คำกล่าวที่ว่า สติปัญญาเกิดจากใจที่เปิดกว้าง ( Open mind) เป็นคำกล่าวที่ไม่เกินจริง เพราะคนเรา หากจะเรียนรู้สิ่งใดแล้ว สิ่งที่ต้องเปิดก่อนคือ “ใจ” หากใจเปิดที่จะรับรู้ กระบวนการเรียนรู้จะเกิดขึ้น เข้าใจผู้อื่น เชื่อมโยงสิ่งต่างๆได้ตามความเป็นจริง ความรู้ที่ได้รับนั้นแปรเปลี่ยนเป็นปัญญาจากการกลั่นกรอง จัดการความรู้ด้วยตนเอง สร้างสรรค์สังคมให้ก้าวไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้และสังคมแห่งความดีงาม
อย่างไรก็ตาม สติปัญญา การมองโลกแบบเชื่อมโยงแบบเป็นองค์รวม( Holistic) ต้องเกิดจากใจที่ไม่มีอคติ (Bias) และความหยิ่งยโส โอหัง อวิชชาที่มืดบอด
อึ่งอ่างที่พองตัวขึ้นเรื่อยๆอีกไม่นานมันก็จะท้องแตกตายเพราะความหยิ่งผยองของมัน น่าสงสารเสียจริง!!!
การเปิดใจให้กว้าง และ มองโลกแบบองค์รวม เป็นประเด็นที่ต่อเนื่องกัน ผู้คนที่มีปัญญาเดินเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาตนเอง เรียนรู้จากภายใน สนใจใคร่รู้ รู้ก็บอกรู้ ไม่รู้ก็บอกไม่รู้และขวนขวาย การฝึกตนเองเพื่อให้เปิดใจ เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนาด้วยให้ก้าวพ้นมายาคติที่ตัวเองสร้างขึ้น
ที่หยิบประเด็นเรื่องนี้มาเขียน เพราะเข้าไปคลุกคลีกับผู้คนมากมาย เจอด้วยตนเองหลากหลายฐานันดร และในกลุ่มของผู้คนที่เรียกตนเองว่า “บัณฑิต” แต่กลับมีอคติต่อการเปิดรับความรู้ใหม่ๆ เพราะอัตตา และความหลงผิด นอกจากไม่รับแล้วยังครอบงำด้วยความคิดจากฐานประสบการณ์ของตนเอง ชี้นำไปในทางที่ตนเองรู้แต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่สนใจไม่รับฟังข้อเท็จจริง ไม่คิดเชื่อมโยงอย่างเป็นเหตุเป็นผล ใครบังอาจมาแนะนำยิ่งพาลกันไปใหญ่
เหตุการณ์ที่ผมพบเจอผู้คนเหล่านี้ ...สะท้อนใจผมเหลือเกินว่า หากผมปิดตนเอง ฉาบตัวเองด้วยอัตตาที่หนาหนัก ก็คงรู้ได้เท่านี้ไม่เกิดปัญญา ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่รวดเร็ว สิ่งรอบตัววิกฤตขึ้นทุกขณะ ปัญหาใหม่ที่พิสดารมากขึ้น ถึงเวลาคับขันแบบนั้นแล้วจะเอาปัญญาที่ไหนมาแก้ไข....หากถือดีว่ามีความรู้ ก็คงเป็นความรู้เหี่ยวๆ ความรู้ที่มากมายแต่ไม่ได้ก่อเกิดปัญญา เข้าทำนองความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด
หากวิเคราะห์ลงลึกไป ก็จะพบว่า ผู้ที่ไม่ยอมเปิดใจ เพราะเขาเกิดมาเป็นแบบนั้นใช่หรือไม่...คำตอบคือ ไม่ใช่ ส่วนใหญ่เป็นเพราะสิ่งแวดล้อมที่ล้วนส่งเสริม ระบบการศึกษาที่สอนให้มีใจคับแคบ ระบบการเรียนรู้ที่สอนให้คนคิดแบบแยกส่วน สังคมที่ต่อสู่ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดและเป็นหนึ่ง ตัดสินชี้ขาดด้วยการแข่งขัน สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ทำให้เราปิดใจ ไม่รับฟังใคร จิตใจคับแคบลงทุกขณะ
ฝึกฝนตัวเอง...ให้เป็นบุคคลที่ถึงพร้อมด้วยปัญญา ด้วยการรู้จักถ่อมตน และขวนขวายเป็นบุคคลที่สนใจ ใคร่รู้ตลอดเวลา ความเข้าใจในความเป็นมนุษย์ที่หลากหลาย ลดอัตตาลง เชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์ คิดอยู่เสมอว่าทุกคนเติบโตจากฐานประสบการณ์ที่ต่างกัน ย่อมคิดหลากหลาย
มองสิ่งหนึ่งให้ครบทุกมิติก่อนตัดสินใจ และที่สำคัญที่สุดความมีคุณธรรม น่าจะเป็นหลักที่จะนำความรู้ เป็น “คุณธรรมนำความรู้”
มีเรื่องเล่าที่ผมเคยฟังอยู่ครั้งหนึ่งและจดจำมาถึงทุกวันนี้
<hr> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">มีตะเกียงดวงหนึ่งวางอยู่กลางห้อง </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">และมีชายสี่คนนั่งอยู่กันคนละมุม ชายคนหนึ่งเห็นแสงไฟเป็นสีเหลือง และได้บอกทุกคนในห้องว่าไฟของตะเกียงเป็นสีเหลือง แต่ชายที่เหลืออีกสามคนก็เถียงว่าไม่ใช่สีเหลืองหรอก เป็นสีแดง สีฟ้า สีน้ำเงิน….แต่ละคนก็ยืนยันในสิ่งที่ตาของตนมองเห็นโดยที่ยังนั่งอยู่ตรงจุดที่ตัวเองนั่งและมองเข้าไปกลางห้อง…จนในที่สุดก็เกิดขัดแย้ง ด้วยความเห็นที่ไม่ลงรอยกัน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หารู้ไม่ว่า ตะเกียงมี๔ ด้าน แต่ละด้านปิดด้วยกระดาษสีที่ต่างกัน ทำให้แต่ละมุมแสงของสีแตกต่างกัน หากเพียงชายทั้งสี่ ยอมที่จะเดินไปมองด้วยกันในแต่ละมุม ก็จะเข้าใจในมุมมองของแต่ละคน เปิดใจสักนิด …ความขัดแย้งก็ไม่เกิด…สิ่งที่เกิดคือ ความสมานฉันท์ และการเรียนรู้ร่วมกันในความต่าง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมจำเรื่องราวนี้ได้เสมอ…และผมเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาก็เพื่อจะเตือนตนของผมเองครับ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p> </p><p></p><p align="right">จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร</p><p align="right">เชียงใหม่</p>
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ใน The ultimate leader
อ่านเรื่องราวชวนคิด พร้อมภาพประกอบที่ให้อารมณ์และความรู้สึกครับ...
ความแตกต่างระหว่างบุคคลย่อมทำให้เกิดการคิดที่แตกต่าง จนขยายเป็นความขัดแย้ง..
แต่ความขัดแย้งไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายเสมอไป การมองความขัดแย้งในเชิงบวกและพยายามบริหารความขัดแย้งในทางสร้างสรรค์...
ผลลัพธ์ดี ๆ ย่อมเกิดขึ้นได้ครับ...
ขอบคุณมากครับ..