จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

ไม้เท้าหัก


ไม้เท้าหรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า ไม้ค้ำยัน อุปกรณ์ที่อยู่กับผมมาเกือบสามสิบปีแล้ว วันนี้ผมเปลี่ยนใหม่เป็นอันที่เท่าไรก็ไม่รู้

สำหรับคนทั่วไปอาจจะไม่เห็นความสำคัญของไม้เท้าหรอกครับ แต่สำหรับคนพิการ หรือคนที่เกิดอุบัติเหตุ สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญมากครับ

การใช้ไม้เท้าสำหรับผมเป็นเพราะสาเหตุแรกครับ  (คือพิการแต่เด็ก) เมื่อวานพยายามนั่งนึกว่า เริ่มใช้เมื่ออายุไร แต่จำไม่ได้จริงๆ คือก่อนหน้าที่จะใช้ไม้เท้า จำได้ว่า ใช้รถเข็น โดยให้น้องชายหรือเพื่อนๆ ช่วยเข็น (แม่เคยนับว่าใช้ไปประมาณ 40 ค้นมันทำกับพลาสติก เลยไม่ค่อยทน) ต่อมาพ่อก็เริ่มให้ใช้ไม้เท้า และต่อมาก็เป็นขาเทียม แต่สุดท้ายก็กลับมาเป็นไม้เท้าอีกทีหนึ่ง เท่าที่จำได้น่าจะเริ่มใช้ไม้เท้าเมื่อตอนไปโรงเรียนประถม เพราะรู้สึกว่าตอนเรียนอนุบาลหน้าบ้านนี้ยังเป็นรถเข็นอยู่ แต่ตอนเรียนประถมและมัธยมต้น ใช้ไม้เท้าข้างเดียว และเปลี่ยนเป็นไม้เท้าคู่ตอนเรียนม.ปลาย

เหตุที่ทำให้นึกถึงเรื่องไม้เท้าซึ่งเป็นอุปกรณ์คู่กายผมมานานมากแล้วเนี๊ยะ ก็เพราะเมื่อวานตอนเย็นมันหักไปข้างหนึ่งครับ อัลฮัมดุลิลลาฮฺ(ขอบคุณอัลลอฮ์ พระเจ้า) ที่มันไม่หักพร้อมกัน ไม่งั้นคงเป็นภาพที่น่าดูอีกภาพหนึ่งทีเดียว ในอดีต ผมใช้ไม้เท้าข้างเดียว แล้วมันดันหักตอนเดินไปเที่ยวนอกบ้านคนเดียว สุดท้ายผมต้องคลานกลับ นึกถึงภาพนั้นแล้วยังเสียวหลังไม่หายครับ

โชคดีที่ตอนนี้ผมอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ไกลจากความเจริญมากนัก เมื่อไม้เท้าหักจึงไม่ลำบากที่จะไปซื้อมาใหม่ แต่สมัยก่อนจำได้ว่าเมื่อหัก ก็ต้องนั่งรอให้พ่อหรือไม่บางทีก็เป็นน้องชายของปู(ภาษาไทยไม่รู้เขาเรียกว่าอะไร) เป็นคนทำให้ นั่นหมายถึงผมต้องนั่งอยู่เฉยๆ สักครึ่งวันจึงจะเสร็จ

อีกประการหนึ่งช่วงระยะเวลาแรกๆ ที่ผมมาอยู่ยะลา คือ ผมตระเวนหาว่ามีร้านไหนที่ขายอุปกรณ์ประเภทนี้บ้างเพื่อความสะดวกเวลาฉุกเฉิน

คำพูดของแม่คำพูด "แม่ภูมิใจตัวลูก และแม่ไม่เห็นว่าไม้เท้าของลูกจะเป็นอุปสรรค์ใดๆ ให้กับลูกของแม่เลย  และแม่ว่ามันคือไม้เท้าวิเศษต่างหาก" ผมจำคำพูดนี้มานานแล้วครับ และผมคิดว่าจุดที่ผมยืนอยู่ตรงนี้ คนหนึ่งที่ร่วมภูมิใจคือคุณแม่และคุณพ่อครับ

สำหรับไม้เท้าใหม่ที่ไปซื้อมาเมื่อเช้า ใช้เวลาในการปรับแต่งประมาณเกือบชั่วโมง โดยช่างรับไปปรับให้อันหนึ่ง ผมปรับเองอันหนึ่ง ในระหว่างที่ปรับ ผมก็คิดเล่นๆ ว่า ระหว่างช่างกับผมใครจะชำนาญกว่ากัน สุดท้ายผมสรุปว่า ผมชำนาญกว่า เนื่องจากเมื่อช่างปรับเสร็จเอามาให้ผมทดลองใช้ ผมต้องขันน็อตใหม่ เหตุผลก็คือ คนไม่ได้ใช้เองไม่รู้หรอกว่า จุดใหนต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ไม่งั้นจะเกิดอันตรายกับผู้ใช้ได้

ซึ่งทำให้ผมได้ข้อคิดว่า การทำให้คนอื่น หัวใจสำคัญไม่ใช่แค่ทำให้ แต่ต้องเรียนรู้ด้วยว่า ผู้ใช้ต้องการอะไร เพื่อให้ผลงานออกมาถูกต้องตามเป้าหมายจริงๆ เช่นเดียวกันเราสอนคน นอกจากเป้าหมายของเราที่จะต้องการให้ลูกศิษย์รู้ในสิ่งที่เรารู้และต้องการถ่ายทอด ผู้สอนจะต้องทราบถึงเป้าหมายถายในของผู้เรียนด้วย ความรู้ที่เขาได้รับจะมีคุณค่ามากกว่าที่เราพยายามยัดเยียดให้

จริงๆ ประเด็นที่ผมตั้งใจจะนำเสนอ คือเรื่องของไม้เท้าครับ แต่ไม่รู้เป็นงัย พาไปเรื่องส่วนตัวเสียไกลเลย เอาเป็นว่า ค่อยหาโอกาสพูดเรื่องไม้เท้าใหม่แล้วกัน สวัสดีครับ

คำสำคัญ (Tags): #ไม้เท้า
หมายเลขบันทึก: 82442เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2007 15:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 18:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
สวัสดีค่ะอาจารย์        ชื่นชมคุณแม่ของอาจารย์จังค่ะ  คิดว่าครอบครัวอาจารย์คงเป็นแรงใจที่ดีมากๆเลยค่ะ

สลามครับอาจารย์

  • ผมเชื่อว่า ไม้เท้าชิ้นนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับใครอีกหลายๆ คน
  • รวมทั้ง...ผมเช่นเดียวกันกัน

 

           จึงทำให้ผมเชื่อว่า  "อุปสรรคไม่เคยอยู่เหนือความพยายามของเรา" และพระเจ้าจะอยู่เคียงข้างผเราเสมอ...

สลามฯ อ.จารุวัจน์

อ่านบันทึกอาจารย์ แล้วรู้สึกชื่นชมครับ 

เป็นการสะท้อนภาพ ให้เห็นชีวิตในบางมุม  ที่ผมเองไม่เคยมองเห็น   มีคุณค่ามากครับ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท