สัมมนาแนวทางการปฎิบัติงานส่งเสริมการเกษตร ปี 50 (2)


Food Safty เป็นหลักวิชาการ เปรียบเสมือน ผู้โดยสารที่นั่งอยู่ในรถยนต์ ส่วน KM และ FFS เป็นกระบวนการ เปรียบเสมือน รถยนต์ ที่จะพาผู้โดยสารไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง

            วันนี้...ขอเล่าต่อจากเมื่อวานนี้... ในเวทีสัมมนาแนวทางปฎิบัติงานส่งเสริมการเกษตร ปี 2550  ที่โรงแรมหลุย แทรเวอร์น กรุงเทพฯ  ท่านรองอรรถ อินทลักษณ์  รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ได้กล่าวเปิดการสัมมนาว่า....

  • โครงการ Food Safty  เป็นโครงการที่สำคัญ เป็นนโยบายของรัฐบาล และเป็นวาระแห่งชาติด้วย
  • คาดหวังอะไร จากการสัมมนาในครั้งนี้

          1.  ทำความเข้าใจ Food Safty คืออะไร

          2.  ทำความเข้าใจ KM  คืออะไร ทำอย่างไร

          3.  ทำความเข้าใจกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร  (FFS)

           -ทำความเข้าใจ และบูรณาการ ทั้ง 3 ตัวนี้  Food  Safty เป็นหลักวิชาการ เปรียบเสมือน ผู้โดยสารที่นั่งอยู่ในรถยนต์  ส่วน KM และ FFS เป็นกระบวนการ เปรียบเสมือน รถยนต์ ที่จะพาผู้โดยสารไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง

          -สรุปคือ มาคราวนี้ ได้รับความรู้ นำ Food Safty  ผ่าน KM และ FFS พาไปสู่พี่น้องเกษตรกรให้สามารถผลิตพืชปลอดภัยและได้มาตรฐาน

          - มีเรื่องหลุมดำ KM  เข้าใจว่าหมายถึง  ปัจจัยเสี่ยง ที่ควรหลีกเลี่ยง   KM จะเป็นตัวสนับสนุนให้ Food  Safty  ประสบผลสำเร็จ

  • ความคาดหวังกลับไป ต้องไปทำอะไรบ้าง

          - นำความรู้ที่ได้รับ ไปถ่ายทอดต่อ เปรียบเสมือนปัจจวัคคี มาศึกษาวิทยายุทธ์ ธรรมะ แล้วกลับไปถ่ายทอดต่อสู่เกษตรกร 316,000 คน  ไปคุยกับเกษตรจังหวัด การบริหารจัดการของจังหวัด โครงการนี้จะสำเร็จไม่ได้ ถ้าเกษตรจังหวัดไม่ลงมาบริหารจัดการ กรมส่งเสริมการเกษตร ให้ความสำคัญอันดับ 1  หัวหน้ากลุ่มทั้ง 3 กลุ่ม กลับไปต้องไปหารือกับเกษตรจังหวัด ไปบริหารโครงการนี้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์  มุ่ง Output ที่เกษตรกร 316,000 คน 

          -จัดการ Process การทำงาน  โดยตั้งคณะทำงานฯ ที่มีกลุ่มทั้ง 3 กลุ่มของจังหวัดเป็นคณะทำงานฯ มีเกษตรจังหวัด เป็นหัวหน้าทีม และมอบหมายให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เป็นเลขานุการ 

           - กำหนดบุคคลเป้าหมายในแต่ละพื้นที่ให้เหมาะสม ตามพื้นที่  พืช คน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด โดยใช้เวทีปรึกษาหารือกัน 

           - เมื่อถ่ายทอดแล้ว ต้องตามไปดูในพื้นที่ด้วยว่า สิ่งที่วางแผน และปฎิบัติแล้ว เกิดผลสัมฤทธิ์หรือไม่ มีกระบวนการติดตามประเมินผล

           สุดท้ายท่านได้สรุปว่า  การทำงานเน้นการบูรณาการ 

           - บูรณาการวิชาการ Food Safty กับ โครงการอื่นๆ

           - บูรณาการวิธีการทำงาน Food Safty  ซึ่งเป็นเนื้อหาวิชาการกับ KM และ FFS ซึ่งเป็นกระบวนการทำงาน

           -บูรณาการคน   การตั้งคณะทำงานฯ  โดยมีเกษตรจังหวัด เป็นหัวเรือ พาพวกเราไปสู่เป้าหมายให้ได้..........

 นันทา ติงสมบัติยุทธ์

  27 ก.พ.2550

 

หมายเลขบันทึก: 81003เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2007 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 * การจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือที่ช่วยบูรณาการองค์ความรู้เพื่อใช้ทำงานให้บรรลุผลได้

 * การพัฒนาเจ้าหน้าที่ให้เข้าใจภารกิจงานขององค์กร เราใช้ "การจัดการความรู้" ได้ภายใต้มุมมองของระยะเวลา "วิสัยทัศน์ที่เราต้องการไปให้ถึง" เช่น 3 ปี 5 ปี ที่เราสามารถวางงาน KM ระยะยาวให้กับหน่วยงานได้

 * แล้วเรามาการกระจายงานสู่หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในลักษณะของ "คลังความรู้"

 * เราจัดการองค์ความรู้จากการปฏิบัติ ซึ่งต่างจาก "การจัดการสารสรเทศ ที่เรามักจะเข้าใจ KM ไปในทางที่ไม่ถูกต้อง

 * ขอบคุณมากนะค่ะที่นำมาเล่าสู่กันฟัง และเป็นกำลังใจให้ท่านเดินสู่เป้าหมาย.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท