ลักษณะของพระบรมธาตุ


ลักษณะของพระบรมธาตุ โดยจะกล่าวถึงลักษณะของพระบรมธาตุในด้านต่างๆ
          1.พระบรมธาตุที่มีลักษณะคล้ายเพชรเท่าที่เคยพบมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ ชนิดใส และ ชนิดขุ่น หากเป็นเพชรชนิดใส ก็จะเป็นองค์ขนาดเล็ก ส่องแสงเป็นประกายแวววับจับตา หากเป็นเพชรชนิดขุ่นก็จะมีองค์ขนาดเขื่องขึ้นมา แต่ว่าไม่ส่องแสงเป็นประกายอย่าง ชนิดเพชรใส
          2.มีรูปพรรณสัณฐานต่างๆกัน เช่น กลม เสี้ยว ยาวรี เป็นเหลี่ยม บางอย่างมีลักษณะคล้ายกระดูกคนธรรมดา ต่างแต่ว่ามีขนาดเล็กกว่ามาก วรรณะทั่วไปจะออกเป็นมันเลื่อมมีสี ต่างๆว่าออกเป็นขาวงาช้าง ขาวสุกใส แดงเรื่อๆเหลืองปนแดงพระอรรถกถาจารย์ได้จำแนกพระบรมธาตุออก เป็น 2 ประเภท คือ                        
          1.นวิปปกิณณา ธาตุ คือพระบรมธาตุที่ไม่แยกกระจัดกระจายหรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า ประเภทที่ยังอยู่เป็นชิ้นเป็นอันบริบูรณ์ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ทั้งหมด 7 องค์ คือพระเขี้ยวแก้ว 4 องค์ พระรากขวัญ 2 องค์ และพระอุณหิศ 1 องค์ มีที่ประดิษฐานดังนี้
              พระเขี้ยวแก้ว 4 (พระทาฐธาตุ)
          1) พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา ประดิษฐานอยู่ในจุฬามณีเจดียสถาน ณ ดาวดึงเทวโลก (สวรรค์ชั้นดาวดึงส์)
          2) พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำขวา เดิมประดิษฐานอยู่ ณ เมืองกาลิงคราฐ แต่บัดนี้ได้ไปสถิต อยู่ในประเทศลังกา
          3) พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองคันธารราษฎรประเทศลังกา
          4) พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำซ้าย ไปประดิษฐานอยู่ในนาคพิภพ (เมืองพญานาค)

          พระรากขวัญ 2 (กระดูกไหปราร้า)
          1) พระรากขวัญเบื้องขวา ไปประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์ถูปาราม ประเทศลังกา
          2) พระรากขวัญเบื้องซ้าย ขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์

พระอุณหิส หรือ พระนลาฏธาตุ 1 หนังสือมหาวงศ์และชินกาลมณีปกรณ์กล่าวไว้ว่าประดิษฐานอยู่ที่องค์พระเจดีย์ยอดเขาโสณฑิยะระหว่างแม่น้ำเสรุกับกับแม่น้ำวรภะบนฝั่งขวา ของแม่น้ำมหาวาลุกคงคาในประเทศศรีลังกาแต่พระสังคีกิกาจาย์ได้ประมวลไว้ว่าพระอุณหิสได้ขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์บนพรหมโลก 
   

2.วิปกิณณา ธาตุ คือพระบรมธาตุที่แยกย้ายกระจัดกระจายกันในที่ต่างๆมีอยู่เป็นจำนวนมากที่เป็นเช่นนี้พระอรรถกถาจารย์ได้ กล่าวไว้ว่าเรื่องนี้เกิดแต่พุทธปริวิตกก่อนที่พระองค์จะเสด็จปรินิพพานได้ทรงคำนึงถึงการที่จะประทานตัวแทนของพระองค์ให้แก่สัตว์โลกทั้งหลาย พระพุทธองค์จึงทรงได้ดำริว่า" พระสรีรกายของพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆซึ่งมีพระชนมายุยืนนานเมื่อดับขันธปรินิพานแล้วพระบรมธาตุ รวมกันเป็นแท่งเดียวดุจท่อนทองส่วนเราตถาคตมีพระชนมายุไม่ยืนนาน เสด็จโปรดสัตว์ได้ชั่วเวลาไม่เท่าใดก็จะเสด็จเข้าสู่นิพพานโดย ที่พระศาสนายังมิได้แผ่ไพศาลไปในที่ทั้งปวงเท่าที่ควร ดังนั้นตถาคตเสด็จนิพพานไปแล้ว หมู่มหาชนก็น่าจะได้มีพระบรมธาตุ ไว้สักการะบูชาแทนสืบไป" ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงได้ทรงอธิษฐานให้พระบรมธาตุแตกกระจัดจายออกไปโดยแบ่งออกเป็น 3 ขนาด 3 สี 3 สัณฐาน

คำสำคัญ (Tags): #พระบรมธาตุ
หมายเลขบันทึก: 82493เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2007 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ธันวาคม 2013 23:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท