เรื่องเล่าจากดงหลวง 61 เรื่องของคนที่ไม่เข้าใจคน


บุคลากรทางด้านต่างๆจำนวนไม่น้อยเมื่อไปทำงานกับคน สังคม โดยเฉพาะชุมชนชนบท มักมีปัญหาเรื่องต่างๆ ดังนั้นก็สะท้อนถึงระบบการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาว่าผลิตคนมาอย่างใด หากต้องการให้ศาสตร์นั้นๆรับใช้คนก็ต้องเรียนรู้เรื่องคนมากขึ้นนะครับ

เวลาชาวบ้านต่อยอดต้นไม้ก็ต้องต่อจากกิ่งต้นไม้ชนิดเดียวกัน หรืออยู่ในตระกูลเดียวกัน เช่น ต่อยอดมะม่วงมันจากต้นมะม่วงกะล่อน(เป็นมะม่วงเปรี้ยว) หรือเสียบยอดมะเขือเทศพันธุ์ดีกับต้นมะเขือพวงเป็นต้น จะต่อยอดมะนาวกับต้นก้ามปูย่อมไม่ได้แน่นอน

การฝึกอบรมพนักงานบริษัทในเรื่อง PRA ในภาคปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องที่ลำบากใจของผู้ดำเนินการ หากผู้ร่วมการเรียนรู้ไม่มีพื้นฐานมาบ้างในด้านชุมชน กระบวนวิธีวิจัย ความเข้าใจความเป็นคนในชนบท จึงตั้งคำถามไม่ถูก และต่อยอดความรู้ไม่เต็มที่ ผู้ดำเนินการจึงต้องใช้ความพยายามมากหน่อย

กรณีดังกล่าวมีส่วนในการก่อให้เกิดมุมมองว่า การพัฒนาความรู้ใดๆก็ตาม สาขาใดๆก็ตาม ทั้งหมดก็เพื่อคน เพื่อสังคม เพื่อความงอกงาม ความดี ของสังคม ท่านเหล่านั้นๆที่เป็นผู้สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ หากไม่เข้าใจคน ไม่เข้าใจสังคม หรือเข้าใจแบบผิดๆ องค์ความรู้นั้นๆก็อาจจะไม่เหมาะแก่สังคม แก่คน ดังที่เราพูดกันบ่อยๆว่า บุคลากรทางด้านต่างๆจำนวนไม่น้อยเมื่อไปทำงานกับคน สังคม โดยเฉพาะชุมชนชนบท มักมีปัญหาเรื่องต่างๆ ดังนั้นก็สะท้อนถึงระบบการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาว่าผลิตคนมาอย่างใด "หากต้องการให้ศาสตร์นั้นๆรับใช้คนก็สมควรที่จะต้องเรียนรู้เรื่องคนมากขึ้น"

หมายเลขบันทึก: 87609เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2007 19:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

บางทีการเรียนรู้ในสถานศึกษาเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เพราะการทำงานแตกต่างจากการเรียนมากมายนัก

การเรียนทำได้ตามวัตถุประสงค์ของเนื้อหา ก็สามารถจบได้ แต่การทำงานยากกว่านั้นเพราะต้องกำหนดวัตถุประสงค์เองซึ่งต้องมีความชัดเจนในตัวเอง ชัดเจนในบริบทจึงจะทำได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังต้องสามารถทำร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดีด้วย

การเรียนรู้เรื่อง " คน " น่าจะเป็นหนทางที่ช่วยแก้ปัญหาได้..แต่ " คน " ก็ซับซ้อนนักคงต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตมั้งคะ ^ ^

สวัสดีครับ

  • ขอฝากตัวเป็นศิษย์ด้วยคนครับ (ตามคุณเบิร์ดมาครับ)
  • คุ้นเคยแล้วค่อยร่วมแจมนะครับ

ธรรมะสวัสดีครับ

  • การเรียนรู้เรื่อง " คน " น่าจะเป็นหนทางที่ช่วยแก้ปัญหาได้..แต่ " คน " ก็ซับซ้อนนักคงต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตมั้งคะ ^ ^

  • ผมเห็นด้วยว่า "คน" ซับซ้อนยิ่งนัก ยิ่งในสังคมที่พัฒนา สังคมเมือง ยิ่งซับซ้อนมากขึ้นหลายเท่านักครับ

  • รับรู้ได้จากข่าวสารต่างๆในหน้าหนังสือพิมพ์

  • ขอบคุณน้องเบิร์ด

  • คุณน้อง ธรรมาวุธ ครับ
  • มิบังอาจเป็นอาจารย์หรอกครับ
  • สิ่งที่นำเสนอเป็นเพียงประสบการณ์และ หรือ ประเด็นที่เกิดจากมุมมองต่อสิ่งที่ผ่านพบในแต่ละวันและจากการเรียนรู้ การต่อยอดเท่านั้น ซึ่งทุกท่านทำหน้าที่เหล่านี้เช่นกัน
  • ยินดีแลกเปลี่ยนครับ และสวัสดีธรรมะครับ

การศึกษาทุกวันนี้มุ่งสู่การเปิดหลักสูตรเชิงการตลาดกันมาก  ส่วนสาขาเกี่ยวกับชุมชนมีน้อยลงทุกที (กระมัง)  

....

แต่อย่างไรเราต่างก็ไม่เคยสิ้นหวังว่าการศึกษาจะเปลี่ยนแปลงคนได้   แต่ก็ต้องไม่ลืมการตระหนักในประเด็นที่ อาจารย์ได้กล่าวย้ำว่า "หากต้องการให้ศาสตร์นั้นๆรับใช้คนก็สมควรที่จะต้องเรียนรู้เรื่องคนมากขึ้น"

และถึงแม้การเรียนรู้เรื่องคนจะเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก  แต่ก็ยังต้องดำเนินไปอย่างไม่รู้จบ  ซึ่งการเรียนในหลักสูตรเพียงอย่างเดียวก็ไม่พอเป็นแน่

พี่บู๊ทขา  ขอบพระคุณค่ะ

หนิงได้รับโทร เสียงหวานๆจากเลขาฯพี่แล้วค่ะ  นัดกันพรุ่งนี้เช้านะคะ 

วันนี้ขอตัวนอนก่อนนะคะ  เพราะพรุ่งนี้ต้องไปส่งคุณแม่และหลานๆขึ้นรถที่ขอนแก่นค่ะ  เขาจะไปเยี่ยมน้องสาวหนิงที่พัทยากัน  งานนี้หนิงอดไปอ่ะค่ะ  ภารกิจติดตัว  ทำให้ผิดนัดหลานๆเลย

 

  • อื่อ..ใช้ได้..พี่ฝากหล่อนช่วยจัดการให้ เพราะพี่อยู่กรุงเทพฯตลอดเลยครับ
  • ฝากถึงท่านครูบาด้วยนะครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับคุณ แผ่นดิน
  • เห็นด้วยว่าการเรียนเรื่องคนแค่ในห้องไม่เพียงพอ ต้องออกมาศึกษาของจริงมากขึ้น
  • ความจริงไม่ใช่ไม่มีการเรียนเรื่องคนนะครับ ผมเห็นว่ามีอยู่ และมีมากด้วยเหมือนกัน  ที่ผมกล่าวเช่นนี้ ใช้มุมมองจับไปที่วงการธุรกิจที่ใช้วิชาการไปรับใช้การทำธุรกิจ เช่นการประชาสัมพันธุ์ การทำแบบสำรวจตลาด  การศึกษาวิจัยเชิงลึก แต่ปกปิดรายงานผลเพราะเป็นเรื่องทางธุรกิจ  ซึ่งมีบริษัทที่ทำงานทางด้านนี้อยู่มากเช่นกัน
  • แต่การใช้ความรู้จากการศึกษาคน สังคม เพื่อเอาความรู้นั้นๆไปผนวกกับศาสตร์ต่างๆให้เหมาะสมกับการใช้เพื่อคน และสังคมนั้น ต่ำมากๆ
  • ผมมีประสบการณ์พอสมควรทางด้านนี้ จนสรุปว่า ระเบียบ ระบบราชการไม่เหมาะกับการทำงานพัฒนาชนบท โดยเฉพาะเรื่องกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน  เจ้าหน้าที่ของรัฐจำนวนมากที่เข้าไปทำงานกับชุมชน ไม่เข้าใจชุมชน ฯลฯ (ผมไม่ปฏิเสธระบบราชการนะครับ) แต่บทบาทน่าจะเปลี่ยนไปแล้ว
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับคุณบางทราย

      เรื่องคนและชุมชนเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน การทำงานกับชุมชนต้องทุ่มไปทั้งใจจึงจะได้คำตอบที่แท้จริง ในระบบราชการผมก็ได้เห็นจุดอ่อนของการทำงานพัฒนาชนบทค่อนข้างมาก เพราะเราไม่ได้เตรียมคนคู่ไปกับจิตวิญญานการพัฒนาชุมชน ผู้คนราชการค่อย ๆ ห่างจากชุมชนไปทุกทีครับ

  • ขอเป็นกำลังใจให้พี่บางทรายสร้างสรรค์งานดีๆ ต่อไปครับ
  • สร้างคนต่อยอดคนด้วยสายพันธุ์เดียวกันครับ
  • โชคดีนะครับ
  • มาทักทายพี่ชาย
  • คาดว่าจะได้ไปเยี่ยมพี่ครับ
  • แต่หลังจากพบพี่ๆๆที่บ้านครูบาครับผม
  • สวัสดีครับคุณ Mr. ดิศกุล เกษมสวัสดิ์
  • ผมเห็นด้วยครับ ที่ " ผู้คนราชการค่อย ๆ ห่างจากชุมชนไปทุกทีครับ"  ด้านหนึ่งผมก็เห็นใจหลายท่าน ตั้งใจทำงานจริงๆและเป็นคนดี แต่ "ระบบ ระเบียบ" มัดตัวเขาไว้ครับ งานล้นมือ แต่ต้องรีบส่งให้นาย แล้วจะเอางานดีๆไปส่งได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เพิ่งเกิด ไม่ใช่ผมคนเดียวที่เห็น หลายคนเห็น ทุกคนเห็น ผมว่าส่วนหนึ่งที่เกิดความคิดปรับปรุงระบบราชการ แต่ปรับได้มากน้อยแค่ไหน น่าเป็นห่วง
  • ขอบคุณครับที่มาเยี่ยม  ผมชอบงานเขียนจากนิวซีแลนด์ด้วยครับ

 

  • สวัสดีน้องเม้ง เทอร์โบ  พี่ไม่ได้แวะไปหลายวันแล้ว แค่ผ่านไป
  • เห็นมีแฟนคลับมากมายชื่นใจจังเลย
  • ผลงานดี วจีเพราะ แค่นี้ก็ติดตาตรึงใจแล้วครับน้องเม้ง
  • ดีมากที่เรามีบุคคลากรระดับคุณภาพ ครับ
  • ขอบคุณครับ
  • ด้วยความยินดีครับ อาจารย์ขจิต
  • เอาเบอร์ ที่ทำงานก่อนนะครับ 042 630199 เป็น Fax ด้วยครับ
  • ระบุวันที่ได้เมื่อใดบอกพี่ด้วยนะครับ
  • ยินดียิ่งเลยครับ

สวัสดีครับ พี่บางทราย ที่น้บถือ

        แวะเข้ามาเยี่ยม & เรียนรู้ครับ ^__^

        เห็นด้วยที่ว่า "หากต้องการให้ศาสตร์นั้นๆ รับใช้คน ก็ต้องเรียนรู้เรื่องคนมากขึ้น" ครับ

        ผมเองไม่มีประสบการณ์ทำงานกับชาวบ้าน (เคยออกแค่ค่ายอาสาฯ ตอนเป็นนิสิต - แต่นั่นก็ผิวเผินมาก) แต่เคยทำงานกับคนสองกลุ่มมากหน่อย จึงอยากฝากเอาไว้เป็นกรณีศึกษา:

        คนที่ทำงานในภาคการผลิต (นักอุตสาหกรรม) :
              พบว่า เวลาเขามีปัญหาอะไร เขาจะพยายามแก้ไขก่อน ถ้าแก้ไม่ได้จึงค่อยหาองค์กรหรือนักวิชาการไปช่วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะลองด้วยตัวเองก่อน
              แต่มีปัญหาที่พบบ่อยๆ ก็คือ เวลาเขามาคุยกับเรา เขาอาจจะนำเอาส่วนที่เป็นผลของปัญหามาเล่าให้ฟัง แล้วบอกให้เราทำการตรวจสอบด้วยเทคนิค หรือเครื่องมือต่างๆ ที่เขาคิดว่าน่าจะแก้ปัญหาได้
              ทีนี้ถ้าเขาคิดมาถูกทาง แก้ปัญหาได้ ก็แล้วไป
              แต่ถ้าเขาเดามาผิดทาง แล้วเราไปทำตาม ก็เสียเวลาทั้งคู่ (ส่วนเขาก็ต้องเสียค่าบริการด้วย)

        ผมจึงพบว่า เวลาคุยกับคนที่มีประเด็นปัญหามาให้แก้ ต้องคุยกันให้ลึกถึงตัวสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง มิฉะนั้นก็จะวนเวียนกับการหาวิธีการแก้ไข ซึ่งอาจจะแก้ได้บางส่วน แต่ไม่ทั้งหมดครับ

         นักเรียน ครู & คนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ :
                พบว่า แม้แต่เรื่องๆ เดียวกันที่เราจะนำไปเปิดประเด็นให้ได้เรียนรู้ (ไม่อยากใช้คำว่า "สอน" เพราะฟังแล้วเหมือนว่าความรู้ไปทิศทางเดียว) ก็ต้องใช้ศิลปะพลิกแพลงให้เข้ากับ คน สภาพแวดล้อม บรรยากาศ เทคโนโลยีที่มี ฯลฯ
                 พูดสั้นๆ คือ ต้องใช้ให้ถูกบริบท (context) นั่นเอง
                พี่เชื่อไหมครับ ขนาดเล่นกล (sciene show) ที่สนุกสนานมากสำหรับคนหลายๆ กลุ่ม ที่ผมเคยใช้ได้ผล แต่ถ้าไปใช้ผิดกลุ่ม หรือไม่ถูกกาลเทศะ ก็กลับกลายเป็นเรื่องแห้งๆ ไม่สนุกไปได้

         ผมฝากไว้แค่นี้ก่อนแล้วกันครับ ไว้จะกลับมาเรียนรู้ประสบการณ์ของพี่อีกในบันทึกอื่นๆ นะครับ ^__^ 


             

 

สวัสดีครับอาจารย์ P 15. บัญชา ธนบุญสมบัติ

        แวะเข้ามาเยี่ยม & เรียนรู้ครับ ^__^

โห..อาจารย์ ดำดิ่งมาสู่บันทึกในอดีตของผมเลยหรือครับ  ขอบคุณมากครับ

        เห็นด้วยที่ว่า "หากต้องการให้ศาสตร์นั้นๆ รับใช้คน ก็ต้องเรียนรู้เรื่องคนมากขึ้น" ครับ

ผมทำงานกับวิศวกรชลประทานมามาก หลายโครงการ พบเสมอว่าท่านเหล่านั้นไม่เข้าใจชาวบ้านเอามากๆ ท่านเอาแต่หลักการทางวิศวกร  เมื่อหลักการทางวิศวถูกต้องแล้ว เป็นว่าถูกต้อง ไปบีบชาวบ้านให้ต้องยอมรับการตัดสินใจนั้นๆ....ทั้งๆที่โครงการชลประทานสร้างขึ้นด้วยงบประมาณมหาศาล และเพื่อชาวบ้าน เป็นงบมาจากภาษีชาวบ้านด้วย   หลายเรื่องชาวบ้านก็ทิ้งไปเลยเพราะไม่สอดคล้องกัยความต้องการของเขา ไม่สอดคล้องต่อเงื่อนไขของเขา ระบบชลประทานจำนวนมากทิ้งว่างเฉยๆ  แม้ในปัจจุบันครับก็ยังสร้างระบบชลประทานที่ไม่เคยสำรวจความต้องการของชาวบ้านอย่างแท้จริง ในพื้นที่ทำงานของผมก็มีอยู่ ผมเสียดายงบประมาณมากๆ  ประเทศเราสูญเสียสิ่งเหล่านี้ไปเท่าไหร่ต่อปี...? ผมว่ามากมายนะครับ (จริงๆ..อาจจะมีเงื่อนไขอย่างอื่นแฝงอยู่ด้วยมิใช่เรื่องความเข้าใจคนเพียงอย่างเดียว.)

ช่วงหนึ่งผมมีโอกาสติดตามผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศไปขุดหลักสูตรที่สร้างวิศวกรชลประทานแห่งหนึ่งว่าตลอดสี่ปีเขาเรียนเรื่องคน เรื่องสังคมสักเท่าไหร่  พบว่ามีเรียน 1 course และเป็น elective ....ผมคิดในใจว่ามิน่าเล่า... 

        ผมเองไม่มีประสบการณ์ทำงานกับชาวบ้าน (เคยออกแค่ค่ายอาสาฯ ตอนเป็นนิสิต - แต่นั่นก็ผิวเผินมาก) แต่เคยทำงานกับคนสองกลุ่มมากหน่อย จึงอยากฝากเอาไว้เป็นกรณีศึกษา:

        คนที่ทำงานในภาคการผลิต (นักอุตสาหกรรม) :
              พบว่า เวลาเขามีปัญหาอะไร เขาจะพยายามแก้ไขก่อน ถ้าแก้ไม่ได้จึงค่อยหาองค์กรหรือนักวิชาการไปช่วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะลองด้วยตัวเองก่อน
              แต่มีปัญหาที่พบบ่อยๆ ก็คือ เวลาเขามาคุยกับเรา เขาอาจจะนำเอาส่วนที่เป็นผลของปัญหามาเล่าให้ฟัง แล้วบอกให้เราทำการตรวจสอบด้วยเทคนิค หรือเครื่องมือต่างๆ ที่เขาคิดว่าน่าจะแก้ปัญหาได้
              ทีนี้ถ้าเขาคิดมาถูกทาง แก้ปัญหาได้ ก็แล้วไป
              แต่ถ้าเขาเดามาผิดทาง แล้วเราไปทำตาม ก็เสียเวลาทั้งคู่ (ส่วนเขาก็ต้องเสียค่าบริการด้วย)

        ผมจึงพบว่า เวลาคุยกับคนที่มีประเด็นปัญหามาให้แก้ ต้องคุยกันให้ลึกถึงตัวสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง มิฉะนั้นก็จะวนเวียนกับการหาวิธีการแก้ไข ซึ่งอาจจะแก้ได้บางส่วน แต่ไม่ทั้งหมดครับ

ใช่เลยครับอาจารย์  หลายครั้งผมก็คล้ายๆกับสิ่งที่อาจารย์ยกตัวอย่างนั่นเหมือนกัน  จึงต้องทบทวนกระบวนการทำงานมากขึ้น เพราะการให้ตำแนะนำทางแก้ปัญหาของเรา ไม่สามารถช่วยเขาได้ในหลายกรณี  จนผมไปยอมรับกระบวนวิธีทางการแพทย์รักษาคนไข้น่ะครับว่า เออ ต้องเอาหูฟังมาจิ้มที่หน้าอก ที่หลัง  ปากก็ซักเรื่องราวต่างๆไป ลึกๆก็วิเคราะห์ตามข้อมูลที่ได้ต่างๆไป ย้อนข้อมูลไปถึงอดีตเท่าที่เห็นว่าเกี่ยวข้อง....จึงได้ข้อมูลที่สมบูรณ์มากขึ้น  จนหลายกรณีผมต้องทำการวิเคราะห์ชุมชนโดยใช้ระบบ GIS มาช่วย คือ ทำ mapping ที่ตั้งครัวเรือนในชุมชนทั้งหมด แล้วเอาข้อมูลต่างๆค่อยๆทะยอยใส่ลงไป เช่นข้อมูลชื่อ สกุล บ้านเลขที่ อาชีพ ตำแหน่งในชุมชนทั้งแบบทางการและแบบวัฒนธรรมชุมชน ....เพศ..... ปรากฏการณ์ต่างๆ...เอาช่วงเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ....ฯลฯ โดยแบ่งเป็น layer แล้วก็เอามาวิเคราะห์กัน

พบข้อเท็จจริงมากมายที่การเดินไปดูเฉยๆไม่เห็นข้อมูลนี้  เช่น

  • ความเป็นเครือญาติ  ก๊ก เหล่า ความเป็นกลุ่มตระกูล
  • พัฒนาการทางประวัติศาสตร์การตั้งชุมชน และแรงเกาะเกี่ยวทางสายสัมพันธ์จากอดีต
  • อิทธิพลต่างๆที่มีอยู่ในชุมชน
  • การเปลี่ยนแปลงการขึ้นดำรงตำแหน่งต่างๆในชุมชน
  • การออกไปทำมาหากิน
  • ที่ตั้งที่ดินทำกินสัมพันธ์กับที่ตั้งครัวเรือน
  • ฯลฯ

         นักเรียน ครู & คนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ :
                พบว่า แม้แต่เรื่องๆ เดียวกันที่เราจะนำไปเปิดประเด็นให้ได้เรียนรู้ (ไม่อยากใช้คำว่า "สอน" เพราะฟังแล้วเหมือนว่าความรู้ไปทิศทางเดียว) ก็ต้องใช้ศิลปะพลิกแพลงให้เข้ากับ คน สภาพแวดล้อม บรรยากาศ เทคโนโลยีที่มี ฯลฯ
                 พูดสั้นๆ คือ ต้องใช้ให้ถูกบริบท (context) นั่นเอง

แหม... อาจารย์ กล่าวได้ถูกใจจริง "ก็ต้องใช้ศิลปะพลิกแพลงให้เข้ากับ คน สภาพแวดล้อม บรรยากาศ เทคโนโลยีที่มีฯลฯ"  เป็นความจริงมากๆ เน้นว่ามากๆ

การเรียนในห้องเรียนได้เข้าใจหลักการ ทฤษฎี มากมาย แต่เมื่อเอาไปใช้นั้นต้องใช้ ลีลาต่างๆเข้ามา เพื่อให้เหมาะกับสิ่งที่อาจารย์กล่าว ฯ   ผมพูดกับน้องๆว่า ความรู้ที่เองมีนั้น เมื่อจะไปส่งเสริมกับชาวบ้าน หลายๆครั้งเองต้องมีความสามารถทางการแสดง(เหมือนนักแสดง) ด้วย  เรื่องเดียวกัน แต่ต่างกลุ่มคนกันก็ใช้วิธีการที่ต่างกัน  เป็นความจริงครับ  พื้นที่ทำงานของผมมีทั้งกลุ่ม ผู้ไท  กลุ่มคนชาวโซ่  ผมจึงบอกน้องๆว่า เองต้องค่อยๆเรียนรู้ลึกรู้ละเอียด ของคนสองกลุ่มนี้ว่ามีคุณลักษณะอย่างไร  แล้วเราจะเอาองค์ความรู้ต่างๆไปส่งเสริมเขา ก็ต้องเข้าใจเขาจึงจะส่งเสริมได้ถูกต้องเหมาะสม

ประเด็นนี้ส่งผลกระทบยิ่งใหญ่ต่องานที่ผมต้องรับผิดชอบมากครับ เพราะโครงการตัดสินใจลงทุนก่อสร้างโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าให้แก่หมู่บ้านที่เป็นชาวโซ่ ด้วยราคาค่าก่อสร้าง เกือบ 50 ล้านบาท ด้วยเพียงทางราชการหวังดีว่าชุมชนขาดแหล่งน้ำ ก็อยากจะสร้างแหล่งน้ำให้ สร้างให้อย่างดีเลย  แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วถึงช่วงการส่งเสริมการใช้ประโยชน์   เสร็จเลยอาจารย์....เขามาใช้ประโยชน์น้อยมาก เพราะวิถีชีวิตเขา ไม่ได้สนใจเรื่องการเพาะปลูกพืชสมัยใหม่ที่เรียกว่า cash crop เขาสนใจขึ้นป่า หาของป่ามากิน มาใช้ จนถึงมาขาย ปะเหมาะเคราะห์ดี ได้สัตวป่ามาตัวหนึ่งขายได้ 4-5 พันบาท กับมานั่งปลูกมะเขือเทศส่งโรงงาน 3-4 เดือน ล้วนแต่เสี่ยงสารพัดเสี่ยง แล้วก็ไม่ได้เงินมากมายอย่างที่คุยกันไว้...

นี่คือบทสะท้อนของความไม่เข้าใจคนที่เป็นชนเผ่า  แต่ลึกๆผมเชื่อว่า คนเปลี่ยนแปลงได้ ปต่กระบวนการพัฒนาต้องทุ่มเทความรู้ความสามารถอย่างจริงจังและมีเวลามากเพียงพอ ก็จะพัฒนาคนกลุ่มนี้ได้  แต่ต้องลงทุนมากกว่าพมู่บ้านที่เป็นคนกลุ่มชนเผ่าอื่นๆ เช่น ไท-อีสานทั่วไป หรือชนเผ่าผู้ไท ซึ่งปรับตัวต่อเทคโนโลยีต่างๆได้ไวกว่า และวิถีชีวิตไม่ติดหนึบกับป่ามากนักเท่าชาวโซ่

สรุปเรื่องนี้ การลงทุนงานก่อสร้างไม่มีองค์ความรู้ที่เป็นมิติทางสังคม วิถีชีวิตชุมชนเข้ามามีส่วนในการตัดสินใจการก่อสร้าง  จริงๆเขาต้องการแหล่งน้ำ  แต่ควรเป็นแหล่งน้ำขนาดเล็ก เช่นสระน้ำประจำไร่นาก็เพียงพอ การลงทุนก็ต่ำกว่ามากมาย เป็นต้น...นี่เป็นอีกบทเรียนหนึ่งครับ
 

               พี่เชื่อไหมครับ ขนาดเล่นกล (sciene show) ที่สนุกสนานมากสำหรับคนหลายๆ กลุ่ม ที่ผมเคยใช้ได้ผล แต่ถ้าไปใช้ผิดกลุ่ม หรือไม่ถูกกาลเทศะ ก็กลับกลายเป็นเรื่องแห้งๆ ไม่สนุกไปได้

         ผมฝากไว้แค่นี้ก่อนแล้วกันครับ ไว้จะกลับมาเรียนรู้ประสบการณ์ของพี่อีกในบันทึกอื่นๆ นะครับ ^__^ 

อาจารย์มีประสบการณ์ที่ตรงกับผมเลยครับ

ขอบคุณมากครับที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรื่องเหล่านี้

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

  • เข้ามาทักทายและเยี่ยมพี่ชายค่ะ
  • ดีใจที่ได้ทราบว่าการเจ็บป่วยของพี่ไม่ได้รุนแรง .. แต่ไม่ได้เข้ามาคุยเนื่องจากมีภารกิจอื่น  หากแต่พยายามติดตามข่าวคราวและความคิดของพี่อย่างต่อเนื่อง ด้วยความศรัทธาค่ะ
  • ในความคิดของน้องนั้น...การทำงานใดก็ตาม หากไม่เรียนรู้คนก่อนแล้ว  การจะเข้ากับระบบงานอาจจะลำบาก เพราะคนเป็นตัวจักรและเป็นผู้กำหนดระบบงานเสมอ
  • เราจึงต้อง รู้คน รู้งาน รู้ระบบ และก่อนอื่นใดนั้น น้องคิดว่า...เราต้องเรียนรู้..ตัวเอง .. ค่ะ
  • รักษาสุขภาพด้วยนะคะ...^_^...

สวัสดีครับ P 17. คนไม่มีราก

 

  • เป็นความจริงครับ คน งาน ระบบ และตัวเอง ที่ต้องรู้จักให้ถ่องแท้ครับ
  • ขอบคุณครับสำหรับความห่วงใยในสุขภาพ  พี่ไม่ได้เป็นอะไร เพียงไปตรวจพบก็รีบแก้ไขซะก็จบ นิ่ว เดี๋ยวนี้มีเทคโนโลยี่หลายแบบและไม่อันตรายมาก ของพี่เลือกทานยาเพื่อละลายนิ่วครับ 4 เดือน วันละ 4 เวลา ครับ
  • ขอบคุณมากครับน้องสาว
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท