ต่อยอด.. “การเขียน CLINICAL TRACER”


การเขียน CLINICAL TRACER ไม่ใช่เรื่องง่าย...ใครไม่เคยทำอาจจะไม่รู้...เอาแค่ว่าจะเลือกเรื่องอะไรดี..ก็สุดยอด..ความยากแล้วค่ะ

ฉันได้อ่าน การเขียน  CLINICAL TRACER  อย่างเข้าใจ ของคุณหมอ โดย DR. chalermpong sukontapol  ฉันเกิดความคิดต่อยอดขึ้น

การเขียน CLINICAL TRACER  ไม่ใช่เรื่องง่าย...ใครไม่เคยทำอาจจะไม่รู้.....เขียนเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการส่ง เพื่อ Hospital Accreditation...

 

เอาแค่ว่าจะเลือกเรื่องอะไรดี..ก็สุดยอด..ความยากแล้วค่ะ

...แต่ก่อนทำเหมือนตาบอด...อาจารย์แนะนำแล้วก็ยังดูยาก

...แต่ตอนนี้...ไม่ยากเกินไปแล้วค่ะ..เพราะ

 

ท่าน DR. chalermpong sukontapol

ท่านแนะนำการเลือกไว้ให้ทราบแล้ว....ซึ่งเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง ทำให้การเลือกเรื่องที่จะนำเสนอง่ายขึ้น 

ที่จะยากต่อมาคือท่านที่จะลงมือเขียนนั้น

...ต้องรู้จริง....เรียกว่ารู้แจ้งเห็นจริงในงาน...จึงจะเขียนให้ผู้ไม่รู้แจ้ง....ไม่เคยเห็นจริง...ในงานได้รับทราบและเข้าใจในกระดาษเพียง 1-2หน้า….

 

นั่นแหละค่ะ..ยากที่สุด

 

....ที่มาของข้อมูลนั้นมาจากทั้งทีม...ยิ่งถ้าเป็นหลายวิชาชีพ  หลายคน   งานซับซ้อน...ยิ่งยากที่จะดึงประเด็นสรุป

 จากประสบการณ์....ดิฉันเริ่มดังนี้ค่ะ

1.     เริ่มต้นจาก ...หัตถการการดมยาสลบผู้ป่วยที่ไม่ค่อยได้ทำ  เช่น การดูแลผู้ป่วยดมยาสลบเปลี่ยนไต

 

2.     ประเด็นสำคัญ คือความใหม่  ความยาก  มีความเสี่ยงสูง และต้องการการการดูแลที่เป็นทีมจริงๆ

 

3.     เครื่องชี้วัดและการใช้ประโยชน์ คืออัตราการติดเชื้อของผู้ป่วย , อัตราการหาย อัตราการตาย เป็นต้น ตลอดจนปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติตามแนวทาง

 

4.     กระบวนการให้ได้คุณภาพ เริ่มตั้งแต่ การดูแล ประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัด , การดูแลผู้ป่วยระหว่างผ่าตัด , การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด , การดูแลต่อเนื่อง  ตลอดจนดูผลลัพธ์ (Outcome)ที่เกิดกับผู้ป่วย

 

5.      เรื่องนี้มีการทำแนวทางการดูแลไว้แล้ว  นำมาปฏิบัติแล้วและกำลังนำกลับมาประเมินเพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบท( รพ.ของเรา)ค่ะ

 

ที่ทำมาอาจจะไม่สมบูรณ์นักเพราะตอนลงมือทำใหม่ๆเป็นกลุ่มยุคบุกเบิกค่ะ....แต่เดี๋ยวนี้เริ่มมีหลาย รพ.ที่ทำแล้วและทำได้ดี...

ท่านใดมีเทคนิคดีๆนำมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ
หมายเลขบันทึก: 83065เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2007 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • แวะมาทักทายค่ะพี่ติ๋ว   กลัวเหงา  อย่าลืมดูบันทึกหว้านะคะอยู่ข้างบนพี่เอง  เคล็ดลับตอนทำร้านค่ะ
พี่ติ๋วขา....อันนี้ไม่เข้าใจค่ะ......อิอิอิ.....คนละสายงานเนอะ...แต่ก็น่าจะปรับใช้ได้จริงมั้ยค่ะ.....ลองอ่านอีกที....

P
สวัสดีค่ะ
  • รักเพื่อนจริงๆเลยนะคะ...  กลัวเพื่อนเหงาเลยแวะมาคุยด้วย..อีกแน่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • เดี๋ยวจะแวะไปอ่านค่ะ...ป่านนี้คนตรึมเต็มร้านแล้วมังคะ
P

สวัสดีค่ะ

  • เรื่องนี้..... เป็นเล่าการตามร่องรอยของเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่น่าสนใจ  หรือสำคัญ...ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งค่ะ..
  • เป้าหมาย....ก็เพื่อให้ทีมที่ดูแลได้มีโอกาสทบทวนการให้บริการรักษาพยาบาลนั่นแหละค่ะ...ว่าทำได้ดีหรือยัง...ทำได้ดีกว่านี้ได้อีกไหม..ทำนองนี้น่ะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
อืมม์...ขอบคุณค่ะพี่ติ๋ว...ประมาณเดียวกับที่แดจังกึม ไปตามดูว่าฮ่องเต้ ป่วยได้อย่างไร แล้วจะรักษาอย่างไร ประมาณนั้นมั้ยค่ะ
  • ใช่มังคะ อ.Paew .....พี่ติ๋วไม่ติดแดจังกึมน่ะค่ะเลยไม่ทราบท้องเรื่องละเอียดนัก....
  • มีแพทย์หลายท่านบอกว่าแดจังกึมเป็นต้นแบบของหมอคุณภาพที่ดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม (Holistic)ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท