สำรวจพื้นที่ตรัง นครฯ พัทลุง (3)...แนวคิดการทำงานที่ลำสินธุ์


"การทำแผนมีข้อดีคือได้บูรณาการความคิดของทุกคน เมื่อจะลงมือปฏิบัติก็ทำได้ง่าย เพราะเข้าใจกัน ไปในทิศทางเดียวกัน .... ต้องให้เกียรติกับทุกความคิด"

สิ่งที่น่าสนใจมากสำหรับเรา  คือ แนวคิดในการทำงานของพี่เล็กแห่งเครือข่ายสินธุ์แพรทอง  ที่อาจารย์ภีมเรียกว่า "เป็นการจัดการความรู้ที่เยี่ยมยอด" นั่นเอง

การสร้างตัวตนของชุมชนผ่านประวัติศาสตร์พื้นที่ก็เรื่องหนึ่ง

การทำงานความคิดก็เรื่องหนึ่ง

ทั้งสองอย่าง เราเล่าแล้วใน 2 ตอนแรก  และยังมีอีกหลายเรื่องที่จะเล่าต่อ

การให้ความสำคัญกับทุกความคิด

"การทำแผนมีข้อดีคือได้บูรณาการความคิดของทุกคน   เมื่อจะลงมือปฏิบัติก็ทำได้ง่าย เพราะเข้าใจกัน ไปในทิศทางเดียวกัน .... ต้องให้เกียรติกับทุกความคิด"

"คนเรายิ่งทำยิ่งฉลาด...    ความรู้มากับตัวคน  จึงต้องมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันว่าแต่ละคนมีวิธีอย่างไร"

ในเรื่องของการทำงานขยายผล

พี่เล็กบอกว่า  หน่วยงานรัฐบางทีเลือกทำงานกับผู้นำเชิงเดี่ยว  การขยายผลต้องหาผู้นำที่มีพื้นที่ทำงาน   พีเล็กจะเลือกพื้นที่ที่พอรู้จักวิธีคิดของผู้นำ  นำแกนนำหมู่ต่างๆมาคุยกัน  เพื่อตรวจสอบความเชื่อ ความคิด  ให้แกนนำมาดูงาน  แกนนำต้องสามารถกลับไปทำความเข้าใจในพื้นที่ได้    การเริ่มกิจกรรมใช้ออมทรัพย์และสวัสดิการเป็นตัวนำ  แต่ก็ใช้เวลาเป็นปีในการขยายผลในพื้นที่ใหม่

............

ตรงนี้เราฟังด้วยความตั้งใจมาก เพราะผ่านการทำงานที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการขยายผล 

ในเรื่องของการสร้างผู้นำ 

พี่เล็กใช้วิธีให้ผู้นำในส่วนต่างๆมาบอกเล่าให้ฟัง  เช่น  ให้ผู้นำพคท.เก่าเล่า ให้ทหารเล่า  ให้ผู้นำโอทอปเล่า ฯลฯ  คนฟังก็จะเลือกสิ่งดีๆ  เขาจะเลือกได้เองว่าจะเป็นผู้นำแบบไหน

ในเรื่องบทบาทของศาสนา

พี่เล็กบอกว่า ศาสนาก็มีส่วนเอื้อในหลายเรื่อง  รวมทั้งการสร้างการเมืองสมานฉันท์

....เราได้เรียนรู้มากจากระยะเวลาสั้นๆที่ได้คุยกัน...  เราออกจากลำสินธุ์เมื่อบ่ายแก่ๆ   ได้กล้วยไข่ทอดสุญญากาศ (อร่อยมาก)เป็นของฝากจากกลุ่มติดมือกลับมาด้วย

เมื่อนั่งรถกลับ  บนเส้นทางที่เชื่อมตรังกับพัทลุง  เรามุ่งหน้าเข้าสู่พัทลุง  ได้เห็น "เขาอกทะลุ" ที่เราคุ้นตามาตั้งแต่เด็ก  

และเมื่อแยกเข้าสู่ถนนจากพัทลุงไปนครฯ  ถนนสายนั้นดูกว้าง สบายตา  เทือกเขาหินปูนรูปทรงแปลกตา ต่างจากเทือกเขาหลวง  และจะดูคล้ายภูเขาฝั่งอันดามันมากกว่า 

พระอาทิตย์กำลังจะตก   เราดีใจที่ได้มาเยือนพัทลุงอีกครั้ง 

....................

เมื่อเริ่มเรียบเรียงลงบันทึก เราก็เกิดคำถามที่อยากเรียนรู้ในรายละเอียดอีกหลายเรื่อง

แต่ที่ต้องคิดหนักคือ  ทำอย่างไรจึงให้สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่จะมาเยี่ยมพื้นที่ในช่วงเวลาสั้นๆ  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ของลำสินธุ์ให้มากที่สุด

 

หมายเลขบันทึก: 81017เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2007 22:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ผมสงสัยจริงๆ ครับ แล้วอาจารย์สอนหนังสือวันไหนหรือครับ :-)
  • ข้อคิดของผมคือ การลงพื้นที่คือการเรียนหนังสือต่อ :-)

เป็นคำถามที่รู้ทันมากค่ะ :)

ที่คณะเศรษฐศาสตร์ เวลาสอนครบ 6 ปี จะมีสิทธิลา"เพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ"  ไม่ต้องสอนหรือทำงานบริหาร แต่ต้องไปทำงานวิจัยหรือเขียนตำรา แล้วนำเสนอผลงานเมื่อสิ้นสุดเวลาค่ะ

สิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ ก็ต้องกลับไปสอนและทำงานบริหารตามเดิมค่ะ  เพราะสอนมากว่า 10 ปีแล้ว  ตอนนี้ต้องเก็บเกี่ยวประสบการณ์ตุนไว้เยอะๆ  เพราะมีประโยชน์มากต่อการเรียนการสอนค่ะ

แต่ที่จริงตอนนี้ก็ต้องเข้าคณะฯบ่อยๆ สอบวิทยานิพนธ์บ้าง ช่วยงานบริหาร(คณะทำงานชุดพิเศษ)บ้างค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท