5. กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรปะการังและสิ่งแวดล้อม ร.ร.ปะทิววิทยา


เยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรปะการังและสิ่งแวดล้อม

  

5. กลุ่มเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรปะการังและสิ่งแวดล้อม 

   ร.ร. ปะทิววิทยา

ประวัติการก่อตั้งองค์กร

       วันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 ได้เกิด พายุไต้ฝุ่นเกย์ ที่จังหวัดชุมพร โดยความเร็วของลมพายุอยู่ที่ 120 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนชาวอำเภอปะทิว  อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างมาก เป็นภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้  ความสูญเสีย ที่เกิดขึ้นกับชีวิตคนและสัตว์ ทรัพย์สิน อาคารบ้านเรือน  ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งทางบกและทางทะเล  โดยเฉพาะ ปะการัง แรงบันดาลใจอันนำไปสู่การอนุรักษ์ …….จุดเริ่มต้นของการก่อตั้ง ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรปะการัง  และสิ่งแวดล้อม อ. ปะทิว

             อ. สุภาพ   ศรีทรัพย์  เป็นอาจารย์สอนวิชาช่างอุตสาหกรรม ในโรงเรียนปะทิววิทยา  แต่ด้วยความเป็นคนอำเภอปะทิวตั้งแต่เกิดและมารับราชการครูที่บ้านเกิดของตนเอง ซึ่งเคยเห็นความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติของอำเภอปะทิวในอดีต และชอบดำน้ำดูปะการังเป็นอย่างมาก จึงต้องการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ อ. ปะทิว ขึ้นให้เร็วที่สุด จึงได้ปรึกษาหารือกับผู้บริหารโรงเรียนในสมัยนั้น คือ ผู้อำนวยการ ธรรมนิจ  ชอุ่มผล  ท่านก็เห็นด้วย จึงได้จัดตั้งชุมนุมสิ่งแวดล้อมขึ้นในโรงเรียนปะทิววิทยา ชื่อ “ชุมนุมอนุรักษ์ทรัพยากรปะการังและสิ่งแวดล้อม”  ขึ้นในปี  พ.ศ.  2538  มีสมาชิกเริ่มแรก จำนวน 6 คน เป็นผู้ชายทั้งหมด ได้ทำกิจกรรมกับเยาวชน คือ   นำนักเรียนลงสำรวจระบบนิเวศของปะการัง เพื่อศึกษาซากปะการังที่ถูกทำลายจากพายุเกย์ บริเวณเกาะไข่     อ่าวบ่อเมา ช่วงวันหยุดเรียน ,ให้ความรู้นักเรียนในเรื่องราวเกี่ยวกับระบบนิเวศแนวปะการัง, จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกและความตระหนักต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียน  เยาวชน ชุมชนและ ร่วมกันสอดส่อง  ดูแล ปกป้อง ผู้บุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

           จากกลุ่มเล็ก ๆ ภายในโรงเรียนก็ได้ขยายกิจกรรมขึ้นเรื่อยๆ โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ  เอกชน และชุมชน  ทำให้สมาชิกเพิ่มมากขึ้นเป็นชุมชนในท้องถิ่น  จึงจัดประชุมหารือร่วมกันว่าสมควรที่จะรวมกลุ่มกันอย่างชัดเจน  เพื่อทำงานได้อย่างสะดวกขึ้น และเมื่อเกิดเป็นกลุ่มสิ่งแวดล้อมแล้ว กิจกรรมที่ต้องดำเนินการก็ต้องขยายวงกว้างขึ้น ไม่ใช่อนุรักษ์ปะการังเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ของท้องถิ่นด้วย เช่น ป่าไม้  ป่าชายเลน  สัตว์ป่า  แม่น้ำ ฯลฯ  จึงได้จัดตั้งเป็น  “ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรปะการังและสิ่งแวดล้อม อ. ปะทิว”

          

ในปลายปี พ.ศ.  2540  อ.สุภาพ ศรีทรัพย์   ไม่ได้ศึกษาทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยตรง จึงต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้านสิ่งแวดล้อมให้มากยิ่งขึ้น จึงสมัครเข้าร่วมโครงการ  “โรงเรียนพิทักษ์สิ่งแวดล้อม”  กับ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย - TEI (องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม)  องค์กรผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม  ทางสถาบันฯ จึงเข้ามาดำเนินโครงการ  โรงเรียนพิทักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนปะทิววิทยา เป็นเวลา 1 ปี เต็ม ในปี พ.ศ. 2540  ทำให้ได้รับประสบการณ์ การทำกิจกรรมให้กับเยาวชนและชุมชนมากขึ้น  สามารถดำเนินกิจกรรมของชมรมฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

           พัฒนาองค์กรขึ้นเป็น ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาจังหวัดชุมพร  และเป็น สมาคมเพื่อนสิ่งแวดล้อมจังหวัดชุมพร

           จากการที่อำเภอปะทิวได้รับความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่นเกย์ เมื่อ ปี 2532  โรงเรียนปะทิววิทยาซึ่งถือเป็นโรงเรียนระดับมัธยมในอำเภอก็ถูกทำลายเช่นเดียวกัน อยู่ในสภาพซากปรักหักพัง ทางราชการช่วยเหลือด้านงบประมาณทำให้สามารถฟื้นฟูสภาพโรงเรียนมาในระดับหนึ่ง แต่สิ่งที่ไม่สามารถฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็วคือทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลายไป     ต่อมาในปี 2538  แรงบันดาลใจดังกล่าว   อาจารย์สุภาพ  ศรีทรัพย์ ได้ลงดำน้ำบริเวณเกาะไข่ อ่าวบ่อเมา และพบว่า  ปะการังที่เคยสวยงามได้ถูกทำลายหมดสิ้น และยังพบซากปะการังถูกคลื่นซัดขึ้นไปกองบริเวณเกาะไข่เป็นจำนวนมาก   จึงเกิดแนวคิดว่าทำอย่างไรให้ปะการังกลับคืนมาอย่างเร็วที่สุด และแนวความคิดนี้จะสำเร็จได้นั้น ต้องได้รับความร่วมมือกับอีกหลาย ๆ ฝ่าย       ทั้งนี้ก็คงต้องสร้างมาตรการร่วมกันระหว่างโรงเรียนและชุมชน เนื่องจากผู้ปกครองนักเรียนก็อยู่ในชุมชนแห่งนี้  จึงทำให้ได้จัดตั้ง  ชุมนุมอนุรักษ์ทรัพยากรปะการังและสิ่งแวดล้อม  ขึ้นในโรงเรียนปะทิววิทยา และได้จัดกิจกรรมของชุมนุมคือ การสำรวจปะการังบริเวณรอบ เกาะไข่อ่าวบ่อเมา หมู่ที่ 6 . ชุมโค อ. ปะทิว จ. ชุมพร และหลังจากนั้นก็ได้ขยายตัวขึ้นโดยร่วมกับชุมชนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐคือ กรมประมง และเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น ช่วยกันหลายฝ่ายเพื่อฟื้นฟูปะการังโดยการจัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกและความตระหนักให้กับชุมชนเพื่อร่วมกันดูแลปกป้อง ไม่ให้ถูกทำลายเพิ่มไปกว่านี้อีก จากชุมนุมเล็ก ๆ ในโรงเรียน จึงขยายสู่ชุมชน จึงกลายเป็นชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรปะการังและสิ่งแวดล้อม อ. ปะทิว

             

และเมื่อกิจกรรมต่าง ๆ ได้ขยายวงกว้างไปสู่  ชุมชนมากขึ้นและต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่าย จึงทำให้เกิดเป็นชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรปะการังและสิ่งแวดล้อมอำเภอปะทิว และการดำเนินงานก็ได้ทำอย่างต่อเนื่องเป็นต้นมา จนถึงปี 44 ทางกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงได้แต่งตั้งให้โรงเรียนปะทิววิทยา เป็นศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาระดับจังหวัด โดยมีผู้อำนวยการเป็นประธานศูนย์โดยตำแหน่ง และ อาจารย์สุภาพ  ศรีทรัพย์  เป็นเลขานุการ ผู้รับผิดชอบงานด้านสิ่งแวดล้อม     ทั้งนี้กิจกรรมจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด จากการทำงานอย่างต่อเนื่องนั้น ทำให้องค์กรผู้เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   ได้เล็งเห็นว่า โรงเรียนปะทิววิทยา อ. ปะทิว จ. ชุมพร มีความมุ่งมั่นอย่างจริงจัง ที่จะดำรงไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม    จึงได้รับการจัดตั้ง    ให้เป็น  ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาจังหวัดชุมพร    และสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งและบริหารจัดการ เป็นระยะเวลา  3  ปี   (ปี44 – 46)  และต่อมา อ.สุภาพ ซึ่งเป็นเลขานุการเห็นว่า ศูนย์ฯ ได้สร้างเครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นจำนวนมากในหลาย ๆ อำเภอ จึงเห็นว่า สมควรที่จะมีองค์กรหลักเพื่อเป็นต้นแบบให้กับเครือข่ายได้ และจะต้องมีศักยภาพมาก จึงเห็นสมควรจดทะเบียนเป็นองค์กรคุ้มครอง ด้านสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นในนามของ สมาคมเพื่อนสิ่งแวดล้อมจังหวัดชุมพร  โดยมีนายรักชาติ วรพันธโยธิน เป็นนายกสมาคม และ  .สุภาพ เป็น เลขานุการ

      

จุดเด่น/ จุดแข็ง (ผลงานขององค์กรที่สำคัญ)

ปี... 2538  จัดตั้งชุมนุมอนุรักษ์ทรัพยากรปะการังและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนปะทิววิทยา   โดยได้รับการยอมรับจากผู้บริหารโรงเรียน และในช่วงวันหยุดหรือเสาร์-อาทิตย์ นำนักเรียนไปเรียนรู้ระบบนิเวศของปะการังที่ถูกทำลายจากพายุไต้ฝุ่นเกย์ บริเวณเกาะไข่ อ่าวบ่อเมา เพื่อได้เห็นสภาพจริง ๆ และนักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ระบบนิเวศทางทะเลอย่างจริงจัง  มีการประสานงานไปยังส่วนราชการกรมประมง เพื่อปรึกษาหารือในการที่จะทำให้ทรัพยากรปะการังและระบบนิเวศอื่น ๆ ได้ฟื้นกลับคืนมาอย่างรวดเร็วได้  มีการขยายผลสู่ชุมชนด้วย จึงได้จัดตั้งเป็น ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรปะการังและสิ่งแวดล้อม อำเภอปะทิว  ขึ้น โดยมีสมาชิกอาวุโสซึ่งเป็นนักธุรกิจในพื้นที่ รับตำแหน่งประธานชมรม ได้แก่  นายรักชาติ  วรพันธโยธิน  พื้นที่เป้าหมายในการดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูปะการังและทรัพยากรทางทะเลได้แก่ เกาะไข่ หมู่ที่ 6  . ชุมโค  . ปะทิว  . ชุมพร

 

ปี พ.. 2540  สมัครเข้าร่วมโครงการ โรงเรียนพิทักษ์สิ่งแวดล้อมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยทางสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เป็นระยะเวลา 1 ปี เต็ม  (สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย สนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดระหว่างทำกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมกับเยาวชนและชุมชน)   โรงเรียนปะทิววิทยาจึงเป็นโรงเรียนพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

 

ปี พ.. 2541 - 2542  ได้รับทุนจากองค์การสหประชาชาติ UNDP หรือกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ในการดำเนินโครงการตามแผนสนับสนุนโครงการขนาดเล็กของชุมชน จึงได้ร่วมกับชุมชนในพื้นที่บ้านบ่อเมา หมู่ที่ 6, บ้านบ่ออิฐ หมู่ที่ 1  และหมู่ที่ 5 บ้านบางจาก ต.ชุมโค  . ปะทิว  . ชุมพร จัดทำโครงการฟื้นฟูทรัพยากรปะการังและสิ่งแวดล้อม เป็นระยะเวลา 1 ปีเต็ม ทำให้ทรัพยากรต่าง ๆ ในพื้นที่แถบชายฝั่งทะเลปะทิว ได้มีการฟื้นตัวขึ้นมาในระดับหนึ่ง

 

ปี พ.. 2543   ได้รับทุนต่อเนื่องโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรปะการังและสิ่งแวดล้อมโดยองค์กรชุมชน จากสหประชาชาติ UNDP (กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก) ต่อจากปี 41  จึงได้ดำเนินการสานต่อจากปีที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง    ทำให้องค์กรของชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรปะการังและสิ่งแวดล้อม อ. ปะทิว เกิดความเข้มแข็งขึ้น ชุมชน ให้ความสำคัญต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มากขึ้น จึงได้ร่วมกันปกป้องทรัพยากรฯ ไม่ให้ใครมาลักลอบทำลายเพิ่มเติมอีก 

 ปี พ.ศ. 2544-2546 ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ดำเนินโครงการโรงเรียน-ชุมชน ร่วมใจพิทักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนอ่าวทุ่งมหา  โครงการนี้ดำเนินการเพื่อช่วยชุมชนฟื้นฟูสภาพพื้นที่ป่าชายเลนที่นายทุนได้คืนพื้นที่ที่บุกรุกทำนากุ้ง คืนให้กับชุมชนชาวบ้านทุ่งมหา ทำให้พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นนากุ้งร้าง จึงได้ปลูกป่าโกงกางเต็มพื้นที่สามารถคืนป่าชายเลนกลับมาให้กับชุมชน จึงทำให้เกิดทรัพยากรทางทะเลตามมาอย่างมากมาย และเกิดเป็น บ้านปลาธนาคารปู ให้กับกลุ่มชุมชนชาวประมงชายฝั่ง บ้านปากคลอง 

            กรมส่งเสริมฯ จึงได้แต่งตั้งให้โรงเรียนปะทิววิทยา อ. ปะทิว  . ชุมพร  เป็นศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาระดับจังหวัด โดยมี  ผู้อำนวยการเป็นประธานศูนย์ฯ โดยตำแหน่ง และ อ. สุภาพ   ศรีทรัพย์ เป็นเลขานุการ โดยมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างกรมส่งเสริมกับกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมกับสนับสนุนงบประมาณ ให้ปีละ 100,000 บาท ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 3 ปีเต็ม             การปฏิบัติงานของ อ. สุภาพ  ได้ดำเนินงานทางด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มความสามารถ ประสานความร่วมมือกับชนในทุกระดับ เช่น ชุมชน ครูในโรงเรียน เยาวชน และนักเรียน ให้เข้าร่วมกิจกรรมสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลประโยชน์ให้กับส่วนรวมทั้งสิ้น   ไม่ใช่ทำเพื่อผลงานของใครคนใดคนหนึ่ง ชุมชนให้ความร่วมมือ ผลงานที่เกิดขึ้นก็เป็นของชุมชน , ครูปฏิบัติงานก็สามารถใช้เป็นแนวทางในการเรียนการสอนให้กับนักเรียนในชั้นเรียนได้ และเยาวชนนักเรียนก็สามารถสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตให้กับตนเองได้ สามารถพัฒนาตนเองให้มีแนวคิด วิสัยทัศน์ที่กว้างไกลขึ้น อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือสังคมได้อีกแนวทางหนึ่งด้วย จึงทำให้องค์กรและบุคลากรในหน่วยงานได้รับรางวัลประเภทต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่นรางวัลลูกโลกสีเขียว, รางวัลครูดีของแผ่นดิน, รางวัลสงขลานครินทร์,รางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ,รางวัลเยาวชนอาสาสมัครดีเด่นแห่งชาติ,รางวัลโรงเรียนพระราชทาน 3 ปีซ้อน

ปี พ.. 2547-2548   ยังคงดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมไปอย่างต่อเนื่อง และสรรหางบประมาณจากแหล่งทุนเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและเยาวชน ไปจนถึงองค์กรเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกเครือข่ายได้มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง จึงได้เสนอโครงการไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร เพื่อสนับสนุนกิจกรรมเยาวชน และองค์การสหประชาชาติ กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกเพื่อสนับสนุนกิจกรรมให้กับชุมชนเครือข่ายในการจัดทำป่าชุมชนขึ้น

ปี พ.ศ. 2549-2550  จากงบสนับสนุนของแหล่งทุนที่องค์กรได้รับ คือ จาก UNDP และ มูลนิธิกองทุนไทย ในโครงการส่งเสริมการให้เพื่อสังคม  ทางกลุ่มเยาวชนชุมนุมอนุรักษ์ทรัพยากรปะการังและสิ่งแวดล้อมโรงเรียนปะทิววิทยา ซึ่งวัตถุประสงค์ขององค์กรไม่ใช่เรื่องปะการังเพียงอย่างเดียว แต่เป็นทุก ๆ เรื่องของสิ่งแวดล้อม จึงทำให้กลุ่มเยาวชนได้ดำเนินงานทำกิจกรรมการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำในพื้นที่ บ้านทุ่งยอ ต. ชุมโค อ. ปะทิว , บ้านพรุตาอ้าย ต. ทะเลทรัพย์ และบ้านคอกม้า ต. บางสน  และนอกจากนี้ยังดำเนินโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลนอ่าวบางสน โดยการปลูกป่าเพิ่ม และประสานการทำงานกับชุมชนเพื่อให้เกิดเป็นเครือข่าย

  งบประมาณขององค์กร

ไม่มีงบประมาณสนับสนุนประจำปี   นอกจาก การเขียนโครงการเสนอต่อแหล่งทุน และการระดมทุนจากชุมชนและองค์กรส่วนท้องถิ่น และกิจกรรมทุกกิจกรรม ไม่สามารถหยุดนิ่งได้ โครงการต่าง ๆ ที่เราได้รับงบประมาณสนับสนุน และเมื่อปิดโครงการแล้ว     การดำเนินงานเราไม่สามารถที่จะหยุดได้ ต้องทำงานต่อเนื่องร่วมกับชุมชนมาโดยตลอด เมื่อไม่มีงบประมาณ     เราก็ยังทำกิจกรรมอยู่เรื่อยๆ โดยให้เยาวชน นำข้าวห่อมากินกันเอง ส่วนค่าน้ำมันรถก็ขอสนับสนุนจากชุมชน หรือเงินส่วนตัวของ ผู้ประสานงานกลุ่มเยาวชนเอง 

ตัวแทนเยาวชน  1. นายศิระ    จันทร์เณร    2. นายนวกานต์  วิบูลย์ศักดิ์                 

 พี่เลี้ยงกลุ่ม           1. นายสุภาพ   ศรีทรัพย์ 

ย้อนอ่านรายละเอียดของกลุ่มที่  2  3  4 และติดตามความเป็นมาเวทีเยาวชนจิตอาสาเพื่อพัฒนาตนเอง  ตอนที่ 1  ตอนที่ 2  ตอนที่ 3

   

หมายเลขบันทึก: 87072เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2007 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
056 - 681080 เบอร์คุณหมอเอกชัยนะครับที่เป็นคิดโครงการจิตอาสาของอำเภอโพทะเล(ต้นกล้า)
คนดินดิน

สวัสดีค่ะ คุณจ๊ะจ๋า ดิฉันแมวเหมียว เคยทำงานอยู่กับ อ. สุภาพ ศรีทรัพย์ ขอบคุณค่ะที่นำกิจกรรมของศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาจังหวัดชุมพรเผยแพร่ให้ค่ะ ถึงแม้ตอนนี้อาจารย์ท่านไปสุขสบายแล้ว พวกเราพร้อมที่จะสานงานต่อกับอาจารย์ค่ะ วันจัดประชุมจัดตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ ของสมาคมฯ คนมามากจนนึกไม่ถึง เพราะชาวจังหวัดชุมพร พร้อมที่จะสานงานสิ่งแวดล้อมต่อเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้กับ อ. สุภาพ ค่ะ ยินดีที่รู้จักคุณจ๊ะจ๋าค่ะ

สวัสดีค่ะ  ดิฉันวราภรณ์ เคยเป็นลูกศิลกับ อ. สุภาพ ศรีทรัพย์ ขอบคุณค่ะที่นำกิจกรรมของศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาจังหวัดชุมพรเผยแพร่ให้ค่ะ ถึงแม้ตอนนี้อาจารย์ท่านไปสุขสบายแล้ว พวกเราพร้อมที่จะสานงานต่อกับอาจารย์ค่ะ  เพราะชาวจังหวัดชุมพร พร้อมที่จะสานงานสิ่งแวดล้อมต่อเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้กับ อ. สุภาพ ค่ะ ยินดีที่รู้จักคุณนะค่ะ

ดีค่ะ

น้องเป็นคนหนึ่งที่ทำงานกับศูนย์สิ่งแวดล้อมเหมือนกันค่ะ

แต่ตอนนี้จบจาก รร ปะทิวแล้ว

ก็ขอบคุณค่ะนำมาเสนอให้ทราบ

ถึงแม้ตอนนี้จะไม่ได้เรียนที่นั่นแล้วแต่ก็พร้อมที่จะช่วยเหลืองานทุกอย่างค่ะ

สวัสดีครับผมเคยอยู่ชมรมและเป็นชุด6คนแรกของชมรมครับและผมก็เป็นหลานของอ.สุภาพ

ครับยินดีที่รู้จักนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท