไม่ได้ เพียงให้เห็นเท่านั้น ซึ่งหากเราสนใจประเด็นคำหลักของชุมชน (Community Keyword) นี้ต่อ เราก็สามารถนำไปสืบค้นได้จากหน้าหลักของ Blog นั้น ว่าเจ้าของ Blog เขียนบันทึกอะไรไว้อีกบ้างในประเด็นคำหลักของชุมชน (Community Keyword) เดียวกัน ซึ่งผมจะได้กล่าวถึงต่อว่าที่หน้าหลักของ Blog นั้น ๆ เราจะเห็นคำหลักของชุมชน (Community Keyword) อย่างไร

     ที่หน้าหลักของ Blog (คลิ้ก เพื่อดูตัวอย่าง ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน) จะปรากฎคำหลักของชุมชน (Community Keyword) อยู่ 2 ลักษณะที่ด้านล่างสุดซึ่งท่านสามารถคลิ้ก link ได้ เช่นคำว่า วิจัยและพัฒนา (คลิ้ก เพื่อดูตัวอย่าง) ดังนี้

          ลักษณะที่ 1 เป็นเมฆความรู้ แสดงปริมาณของจำนวนบันทึกที่มีด้วยขนาดตัวอักษร ส่วนนี้ อ.ดร.จันทวรรณฯ ได้อธิบายวิธีการที่ได้มาไว้แล้วที่ สูตรการคำนวณขนาดของ "เมฆความรู้" ท่านเข้าไปอ่านได้เลยในรายละเอียด ซึ่งมีทั้งคำหลักของชุมชน (Community Keyword) และ คำหลักของ Blog (Blog Keyword) รวมกันอยู่ที่เดียวกัน แต่แยกเป็น 2 ส่วน ไม่ชัดเจนนัก เราจึงอาจะเห็น คำหลัก (Keyword) ซ้ำกัน ก็ให้เข้าใจว่า ส่วนหนึ่งเป็นคำหลักของชุมชน (Community Keyword) และอีกส่วนหนึ่งเป็นคำหลักของ Blog (Blog Keyword)

          ลักษณะที่ 2 เป็นแถวตอนเรียงหนึ่ง ต่อจากเมฆความรู้ จะบอกปริมาณของจำนวนบันทึกที่มีด้วยตัวเลขวงเล็บ เช่น ความขัดแย้ง Conflict (3) แสดงว่ามีบันทึกที่มีคำหลัก (Keyword) คำว่า "ความขัดแย้ง Conflict" จำนวน 3 บันทึก โดยส่วยบนเป็นคำหลักของ Blog (Blog Keyword) แล้วตามด้วยคำหลักของชุมชน (Community Keyword) ครับ

     เวลาท่านเขียนบันทึกเสร็จแล้ว หรือแก้ไขบันทึกที่เคยตีพิมพ์ไปแล้วนะครับ ท่านจะเห็นกล่องที่ให้ท่านได้เลือกใช้คำหลักของชุมชน (Community Keyword) และคำหลักของ Blog (Blog Keyword) อยู่ด้านล่างเกือบสุด (เหนือเมนูทางเลือก อนุญาตให้แสดงข้อคิดเห็น?: และเมนูตีพิมพ์/เมนูบันทึกเป็นร่าง) หากท่านไม่เห็น นั่นแสดงว่าท่านยังไม่ได้กำหนดคำหลัก และ/หรือ ท่านยังไม่ได้สังกัดในชุมชน ซึ่งขอให้ท่านได้อ่านบันทึกแนะนำจาก อ.ดร.จันทวรรณฯ ได้ที่ สร้างคีย์เวิร์ดและเลือกใช้คีย์เวิร์ด(เพื่อสกัดแก่นความรู้)ได้อย่างไร จะว่าด้วยเรื่องนี้โดยเฉพาะครับ

     หากท่านประสงค์จะทราบรายละเอียดที่เป็นชุมชน Blog อย่างลึกซึ้ง อ่านต่อได้ที่คู่มือการใช้งาน (GotoKnow.org's Tutorial) คำหลัก (Keyword) “ชุมชน” อ.ดร.จันทวรรณฯ อธิบายไว้แล้วในหลายบันทึกครับ

คำหลักของชุมชน (Community Keyword) วิจัยและพัฒนาระบบสาธารณสุข ใน GotoKnow.org
     วันนี้ขอเข้ามาจัดการกับชุมชนวิจัยและพัฒนาระบบสาธารณสุข เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่สมาชิกในชุมชน ซึ่งถือว่าเป็น Social-Network เดียวกัน ที่หากจะใช้คำหลักของชุมชน (Community Keyword) เพื่อสร้างแผนที่ความรู้ (Knowledge Mapping) ในอนาคต จะได้ใช้โดยสะดวกขึ้น ซึ่งขณะนี้มีคำหลักของชุมชน (Community Keyword) ทั้งสิ้น 171 คำ เรียงลำดับตามตัวอักษรอยู่ หากสมาชิกท่านใดต้องการให้เพิ่มเติมอีกก็แจ้งให้ทราบไว้ ผมจะได้จัดการให้ครับ

 5ส (5S)
AAR
Actionable Knowledge ความรู้ปฏิบัติ
AIC
B2B
benchmarking
Best Practice
bloggers
Buffer
catalyst
CUP
deep listening
dialogue
Emic-Etic
Empowerment
EMS การแพทย์ฉุกเฉิน
ESB
Every Human Mapping: EHM
Explit Knowledge
F2F
FIRSTs
HA
HRD
KM
KM Network
Knowledge Assets: KA ขุมความรู้
Knowledge Sharing: KS
Knowledge Specialist ผู้เชี่ยวชาญความรู้
Knowledge Vision: KV วิสัยทัศน์ความรู้
Learning by Doing
Memory
need
OD
PAR
PCU Standard
PLAR
QA
R2R
sodality
Solidality
Tacit Knowledge
trustability
กระแสหลัก
กลยุทธ์
การประเมินความรู้ Knowledge Audit
การมีส่วนร่วม
กำลังคน
เกมส์
เกร็ดจากผู้สูงวัย
เกร็ดน่ารู้
แก่นความรู้ Core Competence
ขนมเปียกปูน
คนพิการ
ความขัดแย้ง Conflict
ความเข้าอกเข้าใจกัน
ความคุ้มค่า
ความเชื่อ

ความประหยัดความเป็นธรรม
ความรู้ทั่วไป
ความไว้วางใจ
ความสวย ความงาม
ความสุข
ค่าตอบแทน
คุณ CEO
คุณกิจ
คุณประสาน Network Manager
คุณภาพ
คุณภาพชีวิต
คุณวิศาสตร์ IT Expert (IT Wizard)
คุณอำนวย
คุณเอื้อ
เครือข่าย
เครือญาติ
จตุปุจฉา
เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข
ชมรม อสม.
ชมรมผู้สูงอายุ
ชมรมสร้างสุขภาพ
ชมรมหมอนวดแผนไทย
ชุมชนแนวปฏิบัติ CoP
ตลาดนัดความรู้ KM Workshop
ถอดบทเรียน
ทบทวนวรรณกรรม
ทีมสุขภาพ
ทุนทางปัญญา Intellectual Capital
เทศบาล
บทประพันธ์ กลอน
บทประพันธ์ ร้อยกรอง
บทประพันธ์ ร้อยแก้ว
บริการสุขภาพ ต่อเนื่อง
บริการสุขภาพ ผสมผสาน-บูรณาการ
บริการสุขภาพ องค์รวม
บัตรทอง 30 บาท
ประสิทธิภาพ
พยาบาล
พยาบาลชุมชน
พลัง
พี่เลี้ยง
เพื่อนช่วยเพื่อน
แพทย์
แพทย์ชนบท
ภาคเอกชน-ประชาชน
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
มสช.
มุ่งผลลัพธ์
มุ่งผลสัมฤทธิ์
ยากลางบ้าน
ยุทธศาสตร์สุขภาพ
เยี่ยมเกลอ ดูแลเกลอ ช่วยเกลอ
รพ.มหาวิทยาลัย
รพช.
รพท.
รพศ.

 
ระบบสุขภาพระดับจังหวัด
เรียกความพร้อมเรียนลัด
เรื่องเล่า Storytelling
แรงจูงในแท้-เทียม
โรคจากอาชีพ
โรคติดต่อ
โรคไม่ติดต่อ
วิจัยในงานประจำ
วิจัยและพัฒนา
วิถีชุมชน
วิทยากร
เวชระเบียน
ศสมช.
ศักดิ์ศรีมนุษย์
เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข
สกว.
สคส.
สถิติและการวิจัย
สปรส.
สปสช.
สปสช.สาขาจังหวัด
สมาคมการพยาบาล
สมาคมหมออนามัย
สมุนไพร
สรส.
สวทช.
สวรส.
สวรส.ภาคใต้ มอ.
สสจ.
สสอ./สสก.
สหวิชาชีพ
สอ./ศสช.
สิ่งแวดล้อม
สิทธข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ OFC
สิทธิ พ.ร.บ.ฯรถฯบุคคลที่ 3
สิทธิโครงการหลักประกันฯ UC-WEL
สิทธิประกันสังคม SSS
สินทรัพย์จับต้องwไม่ได้ Intanggible Assets
สินทรัพย์จับต้องได้ Tanggible Assets
สุขภาพกาย
สุขภาพจิต(ใจ)
สุขภาพชุมชน
สุขภาพวิญญาณ(ปัญญา)
สุขภาพสังคม
หน่วยบริการสุขภาพ
หลักประกันสุขภาพ
องค์กรแบบพหุบท Hypertext
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อบจ.
อบต.
อสม.
อาจารย์พิเศษ
อาชีพ
อุบัติเหตุ
อุปทาน
อุปสงค์

     หากสมาชิกท่านใดต้องการสมัครเข้าชุมชนนี้ ก็ขอให้พิจารณาตามที่ อ.ดร.จันทวรรณฯ อ.ดร.ธวัชชัยฯ ได้แนะนำไว้ที่บันทึก ชุมชนบล็อก = คลังความรู้เฉพาะด้าน ซึ่งรวบรวมจากบล็อกที่คัดสรร ดูนะครับ ส่วนผมจะทราบได้โดยอัตโนมัติทาง E-Mail ที่ ระบบ Blog GotoKnow.org ให้บริการในทันทีครับ

หมายเลขบันทึก: 8871เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2005 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท