สาระ"การจัดเวทีประชาคม"


ในการจัดเวทีประชาคม มุ่งเน้นให้องค์กรประชาชนและประชาชนในพื้นที่รวมทั้งภาคีการพัฒนาภาครัฐได้มีการเรียนรู้และเข้าใจจริงทั้งในข้อมูลของชุมชนและปัจจัยแวดล้อมภายนอก ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยการจัดเวทีประชาคม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญยิ่งต่อกระบวนการดำเนินงาน และเนื่องจากการจัดเวทีประชาคมเป็นกิจกรรม ที่ต้องดำเนินการอย่างมีระบบ

ในการจัดเวทีประชาคม   มุ่งเน้นให้องค์กรประชาชนและประชาชนในพื้นที่รวมทั้งภาคีการพัฒนาภาครัฐได้มีการเรียนรู้และเข้าใจจริงทั้งในข้อมูลของชุมชนและปัจจัยแวดล้อมภายนอก ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยการจัดเวทีประชาคม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญยิ่งต่อกระบวนการดำเนินงาน และเนื่องจากการจัดเวทีประชาคมเป็นกิจกรรม  ที่ต้องดำเนินการอย่างมีระบบ กล่าวคือ มีเป้าหมายที่ชัดเจน ต้องอาศัยเทคนิคและเครื่องมือที่หลากหลายต้องเสริมสร้างบรรยากาศให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างทั่วถึง และครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างครบถ้วน   จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมการให้เกิดความพร้อมให้มากที่สุด โดยจำเป็นต้องมีการเตรียมการในสิ่งต่าง ๆ โดยสังเขปดังนี้
  - กำหนดเป้าหมายเชิงประจักษ์ ในการจัดเวทีประชาคมว่าต้องการเห็น หรือให้เกิดอะไรขึ้นบ้างเช่น การเสนอข้อมูล/ข้อคิดเห็น การร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัญหา การกำหนดกิจกรรมทางเลือกในการแก้ปัญหาหรือแผนแม่บทชุมชน เป็นต้น
  - กำหนดประเด็นที่จะขับเคลื่อนเวทีประชาคม โดยพิจารณากำหนดเป็นหัวข้อคำถามที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ให้มีความครอบคลุมให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

  - กำหนดตัววิทยากรกระบวนการ  และทีมงานที่จะทำหน้าที่เป็นผู้เอื้ออำนวยการให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีรวมทั้งผู้ทำหน้าที่จดบันทึกและอำนวยความสะดวกในการขับเคลื่อนกระบวนการเวทีประชาคมจนครบทุกขั้นตอน
  - กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมเวทีประชาคม เพื่อให้การได้มาซึ่งสภาพที่เป็นจริงเกี่ยวกับสภาพปัญหา/ความต้องการของชุมชนตลอดจนแนวทาง
หรือกิจกรรมทางเลือกที่เหมาะสมและมีความเป็นไปได้สูงที่จะแก้ไขปัญหาและสนองความต้องการของชุมชนภายใต้ศักยภาพและอุปสรรคที่เป็นอยู่จริง อีกทั้งจะก่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความเข้าใจร่วมกันอย่างทั่วถึง กว้างขวางโดยพร้อมเพรียงกัน ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน   ต้องร่วมกันพิจารณากำหนดกลุ่มเป้าหมาย  ที่จะเข้าร่วมในการจัดทำเวทีประชาคมไว้ให้ชัดเจน ซึ่งควรประกอบด้วย

  - แกนนำที่แท้จริงของชุมชน (หมู่บ้าน) ซึ่งอาจจะเป็นผู้นำตามธรรมชาติ ผู้นำที่เป็นทางการ ผู้นำศาสนา ผู้นำกลุ่ม/องค์กรที่มีการจัดตั้ง หรือรวมตัวกันในหมู่บ้าน/ตำบล และปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น
  - หัวหน้าครัวเรือนที่เป็นตัวแทนกลุ่มบ้าน  ชุมชน
  - ตัวแทนภาคราชการและองค์กรเอกชน ที่มีบทบาทหน้าที่หรือแผนงานโครงการที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่เป้าหมาย
  - ผู้ปกครองและบริหารท้องที่ อันได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการชุมชน และผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

           กระบวนการจัดทำเวทีประชาคม จัดว่าเป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญยิ่งต่อกระบวนการขับเคลื่อน   ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า “ เวทีประชาคม เป็นทั้งวิธีการและเป้าหมาย  ” เพราะจะช่วยให้ผู้ร่วมเวทีประชาคมทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและประชาชนเกิด “ การรับรู้และเข้าใจ ” ในบริบทที่เป็นอยู่จริงของสถานการณ์ในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ภาคราชการที่เกี่ยวข้องได้ลงไปร่วมศึกษาชุมชนอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องในทุกครั้งที่มีการจัดเวทีประชาคมจะเป็นการ เข้าถึงประชาชน” อย่างแท้จริงอันจะนำไปสู่การเข้าใจรู้จริงและถูกต้องเกี่ยวกับชุมชน ซึ่งในส่วนที่กล่าวมานี้จะยังผลเกื้อกูลให้ “ การพัฒนาพื้นที่ ” ได้ดำเนินการไปบนพื้นฐานของการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและประชาชน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่สอดคล้องกับปัญหาความต้องการที่แท้จริงของประชาชนและสนองตอบพันธกิจภาครัฐได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วนในที่สุด
ทั้งนี้ในการจัดทำเวทีประชาคม มีเป้าหมายหลักในเชิงประจักษ์ที่จะต้องดำเนินการให้บรรลุ ดังนี้
  1. เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้เรียนรู้สถานการณืที่เป็นจริงของชุมชนให้สมบูรณ์ให้มากที่สุด
  2. เพื่อให้ภาคประชาชนที่เข้าร่วมเวทีประชาคม ได้ร่วมกันระดมและเสนอปัญหาความต้องการที่แท้จริงของคนส่วนใหญ่ในชุมชน รวมทั้งมูลเหตุที่มีของปัญหานั้น ๆ
  3. เพื่อให้ชุมชนได้ร่วมกันพิจารณากำหนดกิจกรรมทางเลือกที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว โดยสอดรับกับขีดความสามารถศักยภาพและทุนทางสังคมที่มีอยู่เดิม
  4. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เข้าร่วมเวที ร่วมกับภาคประชาชน ได้ร่วมกับพิจารณาตามเหมาะสม และเป็นไปได้ของกิจกรรมทางเลือกที่จะนำมาใช้แก้ไขปัญหาของชุมชนที่สอดรับกับระเบียบข้อกำหนดทางราชการแนวคิดทางวิชาการ ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น และเป็นกิจกรรมที่มีโอกาสสูงที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงาน โดยมีความคุมทุนและกระจายประโยชน์ไปถึงคนส่วนใหญ่ รวมทั้งสามารถยกระดับการพัฒนาพื้นที่ี่ให้เกิดสันติสุขและความเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืนต่อไป
  5. เพื่อให้ผู้ร่วมเวทีประชาคมได้ร่วมกันทบทวนหรือจัดทำแผนแม่บทชุมชนที่มีคุณภาพ สามารถใช้เป็นแผนกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนกระบวนการการจัดการแก้ไขปัญหาชุมชนของภาคประชาชนแลบะสามารถนำไปเชื่อมต่อกับกระบวนการบริหารการพัฒนาของ ภาครัฐและหน่วยงานเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #เวทีประชาคา
หมายเลขบันทึก: 82485เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2007 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท