บทวิเคราะห์ความสำเร็จ การจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อเศรษฐกิจพอเพียงที่บ้านนาฝาย จ. มหาสารคาม


ท่านผู้ใหญ่พิกุลเป็นผู้ใหญ่บ้านต้นแบบที่ดี มีภาวะผู้นำ กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้าเปลี่ยน เปลี่ยนทั้งตนเองและชุมชน กล้ากำหนดกฎระเบียบเพื่อการปฏิบัติให้มีความสุขทั้งระดับครัวเรือนและชุมชน โดยการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ และร่วมรับผลประโยชน์ ดำเนินแผนงานตามเป้าหมายเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างครบถ้วน
 

การจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการทั้งในระดับลุ่มน้ำ ระดับชุมชน ระดับหมู่บ้าน และระดับครัวเรือน เพื่อการพัฒนา เศรษฐกิจพอเพียง ที่พบว่าบ้านนาฝาย เป็นกรณีตัวอย่างที่ดีมากในการจัดการดังกล่าวอย่างได้ผลและสำเร็จ จนได้รับรางวัล หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตัวอย่าง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากกระทรวงมหาดไทย ประจำปี ๒๕๔๙ ที่ผ่านมา

  สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นจริงและรวดเร็วได้ข้อสรุปว่า ท่านผู้ใหญ่พิกุลเป็นผู้ใหญ่บ้านต้นแบบที่ดี มีภาวะผู้นำ กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้าเปลี่ยน เปลี่ยนทั้งตนเองและชุมชน กล้ากำหนดกฎระเบียบเพื่อการปฏิบัติให้มีความสุขทั้งระดับครัวเรือนและชุมชน โดยการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ และร่วมรับผลประโยชน์ ดำเนินแผนงานตามเป้าหมายเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างครบถ้วน  จากการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน คือ ท่านผู้ใหญ่พิกุล ขันทัพไทย ซึ่งเคยเป็นผู้ใหญ่บ้านมาตั้งแต่ปี 2537 จนปัจจุบัน ได้ความว่า 

·         หมู่บ้านนี้มีการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงมาตั้งแต่ปี 2541 หลังจากระบบเศรษฐกิจชาติแบบพัฒนาเศรษฐกิจเกิดวิกฤติแทบล่มสลายในปี 2540 โดยใช้ระบบน้ำฝนและน้ำใต้ดิน ซึ่งทำให้ทำได้เฉพาะบางครัวเรือนที่มีความพร้อมสูง

 

·         ต่อมาได้มีการรวมรวมเงินซื้อที่ 4 ไร่ ในบริเวณใกล้หมู่บ้าน เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งน้ำใช้ของหมู่บ้าน แต่ก็ยังไม่เพียงพอในการใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายวัตถุประสงค์ได้

 ·         จึงได้วางแผนประสานการทำงานในระดับตำบล ซึ่งมีแหล่งน้ำใหญ่กว่า และสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายหมู่บ้านพร้อมๆกัน จากการทำงานประสานกับองค์การบริหารส่วนตำบล ทำให้สามารถพัฒนาแหล่งน้ำในระดับตำบล เพื่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจพอเพียงระดับครัวเรือน และชุมชนได้อย่างสอดคล้องกัน ในปี 2548  จนมาได้รับรางวัลหมู่บ้านตัวอย่างดีเด่นจากกระทรวงมหาดไทย ในปี 2549  

สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นจริงและรวดเร็วได้ข้อสรุปว่า

1.     มีผู้ใหญ่บ้านต้นแบบที่ดี มีภาวะผู้นำ กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้าเปลี่ยน เปลี่ยนทั้งตนเองและชุมชน กล้ากำหนดกฎระเบียบเพื่อการปฏิบัติให้มีความสุขทั้งระดับครัวเรือนและชุมชน

 2.     การสร้างความสามัคคีในชุมชน โดยการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผน และร่วมรับผลประโยชน์

3.     มีการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบหลากหลายวัตถุประสงค์ในระดับชุมชน ที่สามารถตอบสนองความต้องการและความจำเป็นระดับครัวเรือนได้ในทุกรูปแบบ

·         น้ำดื่มในครัวเรือนจากน้ำฝนที่เก็บไว้เอง

·         น้ำใช้ในครัวเรือนแบบต่างๆ และมีการหมุนเวียนไปรดต้นไม้ต่างๆตามความเหมาะสม

·         เลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์แบบประหยัดน้ำ เพื่อบริโภคและรายได้ น้ำทิ้งจากการเลี้ยงปลาดุกจะหมุนเวียนไปรดต้นไม้ พืชผักสวนครัว

·         เลี้ยงกบแบบใช้น้ำน้อย

·         เลี้ยงโค กระบือ ใช้ควายไถนา

·         เพาะเห็ดนางฟ้าในระดับกลุ่มและชุมชน

 ·         เลี้ยงเป็ดไก่ ไว้บริโภคและขาย

·         เลี้ยงหมูหลุมชีวภาพ ที่ประหยัดน้ำและรักษาสิ่งแวดล้อม และผลิตปุ๋ยชีวภาพ ไว้ใช้เอง

·         ทำน้ำยาไว้ใช้ในบ้านแบบเอนกประสงค์

·         ลดการใช้ปุ๋ยเคมีและสารพิษ ไม่ใช้ยาปราบศัตรูพืช แต่เน้นการใช้น้ำหมักไล่แมลงและกำจัดศัตรูพืช

 4.     มีการดำเนินแผนงานตามเป้าหมายเศรษฐกิจพอเพียงในประเด็นต่างๆ คือ

·         การลดรายจ่าย

 

·         การเพิ่มรายได้

 ·         การออมทรัพย์

·         มีธนาคารข้าว โรงสีข้าวชุมชน

·         มีกิจกรรมการทอผ้าฝ้ายและผ้าไหม

·         การปรับวิถีดำรงชีวิตแบบไม่ให้ฟุ้งเฟ้อ อยู่กับทรัพยากรที่ตนเองมี

·         พัฒนาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

·         เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน โดยอาศัยหลักการพึ่งตนเองก่อน แล้วจึงจะมีคนอื่นมาช่วยทีหลัง

·         มีงบประมาณเท่าไหร่ก็ทำไปก่อน บูรณาการด้านการเงินทุกด้าน ทั้งงบหมู่บ้าน งบ อบต. และงบจากภายนอกอื่นๆ ค่อยทำค่อยไปพัฒนาไปเรื่อย ๆ

·         พยายามชักจูงคนที่ต่อต้านให้หันมาเป็นแนวร่วมโดยการให้ก่อนในเบื้องต้น และทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ไม่ให้ขอเกิน 3 ครั้ง ต่อไปต้องทำเอง

·         สร้างความรู้และภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรเพื่อการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ

·         สร้างกฎระเบียบเพื่อการอยู่ร่วม ลงโทษผู้ที่ทำผิดกฎอย่างรุนแรง

·         มีการงดเหล้าบุหรี่วันเสาร์ อาทิตย์ และวันพระ ทุกงานพิธีจะไม่มีเหล้าเลี้ยง ใครเอาเหล้ามาขายให้ยึดไว้ก่อนคืนให้วันหลัง ซึ่งเป็นกฎระเบียบที่เข้มแข็งและควบคุมโดยตำรวจอาสาชุมชน

·         มีการพัฒนาร่วมกันระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน ขยายเครือข่ายในพื้นที่ จ.มหาสารคาม โดยมีท่านผู้ว่าฯ ชวน ศิรินันทพร ให้การสนับสนุนร่วมกับหน่วยงานของจังหวัดอื่น ๆ

·         มีการออมทรัพย์ซึ่งเก็บกันเป็นรายเดือน เดือนละ 500 บาทต่อครัวเรือน ในปัจจุบันมีเงินออมเกือบล้านบาท เก็บออมได้เดือนละ 31,500 บาท ให้กู้ในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ปันผลคืน 50% ของกำไร

·         เด็กนักเรียนทุกคนต้องช่วยพ่อแม่เลี้ยงปลาก่อนไปและหลังกลับจากโรงเรียน ซึ่งเป็นกติกากำหนดโดยโรงเรียนทำให้มีพลังการทำงานเชื่อมโยงกัน

·         ทำให้เป็นหมู่บ้านอยู่ดีมีสุขและพัฒนามาเป็นหมู่บ้านสวรรค์บนดิน โดยมีตัวชี้วัดที่ทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใส มีภูมิทัศน์หมู่บ้านที่สวยงาม รักษาสิ่งแวดล้อม

·         มีระบบเศรษฐกิจพอเพียง มีอยู่มีกิน มีพืชผักสวนครัว ทอผ้าใช้เอง เงินไม่รั่วไหล ครอบครัวไม่แตกแยก ไม่มีการอพยพออกนอกหมู่บ้าน ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม

·         แก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชนได้ ประนีประนอมยอมกัน

·         มีทุนสวัสดิการให้ผู้เถ้าผู้แก่ ซึ่งสมควรได้รับการยกย่องเป็นสวรรค์บนดินจริงๆ 

ประเด็นสำคัญที่อาจจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากนักวิชาการก็คือ การแจกแจงประเด็นเชิงวิชาการที่จะทำให้หมู่บ้านมีการอธิบายกระบวนการและผลการทำงานที่ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย ทั้งในเชิงการนำเสนอเป็นโปสเตอร์ที่ศูนย์เรียนรู้ และการทำเป็นวิดีโอ  

ซึ่งจะทำให้ผลการทำงานของหมู่บ้านนี้สารถเผยแพร่ได้ชัดเจนและกว้างขวางขึ้น และเป็นประโยชน์กับชุมชนอื่น ๆ ทั้งในระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศ และระดับโลก ได้อย่างเป็นจริง  

และเพื่อเป็นการลดภาระของผู้นำชุมชนที่จะต้องมาทำสิ่งที่ตนไม่ถนัดจึงควรมีการจัดการข้อมูลทางวิชาการในมุมมองสาขาต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้นำชุมชนมีเวลาเหลือพอที่จะพัฒนาและขยายงานตนเองให้มั่นคงและยั่งยืนต่อไป  

หมายเลขบันทึก: 82161เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2007 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 08:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • เห็นดีเห็นงามกับการนำเสนอความสำเร็จสู่สาธารณชนครับ
  • เมื่อไหร่ที่ชุมชนท้องถิ่น ลุกขึ้นมาจัดการชีวิตของตนเองได้ เมื่อนั่นสังคมไทยคงจะอยู่รอดปลอดภัยครับ

ระบบส่วนกลางคงช่วยหนุนได้เชิงการอำนวยความสะดวกครับ

ขอเพียงอย่าไปซ้ำเติมเป็นใช้ได้ครับ

ประเด็นการจัดการน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือน่าสนใจมากค่ะ  เพราะเป็นทรัพยากรหายาก     และรัฐมักมุ่งเน้นการจัดหาอุปทาน ซึ่งเฉพาะบางคนบางกลุ่มจะเข้าถึง

ที่เห็นการจัดการน้ำโดยชุมชนมักจะเป็นทางภาคเหนือ   ถ้าภาคอีสานมีต้นแบบดีๆก็น่าเรียนรู้น่าสนับสนุนมากค่ะ

เรียนอาจารย์แสวง การมีผู้นำที่ดี ย่อมมีชัย เพราะเป็นต้นแบบให้คนอื่นปฏิบัติตาม ขอบคุณที่นำสิ่งดี ๆ มาให้ราณีอ่านค่ะ

ภาคอีสานมีตัวอย่างดีๆ เป็นร้อยครับ

ถ้ามีลูกค้า จะค่อยๆปล่อยออกมาครับ

ตอนนี้เรารวบรวมแบบหยาบได้กว่า ๒๐๐ เรื่องครับ

แต่ระดับชุมชน และระดับลุ่มน้ำมีไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นระดับกิจกรรม

แต่ผมก็มีโครงการต่อเนื่องครับ จะเจาะลึกลงไปเรื่อยๆทีละประเด็นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท