รวงผึ้ง กับ หนอนผีเสื้อ


หนอนผีเสื้อ

บางครั้งคุณอาจจะเคยพบว่ามีผีเสื้อมาวางไข่ในรวงผึ้งที่ไม่มีผึ้งอยู่แล้ว  และจากไข่ก็กลายเป็นหนอน  เมื่อเป็นหนอนแล้วก็เริ่มหาอาหารโดยการชอนไชไปตามรวงผึ้ง  จนทำให้หลอดรวงผึ้งที่เป็นระเบียบสวยงามถูกทำลายลงตามทางการเคลื่อนที่ของหนอนผีเสื้อ

แต่ใครจะคิดล่ะ  ว่ามันมีประโยชน์กับผึ้งเหมือนกันนะ

การที่มีหนอนผีเสื้อมาอยู่ในรวงผึ้ง  เป็นการกระตุ้นให้ผึ้งสร้างรังใหม่  เนื่องจากสภาพรังไม่สมบูรณ์พอสำหรับผึ้ง  รังผึ้งที่อ่อนแอเท่านั้นที่หนอนผีเสื้อจะสามารถรบกวนได้  เพราะรังผึ้งปกติจะมีการป้องกันอย่างดีจากผึ้งที่ดูแลรัง  และเมื่อผึ้งอยู่รังเดิมนาน ๆ  จะมีผลทำให้ผึ้งรุ่นต่อ ๆ  ไปมีขนาดตัวเล็กลง  เนื่องจากดักแด้ภายในหลอดรวงหนาขึ้น  จึงต้องมีการย้ายรังโดยมีหนอนผีเสื้อเป็นปัจจัยหนึ่ง

และแน่นอน  เห็นมันทำลายรวงผึ้งอย่างนี้ก็ต้องมีโทษกับผึ้งแน่ ๆ

    สร้างความเสียหายแก่รวงผึ้ง   รบกวนกิจกรรมของผึ้ง  สร้างความสกปรก  อาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคซึ่งอาจก่อโรคต่อผึ้ง  คุณภาพของผึ้งและรังผึ้งแย่ลง  ทำลายความสวยงาม

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 8393เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2005 20:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ทำไมรังผึ้งจึงมีลักษณะเป็นหกเหลี่ยมอยากรู้ลักษณะคุณสมบัติประโยชน์ของรังผึ้งว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้าง ช่วยตอบให้ด้วย เพราะต้องการนำความรู้นี้มาประกอบการทำงานบางส่วน 

ขอบคุณที่ให้ความกรุณา

   เซลล์รวงผึ้งเป็นรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า เพราะธรรมชาติคัดสรรให้ผึ้งที่ทำรวงรังแบบนี้อยู่รอดมาไม่ต่ำกว่า 50 ล้านปี ดังนั้นการสร้างรวงรังเป็นรูปหกเหลี่ยมของผึ้ง จะถูกฝังอยู่ในยีนของผึ้งงานแต่ละตัวว่าต้องสร้างรังแบบนี้

   ทางด้านสถาปัตยกรรมของการสร้างรวงแบบแป็นหกเหลี่ยมด้านเท่านี้จะเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ของผึ้งเนื่องจากหลอดรวงรูปหกเหลี่ยมด้านเท่านี้ ใช้งาน 1. เป็นที่เกิดและเจริญเติบโตของผึ้ง 2. เป็นที่เก็บสะสมน้ำหวาน/น้ำผึ้ง (น้ำหนักมาก) 3. เป็นที่เก็บสะสมเกสรดอกไม้

   การที่เป็นที่เกิดและเจริญเติบโตของผึ้ง ซึ่งมีรูปร่างแบบทรงกระบอกก็เหมาะสมสำหรับรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า เพราะมีความใกล้เคียงกับรูปวงกลมทรงกระบอก

   การที่ต้องรองรับน้ำหนักของน้ำผึ้งมากๆ ก็เหมาะสมสำหรับหลอดหกเหลี่ยมด้านเท่าที่นอกจากจะใช้ฐานรวงรังด้วยกันแล้ว ยังใช้ผนังหลอดรวงอื่นๆ ช่วยแบกรับน้ำหนักของน้ำผึ้งด้วยกันได้ และการที่ใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาพวกไขผึ้ง (wax) ทำให้มีน้ำหนักเบา เหนียวทนทาน ประกอบกับมีผนังร่วมกันทำให้รับน้ำหนักได้มาก ประมาณว่า ไขผึ้งหนัก 50 กรัม สร้างเป็นหลอดเซลล์ 2 ด้าน ประมาณ (ผึ้งพันธุ์) 7200 เซลล์ สามารถรับน้ำหนักน้ำผึ้งได้ถึง 5,000 กรัม หมายความว่า วัสดุที่มีน้ำหนักเบาเช่นไขผึ้ง เมื่อใช้สถาปัตยกรรมด้านโครงสร้างไปสร้างเป็นรวงผึ้งแล้ว สามารถรับน้ำหนัก (น้ำผึ้ง) ได้มากกว่าน้ำหนักตัวเองอย่างน้อย 50 -100 เท่า

   อยากทราบว่ามีวัสดุใดในโลกที่ทำได้แบบนี้บ้าง

อยากรู้เหมือนกันค่ะว่ามีวัสดุใดในดลกที่เหมือนกับวัสดุที่ผึ้งใช้ทำรังบ้าง.........อยากออกแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นแบบนี้เหมือนกัน.เรียนถาปัดอยู่ค่ะตอนนี้ทำโปรเจคโดยใช้รวงผึ้งเป็นแนวความคิดอยู่ตอบด้วยนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท