โครงการบริหารจัดการชุดโครงการวิจัยและพัฒาวิชาชีพครู ปี 2548 ภูมิภาคกรุงเทพมหานคร


เอกสารโครงการวิจัยระดับภูมิภาค กรุงเทพมหานคร

 

ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครู

ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ

กลุ่มภูมิภาคกรุงเทพมหานคร

ปีงบประมาณ  2548

*****************

กฤษดา

1.ชื่อโครงการ

                ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภูมิภาคกรุงเทพมหานคร ปี 2548

 

2.หัวหน้าชุดโครงการ 
                ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.กฤษดา กรุดทอง  
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

 

3.ความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย        
                 3.1 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พศ. 2542 กำหนดให้มีการปฏิรูปการจัดการศึกษาโดยมุ่งเน้นในเรื่องสำคัญ คือ (ก)การจัดการศึกษาที่ยึดสาระและมาตรฐานการเรียนรู้  (ข) การจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  (ค) การจัดการศึกษาที่ใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือ และ (ง) การวัดประเมินผลการเรียนรู้จากสภาพจริง และความในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 มาตรา  8 กำหนดภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครูผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับความเป็นวิชาชีพชั้นสูง
                3.2 เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปทางการศึกษาข้างต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏจึงได้พัฒนาหลักสูตรการฝึกหัดครู 5 ปีขึ้นเมื่อปี 2545-46 และได้เริ่มผลิตครูตามหลักสูตรนี้ในปี  2547 หลักสูตรนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดหลักสูตรการฝึกหัดครูที่ใช้นวัตกรรมการจัดการศึกษาใหม่ในหลายเรื่องคือ การจัดการฝึกหัดครูที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้(Learning Outcomes)การจัดโครงสร้างหลักสูตรแบบชุดวิชา(Modular System) และการจัดการเรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Leaner-Centered Approach)
               3.3 เมื่อแนวคิดหลักของการจัดการฝึกหัดครูเปลี่ยนแปลงไป รูปแบบและวิธีการจัดการฝึกหัดครูก็ได้เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยเฉพาะการฝึกหัดครูหลักสูตร 5 ปีนี้ต้องการเน้นการเรียนทฤษฎีร่วมกับการปฏิบัติ การเรียนจากสถานการณ์จริงรวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนานักศึกษาครูระหว่างคณะครุศาสตร์ โรงเรียนและชุมชนท้องถิ่นด้วย     ดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจะต้องพัฒนาระบบการบริหารจัดการ หลักสูตร การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาครู และการประเมินพัฒนาการของนักศึกษาครูให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  รวมถึงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูซึ่งถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะทำให้การจัดการฝึกหัดครู 5 ปีบังเกิดผลสำเร็จได้ตามเป้าหมาย
                3.4 มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภูมิภาคกรุงเทพมหานครจึงถือเป็นภารกิจสำคัญในการที่พัฒนาระบบการผลิตครู 5 ปีทั้งระบบ นับตั้งแต่ หลักสูตรและโครงสร้างหลักสูตร การพัฒนาอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์นิเทศก์   การบริหารจัดการหลักสูตร การพัฒนาคุณลักษณะและทักษะแก่นักศึกษา รวมทั้งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูอย่างเป็นระบบ รวมถึง   การพัฒนาโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครูและการพัฒนาครูพี่เลี้ยงในโรงเรียนเครือข่ายร่วมพัฒนาวิชาชีพด้วย
3.5 มหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภูมิภาคกรุงเทพมหานครประกอบด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏ 6 แห่งคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จึงได้เสนอโครงการวิจัยและพัฒนาครูของกลุ่มภูมิภาคกรุงเทพมหานครขึ้น เพื่อวิจัยและติดตามหลักสูตรการผลิตครู 5 ปี วิจัยและพัฒนาระบบการบริหารจัดการหลักสูตรการผลิตครู 5 ปี  วิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ของชุดวิชาในหลักสูตรการผลิตครู 5 ปีและวิจัยและพัฒนาโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู การดำเนินงานวิจัยนี้ต้องอาศัยการบริหารจัดการให้เกิดมีโครงการวิจัยในแต่ละมหาวิทยาลัย  มีการดำเนินการวิจัย  มีการประสานงาน  ติดตามผล  และพัฒนานักวิจัย  ตลอดจนการสังเคราะห์ผลงานวิจัย  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน  จึงมีโครงการวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูชุดภูมิภาคกรุงเทพมหานครนี้ขึ้น ผลการวิจัยนี้จะเกิดประโยชน์ต่อพัฒนางานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา  พัฒนาเครือข่ายนักวิจัย พัฒนากระบวนการผลิตครูและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิตครูของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคกรุงเทพมหานคร ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้นและใช้เป็นข้อมูลเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการจัดการฝึกหัดครู
 
4.ผลผลิตของชุดโครงการวิจัย
               4.1 ได้เครือข่ายนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคกรุงเทพมหานคร  
                     4.1.1 เครือข่ายของนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏระดับภูมิภาค 1 เครือข่าย   ประกอบด้วยหัวหน้าชุดโครงการวิจัยระดับภูมิภาคและนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ 5 แห่งคือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
                     4.1.2 เครือข่ายของนักวิจัยระดับโครงการวิจัย 11 เครือข่าย  ประกอบด้วย  มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยละ 1-2 เครือข่าย   
                     ในเครือข่ายหนึ่งประกอบด้วยนักวิจัยจากคณะครุศาสตร์ โรงเรียน นักศึกษาบัณฑิตศึกษา และนักศึกษาครู รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

                4.2 ได้องค์ความรู้ทางการผลิตครูตามหลักสูตร 5 ปีของคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่ม
ภูมิภาคกรุงเทพมหานคร 5 แห่ง ประกอบด้วย
                      4.2.1 ต้นแบบของหลักสูตรการฝึกหัดครู5ปีของคณะครุศาสตร์                       3  รูปแบบ 
                      4.2.2 ต้นแบบของระบบบริหารจัดการหลักสูตร 5 ปี                                       2 ระบบ
                      4.2..3 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในชุดวิชาของหลักสูตรฝึกหัดครู5ปี                  2 รูปแบบ
                      4.2..4 ต้นแบบการพัฒนาครูและโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู                       4 โรงเรียน
 
5.        โจทย์วิจัยและคำถามการวิจัย
            5.1 โจทย์วิจัย
                     5.1.1 เครือข่ายการวิจัยของชุดโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภูมิภาคกรุงเทพมหานครมีการบริหารจัดการอย่างไร
                     5.1.2  การผลิตครูตามหลักสูตร5 ปีของกลุ่มภูมิภาคกรุงเทพมหานครที่มีคุณภาพเป็น
อย่างไร
            5.2 คำถามวิจัย
                     5.2.1 การบริหารจัดการเครือข่ายการวิจัย
                            5.2.1.1 การบริหารชุดโครงการวิจัยของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาค
                                       กรุงเทพมหานครมีระบบ รูปแบบ กลไกและวิธีการอย่างไร
                            5.2.1.2 การบริหารโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 6 แห่งมีระบบ รูปแบบ กลไกและวิธีเป็นอย่างไร
                     5.2.2 การผลิตครูหลักสูตร 5 ปี
                             5.2.2.1 หลักสูตรการผลิตครู 5 ปีของคณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคกรุงเทพ มหานครมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ควรปรับปรุงอย่างไร
                             5.2.2.2 การบริหารจัดการคุณภาพของหลักสูตรครู5ปีของคณะครุศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคกรุงเทพมหานครมีประสิทธิภาพมากน้อยพียงใด ควรปรับปรุงอย่างไร
                             5.2.2.3 การจัดการเรียนรู้ของชุดวิชาในหลักสูตรการผลิตครู5ปีของคณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคกรุงเทพมหานครเป็นไปตามหลักการของหลักสูตรครู 5ปีหรือไม่ ควรปรับปรุงอย่างไร
                             5.2.2.4 ครูและโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครูมีมาตรฐานในฐานะโรงเรียนร่วม
พัฒนาวิชาชีพครูตามหลักสูตรครู 5ปีของคณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาค กรุงเทพมหานครเพียงใด ควรปรับปรุงอย่างไร

 

6.  วัตถุประสงค์การวิจัย

            6.1 วัตถุประสงค์ทั่วไป

                เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการชุดโครงการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิตครู 5 ปีของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคกรุงเทพมหานคร
            6.2 วัตถุประสงค์เฉพาะ
                 6.2.1  เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบบริหารการจัดการเครือข่ายการวิจัยพัฒนาวิชาชีพครูระดับภูมิภาค ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคกรุงเทพมหานคร  
                 6.2.2 เพื่อศึกษาองค์ความรู้ในการผลิตครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภูมิภาคกรุงเทพมหานคร  

7.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                 7.1 ได้พัฒนางานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ
                 7.2  ได้พัฒนาเครือข่ายนักวิจัยของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 
                 7.3  ได้พัฒนากระบวนการผลิตครูของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ
                 7.4  ได้พัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิตครูของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ

8.แนวทางการดำเนินการวิจัย
                ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูประจำปี 2548  ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยโครงการวิจัย 11 โครงการ มีการบริหารโครงการ 3 ระดับ
                (ก)ระดับประเทศ   เป็นการบริหารจัดการชุดโครงการวิจัย 8 ภูมิภาคทั่วประเทศ
                (ข)ระดับภูมิภาค เป็นการบริหารจัดการชุดโครงการวิจัยในหนึ่งภูมิภาค 
(ค)ระดับมหาวิทยาลัย เป็นการบริหารเป็นการบริหารจัดการโครงการวิจัยในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
                การบริหารโครงการวิจัยทั้งสามระดับมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้
                8.1 พัฒนาโจทย์การวิจัยร่วมของชุดโครงการวิจัยทุกระดับให้สอดคล้องตรงกัน
                8.2 สนับสนุนการวิจัย ประสานงานการวิจัย พัฒนาเครือข่าย การวิจัยและจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขึ้นในโครงการวิจัยและภายในชุดโครงการทั้งระดับมหาวิทยาลัย ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ
                8.3 ประสานงานเพื่อสร้างแนวทางในการจัดระบบส่งเสริม ติดตาม กำกับให้กิจกรรมของโครงการวิจัยเป็นไปตามแผนและนโยบาย  
                8.4  สังเคราะห์ผลงานวิจัยในทั้งสองมิติ คือ มิติด้านเนื้อหาองค์ความรู้ด้านการผลิตและพัฒนาครูตามหลักครูผลิตครู 5 ปี และมิติของกระบวนการบริหารจัดการโครงการวิจัย การจัดเครือข่ายวิจัย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการวิจัย  การพัฒนาและปรับปรุงงานของการวิจัยทุกระดับ
                8.5 ประสานงาน เชื่อมโยง สร้างเครือข่ายและเผยแพร่ผลการวิจัยที่เกิดขึ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการวิจัยนี้ไปใช้ประโยชน์
 
9.  ระยะเวลาการดำเนินการ
                ระยะเวลาการดำเนินการวิจัย  15  เดือน  (ตุลาคม 2547 – มกราคม 2549)

10.งบประมาณชุดโครงการ
                งบประมาณชุดโครงการวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครู ปี 2548   รวมทั้งสิ้น 1,381,000 บาท
  จำแนกเป็น
                10.1 งบบริหารชุดโครงการวิจัยของกลุ่มภูมิภาคกรุงเทพมหานคร             250,000 บาท
                10.2 งบโครงการวิจัย 11 โครงการ                                                 1,031,000 บาท
                                                                                                                 

                ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภูมิภาคกรุงเทพมหานคร ปี 2548                ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.กฤษดา กรุดทอง   มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พศ. 2542 กำหนดให้มีการปฏิรูปการจัดการศึกษาโดยมุ่งเน้นในเรื่องสำคัญ คือ (ก)การจัดการศึกษาที่ยึดสาระและมาตรฐานการเรียนรู้  (ข) การจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  (ค) การจัดการศึกษาที่ใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือ และ (ง) การวัดประเมินผลการเรียนรู้จากสภาพจริง และความในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 มาตรา  8 กำหนดภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครูผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับความเป็นวิชาชีพชั้นสูง                3.2 เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปทางการศึกษาข้างต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏจึงได้พัฒนาหลักสูตรการฝึกหัดครู 5 ปีขึ้นเมื่อปี 2545-46 และได้เริ่มผลิตครูตามหลักสูตรนี้ในปี  2547 หลักสูตรนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดหลักสูตรการฝึกหัดครูที่ใช้นวัตกรรมการจัดการศึกษาใหม่ในหลายเรื่องคือ การจัดการฝึกหัดครูที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้(Learning Outcomes)การจัดโครงสร้างหลักสูตรแบบชุดวิชา(Modular System) และการจัดการเรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Leaner-Centered Approach)                3.3 เมื่อแนวคิดหลักของการจัดการฝึกหัดครูเปลี่ยนแปลงไป รูปแบบและวิธีการจัดการฝึกหัดครูก็ได้เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยเฉพาะการฝึกหัดครูหลักสูตร 5 ปีนี้ต้องการเน้นการเรียนทฤษฎีร่วมกับการปฏิบัติ การเรียนจากสถานการณ์จริงรวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนานักศึกษาครูระหว่างคณะครุศาสตร์ โรงเรียนและชุมชนท้องถิ่นด้วย     ดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจะต้องพัฒนาระบบการบริหารจัดการ หลักสูตร การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร การจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาครู และการประเมินพัฒนาการของนักศึกษาครูให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  รวมถึงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูซึ่งถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะทำให้การจัดการฝึกหัดครู 5 ปีบังเกิดผลสำเร็จได้ตามเป้าหมาย                 3.4 มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภูมิภาคกรุงเทพมหานครจึงถือเป็นภารกิจสำคัญในการที่พัฒนาระบบการผลิตครู 5 ปีทั้งระบบ นับตั้งแต่ หลักสูตรและโครงสร้างหลักสูตร การพัฒนาอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์นิเทศก์   การบริหารจัดการหลักสูตร การพัฒนาคุณลักษณะและทักษะแก่นักศึกษา รวมทั้งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูอย่างเป็นระบบ รวมถึง   การพัฒนาโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครูและการพัฒนาครูพี่เลี้ยงในโรงเรียนเครือข่ายร่วมพัฒนาวิชาชีพด้วย 3.5 มหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภูมิภาคกรุงเทพมหานครประกอบด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฏ 6 แห่งคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จึงได้เสนอโครงการวิจัยและพัฒนาครูของกลุ่มภูมิภาคกรุงเทพมหานครขึ้น เพื่อวิจัยและติดตามหลักสูตรการผลิตครู 5 ปี วิจัยและพัฒนาระบบการบริหารจัดการหลักสูตรการผลิตครู 5 ปี  วิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ของชุดวิชาในหลักสูตรการผลิตครู 5 ปีและวิจัยและพัฒนาโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพครู การดำเนินงานวิจัยนี้ต้องอาศัยการบริหารจัดการให้เกิดมีโครงการวิจัยในแต่ละมหาวิทยาลัย  มีการดำเนินการวิจัย  มีการประสานงาน  ติดตามผล  และพัฒนานักวิจัย  ตลอดจนการสังเคราะห์ผลงานวิจัย  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน  จึงมีโครงการวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูชุดภูมิภาคกรุงเทพมหานครนี้ขึ้น ผลการวิจัยนี้จะเกิดประโยชน์ต่อพัฒนางานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา  พัฒนาเครือข่ายนักวิจัย พัฒนากระบวนการผลิตครูและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิตครูของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคกรุงเทพมหานคร ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้นและใช้เป็นข้อมูลเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการจัดการฝึกหัดครู               4.1 ได้เครือข่ายนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคกรุงเทพมหานคร                       4.1.1 เครือข่ายของนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏระดับภูมิภาค 1 เครือข่าย   ประกอบด้วยหัวหน้าชุดโครงการวิจัยระดับภูมิภาคและนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ 5 แห่งคือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา                      4.1.2 เครือข่ายของนักวิจัยระดับโครงการวิจัย 11 เครือข่าย  ประกอบด้วย  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีและมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยละ 1-2 เครือข่าย                        ในเครือข่ายหนึ่งประกอบด้วยนักวิจัยจากคณะครุศาสตร์ โรงเรียน นักศึกษาบัณฑิตศึกษา และนักศึกษาครู รวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง                เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการชุดโครงการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการผลิตครู 5 ปีของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคกรุงเทพมหานคร                  6.2.1  เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบบริหารการจัดการเครือข่ายการวิจัยพัฒนาวิชาชีพครูระดับภูมิภาค ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคกรุงเทพมหานคร                   6.2.2 เพื่อศึกษาองค์ความรู้ในการผลิตครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภูมิภาคกรุงเทพมหานคร  
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 834เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2005 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท