7. กลุ่มหมอน้อยรักษาไพร จ. ขอนแก่น


รักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

 

7.  กลุ่มหมอน้อยรักษาไพร

ประวัติการก่อตั้งองค์กร

            ในอดีตชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมดำรงชีวิตอยู่ได้โดยอาศัยทรัพยากรธรรมชาติช่วยเกื้อหนุน ซึ่งทั้งมนุษย์และธรรมชาติต่างก็พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทรัพยากรให้อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น วิถีชีวิตของชุมชนก็เอื้อต่อการรักษาสมดุลของธรรมชาติ คือ มีวิถีชีวิตที่พอเพียง ประกอบอาชีพแบบพออยู่พอกิน รวมถึงมีความเชื่อว่าป่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มีผีสางเทวดาคอยปกป้องคุ้มครองทำให้คนไม่กล้าทำลายป่า เป็นผลให้ชุมชนอยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นได้อย่างสมดุล 

              ปัจจุบันเกิดการพัฒนาในด้านต่างๆทั้งการสื่อสาร ไฟฟ้า ถนน ชุมชนในชนบทเจริญขึ้น ค่านิยมจากภายนอกได้หลั่งไหลเข้ามามากขึ้น ชาวบ้านมุ่งทำการผลิตเพื่อการค้า การส่งออกเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ชุมชนมีวิถีชีวิตเปลี่ยนไปจากที่เคยทำเพื่ออยู่เพื่อกินก็ต้องขยายพื้นที่เพื่อให้ได้ผลผลิตมากพอที่จะขายได้ จากที่เคยอยู่ร่วมกับธรรมชาติแบบพึ่งพาอาศัย ก็หันกลับมาทำลาย กอบโกยผลประโยชน์จากทรัพยากรเพราะต้องการเงิน ลูกหลาน เด็กและเยาวชนถูกปลูกฝังให้เกิดค่านิยมความมั่งคั่ง เกิดความห่างเหินจากทรัพยากรในท้องถิ่นที่เคยให้ชีวิตมาตั้งแต่อดีต ทำให้คุณค่าความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติเริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆ อนาคตหากทุกภาคส่วนในสังคมไม่เห็นคุณค่า ไม่ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาเหล่านี้ ทรัพยากรในท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ ป่า อากาศ คงจะไม่สามารถที่จะให้ชีวิตกับมนุษย์ได้อีกต่อไป

             สถานการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน มีความสำคัญและจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหา กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าภูถ้ำ ภูกระแตได้เห็นความสำคัญที่จะต้องพัฒนาศักยภาพคนรุ่นใหม่ให้เข้ามามีบทบาทในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพราะเยาวชนเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของไทย โครงการฯพยายามที่จะให้เยาวชนได้เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์และมีกิจกรรมร่วมกับผู้ใหญ่ จึงได้จัดตั้งกลุ่มเยาวชนหมอน้อยรักษาไพรปี 2545 โดยเน้นกิจกรรมที่ให้ความสำคัญในด้านการปลูกจิตสำนึก และความตระหนักให้เด็กนักเรียนและเยาวชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

           

วัตถุประสงค์ขององค์กร

  •  เพื่อปลูกจิตสำนึกในกลุ่มเด็กนักเรียนและเยาวชนภายในชุมชน ให้เกิดความตระหนักรักและหวงแหนพร้อมทั้งเห็นถึงคุณค่าความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
  •  เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมแก่เด็กนักเรียนให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเหมาะสมและยั่งยืน
  •  เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนให้เป็นผู้นำ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่เด็กรุ่นน้อง

ผลงานขององค์กรเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม (ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา 2547-2549)

  •  กิจกรรมสำรวจและศึกษาพืชป่า และสมุนไพร เพาะขยายพันธุ์  โดยการนำของหมอยาในท้องถิ่น              ( คณะกรรมการกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าภูถ้ำ ภูกระแต )
  •  กิจกรรมสำรวจศึกษาพืชป่าชุ่มน้ำ เพาะขยายพันธุ์  โดยการนำของผู้ในท้องถิ่น ( คณะกรรมการกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูบึงละหานนา )
  •  สร้างหลักสูตรท้องถิ่นด้านการจัดการทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพท้องถิ่น
  •  รณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมโดยจัดนิทรรศการ วันสิ่งแวดล้อมโลก
  •  ค่ายธรรมชาติศึกษา
  •  กิจกรรมร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าภูถ้ำ ภูกระแตและบึงละหานนา เช่น ปลูกป่า ทำแนวกันไฟ บวชป่า ทำฝายชะลอความชื้น ฝายหินทิ้งในลำน้ำชี

จุดเด่น /จุดแข็ง (ด้านองค์กร)   มีการเปลี่ยนถ่ายจากรุ่นสู่รุ่นโดยระบบพี่สอนน้อง

จุดเด่น /จุดแข็ง  (ด้านกิจกรรม หรือผลงาน)   มีการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่องและเห็นผล เพราะจะเน้นเรื่องการสร้างจิตสำนึก พร้อมทั้งมีกิจกรรมในพื้นที่จริงเห็นผลจริง

บประมาณขององค์กร  มีมาจาก   กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก

ย้อนอ่านรายละเอียดของกลุ่มที่  2  3  4  5  6 และติดตามความเป็นมาเวทีเยาวชนจิตอาสาเพื่อพัฒนาตนเอง  ตอนที่ 1  ตอนที่ 2  ตอนที่ 3

หมายเลขบันทึก: 87607เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2007 18:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ชื่นชอบวิธีการสร้างความยั่งยืนของหมอน้อยรักษาไพรที่มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นครับ
ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องราวเด็กๆ จิตอาสา คะ....และยังมีอีกหลายเรื่องราวที่เด็กร่วมกันทำความดีด้วยจิตใจอาสานะคะ..ติดตามได้เรื่อยๆ คะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท