ปัจจุบันยังไม่มียาใด ๆ ที่จะรักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ และยังไม่มีวัคซีนที่จะใข้ป้องกันโรคเอดส์อย่างได้ผล
เอดส์ โรคติดเชื้อ HIV,AIDS
ประเทศไทยมีการติดเชื้อ HIV เป็นจำนวนมากแม้ว่าเวลาผ่านไปนานพอสมควรก็ยังพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา เป็นการสมควรที่ทุกคนจะเรียนรู้ถึงโรคและการป้องกัน หากท่านมีผลเลือดบวกแสดงว่าท่านได้รับเชื้อ HIV จากการร่วมเพศกับผู้ที่ติดเชื้อโดยที่ไม่ได้ป้องกัน หรืออาจจะเกิดจากการฉีดยาเสพติด
HIV และ AIDS ต่างกันอย่างไร
เชื้อ Human Immunodeficiency Virus(HIV)
เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์
เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายเชื้อจะแบ่งตัวอย่างมากและมีการเกิดโรคที่อวัยวะต่างๆ
เช่นสมอง หัวใจ ไตและที่สำคัญคือจะทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ระบบภูมิคุ้มกันนี้จะทำหน้าที่สร้างถูมิเพื่อต่อต้านการติดเชื้อและมะเร็งบางชนิด
ในการสร้างภูมิจะต้องอาศัยเซลล์หลายชนิดที่สำคัญได้แก่เซลล์ CD4+
lymphocytes ซึ่งเป็นเซลล์ที่เชื้อ HIV ชอบ เมื่อเซลล์ CD4+
lymphocytes ถูกทำลายโดยเชื้อมากจะทำให้ภูมิของร่างกายอ่อนแอ
ดังนั้นปัญหาที่สำคัญของคนติดเชื้อ HIV
คือปัญหาของโรคที่เกิดจาดภูมิที่อ่อนแอลงเช่นโรคติดเชื้อฉวยโอกาส
opportunistic infections
เช่นโรคปอดบวมและโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และมะเร็งบางชนิด
ปัจจุบันพบเชื้อ HIV มี2 ชนิดคือ
- HIV-1 เป็นชนิดที่แพร่ระบาดทั่วโลก
- HIV-2 พบที่แถบประเทศ Africa
- HIV-1มี sub-types หลายชนิด
HIV disease
คือผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อ HIV
และยังไม่เกิดอาการจากเชื้อฉวยโอกาสและมีจำนวนเซลล์ CD4+ lymphocytes
มากกว่า 200 cells/mm3(ปกติมากกว่า 100
cell/mm)โดยทั่วไปไม่มีอาการเป็นเวลา 5-10
ปีแม้ว่าจะไม่มีอาการเชื้อก็แบ่งตัวและทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและเมื่อภูมิถูกทำลายมากจนกระทั่งเกิดโรคที่เกิดจากภูมิบกพร่อง
Acquired Immunodeficiency
Syndrome หรือโรคเอดส์ คือผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อ HIV
และโรคได้ลุกลามจนภูมิคุ้นกันบกพร่อง
และอาจจะทำให้เกิดโรคฉวยโอกาสและมะเร็ง
ตามองค์การควบคุมโรคติดเชื้อของอเมริกาหมายถึง
- โรคติดเชื้อบางชนิดเช่น Pneumocystis carinii pneumonia
(PCP), and cryptococcal meningitis
- มะเร็งบางชนิดเช่น cervical cancer, Kaposi’s sarcoma,
และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ระบบประสาท( central
nervous system lymphoma )
- CD4+ count น้อยกว่า 200 cells/mm3(ค่าปกติ 600-1000) หรือ 14
percent of lymphocytes
สถานการณ์โรคเอดส์ในประเทศไทย
โรคเอดส์เป็นโรคที่พบและมีรายงานเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา
เมื่อ พ.ศ. 2524 จากชายรักร่วมเพศ ในประเทศไทยมีรายงานของโรคเอดส์เป็นครั้งแรกเมื่อปี
พ.ศ. 2527 จากชายรักร่วมเพศเช่นกัน
จากนั้นจำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์ในประเทศไทยก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากปี
พ.ศ. 2527 ถึง ปี พ.ศ. 2531 มีผู้ป่วยเพียง 19 ราย จนกระทั่งในปี พ.ศ.
2537 มีรายงานผู้ป่วยโรคเอดส์ที่เกิดภายในปีนั้นมีถึง 11,978 ราย
และสูงขึ้นถึงหลักหลายแสนคนในปัจจุบัน
ก่อนที่จะเรียนรู้ว่ายาต้าน ฯ จะทำหน้าที่ในการรักษาอย่างไร จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราทำหน้าที่อย่างไร และเมื่อไวรัสเอชไอวีเข้าไปในร่างกาย มันเข้าไปทำอะไรกับร่างกายของเรา
โดยปกติร่างกายคนเราต้องสัมผัสเชื้อโรคสารพัดที่มีอยู่รอบตัวตลอดเวลา ทั้งจากการกิน การหายใจ และการซึมผ่านบาดแผลตามผิวหนัง ส่วนใหญ่แล้วเราจะไม่เป็นอะไรเพราะว่าร่างกายมีระบบรักษาความปลอดภัยชั้นเยี่ยม ที่เรียกว่าภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิดที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ตลอดเวลา เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่กำจัดหรือควบคุมไม่ให้เชื้อโรคเพิ่มจำนวนลุกลามจนทำให้เราเจ็บป่วยได้ ถ้าภูมิคุ้มกันในร่างกายทำหน้าที่ได้ปกติ สามารถจัดการกับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ เราก็จะไม่ป่วย แต่ถ้าช่วงไหนภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ไม่สามารถทำหน้าที่กำจัด หรือควบคุมเชื้อโรคได้ดีเท่าที่ควร ช่วงนั้นก็จะป่วยได้
CD4 หรือ ซีดี4 คืออะไร สำคัญอย่างไร
CD 4 คือเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่เป็นตัวหลักในการกำจัดและควบคุมเชื้อโรคนานาชนิด อีกทั้งมีบทบาทในการสร้างสารภูมิคุ้มกันในร่างกายใช้เป็นอาวุธต่อสู่กับเชื้อโรคด้วย การตรวจ CD 4 คือการตรวจเลือดเพื่อนับจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด CD 4 ในเลือด 1 ไมโครลิตร ( ประมาณ 1 หยด ) โดยทั่วไปคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติจำนวน CD 4 ประมาณ 700 ขึ้นไป ถ้าหากผลการตรวจ CD 4 มีค่าน้อยกว่า 200 ก็ถือว่าภูมิคุ้มกันบกพร่องแล้ว
เมื่อไวรัสเอชไอวีเข้าสู่ร่างกายจะใช้ CD 4 ในการขยายพันธุ์ ในขณะเดียวกันก็ทำให้ CD 4 ถูกทำลายและมีจำนวนลดลงด้วย ในช่วงที่คน ๆ หนึ่งได้รับเชื้อเอชไอวี แต่ยังไม่ป่วย เรียกว่า ผู้ติดเชื้อเอชไอวี แต่เมื่อจำนวนเชื้อเพิ่มขึ้น และจำนวน CD 4 ลดลงจนไม่สามารถกำจัด / ควบคุมเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ เรียกว่า มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือเป็นผู้ป่วยเอดส์ เฉลี่ยตั้งแต่รับเชื้อ จนเริ่มป่วยใช้เวลาประมาณ 7 – 10 ปี โรคที่ป่วยโรคเนื่องจากภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เรียกว่า โรคติดเชื้อฉวยโอกาส ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อโรคที่มีอยู่แล้วในร่างกาย แต่ปะทุขึ้นมาเมื่อ CD 4 ควบคุมไว้ไม่อยู่
โรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่พบบ่อย คือ เชื้อราในปาก, เชื้อราในหลอดอาหาร, ริ้วขาวข้างลิ้น, ตุ่มพีพีอี, วัณโรค, งูสวัดที่รอยแผลกว้างเกิน 2 นิ้วมือทาบ หรือมีการกลับเป็นซ้ำ, เริมที่อวัยวะเพศที่เป็นบ่อย ( ทุกเดือน ) หรือหายช้า, ปอดอักเสบพีซีพี, ฝีในสมอง, เชื้อราเยื่อหุ้มสมอง ( คริปโต ), เชื้อราในกระแสเลือด ( เพนนิซิโลซิส )
* ต้องเข้าใจก่อนว่า
วันที่เรารู้ผลเลือดไม่ได้หมายความว่าเราเพิ่งได้รับเชื้อ
แต่อาจเป็นไปได้ว่าเราได้รับเชื้อมานานก็ได้
*
เมื่อเรารับเชื้อเราจะมีสุขภาพไม่ต่างจากเดิมเลย
เพราะเชื้อเอชไอวี จะทำลายภูมิคุ้มกันไปเรื่อย ๆ
จะไม่ทำให้เราป่วยในทันที
อัตราเฉลี่ยของประเทศไทยตั้งแต่รับเชื้อจนเริ่มป่วยใช้เวลา 7 – 10
ปี
โรคติดเชื้อ HIV และระบบภูมิคุ้มกัน
เมื่อเชื้อไวรัส Human Immunodeficiency Virus (HIV)
เข้ากระแสเลือดเชื้อจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน
การทำลายภูมิอาจจะเร็วต่างกันในแต่ละคน
บางคนทำลายเร็วไม่กี่ปีก็เป็นโรคเอดส์ แต่ส่วนใหญ่ใช้เวลา 10
ปีจึงจะกลายเป็นโรคเอดส์
แต่อย่างไรก็ตามมีข้อเท็จจริงที่ควรทราบดังนี้
*
การเจาะเลือดหาปริมาณเชื้อ HIV ในเลือด (viral load
)จะสามารถคาดการณ์ไดว่าเชื้อจะทำลายระบบภูมิคุ้มกันเร็วแค่ไหน
ถ้าเชื้อมีปริมาณมากจะทำลายภูมิของร่างกายเร็ว ยาต้านไวรัส HIV
ที่ดีจะสามารถยับยังการแบ่งตัวของเชื้อทำให้หยุดยั้งการดำเนินของโรค
*
การเจาะเลือดหาเซลล์ CD-4 จะบ่งบอกสภาพภูมิของร่างกาย เซลล์ CD-4
ยิ่งต่ำภูมิยิ่งบกพร่องมากขึ้นเท่านั้น
*
หากไม่ได้รักษาเชื้อ HIV
จะทำลายระบบภูมิคุ้มกันอย่างมากทำให้ร่างกายติดเชื้อฉวยโอกาส
โดยเฉพาะปริมาณเซลล์ CD-4 น้อยกว่า 300 ถ้าหากต่ำกว่า 100
จะมีการติดเชื้อรุนแรง
การตรวจหาการติดเชื้อ
เป็นการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาภูมิของโรค
* เจาะเลือดตรวจหาภูมิโดยวิธี enzyme-linked immunoabsorbent
assay (ELISA) ถ้าให้ผลบวกต้องยืนยันการวินิจฉัยโดยวิธีการ Western
Blot
แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้เร็วคือหลังจากได้รับเชื้อประมาณ
6 เดือนจึงให้ผลบวก
* การตรวจ HIV PCR
เป็นการตรวจหาตัวเชื้อหลังจากสัมผัสโรคโดยที่ภูมิยังไม่ขึ้น
ใครควรที่จะต้องเจาะเลือดหาเชื้อHIV
- ผู้ที่ได้รับเลือดและหรือน้ำเหลืองก่อนปี คศ.1970-1980
- รักร่วมเพศ
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นโดยไม่ได้ป้องกัน
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อ HIV
- มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ฉีดยาเสพติดเข้าเส้น
- ผู้ที่มีคู่ขาหลายคน
- ผู้ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เข่นซิฟิลิส หนองใน
- ผู้ติดยาเสพติดเข้าเส้น
- คนท้อง
เมื่อเราติดเชื้อเอชไอวี สุขภาพจะเป็นอย่างไร
ในช่วงที่เรามีเชื้อเอชไอวีอยู่ในร่างกายแต่ไม่ป่วยเพราะเรายังมีภูมิคุ้มกันที่ยังควบคุมหรือจัดการกับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ เรียกว่าเป็นผู้ติดเชื้อ และเมื่อภูมิคุ้มกันถูกทำลายเหลือจำนวนน้อย จนไม่สามารถควบคุมหรือจัดการกับเชื้อโรคบางอย่างได้ ทำให้เราป่วยด้วยเชื้อโรคนั้น ๆ เรียกว่าเราเริ่มมีภาวะภูมิบกพร่อง เป็นผู้ป่วยเอดส์ โรคที่เราป่วยเนื่องจากภาวะภูมิบกพร่องเรียกว่าโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ที่สำคัญคือโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ส่วนใหญ่รักษาได้ และมีหลายโรคที่ป้องกันได้
AIDS
ทำลายร่างกายอย่างไร
-
ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสและมะเร็ง
-
สมองถูกทำลายทำให้สมองเสื่อมและความจำเสื่อม
-
ทำให้หัวใจวายมีอาการเหนื่อยง่าย บวมเท้าและท้อง
- ทำให้ไตวาย
-
ไม่สามารถทำงานประจำวันได้เช่น การขับรถ
-
มีการเปลี่ยนแปลงทางน้ำหนักและท้องร่วงเรื้อรัง
คนที่สัมผัสกับโรคเอดส์ หรือคนที่ได้รับเชื้อเอดส์เข้าไปในร่างกาย ไม่จำเป็นต้องมีการติดเชื้อเอดส์เสมอไป ขึ้นกับจำนวนครั้งที่สัมผัส จำนวนและความดุร้ายของไวรัสเอดส์ที่เข้าสู่ร่างกายและภาวะภูมิต้านทานของร่างกาย ถ้ามีการติดเชื้อ อาการที่เกิดขึ้นมีได้หลายรูปแบบหรือหลายระยะตามการดำเนินของโรค
อาการที่น่าสงสัย
1. มีเชื้อราในปากบริเวณกระพุ้งแก้ม ลิ้น และเพดานปาก
2. ต่อมน้ำเหลืองโต ที่บริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ
3. เป็นงูสวัด หรือ แผลเริมชนิดลุกลาม
4. มีไข้ ท้องเสีย ผิวหนังอักเสบ น้ำหนักลดเรื้อรังเกิน 1
เดือน
อาการของโรคติดเชื้อ HIV
อาการของการติดเชื้อ HIV จะมีความหลากหลายขึ้นกับระยะของโรค
เนื่องจากเชื้อ HIV เป็นไวรัสชนิดหนึ่งอาการของการติดเชื้อ HIV
จะเหมือนอาการของไข้หวัดคือ มีไข้ ปวดศีรษะ มีผื่น อ่อนเพลีย
เราไม่สามารถวินิจฉัยได้จากอาการ แม้ว่าผู้ได้รับเชื้อ HIV
จะไม่มีอาการแต่เขาสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้
ฉนั้นผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงควรได้รับการเจาะเลือด
ในช่วงแรกของการติดเชื้อ HIV คุณอาจจะมีอาการดังต่อไปนี้
* ต่อมน้ำเหลืองโต ตับม้ามโต มักจะเป็นอาการอันแรกของการติดเชื้อ
* ท้องร่วง บางคนอาจจะเรื้อรัง
* น้ำหนักลด.
* มีไข้
* ไอและหายใจลำบาก
เมื่อไม่ได้รับการรักษาเชื้อก็จะแบ่งตัวเรื่อยและทำลายระบบภูมิคุ้มกันและกลายเป็นโรคเอดส์ซึ่งจะมีอาการดังนี้
- เหงื่ออกกลางคืน
- ไข้หนาวสั่น ไข้สูงเรื้อรัง
- ไอเรื้อรังและหายใจลำบาก
- ท้องร่วงเรื้อรัง
- ลิ้นเป็นฝ้าขาว
- ปวดศีรษะ
- ตามัวลงหรือเห็นเป็นเส้นลอยไปมา
- น้ำหนักลด
การติดเชื้อฉวยโอกาส
เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อย
หากเป็นผู้หญิงก็มีอาการตกขาวบ่อย เพลียและเหนื่อยง่าย
บางคนมีผื่นตามตัว
การดำเนินของโรค
HIV
ผู้ป่วยบางคนที่ได้รับเชื้อ HIV
และดำเนินไปสู่โรค AIDS เร็ว บางคนก็ดำเนินช้า ผู้ป่วยที่ดำเนินช้า(A
slow progress)อาจจะเนื่องจากพันธุกรรม
หรือได้รับเชื้อชนิดที่มีความรุนแรงน้อยซึ่งภูมิของร่างกายสามารถคุมเชื้อได้
และการปฏิบัติตัวที่ดี
ส่วนผู้ที่การดำเนินของเชื้อเร็วอาจจะเนื่องจากได้รับสายพันธ์ที่มีความรุนแรงมาก
เชื้อมีการแบ่งตัวมาก อายุมาก ติดยาเสพติด
ติดสุรา
ระยะอาการของโรคเอดส์
ระยะที่ 1 : ระยะที่ไม่มีอาการอะไร
*
ภายใน2-3 อาทิตย์แรกหลังจากได้รับเชื้อเอดส์เข้าไป ราวร้อยละ 10
ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายๆ ไข้หวัด คือมีไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ
ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต ผื่นตามตัว แขน ขาชาหรืออ่อนแรง
เป็นอยู่ราว 10-14 วันก็จะหายไปเอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจไม่สังเกต
นึกว่าคงเป็นไข้หวัดธรรมดา
* ราว 6-8 สัปดาห์ภายหลังติดเชื้อ
ถ้าตรวจเลือดจะเริ่มพบว่ามีเลือดเอดส์บวกได้
และส่วนใหญ่จะตรวจพบว่ามีเลือดเอดส์บวกภายหลัง 3 เดือนไปแล้ว
โดยที่ผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการอะไรเลย
เพียงแต่ถ้าไปตรวจก็จะพบว่ามีภูมิคุ้นเคยต่อไวรัสเอดส์อยู่ในเลือด
หรือที่เรียก ว่าเลือดเอดส์บวก
ซึ่งแสดงว่ามีการติดเชื้อเอดส์เข้าไปแล้ว
ร่างกายจึงตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนบางอย่างขึ้นมาทำปฏิกิริยากับไวรัสเอดส์เรียกว่าแอนติบอดีย์(antibody)
เป็นเครื่องแสดงว่าเคยมีเชื้อเอดส์เข้าสู่ร่างกายมาแล้ว
แต่ก็ไม่สามารถจะเอาชนะไวรัสเอดส์ได้คนที่มีเลือดเอดส์บวกจะมีไวรัสเอดส์อยู่ในตัวและสามารถแพร่โรคให้กับคนอื่นได้
* น้อยกว่าร้อยละ 5
ของคนที่ติดเชื้ออาจต้องรอถึง 6 เดือนกว่าจะมีเลือดเอดส์บวกได
ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงมา เช่น
แอบไปมีสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยา
โดยไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัยป้องกัน ตรวจตอน 3 เดือน
แล้วไม่พบก็ต้องไปตรวจซ้ำอีกตอน 6 เดือน
โดยในระหว่างนั้นก็ต้องใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเวลามีเพศสัมพันธ์กับภรรยา
และห้ามบริจาคโลหิตให้ใครในระหว่างนั้นผู้ติดเชื้อบางรายอาจมีต่อมน้ำเหลืองตามตัวโตได้
โดยโตอยู่เป็นระยะเวลานานๆ คือเป็นเดือนๆ ขึ้นไป
ซึ่งบางรายอาจคลำพบเอง หรือไปหาแพทย์แล้วแพทย์คลำพบ
ต่อมน้ำเหลืองที่โตนี้มีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ แข็งๆ ขนาด1-2 เซนติเมตร
อยู่ใต้ผิวหนังบริเวณด้านข้างคอทั้ง 2 ข้าง
ข้างละหลายเม็ดในแนวเดียวกัน คลำดูแล้วคลายลูกประคำที่คอไม่เจ็บ ไม
่แดง นอกจากที่คอต่อมน้ำเหลืองที่โตยังอาจพบได้ที่รักแร้และขาหนีบทั้ง
2 ข้าง
แต่ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบมีความสำคัญน้อยกว่าที่อื่นเพราะพบได้บ่อยในคนปกติทั่วไป
ต่อมน้ำเหลืองเหล่านี้จะเป็นที่พักพิงในช่วงแรกของไวรัสเอดส์
โดยไวรัสเอดส์จะแบ่งตัวอย่างมากในต่อมน้ำเหลืองที่โตเหล่านี้
ระยะที่ 2 : ระยะที่เริ่มมีอาการหรือระยะที่มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์
เป็นระยะที่คนไข้เริ่มมีอาการ แต่อาการนั้นยังไม่มากถึงกับจะเรียกว่าเป็นโรคเอดส์เต็มขั้น อาการในช่วงนี้อาจเป็นไข้เรื้อรัง น้ำ หนักลด หรือท้องเสียงเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุ นอกจากนี้อาจมีเชื้อราในช่องปาก , งูสวัด , เริมในช่องปาก หรืออวัยวะ เพศ ผื่นคันตามแขนขา และลำตัวคล้ายคนแพ้น้ำลายยุง จะเห็นได้ว่า อาการที่เรียกว่าสัมพันธ์กับเอดส์นั้น ไม่จำเพาะสำหรับโรคเอดส์เสมอไป คนที่เป็นโรคอื่นๆ ก็อาจมีไข้ น้ำหนักลด ท้องเสีย เชื้อราในช่องปาก งูสวัด หรือเริมได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่ว่าถ้ามีอาการเหล่านี้จะต้องเหมาว่าติดเชื้อเอดส์ไปทุกร้าย ถ้าสงสัยควรปรึกษา แพทย์และตรวจเลือดเอดส์พิสูจน์
ระยะที่ 3 : ระยะโรคเอดส์เต็มขั้น หรือที่ภาษาทางการเรียกว่าโรคเอดส์
เป็นระยะที่ภูมิต้านทานของร่ายกายเสียไปมากแล้ว
ผู้ป่วยจะมีอาการของการติดเชื้อจำพวกเชื้อฉกฉวยโอกาสบ่อย ๆ
และเป็นมะเร็งบางชนิด เช่น แคโปซี่ ซาร์โคมา(Kaposi's sarcoma)
และมะเร็งปากมดลูกการติดเชื้อฉกฉวยโอกาส หมายถึง
การติดเชื้อที่ปกติมีความรุนแรงต่ำ
ไม่ก่อโรคในคนปกติแต่ถ้าคนนั้นมีภูมิต้านทานต่ำลง
เช่นจากการเป็นมะเร็ง หรือจากการได้รับยาละทำให้เกิดวัณโรคที่ปอด
ต่อมน้ำเหลือง ตับ หรือสมองได้
รองลงมาคือเชื้อพยาธิที่ชื่อว่านิวโมซิส-ตีส-คารินิไอ
ซึ่งทำให้เกิดปอดบวมขึ้นได้(ไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ)
ต่อมาเป็นเชื้อราที่ชื่อ คริปโตคอคคัสซึ่งทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
มีอาการไข้ ปวดศีรษะ ซึมและอาเจียน
นอกจากนี้ยังมีเชื้อฉกฉวยโอกาสอีกหลายชนิด
เช่นเชื้อพยาธิที่ทำให้ท้องเสียเรื้อรัง และเชื้อซัยโตเมก กะโลไวรัส
(CMV) ที่จอตาทำให้ตาบอด หรือที่ลำไส้ทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย
และถ่ายเป็นเลือดเป็นต้นในภาคเหนือตอนบน มีเชื้อราพิเศษ ชนิดหนึ่งชื่อ
เพนนิซิเลียว มาร์เนฟฟิโอ ชอบทำให้ติดเชื้อที่ผิวหนัง
ต่อมน้ำเหลืองและมีการติดเชื้อในกระแสโลหิตแคโปซี่ ซาร์โค มา
เป็นมะเร็งของผนังเส้นเลือด ส่วนใหญ่จะพบตามเส้นเลือดที่ผิวหนัง
มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีม่วงๆ แดงๆ บนผิวหนัง คล้ายจุดห้อเลือด หรือไฝ
ไม่เจ็บไม่คันค่อยๆ ลามใหญ่ขึ้น ส่วนจะมีหลายตุ่ม
บางครั้งอาจแตกเป็นแผล เลือดออกได้ บางครั้งแคโปซี่ซาร์โคมา
อาจเกิดในช่องปากในเยื่อบุทางเดินอาหาร ซึ่งอาจทำให้มีเลือดออกมากๆ
ได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
หรือมะเร็งปากมดลูกได้
ดังนั้นผู้หญิงที่ติดเชื้อเอดส์จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก
6 เดือน
นอกจากนี้คนไข้โรคเอดส์เต็มขั้นอาจมีอาการทางจิตทางประสาทได้ด้วยโดยที่อาจมีอาการหลงลืมก่อนวัย
เนื่องจากสมองฝ่อเหี่ยว หรือมีอาการของโรคจิต หรืออาการชักกระตุก
ไม่รู้สึกตัว แขนขาชาหรือไม่มีแรง
บางรายอาจมีอาการปวดร้าวคล้ายไฟช๊อตหรือปวดแสบปวดร้อน
หรืออาจเป็นอัมพาตครึ่งท่อน ปัสสาวะ อุจจาระไม่ออก เป็นต้น
ในแต่ละปีหลังติดเชื้อเอดส์ร้อยละ 5-6
ของผู้ที่ติดเชื้อจะก้าวเข้าสู่ระยะเอดส์เต็มขั้นส่วนใหญ่ของคนที่เป็นโรคเอดส์เต็มขั้นแล้ว
จะเสียชีวิตภายใน2-4 ปี จากโรคติดเชื้อฉกฉวยโอกาสที่เป็นมาก
รักษาไม่ไห หรือโรคติดเชื้อที่ยังไม่มียาที่จะรักษาอย่างได้ผล
หรือเสียชีวิตจากมะเร็งที่เป็นมากๆ หรือค่อยๆ ซูบซีดหมดแรงไปในที่สุด
พบว่ายาต้านไวรัสเอดส์ที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้ในประเทศตะวันตกสามารถยืดชีวิตคนไข้ออกไปได้10-20
ปี และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น หรืออาจอยู่จนแก่ตายได้
ในทางการแพทย์จะใช้การตรวจ ซีดี4 ซึ่งเป็นการตรวจเลือดเพื่อนับจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด ซีดี4 ( ภูมิคุ้มกัน ) ถ้าซีดี4 ต่ำกว่า 200 หรือเมื่อเริ่มมีโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่าง ๆ เช่น ริ้วขาวข้างลิ้น เชื้อราในปาก เชื้อราในหลอดอาหาร เริมที่อวัยวะเพศบ่อยเดือนละครั้ง หรือเป็นรุนแรง วัณโรค ตุ่มพีพีอี งูสวัดที่รุนแรง หรือเป็นซ้ำใน 1 ปี เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบ พีซีพี เป็นต้น
การติดต่อ
ไวรัสเอดส์
พบได้ในปริมาณสูงในเลือด, น้ำอสุจิ, น้ำหลั่งในช่องคลอด
และน้ำหลั่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในร่างกาย เช่น น้ำไขสันหลัง, น้ำในช่องปอด,
น้ำในช่องท้อง, น้ำในช่องเยื่อหัวใจ
นอกจากนี้ไวรัสเอดส์ยังพบได้อีกแต่ ในปริมาณน้อย ในสิ่งเหล่านี้ เช่น น้ำนม, น้ำมูก, น้ำตา,
น้ำลาย, เสมหะ. เหงื่อ, อุจจาระและปัสสาวะ จากการศึกษาของกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข
ผู้ป่วยเอดส์ที่เสียชีวิตตั้งแต่ กันยายน 2527 - สิงหาคม 2538
ทั้งหมด 6,783 ราย 75.63%
ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ 8.27% ติดเชื้อจากการฉีดยาเสพติดเข้า เส้น
7.81% ติดเชื้อจากมารดา, 0.13% ติดเชื้อจากการให้เลือด และ 8.15%
ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ดังนั้นไวรัสติดต่อโดย
1.
การมีเพศสัมพันธ์กับผู้มีเชื้อไวรัสเอดส์ 2.
การใช้เข็มหรือของมีคมอื่นใดร่วมกับผู้มีเชื้อไวรัสเอดส์
รวมทั้งการรับเลือดจากผู้มีเชื้อไวรัสเอดส์ 3.
ทารกติดเชื้อไวรัสเอดส์จากมารดาซึ่งอาจเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์
หรือระหว่างคลอด หรือดื่มนมมารดา
การติดต่อของเชื้อ
HIV
เชื้อ HIV สามารถติดต่อได้หลายทางดังต่อไปนี้
1.
ทางเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะไม่ได้ใส่ถุงยางคุมกำเนิดเมื่อร่วมเพศกับกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ(ติดยาเสพติด
รักร่วมเพศ ไม่ทราบสถานะของคู่ขา )
ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศระหว่างชายหญิงหรือทางทวารหนัก หรือทางปาก
หรือการใช้อุปกรณืทางเพศร่วมกันโดยไม่ได้ทำความสะอาด
เช่นถุงยางคุมกำเนิด การที่มีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์เช่นหนองใน
แผลริมอ่อน หรือการใช้ยาฆ่า sperm จะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
HIV พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์
2.
การใช้เข็มร่วมกันสำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาเสพติดท่านควรจะใช้เข็มครั้งเดียวแล้วทิ้ง
ไม่ควรใช้ร่วมกับคนอื่นโดยเฉพาะใช้ร่วมกันหลายคนและยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อตับอักเสบ
บี
3. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ถูกเข็มตำ อัตราการติดเชื้อพบได้
3/1000 ราย
4. ติดต่อโดยการให้เลือดที่มีเชื้อโรค
ซึ่งปัจจุบันการตรวจเลือดและการคัดกรองการบริจาคทำให้ปัญหานี้ลดลง
5. การติดต่อจากแม่ไปลูก
เด็กประมาณ1/4-1/3ของผู้หญิงที่ติดเชื้อ HIV
ที่ไม่ได้รับการรักษาจะติดเชื้อ HIV
แต่ถ้าหากแม่ได้รับการรักษาโอกาสติดเชื้อจะลดลงโดยเฉพาะหากผ่าตัดทางหน้าท้อง
กิจกรรมที่ไม่ติดต่อ
หลายท่านที่มีเพื่อนหรือญาติเป็นโรค AIDS กังวลจะติดเชื้อจากผู้ป่วย
ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการน้อยเนื้อต่ำใจนำไปสู่การซึมเศร้าท่านไม่สามารถติดเชื้อจาก
อากาศ อาหาร น้ำ ยุงหรือแมลงกัด ห้องน้ำ ช้อนซ่อม
ท่านสามารถช่วยผู้ป่วยใส่เสื้อผ้า
ช่วยป้อนอาหารอาบน้ำโดยที่ไม่ติดเชื้อ
กิจกรรมที่ดำเนินตามปกติมักจะไม่ติดต่อ เช่น
-
การจับมือหรือการสัมผัสภายนอก
-
การดื่มน้ำแก้วเดียวกัน
-
การใช้ถ้วยชามร่วมกัน
-
สัมผัสกับเหงื่อหรือน้ำตาก็ไม่ติดต่อ
-
การว่ายน้ำในสระเดียวกัน
-
การใช้โถส้วมเดียวกัน
-
ถูกแมลงหรือยุงกัด
-
การจูบกัน
-
การบริจาคเลือด
การป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอดส์
1. งดการสำส่อนทางเพศ
2. หากมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่ใช้คู่ครองของตนเอง
ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
3. สตรีติดเชื้อไวรัสเอดส์
ควรขอคำแนะนำก่อนการตั้งครรภ์
4.
หลักเลี่ยงการรับเลือดโดยไม่จำเป็นหากมีความจำเป็น
ต้องเป็นเลือดที่ผ่านการทดสอบว่าปราศจากเชื้อไวรัสเอดส์แล้วเท่านั้น
และจะปลอดภัยยิ่งขึ้น
หากได้รับเลือดจากผู้ป่วยที่ไม่มีประวัติสำส่อนทางเพศ
หรือติดยาเสพติด
5. เลี่ยงการใช้ของมีคมร่วมกัน เช่น เข็มฉีดยา
มีดโกน รวมทั้งการฝังเข็ม และเจาะหู สักยันต์
อ่านรายละเอียดต่อที่ http://dpc9.ddc.moph.go.th/aids/aids.html
|
|
|