E-library (ห้องสมุดอีเล็คโทรนิค) ที่พุกาม(พม่า)


ผู้เขียนมีโอกาสไปเมืองพุกาม พม่าในปี 2548 (มิถุนายน)... ที่นั่นมีห้องสมุดแบบ "e-Library" อยู่ข้างๆ ตลาดพุกาม ขอนำภาพพร้อมคำบรรยายมาเล่าสู่กันฟังครับ...

              

ผู้เขียนมีโอกาสไปเมืองพุกาม พม่าในปี 2548 (มิถุนายน)... ที่นั่นมีห้องสมุดแบบ "e-Library" อยู่ข้างๆ ตลาดพุกาม ขอนำภาพพร้อมคำบรรยายมาเล่าสู่กันฟังครับ...

   ภาพที่ 1: ร้านขายยาที่พุกาม มียาหลายอย่างคล้ายๆ กับร้านขายยาในไทย (รศ.วิเชียร นิตยะกุลนุ่งโสร่งกำลังชมสินค้าอยู่)คนที่นั่นยังใช้จักรยานอยู่ นับเป็นวิถีชีวิตที่เรียบ ง่าย ประหยัดดีทีเดียว

   ภาพที่ 2: ร้านขายยาที่พุกาม โปรดสังเกตยาแก้หวัด "ดีโคลเจน" และ "อาปราคัวร์" คล้ายยาในไทย

คนพม่าที่พอมีฐานะหน่อยใช้มอเตอร์ไซค์กันมากขึ้น แน่นอนว่า โอกาสเกิดอุบัติเหตุคงจะเพิ่มขึ้นมากตามไปด้วย ดีหน่อยที่คนพม่าไม่นิยมดื่มเหล้ามากเท่าไหร่

ท่านพระอาจารย์อาคม ซึ่งมีประสบการณ์อยู่ในพม่า 3 ปีเศษ ทั้งที่มัณฑะเลย์ และมอลัมยาย(เขตมอญ)เล่าว่า

คนไทยใหญ่(เขียน "สยาม" ออกเสียงเป็น "ฉาน" หรือ "ชาน")เป็นกลุ่มที่ดื่มเหล้ามากกว่ากลุ่มอื่นๆ

 

   ภาพที่ 3: ตลาดเมืองพุกามมีเครื่องเขิน เครื่องทองเหลือง และหุ่นกระบอกเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียง

ชาวพม่านิยมใช้แขวนระฆังที่พระเจดีย์ (คนไทยชอบแขวนระฆังที่โบสถ์และวิหาร)

ส่วนกังสดาล(เหล็กรูปสามเหลี่ยม ขอบโค้ง)นิยมใช้ตีบอกบุญ เช่น ตีนำพระบิณฑบาต ตีเวลาคนบริจาคเงินให้พระเจดีย์ ฯลฯ นัยว่า เป็นการบอกบุญให้เทวดา ผู้เขียนคิดว่า เทวดาคงจะรักคนพม่ามาก เพราะให้ส่วนบุญเทวดาบ่อย...

   ภาพที่ 4: ห้องสมุดอีเล็คโทรนิคส์ (E-library) หน่าวอู พุกาม

   ภาพที่ 5: มองจากชั้นบนห้องสมุดลงไป

โปรดสังเกตบ้านไม้ไผ่สานทางขวามือ ร้านน้ำชามีโต๊ะเตี้ยๆ ซึ่งคนพม่าชื่นชอบมาก อาคารที่สร้างตั้งแต่สมัยเป็นเมืองขึ้นอังกฤษ และวิถีชีวิตที่มีการใช้แรงงานสูง ทำให้คนพม่าไม่ค่อยอ้วน

   ภาพที่ 6: อาจารย์บรรณารักษ์ใจดีมาก ท่านสวมผ้าถุงสีน้ำเงิน ดูจะต่างจากคุณครูที่สวมผ้าถุงสีเขียว

ห้องสมุดอีเล็คโทรนิคส์ที่นี่มี 2 ชั้น ชั้นล่างมีหนังสือให้อ่าน ชั้นบนมีแผ่น CD ให้บริการนับร้อยๆ แผ่น

   ภาพที่ 7: ไฟฟ้าที่พม่าดับบ่อย เครื่องป้องกันไฟกระชากจึงขายดีมาก ห้องสมุดที่นี่มีคอมพิวเตอร์ไว้บริการ 2 เครื่อง

ผู้เขียนเรียนอาจารย์บรรณารักษ์ว่า มาจากเมืองไทย ซึ่งจะเรียก "Thailand (ไทยแลนด์)" หรือ "Yodia (โยเดีย - ชื่อเดิมของอยุธยา)" ก็ได้

พอชมเสร็จ... คนพม่าก็คุยกันว่า ญี่ปุ่น (Japan ออกเสียงแบบพม่าว่า "จาปง") ดูเสร็จแล้ว

สงสัยคนพม่าคงจะคุ้นเคยกับคนญี่ปุ่น ซึ่งเข้าไปลงทุน ศึกษาค้นคว้า และท่องเที่ยวมากกว่าคนไทย หรือหน้าผู้เขียนคล้ายญี่ปุ่นก็อาจเป็นได้... ขนาดบอกเขาว่า คนไทย ยังว่าเป็นญี่ปุ่นไปได้...

บ้านเราน่าจะลองทำห้องสมุดอีเล็คโทรนิคส์บ้าง...

หมายเลขบันทึก: 81771เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2007 18:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • อ่านบันทึกของคุณหมอแล้วได้ความรู้มากมายนะคะ
  • ความที่เขายังไม่ก้าวหน้าเท่าคนไทย  ..ไม่ได้หมายความว่า..เขาจะล้าหลังกว่าไทย
  • พวกเขายังเก็บไว้ในส่วนที่เขาควรเก็บไว้...อยากให้คนไทยคำนึงถึงข้อนี้ด้วย
  • บางอย่างเรารับตะวันตกมา...แต่บางอย่างหรือหลายอย่างของคนไทย....ดีกว่า...ก็ควรเก็บไว้นะคะ..อย่างเช่น...วัฒนธรรมการเข้าแถวรอลำดับก่อนหลัง...การให้เกียรติกันและกัน..โดยเฉพาะให้เกียรติตัวเอง

ขอบคุณค่ะ

ขอขอบคุณ... คุณครูสิริพรและท่านผู้อ่านทุกท่าน

  • เดือนมกราคม 2550 นี้... ผมเพิ่งไปทำบุญที่ศรีลังกามา

บิณฑบาต...

  • พม่า กัมพูชา(เขมร) และไทยคงจะเป็น 3 ชาติสุดท้ายในโลกที่พระภิกษุ สามเณรออกบิณฑบาต... สาธุ สาธุ สาธุ
  • คนพม่ารักษาศิลปวัฒนธรรมได้ดีมาก

โสร่ง...

  • ทุกวันนี้ผู้ชายพม่ายังคงนุ่งโสร่งเป็นส่วนใหญ่ (ประมาณ 80-85%) ของประชากรในปี 2548-2549
  • ผู้ชายศรีลังกาทุกวันนี้นุ่งโสร่งเพียง 5-8% ในปี 2550 (สังเกตด้วยสายตา + ภาพถ่าย)
  • ส่วนผู้หญิงพม่า + ศรีลังกา... ท่านยังคงรักษาชุดประจำชาติไว้ได้ดีมากๆ... สาธุ สาธุ สาธุ

เด็กๆ...

  • เด็กๆ ศรีลังกา + พม่า... ยังคงไปสวดมนต์ที่วัดครับ
  • คุณครูศรีลังกามักจะพาเด็กๆ ไปกราบพระเจดีย์ พร้อมบรรยายความรู้มากมาย... สาธุ สาธุ สาธุ

ค่ะคุณหมอคะ

  • ที่โรงเรียนก็จะมีการฝึกจิต  ดูจิต  ก่อนการเรียนทุกชั่วโมงค่ะ
  • เพื่อมีสมาธิ  เพราะนักเรียนประถมส่วนใหญ่แล้ว จะไม่อยู่นิ่ง  หากปล่อยไว้  พวกเธอก็ไม่สนใจการเรียนไปด้วย
  • โรงเรียนจึงต้องสอดแทรกในส่วนนี้ให้..ครูอ้อยสอนภาษาอังกฤษ..แต่ก็ยังหวงแหนความเป็นไทยอยู่มาก
  • อยากให้คนรุ่นใหม่..หวงแหนความเป็นไทย..ไว้...โดยคิดเห็นถึงความดีของวัฒนธรรมไทยที่ดีมาแต่รุ่นปู่ย่าตายายนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ขอขอบคุณ...คุณครูสิริพรและท่านผู้อ่านทุกท่าน

  • ขอแสดงความชื่นชมที่ช่วยกันรักษาความเป็นไทย

นักท่องเที่ยว...

  • นักท่องเที่ยว... เวลาเขามาเมืองไทย คงไม่อยากดูตึกอะไร เพราะบ้านเขามีดี และมีมากกว่าไทย
  • ทว่า... นักท่องเที่ยวคงจะอยากดู อยากชมความแปลก เช่น อาหารไทย ขนมไทย ชุดไทย

เสียดายจัง... 

  • เสียดายจัง... คนไทยไม่มีชุดที่ 'practical' หรือชุดที่ใส่แทนเสื้อนอกได้แบบชุดประจำชาติพม่า ซึ่งเป็นเสื้อแบบพื้นเมืองเหนือของไทยสีน้ำตาล + โสร่ง + รองเท้าแตะคีบ)

รัฐบาลไทย...

  • รัฐบาลน่าจะจัดประกวดชุดประจำชาติที่พัฒนาจาก "หม้อฮ่อม" หรือ "ชุดพื้นเมืองล้านนาทางเหนือ"
  • และอนุญาตให้ใส่ในงานสำคัญได้ทุกงาน เลิกใส่เสื้อนอกกันเลย
  • อาจารย์หมอค่ะ ตอนนี้ประเทศไทยเราก็มี e-library หลายแห่งนะค่ะ ส่วนใหญ่ตามมหาวิทยาลัยนั่นแหละค่ะที่มี ทันสมัยและโออ่าสุดๆเลยค่ะ แถมยังสามารถดูผ่านอินเทอร์เน็ตได้ด้วยนะคะ

 

  • ครูอ้อยก็ชอบแบบม่อฮ่อมนะคะ   มีอยู่ 2 ตัว  ใส่บ่อยมากค่ะ   จนจะเป็นเอกลักษณ์ของครูอ้อยค่ะ
  • อยากให้เป็นอย่างนั้นที่เป็นของไทย  เสื้อนอกก็มีแต่ไว้ใช้กับงานอีกอย่างหนึ่ง
  • อยากให้เลิกนิยมออกจากบ้านไปนั่งตามห้างนะคะ.....บังคับจิตใจใครหรือเปล่านี่

ขอขอบคุณอาจารย์แก่นจังและท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • เพิ่งทราบว่า เมืองไทยเราก็มี e-library...

ถ้าเป็นไปได้...

  • ถ้าเป็นไปได้ เรียนเสนอให้มีบริการดาวน์โหลดอะไรดีๆ ฟรี เช่น
  • (1). ภาพสถานที่ท่องเที่ยว รวมทั้งพระเจดีย์ วัด ประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรมในจังหวัด ในภาค หรือในประเทศ... เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และภูมิปัญญาไทย
  • (2). บทสวดมนต์ พระปริตร คำบรรยายพระไตรปิฎก
  • (3). บทเรียนภาษาต่างๆ เช่น อังกฤษ จีน พม่า ฯลฯ
  • (4). น่าจะหาทางทำรายได้ เช่น มีสินค้าจำหน่ายออนไลน์ (เช่น บทเรียนภาษาต่างๆ รวมทั้งบทเรียนภาษาไทยสำหรับคนต่างชาติ ฯลฯ) เป็นรายได้หอสมุด ฯลฯ
  • (5). คำบรรยาย (lecture) เรื่องต่างๆ + แบบฝึกหัด ให้นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจ download
  • (6). น่าจะมีบทเรียนออนไลน์ ทั้งแบบฟรีและคิดค่าเล่าเรียน... พอเรียนจบก็มีใบผ่านการอบรมให้พิมพ์ออกมาได้ พร้อมทำทำเนียบผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ไว้เป็นเกียรติประวัติ และถ้าสอบผ่านก็มีประกาศนียบัตร สัมฤทธิบัตรอะไรทำนองนี้ให้
  • (7). น่าจะมีเพลงไทย หรือเพลงที่ไม่มีลิขสิทธิ์ให้ดาวน์โหลดฟรี หรือดาวน์โหลดคิดเงินเข้าหอสมุด

เรียนเสนอ...

  • เรียนเสนอให้อาจารย์แนะนำ URL ห้องสมุดออนไลน์ของไทยเป็นวิทยาทานครับ...
  • ขอขอบคุณ...

ขอขอบคุณอาจารย์สิริพร และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • เรื่องชุดประจำชาติที่สะดวก ใช้การได้ในชีวิตประจำวันน่าจะเป็นวาระแห่งชาติ (national agenda)

สาเหตุ...

  • สาเหตุที่คนไทยไปทำบุญที่พม่ามากกว่าศรีลังกา...
  • เป็นจากหลายสาเหตุ เช่น ประหยัดกว่า ใกล้กว่า บริการโรงแรมดีกว่า(และถูกกว่า) มีการละเล่น+บันเทิง เช่น การแสดงหุ่นกระบอก ฯลฯ สนใจประวัติศาสตร์ เป็นเพื่อนบ้านที่ชายแดนติดกันยาวมาก

อีกอย่างหนึ่ง...

  • อีกเหตุผลหนึ่งที่คนไทยไปพม่ากันมาก... เข้าใจว่า เป็นเพราะ
  • (1). คนพม่ารักษาชุดประจำชาติได้ดีกว่า (โสร่ง เสื้อแบบเมืองเหนือแขนยาวสีน้ำตาล-กระดุมผ้า + ผ้านุ่งผ้าถุง)
  • (2). คนพม่าใส่บาตรพระ สามเณร... ซึ่งดูน่าเลื่อมใสศรัทธามาก นักท่องเที่ยวชอบชมมาก
  • (3). ศิลปะแบบพม่ามีความละเอียดประณีตสูงกว่า โดยเฉพาะงานแกะสลักไม้ที่วัด และพระเจดีย์จำนวนมาก
  • (4). ของที่ระลึก... พม่ามีฝีมือทางด้านนี้มาก

คนไทย...

  • คนไทยน่าจะรีบเร่งพัฒนาชุดประจำชาติมาใช้ในชีวิตประจำวัน และใช้แทนเสื้อนอกให้ได้
  • ชุดนี้ควรเป็นผ้าที่ซักง่าย แห้งเร็ว ราคาถูก... ไม่ใช่ผ้าหนา เทอะทะ ซักยาก รีดยาก ใส่ยาก

ชื่อชุดประจำชาติของพม่าคืออารายคะ

ขอขอบคุณ... คุณอาโป

  • ผมไม่มีความรู้ในเรื่องนี้มากพอ
  • เรียนเสนอให้เปิดเข้าไปอ่านในเว็บไซต์ศูนย์พม่าศึกษา มน. > http://www.human.nu.ac.th/myanmar/ > เลือกหัวข้อ "วัฒนธรรม" > "การแต่งกายของชาวพม่า"

ขอขอบคุณครับ... 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท