สรุปผลการสัมมนาเรื่อง "การจัดตั้งศาลชะรีอะฮฺในประเทศไทย"


  • ก่อนหน้านี้ผมได้นำเสนอเกี่ยวกับโครงการสัมมนาวิชาการเรื่อง "การจัดตั้งศาลชะรีอะฮฺในประเทศไทย" ซึ่งจัดโดยคณะอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามยะลา ในวันเสาร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ไปแล้ว
  • ก็ขอถือโอกาสนี้นำเสนอสรุปผลการสัมมนาให้ชาว gotoknow.org ทราบ ดังนี้ครับ

ผลการสัมมนาสรุปได้ ดังนี้

1.ความสำคัญของศาลชรีอะฮฺ มีดังนี้คือ               

  • - การจัดตั้งศาลชะรีอะฮฺมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตและการบริหารกฎหมายอิสลามของมุสลิมในประเทศไทย               
  • -การจัดตั้งศาลชะรีอะฮฺในประเทศไทยมีความจำเป็นตามหลักชะรีอะฮฺและมีความเป็นไปได้ตามกฎหมาย               
  • -การจัดตั้งศาลชะรีอะฮฺสามารถเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ               

2.ขตอำนาจศาลชะรีอะฮฺ  มีดังนี้คือ               

  • - ศาลชะรีอะฮฺต้องมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวและมรดกของมุสลิมทั่วราชอาณาจักร               
  •  -ศาลชะรีอะฮฺต้องมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นความผิดต่อหลักการศรัทธาในอิสลามเฉพาะคดีที่มีผลต่อกฎหมายครอบครัวและมรดก         

3.ฎหมายประกอบการจัดตั้งศาลชะรีอะฮฺ มีดังนี้คือ               

  • -ต้องบัญญัติให้ผู้พิพากษาและบุคลากรในศาลชะรีอะฮฺมีคุณสมบัติที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายอิสลาม               
  • -ต้องบัญญัติและบังคับใช้ประมวลกฎหมายอิสลามลักษณะครอบครัวและมรดก                 
  • -ต้องบัญญัติและบังคับใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความในศาลชะรีอะฮฺ               
  • -ต้องจัดตั้งสำนักงานจดทะเบียนสมรสและทะเบียนหย่าตามกฎหมายครอบครัวอิสลาม               

4.รูปแบบของศาลชะรีอะฮฺ มีดังนี้คือ               

  • -ศาลชะรีอะฮฺต้องมีความเป็นเอกเทศและอิสระ               
  • -ผู้พิพากษาศาลชะรีอะฮฺต้องมีอำนาจเด็ดขาดในการพิจารณาพิพากษาคดี               
  • -ต้องจัดตั้งศาลสูง เพื่อพิจารณาอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชะรีอะฮฺชั้นต้น

ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมสัมมนา               

  1. ควรให้รัฐและสถาบันอุดมศึกษาอิสลามประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสำคัญของศาลชะรีอะฮฺทางสื่อต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการจัดตั้งศาลชะรีอะฮฺในประเทศไทย               
  2. รัฐและสถาบันอุดมศึกษาอิสลามควรจัดให้มีการสัมมนาในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับศาลชะรีอะฮฺและจัดเวทีระดมความคิดเห็นทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง               
  3. ควรให้คณะกรรมาธิการการยุติธรรมการตำรวจและสิทธิมนุษยชนเป็นผู้ผลักดันในการจัดตั้งศาลชะรีอะฮฺต่อไป               
  4. ควรให้รัฐยกร่าง พ.ร.บ จัดตั้งศาลชะรีอะฮฺ และทำประชาพิจารณ์ และเสนอต่อสภานิติบัญญัติ     แห่งชาติ.               
  5. ควรให้รัฐกำหนดให้มีคณะกรรมการไกล่เกลี่ยในศาลชะรีอะฮฺ               
  6. ควรให้มีโครงการร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและศาลชะรีอะฮฺในการอบรมบุคลากรที่จะไปทำงานในด้านการศาล               
  7. ควรให้รัฐดำเนินการจัดตั้งสภาทนายความชัรอีย์ในประเทศไทย               
  8. ควรให้รัฐและสถาบันอุดมศึกษาอิสลามเป็นเจ้าภาพร่วมกันในยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งศาลชะรีอะฮ.

ขอขอบคุณ ดร.มุฮำหมัดซากี เจ๊ะหะ รองคณบดีฝ่ายบริหารคณะอิสลามศึกษาที่กรุณามอบสรุปผลการสัมมนาในครั้งนี้ครับ

หมายเลขบันทึก: 82448เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2007 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เพิ่งรู้ว่า อ.เฮ็ง มีบล็อกด้วย ตอนนี้ผมเพิ่มไว้ในเพล็นเน็ทของวิทยาลัยแล้วครับที่ www.gotoknow.org/planet/yic

แวะเข้าไปร่วมสมาคมกันนะครับ

  • ด้วยความยินดีครับ ท่านรองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • ที่จริงผมเข้าไปอ่าน บล็อกของท่านรองฯบ่อยครับ

ขอแนะนำ ติชมครับ เนื่องจากความไม่รู้ และรู้ในบางส่วน หากอ่านแล้วไม่พอใจ ก็อย่า

เพิ่งโกรธครับ เพราะมันเป็นเรื่องของจิตใจ หากมีไรที่ไม่ตรงตามความต้องการของเรา

ในความเป็นคนแล้ว ย่อมแสดงอารมณ์ออกมา ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่เราต้องเร่งแล้ว

ละครับ เงียบไว้ไม่ดี จริงไหมครับ เข้าเรื่องเลยครับ

พูดแบบง่ายๆไม่ต้องวิชาการเกินสามัญชน

1.ความสำคัญของศาลชะรีอะฮฺ มีดังนี้คือ

- การจัดตั้งศาลชะรีอะฮฺมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตและการบริหารกฎหมายอิสลามของมุสลิมในประเทศไทย

> ใช่ครับ มีความสำคัญมาก เพราะหากคนนับถือศาสนาอิสลามในการดำรงชีวิตแล้ว หากไม่ได้ปฎิบัติตามหลักศาสนาอย่างสมบูรณ์ ถูกต้อง ก็ย่อมตกอยู่ในปาปตลอดเวลา แม้ว่าจะให้เหตุว่าอยู่ในประเทศที่ไม่ได้ปกครองตามหลักศาสนาอิสลามก็ตาม และการบริหารจัดการด้านกฎหมายอิสลามก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันตลอดทั่วทั้งประเทศโดยมีสถาบันทางกฎหมายของไทยเป็นผู้ตรวจสอบร่วมในการดำเนินงาน

-การจัดตั้งศาลชะรีอะฮฺในประเทศไทยมีความจำเป็นตามหลักชะรีอะฮฺและมีความเป็นไปได้ตามกฎหมาย

> ความจำเป็นนั้น ถือว่าเป็นเป้าหมายหลักแน่นอน หากไม่มีก็จะสร้างความลำบากใจดังเช่นข้างต้น ส่วนความเป็นไปได้นั้นก็จะต้องให้ทางผู้แทนราษฎรที่เราเลือกไปให้ทำงานแทนประชาชน ทำงานต่อไปตามขั้นตอน

-การจัดตั้งศาลชะรีอะฮฺสามารถเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ

> ตรงนี้ ไม่เข้าใจที่สรุปมาว่า มั่นคง ตรงไหน ด้านใด จะได้เข้าใจตรงกัน เพราะความมั่นคงของประเทศนั้น อาจจะหมายถึงความมั่นคงทางทหาร การป้องกันราชอาณาจักร ซึ่งดูห่างไกลจากการจัดตั้งศาลชะรีอะห์พอสมควร

2.เขตอำนาจศาลชะรีอะฮฺ มีดังนี้คือ

- ศาลชะรีอะฮฺต้องมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวและมรดกของมุสลิมทั่วราชอาณาจักร

> ตรงนี้สำคัญ เพราะในขั้นต้นเราอาจจะใช้กฎหมายอิสลามในเรื่องของครอบครัวและมรดกกันไปก่อน ซึ่งในความเป็นจริงมีมากกว่านั้น ตั้งแต่เกิดจนตายเหมือนกฎหมายทั่วไป พร้อมทั้งการเกื้อกูลกันระหว่างมัสยิดประจำหมู่บ้าน ตำบล, สำนักคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด

-ศาลชะรีอะฮฺต้องมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นความผิดต่อหลักการศรัทธาในอิสลามเฉพาะคดีที่มีผลต่อกฎหมายครอบครัวและมรดก

> ตรงนี้ เรียกว่าเป็นส่วนขยายของเงื่อนไขในการพิพากษาตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายครอบครัว มรดกและพินัยกรรมอิสลาม

3.กฎหมายประกอบการจัดตั้งศาลชะรีอะฮฺ มีดังนี้คือ

-ต้องบัญญัติให้ผู้พิพากษาและบุคลากรในศาลชะรีอะฮฺมีคุณสมบัติที่เหมาะสมและ

สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายอิสลาม

> ตรงนี้ ต้องเสริมหลักสูตรเพิ่มเติมด้านนิติศาสตร์ เพื่อมีมาตรฐานสากล อาจจะจะเป็นการสอนเสริมหรือปรับหลักสูตรเป็นนิติศาสตร์อิสลาม เพื่อรองรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอนาคต เหมือนการจัดตั้งศาลแรงงาน ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ เป็นต้น

-ต้องบัญญัติและบังคับใช้ประมวลกฎหมายอิสลามลักษณะครอบครัวและมรดก

> อ้างอิง ปรับใช้จาก พรบ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามที่มีอยู่ได้เลยครับ

-ต้องบัญญัติและบังคับใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความในศาลชะรีอะฮฺ

> ก็เทียบเคียงตามแนวทางที่มีอยู่ต่อไปเลย

-ต้องจัดตั้งสำนักงานจดทะเบียนสมรสและทะเบียนหย่าตามกฎหมายครอบครัวอิสลาม

> ตรงนี้ ก็สามารถทำได้ ๒ ที่เลย ทั้งคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด หรือที่ว่าอำเภอ โดยมีบุคลากรด้านศาสนาอิสลามเป็นคนพิจารณาองค์ประกอบตามหลักศาสนาอิสลาม

4.รูปแบบของศาลชะรีอะฮฺ มีดังนี้คือ

-ศาลชะรีอะฮฺต้องมีความเป็นเอกเทศและอิสระ

> ตรงนี้ โดยปกติแล้ว ศาลทุกแบบก็แยกเป็นเอกเทศและอิสระต่อการทำงานอยู่แล้ว

-ผู้พิพากษาศาลชะรีอะฮฺต้องมีอำนาจเด็ดขาดในการพิจารณาพิพากษาคดี

> ตรงนี้ ก็มาตรฐานมันระบุในหน้าที่อยู่แล้ว

-ต้องจัดตั้งศาลสูง เพื่อพิจารณาอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชะรีอะฮฺชั้นต้น

> เอาชั้นเดียวก็เพียงพอแล้ว เพราะหลักศาสนาได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในการตัดสินคดีความแล้ว ยกเว้นเสียจากว่าจะมีคดีที่ไม่ใช่คดีแบบการตัดสินตามหลักตายตัว เช่น การคลอดบุตร แต่งงาน บุตรบุญธรรม หย่าร้าง พินัยกรรม เป็นต้น

ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมสัมมนา

ควรให้รัฐและสถาบันอุดมศึกษาอิสลามประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสำคัญของศาลชะรีอะฮฺทางสื่อต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางในการจัดตั้งศาลชะรีอะฮฺในประเทศไทย

> การแนะนำในข้างต้นประชาชนก็ทราบอยู่แล้ว เพียงแต่รอว่าเมื่อไรใครจะทำ ใครจะเป็นเจ้าภาพ ส่วนความประชาชนนั้น แน่นอนอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าอย่าลืมเสนอผ่านผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. เราแล้วกัน เลือกมาทำงานแล้ว ต้องทำตามขั้นตอน การเสนอญัตติ

รัฐและสถาบันอุดมศึกษาอิสลามควรจัดให้มีการสัมมนาในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับศาลชะรีอะฮฺและจัดเวทีระดมความคิดเห็นทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง

> ตรงนี้จัดบ่อยอยู่แล้ว แต่ยังขาดการทำอย่างเป็นรูปธรรม

ควรให้คณะกรรมาธิการการยุติธรรมการตำรวจและสิทธิมนุษยชนเป็นผู้ผลักดันในการจัดตั้งศาลชะรีอะฮฺต่อไป

> ตรงนี้ ตอบเหมือนกัน ไม่ต้องรอใคร เพราะเค้าไม่ใช้คนใช้ แต่คนใช้จะทราบดีถึงวัตถุประสงค์ แล้วก็ยื่นผ่าน ส.ส. หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดหรือคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้เลย แล้วจะเข้าสู่เวทีอภิปรายได้ทันทีในโครงการดังกล่าว

ควรให้รัฐยกร่าง พ.ร.บ จัดตั้งศาลชะรีอะฮฺ และทำประชาพิจารณ์ และเสนอต่อสภานิติบัญญัติ แห่งชาติ.

> เหมือนข้อข้างต้น

ควรให้รัฐกำหนดให้มีคณะกรรมการไกล่เกลี่ยในศาลชะรีอะฮฺ

> ตรงนี้ พูดง่ายๆเริ่มได้เลย ตรงที่มัสยิดใกล้บ้าน ไม่ต้องรอถึงศาลชะรีอะห์ครับ ในอดีตก็อาศัยมัสยิดนี้มาก่อน

ควรให้มีโครงการร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและศาลชะรีอะฮฺในการอบรมบุคลากรที่จะไปทำงานในด้านการศาล

> ในบางมหาวิทยาลัยได้มีการสอนอยู่แล้ว เหลือเพียงแต่หน่วยงานที่จะรองรับ

ควรให้รัฐดำเนินการจัดตั้งสภาทนายความชัรอีย์ในประเทศไทย

> หลักการเดียวกันกับข้างต้น

ควรให้รัฐและสถาบันอุดมศึกษาอิสลามเป็นเจ้าภาพร่วมกันในยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งศาลชะรีอะฮ.

> ทำอยู่แล้ว แต่ขาดความต่อเนื่อง ที่มาจากหลายปัจจัย ทั้ง นักวิชาการ นักศึกษา ประชาชน ทำให้เรื่องเงียบไปเป็นพักๆแล้วก็มาต่อ

ขอบคุณสำหรับผลสรุปสัมมนาครับ ไม่ได้มีโอกาสเข้าร่วมก็แบบนี้หละครับ

ไว้ออกจากสนามรบเมื่อไร จะมาให้กำลังใจต่อครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท