กลไกและการนำแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นนโยบายหลัก ขององค์การบริหารส่วนตำบล


ที่ผ่านมาการพัฒนาชุมชนภายใต้การบริหารของอบต. ยังไม่ได้แสดงถึงการมีนโยบายที่สะท้อนความต้องการของชุมชนเท่าที่ควรไม่มีแนวความคิด หรือนโยบายหลักที่จะพัฒนาชุมชนแบบองค์รวมและบูรณาการเพื่อให้เกิดความสมดุลย์ของทุกส่งทุกอย่างและมีความยั่งยืน

 

                      วิกฤติเศรษฐกิจในปี  พ.ศ.  2540  ทำให้เกิดความเสียหายกับประเทศไทย  หลายด้านทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ  แต่ในขณะเดียวกันทำให้คนไทยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาตามหลัก "เศรษฐกิจพอเพียง"  ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมากขึ้น  (สมุดบันทึกเสรษฐกิจพอเพียง  :  2549)  เพราะว่ามีกลุ่มชาวบ้านบางกลุ่มได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้น้อยมาก  หรือบางคนไม่กระทบเลย  ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุขธรรมดา  ซึ่งกลุ่มที่มีความเชื่อในแนว  "เศรษฐกิจพอเพียง"  มานานโดยเฉพาะกลุ่มเครือข่ายปราชย์ชาวบ้านภาคอีสาน   มีภูมิปัญญาชาวบ้านและปราชญ์ชาวบ้านเป็นตัวอย่างมานาน    มีเครือข่ายของชาวบ้านที่ลงมือปฏิบัติจริงจากการเรียนและเข้าใจในความสำคัยจากการลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง   โดยแฉพาะความพอเพียงในรายบุคคลและครอบครัว เช่น เมื่อมีแหล่งน้ำก็สามารถปลูกทุกอย่างที่กิน  กินทุกอย่างที่ปลูก  เหลือกินแจก                         

       Dscf7331      Dscf7332  Dscf7334

                    ในภาพรวมของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริในส่วนของเกษตรกรรากหญ้าจริง ๆ  มีการขยายในระดับไม่สูงนัก  และหลายพื้นที่ไม่ต่อเนื่อง  องค์กรในชุมชนเองน่าจะมีบทบาทและควรเป็นเจ้าภาพในการส่งเสริมสนับสนุน  และขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นนโยบายหลักของการพัฒนาท้องถิ่นที่มีโครงการมีคนรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง 

                   โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบล ( อบต.)  ที่มีศักยภาพสูงใกล้ชิดกับเกษตรกรและคนระดับรากหญ้ามากที่สุด  ที่สำคัญ  อบต.  มีศักยภาพและความคล่องตัวในการบริหารและการเงิน  เข้าใจในบริบทของชุมชนอย่างดี  เมื่อเกษตรกรและชาวบ้านระดับรากหญ้าในแต่ละชุมชนได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากองค์กรในท้องถิ่นอย่างจริงจังโดยเฉพาะ  อบต .  แล้วไปขยายการขับเครื่อนเศรษฐกิจพอเพียง จะส่งผลทำให้ประชาชนคนไทยโดยเฉพาะเกษตรกรในชุมได้รับการพัฒนาในแนวทางที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมีพอกิน   พอมีพอใช้ดังความหมายปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ว่า  ความพอเพียงหมายถึงความพอประมาณการมีเหตุผล  รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิอคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรน ต่อการมีผลกระทบใด ๆ  อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก  และภายในทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้  ความรอบคอบ  และความระมัดระวังอย่างยิงในการนำวิชาการต่างมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ  โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรํฐ  นักทฤษฏีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม  ความซื่อสัตย์สุจริต  และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทน  ความเพียร  มีสติ  ปัญญา  และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุสังคมสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

            การพัฒนาชุมชนในชนบทได้มีหลายองค์กรหลายหน่วยงาน  พยายามที่จะดำเนินการเพื่อช่วยเหลือให้เกษตรกรและคนในระดับล่างได้รับการดูแลแก้ปัญหา  ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมีช่องว่างของชนชั้นน้อยลง  การปรับเปลี่ยนแนวคิดจาก การบริหารจัดการด้านการพัฒนาชนบทของกระทรวงมหาดไทย  เป็นศูนย์กลางสั่งการผ่านกำนันผู้ใหญ่บ้าน  และหน่วยงานของรัฐ  ซึ่งมีปัญหามากมายการแก้ปัญหาล่าช้าไม่ตรงกับความต้องการชองชุมชนเปลี่ยนมาเป็นในรูปขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)  โดยมุ่งหวังว่าจะเป็นองค์กรที่มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายหลัก  สะท้อนความต้องการของชุมชน   

               แต่ที่ผ่านมาการพัฒนาชุมชนภายใต้การบริหารของอบต.  ยังไม่ได้แสดงถึงการมีนโยบายที่สะท้อนความต้องการของชุมชนเท่าที่ควรไม่มีแนวความคิด  หรือนโยบายหลักที่จะพัฒนาชุมชนแบบองค์รวมและบูรณาการเพื่อให้เกิดความสมดุลย์ของทุกส่งทุกอย่างและมีความยั่งยืน 

               ซึ่งในเรื่องนี้ศาตราจารย์นายแพทย์ประเวช  วะสี  ได้กล่าวไว้ในบทความวัฒนธรรมกับการพัฒนาว่า  ปัญหาของการพัฒนาและต้นเหตุของการเสื่อมเสีย  ทางศิลธรรมจะต้องเข้าใจลักษณะของวัฒนธรรมที่ดีขึ้น  8  ประการ  1  มีความหลากหลายกระจายอำนาจ  จึงส่งเสริมการเมืองระบอบประชาธิปไตย  2.  กระจายรายได้และสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ  3.  ส่งเสริมศักดิ์ศรีของชุมชนท้องถ่น  4.  มีความบูรณาการ  5.  สร้างความประสานสอดคลอ้ง(Harmony)  และความสมดุลย์ยั่งยืน  6.  มีการพัฒนาจิตใจ และจิตวิญญาณอันลึกซึ้ง  7.  ส่งเสริมความเข้มแข็งของสังคม  8.  เป็นการผดุงศิลธรรมของสังคม

                อบต.จะเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาชุมชนของตัวเอง ใด้อย่างไรครับ

หมายเลขบันทึก: 80598เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2007 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 09:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คงต้องเข็นกันอีกนานค่ะพี่พงษ์  แต่ก็ใช่ว่าจะหาไม่เจอซะทีเดียว  เพราะยังองค์กรส่วนท้องถิ่นอีกหลายแห่งที่ทำได้

         แต่ อบต.บางแห่งก็คงยากจนเลือดตาแทบกระเด็นแน่ เพราะแค่ที่เห็นมาสวนป่าวันก่อน ยังบอกเลยว่ามาสวนแค่อยากได้ใบประกาศ  แล้วจะเอาอะไรไปพัฒนาได้

         เศร้าค่ะ เศร้า

ดีใจที่มีการกระจายอำนาจ กระจายและคืนความเป็นมนุษย์ กลับมาให้กับชุมชน แต่ไม่แน่ใจว่าจะใช้ดาบที่ใด้มาอย่างไร

        ผมว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ในการพัฒนาชุมชน พัฒนาตัวคน  ถ้าหลงทางครั้งนี้ คงจะอยากมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท