การจัดเวที KM Research ของ สคส.


เวทีวันนี้ที่คึกคัก เพราะเรา organized ต้องไล่จับตัวบางท่าน คนที่รู้จัก เพื่อ ensure ว่าเวทีจะมี input ที่ดี เป็นเวทีที่ semi-manage

ดิฉันได้มีโอกาสไปร่วมเวที KM Research ที่จัดโดย สคส. เมื่อวันศุกร์ที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๐ ณ ห้องประชุม ๑ สกว. ชั้น ๑๔ อาคาร SM Tower งานเริ่มตั้งแต่ ๐๘.๓๐ น. มี ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช เป็นผู้ดำเนินรายการในรอบเช้า ส่วนรอบบ่ายเป็นหน้าที่ของอาจารย์ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ผู้เข้าประชุมทั้งหมดประมาณ ๓๐ กว่าคน หลากหลายสาขาวิชาชีพ

สาระของการประชุมมีมากมาย อาจารย์วิจารณ์แจ้งว่าให้ติดตามจากบันทึกของอาจารย์วิมลศรี ศุษิลวรณ์ หรือ "ครูใหม่" ที่ได้ทำหน้าที่เป็น “คุณลิขิต” ในวันนั้น และดิฉันพบว่าเริ่มมีบันทึกออกมาเรื่อยๆ แล้วคือบล็อกของคุณธวัช หมัดเต๊ะ ดิฉันขอเล่าถึงส่วนที่เป็นวิธีดำเนินการประชุม

เมื่อถึงเวลาอาจารย์วิจารณ์ก็เปิดการประชุม พร้อมกับกล่าวว่าคุณค่าจากการประชุมในครั้งนี้ จะเกิดจาก interaction ระหว่างกัน ไม่ใช่เกิดจาก สคส. ให้ทุกคนแนะนำตัวสั้นๆ ว่าชื่ออะไร มาจากไหน และก่อนจะเข้าสู่ช่วงเวลาของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อาจารย์วิจารณ์ยังทำความตกลงด้วยว่าการประชุมในวันนี้เป็นการประชุมแบบ KM ต้องอาศัย deep listening จึงขอให้ผู้เข้าประชุมปิดเสียงโทรศัพท์มือถือ ถ้าจะคุยโทรศัพท์ก็ขอให้ไปพูดข้างนอกห้อง ข้อความนี้จะปรากฏในทุกสไลด์ของ PowerPoint ด้วย

นอกจากนี้อาจารย์วิจารณ์ยังขอให้ช่วยกันสร้างบรรยากาศสบายๆ ให้ทุกคนใช้สมองทั้ง ๒ ซีก ถามอย่าง AI/Positive Questions ไม่ถามแบบซักทนาย เป็นคำถามด้วยความเป็นกัลยาณมิตร ตอบได้อย่างมั่นใจและไม่มั่นใจ ไม่เน้นถูก-ผิด เพราะต้องการ creativity สูง

สคส.ได้เชิญให้ ดร.ยุวนุช ทินนะลักษณ์ มาเล่าประสบการณ์การทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของตนเอง เปรียบเทียบกับการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาไทยที่ได้เรียนรู้จากเวที KM Thesis ในงานมหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ อาจารย์ยุวนุชเล่าแบบที่เรามองเห็นภาพและยังทำให้ได้รู้ถึงวิธีการจัดการศึกษาของฝรั่งเศสไปด้วย นักศึกษาปริญญาเอก ๒ คนที่ได้มานำเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์ของตนคือคุณไพฑูรย์ ช่วงฉ่ำ และอาจารย์กฤตกร ทวิชศรี

 บรรยากาศในห้องประชุม

  <p>ตลอดการประชุมในวันนั้น ดิฉันรับรู้ได้ถึงบรรยากาศที่เป็นกันเอง ทุกคนเต็มใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และความคิดเห็น ให้ข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์ ทำให้เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วมาก ได้เรียนรู้และข้อคิดเกี่ยวกับงานวิจัยมากมาย แถมเรื่องของการเรียนการสอนมาด้วย </p><p>เราได้รู้จากอาจารย์วิจารณ์ก่อนปิดการประชุมว่า “เวทีวันนี้ที่คึกคัก เพราะเรา organized ต้องไล่จับตัวบางท่าน คนที่รู้จัก เพื่อ ensure ว่าเวทีจะมี input ที่ดี เป็นเวทีที่ semi-manage”</p><p>อาจารย์วิจารณ์กล่าวว่าวันนี้ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ มีการทำคลอด KMR CoP หวังว่าคงมีสุขภาพดี ไม่เป็น infant mortality เติบโตเป็นวัยรุ่นที่สง่างามและทำประโยชน์แก่สังคม</p><p>วัลลา ตันตโยทัย วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๐</p>

คำสำคัญ (Tags): #km research#kmr
หมายเลขบันทึก: 82497เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2007 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ได้แนวคิดดีจากบล็อกอาจารย์อีกแล้ว

 ขอ อนุญาตินำไปใช้เลยค่ะ

ชอบ เทคนิค อาจารย์วิจารณ์ ที่

ให้ทุกคนแนะนำตัวสั้นๆ ว่าชื่ออะไร มาจากไหน และก่อนจะเข้าสู่ช่วงเวลาของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำความตกลงด้วยว่าการประชุมในวันนี้เป็นการประชุมแบบ KM ต้องอาศัย deep listening จึงขอให้ผู้เข้าประชุมปิดเสียงโทรศัพท์มือถือ ถ้าจะคุยโทรศัพท์ก็ขอให้ไปพูดข้างนอกห้อง ข้อความนี้จะปรากฏในทุกสไลด์ของ PowerPoint ด้วย

 อาจารย์วิจารณ์ยังขอให้ช่วยกันสร้างบรรยากาศสบายๆ ให้ทุกคนใช้สมองทั้ง ๒ ซีก ถามอย่าง AI/Positive Questions ไม่ถามแบบซักทนาย เป็นคำถามด้วยความเป็นกัลยาณมิตร ตอบได้อย่างมั่นใจและไม่มั่นใจ ไม่เน้นถูก-ผิด เพราะต้องการ creativity สูง

คุณหมอรวิวรรณตื่นเช้ามากๆ เลยนะคะ ตรงข้ามกับดิฉันที่ชอบนอนดึกแต่ตื่นสายหน่อย ยิ่งเวลาทำงานติดพัน ไม่กล้าจะรอเอาไว้ทำตอนเช้า เพราะกลัวจะตื่นไม่เช้าพอ วันไหนที่ต้องการตื่นเช้ามากๆ จะใส่นาฬิกาข้อมือเข้านอนด้วย

ลืมเล่าอีกอย่างคือเวลาอาจารย์วิจารณ์เปิดเวทีให้ผู้เข้าประชุมแสดงความคิดเห็น อาจารย์จะบอกข้อตกลงว่าให้ลดอายุเหลือ ๓๐ เท่าๆ กัน

อ.วัลลาคะ ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะสำหรับเรื่องเล่าที่น่าอ่าน จนเหมือนเราได้ไปร่วมเก็บเกี่ยวด้วย แถมด้วยสิ่งที่สามารถนำไปใช้ต่อได้อีกด้วย

และขอตามมาลิงค์บล็อกของดร.ยุวนุช ที่น่าอ่านมากๆไว้ตรงนี้ด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท