BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

นิมิต


นิมิต

คำนี้มีใช้ในภาษาไทยหลายความหมาย และในวิชาตรรกศาสตร์ก็มีผู้บัญญัติคำว่า นิมิต แทนคำว่า Sign (ผู้สนใจดู นิมิต (Sign) ) ...จึงนำคำนี้มาเล่าพอเป็นข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ

คำว่า นิมิต มาจาก นิ เป็นอุปสัคใช้ในความหมายว่า เข้า,ลง หรือ ไม่มี, ออก  ...ผสมกับ มาน รากศักท์ แปลว่า นับ ...หรือบางมติก็บอกว่ามาจาก มน รากศัพท์ แปลว่า รู้ ....

นิ+ มาน +ต = นิมิต แปลว่า นับออกไป หรือแปลรวบความหมายในภาษาไทยว่า กำหนด

นิ+ มน + ต =  นิมิต แปลว่า รู้ออกไป หรือแปลรวบความหมายในภาษาไทยว่า กำหนด

... ....

เมื่อแปลง่ายๆ ทำนองนี้ หลายคนคงจะยังนึกไม่ออก ก็ให้เราลองนึกถึง ลูกนิมิต ที่พวกเราเคยเห็นว่าเป็น หินแท่งทึบ ก้อนกลมๆ ซึ่งเค้าจะใช้ฝังไว้รอบๆ โบสถ์ตอนสร้างใหม่ๆ ...โดยก่อนจะฝังหินก้อนกลมๆ นี้ ก็มักจะมีการจัดงานปิดทองลูกหินกลมๆ นี้เพื่อเอาบุญ ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่า หลายๆ คนคงเคยไปร่วมงาน...

ลูกนิมิต หรือหินก้อนกลมๆ นี้ เค้าใช้ฝังไว้รอบๆ โบสถ์ เพื่อ กำหนดรู้  ว่าพื้นที่ตรงนั้นเป็นโบสถ์ ใช้ทำสังฆกรรมตามพระวินัย ดังนั้น ลูกนิมิตที่เป็นก้อนหินกลมๆ นี้ จึงแปลว่า สิ่งที่ถูกกำหนดเพื่อให้รู้กันออกไปว่าสถานที่ตรงนั้นเป็นโบสถ์ ...ประมาณนี้

อีกนัยหนึ่ง ลูกนิมิตนี้ จะถูกกำหนดนับออกมาจากพื้นที่ศูนย์กลางโบสถ์ว่ามีอาณาเขตเท่าไหร่ ดังนั้น จึงอาจแปลได้ว่า สิ่งที่ถูกกำหนดนับออกไปจากจุดศูนย์กลาง ก็ได้...ประมาณนี้

เมื่อแปลว่า นิมิต คือ สิ่งที่ถูกกำหนดนับออกไป หรือ สิ่งที่ถูกกำหนดให้รู้ ...ความหมายทำนองนี้รู้สึกว่าเข้าใจยาก และเขียนยาวเกินไป... และภาษาไทยก็มีคำหนึ่งซึ่งตรงกับความหมายนี้คือ เครื่องหมาย ... ดังนั้น นิมิต จึงอาจแปลหักเนื้อความทั้งหมดแล้วใช้ตามความหมายที่เด่นชัดในภาษาไทยได้ว่า เครื่องหมาย นั่นเอง...

....

นิมิต ยังแปลว่า ความฝัน ได้อีกด้วย นั่นคือ ความฝันเป็นสิ่งที่ใจกำหนดรู้ออกไป หรือความฝันเป็นสิ่งที่ควรจะนับหรือคำนวนว่าจริงหรือเท็จอย่างไร..เป็นต้น

เฉพาะคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ได้จำแนก นิมิตหรือความฝัน ไว้ ๔ ประการ คือ

  • ธาตุกำเริบ ทำนองว่าเป็นไข้ หรือกินมากก็ฝันมาก ไม่จริง 
  • บุรพนิมิต คือ กรรมในปางก่อนบอกเหตุ จริง
  • จิตรอาวรณ์ ได้แก่ ใจคิดไปเอง เช่น ห่างบ้านก็ฝันถึงคนที่บ้าน ไม่จริง
  • เทวดาบอกเหตุ คือ เทวดา ภูตผี มาเข้าฝัน จริงบ้างไม่จริงบ้าง (เพราะเทวดาหรือผีก็มีทั้งดีและเลว)

....

ส่วน นิมิต ที่แปลมาจาก Sign ในวิชาตรรกศาสตร์ หมายถึง สิ่งที่กำหนดให้รู้สิ่งอื่นนอกจากตัวมันเอง ซึ่งผู้สนใจอาจดูเพิ่มเติมได้จาก นิมิต (Sign)

คำสำคัญ (Tags): #นิมิต
หมายเลขบันทึก: 86885เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2007 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 08:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
ถ้านอนก่อนตี 2 ผมมักจะฝัน ...

    นมัสการ พระคุณเจ้า

    บางที่ใช้  นิมิตหมาย   เป็นการใช้คำซ้ำไหมครับ 

P

แสดงว่า ตื่นสาย ...หรือนอนมาก.. (...... )

แม้นอนก่อนตี 2 เช่น เที่ยงคืน แต่ตื่นตี 4... เป็นปรกติ โอกาสที่จะฝัน หรือจำความฝันได้ ก็ยาก..

เจริญพร

P

เห็นด้วยกับคุณโยม นิมิตหมาย ค่อนข้างซ้ำความ...

คำไทยแท้ๆ ก็ซ้ำความโดยทั่วไป เช่น เบียดบัง กอบโกย ชั่วช้า คดโกง เสียดสี ...

เจริญพร

คำซ้ำบางทีก็มีประโยชน์ ในกรณีที่เป็นคำพ้องรูป

เช่น คำแรก มีความหมาย ก ข ค

คำที่สอง มีความมหาย ข  ง  ฮ

พอพูดพร้อมกัน ก็ทำให้รู้ได้ว่าหมายถึง ความหมาย ข :-) 

P

คำซ้ำบางทีก็มีประโยชน์ ในกรณีที่เป็นคำพ้องรูป

ข้อความว่า บางที บ่งชี้ว่า มิใช่ ทุกที

ดังนั้น ข้อความว่า บาทีมีประโยชน์ จึงมีข้อความที่ซ่อนอยู่ว่า บางทีก็ไม่มีประโยชน์

....

คำแรก มีความหมาย ก ข ค
คำที่สอง มีความมหาย ข  ง  ฮ

จากข้อความข้างบน คำแรก มิใช่ คำที่สอง ...หรือ คำที่สอง มิใช่ คำแรก

คำแรก และ คำที่สอง มีส่วนคล้ายกันเพราะมีความหมาย ร่วม

ส่วนข้อความว่า พอพูดพร้อมกัน ก็ทำให้รู้ได้ว่าหมายถึง ความหมาย ข :-)  ยังไม่สมเหตุสมผลเพียงพอที่จะโยงถึง คำแรก และ คำที่สอง

เพราะข้อความว่า  พอพูดพร้อมกัน ก็ทำให้รู้ได้ว่าหมายถึง ความหมาย ข :-)  มิได้โยงถึงข้อความว่า คำแรก และ คำที่สอง

เนื่องจาก ความหมาย อาจโยงถึง คำที่สาม คำที่สี่ หรืออื่นๆ ได้...

....

สรุปว่า น้องวีร์ ต้องยังมีข้อบกพร่องในการอธิบายเชิงตรรกะ (.....)

เจริญพร

พระอาจารย์ครับ...กระผมจะนำบทเขียนของพระอาจารย์เผยแพร่ในวารสาร...ประชาคมสี่แยกอินโดจีนนะขอรับ...

 

ขออนุญาตครับพระอาจารย์...ออกฉบับแรกเมื่อไรจะส่งไปให้พระอาจารย์อ่านครับ...จะค่อย ๆ ทยอยลงเล่าเรื่องภาษาบาลีแบบฉบับของพระอาจารย์ทีละเรื่อง...ยกให้คอลัมภ์นึงเลยครับ...อิอิ

 

ถ้าอยู้ใกล้ ๆ จะให้ออกวิทยุชุมชนเสียด้วยเลยในคราวเดียว...55555

P

อนุโมทนาต่อกุศลเจตนาของท่านเลขาฯ

เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท