ความก้าวหน้าการพัฒนาองค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชน ตอนที่ 1


พัฒนาระบบการออมและระบบการเงินชุมชนให้เป็นฐานทรัพยากรที่หนุนเสริมความเข้มแข็งของชุมชน สามารถพึ่งตนเองได้ในระยะยาว

ตั้งใจจะบันทึกความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนงานพัฒนาองค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชนในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาอยู่นานแล้วแต่ไม่สะดวกในเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์ที่ทำงาน    คราวนี้ตั้งใจจะเล่าแบบยาวหน่วยแต่อาจต้องสะสมที่ละเล็กที่ละน้อย      ดังนั้นจึงย้อนกลับไปที่ภารกิจของพอชตามพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้ง พอชก่อน โดยในพระราชกฤษฏีกาได้กำหนดบทบาทภารกิจ พอช ไว้ 4 ด้านหลัก ๆ คือ 1.การพัฒนาองค์กรชุมชน  2. การสร้างการยอมรับและรับรองสถานภาพองค์กรชุมชน 3. พัฒนาระบบการออมและระบบการเงินชุมชน สินเชื่อ สวัสดิการ และเศรษฐกิจชุมชน 4. การพฒนาประชาสังคมและความร่วมมือกับพหุภาคี       จากภารกิจดังกล่าวจะเห็นได้ว่า พอช .มีบทบาทโดยตรงในการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่องค์กรชุมชน ซึ่งในช้วง3-4 ปีที่ผ่านมาพอช ได้เปิดหน้างานใหม่หลายด้านที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์และงานเชิงประเด้นประกอบกับมีเงื่อนไขจากการอุดหนุนงบประมาณจากรัฐบาลด้วยที่มีนโยบายในการแก้ปัญหาความยากจนทำให้เกิดโครงการต่อเนื่องที่องค์กรชุมชนเข้ามาดำเนินการสร้างรูปธรรมการแก้ปัญหาผ่านประเด็นงานพัฒนาต่าง ๆที่ชุมชนมีส่วนร่วมและเป็นแกนหลักโดยในภาพรวมเข้าใจว่าองค์กรชุมชนส่วนใหญ่มีความเข้มแข็งระดับหนึ่งแล้ว     ดังนั้นการให้น้ำหนักในการพัฒนากลุ่มและองค์กรต่าง ๆ โดยเฉพาะองค์กรการเงินชุมชนแผ่วไป บ้าง    ดังนั้นเพื่อให้มีการทำงานที่ควบคู่ไปกับการขยายประเด็นงานที่คลอบคลุมพร้อม ๆไปกับการสร้างความเข้มแข็งขององค์กร  พอช โดยหน่วยพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชนซึ่งเป็นหน่วยสนับสนุนส่วนกลาง (เดิมตัวเองก็เคยสังกัดหน่วยนี้รับผิดชอบกสนพัฒนาระบบการออม  พัฒนาระบบสินเชื่อ และขบวนแก้ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน) ก่อนที่จะกลับมารับผิดชอบงานในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้โซนกลาง ดูแลงานทุกเรื่องร่วมกับทีมงานอีก 2 คน และกลับมาสังกัดสำนักงานภาคใต้      ในเรื่องการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนนั้น พอช มีทุนเดิมในแง่ประสบการณ์ ความรู้ฝังลึกของเจ้าหน้าที่/คนทำงานตั้งแต่สมัยที่เป็นพชม. (สำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง การเคหะแห่งชาติ)   ก่อนที่จะยุบรวมกับกองทุนพัฒ นาชนบทมาเป็นพอช . ในสมัยนั้นเจ้าหน้าที่ซึ่งรวมทั้งตัวเองด้วยได้ทำงานเชิงลึกกับชุมชนส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ การบริหารจัดการสินเชื่อเพื่อการพัฒนากับพี่น้องในเขตชุมชนเมือง หรือชุมชนแออัดในสมัยนั้นตัวเองรับผิดชอบพื้นที่เขตปริมณฑลจ.  นนทบุรีและสมุทรปราการ กลุ่มออมทรัพย์ชุมชนเกาะเกร็ดที่อ.ภีมพูดถึงพวกเราก็เป็นคนไปช่วยจัดตั้ง ปัจจุบันไม่รู้ว่ายังดำเนินการอยู่หรือเปล่า     ดังนั้นการที่พอช.ได้กลับมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนอย่างเข้มข้นอีกครั้งนับเป็นการเดินที่ถูกทางและเป็นการให้น้ำหนักกับภารกิจ พอช.ข้อที่3ที่มีรายละเอียดว่า เน้นการพัฒนาระบบการออมและระบบการเงินชุมชนให้เป็นฐานทรัพยากรที่หนุนเสริมความเข้มแข็งของชุมชน สามารถพึ่งตนเองได้ในระยะยาว   ซึ่งความก้าวหน้าในเรื่องนี้ทั้งในส่วนกลางและระดับภาคมีความก้าวหน้าเป็นอย่างไรนั้น จะมีต่อในบันทึกตอนที่ 2

 

หมายเลขบันทึก: 80933เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2007 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะคุณพัช

  • ตามมาอ่านและเรียนรู้จากคนทำงานจริงค่ะ
  • ที่สำคัญคือ ตามมาขอบคุณเรื่องการแนะนำพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่ที่น่าสนใจมากค่ะ
  • ขณะนี้ กำลังร่างกำหนดการศึกษางานให้สภาที่ปรึกษาฯอยู่นะคะ   คงจะเป็นวันใดวันหนึ่งในช่วงวันที่ 18-20 เมษายนนี้  อาจต้องรบกวนคุณพัชณีอีกครั้งค่ะ
  • ขยันเขียนนะคะ  จะขยันอ่าน เพราะเป็นประโยชน์มากค่ะ
       ต้องขอบคุณอ.ปัทมาวดีมากค่ะที่ให้กำลังใจจะพยายามเขียนนะคะ พื้นที่เครือข่ายลำสินธุ์ที่อาจารย์ไปดูมานับว่าเป็นพื้นที่ที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีแห่งหนึ่งค่ะ

 น้องพัช            

             อ่านที่มาแล้วก็ทำให้ได้ทราบประวัติของคนเก่งของกระทรวง พม.ครับ จะติตตามอ่านบันทึกต่อๆไป จะเขียนถึงเวทีเรียนรู้ที่ไสใหญ่ ทุ่งสง วันที่ 26 ก.พ. ไม่ทราบอีกนานไมเอ่ย เพราะมีรายละเอียดเยอะมาก ทั้งจากเวทีใหญ่และเวทีกลุ่มย่อย พี่ยังอ่านไม่หมดเลย ขอโทษด้วยที่ทีม กศน.อำเภอเมืองฯ พี่ไปร่วมได้คนเดียว แต่จาก กศน.จังหวัด ชุด KM ทีม เขาไปกันครบ และมี ผอ.กศน.จากหลายอำเภอไปร่วม

             ขอบคุณที่เขียนเล่าอดีตที่มาให้ได้อ่าน

             จัดย่อหน้าเสียบ้างก็น่าจะดีนะน้องพัช อ่านแล้วจะได้พักสายตาบ้าง

 

        เรียนอ. จำนง        พัชยังอ่อนเทคนิคการใช้คอมพิวเตอร์มาก บันทึกนี้ต้องพิมพ์ 2 ครั้ง ครั้งแรกพิมพ์เสร็จพอจะบันทึกไปคลิกที่ตกแต่งบล็อกตั้งใจจะจัดหน้าและตัวอักษรแต่ไม่ได้save ไว้ทำให้ข้อความหายไปหมดเลยต้องพิมพ์ใหม่     ต้องขอบคุณมากค่ะที่ช่วยแนะนำ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท