อาจารย์ยม
อาจารย์ อาจารย์ยม บทบาทนักวิชาการ คือการชี้ทางสว่างให้สังคม นาคสุข

ภาวะผู้นำ Leadership


ผู้นำ ภาวะผู้นำ คุณสมบัติของผู้นำ การสร้างภาวะผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียงกับภาวะผู้นำ จริยธรรมของผู้นำ ตามแนวพระราชดำริ

สวัสดีครับ ผู้อ่านทุกท่าน

เมื่อวันศุกร์ที่ 23 และเสาร์ที่ 24 ก.พ. ได้รับเกียรติจาก  ศ.ดร.จีระ ให้ไปดำเนินการปฐมนิเทศแนะนำวิธีการเรียน การสอน และการส่ง Blog ให้กับ น.ศ. MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด หัวหิน  วิชา ภว. 524 ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร  

ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสรู้จักนักศึกษา MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด ที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน  สองวันที่ผ่านมา นักศึกษาส่วนใหญ่ สนใจการเรียนรู้และตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี  

  MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด

กิจกรรมในวันแรก ได้ปฐมนิเทศให้นักศึกษา ได้ทราบถึงกำหนดการ  แนวทางการเรียนการสอน การส่ง Blog ดังรายละเอียดตอนท้ายนี้ 

ชื่อหลักสูตร  บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต รหัสวิชา / ชื่อวิชา ภว. 524 ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กรอาจารย์ผู้สอน ศ. ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และทีม Chira Academy           

http://www.chiraacademy.com/

วัน / เวลา  ทุกวันศุกร์  เวลา 18.00 – 21.00 น.   

ครั้งที่

วันที่

หัวเรื่อง

1 วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ (18.00 – 21.00 น.) ปฐมนิเทศแนะนำวิธีการเรียนการสอน และการส่ง Blog ผู้นำกับการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดย คุณยม  นาคสุข
2 วันเสาร์ที่ 24กุมภาพันธ์(09.00-17.00 น.) ต่อ ผู้นำกับการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ช่วงเช้า)     (ช่วงบ่าย)  ศิลปะการเป็นผู้นำ ยุคใหม่ / การบริหารเชิงกลยุทธ์
3 วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม (18.00 – 21.00 น.)     อ.ยม (ต่อ) กลยุทธ์พัฒนาภาวะผู้นำ
4 วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม (09.00-17.00 น.) Leadership in the changed world. (Focus on Public Sector)By Mr. Peter Bjorkร่วมแปลสรุปความโดย คุณยม  นาคสุข

5

6

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม (18.00 – 21.00 น.) และ

วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม (9.00-17.00 น.)

แนะนำ concept 4L’s มอง Macro ไปสู่ Microภาวะผู้นำของหญิง ชาย  ภาวะผู้นำระหว่างตะวันตกตะวันออกA Model of Effective Leadershipคุณลักษณะของผู้นำยุคโลกาภิวัตน์  บทบาทของผู้นำยุคโลกาภิวัตน์ 3 แนวทาง  โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
7 วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม (18.00 – 21.00 น.) ผู้นำกับการบริหารความขัดแย้ง และการเจรจาต่อรองโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
8 วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม(09.00-17.00 น.) ผู้นำกับความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
9 วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม (18.00 – 21.00 น.) วิธีการคิดแบบผู้นำo       เรียนรู้จากบทสัมภาษณ์จีระ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์o       เรียนรู้จากบทสัมภาษณ์จีระ อำนวย วีรวรรณโดย คุณยม  นาคสุข
10 วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม สอบปลายภาค

   

MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด         

การวัดผลการเรียน 

1. 15% 1st Participation ต้อง ส่งการบ้านทาง Blog สัปดาห์ละครั้ง ภายในวันพุธ ซึ่งจะมี Blog ชื่อ  MBA Stamford/Leadership การบ้านคือ

          1.1 เรียนในแต่ละสัปดาห์ได้เรียนรู้อะไรบ้าง จากการเรียนวิชานี้ ทั้งในชั้นเรียนและ  จากการศึกษาค้นคว้าอ่านตำราและ Internet เพิ่มเติม

          1.2. หรือและทำรายงานตามที่อาจารย์ผู้สอนจะมอบหมายเพิ่มเติมในระหว่างชั้นเรียน

2.  15% 2nd Participation ต้อง การเข้าชั้นเรียน และการมีส่วนร่วมในห้องเรียน 

        

3.  20% 3rd Participation ต้อง ไปทัศนศึกษานอกสถานที่ และสรุปที่ได้ดูและศึกษามา ซึ่งมีการวัดผล   

            

4. 30% 4th Participation ต้อง ทำรายงาน case study โดยการศึกษาโจทย์เกี่ยวกับเรื่อง Leadership

5.  20% 5th Participation ต้อง สอบปลายภาค       

           

ทีมงานผู้ช่วยสอน

  1. อาจารย์ยม นาคสุข
  2. อาจารย์โลตัส
  3. คุณวราพร ชูภักดี (A)
  4. คุณเอราวรรณ  แก้วเนื้ออ่อน (เอ)

 Reading List 

  1. หนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้
  2. หนังสือ 2 พลังความคิดชีวิตและงาน คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์    
  3. Quiet Leadership: Six Steps to Transforming Performance at Work (Hardcover) by David Rock
  4. อุปนิสัยที่ 8 : จากประสิทธิผลสู่ความสำเร็จ = The 8th habit : from effectiveness to greatness / Stephen R. Covey ; เรียบเรียงโดย ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ; บรรณาธิการ จิรายุทธ ประเจิดหล้า 
  5. Jack Welch and the 4E’s of Leadership  

การเปิด Blog เพื่อส่งรายงาน/การบ้าน

  1. เข้าไปที่ www.google.com
  2. พิมพ์ชื่อ ดร.จีระ
  3. กด Enter
  4. เลือก รายการแรกที่ปรากฏหน้าจอคอมพิวเตอร์  จะพบเว็บของ ศ.ดร.จีระ
  5. http://www.chiraacademy.com/ หรือถ้าเลือกรายการที่สอง คือทุนมนุษย์กับ ดร.จีระ จะพบ http://gotoknow.org/blog/chirakm/77991
  6. แล้วเลือก Blog ที่มีชื่อ ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด
  7. คลิ๊ก เขาไปจะพบ ข้อความของ ศ.ดร.จีระ เขียนทักทาย น.ศ. ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด 
  8. ควรอ่านข้อความดูว่ามีอะไรบ้าง จากนั้น
  9. นำบทความที่เราเขียนไว้ copy มาวางลงใน blog

สัมมนา ภาวะผู้นำ ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด 

 การนำข้อมูล/รายงาน/การบ้าน มาวางลงใน Blog 

  1. ศึกษาข้อมูล ประเด็นที่จะเขียน จากการเรียนในห้อง จากเอกสารประกอบการบรรยาย จากหนังสือที่เกี่ยวข้อง  หรือที่อาจารย์ผู้สอนมอบหมาย  ศึกษาเพิ่มเติมให้เข้าใจ ก่อนลงมือเขียน
  2. เขียน ร่างลงในโปรแกรม Microsoft Office ก่อน
  3. เลือกตัวอักษร แบบ Tahoma ขนาด 14 สำหรับตัวหนังสือปกติ ขนาด 20-18-16 สำหรับหัวข้อเรื่อง
  4. สีตัวอักษร สีเข้ม เช่น เลือกสีดำ สีน้ำเงิน
  5. ทำแถบสีที่ต้องการเน้น
  6. เนื้อหาให้ครบถ้วนกระบวนการ เปิดประเด็น ดำเนินเรื่อง สรุปเสนอแนะ
  7. กล่าวทักทาย อาจารย์ เพื่อนนักศึกษา และผู้อ่านทั่วโลก ที่เข้ามาอ่าน
  8. ตรวจสอบหาคำผิด แก้ไข
  9. Copy นำไปวางใน Blog
  10. ตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะ การย่อหน้า ให้เคาะเว้นย่อหน้าเพิ่มใน Blog อีก สองบรรทัด(สองครั้ง ในทุกยอหน้า
  11. ใส่ชื่อในช่องใส่ชื่อ  ใส่ Email และรหัส ตัวเลขที่ปรากฏอยู่ตอนท้าย
  12. กด บันทึก
  13. เปิดอ่าน ตรวจสอบดูอีกครั้งหนึ่ง  
  14. นักศึกษา สามารถเขียนหรือ ทำ Blog ให้ได้บ่อยครั้ง หรือมีเนื้อหาสาระ ตามที่ใจต้องการ 
  15. การเขียน Blog ให้ระลึกถึงผู้อ่านทั่วโลก เสมอ  การเขียน Blog ถือเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นภาพของท่านเอง
  16. ส่ง Blog ตรงเวลา  ส่งก่อนเวลาก็ได้ไม่ผิดกติกา

ผมได้แนะนำนักศึกษาเพิ่มเติม ว่า การเรียน ป.โท ขอให้ตรงต่อเวลา หลีกเลี่ยงการขาดเรียน ส่งรายงาน สิ่งที่ได้รับมอบหมายให้ตรงเวลา  สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี ภายใต้หลักการพูด ภาวะผู้นำและ ศีลธรรม อันดีงาม และควรศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม  

สิ่งดังกล่าวข้างต้น คือสิ่งที่ผมได้ปฐมนิเทศไปในช่วงต้นของการเรียนการสอน

  

ขอชื่นชมนักศึกษาหลายคนมีส่วนร่วมในการเรียนได้ดี ขอบใจเจ้าหน้าที่ของ มหาวิทยาลัยที่ให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวก เป็นอย่างดี

ใน blog ถัดไปผมจะเขียนถึงสิ่งที่ได้มีการเรียนการสอน มีประเด็นอะไรให้นักศึกษาได้เรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในชั้นเรียน และมีสิ่งประทับใจอะไรบ้างที่ ม.นานาชาติแสตมป์ฟอร์ด หัวหิน

  

สวัสดี

  

  

  

หมายเลขบันทึก: 80586เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2007 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (92)

Blog นี้ ผมทำการสรุปประเด็นที่ได้มีการเรียนการสอนร่วมกับนักศึกษา MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด ที่หัวหิน เมื่อวันศุกร์ตอนเย็นและวันเสาร์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับ ภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง

 

 

สรุปสาระที่มีการเรียนการสอน และแนะนำให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ดังนี้

  1.   โลกปัจจุบันยุคแห่งการเปลี่ยนแปล
  2.  ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร
  3. ความหมาย ผู้นำ ภาวะผู้นำ คุณลักษณะของผู้นำ
  4. กรอบแนวความคิด แนวคิดทฤษฎีฯ
  5. สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่
  6. แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศ
  7. กิจกรรมกลุ่ม

 

 โลกปัจจุบันยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง 

กรอบแนวความคิด

 

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

  

สัตว์ในโลกที่ไม่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของโลก ได้สูญพันธ์ไปแล้ว เช่น ไดโนเสาร์

  

ความต้องการของลูกค้า เปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณและคุณภาพ  ถ้าเราไม่ปรับเปลี่ยน ลูกค้าจะเปลี่ยนไปซื้อรายอื่น

 

  Bill Gates “Business is going to change more in the next ten years than it has in the last fifty.”

 

  

II.           ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร

 

กรอบแนวความคิด

 

ภาวะผู้นำ : เป็นพลังขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ  The Energy that Drives Your Organization towards Excellence

 

ภาวะผู้นำ : สมรรถนะหลักของผู้บริหาร คือปัจจัยหนึ่งที่จะนำความสำเร็จมาสู่องค์กร

  (ปัจจัยความสำเร็จอื่น ๆ แนะนำให้ค้นคว้าเพิ่มเติมจาก Internet เช่น ปัจจัยแห่งความสำเร็จของโครงการปัจจัยภายนอก (PEST framwork)ได้แก่ด้านสถานการณ์การเมืองด้านเศรษฐกิจด้านสังคม ด้านเทคโนโลยีฯปัจจัยภายใน (7's framwork)ได้แก่วิสัยทัศน์ยุทธ์ศาสตร์การจัดการ โครงสร้างการจัดการที่เหมาะสม. ระบบที่เอื้อต่อการทำงาน.คน/ทีมงาน/ผู้บริหาร/ผู้นำทักษะ ประสบการณ์ของทีม

  รูปแบบการทำงาน/รูปแบบการจัดการ ที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์)

 

 

III.        ความหมาย ผู้นำ ภาวะผู้นำ คุณลักษณะของผู้นำ

 

กรอบแนวความคิด

ความหมายผู้นำ (Leader) คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ ภาวะผู้นำ Leadership เป็นความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร  ลักษณะผู้นำที่ดีผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน

  • (ทฤษฎี 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์)สามารถนำเสนอความคิดใหม่

1.    ทุนความรู้ 

 

2.    ทุนปัญญา

 

3.    ทุนทางสังคม

 

4.    ทุนทาง IT

 

·        สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้

 

5.    ทุนความเป็นมนุษย์

 

6.    ทุนทางความสุข

 

·        สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้

 

7.    ทุนจริยธรรม คุณธรรม

 

8.    ทุนแห่งความยั่งยืน

 

 

 Best Leaders(Susan Annunzio .2006 eLEADERSHIP: 27-32) 

  1. Honesty
  2. Responsiveness
  3. Vigilance = Continued Success
  4. Livingness to learn and relearn 
  5.  Sense of adventure
  6. Vision
  7. Altruism

 

คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหาร

  1. การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน (Social/National Interest)
  2.  ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล (Meritocracy/Good Governance)
  3. มีความสามารถ (Competence)
  4.  มีความสำนึกรับผิดชอบ (Accountability)
  5.  มีความเป็นกลาง (Neutrality
  6.  การมุ่งสัมฤทธิ์ผล (Result Orientation
  7.  ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)

 

ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี

  1. มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง
  2. ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง
  3. ขาดความรับผิดชอบ
  4. การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้
  5. ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน
  6.  แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องมาดำรงตำแหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งบันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง
  7.  ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม
  8. ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ
  9.   ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร ฯลฯ

 

IV. ภาวะผู้นำ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ 

ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ

  1. ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ
  2. ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม
  3. ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์

1.   ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ

  มีความเชื่อว่า ผู้นำที่มีคุณลักษณะดี จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามศาสตร์ของจีน มีการเก็บข้อมูลลักษณะของผู้นำว่า มีลักษณะสูงใหญ่ คิ้วดก ขนดกดำ สังเกตจากรูปภาพแม่ทัพจีนโบราณ ซุนวู เป็นต้น สัตว์ป่าจ่าฝูง เพศผู้จะมีลักษณะโครงสร้างใหญ่ มีขนสวยสง่างาม เป็นต้น ต่อมาภายหลังมีการพัฒนาการศึกษาลักษณะผู้นำ ว่าเป็นผู้ที่มีลักษณะ ดังนี้(แนะนำให้นักศึกษาอ่านเพิ่มเติมใน Sheet)

  • มีความทะเยอทะยาน (Ambition)
  • มีความอุสาหะพากเพียร (Persistence)
  • มีความกล้าหาญ (Courage)
  • มีความเชื่อถือศรัทธา (Faith)
  • มีความซื่อสัตย์มั่นคง (Integrity)
  • มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity)
  • มีความยุติธรรม (Justice)
  • มีจุดมุ่งหมาย (Objectivity)
  • มีความยืดหยุ่น (Flexibility)
  • มีความสามารถในการตัดสินใจ (Decisiveness)
  • มีวินัยในตนเอง (Self-Discipline)

 2. ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม(แนะนำให้นักศึกษาอ่านเพิ่มเติมใน Sheet)ตารางพฤติกรรมการบริหาร
Robert R. Blake & Jane S. Mouton

  • ผู้นำที่เน้นความสนใจที่คน ไม่ค่อยเน้นที่งาน
  • ผู้นำที่ไม่สนใจทั้งงานและคน
  • ผู้นำที่เอาใจใส่ทั้งคนและงาน
  • ผู้นำที่เน้นความสนใจที่งาน ไม่ค่อยเน้นที่คน
  • ผู้นำที่เดินสายกลาง

 3. ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์ (แนะนำให้นักศึกษาอ่านเพิ่มเติมใน Sheet)

  • เมื่อสถานการณ์เอื้อต่อการใช้ความเป็นผู้นำ กลุ่มจะตั้งใจทำงานโดยไม่ต้องมีการคะยั้นคะยอมาก
  • บุคคลแต่ละคนจึงควรทำงานในสถานการณ์ที่เหมาะกับแบบภาวะการเป็นผู้นำของเขา
  • ต้องเปลี่ยนแปลงสถานการณ์เพื่อให้สอดคล้องกับแบบภาวะการเป็นผู้นำของเขาเอง
  • (The Hersey-Blanchard Life Cycle Theory of Leadership)

Leadership concept that hypothesizes that leadership styles should reflect primarily the maturity level of the followers. (Certo, 2003)

 

V.     สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่

Leadership Competency Definitions
สมรรถนะหลัก 5 ด้าน นำสู่ภาวะผู้นำ

 

1. LEADING CHANGE ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง

  • Continual Learning การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
  • Creativity and Innovation มีความคิดสร้างสรรค์และใช้นวัตกรรม
  • External Awareness ตระหนักถึงผลกระทบจากภายนอก
  • Flexibility ความยืดหยุ่น
  • Resilience ปรับเปลี่ยนได้
  • Service Motivation จูงใจใฝ่บริหาร
  • Strategic Thinking การคิดเชิงกลยุทธ์
  • Vision การมีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกลได้ดี

  2.   LEADING PEOPLE DRIVING ศักยภาพในการเป็นผู้นำ  

  • Conflict Management การบริหารความขัดแย้ง
  • Leveraging Diversity ตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรม
  • Integrity/Honesty ความจงรักภักดี / ความซื่อสัตย์
  • Team Building สร้างทีมงาน

  3.   RESULTS DRIVING การมุ่งผลสัมฤทธิ์  

  • Accountability . ความรับผิดชอบ
  • Customer Service การให้บริการลูกค้า
  • Decisiveness การตัดสินใจ
  • Entrepreneurship ความเป็นผู้ประกอบการ
  • Problem Solving การแก้ไขปัญหา
  • Technical Credibility มีเทคนิคที่เชื่อถือได้

 4.   BUSINESS ACUMENT ความเฉียบคมทางการบริหาร

  • Financial Management การบริหารจัดการด้านการเงิน
  • Human Resources Management การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์
  • Technology Management การบริหารจัดการด้านเทคโนโลยี
  • Customer Management การบริหารลูกค้า

 5.    BUILDING COLITIONS  การสร้างความเข้าใจ

  • Influencing/Negotiating การเจรจาต่อรอง
  • Interpersonal Skills ทักษะด้านคน การโน้มน้าว
  • Oral Communication ความสามารถในการสื่อสารด้วยวาจา
  • Partnering ความสามารถในการมีส่วนร่วม
  • Political Savvy ความรอบรู้ด้านการเมือง
  • Written Communication ความสามารถในการสื่อสารด้วยการเขียน

 

VI.  แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศJeffrey A. Krames. JACK WELCH AND THE 4E’s OF LEADERSHIP; How to Put GE’s Leadership Formula to Work in Your Organization: 2005: 5.

  1. ENERGY Drive/ Embraces/ Change
  2. ENERGIZE Vision / Sparks / Others
  3. EDGE Strong Competitor/ Makes Difficult Decisions
  4. EXECUTION Delivers Results/Consistent / Performer

พัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำ

  1. คล่องคิด (Mental Agility) ล่วงรู้ปัญหา รู้แจ้ง เผชิญความยุ่งยากได้หลากหลาย อย่างเป็นสุข มีแง่คิด มีปัญญา
  2. คล่องคน (People Agility) รู้เขา รู้เรา เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้อื่น สร้างโอกาส เย็นสงบ สุขุม สง่างามภายใต้แรงกดดันได้
  3. คล่องผล (Result Agility) ทำให้ผู้คนมีพลังทำงานได้สำเร็จ ให้ผลงานได้เกินคาด สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อื่น ส่งมอบผลงานที่ยากได้
  4. คล่องเปลี่ยน (Change Agility) ใฝ่รู้ สู้ยิ่งยาก ไม่ย่นระย่อ ชอบทดลอง ปรับเปลี่ยน สนใจที่จะพัฒนาตน สร้างนวตกรรม

เซอร์วิลสตัน เซอร์ซิล รัฐบุรุษอังกฤษ (Dr. Boonton Dockthaisong)

  1. รักมั่น
  2. กตัญญู
  3. รู้คุณ
  4. ทำบุญสุนทาน
  5. อภิบาลอารมณ์
  6. ไม่กล่าวร้าย ไม่กล่าวหา ไม่เป็นกลุ่มฮายิน่า
  7. อดทน ฟันฝ่า เดินหน้า สร้างอนาคต

ใน Blog ต่อไป จะเป็นการแชร์ความรู้เกี่ยวกับ ภาวะผู้นำ ที่ได้จากแนวพระราชดำริฯ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของเรา  เช่น เศรษฐกิจพอเพียงกับภาวะผู้นำ เป็นต้น

VI.  แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศ(ต่อจาก Blog ที่แล้ว)

 

ฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ จากจริยธรรมของผู้นำในแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  1. การบริหารจะต้องเป็นการบริหารเพื่อความมั่นคงของชาติ เพื่อความเจริญของประเทศ และเพื่อความผาสุกของประชาชน การบริหารจะต้องไม่เอาประโยชน์ส่วนตัว ประโยชน์ของญาติพี่น้อง ประโยชน์ของบริวารเข้ามาเกี่ยวข้อง
  2. จะต้องบริหารด้วยความสามัคคี เพราะจะนำไปสู่ความร่วมมือและความเข้มแข็ง ทำให้งานบรรลุผลสำเร็จ
  3. จะต้องบริหารด้วยความซื่อสัตย์สุจริต พระองค์ทรงรับสั่งว่าจะต้องซื่อสัตย์สุจริตทั้งในความคิด การพูด และการกระทำ ผมขอให้ความเห็นส่วนตัว เป็นการขยายความ ผู้บริหารนอกจากจะซื่อสัตย์สุจริตแล้ว ต้องดูแลคนรอบข้างตัวเราให้ซื่อสัตย์สุจริตด้วย ยิ่งไปกว่านั้นผู้บริหารจำต้องเพิ่มเติมคำว่า เสียสละและจงรักภักดีเข้าไปด้วย
  4. จะต้องเป็นการบริหารที่ถูกต้อง คือถูกต้องตามกฎหมาย ตามกฎเกณฑ์ เที่ยงธรรม เที่ยงตรง มีประสิทธิภาพ และให้ประสิทธิผลสูง ความเห็นส่วนตัวของผม เห็นว่าผู้บริหารจะต้องมีมาตรฐานเดียวเสมอหน้ากัน ทั่วถึงกัน ต้องไม่มีหลายมาตรฐาน หรือ ไม่มีมาตรฐานเลย หรือใช้มาตรฐานตามอารมณ์ มาตรฐานตามกิเลส
  5. จะต้องเป็นการบริหารงานที่เป็นเอกภาพ คือการประสานงาน ประสานประโยชน์ ระหว่างหน่วยงาน พระราชดำรินี้ชัดเจนและเข้าใจง่าย แต่โดยข้อเท็จจริง หน่วยงานภาครัฐค่อนข้างละเลยจนเป็นอุปสรรคที่ไม่มีในตำรา บางทีก็กลายเป็นการแข่งขัน หรือกลายเป็นการแก่งแย่งกันเองระหว่างหน่วยงานต่างๆ
  6. ต้องบริหารด้วยความเฉียบอย่างต่อเนื่องอย่าง เช่น พระมหาชนก ผู้บริหารจะต้องไม่กลัวลำบาก กลัวเหนื่อย ดำรงความมุ่งหมายอย่างกล้าหาญ กล้าเผชิญอุปสรรค และ อดทนต่อความยากลำบาก
  7. ผู้บริหารต้องไม่หวาดกลัวต่ออิทธิพลใดๆ และต้องอยู่กันคนละฝ่ายกับความไม่ถูกต้อง
  8. ผู้บริหารจะต้องศึกษาหาความรู้อย่างจริงจัง อย่างลึกซึ้ง อย่างกว้างขวาง ทั้งทางลึกและทางกว้าง
  9. ผู้บริหารจะต้องมีความสำนึกในความรับผิดชอบ และเห็นความสำคัญของงาน ความรับผิดชอบหมายรวมถึงความตั้งใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุตามกฎที่กำหนด พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า การเห็นความสำคัญของงาน ความสำนึกในความรับผิดชอบ และความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่ ต้องทำพร้อมและควบคู่กันไป
  10. ผู้บริหารจะต้องรู้จักทรัพยากรอย่างประหยัดและฉลาด มีความถูกต้องเหมาะสม การที่พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานทฤษฎีใหม่ที่ได้ยินจนชินหูว่า เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการชี้แนวทางในการดำรงชีวิตใหม่ให้พวกเราพออยู่พอกิน ทำให้เกิดการสมดุลการดำรงชีพอย่างประหยัดและฉลาด
  11. ผู้บริหารจะต้องมีสติมีปัญหา สามารถพิจารณาปัญหาได้กว้างไกลรอบคอบทุกแง่มุม ส่วนตัวเห็นว่าผู้บริหารจะต้องมีวิสัยทัศน์ ทัน สมัย ทันเหตุการณ์ทั่วโลก โดยเฉพาะในสาขาอาชีพของตน
  12. ผู้บริหารต้องแน่วแน่ที่จะแก้ไขในสิ่งผิด ทุกคนคงได้ยิน ผมเชิญมาจากเพลงพระราชนิพนธ์ เห็นว่าผู้บริหารจะต้องกล้าที่จะรับผิดชอบในสิ่งที่ผิด และมีความแน่วแน่ที่จะแก้ไข การบริหารย่อมผิดพลาดได้ แม้จะรอบคอบ ระมัดระวังแล้ว ดังนั้น การแก้ไขสิ่งที่ผิดจึงไม่ใช่เรื่องน่าละอาย การทำชั่ว ประพฤติชั่วต่างหากที่น่าละอาย
  13. ผู้บริหารจะต้องบริหารแบบปิดทองหลังองค์พระปฏิมา ข้อนี้มาจากเพลงพระราชนิพนธ์เช่นเดียวกัน ผมเดาว่าทรงหมายถึงการไม่โอ้อวดมุ่งแต่ผลงาน ไม่หวังคำชมเชย ภูมิใจแต่ความสำเร็จ
  14. ผู้บริหารทุกระดับที่มีผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บริหารต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา

 

ฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ จากแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง กับภาวะผู้นำ
  1. รอบรู้ ใฝ่รู้
  2. คู่คุณธรรม
  3. มีเหตุ มีผล
  4. รู้ตน พอประมาณ
  5. มองการณ์ไกล ใส่ใจภูมิคุ้มกัน
 

(แนะนำให้นักศึกษาอ่านเพิ่มเติมใน Blog ตอนท้ายนี้ เพราะไม่ได้ใส่ไว้ใน Sheet)

 

เศรษฐกิจพอเพียง

3 หลักการ2 เงื่อนไข
สมรรถนะที่พึงประสงค์ของผู้นำวิเคราะห์จากกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ความพอประมาณModerationความพอดี พอประมาณ ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
  •    พอมีพอกิน รู้จักตน รู้จักประมาณ     
  • ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหรา      มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอยืมคน
  •   อยู่ได้ด้วยตนเอง     
  • พอในความต้องการ 
  •  ด้วยความพอเหมาะพอดี     
  • ถูกต้อง พอเหมาะพอดี     
  • ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง
  • ค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี
  • ทำการทุกอย่าง ด้วยความมีสติ  
ความมีเหตุมีผลReasonablenessการตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
  • ความคิดพิจารณาด้วยตนเอง
  •  ตรงเป้าหมาย ตรงความจริง
  •  คิด พูด ทำ ถูกต้องตามหลักเหตุผล
  • ถูกต้อง และเหมาะสม
  • ทำการทุกอย่างด้วยเหตุผล 
  •  ทำด้วยความมีสติ และด้วยความรู้ตัว 
  •  รู้จักสังเกตศึกษา เพื่อให้สามารถทำงานได้เสร็จสมบูรณ์ทุกสิ่ง
ความมีภูมิคุ้มกัน Self-Immureการเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
  •   มีทางที่จะแก้ปัญหาได้เสมอ
  •  ผลสำเร็จที่จะเกิดจากงาน เป็นใหญ่ยิ่งกว่าสิ่งอื่น
  • ไม่ประมาทปัญญาผู้อื่น
  •  ค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ
  •  เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับที่สูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับ.
  • ควบคุมกายใจและความคิด 
เงื่อนไข ความรู้ Knowledge ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ 
  •   มีความรู้ ศึกษาให้รู้ ให้ทราบ     
  • เข้าถึงแก่นแท้ของเรื่องนั้นปัญหา     
  •  เข้าใจปัญหาต่าง ๆ อย่างชัดเจนถูกถ้วน
  • มีความรู้      ความรู้ และความดีของตัว ให้ใส่ลงไปในงาน
  •  ชำนาญทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ*      ทำการทุกอย่างด้วยความรู้ตัว
  •  เห็นจุดหมาย เห็นสาระ และประโยชน์ที่แท้ของงานนั้นอย่างแจ่มแจ้ง
  • นำวิชาการด้านของตนประสานเข้ากับวิชาการด้านอื่น ๆ ได้โดยสอดคล้อง ถูกต้อง และเหมาะสม . . . 
เงื่อนไข คุณธรรมEthic Virtueความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
  •   มีคุณธรรม
  •  มีการช่วยกัน ร่วมมือร่วมใจกัน
  • แก้ปัญหาต่าง ๆ ร่วมกับผู้อื่นฝ่ายอื่นอยู่เป็นปรกติ*      ความสุจริตใจและจริงใจ
  •  เมตตาอารีและความไม่มีอคติ
  •  ไม่เสเพล และไม่ปล่อยตนให้เป็นทาษแห่งอบายมุขต่าง ๆ
  •  ยึดมั่นในจรรยาบรรณในวิชาชีพของตน*      วางตนได้สม่ำเสมออย่างเหมาะสม.
  •  เป็นกลาง
  •   วิชาการกับหลักธรรมนี้มีประกอบกันพร้อม 
  •  รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ

สำหรับ ช่วงที่ VII ใน Blog ถัดไป ผมจะเขียนถึงกิจกรรมกลุ่ม ว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง

สุดท้ายก่อนปิด Blog นี้ ขอขอบใจเจ้าหน้าที่ ทาง ม.นานาชาตมสแตมฟอร์ด คุณเจน คุณ Nitinan ขอบใจเจ้าหน้าที่ดูแลด้านคอมพิวเตอร์ และอีกหลายคนที่ให้การต้อนรับ เป็นอย่างดี  ขอบใจอาจารย์โลตัส ที่ติดตามไปร่วมสังเกตการณ์  และช่วยอำนวยความสะดวกหลายประการ

ขอบใจคุณเอ วราพร ที่คอยอำนวยการ ติดต่อประสานงานให้เรียบร้อยดี

ขอบใจนักศึกษาที่มีน้ำใจ นำขนมท้องถิ่นมาให้

ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านโชคดี

จาก จำเนียร อำภารักษ์ เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 18:42 (175946)

เรียน  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์              

ในวันที่  23 และ 24  ก.พ. 2550 เรียนเรื่องภาวะผู้นำ ซึ่งประกอบไปด้วยภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติร่วมกันยกตัวอย่าง โดยใช้ความรู้ใหม่ และจากประสบการณ์เดิม ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้  

คำถาม   เรียนเรื่องภาวะผู้นำได้ความรู้อะไรบ้าง จงอธิบาย              

ถ้าเปรียบดังเช่นสงครามนั้น สิ่งทีเป็นของล้ำค่าของกองทัพ คือ แม่ทัพ ดังเช่น ซุนวูได้ยกให้เป็น 1 ของการทำสงคราม เพราะแม่ทัพหรือผู้นำเป็นจุดชี้เป็นชี้ตายของสงคราม เช่นเดียวกับการดำเนินงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีผู้นำที่ดี และมีความเป็นเลิศในภาวะผู้นำ ย่อมได้รับการยอมรับ ทำให้องค์กรมีความมั่นคงและประสบความสำเร็จ             

ผู้นำ (Leader) คือบุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

อ.ยม ยกตัวอย่างผู้นำที่ประสบความสำเร็จ เช่น บิลล์ เกตส์ เจ้าพ่อวงการซอฟต์แวร์ของโลกที่ผันการใช้คอมพิวเตอร์ที่ยุ่งยากพัฒนาสู่ระบบการจัดการเพื่อง่ายต่อการใช้งาน

จากการเป็นผู้นำการใช้เทคโนโลยีแล้วยังเป็นคู่แข่งทุกอุตสาหกรรมในการพัฒนาสื่อ Internet และมัลติมิเดีย              

ความหมายของภาวะผู้นำ              Dubrin ให้ความหมายของภาวะผู้นำว่าเป็นความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

สรุปสั้น ๆ ภาวะผู้นำเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการเป็นผู้นำ

ลักษณะของผู้นำที่ดีโดยทั่ว ๆ ไป

  1. มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล
  2. มีความซื่อสัตย์
  3. มีความรับผิดชอบ
  4. มีบุคลิกภาพดี
  5. มีความสามารถริเริ่มสิ่งใหม่ ๆอยู่เสมอ
  6. ตรงต่อเวลา
  7.  สุขุม รอบคอบ ใจเย็น มีกลยุทธ์ยอดเยี่ยม ซึ่งเรียกว่า คมในฝัก
  8. มีการกระจายอำนาจอย่างทั่วถึง ให้รางวัลขวัญและกำลังใจ แก่ผู้ทำผลงานดี (ซึ่งอยู่ในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์)
  9. มีความรู้เรื่องที่ทำงานอย่างชัดเจน ไม่ใช่รู้แต่ทฤษฎีแต่ต้องปฏิบัติได้
  10. ต้องมีพรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)

ผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน1.       สามารถนำเสนอความคิดใหม่ ๆ

  • ทุนความรู้ เช่น ใฝ่รู้ หาความรู้อยู่เสมอ
  • ทุนปัญญา เช่น มีสติ-       
  • ทุนทางสังคม  เช่น มีมนุษยสัมพันธ์ คิดดี มี Positive Thinking เป็นบวก-       
  • ทุนทาง IT  เช่น ความรู้ทันเทคโนโลยี 

2.       สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้

  • ทุนความเป็นมนุษย์ ได้รับการอบรมสั่งสอน มีจริยธรรมมีคุณธรรม
  • ทุนทางความสุข  ซึ่งเผื่อแผ่คนอื่นได้ 

3.       สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้

  • ทุนจริยธรรม คุณธรรม เช่น พลเอกเปรม  ดิณสูลานนท์
  • ทุนแห่งความยั่งยืน ทำงานไม่เครียด มีเครือข่ายดี

ภาวะผู้นำกับการสร้างอำนาจ

  1. อำนาจจากการให้
  2. สร้างอำนาจโดยการตีเบา ๆ ชมดัง ๆ
  3.  ต้องแสดงเป็นผู้รู้มากกว่าลูกน้อง
  4.  สร้างโดยการอ้างอิง
  5. อำนาจทางนิติกรรม จากตำแหน่งระหว่างคำว่า เจ้านายกับ ผู้นำ ผู้นำมีความยั่งยืนกว่า

คุณค่าของผู้นำ

  1. มุ่งประโยชน์ส่วนร่วม
  2.  ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย / ธรรมาภิบาล
  3. มีความสามารถ
  4. มีความสำนึกรับผิดชอบ
  5. มีความเป็นกลาง
  6. การมุ่งผลสำเร็จ
  7.  ความเป็นมืออาชีพ

อุปสรรคที่ทำลายล้างผู้นำ

  1. มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว
  2. ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง
  3. ห้อมล้อมด้วยขุนพลอยพยัก
  4.   ขาดความรับผิดชอบ
  5. ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นตัดสินใจแทนได้
  6.  ไม่คิด ไม่สร้างคนแทน
  7.   ข้อมูลในการแต่งตั้ง บุคลากรไม่ชัดเจน
  8.  ขาดความรู้
  9.   ดื้อรัน ทิฐิ หลงตัวเอง ซึ่ง อ.ยม เน้นว่า ข้อ 9 นี้อันตรายมาก

ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ

  1.  เกี่ยวกับลักษณะ
  2. ทางด้านพฤติกรร 
  3. ทางด้านสถานการณ์

 

สมรรถนะหลัก 5 ด้าน นำสู่ภาวะผู้นำ

  1. ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง
  2. ศักยภาพในการเป็นผู้นำ
  3. การมุ่งผลสัมฤทธิ์
  4. ความเฉียบคมทางการบริหาร 
  5. การสร้างความเข้าใจ

 

อ.ยม พูดถึงประเทศญี่ปุ่นใช้ PDCA ในเรื่องภาวะผู้นำ      

  • P     มาจาก     Planning      
  • D     มาจาก     Do      
  • C     มาจาก     Check      
  • A     มาจาก     Action

สมรรถนะหลักของผู้นำ (ภาครัฐ) มี 4 กลุ่ม

  1. การบริหารคน
  2. ความรอบรู้ทางการบริหาร
  3. การบริหารอย่างมืออาชีพ
  4. มุ่งผลสัมฤทธิ์แต่ อ.ยม เพิ่มให้อีก 1 กลุ่มคือ ........
  5.  ความรอบรู้ ทางด้านความรู้ใหม่ ๆ (ความรู้สด) 

 

ทฤษฎี  8  K’s  ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อ. ยม แนะนำว่า ผู้นำสมัยใหม่ ต้องมีทุน และทุนที่มีต้องมากพอที่จะนำไปพัฒนาทีมงาน พัฒนาองค์กร ทุนดังกล่าว มี  8 อย่างดังนี้

  1. ทุนแห่งความยั่งยืน      
  2. ทุนทางสังคม      
  3. ทุนทางจริยธรรม      
  4. ทุนแห่งความสุข      
  5. ทุนทาง IT      
  6. ทุนทางปัญญา      
  7. ทุนทางความรู้ ทักษะ Mind set      
  8. ทุนมนุษย์

นอกจากนี้ อ.ยม เน้น ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมี 3 ห่วง 2 เงื่อนไขเป็นโมเดลของความเป็นผู้นำ    ภาวะผู้นำตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ 

  1. ความมีเหตุมีผล 
  2. รู้จักประมาณ
  3. มีวิสัยทัศย์ มีภูมิคุ้มกัน
  4. มีความรอบรู้
  5. มีคุณธรรม    

ในช่วงบ่ายของวันเสาร์ที่ 24 กพ. 50 ได้แบ่งกลุ่ม และส่งตัวแทนกลุ่มออกไปพูดในหัวข้อ

  • ผู้นำที่กลุ่มชื่นชอบ คือใคร มีลักษณะของผู้นำที่ดีอย่างไร
  • นายกรัฐมนตรีคนต่อไปของประเทศไทย ควรมีภาวะผู้นำอย่างไรหลัง

จากนั้น อ.ยม สรุปว่า ถ้านำเอาส่วนที่นักศึกษานำเสนอและวิเคราะห์แล้วเอามาหลอมรวมกัน พฤติกรรมเหล่านั้น ก็จะสามารถสร้างผู้นำที่เข้มแข็งได้  

ข้อเสนอแนะและเพิ่มเติมเมื่อได้ศึกษาวิชาภาวะผู้นำ ทำให้มีความรู้ทางทฤษฎีที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในองค์กรที่ทำงานอยู่ คิดว่าน่าจะเพิ่มคุณสมบัติของผู้นำที่ดี ดังนี้

  1. เชื่อมั่นในการตัดสินใจในของตนเอ
  2. กล้ารับผิดชอบในการตัดสินใจของตนเองเสมอ
  3. เมื่อกล้าคิด กล้าทำ ต้องกล้ารับผิดชอบ 

 

ผู้นำที่ข้าพเจ้าชื่นชอบ คือ คุณธนินท์  เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพราะ

  1. มีวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ เป็นที่ยอมรับของนักธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  2. ให้หุ้นกับพนักงานเมื่อมีตำแหน่งสูงขึ้น
  3. สร้างคนและดึงดูดคนเก่ง ๆ เอาไว้
  4.     ให้อภัย
  5.  ศึกษาความเก่งของผู้ใต้บังคับบัญชา
  6.  เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส
  7.  ช่วยเหลือสังคม
  8.  ผู้นำด้านเทคโนโลยี
  9.  กระจายอำนาจให้บริษัทที่อยู่ในเครือสามารถบริหารจัดการได้โดยอิสระ
  10.  ขายธุรกิจในขณะที่ธุรกิจมีกำไร         

เหตุผลดังกล่าวข้างต้น เป็นแบบอย่างที่ดีของผู้นำในการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน         

ชาญชัย พานิชนันทนกุล

ชาญชัย พานิชนันทนกุล เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 19:30 (175980)

 

สวัสดีครับท่านอาจารย์และเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน!         

ภาวะผู้นำเรียนแล้วได้อะไรบ้าง?
ภาวะผู้นำเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ สามารถต่อสู้กับความไม่แน่นอนในธุรกิจของตน  แสวงหา  รักษาพัฒนา กำลังคนให้มีความสามารถอยู่ตลอดเวลา รักษาลูกค้าเก่าได้  และสามารถต่อยอดสร้างลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น  สร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย 
องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้นำเป็นสำคัญ  ผู้นำต้องเป็น
  • ผู้ใฝ่รู้ 
  • มีความคิดสร้างสรรค์ 
  • สามารถคิดนอกกรอบข้ามศาสตร์ทางบวก   
  • มีวิสัยทัศน์กว้างไกล 
  • มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
  • สามารถนำไปวางแผนกลยุทธ์นำไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ  
  • มีการตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องสามารถ
  • สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าได้          

 

คุณค่าของผู้นำ 

  1. ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ 
  2. มีการเรียนรู้ตลอดเวลา 
  3. มองไปที่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก 
  4. ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตยและธรรมาภิบาล 
  5. มีความสามารถรอบด้าน 
  6. มีความสำนึกรับผิดชอบ 
  7. มีความเป็นกลาง  
  8. มีความเป็นมืออาชีพ 
  9. มุ่งสัมฤทธิ์ผล 

ผู้นำที่ดีต้องหลีกเลี่ยงเชื้อไวรัสร้าย  เช่น 

  • การมุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง 
  • ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ  ยึดมั่น  มีอัตตาสูง 
  • ห้อมล้อมด้วยขุนพลอยพยัก 
  • ขาดความรับผิดชอบ 
  • ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้ 
  • ไม่คิดสร้างตัวตายตัวแทน 
  • แต่งตั้งคนไม่ดีอยู่ในตำแหน่งสำคัญๆ 
  • แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งปันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง 
  • ขาดความรู้ 
  • ความเป็นธรรม 
  • ขาดสมดุล 
  • ไร้เหตุผล  และ
  • ขาดการพอประมาณ 
  • ดื้อรั้น  ทิฐิ  หลงตัวเอง           

ทฤษฎีภาวการณ์เป็นผู้นำ 

  1. ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ  ผู้นำที่ดีต้องทำงานสำเร็จด้วยดีและเป็นที่พอใจของผู้ใต้บังคับบัญชา  มีความทะเยอทะยาน  พากเพียร  กล้าหาญ  เชื่อถือศรัทธา  ซื่อสัตย์  คิดริเริ่มสร้างสรรค์  ยืดหยุ่น  ยุติธรรม  มีจุดมุ่งหมาย  กล้าตัดสินใจ  มีวินัยในตนเอง  สามารถนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ        

สมรรถนะหลัก 5 ด้านนำไปสู่ภาวะผู้นำ 

1. Leading  Change 

  • มีการเรียนรู้ต่อเนื่อง 
  • มีความคิดสร้างสรรค์รู้จักใช้  Innovation 
  • สร้างคุณค่าให้แก่องค์กร 
  • ตระหนักถึงผลกระทบจากภายนอก 
  • ปรับเปลี่ยนให้เกิดความยืดหยุ่นจูงใจ
  • ให้พนักงานทุกคนมี Service  Mind
  • มีความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์ สอดคล้องกับ Vision ที่วางไว้อย่างดี

2. Leading  People 

  • ผู้นำต้องมีศักยภาพในการบริหารความขัดแย้ง
  • สามารถใช้ประโยชน์จากปัญหาความขัดแย้งให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร 
  • ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมองค์กร 
  • มีความซื่อสัตย์  และ
  • สร้างทีมงานที่ดีนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จResults Driven
  • มุ่งไปสู่ผลลัพธ์เน้นการให้บริการ
  • มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 
  • มีความรู้สึกว่ามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของธุรกิจ 
  • กล้าตัดสินใจ  สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ  โดยใช้เทคนิคที่เชื่อถือได้มีประสิทธิภาพ

3. Business Acumen ความเฉียบคมในการบริหาร

  • ทั้งด้านการเงิน
  • ทรัพยากรมนุษย์
  • เทคโนโลยีและ
  • การบริหารลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ 

4. Building Coalitions การสร้างความเข้าใจ การติดต่อสื่อสาร

  • สามารถโน้มน้าวคนได้ดี
  • เจรจาต่อรองด้วยเทคนิคการสื่อสารที่ดี มีความรอบรู้ด้านการเมือง 
  • มีความสามารถในการมีส่วนร่วม 
  • สร้างโอกาสสู่ความเป็นเลิศขององค์กร 

ผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตนเองคือ

  • สามารถนำเสนอความคิดใหม่
  1. ทุนความรู้  หาความรู้เพิ่มตลอดเวลา-         ทุนปัญญา  มีคิดและทำอย่างมีสติ  มองในเชิงสร้างสรรค์-        
  2. ทุนทางสังคม  มีการติดต่อที่ดีกับทุกฝ่าย  สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับทุกองค์กร-          
  3. ทุนทาง IT เน้นเทคโนโลยี
  •  สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้
  1. ทุนความเป็นมนุษย์ ได้รับการอบรมมาดี       
  2. ทุนทางความสุข ทำงานด้วยความร่าเริง แจ่มใส  สามารถเผื่อแผ่คนอื่นได้สามรถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้-        
  3. ทุนจริยธรรม คุณธรรม-        
  4. ทุนแห่งความยั่งยืน 

 

สรุป ผู้นำที่ดีนอกจากต้องเก่งคน เก่งงาน เก่งคิด เก่งเรียน แล้วยังต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบซื่อสัตย์ มีความคิดกว้างไกล มีเทคนิคในการสร้างทีมงานที่ดี จึงนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

จาก
นายบุญยอด มาคล้าย เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 19:14 (175968)
 
การบ้าน  สัปดาห์ที่ 1 วิชา ภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงหัวข้อ วันนี้คุณเรียนแล้วได้อะไรบ้าง  
           
สวัสดีครับท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ผมดีใจที่ได้มีโอกาสได้เรียนกับท่าน แม้ว่าท่านจะยังไม่ได้สอนก็ตามแต่ดูจากความเป็นห่วงเป็นใยของอาจารย์ที่มีกับศิษย์แล้วทำให้ผมปลื้มมาก
เนื่องจากขณะที่ท่านอาจารย์ยมสอนอยู่นั้นอาจารย์ใหญ่ (ผมเรียกตามอ.ยมน๊ะครับ)ก็โทรเข้ามาหา อ.ยม
 แล้วอาจารย์ใหญ่ก็ทักทายลูกศิษย์
ทำให้ผมมีความคิดไปถึงการศึกษาของไทยถ้าครูบาอาจารย์ในประเทศไทยเอาใจใส่กับศิษย์แล้วตั้งใจถ่ายทอดวิชาความรู้ที่มีในตำราและนอกตำราให้กับศิษย์ผมว่าการศึกษาของไทยคงจะดีขึ้นกว่านี้แน่นอน
ในวิชาภาวะผู้นำผมถือว่าครูบาอาจารย์ก็เป็นผู้นำอีกด้านหนึ่งคือท่านต้องนำความรู้ ความมีพลัง ความมีแรงจูงใจ การใช้ชีวิตในสังคม การทำมาหากิน และที่สำคัญนำเรื่องการมีคุณธรรมและจริยธรรมมาถ่ายทอดให้ศิษย์  
            
สิ่งที่ได้ในการเรียนในวันนี้คือ
การเป็นผู้นำต้อง  รู้เรื่องคน  ใส่ใจ  สนใจ  เอาใจใส่ 
และสิ่งที่ อ.ยม สอนวันนี้อีกคำพูดหนึ่งที่ชอบคือผู้นำจะต้องมีความรู้ที่ใหม่และสดอยู่เสมอและต้องกล้าคิดนอกกรอบ กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ และกล้ารับผิดชอบ
สุดท้ายนี้ผมขอให้อาจารย์ใหญ่มีสุขภาพแข็งแรง จะได้อยู่เป็นองค์ความรู้ให้กับสังคมไทยได้อีกนานเท่านานสวัสดีครับ
ด้วยความเคารพ
นายบุญยอด  มาคล้าย  
                                       [email protected]
จาก
นายบุญยอด มาคล้าย เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 19:14 (175968)
 
การบ้าน  สัปดาห์ที่ 1 วิชา ภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงหัวข้อ วันนี้คุณเรียนแล้วได้อะไรบ้าง  
           
สวัสดีครับท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ผมดีใจที่ได้มีโอกาสได้เรียนกับท่าน แม้ว่าท่านจะยังไม่ได้สอนก็ตามแต่ดูจากความเป็นห่วงเป็นใยของอาจารย์ที่มีกับศิษย์แล้วทำให้ผมปลื้มมาก
เนื่องจากขณะที่ท่านอาจารย์ยมสอนอยู่นั้นอาจารย์ใหญ่ (ผมเรียกตามอ.ยมน๊ะครับ)ก็โทรเข้ามาหา อ.ยม
 แล้วอาจารย์ใหญ่ก็ทักทายลูกศิษย์
ทำให้ผมมีความคิดไปถึงการศึกษาของไทยถ้าครูบาอาจารย์ในประเทศไทยเอาใจใส่กับศิษย์แล้วตั้งใจถ่ายทอดวิชาความรู้ที่มีในตำราและนอกตำราให้กับศิษย์ผมว่าการศึกษาของไทยคงจะดีขึ้นกว่านี้แน่นอน
ในวิชาภาวะผู้นำผมถือว่าครูบาอาจารย์ก็เป็นผู้นำอีกด้านหนึ่งคือท่านต้องนำความรู้ ความมีพลัง ความมีแรงจูงใจ การใช้ชีวิตในสังคม การทำมาหากิน และที่สำคัญนำเรื่องการมีคุณธรรมและจริยธรรมมาถ่ายทอดให้ศิษย์  
            
สิ่งที่ได้ในการเรียนในวันนี้คือ
การเป็นผู้นำต้อง  รู้เรื่องคน  ใส่ใจ  สนใจ  เอาใจใส่ 
และสิ่งที่ อ.ยม สอนวันนี้อีกคำพูดหนึ่งที่ชอบคือผู้นำจะต้องมีความรู้ที่ใหม่และสดอยู่เสมอและต้องกล้าคิดนอกกรอบ กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ และกล้ารับผิดชอบ
สุดท้ายนี้ผมขอให้อาจารย์ใหญ่มีสุขภาพแข็งแรง จะได้อยู่เป็นองค์ความรู้ให้กับสังคมไทยได้อีกนานเท่านานสวัสดีครับ
ด้วยความเคารพ
นายบุญยอด  มาคล้าย  
                                      
นายนิคม อำภารักษ์ MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด

จาก

นายนิคม อำภารักษ์ เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 20:30 (176027)

 

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

           หลังจากที่ได้ศึกษาวิชาภาวะผู้นำเมื่อวันที่ 23-24 ก.พ. 50 นั้น ได้รับความรู้ในหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้          
องค์กรที่ประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องมีแรงขับเคลื่อนของผู้นำเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจโดยผู้นำจะต้องเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดที่จะนำพาองคาพยพทั้ง "คน" และ"องค์กร"นั้น ๆ ดำเนินไปอย่างมั่นคงและก้าวหน้าต่อไป
โจทย์........เรียนวิชาภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลงในองค๋กรได้ความรู้อะไรบ้าง
ผู้นำและภาวะผู้นำแตกต่างกัน            
ผู้นำ คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร           
ภาวะผู้นำ คือ  พลังชนิดหนึ่งที่สามารถส่งแรงกระทำอันก่อให้เกิดการขับเคลื่อนกลุ่มคน และนำองค์กรไปสู่การบรรลุเป้าประสงค์           
ยกตัวอย่าง บิลล์ เกตส์ ผู้นำซอฟแวร์ของโลก มีภาวะผู้นำดังนี้
  1.  ใฝ่รู้
  2. คิดสร้างสรรค์
  3. คิดนอกกรอบข้ามศาสตร์ 
  4.  ทุนทางปัญญา
  5. กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ

ผู้นำ กับเทคนิดการแก้ไขปัญหา  เมื่อมีปัญหาต้องแก้ไข 

  1. ต้องรู้ว่าอะไรคือตัวปัญหา
  2. สาเหตุ
  3. แนวทางเลือกในการแก้ปัญหา
  4. ลงมือปฏิบัติ (เลือกวิธีที่ดีที่สุด)
  5. ติดตามผลแล้ว
  6. พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา             

ทุกอย่างในโลกล้วนมีการเปลี่ยนแปลง

  • สัตว์ในโลกที่ไม่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของโลก ได้สูญพันธ์ไปแล้ว เช่น ไดโนเสาร์
  • สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  • ความต้องการของลูกค้า เปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณและคุณภาพ ถ้าเราไม่ปรับเปลี่ยน ลูกค้าจะเปลี่ยนไปซื้อรายอื่น

ดังนั้นผู้นำจะต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ         

การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้วย "คน"

  1. Leader Ship Style 
  2.  Strategics 
  3.  Human Resource

ผู้นำกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ

  1. Vision 
  2.   Mission 
  3.  Goals
  4. Objtive + Target
  5. Strategic Planning
  6. Action
  7. ต้องผ่านการตรวจและ
  8. ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

 

ความหมายของความสำเร็จในการบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21

  1. สามารถต่อกรกับความไม่แน่นอนในธุรกิจของคน ที่นับวันก็ยากแก่การคาดคะเน เล็งถึงผลได้ การวางแผนระยะยาวต้องทอนให้สั้นลง
  2. แสวงหา รักษา พัฒนากำลังคนให้มีความสามารถอยู่เป็นนิจ
  3.  สร้างแนวคิดใหม่ ๆ ของการงานของตนเองอยู่เสมอ นวตกรรมในหน่วยงานของคนในแต่ละไตรมาส
  4. ดำเนินการด้วยความมีประสิทธิภาพ ต้นทุนที่ต่ำ ได้ผลดี
  5. แสวงหา รักษาลูกค้าได้ดี
  6. สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียกับกิจการขององค์การ

ผู้นำต้องรู้จักการสร้างอำนาจ ที่ถูกต้อง

  1. อำนาจเกิดได้จากการให้เงิน ให้โอกาส ให้ความรัก ให้ความใกล้ชิด
  2. โดยการติ ตีเบา ๆ ชมดัง ๆ ประเทศญี่ปุ่นกฎกติกา การสร้างอำนาจชัดเจน
  3. ปฏิบัติตนเป็นผู้รู้มากกว่าลูกน้อง
  4. สร้างอำนาจจากการอ้างอิง เช่น อ้างหัวหน้าบอก อ้างประกาศ
  5. อำนาจทางนิติกรรม

เจ้านายและผู้นำ มีความแตกต่างกัน ผู้นำมีความยั่งยืนกว่า เพราะ

  1. ผู้นำสร้างปณิธานให้แก่ผู้ตาม
  2. ผู้นำอาศัยเจตจำนงที่เสรี
  3. ผู้นำแผ่ความรัก ปรารถนาดี
  4. ผู้นำ พูดว่า "เรา"
  5. ผู้นำแสดงให้รู้ว่าอะไรที่ผิด และควรทำอย่างไร
  6. ผู้นำรู้ว่าจะทำงานอย่างไร
  7. ผู้นำบริหารความเคารพ ไม่ใช่เจ้านาย

ผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน

1.  สามารถนำเสนอความคิดใหม่

  • ทุนความรู้
  • ทุนปัญญา
  • ทุนทางสังคม
2.  สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้
  • ทุนความเป็นมนุษย์
  • ทุนทางความสุข
3.  สามารถสร้างความสุขให้กับคนอื่นได้
  • ทุนจริยธรรม คุณธรรม
  • ทุนแห่งความยั่งยืน

คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหาร

  1. การมุ่งประโยชน์ส่วนร่วม ประโยชน์แผ่นดิ
  2. ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย / ธรรมาภิบาล
  3. มีความสามารถ
  4.   มีความสำนึกรับผิดชอบ
  5.    มีความเป็นกลาง
  6.  การมุ่งสัมฤทธิ์ผล
  7. ความเป็นมืออาชีพ

คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหารข้างต้นนำไปใช้วิเคราะห์Best Leaders

  1.  Honesty
  2. Responsiveness
  3. Vigilance = Continued Success
  4. Livingness to learn and relearn
  5.  Sense of adventure
  6.  vision
  7.    Altruism

อ.ยมเน้น เชื้อไวรัสร้าย ทำลายล้างผู้นำและองค์การ ทังภาครัฐและเอกชน

  1. ม่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง
  2. ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง
  3.   มีแนวโน้มห้อมล้อมด้วยขุนพลอยพยัก
  4.    ขาดความรับผิดชอบ
  5.   การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้
  6. ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน
  7. แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องดำรงตำแหน่งสำคัญแสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งปันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง
  8.  ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ
  9.  ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร  

ความหมายของความสำเร็จในการบริหารจัดการ

1.    สามารถต่อกรกับความไม่แน่นอนในธุรกิจของตน ที่นับวันก็ยากต่อการคาดคะเน เล็งถึงผลได้ การวางแผนระยะยาวต้องทอนให้สั้นลง

2.    แสวงหา รักษาพัฒนากำลังคนให้มีความสามารถอยู่เป็นนิจ

3.    สร้างแนวคิดใหม่ๆ ของการงานของตนอยู่เสมอ นวตกรรมในหน่วยงานของคนในแต่ละไตรมาส

4.    ดำเนินการด้วยความมีประสิทธิภาพ ต้นทุนที่ต่ำ ได้ผลดี

5.    แสวงหา รักษาลูกค้าได้ดี

6.    สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียกับกิจการขององค์การ

ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ

1.    เกี่ยวกับลักษณะ

2.    ทางด้านพฤติกรรม

3.    ทางด้านสถานการณ์

สมรรถนะหลัก 5 ด้าน นำสู่ภาวะผู้นำ

1.    ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง

2.     ศักยภาพในการเป็นผู้นำ

3.    การมุ่งผลสัมฤทธิ์

4.     ความเฉียบคมทางการบริหาร เช่นความรู้สึกมองการณ์ไกล บริหารเชิงรุก อย่ารอให้ปัญหาเกิด

5.     การสร้างความเข้าใจ

สมรรถนะหลักของผู้นำแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม

1.    สมรรถนะในการบริหารคน

2.    สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร

3.    สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ

4.    สมรรถนะการบริหารแบบม่งผลสัมฤทธิ์

5.    สมรรถนะในการเรียนรู้ ความรู้ใหม่ ๆ (ความรู้สด)

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มี 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คนที่เป็นผู้นำที่ดีจึงต้องมี

1.    ความพอประมาณ

2.    มีเหตุผล

3.    มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้

เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม

บรรษัทภิบาลที่ดี

1.    ประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

2.    ความโปร่งใส

3.    ความซื่อสัตย์

4.    ความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติตามหน้าที่

5.    ความสามารถในการแข่งขัน

แนวทางสู่การเป็นผ้นำที่ดีแห่งยุค

1.    มีความรอบรู้

2.    มีคุณธรรม

3.    มีเหตุมีผล

4.    รู้จักประมาณ

5.    มีภูมิคุ้มกัน

ข้อสรุปลักษณะการเป็นผู้นำโดยภาพรวมและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

1.    ความเข้าใจในบทบาทในหน้าที่ ความรับผิดชอบ เป้าหมาย และลำดับความสำคัญของงานตนเองให้ชัดเจน

2.    การมอบหมายงานอย่างมีประสิทธิผล

3.    จะต้องสามารถหักห้ามใจตนเองไว้ให้ได้ที่จะไม่เข้าไปทำงานแทนลูกน้อง โดยตัวผู้นำเองจะต้องเป็นกระจกเงาในการสะท้อนภาพและชี้นำการทำงานของลูกน้อง

4.    อย่าหลงคิดว่างานทุกอย่างเป็นงานที่สำคัญและจะต้องทำ เพราะงานบางอย่างไม่จำเป็นสำหรับผู้นำที่จะต้องทำ

5.    ผู้นำต้องสามารถพูดคำว่า "ไม่" ในงานที่ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล

ผู้นำที่ชื่นชอบ  คือพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์  นายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของประเทศไทยเพราะ

1.    ชอบสันโดษสมถะ

2.    มีความซื่อสัตย์

3.    เวลาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนสามารถโน้มน้าวให้คล้อยตามได้

4.    สุขุมใจเย็น

5.    ตำแหน่งหน้าที่การงานข้าราชการประจำเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด

6.    หลังจากเกษียณได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี 

เพราะคุณความดี ความซื่อสัตย์สุจริตและผลงานราชการจึงได้รับการสนับสนุนและผลักดันเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ของประเทศไทยซึ่งเป็นเกียรติและศักดิ์ศรีของชาวจังหวัดเพชรบุรี เนื่องจากท่านเป็นชาวเพชรบุรี จังหวัดเดียวกับกระผม

นางสาวสุพรรษา อาลี MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด
จาก
นางสาวสุพรรษา อาลี เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 07:24 (176524)
 
สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
จากการที่ได้เรียนวิชาภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงในสัปดาห์แรก ทำให้ได้รู้เกี่ยวกับการเป็นผู้นำและภาวะผู้นำที่ผู้นำของแต่ละองค์การควรจะมี ซึ่งสรุปเนื้อหาได้ดังนี้
หากพูดถึง ผู้นำเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีส่วนช่วย ให้องค์การประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลว และสามารถแข่งขันกับองค์การอื่นได้หรือไม่
ในโลกปัจจุบันที่ภาวะการแข่งขันนั้นมีสูง หากองค์การมีผู้นำหรือผู้บริหารที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ฯลฯ องค์การก็สามารถที่จะแข่งขันกับผู้อื่นได้ และประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
ผู้นำ (Leader) คือ บุคคลที่สามารถชักจูงหรือชี้นำบุคคลอื่น ให้ปฏิบัติงานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพและทำให้องค์การประสบความก้าวหน้าและบรรลุผลสำเร็จ
ภาวะผู้นำ (Leadership) คือ พฤติกรรมส่วนตัวของบุคคลคนหนึ่งที่จะชักนำกิจกรรมของกลุ่มให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน เป็นความสามารถที่จะมีอิทธิพลเหนือผู้อื่นในด้านการกระทำ และสามารถจูงใจบุคคลอื่นให้กระทำกิจกรรมที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายขององค์การได้
ทุกอย่างในโลกล้วนมีการเปลี่ยนแปลง  จะเห็นได้ว่า
  • สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว-        
  • ความต้องการของลูกค้า มีการเปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณและคุณภาพ
  • ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลง ลูกค้าก็จะไปซื้อรายอื่น

ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ

1. ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ (Trait Approach)เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นไปยังคุณสมบัติส่วนตัวของผู้นำ เช่น

  • มีความทะเยอทะยาน (Ambition)-        
  • มีความอุตสาหะพากเพียร (Persistence)-        
  • มีความกล้าหาญ (Courage)
  • มีความเชื่อถือศรัทธา (Faith)
  •  มีความซื่อสัตย์มั่นคง (Integrity)
  • มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity)
  • มีความยุติธรรม (Justice)
  • มีจุดมุ่งหมาย (Objectivity)
  • มีความยืดหยุ่น (Flexibility)
  • มีความสามารถในการตัดสินใจ (Decisiveness)
  • มีวินัยในตนเอง (Self-Discipline) 

2.    ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม (Behavioral Approach)จะมุ่งเน้นในเรื่องเกี่ยวกับผู้นำ และผู้จัดการที่ใช้พฤติกรรมในการทำงาน เช่น

  • การสังเกต
  • การสั่งการ
  • การปฏิบัติการ จะทำให้เกิดการทำงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ 

3.    ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์ (Situational Approach)เป็นการวิจัยที่ให้ความสำคัญในเรื่องของปัจจัยที่ทำให้เกิดสถานการณ์ เช่น

  • เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่จะต้องตัดสินใจผู้นำที่ดีจะทำการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและให้ดีที่สุด 

 

ผู้นำที่ดีควรมีทุนอยู่ในตนดังนี้

  1. ทุนความรู้ คือ ต้องมีการใฝ่หาความรู้ตลอดเวลา
  2. ทุนปัญญา คือ ต้องเป็นคนที่มีสติ มีเหตุมีผล มีการคิดอย่างสร้างสรรค์
  3. ทุนทางสังคม คือ การมีเครือข่าย มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีการเข้าสังคม เป็นที่ยอมรับของคนอื่น มีการคิดที่ดี เป็นด้านบวก
  4. ทุนทาง IT คือ การมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ และติดตามความเคลื่อนไหวของข้อมูลข่าวสารใหม่ๆอยู่เสมอ
  5. ทุนความเป็นมนุษย์ คือ ผู้นำที่ดีมักจะได้รับการดูแลสั่งสอนมาดีตั้งแต่เล็ก กินดีอยู่ดี มีชีวิตที่ดี เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
  6. ทุนทางความสุข คือ การเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องมีการสะสมความสุข เพื่อจะได้เผื่อแผ่คนอื่นได้
  7. ทุนทางจริยธรรม คุณธรรม คือ ในการเป็นผู้นำที่ดีจะต้องมีความเป็นธรรมในการทำงาน และต้องแฝงด้วยจริยธรรมต่างๆ
  8. ทุนแห่งความยั่งยืน จะเกิดขึ้นมาได้ถ้าผู้นำมีทุนทั้งหมดข้างต้น  

 

ผู้นำที่ดีที่สุดควรมีพฤติกรรม ดังต่อไปนี้

  1. มีความซื่อสัตย์
  2. มีความรับผิดชอบ
  3. มีความไม่เห็นแก่ตัว คำนึงถึงผู้อื่น
  4. มีวิสัยทัศน์
  5. มีไหวพริบ
  6. มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
  7. มีความระมัดระวังและรอบคอบ

คุณค่าของผู้นำ / ผู้บริหาร อยู่ตรงไหน

  1. การมุ่งประโยชน์ส่วนรวมและประโยชน์ของแผ่นดิน
  2. ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล
  3.   มีความสามารถ
  4.  มีความสำนึกรับผิดชอบ
  5. มีความเป็นกลาง
  6. การมุ่งสัมฤทธิ์ผล
  7. ความเป็นมืออาชีพ 

ผู้นำต้องรู้จักสร้าง รักษาและใช้อำนาจ ในทางที่ถูกต้อง แนวทางการสร้างอำนาจ ได้แก่

  1. อำนาจ...จากการให้ คือ ให้โอกาส ให้ความรู้ ให้อภัย ให้ความใกล้ชิด
  2. อำนาจเกิดได้โดยการติ คือ เมื่อลูกน้องทำไม่ถูกต้องให้สั่งสอนหรือตำหนิ
  3. อำนาจในการแสดงตนเป็นผู้รู้มากกว่า
  4. อำนาจสร้างได้โดยการอ้างอิง เช่น การอ้างอิงถึงผู้บังคับบัญชาในกรณีที่มีเหตุจำเป็นให้แก้สถานการณ์เฉพาะหน้า
  5. อำนาจทางพฤติกรรม การเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องมีภาวะผู้นำเพราะองค์การจะประสบความสำเร็จได้ ก็จะต้องมีภาวะผู้นำที่ดี

ผู้นำนั้นจะต้องมีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา เพราะโลกในยุคปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ผู้นำที่ดีจะต้องเป็นคนที่คิดดี หรือมี Positive Thinking คือการคิดในด้านบวก     การเป็นผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์ ต้องกล้าตัดสินใจ ต้องตัดสันใจได้ทันการณ์ และเมื่อได้ตัดสินใจไปแล้วต้องไม่มีปัญหาตามมา และที่สำคัญผู้นำต้องมีอำนาจ  ต้องสร้างอำนาจและต้องใช้อำนาจให้ถูกต้องอีกด้วย  

 

นางสาวสุพรรษา  อาลี 

รหัสประจำตัว  106242002

.. ปริญญาโท MBA รุ่นที่ 7

มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

สวัสดีค่ะศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ อ.ยม นาคสุข และผู้อ่านทุกท่าน  

    ตามที่อาจารย์ยม นาคสุขได้ให้เกียรติมาสอนวิชาภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงในวันที่ 23 -24 กุทภาพันธ์ 2550 ทำให้ดิฉันรู้สึกประทับใจและได้ความรู้เพิ่มมากค่ะ โดยอาจารย์ได้เริ่มสอนในหัวข้อเรื่องดังนี้

1.  โลกปัจจุบันยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง

 

-คนงานส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา มีความฉลาดขึ้น ดังนั้นกฎระเบียบการทำงานแบบเก่าๆ ไม่สามารถใช้ได้แล้ว

-PEST {politic economic social technology} เป็นปัจจัยภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีผลกระทบต่อภาวะผู้นำ

-ความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงปริมาณและคุณภาพ ถ้าไม่ปรับเปลี่ยน ลูกค้าจะเปลี่ยนแปลงไปซื้อรายอื่น        

 

2. ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร

-สามารถต่อกรกับความไม่แน่นอนในธุรกิจของตนที่นับวันยากแก่การคาดคะเน

-แสวงหา รักษา พัฒนากำลังคนให้มีความสามารถอยู่เป็นนิจ

-สร้างแนวคิดใหม่ๆของการงานของตนอยู่เสมอ

-ดำเนินการด้วยความมีประสิทธิภาพ ต้นทุนที่ต่ำได้ผลดี

-แสวงหา รักษาลูกค้าได้ดี

-สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับกิจกรรมขององค์กร

 

-โดยการสร้างความได้เปรียบขององค์กรในการแข่งขันเรื่องคน ถ้าคนในองค์กรนั้นเก่ง และดี องค์กรนั้นจะได้เปรียบ

3.ผู้นำ หมายถึงบุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มและความสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ 

ภาวะผู้นำ หมายถึง เป็นความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร      

3.1ผู้นำที่ฉลาดควรมีลักษณะดังนี้      

-สามารถเสนอแนวความคิดใหม่ คือมีทุนความรู้ ทุนปัญญา ทุนทางสังคม ทุนทางIT       

-สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้ คือมีทุนความเป็นมนุษย์  ทุนทางความสุข      

-สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้ คือ มีทุนทางจริยธรรมคุณธรรม ทุนแหเงความยั่งยืน      

3.2คุณค่าของผู้นำ      

-การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม      

-ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล      

-มีความสามารถ      

-มีความสำนึกรับผิดชอบ      

-มีความเป็นกลาง      

-การมุ่งสัมฤทธิ์ผล      

-ความเป็นมืออาชีพ

 

*****ผู้นำที่ดีต้องมีภาวะผู้นำ ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ******

 

เช่น BILL GATES มีภาวะผู้นำคือใฝ่รู้ คิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบข้ามศาสตร์ มีอัฉริยะทางปัญญา กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ      

3.3ผู้นำต้องมีการสร้างและรักษาอำนาจ ซึ่งจะเกิดได้จาก      

-การให้(ให้โอกาส ให้ความรู้ ให้อภัย)

-การติด้วยความเมตตา

-การแสดงเป็นผู้รู้มากกว่าลูกน้อง

-อำนาจสร้างได้ด้วยการอ้างอิง

-อำนาจทางนิติกรรม      

4.กรอบแนวความคิด ทฤษฎี               

4.1ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ : ลักษณะและทักษะของผู้นำที่ดีจะทำงานสำเร็จด้วยดีและเป็นที่พอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาจะทำให้เกิดประสิทธิภาพ             

4.2ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม               

4.3ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์      

5.สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่               

 

5.1ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง             

-การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ตระหนักถึงผลกระทบจากภายนอก ความยืดหยุ่น จูงใจใฝ่บริหาร การคิดเชิงกลยุทธ์  มองการณ์ไกลได้ดี             

5.2ศักยภาพในการเป็นผู้นำ             

-การบริหารความขัดแย้ง ตระหนักในคุณค่าทางนวัตกรรม ความจงรักภักดี สร้างทีมงาน             

5.3มุ่งไปสู่ผลลัพธ์             

-ความรับผิดชอบ การให้บริการลูกค้า การตัดสินใจ ความเป็นผู้ประกอบการ การแก้ไขปัญหา มีเทคนิคที่เชื่อถือได้             

5.4ความเฉียบคมทางการบริหาร             

-มีความรู้ลึก มีวิสัยทัศน์ บริหารเชิงรุกเช่น CEO concept ผู้นำต้องสนใจ customer satisfaction,employee satisfaction,organization result             

5.5การสร้างความเข้าใจ/การติดต่อสื่อสาร             

-การเจรจาต่อรอง การโน้มน้าวใจ ความสามารถในการสื่อสารด้วยวาจา ความสามารถในการมีส่วนร่วม ความรอบรู้ด้านการเมือง ความสามารถในการสื่อสารด้วยการเขียน      

6.แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศ

-ภาวะผู้นำตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง (3ห่วง2เงื่อนไข)คือ

3 ห่วงคือผู้นำต้องมีเหตุมีผล มีความพอดีพอประมาณ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

2 เงื่อนไขคือ เงื่อนไขความรู้(รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) เงื่อนไขคุณธรรม(ซื่อสัตย์สุจริต สติปัญญาขยันอดทน แบ่งปัน)

สรุปและข้อเสนอแนะ      

คนเมื่อมีทุนมนุษย์ที่ (ได้รับการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนมาอย่างดี) จะทำให้สามารถเป็นผู้นำที่ดี และต้องมีภาวะผู้นำคือ มีความคิดดี {positive ting} มีอัตตาต่ำมีทุนทั้ง 8 ประการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้นำที่ความเฉียบคมทางการบริหาร  มุ่งสัมฤทธิ์ผล สร้างความเข้าใจ ภาวะผู้นำในอนาคตควรจะต้องมีทุนแห่งความพอเพียงเพิ่มขึ้นมารวมทั้งในการปกครองภาครัฐและภาคเอกชน คือมีความรอบรู้ มีคุณธรรม มีเหตุมีผล รู้จักประมาณ มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์กรไปสู่ความสำเร็จ และมีภาวะผู้นำที่ยั่งยืน      

**ข้อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีในอนาคตของประเทศไทย ควรจะมีภาวะผู้นำแบบไหน      

-ต้องมาจากการเมือง  รอบรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์    ต้องมีความสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก   ต้องศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลาเป็นความรู้ที่สด    มีความเป็นนักวิชาการ รู้แล้วถ่ายทอดได้    มีความเป็น GLOBALIZATION

 

7.ภาพรวมของการจัดการทรัพยากรมนุษย์      

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นศิลปะการจัดการเกี่ยวกับบุคคล ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน เพื่อให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน  

หน้าที่ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์คือ 1.สรรหา 2. พัฒนา 3.รักษาไว้ 4.ใช้ประโยชน์ 

 

**จักรยานนานไปก็เสื่อม แต่คนถ้าทะนุบำรุง พัฒนา ยิ่งนานยิ่งเก่งกล้า แต่ในทำนองเดียวกัน คนถ้าไม่ดูแลพัฒนาก็เสื่อมหรือเสื่อมเร็วกว่าวัตถุด้วย**

 

การบริหารจัดการองค์กรยุคใหม่ คือ ใช้คนน้อย มืออาชีพ มีมาตรฐานทางคุณธรรม จริยธรรม โปร่งใส พร้อมรับผิด มีการทำข้อตกลงหรือผิดสัญญา

 

จริยา ลิ้มธรรมรักษ์

106242001 MBA7

เสาวนีย์ ทวีเผ่า MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด
จาก เสาวนีย์ ทวีเผ่า เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 21:17 (177308)  

มหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ดนานาชาติ   จังหวัดเพชรบุรี

 

 

 

จากการเรียนภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรเมื่อวัน ศุกร์ที่  24  และ เสาร์ที่  25  กุมภาพันธ์  2550  ที่ผ่านมานั้น กับอาจารย์ ยม  นาคสุข  และอาจารย์ได้ถามว่าเรียนแล้วได้รู้อะไร  ?     

 

ก่อนอื่นต้องขอตอบว่าได้รู้จักอาจารย์ผู้สอน  และคณะทีมการสอนของ ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ จากอาจารย์ ยม นาคสุข  พร้อมทั้งประวัติการศึกษา และประสบการณ์ของอาจารย์ทีมการสอนทุกท่าน     จึงทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการฟังและเรียนรู้  การยอมรับจากอาจารย์ผู้สอนในทางบวกจึงทำให้เกิดการเข้าใจในการเรียนรู้

 

และได้ทราบว่าผู้นำกับภาวะผู้นำแตกต่างกันอย่างไร     ซึ่งก่อนที่จะได้เรียนตามความคิดที่ตัวเองเข้าใจคือผู้นำกับภาวะผู้นำมีความหมายเหมือนกัน  และขณะนี้เข้าใจแล้วว่าผู้นำคือ ตัวคน 

 

ส่วนภาวะผุ้นำคือพฤติกรรมที่แสดงออกมาไม่ว่าจะเป็นการคิดหรือตัดสินในกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ต้องคิดและทำให้ประสบความสำเร็จ    และภาวะผู้นำที่ดีต้องมีความเสียสละ มีคุณธรรม  และจริยธรรม ควบคู่กันไป

นอกจากนี้ทำให้รู้ว่า "ความสำเร็จขององค์กรต้องมีผู้นำที่ดีที่มีภาวะผู้นำสามารถขับเคลื่อนได้  และทำให้เราทราบว่าผู้นำที่ดีและฉลาดมีลักษณอย่างไร และสามารถนำไปปรับใช้ภายในองค์กรเราได้ว่าส่วนใหนเรามีส่วนใหนเราขาดก็เติมให้เต็มในส่วนที่ขาด"การสร้างผู้นำนั้นต้องใช้สมรรถนะด้านสำหรับการนำสุ่ภาวะผู้นำ    
และได้ทราบถึงการบริหารทรัพยากรณ์บุคคลและพัฒนาคนเป็นอย่างไร  คนกับมนุษย์ต่างกันอย่างไร  และได้รู้ถึงที่ว่าการพัฒนาคนก็ต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ให้แต่สิ่งที่ดีดีเพื่อเป็นการสร้างคนให้แผ่นดินและประเทศชาติ  
  
สรุปจากการที่ได้ศึกษาวิชาภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร สามารถนำไปปรับใช้กับบทบาทที่ตัวเองเป็นอยู่ได้ว่าผู้นำที่ดีต้องมีภาวะนำ  
                 
นางเสาวนีย์   ทวีเผ่า 
106242006
นางสาวกนกลักษณ์ เร้าเลิศฤทธิ์ MBA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดหัวหิน

นางสาวกนกลักษณ์  เร้าเลิศฤทธิ์ MBA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดหัวหิน เมื่อ อ. 27 ก.พ. 50 @ 10:30

  ก่อนได้เรียนเรื่องภาวะผู้นำ (Leadership)ตามความเข้าใจผู้นำคือ เจ้าของกิจการและจะต้องมีทั้งพระเดชพระคุณ และจำต้องมีความรู้ความสามารถในกิจการนั้นอย่างดี  หลังจากเรียนเรื่องภาวะผู้นำ ได้รับความรู้มากมายว่า ผู้นำจะต้องมีการตื่นตัวอยู่เสมอและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอด ไม่ใช่เฉพาะในเรื่องกิจการงานที่เราทำ แต่รวมไปถึงความรู้ใหม่ๆ   และการใช้หลักธรรมะเข้ามาช่วยในการเป็นผู้นำ อย่างเช่น ผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน
  1. สามารถนำเสนอความคิดใหม่ ซึ่งจะต้องมีทุนความรู้ ทุนปัญญา ทุนทางสังคม ทุนทาง IT  
  2. สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้ ซึ่งจะต้องมีทุนความเป็นมนุษย์ ทุนทางความสุข
  3. สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้ ซึ่งจะต้องมีทุนจริยธรรม คุณธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ตามทฤษฎี 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
 ผู้นำที่ดีต้องหลีกเลี่ยงเชื้อไวรัสร้าย  เช่น 
  • การมุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง 
  • ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ  ยึดมั่น  มีอัตตาสูง 
  • ห้อมล้อมด้วยขุนพลอยพยัก 
  • ขาดความรับผิดชอบ 
  • ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้ 
  • ไม่คิดสร้างตัวตายตัวแทน 
  • แต่งตั้งคนไม่ดีอยู่ในตำแหน่งสำคัญๆ 
  • แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งปันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง 
  • ขาดความรู้ 

กนกลักษณ์  เร้าเลิศฤทธิ์

MBA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดหัวหิน

วิวัฒน์ นาวียง MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด

วิวัฒน์ นาวียง เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 12:18 (176762)

  

สวัสดีครับ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ เพื่อน ๆ นักศึกษา MBA STAMFORD UNIVERSITY HUAHIN และผู้อ่านทุก ๆ ท่าน

  

ในวันที่ 23 - 24 กุมภาพันธ์ 2550 ได้เรียนเรื่องภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง จากท่าน อ.ยม นาคสุข และท่านได้แนะนำให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และให้ถามตนเองว่า เรียนเรื่องภาวะผู้นำในครั้งนี้เรียนแล้วได้ความรู้อะไรบ้าง

  

จากการเรียนวิชาภาวะผู้นำได้ความรู้ดังนี้ ปัจจุบันเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง จากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และถ้าใครไม่มีการปรับเปลี่ยนก็จะเปรียบเสมือนไดโนเสาร์ที่ไม่สามารถปรับตัวและดำรงชีวิตมาถึงยุคปัจจุบัน

  

ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร ภาวะผู้นำ : เป็นพลังขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ The Energy that Drives Your Organization towards Excellence

  

ผู้นำ (Leader) คือบุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

  

ภาวะผู้นำ (Leadership) เป็นความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ผู้นำที่ดีต้อง

  ผู้นำที่ดีที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน(ทฤษฎี 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์) 
  1. สามารถนำเสนอความคิดใหม่ ๆ ทุนความเป็นมนุษย์ ทุนทาง IT ทุนทางสังคมทุนปัญญา ทุนความรู้ 
  2. สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้ ทุนจริยธรรม คุณธรรม ทุนทางความสุข
  3. สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้  ทุนแห่งความยั่งยืน
 ภาวะผู้นำกับการสร้างอำนาจ
  1. อำนาจจะเกิดได้จากการให้ ให้โอกาส ให้ความรัก ให้อภัย ให้สิ่งของ (การให้ทาน)
  2. อำนาจสร้างด้วยการติ เป็นการติแต่ต้องมีเทคนิคในการติ เช่น เวลาเตือนให้เตือนเบาๆ เวลาชมให้ชมดังๆเพื่อคนอื่นจะได้ชื่นชมด้วย
  3. อำนาจสร้างได้จากการแสดงเป็นผู้รู้ เป็นการแสดงความสามารถของตนเอง
  4. อำนาจสร้างโดยการอ้างอิง อ้างถึงบุคคลที่มีอำนาจกว่าเราเช่นเจ้านาย อย่างไรก็ตามการอ้างถึงควรอ้างถึงในทางที่ดี ควรคำนึงถึงจริยธรรมและคุณธรรม
  5. อำนาจทางนิติกรรม
 Best Leaders (Susan Annunzio .2006 eLEADERSHIP: 27-32)
  1. Honesty
  2. Responsiveness
  3. Vigilance = Continued Success
  4. Livingness to learn and relearn
  5. Sense of adventure
  6. Vision
  7. Altruism
 คุณค่าของผู้นำ อยู่ที่
  1. การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน
  2. ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล
  3. มีความสามารถ
  4. มีความสำนึกรับผิดชอบ
  5. มีความเป็นกลาง
  6. การมุ่งผลสำเร็จ
  7. ความเป็นมืออาชีพ
 ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี และเป็นเชื้อไวรัสร้าย ทำลายล้างผู้นำและองค์การทั้งภาครัฐและเอกชน
  1. มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว
  2. ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง
  3. ห้อมล้อมด้วยขุนพลอยพยัก
  4. ขาดความรับผิดชอบ
  5. ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นตัดสินใจแทนตนได้
  6. ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน
  7. แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องดำรงตำเเหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งปันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง
  8. ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ
  9. ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง
 ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ
  1. ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ
  2. ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม
  3. ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์
 Leadership Competeny Definitions สมรรถนะหลัก 5 ด้าน นำสู่ภาวะผู้นำ
  1. ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง
  2. ศักยภาพในการเป็นผู้นำ
  3. การมุ่งผลสัมฤทธิ์
  4. ความเฉียบคมทางการบริหาร
  5. การสร้างความเข้าใจ/การติดต่อสื่อสาร
  สมรรถนะหลักของผู้นำ (ภาครัฐ) แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
  1. สมรรถนะการบริหารคน
  2. สมรรถนะในความรอบรู้ทางการบริหาร
  3. สมรรถนะในการบริหารอย่างมืออาชีพ
  4. สมรรถนะการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
และควรเพิ่มอีก 1 กลุ่มคือ 5. สมรรถนะความรอบรู้ ทางด้านความรู้ใหม่ ๆ  ทฤษฎี 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
  1. ทุนแห่งความยั่งยืน
  2. ทุนทางสังคม
  3. ทุนทางจริยธรรม
  4. ทุนแห่งความสุข
  5. ทุนทาง IT
  6. ทุนทางปัญญา
  7. ทุนทางความรู้ ทักษะ Mind set
  8. ทุนมนุษย์
 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
  1. พอประมาณ
  2. มีเหตุผล
  3. มีภูมคุ้มกันในตัวที่ดี
 เงื่อนไข
  1. เงื่อนไขความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง
  2. เงื่อนไขคุณธรรม ซื่อสัตว์สุจริต
 บรรษัทภิบาลที่ดี
  1. ประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
  2. ความโปร่งใส
  3. ความซื่อสัตย์
  4. ความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติตามหน้าที่
  5. ความสามารถในการแข่งขัน
 หลังจากที่ได้ทำงานกลุ่มก็ได้แนวทางในแก้ปัญหาดังนี้
  1. หาตัวปัญหา
  2. สาเหตุ
  3. แนวทางเลือกในการแก้ไขปัญหา
  4. ลงมือปฏิบัติตามแผน

ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหานี้ก็ได้ตรงกับ อริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) นิโรธ (ความดับทุกข์) และมรรค (คือทางที่จะพ้นทุกข์)

  

ท้ายนี้ผมขอกราบขอบพระคุณท่าน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อ.ยม นาคสุข ที่ได้เสียสละเวลาของท่านเพื่อมาให้ความรู้ให้กับพวกเรา ชาว MBA STAMFORD

  ผมนายวิวัฒน์ นาเวียง นักศึกษา  MBA ID 106342001  

 

นายณัฐพงศ์ ชุมนุมพันธ์ MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด หัวหิน

นายณัฐพงศ์ ชุมนุมพันธ์ เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 14:00 (176874)

 

  

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /นักศึกษา MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด หัวหินและผู้อ่านทุกท่าน 

  จาการที่ได้เข้ารับการศึกษาเมื่อวันศุกร์และเสาร์ที่ผ่านมาพอที่จะสรุปใจความสำคัญต่างๆที่ได้เรียนรู้จากท่าน อ.ยม ดังนี้  
  • โลกปัจจุบันยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง
  • ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร
  • ความหมาย ผู้นำ ภาวะผู้นำ คุณลักษณะของผู้นำ
  • กรอบแนวความคิด แนวคิดทฤษฎีฯ
  • สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่
  • แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศ
 กิจกรรมกลุ่มแต่ที่ท่าน อ.ยม ได้เน้นเป็นพิเศษได้แก่ ·      
  • ความแตกต่างระหว่างผู้นำและภาวะผู้นำ·      
  • ทฤษฏี 8 k’s (ทฤษฏีต้นไม้) ·      
  • ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • ผู้นำคือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มและสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรได้ (ในที่นี้ผู้นำคือบุคคล)
  • ส่วนภาวะผู้นำคือ เป็นความสารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร (หรือกล่าวง่ายๆว่าภาวะผู้นำคือพฤติกรรม)
 ทฤษฏีต้นไม้ ผู้นำที่ดีควรมี 3 ลักษณะ(8ทุน) อยู่ในตน  

ลักษณะแรก สามารถนำเสนอแนวความคิดใหม่

  • ทุนความรู้     ใฝ่รู้หมั่นศึกษาหาความรู้
  • ทุนปัญญา     มีสติ
  • ทุนสังคม  มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี คิดบวก
  • ทุน IT  มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์
 

ลักษณะที่สอง สามารถสร้างความสุขให้กับตัวเราเองได้

  • ทุนมนุษย์ ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีตั้งแต่ในครรภ์มารดา อยู่ดี กินดี
  • ทุนความสุข   มีความสุขที่เผื่อแผ่คนอื่นได้ 
 

ลักษณะสุดท้าย สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้

  • ทุนจริยธรรม คุณธรรม มีจริยธรรมและคุณธรรมในจิตใจ
  • ทุนแห่งความยั่งยืน        มีความมั่นคงและยั่งยืน 
 คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหาร
  1. การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน (Social/National Interest)
  2.  ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล (Meritocracy/Good Governance)
  3.  มีความสามารถ (Competence)
  4.  มีความสำนึกรับผิดชอบ (Accountability)
  5.  มีความเป็นกลาง (Neutrality)
  6.  การมุ่งสัมฤทธิ์ผล (Result Orientation)
  7.  ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism) 
 ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี
  1. มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง
  2. ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง
  3. ขาดความรับผิดชอบ
  4. การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้
  5. ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน
  6. แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องมาดำรงตำแหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งบันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง
  7. ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม
  8. ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ
  9. ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร ฯลฯ
 

ทฤษฏีภาวการณ์เป็นผู้นำ

  1. ทฤษฏีเกี่ยวกับลักษณะ  (ยุคโบราณนิยมใช้ แต่ปัจจุบันก็ยังใช้อยู่ เช่น ซีพีก่อนรับคนเข้าทำงานก็ยังมีการดูโหวเฮ้ง)
  2. ทฤษฏีทางด้านพฤติกรรม กล่าวถึงพฤติกรรมของผู้นำประเภทต่าง ๆ
  3. ทฤษฏีทางด้านสถานการณ์ เช่น ประเทศไทยหลังปฏิรูปต้องการ นายกที่มีลักษณะสมานฉันท์  เราจึงได้ท่าน สุรยุทธ์มากเป็นนายก
 

ความหมายของความสำเร็จในการบริหารจัดการ ใน ศตวรรษที่ 21

  1. สามารถต่อกรกับความไม่แน่นอนในธุรกิจตน
  2. แสงหา  รักษา  พัฒนากำลังคนให้มีความสามารถอยู่ตลอดเวลา
  3. สร้างแนวคิดใหม่ๆในการทำงาน
  4. ดำเนินการด้วยความมีประสิทธิภาพ ต้นทุนที่ต่ำได้ผลดี  (ผมคิดว่าควรใช้คำว่ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล น่าจะครอบครุมมากกว่านะครับ
  5. แสวงหา รักษา ลูกค้าได้ดี
  6. สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียกับกิจการขององค์กร  
 

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   3  หลักการ 2 เงื่อนไข  ได้แก่

  1. พอประมาณ
  2.  มีเหตุผล
  3. มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
  4. เงื่อนไขความรู้  รอบรู้  รอบคอบ  ระมัดระวัง
  5. เงื่อนไขคุณธรรม  ซื่อสัตย์  มีสติปัญญา  ขยัน  อดทน  แบ่งปันจะนำไปสู่  เศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  วัฒนธรรม  ที่สมดุลพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคต
 

ฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ จากแนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง กับภาวะผู้นำ

  1. รอบรู้ ใฝ่รู้
  2. คู่คุณธรรม
  3. มีเหตุ มีผล
  4. รู้ตน พอประมาณ
  5. มองการณ์ไกล ใส่ใจภูมิคุ้มกัน
  เศรษฐกิจพอเพียง&ทฤษฏีใหม่
  1. ทฤษฏีใหม่ขั้นที่ 1ความพอเพียงระดับบุคคล  นำไปสู่  เศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน
  2. ทฤษฏีใหม่ขั้นที่ 2 ความพอเพียงระดับชุมชน/องค์กร  นำไปสู่  เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า
  3. ทฤษฏีใหม่ขั้นที่ 3ความพอเพียงระดับประเทศ นำไปสู่  เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า 
 พัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำ
  1. คล่องคิด (Mental Agility) ล่วงรู้ปัญหา รู้แจ้ง เผชิญความยุ่งยากได้หลากหลาย อย่างเป็นสุข มีแง่คิด มีปัญญา
  2. คล่องคน (People Agility) รู้เขา รู้เรา เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้อื่น สร้างโอกาส เย็นสงบ สุขุม สง่างามภายใต้แรงกดดันได้
  3. คล่องผล (Result Agility) ทำให้ผู้คนมีพลังทำงานได้สำเร็จ ให้ผลงานได้เกินคาด สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อื่น ส่งมอบผลงานที่ยากได้
  4. คล่องเปลี่ยน (Change Agility) ใฝ่รู้ สู้ยิ่งยาก ไม่ย่นระย่อ ชอบทดลอง ปรับเปลี่ยน สนใจที่จะพัฒนาตน สร้าง นวัตกรรม    
 

นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้วท่าน อ.ยมได้สอนให้ สังเกตภาวะผู้นำของผู้อื่นโดยการให้สังเกตว่าผู้ที่ออกมาพรีเซ้นต์หน้าชั้นมีพฤติกรรมอย่างไรบ้างและพฤติกรรมข้อใดควรเอาเยี่ยงอย่าง 

  

และมีความรู้และคำพูดคมๆให้ขบคิด  เช่น บุญ คือ  สนใจ  ใส่ใจ  และเอาใจใส่  และที่สำคัญและลืมไม่ได้คือ ซึ่งเป็นปัญหาในการเขียนข้อสอบของผม ท่าน อ.ยมได้เสนอแนะวิธี การพูด  การเขียน Blog หรือข้อสอบ คือ  1.เปิดประเด็น  2.ดำเนินเรื่อง  3.สรุปพร้อมเสนอแนะ  ซึ่งกระผมจะพยายามทำให้ได้และขอให้ท่าน อ.ยม และท่าน ศ.ดร.จีระ  ช่วยวิจารณ์ผมในเรื่องนี้ด้วย จักเป็นประคุณอย่างสูงครับ

ณัฐพงศ์ ชุมนุมพันธ์
ปภาวี นาคสุข MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด

น.ส.ปภาวี นาคสุข ID 106142008 MBA 6 เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 16:17 (177035) 

 

ขอสวัสดี  อาจารย์จีระ และ อาจารย์ยม ที่เคารพค่ะ 

  

จากที่ดิฉันได้เรียนวิชา ภาวะผู้นำ สอนโดย อ.ยม นาคสุข  เมื่อวันที่ 23 ก.พ.2550 ทำให้ทราบถึงความหมายของคำว่า ผู้นำ และ ภาวะผู้นำ นั่นก็คือ

  

ผู้นำ หมายถึง ตัวบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการองค์กร เพื่อนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ 

 

ส่วน ภาวะผู้นำ คือ พฤติกรรม และความคิดของผู้นำที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งผู้นำที่ดีนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้

  

และการเป็นผู้นำที่ดีต้องเป็นบุคคลที่มีลักษณะ และความประพฤติตรงกับทฤษฎีที่ว่าด้วยคุณค่าของผู้นำ, ทฤษฎี 8 K’s  และทฤษฎีภาวการณ์เป็นผู้นำที่ดี เป็นต้น

  

ดังที่อาจารย์ได้อธิบายอย่างละเอียดไปแล้วนั้น และสิ่งหนึ่งที่ อาจารย์ได้เน้นย้ำ และดิฉันก็จำได้ขึ้นใจว่า การจะเป็นผู้นำที่ดี มีความสามารถ อีกทั้งสามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้นั้น สิ่งสำคัญคือ ต้องเป็นผู้นำที่มี  Positive Thinking และให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรียกว่าทรัพยากรมนุษย์ Human Resource

                   สุดท้ายนี้ดิฉันขอขอบพระคุณท่าน อ.ยม เป็นอย่างสูงที่ช่วยให้ความกระจ่างในความหมายของคำว่า ผู้นำ และภาวะผู้นำได้เป็นอย่างดี ซึ่งแต่ก่อนเข้าใจเพียงแค่ว่า การเป็นคนเก่ง และเป็นคนดี ก็เป็นผู้นำที่ดีได้ แต่จากการที่ได้มาเรียน ทำให้รู้เลยว่า ยังมีกลยุทธ์ต่างๆ อีกมากมายที่จะสร้างเสริมภาวะผู้นำ ให้เป็นผู้นำที่ดีได้  
นายราเชนทร์ แดงโรจน์

มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด (หัวหิน)

 

หลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

รหัสวิชา / ชื่อวิชา ภว.524 ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

อาจารย์ผู้สอน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และทีม Chira Academy

 

ในการสอนของอาจารย์ยม นาคสุข ในวันศุกร์ ที่ 23 และ เสาร์ ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2550 มีคำถามให้กับนักศึกษาในชั้นเรียนว่า ทั้ง 2 วันที่ผ่านมานั้น “เรียนกับอาจารย์แล้วได้อะไร?” ผมเป็นหนึ่งในนักศึกษาในชั้นเรียนที่อาจารย์ยมสอน เนื้อหาที่อาจารย์สอนจะครอบคลุมเน้นในเรื่อง “ความหมายของผู้นำและภาวะผู้นำ” ทำให้สิ่งที่ผมได้รับคือ

  1. ได้เข้าใจความหมายของผู้นำ และภาวะผู้นำ แยกออกจากกันโดยชัดเจน
  2.  

  3. ผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร / แนวทางสู่การเป็นผู้นำที่ดีแห่งยุค
  4.  

  5. สมรรถนะหลัก 5 ด้าน นำสู่ภาวะผู้นำ
  6.  

  7. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  8.  

  9. แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ
  10.  

  11. ความหมายของความสำเร็จในการบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21
  12.  

จากความรู้ดังกล่าวข้างต้น ผมสามารถนำกลับมาใช้พิจารณาปรับปรุงตนเองในส่วนที่ขาดหรือยังไม่เคยปฏิบัติหรือปฏิบัติยังไม่ถูกต้องในฐานะส่วนที่จะต้องแสดงบทบาทเป็นผู้นำ ตลอดจนสามารถนำความรู้ดังกล่าวข้างต้นมาประยุกต์เป็นแผนงานใช้กับองค์กรที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน พร้อมกับนึกถึงสังคมไทย ในแง่มุมของผู้นำประเทศไทยในอดีต, ปัจจุบัน และอนาคตที่อาจจะมีการเลือกตั้งรัฐบาลที่มาจากประชามติของประชาชนชาวไทย ที่คาดว่าจะมีการเลือกตั้งภายในปี 2550 นี้ ว่าผู้นำของประเทศไทยควรจะมีคุณสมบัติและมีภาวะผู้นำอย่างไร ซึ่งในฐานะที่เราเป็นประชาชนคนไทยที่มีสิทธิออกเสียงคงจะต้องพิจารณาและชี้ชวนให้บุคคลรอบข้างเลือกผู้นำในแนวทางที่อาจารย์ได้สอน หรือมีภาวะผู้นำใกล้เคียงกับทฤษฎี เนื่องจากผู้นำจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมไทยจากสังคมที่เล็กที่สุด คือ ครอบครัว และครอบครัวใหญ่ ก็คือประเทศชาติว่าจะมีทิศทางหรือแนวโน้มดีหรือไม่ดีได้อย่างไร

ราเชนทร์ แดงโรจน์

รหัส 106242005

Jaruwan Yunprayong MBA 6 ID:106142009 เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 13:53 (176864)

  

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

  

เรียนเรื่องภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง จากท่าน อ.ยม นาคสุข ในวันที่ 23 - 24 กุมภาพันธ์ 2550

  

ฝิ่นส่งการบ้านเข้าไปใน e mail ของ อ. ยม ไปแล้วค่ะ เพราะตอนแรก หา blog ไม่เจอ....

  ฝิ่นโทรแจ้ง อ.ยม แล้วขอความกรุณาท่าน อ.ยม ช่วย copy การบ้านส่งมาใส่ที่ blog นี้ค่ะ  

ด้วยความเคารพอย่างสูง

  จารุวรรณ ยุ่นประยงค์ MBA 6  : 106142009 Stamford International University Hua Hin 

ชื่อ: Jaruwan Yunprayong ( Finn) MBA 6 106142009


อีเมล: [email protected]


ชื่อเรื่อง: ได้อะไรจากการเรียน ภาวะการเป็นผู้นำ (Feb 23-24,2007)

เนื้อความ:

 

  1. ได้รู้เรียนรู้หลักการเป็นผู้นำที่ดี รายละเอียดตามที่ อาจารย์สอน และสามารถอ่านในหนังสือและชีทประกอบการสอน จึงไม่ได้เขียนนะค๊ะ
    เพราะลอกในชีทได้....ฝิ่นว่าอาจารย์ก็รู้อยู่ดีว่าลอกมาจากชีท
  2. ได้เห็นการแสดงออกและความคิด รวมทั้งวิสัยทัศน์ของเพื่อนๆในห้อง
    ที่แตกต่างกันไป
  3. ได้เห็นการ present ของเพื่อนๆ ในห้องที่แตกต่างกันและสามารถนำข้อดีของแต่ละคนมาพัฒนาตัวเองได้
  4. ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องต่างกับเพื่อนๆ และอาจารย์ซึ่งแต่ละคนก็มีความคิดเห็นและมุมมองต่างกัน ทำให้เราได้มองเห็นอีกมุมหนึ่งที่คิดไม่ถึง
  5. เป็นการวัดความรู้รอบตัวของแต่ละกลุ่มที่ออกมา persent ด้วย เพราะบางเรื่องที่เพื่อนพูดเราก็ไม่เคยรู้ และเรื่องที่เราพูดเพื่อนบางคนก็ไม่เคยรู้เช่นกัน
  6. ได้รู้ว่าเพื่อนๆ แต่ละคนมีประสบการณ์แตกต่างกัน เพราะบางคนกล้าที่จะแสดงออกและมีความเป็นผู้นำในตัวเองจากการที่ได้แสดงออกมา และบางคนก็ยังอายและประหม่าในการพูด ซึ่งทำให้เห็นถึงชั่วโมงบินที่ต่างกัน
    หมายถึงประสบการณ์ที่ต่างกัน
  7. การที่อาจารย์ comment ในการ present ของแตละคนเป็นข้อดี ทำให้ทุกคนสามารถนำไปปรับปรุงในสิ่งที่บกพร่องได้
  8. นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เลย
  9. เรียนแล้วอยากเป็นผู้นำที่ดี และเก่งค่ะ
  10. อยากให้ถึงวันศุกร์เร็วๆ

ค่ะ จะได้เรียนอีก....


------------------------------------------------------------
อีเมลฉบับนี้ส่งมาจาก
203.113.28.4


ขอบคุณ

Jaruwan

èสวัสดีค่ะç  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  อ.ยม  นาคสุข  เพื่อน ๆ  และท่านผู้อ่านทุกท่าน ผู้นำ  คือ  บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร                            ภาวะผู้นำ  คือ  พลังชนิดหนึ่งที่สามารถก่อให้เกิดการขับเคลื่อนกลุ่มคน และนำองค์กรไปสู่การบรรลุเป้าประสงค์      เนื่องจากภาวะผู้นำเป็นสิ่งที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ  แต่โดยสภาพของสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบัน เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และอื่น ๆ  มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ผู้เป็นผู้นำจึงควรมีสมรรถนะ 5 ด้าน ในการนำไปสู่สภาวะผู้นำ  ดังนี้1.                ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง 2.                ศักยภาพในการเป็นผู้นำ 3.                การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 4.                ความเฉียบคมทางการบริหาร  5.                การสร้างความเข้าใจผู้นำจะต้องมีการตื่นตัวอยู่เสมอและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอด(สดอยู่เสมอ)
อัสมา แวโน๊ะ MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด

อัสมา แวโน๊ะ เมื่อ พฤ. 01 มี.ค. 2550 @ 19:32 (179668)

  สวัสดีค่ะ ศ.ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์ ,อ.ยม นาคสุข และผู้อ่านทุกท่าน    สำหรับการบ้านครั้งนี้ต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่งที่มีการส่งการบ้านช้าเนื่องด้วยติดภาระกิจสอน ในพื้นที่ ที่ไม่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้  สำหรับการบ้านครั้งนี้ให้บรรยายว่าคุณได้อะไรบ้างจากการเรียนในครั้งนี้สำหรับดิฉันสิ่งที่ได้รับเพิ่มเติมในการเรียนครั้งนี้คือ  
  1. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับทัศนคติ ของผู้นำ
  2. ได้เรียนรู้ทฤษฎีความเป็นผู้นำ
  3. ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
 

1.  ได้เรียนรู้เกี่ยวกับทัศนคติ ของผู้นำ หมายถึง ผู้นำที่ดีควรที่จะมีทัศนคติที่กว้างไกล พร้อมทั้งส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นั้นหมายถึง ทรัพยากรที่มีค่าที่สุด และไม่มีวันเสื่อมค่านั้นก็คือ ทรัพยากรมนุษย์ หรือ ทุนมนุษย์

  

ถ้าผู้นำ มีทัศนคติการบริหารงานพร้อมไปกับบริหารคน จะทำให้งานที่ออกมานั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด

  

2.  ได้เรียนรู้ทฤษฎีความเป็นผู้นำ ในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นความหมายของผู้นำ และภาวะผู้นำ ตลอดจนศักยภาพของผู้นำในรูปแบบต่างถ้าให้บรรยาย เนื้อหาคงจะคล้ายคลึงกับพี่ ๆ และเพื่อนที่ได้กล่าวมาข้างต้น

 

  

3. ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน หลังจากที่ท่านอาจารย์ได้มีการแจกงานให้ทำเป็นกลุ่มนั้นส่งผลให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน ถือเป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของผู้อื่นไปในตัว

  

นอกเหนือสิ่งอื่นใดสิ่งที่ได้ในการเรียนวิชาภาวะผู้นำในครั้งแรกนี้ถือว่าเป็นความประทับใจในทีมงานสอนของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ไม่ว่าจะเป็น อาจารย์ยม นาคสุขและที่น่าตื่นเต้นและน่าสนใจ  มากไปกว่านั้นก็คือ ได้มีโอกาสเรียนรู้ผ่านประสบการณ์กับชาวต่างชาติในครั้งหน้า ซึ่งถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในมุมมองที่กว้างขึ้นและแตกต่างออกไป หวังว่าจะได้รับการอภัยที่ส่งการบ้านล่าช้า

  

ขอบคุณคะ

  

อัสมา แวโน๊ะ

 MBA 7  
ศิรดา มากมี MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด

ศิรดา มากมี เมื่อ พฤ. 01 มี.ค. 2550 @ 19:44 (179682)

 

สวัสดีค่ะ ศ.ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์ ,อ.ยม นาคสุข และผู้อ่านทุกท่าน

  

เนื่องด้วยดิฉันไม่ได้เข้าเรียนในครั้งแรก ทั้งวันศุกร์และวันเสาร์ เนื่องจากมีความจำด้านงาน จึงต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ดิฉันได้ทราบข่าวจากเพื่อนเรื่องการบ้านของอาจารย์

 

 

แม้ว่าดิฉันจะไม่ได้เข้าเรียนแต่จากที่ได้อ่านหนังสือของอาจารย์จิระ แล้วรู้สึกน่าสนใจในรายละเอียดวิชา ซึ่งเป็นวิชาที่นอกเหนือจากการสอนให้เป็นผู้นำที่ดีแล้ว ยังสอนให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ไปพร้อมกัน

  ต้องขออภัยกับการขาดเรียนในครั้งแรก แต่สำหรับครั้งต่อไปจะเข้าเรียนตามปกติ ขอบคุณค่ะ  

ศิรดา มากมี

  MBA 7
หยาดอรุณ อาสาสำเร็จ MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด
นางสาวหยาดอรุณ อาสาสำเร็จ เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 18:06 (178437)

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ/นักศึกษา MBA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดและท่านผู้อ่านทุกท่าน

   

สัปดาห์แรกของการศึกษาวิชาภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กรกับอาจารย์ยม ซึ่งท่านได้มอบหมายการบ้านให้ทำในสัปดาห์แรกจากหัวข้อจากการศึกษาเรื่องภาวะผู้นำของสัปดาห์แรก ได้อะไรกับตัวเราบ้าง

 ความหมาย       

ผู้นำ และภาวะผู้นำมีความแตกต่างกันตรงที่ผู้นำคือบุคคลที่มีอิทธิพลในการชักจูง โน้มน้าวบุคคลอื่นๆให้ปฏิบัติตามเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กรสำหรับภาวะผู้นำคือพฤติกรรมที่ถ่ายทอดออกมา ซึ่งสามารถทำให้บุคคลอื่นยอมรับและได้รับการสนับสนุนจากบุคคลอื่นๆในการดำเนินการใดๆเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร 

  ลักษณะที่ดีของผู้นำโดยทั่ว ๆ ไป
  • มีวิสัยทัศน์
  • มีความสามารถริเริ่มและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆตลอดเวลา
  • มีความยุติรรม และมีคุณธรรม
  • มีความซื่อสัตย์
  • มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และต่อหน้าที่
  • มีบุคลิกภาพดี
  • ตรงต่อเวลา
  • สุขุม รอบคอบ ใจเย็น
  • มีการกระจายอำนาจอย่าง
  • ต้องเป็นผู้ที่ใฝ่รู้
  • มีความรู้เรื่องที่ทำงานอย่างชัดเจน
  • ต้องรู้จักการให้อภัยและการวางเฉย  
 ผู้นำที่ดีจะต้องมี 7 ข้อที่สำคัญดังนี้

 

  1. การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน
  2.  ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล (จะต้องมีความโปร่งใส, ซื่อสัตย์, ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของทุกฝ่าย, มีความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ และมีสามารถในการแข่งขัน)
  3. มีความสามารถ
  4. มีความสำนึกรับผิดชอบ
  5. มีความเป็นกลาง
  6. การมุ่งสัมฤทธิ์ผล
  7. ความเป็นมืออาชีพ 
  ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี
  1. มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง
  2. ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง
  3. ขาดความรับผิดชอบ
  4. การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้
  5. ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน
  6. แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องมาดำรงตำแหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งบันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง
  7. ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม
  8. ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ
  9. ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร ฯลฯ   
 ลักษณะผู้นำที่ดีควรมี 3 ลักษณะดังนี้1.  สามารถนำเสนอความคิดใหม่
  • ทุนความรู้ 
  • ทุนปัญญา
  • ทุนทางสังคม
  • ทุนทาง IT 

 

2. สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้
  • ทุนความเป็นมนุษย์
  • ทุนทางความสุข 

3.  สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้
  • ทุนจริยธรรม คุณธรรม
  • ทุนแห่งความยั่งยืน การที่จะเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องมีคุณลักษณะตาม
 

ทฤษฏีภาวะผู้นำซึ่งมี 3 แบบดังนี้1.            ทฤษฎีเกี่ยวกับมีความทะเยอทะยาน (Ambition)
  • มีความอุสาหะพากเพียร (Persistence)
  • มีความกล้าหาญ (Courage)
  • มีความเชื่อถือศรัทธา (Faith)
  • มีความซื่อสัตย์มั่นคง (Integrity)
  • มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity)
  • มีความยุติธรรม (Justice)
  • มีจุดมุ่งหมาย (Objectivity)
  • มีความยืดหยุ่น (Flexibility)
  • มีความสามารถในการตัดสินใจ (Decisiveness)
  • มีวินัยในตนเอง (Self-Discipline)

2.            ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ มุ่งที่พนักงาน และมุ่งที่ผลผลิต/งาน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มตามตารางพฤติกรรมการบริหาร ของ Robert R. Blake & Jane S. Mouton ดังนี้·        
  1. ผู้นำที่เน้นความสนใจที่คน ไม่ค่อยเน้นที่งาน·        
  2. ผู้นำที่ไม่สนใจทั้งงานและคน·        
  3. ผู้นำที่เอาใจใส่ทั้งคนและงาน·        
  4.  ผู้นำที่เน้นความสนใจที่งาน ไม่ค่อยเน้นที่คน·        
  5. ผู้นำที่เดินสายกลาง
 

3.    ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์  สามารถแบ่งยอยออกได้เป็น 3 ลักษะคือ

 

3.1.   ตัวแบความไม่แน่นอนของเฟรด ฟิดเลอร์

  • เมื่อสถานการณ์เอื้อต่อการใช้ความเป็นผู้นำ กลุ่มจะตั้งใจทำงานโดยไม่ต้องมีการคะยั้นคะยอมาก
  • บุคคลแต่ละคนจึงควรทำงานในสถานการณ์ที่เหมาะกับแบบภาวการณ์เป็นผู้นำของเขา·          
  • ต้องเปลี่ยนแปลงสถานการณ์เพื่อให้สอดคล้องกับแบบภาวการณ์เป็นผู้นำของเขาเอง

 

3.2.   ทฤษฏีวิถีทางสู่เป้าหมาย

 

3.3.   ทฤษฏีภาวการณ์เป็นผู้นำตามสถานการณ์ของเฮอร์ซี และเบลนชาร์ด สมรรถนะหลัก 5 ด้าน ในการนำไปสู่ภาวะผู้นำยุคใหม่  1. ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆดังนี้
  • การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
  • มีความคิดสร้างสรรค์และใช้นวัตกรรม
  • ตระหนักถึงผลกระทบจากภายนอก
  • ความยืดหยุ่น
  • ปรับเปลี่ยนได้
  • จูงใจใฝ่บริหาร
  • การคิดเชิงกลยุทธ์
  • การมีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกลได้ดี    
 2. ศักยภาพในการเป็นผู้นำ
  • การบริหารความขัดแย้ง
  • ตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรม
  • ความจงรักภักดี / ความซื่อสัตย์
  • สร้างทีมงาน    
 3. การมุ่งผลสัมฤทธิ์
  • ความรับผิดชอบ
  • การให้บริการลูกค้า
  • การตัดสินใจ
  • ความเป็นผู้ประกอบการ
  • การแก้ไขปัญหา
  • มีเทคนิคที่เชื่อถือได้   
 4. ความเฉียบคมทางการบริหาร
  • การบริหารจัดการด้านการเงิน
  • การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์
  • การบริหารจัดการด้านเทคโนโลยี
  • การบริหารลูกค้า  
 5. การสร้างความเข้าใจ
  • การเจรจาต่อรอง
  • ทักษะด้านคน การโน้มน้าว
  • ความสามารถในการสื่อสารด้วยวาจา
  • ความสามารถในการมีส่วนร่วม
  • ความรอบรู้ด้านการเมือง
  • ความสามารถในการสื่อสารด้วยการเขียน  ในการเป็นผู้นำที่ดีนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมี
 6. การสร้างและการรักษาอำนาจของตนไว้ เพื่อให้การศรัทธาและบารมีในการทำการใดๆ ซึ่งเทคนิค 5 ข้อทีสำคัญคือ
  1. การให้ (โดยการให้ความรู้, โอกาส, ให้อภัย)
  2. การติ / สั่งสอน (โดยการติอย่างมีเมตตา และใช้ความประนีประนอม)
  3. การแสดงตนว่าเป็นผู้รู้มากกว่าลูกน้อง
  4. การอ้างอิงถึงผู้ที่มีความสำคัญและเป็นที่เคารพของบุคคลอื่น
  5. นิติกรรม หรือการดำเนินการใดทีแสดงเป็นลายลักษณ์อักษร (ผังการแต่งตังในองค์กร)  
 การชี้วัดผู้นำที่ดีจะต้องมี CEO ในการดำเนินธุรกิจคือ
  • C คือ ความพึงพอใจของลูกค้า
  • E คือ ความพึงพอใจของพนักงาน
  • O คือ ผลประกอบการ  
 ทฤษฎี  8  K’s  ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
  1. ทุนแห่งความยั่งยืน      
  2. ทุนทางสังคม      
  3. ทุนทางจริยธรรม      
  4. ทุนแห่งความสุข      
  5. ทุนทาง IT      
  6. ทุนทางปัญญา      
  7. ทุนทางความรู้ ทักษะ Mind set      
  8. ทุนมนุษย์  
 แนวทางการพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่เป็นเลิศตามหลักของ JACK WELCH จะต้องมี 4E’s
  1. ENERGY Drive/ Embraces/ Change
  2. ENERGIZE Vision / Sparks / Others
  3. EDGE Strong Competitor/ Makes Difficult Decisions
  4. EXECUTION Delivers Results/Consistent / Performer 
  การพัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำที่มีศักยภาพสูง  ซึ่งจะต้องรู้จักเรียนรู้ให้มากขึ้นโดการพัฒนาความตนเองในด้านต่างๆดังนี้
  1. คล่องคิด ล่วงรู้ปัญหา รู้แจ้ง เผชิญความยุ่งยากได้หลากหลาย อย่างเป็นสุข มีแง่คิด มีปัญญา
  2. คล่องคน รู้เขา รู้เรา เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้อื่น สร้างโอกาส เย็นสงบ สุขุม สง่างามภายใต้แรงกดดันได้
  3. คล่องผล ทำให้ผู้คนมีพลังทำงานได้สำเร็จ ให้ผลงานได้เกินคาด สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อื่น ส่งมอบผลงานที่ยากได้
  4. คล่องเปลี่ยน ใฝ่รู้ สู้ยิ่งยาก ไม่ย่นระย่อ ชอบทดลอง ปรับเปลี่ยน สนใจที่จะพัฒนาตน สร้างนวัตกรรม 
 3 หลักการ กับ 2 เงื่อนไข ปรัชญาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีดังนี้·         3 หลักการ คือการรู้จักพอประมาณ, การมีเหตุมีผล, และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี·    

2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ (จะต้องมีความรอบรู้ รอบคอบ และรู้จักระมัดระวัง) และเงื่อนไขคุณธรรม (จะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต, มีสติ ปัญญา ขยัน และอดทน และรู้จักการแบ่งปัน) 

  การฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ จากหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มีดังนี้
  • ระเบิดจากข้างใน
  • ปลูกจิตสำนึก
  • เน้นให้พึ่งตนเองได้
  • คำนึงถึงภูมิสังคม
  • ทำตามลำดับขั้น
  • ประหยัด เรียบง่าย
    ประโยชน์สูงสุด
  • บริการที่จุดเดียว
  • แก้ปัญหาจากจุดเล็ก
  • ไม่ติดตำรา
  • ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
  • การมีส่วนร่วม
  • รู้ รัก สามัคคี
  • มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่
  • นางสาวหยาดอรุณ อาสาสำเร็จ
 รหัส 106142012  
อ.สุดาภรณ์ (A' Lotus) ทีมงาน ศ.ดร.จีระ น.ศ. ป.เอก รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
อ. สุดาภรณ์ (A' Lotus) ม.สวนสุนันทาฯ เมื่อ พฤ. 01 มี.ค. 2550 @ 04:36 (178898)

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ/อ.ยม นาคสุข และนักศึกษา MBA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดและท่านผู้อ่านทุกท่าน

ขออนุญาตแชร์ไอเดียเพิ่มเติมในส่วนเนื้อหาที่อาจารย์ยมได้สอนเรื่อง ภาวะผู้นำ ซึ่งมีเนื้อหาที่ดีและทันสมัย เป็นเรื่องใหม่และสมารถนำไปสู่การบูรณาการได้เป็นอย่างดี คะ ดิฉันมีความคิดเห็นเพิ่มเติม ดังนี้

ในโลกปัจจุบันเป็นสังคมฐานความรู้ (Knowledge - Base Society) ความรู้ ถือ เป็นทรัพยากรหลักในการพัฒนาระดับความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคม

และเจ้าของความรู้ก็คือ คน(Human) ดังนั้น ภาวะผู้นำควรต้องเป็นบุคคลที่ เป็น Knowledge Worker จะต้องใช้ ความรู้ เป็นหลักในการทำงาน

ปีเตอร์ เอฟ ดรักเกอร์ ปรมาจารย์นักจัดการของโลก กล่าวไว้ในคศ.ที่19 ซึ่งน้าจะยังคงเป็นจริงในคศ.ที่21 และในอนาคตต่อไป

ได้เสนอปัจจัยหลักที่กำหนด Knowledge Worker productivity 6 ปัจจัย ดังนี้

  1. What is the task ? งานคืออะไร
  2. Autonomy อิสระควบคุมตัวเองได้
  3. Continuing Innovation นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
  4. Continuing learning เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
  5. Continnuing teaching สอนอย่างต่อเนื่อง
  6. Productivity = Quality ผลงานมีคุณภาพ
  7. Asset มองและปฎิบัติอย่างเป็นสินทรัพย์

7  ปัจจัยดังกล่าวน่าจะเป็นพฤติกรรมหนึ่งของ  ภาวะผู้นำต้องมีและสำคัญที่สุดในตัวผู้นำต้องมี คือ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Continuing Learning)หรือที่เราเรียกว่า การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life - Long Learning) หาความรู้ให้อาหารสมองและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ

สวัสดีคะ

 

อาจารย์สุดาภรณ์ A' Lotus

สราวุฒิ ฉายแสง MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด
สราวุฒิ ฉายแสง เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 16:43 (178362)  

ภาวะผู้นำ จากการฟังการบรรยายในสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้เข้าใจถึงบทบาทที่ผู้นำควรปฏิบัติในระดับหนึ่ง คือการเป็นผู้นำนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความรู้ความสามารถ ที่สามารถถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นได้

  

การที่ลูกน้องทำผิดพลาดก็ต้องมีการตำหนิติเตียนตามเหตุผลพร้อมทั้งอธิบายวิธีการแก้ไขให้ทราบด้วย มีการวางแผนงานที่ชัดเจน รอบคอบ เพื่อที่จะทำให้องค์กรไปสู่เป้าหมายได้  ซึ่งต้องใช้ความรู้ ความสามารถ เป็นอย่างมาก เมื่อผู้นำแสดงให้เห็นถึงความสามารถก็จะเป็นที่ยอมรับของคนในหน่วยงานนั้น

  บางครั้งผู้นำก็ควรจะเป็นผู้ให้ เช่น ความรู้ บางครั้งก็ต้องเป็นผู้รับ เช่น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
นางสาวนภาพร พิพัฒน์ MBA 6 ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด
นางสาวนภาพร พิพัฒน์ MBA 6 ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 12:06 (178042)

สวัสดี ดร.จีระ และผู้อ่านทุกท่าน  

         จากที่ดิฉันได้เรียนในห้องทำให้ทราบถึงคำว่าผู้นำหมายถึง บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มและสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ภาวะผู้นำหมายถึงความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมันและให้การสนับสนุน ผลักดันบุคคล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ทฤษฎีภาวะการณ์เป็นผู้นำแบ่งออกเป็นดังนี้
  1. ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ
  2. ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม
  3. ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์
 

สรุป ผู้นำคือตัวบุคคล ภาวะผู้นำคือพฤติกรรม การเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องมีภาวะผู้นำรวมอยู่ด้วย และสิ่งที่สำคัญคือคุณค่าของผู้นำเอง จึงจะทำให้องค์กรประสบผลสำเร็จถึงเป้าหมายอย่างดีเยี่ยม 

 

นางสาวนภาพร  พิพัฒน์ 

 

รหัส 106142007   
นายเตชะสิทธิ์ หอมฟุ้ง MBA 6 ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด
นายเตชะสิทธิ์ หอมฟุ้ง MBA 6 ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 12:25 (178066) สวัสดี ดร.จีระ และผู้อ่านทุกท่าน   จากการที่ได้เรียนในวิชา ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ทำให้ผมได้ทราบถึงเนื้อหาดังนี้  ผู้นำ (Leader) คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติงานต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ  ภาวะผู้นำ Leadership เป็นความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่นและให้การสนับสนุนผลักดันบุคคลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร   ทฤษฎีภาวการณ์เป็นผู้นำ1.      ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ 2.      ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม

3.      ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์ 

  1.   ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ   มีความเชื่อว่า ผู้นำที่มีคุณลักษณะดี จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามศาสตร์ของจีน มีการเก็บข้อมูลลักษณะของผู้นำว่า มีลักษณะสูงใหญ่ คิ้วดก ขนดกดำ สังเกตจากรูปภาพแม่ทัพจีนโบราณ ซุนวู เป็นต้น สัตว์ป่าจ่าฝูง เพศผู้จะมีลักษณะโครงสร้างใหญ่ มีขนสวยสง่างาม เป็นต้น ต่อมาภายหลังมีการพัฒนาการศึกษาลักษณะผู้นำ ว่าเป็นผู้ที่มีลักษณะ ดังนี้
  • มีความทะเยอทะยาน (Ambition)
  • มีความอุสาหะพากเพียร (Persistence)
  • มีความกล้าหาญ (Courage)
  • มีความเชื่อถือศรัทธา (Faith)
  • มีความซื่อสัตย์มั่นคง (Integrity)
  • มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity)
  • มีความยุติธรรม (Justice)
  • มีจุดมุ่งหมาย (Objectivity)
  • มีความยืดหยุ่น (Flexibility)
  • มีความสามารถในการตัดสินใจ (Decisiveness)
  • มีวินัยในตนเอง (Self-Discipline)
  2. ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม 
  • ผู้นำที่เน้นความสนใจที่คน ไม่ค่อยเน้นที่งาน
  • ผู้นำที่ไม่สนใจทั้งงานและคน
  • ผู้นำที่เอาใจใส่ทั้งคนและงาน
  • ผู้นำที่เน้นความสนใจที่งาน ไม่ค่อยเน้นที่คน
  • ผู้นำที่เดินสายกลาง
  3. ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์
  • เมื่อสถานการณ์เอื้อต่อการใช้ความเป็นผู้นำ กลุ่มจะตั้งใจทำงานโดยไม่ต้องมีการคะยั้นคะยอมาก
  • บุคคลแต่ละคนจึงควรทำงานในสถานการณ์ที่เหมาะกับแบบภาวะการเป็นผู้นำของเขา
  • ต้องเปลี่ยนแปลงสถานการณ์เพื่อให้สอดคล้องกับแบบภาวะการเป็นผู้นำของเขาเอง
  • (The Hersey-Blanchard Life Cycle Theory of Leadership) 
  สรุป  การที่จะเป็นผู้นำที่ดีจะต้องเป็นคนที่ใฝ่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา คิดแบบสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ  และ ผู้นำคือตัวบุคคล ภาวะผู้นำคือการกระทำ 
นายนันทพล เถาลิโป้ MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด

นายนันทพล เถาลิโป้ เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 14:10 (178164)

 

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ / นักศึกษา MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด (หัวหิน) และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

การที่เราได้เข้ามาเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยนั้นผมคิดว่าการเรียนในสิ่งที่เราไม่รู้มาก่อนจะทำให้เราได้รับรู้มากขึ้นเพราะเราจะได้มุมมองที่กว้างไกลจากเดิมมากขึ้น  "ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร" ทำให้ผู้บริหารต้องเปลี่ยนมุมมองใหม่ในแนวทางที่ถูกต้องเพื่อการพัฒนาที่ดียิ่งขึ้นและสามารถแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่นในหัวข้อต่อไปนี้

 

 ความแตกต่างระหว่างผู้นำและภาวะผู้นำผู้นำ คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร           

ภาวะผู้นำ คือ  พลังชนิดหนึ่งที่สามารถส่งแรงกระทำอันก่อให้เกิดการขับเคลื่อนกลุ่มคน และนำองค์กรไปสู่การบรรลุเป้าหมายและจุดประสงค์  

          ยกตัวอย่าง บิลล์ เกตส์ ผู้นำซอฟแวร์ของโลก มีภาวะผู้นำดังนี้
  1.  ใฝ่รู้
  2. คิดสร้างสรรค์
  3. คิดนอกกรอบข้ามศาสตร์ 
  4.  ทุนทางปัญญา
  5. กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ
 ผู้นำ กับการแก้ไขปัญหา  เมื่อมีปัญหาต้องแก้ไข 
  • ต้องรู้ว่าอะไรคือตัวปัญหา
  • สาเหตุ
  • แนวทางเลือกในการแก้ปัญหา
  • ลงมือปฏิบัติ (เลือกวิธีที่ดีที่สุด)
  • ติดตามผลแล้ว
  • พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา

 

หัวข้อที่ผมยกขึ้นมานี้ แสดงให้เห็นและเข้าใจถึง การที่จะเป็นผู้นำและแรงขับดันความรู้สึกของผู้นำหรือสิ่งที่ผู้นำควรมี และรูปแบบการแก้ไขปัญหาแบบผู้นำ อีกหัวข้อหนึ่งที่ทำให้ผมเข้าใจและเห็นภาพคือความแตกต่างระหว่างการเป็นเจ้านายกับการเป็นผู้นำ 1.    ผู้นำสร้างปณิธานให้แก่ผู้ตาม 2.    ผู้นำอาศัยเจตจำนงที่เสรี 3.    ผู้นำแผ่ความรัก ปรารถนาดี 4.    ผู้นำ พูดว่า "เรา" 5.    ผู้นำแสดงให้รู้ว่าอะไรที่ผิด และควรทำอย่างไร 6.    ผู้นำรู้ว่าจะทำงานอย่างไร 7.    ผู้นำบริหารความเคารพ

 

นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่ผมยกมาเป็นตัวอย่างจากการเรียนเรื่อง"ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร" บทเรียนนี้ได้เปิดมุมมองใหม่ในการเป็นผู้นำและพัฒนาองค์กรซึ่งเราสามารถนำไปใช้ในการบริหารงานได้เป็นอย่างดี

   

การนำเอากระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่อง"เศรษฐกิจพอเพียง" นำมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานและได้กำหนดการพึ่งตนเองที่เป็นรูปธรรม เป็นกรอบการดำเนินงานอันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งภาคราชการ ภาคธุรกิจเอกชน และองคืกรซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน จึงเห็นสมควรจำเป็นต่อการพัฒนาและกำหนดอนาคตของตัวเราเป็นอย่างยิ่ง

 

สรุป  อย่างไรก็ตาม จำเป็นที่จะต้องมีผู้นำและผู้มีความสามารถในการบริหารจัดการ ตอบสนองความต้องการ ทั้งทางราชการและองค์กร ตลอดจนมีการบูรณาการ การแก้ไขปัญหาและพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังต้องมีความสามารถในการพัฒนาศักยภาพ เพื่อให้การบริการและการจัดการขององค์กร นั้นได้ประสบความสำเร็จของความต้องการ ดังจุดประสงค์ของการเรียนที่เราเรียนอยู่
นายเอกราช ดลยสกุล MBA Stamford International University
นายเอกราช ดลยสกุล MBA 6 เมื่อ พฤ. 01 มี.ค. 2550 @ 10:29 (179055) สวัสดีท่าน อาจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์และนักศึกษาทุกคน เรียนแล้วได้อะไรบ้าง 

พูดถึงในสังคมยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้หลายองค์กรต้องพบกับความหายนะในปัจจุบันที่เป็นอยู่แต่ในทางตรงกันข้ามการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันก็ยังสร้างโอกาสให้กับองค์กรให้ประสบความสำเร็จมาแล้วในปัจจุบันด้วยเช่นกัน ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่มีผู้นำที่มีภาวะผู้นำที่ดีที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของปัจจุบันได้และสามารถนำพาองค์กรไปสู่การแข่งขันที่เป็นเลิศทางธุรกิจได้

 

ผู้นำ คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม และสามารถนำกลุ่มปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร  

         

ภาวะผู้นำ คือ  พลังชนิดหนึ่งที่สามารถส่งแรงกระทำอันก่อให้เกิดการขับเคลื่อนกลุ่มคน และนำองค์กรไปสู่การบรรลุเป้าหมายและจุดประสงค์ 

           ยกตัวอย่าง บิลล์ เกตส์ ผู้นำซอฟแวร์ของโลก มีภาวะผู้นำดังนี้1.     ใฝ่รู้ 2.    คิดสร้างสรรค์ 3.    คิดนอกกรอบข้ามศาสตร์ 4.     ทุนทางปัญญา 5.    กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ ลักษณะผู้นำที่ดีผู้นำที่ฉลาดควรมี 3 ลักษณะอยู่ในตน1.  สามารถนำเสนอความคิดใหม่
  • ทุนความรู้
  • ทุนปัญญา
  • ทุนทางสังคม
2.  สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้
  • ทุนความเป็นมนุษย์
  • ทุนทางความสุข
3.  สามารถสร้างความสุขให้กับคนอื่นได้
  • ทุนจริยธรรม คุณธรรม
  • ทุนแห่งความยั่งยืน
  คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหาร 1.    การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน 2.     ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล 3.    มีความสามารถ 4.     มีความสำนึกรับผิดชอบ 5.     มีความเป็นกลาง 6.     การมุ่งสัมฤทธิ์ผล 7.     ความเป็นมืออาชีพ   ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี 1.    มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง 2.    ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง 3.    ขาดความรับผิดชอบ 4.    การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้ 5.    ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน 6.     แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องมาดำรงตำแหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งบันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง 7.     ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม 8.    ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ 9.      ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร ฯลฯ ทฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำ 1.    ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ 2.    ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม 3.    ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์ พัฒนาตนเองสู่ภาวะผู้นำ 1.    คล่องคิด  ล่วงรู้ปัญหา รู้แจ้ง เผชิญความยุ่งยากได้หลากหลาย อย่างเป็นสุข มีแง่คิด มีปัญญา 2.    คล่องคน  รู้เขา รู้เรา เรียนรู้จากประสบการณ์ผู้อื่น สร้างโอกาส เย็นสงบ สุขุม สง่างามภายใต้แรงกดดันได้ 3.    คล่องผล  ทำให้ผู้คนมีพลังทำงานได้สำเร็จ ให้ผลงานได้เกินคาด สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อื่น ส่งมอบผลงานที่ยากได้ 4.    คล่องเปลี่ยน ใฝ่รู้ สู้ยิ่งยาก ไม่ย่นระย่อ ชอบทดลอง ปรับเปลี่ยน สนใจที่จะพัฒนาตน สร้างนวัตกรรมผู้นำ กับการแก้ไขปัญหา  เมื่อมีปัญหาต้องแก้ไข 
  • ต้องรู้ว่าอะไรคือตัวปัญหา
  • สาเหตุ
  • แนวทางเลือกในการแก้ปัญหา
  • ลงมือปฏิบัติ (เลือกวิธีที่ดีที่สุด)
  • ติดตามผลแล้ว
  • พัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา

 

หัวข้อที่ผมยกขึ้นมานี้ แสดงให้เห็นและเข้าใจถึง การที่จะเป็นผู้นำและแรงขับดันความรู้สึกของผู้นำหรือสิ่งที่ผู้นำควรมี และรูปแบบการแก้ไขปัญหาแบบผู้นำ อีกหัวข้อหนึ่งที่ทำให้ผมเข้าใจและเห็นภาพคือความแตกต่างระหว่างการเป็นเจ้านายกับการเป็นผู้นำ 1.    ผู้นำสร้างปณิธานให้แก่ผู้ตาม 2.    ผู้นำอาศัยเจตจำนงที่เสรี 3.    ผู้นำแผ่ความรัก ปรารถนาดี 4.    ผู้นำ พูดว่า "เรา" 5.    ผู้นำแสดงให้รู้ว่าอะไรที่ผิด และควรทำอย่างไร 6.    ผู้นำรู้ว่าจะทำงานอย่างไร 7.    ผู้นำบริหารความเคารพ

 

การที่องค์กรมีผู้นำที่ดีและสามารถอยู่รอดได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ว่าจะเป็นผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดหรือฉลาดที่สุดแต่เป็นผู้ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุดและสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสร้างศรัทธาให้กับบุคคลอื่นได้ให้เกิดความเชื่อถือศรัทธาในต้วของผู้นำเองด้วย

  นายเอกราช  ดลยสกุลมหาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด MBA 6 
น.ส. พนาวัลย์ คุ้มสุด นักศึกษาปริญญาโท บริหารธุรกิจ

จาก น.ส. พนาวัลย์ คุ้มสุด นักศึกษาปริญญาโท บริหารธุรกิจ ID 106142010 เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 15:45 (178284)

 

รุปองค์ความรู้ในภาพรวมของ น.ส.พนาวัลย์ คุ้มสุด  จากการศึกษาระดับปริญญาโท  บริหารธุรกิจ   มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด

               ดิฉัน  น.ส. พนาวัลย์  คุ้มสุด  นักศึกษาปริญญาโท  บริหารธุรกิจ  ID  106142010 ได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท  บริหารธุรกิจ ณ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งแต่ปี 2549 ถึงปัจจุบัน รายวิชาต่าง ๆ ที่ได้ศึกษาผ่านไปแล้วรวม  8  วิชา ได้แก่ 
  • กง. 524  การเงินเพื่อการจัดการ*** (FIN 524)
  • กจ. 521  องค์การและการจัดการ (MGN  521)
  • กจ. 530  กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (วิชาเลือก) *** (MGN 530)
  • ศศ. 557  เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการ (ECO 557)
  • กต. 548  การบริหารการตลาด (MKT  548)
  • กจ. 562  การบริหารการปฏิบัติการ***(MGN 562)
  • กบ. 543  การวิเคราะห์บัญชีเพื่อผู้บริหาร (ACC 543) *****
  • กจ. 590  กลยุทธ์การจัดการ *** (MGN  590)
 

               จากความรู้ทั้งด้านวิชาการและทักษะต่าง ๆ  ที่ได้รับมีความหลากหลายมากถือว่าเป็นการเติมเต็ม  ให้แก่ตัวดิฉันเอง  ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม  โดยเฉพาะการนำองค์ความรู้ต่าง ๆ มาพัฒนาอาชีพที่ดิฉันรับผิดชอบอยู่ ได้แก่ ร้านค้าโทรศัพท์มือถือ , ทำหน้าที่รองนายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี  ฝ่ายการศึกษา  สรุปเนื้อหาสาระที่ได้รับจากคณาจารย์ , การสัมมนา ,    ค้นคว้าเพิ่มเติม , มีประเด็นสำคัญ  ดังนี้

                1.  ความรู้ด้านวิชาการรายละเอียดด้านวิชาการมีความหลากหลายมาก โดยเนื้อหาในภาพรวมแบ่งได้ออกเป็น  2  กลุ่ม  คือ               1.1  เนื้อหาสาระที่เป็นพื้นฐานในการบริหารจัดการองค์กร ได้แก่  ความรู้ด้านการเงิน , บัญชี ,เศรษฐศาสตร์  จากการเรียนรู้ทำให้เข้าใจระบบบริหารต่าง ๆ , การบริหารด้านการเงินที่เหมาะสม  ตลอดจนแนวทางเศรษฐกิจในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้ดิฉันสามารถนำมาเป็นพื้นฐานปรับใช้ประโยชน์ได้       

               1.2 เนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการจัดการองค์กร ในรูปแบบต่างๆ  ,   กลยุทธ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประกอบการดำเนินการ , การวิเคราะห์สถานการณ์ขององค์กรในประเด็นต่าง ๆ , การบริหารงานบุคคลที่มีคุณภาพตลอดจนแนวทางการแก้ปัญหาและการบริหารงานในช่วงวิกฤติจากรายละเอียดของเนื้อหาทั้ง  8  วิชา  ที่ดิฉันได้ศึกษาแล้วมีผลอย่างมาก  ต่อตัวดิฉันและผู้เรียนทุกอื่น ๆ โดยเฉพาะแนวความคิด , การดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ถูกปรับเปลี่ยนอย่างมาก  เช่น

 

               -  แนวทางการบริหารองค์กร  ทั้งภาครัฐและเอกชน  ทำเป็นระบบมากขึ้นตั้งแต่การวางแผนจัดโครงสร้างองค์กร , การจัดตั้งองค์กร , การมอบหมายงาน , การตรวจสอบ 

      

               - แนวทางการจัดการทางการเงิน  โดยเฉพาะองค์กรธุรกิจเกี่ยวกับการระดมทุน , การลงทุนที่เหมาะสม , กระแสเงินสด , การรักษาสภาพคล่อง , รวมทั้งการบริหารหนี้สินอย่างฉลาด

 

               -  แนวทางการบริหารงานบุคคลในองค์กร  ซึ่งรูปแบบการบริหารงานบุคคลในลักษณะต่าง ๆ เช่น  การได้มา , การรักษาไว้ , การจากไปของบุคลากร  เป็นไปอย่างมีระบบตลอดจน ทำให้มีจริยธรรมคุณธรรม , เมตตาธรรม มากขึ้น

 

               -  แนวทางการวิเคราะห์สถานะขององค์กรในช่วงเวลาต่าง ๆ ทำได้อย่างเหมาะสมด้วยการทำ SWOT  และการวิเคราะห์จาก Matrix  ต่าง ๆ ทำให้สามารถทราบความเป็นไปขององค์กร ได้อย่างชัดเจน  ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการแก้ไขและพัฒนาต่อไป

 

               -  แนวทางการแก้ไขปัญหายามวิกฤติต่าง ๆ ตามปกติผู้ที่ทำการค้า , พนักงาน , ข้าราชการ  เมื่อพบกับวิกฤติรูปแบบต่าง ๆ ก็มักจะใช้ประสบการณ์ , การปรึกษา , เข้ามาแก้ปัญหา แต่การใช้หลักวิทยาการมาร่วมด้วย  จะทำให้สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ไปได้อย่างดีและรวดเร็ว

                -  แนวทางการสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมีทั้งคู่แข่งขัน , เพื่อนร่วมอาชีพ , องค์กรที่เกี่ยวข้อง , สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ได้อย่างมีคุณภาพ  ทำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น  ซึ่งจะเป็นผลดี  (Win Win)  ทั้ง 2 ฝ่าย

               -  ทำให้เกิดความเข้าใจถึงความเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมของระบบการเมือง , เศรษฐกิจ , สังคม  โดยรวมมากขึ้น  อันจะเป็นพื้นฐานในการนำไปวิเคราะห์และวางแผนต่อไป

 

               -  แนวทางการปรับองค์กรให้เหมาะสม  ได้แก่  การสร้างความเจริญเติบโต , การยกเลิก  , การชะลอ  ให้เป็นไปตามสถานะ การณ์ที่เหมาะสมและเป็นจริงที่สุด

 

               2.  ด้านประสบการณ์ , ทักษะต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษา ในการเรียนรู้จาก  เนื้อหา  8  รายวิชาที่ผ่านมา  ดิฉันได้มีโอกาสได้รับรู้รายละเอียด  ทางวิชาการจากคณาจารย์ , การแลกเปลี่ยนความรู้  ความเข้าใจกับคณาจารย์ , เพื่อนนักศึกษาการสัมมนา , การนำเสนอในห้องทำให้พฤติกรรมโดยส่วนตัวของดิฉันพัฒนามากขึ้น  ในหลาย ๆ ด้าน เช่น

 

               2.1  ทำให้กล้าแสดงออกมากขึ้น

 

               2.2  ทำให้การตัดสินใจในงานต่าง ๆ ทั้งงานในอาชีพ  และชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างรวดเร็ว , มั่นใจ  มากขึ้น

 

               2.3  ทำให้ดิฉันมีจริยธรรม , คุณธรรม , เมตตาธรรมมากขึ้น  โดยเฉพาะกับบุคลากรในความดูแลโดยตรงและผู้เกี่ยวข้อง

 

               2.4  ทำให้เกิดความกล้าที่จะบริหารธุรกิจของตนเอง  ให้ก้าวไกลในทุก ๆ ด้าน

 

               2.5  ทำให้ตนเองยอมรับ  การดำเนินการต่าง ๆ โดยใช้การวางแผนเป็นแม่บทในการจัดการ  และสามารถนำเสนอแผนงานที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรและสังคมได้อย่างมาก

 

               3.  ด้านสังคม ในโอกาสนี้ดิฉันได้เข้ามาเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้มีโอกาสพบปะกับคณาจารย์ , เพื่อนนักศึกษา , สถานประกอบการณ์ , ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่สำคัญที่สุด  ที่ทำให้ดิฉันมีสังคมที่กว้างไกลมากขั้น , มีเพื่อนรู้ใจมากขึ้น , ตลอดจนทำให้เข้าใจความเป็นมาของสังคมในด้านต่าง ๆ มากขึ้น

 

               4.  แนวทางในอนาคต แม้ว่าดิฉันจะเริ่มเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้และได้ศึกษาตามรายวิชาบางส่วนของหลักสูตรที่ผ่านมา  ดิฉันเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างมากที่มีโอกาสได้เข้ามารับการเติมเต็ม  ให้แก่ตนเองอันจะเป็นผลโดยตรงต่อการพัฒนาทั้งอาชีพและงานที่รับผิดชอบอื่น ๆ สำหรับแนวทางในอนาคต  ดิฉันคาดว่า

 

               4.1  พื้นฐานจาก 8 ราชวิชา ที่ได้ศึกษาแล้วจะเป็นพื้นฐานในการเรียน  ตามรายวิชาสภาวะผู้นำได้ระดับหนึ่ง

 

               4.2  จะนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในอาชีพที่ดำเนินการอยู่

 

               4.3  ต้องการทำหน้าที่ผู้นำสถาบันการศึกษา , องค์การต่าง ๆ หรือการพัฒนาสังคมให้ความรู้ที่ยั่งยืนตลอดไปถึงแม้ว่าดิฉันจะผ่านการศึกษาตามหลักสูตร  เพียงบางส่วนของหลักสูตรก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่าอย่างมาก  สำหรับการศึกษาต่อไป  ตามหลักสูตรจะมีผลอย่างไรก็ตามดิฉันคิดว่า  ทั้งสาระ , ประสบการณ์ที่ได้รับทั้งหมดจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมอย่างมากตลอดไป 

  

พนาวัลย์    คุ้มสุด

 ID 106142010 
นายชูศักดิ์ ลาภส่งผล MBA STAMFORD INTERNATIONAL UNIVERSITY เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 19:09 (175965)
นายชูศักดิ์ ลาภส่งผล เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 19:09 (175965) 

สวัสดีท่านอาจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และนักศึกษาปริญญาโททุกท่าน

  จากการที่ได้เรียนในวิชา ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กรก็ทำให้ทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงมากมายในยุคปัจจุบันว่ามีผลต่อผู้นำและภาวะผู้นำซึ่งมีผลต่อการบริหารองค์กรให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างไร ซึ่งเป็นการยากที่จะสรรหาผู้นำที่ดีที่มีคุณลักษณะเหมาะสมเข้ามาสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรได้ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เช่น การเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยีต่าง ๆ ด้านสังคมเป็นต้น  
เพราะทุกอย่างในโลกนี้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและในความหมายของผู้นำก็คือคนที่จะเข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการด้านต่าง ๆ ในองค์กร ไม่่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน ส่วนภาวะผู้นำก็คือ พฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถที่มีความเป็นผู้นำนั่นเอง และผู้นำก็จะต้องมี
1.    วิสัยทัศน์
2.    พันธกิจ
3.    เป้าหมาย
4.    วัตถุประสงค์
5.    แผนกลยุทธ์ที่วางไว้
6.    และนำแผนที่ได้นั้นไปปฏิบัติและนำมาตรวจสอบเพื่อดูเปรียบเทียบกับแผนที่วางไว้กับที่เกิดขึ้นจริงนั้นเป็นอย่างไร และทำการปรับปรุงแำก้ไขในส่วนทีบกพร่องที่เกิดขึ้นพร้อมกับพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ และ
ลักษณะของคนที่มีภาวะผู้นำจะต้องใช้เครื่องมือในการสร้างและรักษาอำนาจได้ด้วยคือ 
1.    อำนาจจะเกิดได้ต้องรู้จักการให้ ให้โอกาส ให้ความรู้ ความใกล้ชิด ให้อภัย ให้เงินทอง
2.    อำนาจสร้างได้โดยการติ คือเมื่อลกน้องทำไม่ดีแล้วต้องติ หรือทำผิดต้องติ
3.    อำนาจที่แสดงตนว่าเป็นผู้รูู้้มากกว่าลูกน้อง ต้องหมั่นเป็นคนที่ใฝ่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
4.    อำนาจสร้างไ้ด้ด้วยการอ้างอิง เช่น ถ้าเราไปดูงานความเรียบร้อยในบริษัทพร้อมกับหัวหน้าแต่เห็นว่าบริษัทไม่ได้ทำเรื่อง 5 ส.เลย มีความสกปรกในบริษัท ไม่เรียบร้อย ไม่เป็นระเบียบ เมื่อหัวหน้าไปแล้วเราก็บอกให้มีการจัดทำเกี่ยวกับ 5 ส.นี้เพื่อส่งผลดีให้กับบริษัทเราเมื่อมีใครเข้ามาดูในบริษัทเราโดยอ้างชื่อหัวหน้าว่าเป็นคนสั่งมาอีกทีหนึ่ง
5.    อำนาจทางนิติกรรมที่ทำตนเป็นอยู่แล้วในตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน   

 

(ทฤษฎี 8 K’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์)สามารถนำเสนอความคิดใหม่

1.    ทุนความรู้                 
2.    ทุนปัญญา                
3.    ทุนทางสังคม               

4.    ทุนทาง IT สามารถสร้างความสุขให้กับตนเองได้ 

5.    ทุนความเป็นมนุษย์               
6.    ทุนทางความสุข  สามารถสร้างความสุขให้กับผู้อื่นได้ 
7.    ทุนจริยธรรม คุณธรรม               
8.    ทุนแห่งความยั่งยืน  

 

ฤษฎีภาวะการเป็นผู้นำมีอยู่ 3 ทฤษฎี คือ
1.    ทฤษฎีเกี่ยวกับลักษณะ คือเป็นผู้นำีที่ดีและจะเกิดประสิทธิภาพในองค์กร เช่นมีความซื่อสัตย์ ยุติธรรม มีความรับผิดชอบ รอบคอบ มีทักษะในการติดต่อสืื่่่่อสาร และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดี
2.    ทฤษฎีทางด้านพฤติกรรม มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำงาน
3.    ทฤษฎีทางด้านสถานการณ์   
สภาวะหลัก 5 ด้าน นำสู่ภาวะผู้นำ1.            LEADING CHANGE ศักยภาพในการเปลี่ยนแปลง
·         Continual Learning การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
·         Creativity and Innovation มีความคิดสร้างสรรค์และใช้นวัตกรรม
·         External Awareness ตระหนักถึงผลกระทบจากภายนอก
·         Flexibility ความยืดหยุ่น
·         Resilience ปรับเปลี่ยนได้
·         Service Motivation จูงใจใฝ่บริหาร ·         Strategic Thinking การคิดเชิงกลยุทธ์ ·         Vision การมีวิสัยทัศน์ มองการณ์ไกลได้ดี   
2.   LEADING PEOPLE DRIVING ศักยภาพในการเป็นผู้นำ  
·         Conflict Management การบริหารความขัดแย้ง
·         Leveraging Diversity ตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรม
·         Integrity/Honesty ความจงรักภักดี / ความซื่อสัตย์
·         Team Building สร้างทีมงาน    
3.   RESULTS DRIVING การมุ่งผลสัมฤทธิ์  
·         Accountability . ความรับผิดชอบ
·         Customer Service การให้บริการลูกค้า ·         Decisiveness การตัดสินใจ
·         Entrepreneurship ความเป็นผู้ประกอบการ
·         Problem Solving การแก้ไขปัญหา ·         Technical Credibility มีเทคนิคที่เชื่อถือได้  
4.   BUSINESS ACUMENT ความเฉียบคมทางการบริหาร
·         Financial Management การบริหารจัดการด้านการเงิน
·         Human Resources Management การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์
·         Technology Management การบริหารจัดการด้านเทคโนโลยี
·         Customer Management การบริหารลูกค้า  

5.    BUILDING COLITIONS  การสร้างความเข้าใจ

·         Influencing/Negotiating การเจรจาต่อรอง
·         Interpersonal Skills ทักษะด้านคน การโน้มน้าว
·         Oral Communication ความสามารถในการสื่อสารด้วยวาจา
·         Partnering ความสามารถในการมีส่วนร่วม
·         Political Savvy ความรอบรู้ด้านการเมือง
·         Written Communication ความสามารถในการสื่อสารด้วยการเขียน 
Best Leaders
  1. Honesty
  2. Responsiveness
  3. Vigilance = Continued Success
  4. Livingness to learn and relearn 
  5.  Sense of adventure
  6. Vision
  7. Altruism

 

คุณค่าของผู้นำ/ผู้บริหาร

  1. การมุ่งประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์แผ่นดิน (Social/National Interest)
  2.  ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย/ธรรมาภิบาล (Meritocracy/Good Governance)
  3. มีความสามารถ (Competence)
  4.  มีความสำนึกรับผิดชอบ (Accountability)
  5.  มีความเป็นกลาง (Neutrality) 
  6.  การมุ่งสัมฤทธิ์ผล (Result Orientation) 
  7.  ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism)

  

ลักษณะของผู้นำที่ไม่ดี

  1. มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง
  2. ทำตนเข้าสู่กับดักแห่งอำนาจ ยึดมั่นถือมั่น มีอัตตาสูง
  3. ขาดความรับผิดชอบ
  4. การไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำการตัดสินใจแทนตนได้
  5. ไม่คิด ไม่สร้างตัวตายตัวแทน
  6.  แต่งตั้งคนไม่ได้เรื่องมาดำรงตำแหน่งสำคัญ แสดงความไม่เต็มใจที่จะแบ่งบันข้อมูลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง
  7.  ขาดความรู้ ขาดความเป็นธรรม
  8. ขาดความสมดุล ขาดเหตุผล ขาดการพอประมาณ
  9.   ดื้อรั้น ทิฐิ หลงตัวเอง ไม่เชื่อ ไม่ฟังใคร ฯลฯ

ฝึกตนเองให้มีภาวะผู้นำ จากหลักการทรงงาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

  • ระเบิดจากข้างใน
  • ปลูกจิตสำนึก
  • เน้นให้พึ่งตนเองได้
  • คำนึงถึงภูมิสังคม
  • ทำตามลำดับขั้น
  • ประหยัด เรียบง่าย
    ประโยชน์สูงสุด
  • บริการที่จุดเดียว
  • แก้ปัญหาจากจุดเล็ก
  • ไม่ติดตำรา
  • ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ
  • การมีส่วนร่วม
  • รู้ รัก สามัคคี
  • มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่
 

การที่จะเป็นผู้นำที่ดีจะต้องเป็นคนที่ใฝ่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพราะความรู้นั้นเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้นตราบที่เรายังมีชีวิต อีกทั่งโลกก็การเปลีี่ียนแปลงอยู่ตลอดเวลาต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของการแข่งขันได้ เพื่อนำพาองค์ให้ไปสู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจได้

 

 

ซึ่งผู้นำที่ดีก็จะต้องมีลูกน้องที่ดีร่วมกันทำงานเป็นทีม มีเป้าหมายร่วมกันไปในทิศทางเดียวกันอย่างชัดเจนและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กรทีมีอยู่ด้วย และควรเน้นด้าน CEO คือ       

  • Customer  ลูกค้าต้องได้รับความพึงพอใจ       
  • Employee  พนักงานต้องทำงานอย่างมีความสุขในองค์กร
  • Organization องค์กรต้องมีผลการดำเนินงานที่ดีมีกำไร หรือจะต้องไม่   เจ๊งนั่นเอง

 

ต้องคิดนอกกรอบกล้าคิดกล้าทำ กล้าตัดสินใจ มี Positive Thinking มีความสามารถในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์เป็น เพราะว่าภาวะผู้นำไม่มีสูตรสำเร็จเฉพาะ และที่สำคัญต้องรู้จักการบริหารเวลาให้เป็น เป็นคนที่ตรงต่อเวลาในเรื่องของการทำงานภายในและภายนอกขององค์กร สามารถวัดผลได้ เพื่อให้องค์กรมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ มากยิ่งขึ้น  

นายชูศักดิ์  ลาภส่งผล 

น.ศ.ปริญญาโท MBA 6 ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด  

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ /นักศึกษา MBA STAMFORD INTERNATIONAL UNIVERSITY และท่านผู้อ่านทุกท่าน ขอชื่นชม นักศึกษาทุกคนที่เขียนบทความ รายงานเข้ามาแชร์ไอเดีย ได้ตามเวลาที่กำหนด ผมสรุปรายชื่อผู้ที่มีส่วนร่วมในสังคมการเรียนรู้แห่งนี้ ดังนี้ครับ
  1. จำเนียร อำภารักษ์ เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 18:42 (175946)
  2. นายชูศักดิ์ ลาภส่งผล เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 19:09 (175965) 
  3. ชาญชัย พานิชนันทนกุล เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 19:30 (175980)
  4. นายบุญยอด มาคล้าย เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 20:26 (176024)
  5. นายนิคม อำภารักษ์ เมื่อ จ. 26 ก.พ. 2550 @ 20:30 (176027)
  6. นางสาวสุพรรษา อาลี เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 07:24 (176524)
  7. จริยา ลิ้มธรรมรักษ์ เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 22:09 (177366)
  8. นางสาวเสาวนีย์ ทวีเผ่า เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 21:17 (177308)
  9. นางสาวกนกลักษณ์  เร้าเลิศฤทธิ์ MBA ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดหัวหิน เมื่อ อ. 27 ก.พ. 50 @ 10:30
  10. วิวัฒน์ นาวียง เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 12:18 (176762)
  11. นายณัฐพงศ์ ชุมนุมพันธ์ เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 14:00 (176874)
  12. น.ส.ปภาวี นาคสุข ID 106142008 MBA 6 เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 16:17 (177035) 
  13. นายราเชนทร์ แดงโรจน์ เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 10:35 (177932)
  14. Jaruwan Yunprayong MBA 6 ID:106142009 เมื่อ อ. 27 ก.พ. 2550 @ 13:53 (176864)
  15. สุกัญญา เพ็ญสุข เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 19:12 (178477)
  16. อัสมา แวโน๊ะ เมื่อ พฤ. 01 มี.ค. 2550 @ 19:32 (179668)
  17. ศิรดา มากมี เมื่อ พฤ. 01 มี.ค. 2550 @ 19:44 (179682)
  18.  นางสาวหยาดอรุณ อาสาสำเร็จ เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 18:06 (178437)
  19. สราวุฒิ ฉายแสง เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 16:43 (178362)  
  20. นางสาวนภาพร พิพัฒน์ MBA 6 ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 12:06 (178042)
  21. นายเตชะสิทธิ์ หอมฟุ้ง MBA 6 ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 12:25 (178066)
  22. นายนันทพล เถาลิโป้ เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 14:10 (178164)
  23. นายเอกราช ดลยสกุล MBA 6 เมื่อ พฤ. 01 มี.ค. 2550 @ 10:29 (179055)
  24. น.ส. พนาวัลย์ คุ้มสุด นักศึกษาปริญญาโท บริหารธุรกิจ ID 106142010 เมื่อ พ. 28 ก.พ. 2550 @ 15:45 (178284)
ส่วนรายละเอียด ว่าใครเขียนเป็นอย่างไร ต้องการให้ผม Comment อย่างไร เราจะมีกิจกรรมกันในห้องเรียน  พบกันวันนี้ ตอนเย็น สวัสดีครับ  

 

นายชาญชัย พานิชนันทนกุล ID:105342002 MBA STAMFORD INTERNATIONAL UNIVERSITY

 นายชาญชัย พานิชนันทนกุล ID:105342002 เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 00:56 (182777)

สวัสดีครับท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม  นาคสุขและเพื่อนๆนักศึกษาม.นานาชาติสแตมฟอร์ดทุกท่าน       

จากการศึกษาวิชาภาวะผู้นำในวันที่2และ3มีนาคมที่ผ่านมาท่านอ.ยมได้ให้ความรู้ในเรื่อง Change-Leadership และ จริยธรรม ยุทธศาสตร์พัฒนาภาวะผู้นำ       

  1. ประโยชน์ของภาวะผู้นำ (ระดมความคิดเห็น)       
  2. ยุทธศาสตร์การพํฒนาภาวะผู้นำ            
  3. จริยธรรม ความหมายและกรอบแนวคิด

ประเด็นที่มีการเสวนากัน สรุปได้ดังนี้ครับ

1. ภาวะผู้นำมีประโยชน์อย่างไร?

จากความเห็นของข้าพเจ้าภาวะผู้นำมีประโยชน์ในด้านต่างๆดังนี้

-ต่อตนเอง  

  1. มีโอกาสรู้จักคนได้มากขึ้น               
  2. มีความอดทนมากขึ้น               
  3. ทำให้มีคุณธรรม จริยธรรม               
  4. มีความรับผิดชอบในหน้าที่ตนเองดีขึ้น

-ต่อครอบครัว      

  1. มีความซื่อสัตย์                      
  2. สร้างกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว                       
  3. เปิดโอกาสให้คนในครอบคร้วแสดงความคิดเห็น

-ต่อสังคม   

  1. สร้างจิตสำนึกให้รักชุมชน               
  2. รับผิดชอบต่อสังคม           

-ต่อองค์กร  

  1. นำองค์กรสู่ความสำเร็จ              
  2. สร้างความเชื่อมั่นให้องค์กร               
  3. พนักงานมีขวัญกำลังใจดี 

แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำ   เทคนิค 10 ประการฝึกตนให้เป็นผู้นำ

แบบญี่ปุ่น

  1. ฝึกเป็นคนมีมีวินัย เช่น ตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท
  2.  มีมารยาททางสังคม  ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของญี่ปุ่น
  3. ฝึกเป็นคนขยัน  อดทนเป็น
  4. nterprise Spirit  กล้าริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ
  5. Team Work  คนญี่ปุ่นยึดฉันทามติ จงรักภักดีต่อองค์กร  ทำงานแบบอุทิศ  ทุ่มเท
  6. มีนิสัยรักการอ่าน
  7.  รักความสะอาด  ความบริสุทธิ์
  8.  มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง
  9. รักในศักดิ์ศรี ชาตินิยม
  10. พัฒนาตลอดเวลา  ไม่หยุดนิ่ง  และกระตือรือร้น      

หลักธรรมที่ใช้ยึดถือในการควบคุม การใช้อำนาจของผู้นำ  

  1.  หิริ  ได้แก่ความละอายใจ  ละอายต่อการกระทำชั่ว
  2. โอตตัปปะ  ความเกรงกลัวต่อบาป  ความชั่ว
  3. ขันติ  ความอดทน อดกลั้นที่จะไม่กระทำสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย
  4. โสรัจจะ  ความสงบเสงี่ยม  รักษาอากัปกิริยาให้เหมาะสม 

พัฒนาภาวะผู้นำ ตามทศพิศราชธรรม

  1. ทานัง คือ การให้ ซึ่งได้แก่ อามิสทาน(การให้สิ่งของ) ธรรมทาน(การให้ความรุ้) และ อภัยทาน
  2. ศีล คือการมีความประพฤติดีงาม สำรวมกาย วาจาใจ ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน 
     
  3. บริจาคะ (การบริจาค) การเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
  4. อาชชวะ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน ซื่อตรงต่อคำพูด ซื่อตรงต่อวิชาชีพ
  5. มัททวะ ได้แก่ ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี ซึ่งถ้าเป็นยุคนี้ต้องเรียกว่ามีความใจกว้างในการรับฟัง ไม่ดื้อ ไม่รั่น ไม่บ้า หรือมัวเมาในอำนาจ                            
  6. ตปะ ได้แก่ ความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว พยายามลดกิเลสของตน ซึ่งเป็นธรรมดาของคนที่มีอำนาจ ที่จะมีโอกาสจะเห็นผลประโยชน์รูปแบบต่างๆวิ่งผ่านหน้า ตปะ จะเป็นสิ่งที่เหนี่ยวรั้ง ไม่ให้คนดี เสียคน
     
  7. อักโกธะ คือการไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท หรือจงเกลียดจงชังคนใดคนหนึ่งหรือ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นักปกครองคนใด ครองธรรมมะข้อนี้ไม่ได้ ก้อาจจะนำไปสุ่การสร้างความอยุติธรรมในการตัดสินใจ
     
  8. อวิหิงสา คือการไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน, ลูกน้องของตน ,หน่วยงาน และครอบครัวตนเอง เพราะการเบียดเบียนนำไปสุ่การเอาเปรียบ การเอาเปรียบบ่อยๆ ก็ทำให้เสียนิสัยและนำไปสุ่ พฤติกรรมคอร์รัปชั่น
     
  9. ขันติ ได้แก่ การมีความอดทนอดกลั้นความโลภ ต่อแรงกดดันต่างๆ
     
  10. อวิโรธนะ ความโปร่งใส วิโรธนะ การทำงาน อย่าให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย นั่นคือการทำงานอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา 

ฝึกตนเป็นคนมีภาวะผู้นำ
กำจัด รักษา พัฒนา ป้องกัน

  1. เพียรกำจัด (ลด ละ เลิก) สิ่งที่ไม่ดี ข้อบกพร่องหรืออกุศล ให้หมดไป                     
  2. เพียรรักษา (รักษา) สิ่งที่ดี คุณภาพดีๆ มาตรฐานงานดีๆ วินัย หรือกฎข้อบังคับ ความรู้ ภูมิปัญญา ของตน ขององค์กร ให้คงอยู่ ยั่งยืนนาน                                                                  
  3. เพียรระวัง (ป้องกัน) มิให้สิ่งที่ไม่ดี เข้าครอบงำ มีข้อบกพร่อง ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยเน้นที่การดับที่เหตุรากเหง้า
  4. เพียรเจริญ (พัฒนาปรับปรุง) สิ่งที่ดีๆ สิ่งที่ทำอยู่ให้เจริญขึ้น หรือดีขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายขั้นสูง 

Yom, 2005, 6 . สำหรับฝึกภาวะผู้นำ 

  • ท.ที่ 1 ท่าที  มีท่าทีที่ดี
  • ท.ที่ 2 ท้าทาย ทำงานที่ยากกว่า คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่
  • ท.ที่ 3 ทน ต้องอดทน
  • ท.ที่ 4 เที่ยงธรรม
  • ท.ที่ 5  ทำ
  • ท.ที่ 6 ทบทวน หมั่นทบทวน 

4 E’s Leadership

  1. Energy  ฝึกตนให้เป็นคนมีพลังเหนือชั้น ฝึกจิตใต้สำนึก
  2. Energize ฝึกตนให้เป็นคนที่สามารถกระตุ้นให้ทุกคนมีศักยภาพ    ทำงานในทิศทางเดียวกันและมีพลัง(ทฤษฎีกางร่ม)
  3. Edge ฝึกตนให้กล้าตัดสินใจ ให้ถูกจังหวะ
  4. Execution  ฝึกตนให้เป็นผู้ที่ต้องทำให้เสร็จและสำเร็จวัดผลได้ 

6 C’s Leadership

  1. Conversations ติดต่อ ปราศรัย สร้างสัมพันธ์ดี
  2. Communicating ฝึกสื่อสาร สื่อสารให้เป็น  
  3.  Culture  มีวัฒนธรรม เข้าได้ทุกระดั
  4. Creating change  สร้าง/บริหารการเปลี่ยนแปลง 
  5. Creating team  สร้าง/บริหารที
  6. Charisma  เก่ง กล้า สามารถ     

 

เรื่องจริยธรรม ที่ได้รับการเรียนการสอน จาก อ.ยม สรุปได้ดังนี้ 

จริยธรรม =จริยะ +  ธรรมะ =  (คำกริยา) ความประพฤติ  กริยาที่ควรปฏิบัติ 

ธรรมะ  หรือ ธรรม   แปลได้หลายอย่างธรรมะ  แปลว่า  หน้าที่  กฎ  หลักเกณฑ์ธรรมะ  แปลว่า  ธรรมชาติ  ธรรมดา  สิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ความแตกต่างระหว่าง ศีลธรรม จริยธรรม จรรณยาบรรณ 

ตารางเปรียบความแตกต่างระหว่างศีลธรรม จริยธรรม และจรรณยาบรรณ

ลักษณะความแตกต่าง ศีลธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ
รากฐานที่มา ศาสนา ประเพณีวัฒนธรรม กลุ่มวิชาชีพกำหนดขึ้น
การบังคับใช้ ใช้เฉพาะคนในศาสนา ไม่บังคับใช้ขึ้นกับจิตสำนึก คุมความประพฤติเฉพาะกลุ่มในวิชาชีพเดียวกันเท่านั้น
ลักษณะการประพฤติปฎิบัติ หลักคำสอนทางศาสนา เป็นเรื่องของจิตใจที่ดีงามกระทำออกมาถูกต้อง เป็นกติกาที่กลุ่มบุคคลยึดเป็นแนวทางปฎิบัติ
ประโยชน์ ผู้ประพฤติธรรมย่อมเป็นสุข สังคมสงบสุข ต่อผู้ประกอบอาชีพผู้ใช้บริการสังคมและประเทศ

 

ภาพรวม ประโยชน์ของ จริยธรรม

ประโยชน์ต่อมนุษยชาติ

  • ช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
  • สำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม ประเทศชาติพัฒนาชีวิตให้สำเร็จตามเป้าหมาย
  • สามารถแก้ปัญหาชีวิตและความทุกข์ให้หมดไปได้มีเครื่องยึดเหนี่ยว และ
  • ป้องกันการเบียดเบียนกันในทางส่วนตัวและ
  • สังคมพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นชีวิตที่สมบูรณ์ 

จริยธรรม มีประโยชน์อย่างไรต่อองค์กร? 

  • Quality worker : คนมีคุณภาพ
  • Quality Organization : องค์การมีคุณภาพ
  • Quality Service/Product : สินค้า บริการ มีคุณภาพEmployee
  • Retention : เก็บรักษาบุคลากรไว้ได
  • Customer Satisfaction : สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้
  • Orientation Trust : สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์การ
  • Market Orientation : ทำตลาดได้Profitability : สร้างผลกำไรได้
  • Team Building : สร้างทีมงานOrganization result: ผลประกอบการดีขึ้น

ประเด็นต่อมาที่ได้จาก อ.ยม คือเรื่อง ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงในที่นี้คือการพัฒนา ผู้นำต้องพร้อมรับปัญหา และความเจ็บปวดที่อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลง

ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง เทคนิคขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงมีดังนี้

  1. ต้องทำให้คนในองค์กรตื่นตัวทั่วทั้งองค์กร
  2. ตั้งทีมเจ้าภาพ
  3. .ตั้งแผนเพื่อทำการชี้วัดแผนกลยุทธ์
  4. สื่อวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ ให้เข้าใจและสามารถโน้มน้าวเชิญชวนได้
  5. ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงสร้างInnovationใหม่ๆ
  6. รวบรวมผลลัพธ์จากการทำมาประเมินผลดูว่าเป็นอย่างไรบ้าง
  7. สร้างชัยชนะระยะสั้น
  8. กำหนดแผนระยะสั้นลึกลงไปเป็นวัฒนธรรมองค์กร
  9. .พัฒนาอย่างต่อเนื่องสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า     

ประเด็นต่อมา ที่เสวนากัน คือกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง มี 2 กลยุทธ์ คือ

(2 Strategies for Changes) 

  1. Top Down (Programmatic)“Teaching & Application of Existing Knowledge" รวดเร็ว ประหยัด  แต่พนักงานระดับล่างไม่มีส่วนร่วม  มีการต่อต้าน 
  2. Bottom-Up (Learning)“Stepwise Creation of Meaning & Understanding" พนักงานระดับล่างต้องมีส่วนร่วม ทำให้รู้สึกเป็นเจ้าของ  ความสำเร็จระยะยาว   แต่ต้องใช้เวลามากในการทำความเข้าใจ LEADERSHIP FOR CHANGE (ความเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง)

 

ผู้นำที่มีภาวะผู้นำที่ดีต้องมีความสามารถในการบริหารความขัดแย้งได้

  •  Partnership (มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน)
  • Endurability (มีความอดทน อดกลั้น)
  • Management by objectives (MBO)(บริหารโดยวัตถุประสงค์)
  •  Acting as driving force (ลงมือปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อน)
  • Conflict solving (คลี่คลายข้อโต้แย้ง IMPLEMENTATION SKILLS (ทักษะในการดำเนินการ)
  •  Sustainability (มีความคงเส้นคงวา)
  •  Applying appropriate change methods (เลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง)
  • Reinforcing and correcting feedback loops (แก้ไขผลสะท้อนที่ได้รับกลับมา และทำให้เกิดผล)
  • Developing shared mental models      (วางรูปแบบความรู้สึกร่วมกันในสภาวะทางใจ)    
  • THE ROLE OF THE LEADER WHEN IMPLEMENTING CHANGE
    (บทบาทของผู้นำเมื่อปฏิบัติให้เกิดการเปลี่ยนแปลง)
  • The leader represents the company and the change – However needs to listen to the staff (ผู้นำ คือ ตัวแทนขององค์กร และการเปลี่ยนแปลง แต่ควรต้องฟังความคิดเห็นของพนักงานด้วย)
  • The leader tends to overestimate how to inform the staff (ผู้นำอาจมองข้ามความสำคัญในการชี้แจงให้พนักงานทราบ)
  • The leader must create good communication channels (ผู้นำควรสร้างช่องทางการสื่อสารที่ดี)

ผู้นำคือ Brand ขององค์กร  จึงควรพัฒนาตนเองให้ดีและมีคุณธรรม  

กิจกรรมบางส่วนในห้องเรียน อาจารย์ให้แต่ละคนออกมาพูด เพื่อฝึกภาวะผู้นำ ดังนี้

ถาม…..ในชีวิตของท่านมีอะไรที่ประสบความสำเร็จด้านใดบ้าง  มีภาวะผู้นำอะไรบ้าง  มีจริยธรรมประจำใจอะไรบ้าง

  • ด้านการศึกษา               

-จบการศึกษาระดับม.ปลายที่ ร..เทพศิรินทร์               

-จบปริญญาตรีที่ ม.หอการค้าไทยด้านธุรกิจ   

ประสบความสำเร็จในด้านยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์   สูงสุดในจ.ประจวบคีรีขันธ์-ได้รับรางวัลโชว์รูมยามาฮ่าสแควร์ยอดเยี่ยม  คะแนนเต็ม    100%  8 เดือนติดต่อกัน

-ได้รับเกียรติให้เป็นศูนย์บริการยามาฮ่าระดับ 5ดาว  โดยเป็นศูนย์บริการดีเด่น 3 ปี ด้านสังคม  

-ทำโครงการ Matching Grant สโมสรโรตารีปราณบุรีโครงการเครื่องมือแพทย์เพื่อชุมชนให้แก่ร..ปราณบุรี และสถานีอนามัย 7แห่งในเขตอ.ปราณบุรี               

-ส่งน..แลกเปลี่ยนไป U.S.A. ภาวะผู้นำ

-มีวิสัยทัศน์และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วทันเวลา 

จริยธรรมประจำใจ: คือ เป็นผู้นำ ต้องมีคุณธรรม "คุณธรรมค้ำจุนโลก"

นายบุญยอด มาคล้าย MBA STAMFORD INTERNATIONAL UNIVERSITY
นายบุญยอด มาคล้าย เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 11:36 (182028)  สวัสดีครับท่าน ศ.ดร.จีระ ท่าน อ.ยมและเพื่อนนักศึกษาทุกท่านครับ  เป็นสัปดาห์ที่สองแล้วที่ผมได้เรียนภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ได้รู้คือได้รู้ถึงแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำว่าในฐานะที่เราเป็นผู้นำเราควรพัฒนาตัวเราหรือตัวผู้นำเพื่อนำพาองค์กรที่เราบริหารอยู่ให้ไปในทิศทางใดถึงจะนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศและพร้อมที่จะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงผันแปรต่างๆที่จะเกิดขึ้นต่อไปภายหน้า โดยท่าน อ.ยมได้ให้แนวทางในการเป็นผู้นำที่ดีจะต้องมีสิ่งต่อไปนี้คือผู้นำจะต้องเป็นผู้รอบรู้มีความรู้ที่ใหม่และสดเสมอผู้นำจะต้องเป็นคนที่มีเหตุมีผลผู้นำจะต้องรู้จักประมาณตนเองหรือเป็นอยู่อย่างพอประมาณผู้นำจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองและองค์กรและสุดท้ายผู้นำจะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม          ในสิ่งที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นลักษณะหรือเป็นภาพกว้างๆของผู้นำที่ดีท่าน  อ.ยมได้สอนลงลึกไปถึงการป้องกันองค์กรล่มสลาย  สอนถึงว่าถ้าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงจะมีเทคนิคในการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อคนเหล่านี้คือ-ลูกค้า-พนักงาน-เจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วน โดยถ้าจะต้องเปลี่ยนแปลงจริงๆนั้นสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงสิ่งเป็นสำคัญ 3 อย่างต่อไปนี้คือ-ความพึงพอใจของลูกค้า-ความพึงพอใจของพนักงาน-ผลประกอบการ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแล้วไม่กระทบสามอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้นนับว่าประสบผลสำเร็จไปขั้นหนึ่งที่บอกว่าขั้นหนึ่งนั้นเพราะการเป็นผู้นำนั้นจะต้องตื่นตัวตลอดเวลาไหนจะต้องมาเจอกับปัญหาความขัดแย้งในองค์กร ผู้นำจะต้องเข้าไปแก้ปัญหาให้ความขัดแย้งนั้นหมดไปและเป็นไปตามความพึงพอใจของทุกฝ่ายและยังมีปัญหาอีกหลาย ๆ อย่างให้ต้องแก้ไขตลอดเวลาจะอย่างไรก็แล้วแต่ ใครในฐานะที่สวมบทบาทผู้นำ   การบริหารใดๆไม่มีสูตรสำเร็จที่จะวางหลักการบริหารครั้งเดียวแล้วใช้ได้ไปตลอดจะต้องวางแผน ปรับปรุง แก้ไขตลอดเวลาเพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์กรและต้องแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจเพื่อความเติบโตขององค์กร  ในส่วนของยุทธศาสตร์กับการเปลี่ยนแปลง 2 แนวทางคือ แนวทางแรกTOP DOWN กับ BOTTOM UP จะไม่ขอพูดถึง และอีกเรื่องหนึ่งคือการบริหารโดยนำหลักทศพิศราชธรรมมีอะไรบ้างผมได้คัดลอกทางอินเตอร์เน็ทมาฝากเพื่อนๆก็อ่านกันเอาเองน๊ะครับเพราะมีประโยชน์มาก ท้ายนี้ก็ขอฝากขอบพระคุณท่านอาจารย์ยมที่ตั้งใจถ่ายทอดวิชาทั้งในและนอกเวลาและขอบคุณในความตั้งใจดีมา ณ ที่นี้ด้วย ขอบคุณครับ  ทศพิศราชธรรม  ขอเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในปีมหามงคลฉลองครบรอบ 60 ปี แห่งการครองราชย์  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 นับเนื่องมาจนปัจจุบัน พระองค์ได้ทรงดำรงมั่นใน ทศพิธราชธรรมหลักธรรมแห่งพระมหากษัตริย์ โดยมีพระปฐมบรมราชโองการที่ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ทศพิธราชธรรม เป็นคุณธรรมหลักของพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งได้ปฏิบัติสืบทอดต่อเนื่องยาวนานมาแต่โบราณกาล ในการปกครองบ้านเมืองให้มีความร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งประกอบด้วย ทาน คือการให้ เป็นการช่วยผู้ที่ต้องการความช่วยเหลืออันเนื่องมาจากความขัดข้องแร้นแค้น ด้วยการสละทรัพย์ สิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ด้อยและอ่อนแอกว่าบนผืนดินแผ่นฟ้าเดียวกัน ศีล คือการรักษาความสุจริต มีความประพฤติดีงาม ละเว้นจากสิ่งไม่ดีทั้งหลาย สำรวมกาย และวจีกรรม และประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เกิดความสงบงามอยู่เสมอ บริจาคะ คือการสละสิ่งที่มีประโยชน์น้อย เพื่อสิ่งที่มีประโยชน์มาก ดั่งการแบ่งปันทรัพย์สินนอกกาย ให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ อันเป็นการเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม อาชชวะ คือความประพฤติซื่อตรง มีความจริงใจด้วยการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่การงานตลอดจนสังคมชนหมู่มาก มัททวะ คือความอ่อนโยน สุภาพ ทั้งกาย วาจา ใจ ในทุกสภาวการณ์ มีสัมมาคารวะอ่อนน้อม ไม่แสดงความแข็งกระด้าง และไม่แสดงการยกตนเหนือคนอื่น ตบะ คือความเพียร กล้าทำในสิ่งที่ควรทำ ไม่เกียจคร้าน ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างสม่ำเสมอ ไม่บกพร่อง มีจิตใจหนักแน่น ไม่อ่อนแอและไม่ย่อท้อโดยง่าย อักโกธะ คือความไม่โกรธ มีจิตที่ประกอบด้วยเมตตา และปรารถนาดีเป็นที่ตั้ง รู้จักให้อภัย ข่มใจให้เย็นอยู่เป็นนิจ อวิหิงสา คือการไม่ทำอะไรที่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อนทั้งทางตรงและทางอ้อม มีจิตประกอบด้วยกรุณาและช่วยเหลืออยู่เสมอ พร้อมให้เกียรติผู้อยู่แวดล้อม ขันติ คือการมีความอดทนอดกลั้น รู้จักอดทนต่อความตรากตรำต่าง ๆ สามารถเผชิญต่อความยากลำบากได้อย่างเข้มแข็ง ไม่หวาดหวั่นและท้อแท้ต่อสิ่งใด ๆ อวิโรธนะ คือการวางตนให้หนักแน่น ตั้งมั่นในธรรม ไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหว รอบคอบ ยึดถือความเที่ยงธรรมและความยุติธรรมเป็นหลัก ของฝากจากบุญยอด  มาคล้าย ครับ  4 มีนาคม 2550    02.50 น.106242011 MBA 7 
บุญยอด มาคล้าย MBA STAMFORD INTERNATIONAL UNIVERSITY

นายบุญยอด มาคล้าย เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 11:36 (182028)  

สวัสดีครับท่าน ศ.ดร.จีระ ท่าน อ.ยมและเพื่อนนักศึกษาทุกท่านครับ  

 

เป็นสัปดาห์ที่สองแล้วที่ผมได้เรียนภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ได้รู้คือได้รู้ถึงแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำว่าในฐานะที่เราเป็นผู้นำเราควรพัฒนาตัวเราหรือตัวผู้นำเพื่อนำพาองค์กรที่เราบริหารอยู่ให้ไปในทิศทางใดถึงจะนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศและพร้อมที่จะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงผันแปรต่างๆที่จะเกิดขึ้นต่อไปภายหน้า 

 

โดยท่าน อ.ยมได้ให้แนวทางในการเป็นผู้นำที่ดีจะต้องมีสิ่งต่อไปนี้คือผู้นำจะต้องเป็นผู้รอบรู้มีความรู้ที่ใหม่และสดเสมอผู้นำจะต้องเป็นคนที่มีเหตุมีผลผู้นำจะต้องรู้จักประมาณตนเองหรือเป็นอยู่อย่างพอประมาณผู้นำจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองและองค์กรและสุดท้ายผู้นำจะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม          ในสิ่งที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นลักษณะหรือเป็นภาพกว้างๆของผู้นำที่ดีท่าน  

 

อ.ยมได้สอนลงลึกไปถึงการป้องกันองค์กรล่มสลาย  สอนถึงว่าถ้าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงจะมีเทคนิคในการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อคนเหล่านี้คือ

-ลูกค้า

-พนักงาน

-เจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วน 

 

โดยถ้าจะต้องเปลี่ยนแปลงจริงๆนั้นสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงสิ่งเป็นสำคัญ 3 อย่างต่อไปนี้คือ

  1. -ความพึงพอใจของลูกค้า
  2. -ความพึงพอใจของพนักงาน
  3. -ผลประกอบการ 

ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแล้วไม่กระทบสามอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้นนับว่าประสบผลสำเร็จไปขั้นหนึ่งที่บอกว่าขั้นหนึ่งนั้นเพราะการเป็นผู้นำนั้นจะต้องตื่นตัวตลอดเวลาไหนจะต้องมาเจอกับปัญหาความขัดแย้งในองค์กร 

 

ผู้นำจะต้องเข้าไปแก้ปัญหาให้ความขัดแย้งนั้นหมดไปและเป็นไปตามความพึงพอใจของทุกฝ่ายและยังมีปัญหาอีกหลาย ๆ อย่างให้ต้องแก้ไขตลอดเวลาจะอย่างไรก็แล้วแต่ ใครในฐานะที่สวมบทบาทผู้นำ   การบริหารใดๆไม่มีสูตรสำเร็จที่จะวางหลักการบริหารครั้งเดียวแล้วใช้ได้ไปตลอดจะต้องวางแผน ปรับปรุง แก้ไขตลอดเวลาเพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์กรและต้องแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจเพื่อความเติบโตขององค์กร  

 

ในส่วนของยุทธศาสตร์กับการเปลี่ยนแปลง 2 แนวทางคือ แนวทางแรกTOP DOWN กับ BOTTOM UP จะไม่ขอพูดถึง 

 

และอีกเรื่องหนึ่งคือการบริหารโดยนำหลักทศพิศราชธรรม มีอะไรบ้างผมได้คัดลอกทางอินเตอร์เน็ทมาฝากเพื่อนๆก็อ่านกันเอาเองน๊ะครับเพราะมีประโยชน์มาก 

 

ท้ายนี้ก็ขอฝากขอบพระคุณท่านอาจารย์ยมที่ตั้งใจถ่ายทอดวิชาทั้งในและนอกเวลาและขอบคุณในความตั้งใจดีมา ณ ที่นี้ด้วย 

ขอบคุณครับ  

 

ทศพิศราชธรรม  

ขอเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในปีมหามงคลฉลองครบรอบ 60 ปี แห่งการครองราชย์  

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 นับเนื่องมาจนปัจจุบัน พระองค์ได้ทรงดำรงมั่นใน ทศพิธราชธรรมหลักธรรมแห่งพระมหากษัตริย์ โดยมีพระปฐมบรมราชโองการที่ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” 

 

ทศพิธราชธรรม เป็นคุณธรรมหลักของพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งได้ปฏิบัติสืบทอดต่อเนื่องยาวนานมาแต่โบราณกาล ในการปกครองบ้านเมืองให้มีความร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งประกอบด้วย

ทาน คือการให้ เป็นการช่วยผู้ที่ต้องการความช่วยเหลืออันเนื่องมาจากความขัดข้องแร้นแค้น ด้วยการสละทรัพย์ สิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ด้อยและอ่อนแอกว่าบนผืนดินแผ่นฟ้าเดียวกัน

 ศีล คือการรักษาความสุจริต มีความประพฤติดีงาม ละเว้นจากสิ่งไม่ดีทั้งหลาย สำรวมกาย และวจีกรรม และประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เกิดความสงบงามอยู่เสมอ

บริจาคะ คือการสละสิ่งที่มีประโยชน์น้อย เพื่อสิ่งที่มีประโยชน์มาก ดั่งการแบ่งปันทรัพย์สินนอกกาย ให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ อันเป็นการเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม

อาชชวะ คือความประพฤติซื่อตรง มีความจริงใจด้วยการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่การงานตลอดจนสังคมชนหมู่มาก

มัททวะ คือความอ่อนโยน สุภาพ ทั้งกาย วาจา ใจ ในทุกสภาวการณ์ มีสัมมาคารวะอ่อนน้อม ไม่แสดงความแข็งกระด้าง และไม่แสดงการยกตนเหนือคนอื่น

ตบะ คือความเพียร กล้าทำในสิ่งที่ควรทำ ไม่เกียจคร้าน ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างสม่ำเสมอ ไม่บกพร่อง มีจิตใจหนักแน่น ไม่อ่อนแอและไม่ย่อท้อโดยง่าย

อักโกธะ คือความไม่โกรธ มีจิตที่ประกอบด้วยเมตตา และปรารถนาดีเป็นที่ตั้ง รู้จักให้อภัย ข่มใจให้เย็นอยู่เป็นนิจ

 อวิหิงสา คือการไม่ทำอะไรที่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อนทั้งทางตรงและทางอ้อม มีจิตประกอบด้วยกรุณาและช่วยเหลืออยู่เสมอ พร้อมให้เกียรติผู้อยู่แวดล้อม

ขันติ คือการมีความอดทนอดกลั้น รู้จักอดทนต่อความตรากตรำต่าง ๆ สามารถเผชิญต่อความยากลำบากได้อย่างเข้มแข็ง ไม่หวาดหวั่นและท้อแท้ต่อสิ่งใด ๆ

อวิโรธนะ คือการวางตนให้หนักแน่น ตั้งมั่นในธรรม ไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหว รอบคอบ ยึดถือความเที่ยงธรรมและความยุติธรรมเป็นหลัก 

ของฝากจากบุญยอด  มาคล้าย ครับ 

 

4 มีนาคม 2550  02.50 น.106242011

MBA 7 

นายบุญยอด มาคล้าย MBA STAMFORD INTERNATIONAL UNIVERSITY

นายบุญยอด มาคล้าย เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 11:36 (182028)  

สวัสดีครับท่าน ศ.ดร.จีระ ท่าน อ.ยมและเพื่อนนักศึกษาทุกท่านครับ  

 

เป็นสัปดาห์ที่สองแล้วที่ผมได้เรียนภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ได้รู้คือได้รู้ถึงแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำว่าในฐานะที่เราเป็นผู้นำเราควรพัฒนาตัวเราหรือตัวผู้นำเพื่อนำพาองค์กรที่เราบริหารอยู่ให้ไปในทิศทางใดถึงจะนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศและพร้อมที่จะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงผันแปรต่างๆที่จะเกิดขึ้นต่อไปภายหน้า 

 

โดยท่าน อ.ยมได้ให้แนวทางในการเป็นผู้นำที่ดีจะต้องมีสิ่งต่อไปนี้คือผู้นำจะต้องเป็นผู้รอบรู้มีความรู้ที่ใหม่และสดเสมอผู้นำจะต้องเป็นคนที่มีเหตุมีผลผู้นำจะต้องรู้จักประมาณตนเองหรือเป็นอยู่อย่างพอประมาณผู้นำจะต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองและองค์กรและสุดท้ายผู้นำจะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม          ในสิ่งที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นลักษณะหรือเป็นภาพกว้างๆของผู้นำที่ดีท่าน  

 

อ.ยมได้สอนลงลึกไปถึงการป้องกันองค์กรล่มสลาย  สอนถึงว่าถ้าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงจะมีเทคนิคในการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อคนเหล่านี้คือ

-ลูกค้า

-พนักงาน

-เจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วน 

 

โดยถ้าจะต้องเปลี่ยนแปลงจริงๆนั้นสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงสิ่งเป็นสำคัญ 3 อย่างต่อไปนี้คือ

  1. -ความพึงพอใจของลูกค้า
  2. -ความพึงพอใจของพนักงาน
  3. -ผลประกอบการ 

ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแล้วไม่กระทบสามอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้นนับว่าประสบผลสำเร็จไปขั้นหนึ่งที่บอกว่าขั้นหนึ่งนั้นเพราะการเป็นผู้นำนั้นจะต้องตื่นตัวตลอดเวลาไหนจะต้องมาเจอกับปัญหาความขัดแย้งในองค์กร 

 

ผู้นำจะต้องเข้าไปแก้ปัญหาให้ความขัดแย้งนั้นหมดไปและเป็นไปตามความพึงพอใจของทุกฝ่ายและยังมีปัญหาอีกหลาย ๆ อย่างให้ต้องแก้ไขตลอดเวลาจะอย่างไรก็แล้วแต่ ใครในฐานะที่สวมบทบาทผู้นำ   การบริหารใดๆไม่มีสูตรสำเร็จที่จะวางหลักการบริหารครั้งเดียวแล้วใช้ได้ไปตลอดจะต้องวางแผน ปรับปรุง แก้ไขตลอดเวลาเพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์กรและต้องแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจเพื่อความเติบโตขององค์กร  

 

ในส่วนของยุทธศาสตร์กับการเปลี่ยนแปลง 2 แนวทางคือ แนวทางแรกTOP DOWN กับ BOTTOM UP จะไม่ขอพูดถึง 

 

และอีกเรื่องหนึ่งคือการบริหารโดยนำหลักทศพิศราชธรรม มีอะไรบ้างผมได้คัดลอกทางอินเตอร์เน็ทมาฝากเพื่อนๆก็อ่านกันเอาเองน๊ะครับเพราะมีประโยชน์มาก 

 

ท้ายนี้ก็ขอฝากขอบพระคุณท่านอาจารย์ยมที่ตั้งใจถ่ายทอดวิชาทั้งในและนอกเวลาและขอบคุณในความตั้งใจดีมา ณ ที่นี้ด้วย 

ขอบคุณครับ  

 

ทศพิศราชธรรม  

ขอเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในปีมหามงคลฉลองครบรอบ 60 ปี แห่งการครองราชย์  

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 นับเนื่องมาจนปัจจุบัน พระองค์ได้ทรงดำรงมั่นใน ทศพิธราชธรรมหลักธรรมแห่งพระมหากษัตริย์ โดยมีพระปฐมบรมราชโองการที่ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” 

 

ทศพิธราชธรรม เป็นคุณธรรมหลักของพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งได้ปฏิบัติสืบทอดต่อเนื่องยาวนานมาแต่โบราณกาล ในการปกครองบ้านเมืองให้มีความร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งประกอบด้วย

  1. ทาน คือการให้ เป็นการช่วยผู้ที่ต้องการความช่วยเหลืออันเนื่องมาจากความขัดข้องแร้นแค้น ด้วยการสละทรัพย์ สิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ด้อยและอ่อนแอกว่าบนผืนดินแผ่นฟ้าเดียวกัน
  2.  ศีล คือการรักษาความสุจริต มีความประพฤติดีงาม ละเว้นจากสิ่งไม่ดีทั้งหลาย สำรวมกาย และวจีกรรม และประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เกิดความสงบงามอยู่เสมอ
  3. บริจาคะ คือการสละสิ่งที่มีประโยชน์น้อย เพื่อสิ่งที่มีประโยชน์มาก ดั่งการแบ่งปันทรัพย์สินนอกกาย ให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ อันเป็นการเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม
  4. อาชชวะ คือความประพฤติซื่อตรง มีความจริงใจด้วยการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่การงานตลอดจนสังคมชนหมู่มาก
  5. มัททวะ คือความอ่อนโยน สุภาพ ทั้งกาย วาจา ใจ ในทุกสภาวการณ์ มีสัมมาคารวะอ่อนน้อม ไม่แสดงความแข็งกระด้าง และไม่แสดงการยกตนเหนือคนอื่น
  6. ตบะ คือความเพียร กล้าทำในสิ่งที่ควรทำ ไม่เกียจคร้าน ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างสม่ำเสมอ ไม่บกพร่อง มีจิตใจหนักแน่น ไม่อ่อนแอและไม่ย่อท้อโดยง่าย
  7. อักโกธะ คือความไม่โกรธ มีจิตที่ประกอบด้วยเมตตา และปรารถนาดีเป็นที่ตั้ง รู้จักให้อภัย ข่มใจให้เย็นอยู่เป็นนิจ
  8.  อวิหิงสา คือการไม่ทำอะไรที่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อนทั้งทางตรงและทางอ้อม มีจิตประกอบด้วยกรุณาและช่วยเหลืออยู่เสมอ พร้อมให้เกียรติผู้อยู่แวดล้อม
  9. ขันติ คือการมีความอดทนอดกลั้น รู้จักอดทนต่อความตรากตรำต่าง ๆ สามารถเผชิญต่อความยากลำบากได้อย่างเข้มแข็ง ไม่หวาดหวั่นและท้อแท้ต่อสิ่งใด ๆ
  10. อวิโรธนะ คือการวางตนให้หนักแน่น ตั้งมั่นในธรรม ไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหว รอบคอบ ยึดถือความเที่ยงธรรมและความยุติธรรมเป็นหลัก 

ของฝากจากบุญยอด  มาคล้าย ครับ 

 

4 มีนาคม 2550  02.50 น.106242011

MBA 7 

นายราเชนทร์ แดงโรจน์

มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด (หัวหิน)

หลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

รหัสวิชา/ชื่อวิชา ภว.524 ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

อาจารย์ผู้สอน ศ.ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์ และทีม Chira Academy

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ/อาจารย์ยม/นักศึกษา MBA มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด หัวหิน เพื่อน ๆ ร่วมวิชาเรียนในหัวข้อดังกล่าวทุกท่าน

สัปดาห์ที่ผ่านมาในวันศุกร์ที่ 2 และเสาร์ ที่ 3 มีนาคม 2550 ผมและนักศึกษาร่วมชั้นในการเรียนวิชา "ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร" ได้รับฟังการสอนและบรรยายจากอาจารย์ยม นาคสุข เป็นสัปดาห์ที่ 2 ของพวกเรา และท่านอาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาส่งรายงานลง Blog ในเรื่อง "เรียนกับอาจารย์แล้วได้อะไร" ทั้งนี้ผมคาดว่าวิธีการสอนและให้นำเสนอทบทวนการเรียนผ่าน Blog เพื่อให้ท่านอาจารย์ประเมินนักศึกษาว่า มีความเข้าใจในเนื้อหา และจะนำไปประยุกต์ปรับปรุงกับตนเองและองค์กรได้อย่างไร วิธีการที่คิดหรือการวางแผนถูกต้องหรือไม่ ในส่วนของผมคงจับประเด็นในการเรียนครั้งนี้ ได้ 2 ประเด็น กล่าวคือ

    1. ในส่วนของกิจกรรม
    2. ในส่วนของลำดับการบรรยายของอาจารย์

ในส่วนของกิจกรรม แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

1. ให้นักศึกษาแต่ละท่านในชั้นเรียน ได้กรอกและเรียงลำดับแบบสอบถามความสำคัญของคุณลักษณะผู้นำ หรือ ภาวะผู้นำซึ่งมีให้เรียงถึง 50 ข้อ และให้ประเมินตนเองว่า ในแต่ละหัวข้อ นักศึกษามีจุดดี และจุดที่จะต้องแก้ไขอย่างไร และให้หัวข้อใดมีความสำคัญกว่ากัน เรียงลำดับจาก 1-50 ตามแบบสอบถามที่อาจารย์ได้จัดทำขึ้น

- สิ่งที่ผมได้รับจากการประเมินตนเอง คือ ในชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานในองค์กร บางครั้งผมจะมองสิ่งรอบ ๆ ตัว มากกกว่ามองตนเอง เมื่อได้รับแบบสอบถามครั้งนี้ทำให้กลับมานึกถึงจุดบกพร่องของตนเองที่จะต้องแก้ไขในฐานะผู้นำ พร้อม ๆ ไปกับสิ่งหรือบุคคลรอบ ๆ ตัวเอง และบางหัวข้อใน 50 ข้อ ทำให้ผมมีข้อคิดว่า บางข้อผมยังไม่ได้ทำ และบางอย่างยังทำไม่ได้ดี ดังนั้นถ้ามผมพยายามจะเป็นผู้นำที่ดี ผมควรจะต้องรีบปรับปรุงตนเองมากขึ้นนั่นเอง

2. ให้นักศึกษาแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ โดยให้แสดงความคิดเห็นร่วมกันในกลุ่มของตน และให้ตัวแทนของกลุ่มมานำเสนอข้อสรุปให้กับนักศึกษาทั้งชั้นเรียนได้รับทราบความคิดเห็นของกลุ่ม โดยกิจกรรมนี้มีคำถามจากอาจารย์ยมให้กับนักศึกษา 2 ข้อ

ก. จริยธรรมของนักศึกษา MBA ของมหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด หัวหิน ในชั้นเรียนของผม ควรจะเป็นอย่างไร

ข. จริยธรรมของผู้นำต่อองค์กร ควรจะเป็นอย่างไร

- สิ่งที่ผมได้รับจากการแสดงความคิดเห็นของกลุ่มตนเอง และได้ฟังเพื่อน ๆ ร่วมชั้นเรียนแต่ละกลุ่มอธิบายและตอบคำถามของโจทย์ที่อาจารย์ให้มา เป็นประโยชน์ต่อตัวผมเอง เพราะการทำงานเป็นกลุ่ม ย่อมจะต้องมีความคิดหลากหลาย ดังนั้น การเป็นผู้นำที่ดี ควรจะต้องผู้ฟังที่ดีด้วย และการทำงานเป็นทีมจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับเพื่อน ๆ ร่วมกลุ่มตลอดจนเพื่อนักศึกษาร่วมชั้นทุกท่านด้วย จึงจะสรุปเป็นจริยธรรมโดยรวมได้ นอกจากนี้ความคิดเห็นตลอดจนการนำเสนอของนักศึกษาผู้แทนแต่ละกลุ่มเป็นไปอย่างมีคุณภาพ โดยมีอาจารย์คอยแนะนำและเสริมให้สมบูรณ์ในทุก ๆ หัวข้อที่ยังขาดหรือไม่สมบูรณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้ผมจดจำหรือนำมาเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับตัวของผมเอง และในส่วนองค์กรที่ผมปฏิบัติงานได้

3. ให้นักศึกษาแต่ละท่านทุกคนได้ฝึกแสดงภาวะผู้นำในชั้นเรียน โดยมีหัวข้อจากอาจารย์ให้กล่าวถึง ความภูมิใจหรือความสำเร็จของตนเองที่ได้กระทำมาให้เพื่อนนักศึกษาในชั้นเรียนได้รับทราบ

- สิ่งที่ผมได้รับคือ

Know Who คือ ได้รู้จักเพื่อน ๆ ในชั้นมากขึ้นในแง่ของประสบการณ์และความสำเร็จที่แต่ละท่านได้กระทำ ซึ่งทุกท่านมีประวัติที่น่าสนใจ และเป็นความภูมิใจที่ได้เห็นเพื่อน ๆ เล่าถึงประวัติตนเองอย่างเปิดเผย และการเป็นเพื่อนกัน ก็จะเอื้อประโยชน์ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในอนาคต ให้กับตนเองหรือร่วมกันตลอดจนทำประโยชน์ร่วมกันให้กับสังคมได้เป็นอย่างดี

Know How คือ ได้เห็นหรือรู้ว่าการที่จะทำอะไรให้เกิดความสำเร็จนั้น จะต้องมีวิธีการที่หลากหลาย แต่ในแง่ที่เพื่อน ๆ มาเล่าให้ฟัง ผมสามารถจดจำไปประยุกต์กับตนเองได้ดีขึ้น เช่น บางท่านมีความพยายามและความอดทนมุ่งมั่นต่อเป้าหมายของตนเอง จนประสบความสำเร็จท่ามกลางอุปสรรคและความยากลำบาก เป็นบทเรียนที่เกิดขึ้นจริงโดยบางครั้งไม่มีอยู่ในตำราให้ผมได้เรียนรู้ และผมคิดว่าในโลกปัจจุบัน สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กรจะเกิดขึ้นได้ ก็คือ ตัวเผมเอง ต้องรู้ทั้ง Know Who และ Know How

ในส่วนของลำดับการบรรยายของอาจารย์ยม ประกอบไปด้วยหัวข้อใหญ่ดังนี้

    • ประโยชน์ของภาวะผู้นำ
    • ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาวะผู้นำ
    • จริยธรรม ความหมาย และกรอบแนวคิด

 

- สิ่งที่ผมได้รับ คือ หัวข้อที่กล่าวถึงข้างต้น แม้จะเป็นหัวข้อสั้น ๆ แต่อาจารย์ได้นำมาขยายความให้ผมได้มีความรู้หลากหลายทฤษฎี ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎี 6n - 6c’s – 5D’s – 4E’s – 4k’s – 6L’s – 5M’s -2R’s – 4S’s – 5T’s Leadership ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการมาประยุกต์ใช้กับตนเองและองค์กร นอกจากนั้นอาจารย์ยังได้ขยายความถึงเทคนิคในการเป็นผู้นำที่ดี โดยยึดถึงหัวข้อธรรมะบางส่วนของพุทธศาสนา ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ ตลอดจนความหมายของทศพิธราชธรรม ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นที่เคารพของชาวไทยทุกคน ที่มีพระจริยวัตรสูงส่งเป็นที่ยอมรับของสากลโลก ผมในฐานะนักศึกษาในชั้นเรียน คงจะต้องกราบขอบคุณท่านอาจารย์ยมอีกครั้ง ที่ทำให้ผมได้มีวิสัยทัศน์ ตลอดจนได้นำความรู้ที่ท่านต้องการเผยแพร่และสั่งสอน มาเป็นประโยชน์กับตนเองและพัฒนาตนเองได้เป็นอย่างดี

ขอบคุณครับ

ราเชนทร์ แดงโรจน์

รหัส 106242005

นางจำเนียร อำภารักษ์ MBA STAMFORD INTERNATIONAL UNIVERSITTY
นางจำเนียร อำภารักษ์ ID 106142002 รุ่น 6 เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 17:25 (182328)  

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน     

            เมื่อวันที่  2 - 3 มีนาคม  2550 ศึกษาภาวะผู้นำจาก อ.ยม ได้รับความรู้และการปฏิบัติฝึกให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจริง พร้อมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพูดบุคลิกภาพ และอื่น ๆ                

วันที่  2  มีนาคม  2550 อ.ยม สอนเรื่องแนวทางการฝึกตนให้มีภาวะผู้นำ สูงขึ้น ด้วยการปฏิบัติตามหลักทศพิธราชธรรม             

ทศพิธ  แปลว่า  10  อย่าง              

ราชธรรม  แปลว่า  ธรรมสำหรับพระราชา               ทศพิธราชธรรม  เป็นธรรมของนักปกครอง 10 ประการ ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระดับใดก็ตาม ควรยึดมั่นในทศพิธราชธรรม                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขด้วยทศพิธราชธรรม  ดังพระปฐมบรมราชโองการ เมื่อครั้งเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อวันที่  5  พฤษภาคม 2493 ความว่า  "เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม  เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"                 ทศพิธราชธรรม  10  ประการ ได้แก่
  1. ทาน คือ  การให้
  2.  ศีล  ผู้นำต้องตั้งอยู่ในศีลธรรม
  3. จาคะ  คือ  การบริจาค เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น
  4. อาชวะ ผู้นำต้องมีความซื่อตรงต่อตนเอง ต่อหน้าที่ ต่อผู้ร่วมงาน
  5.  มัทวะ  คือ ความสุภาพ อ่อนโยน
  6.  ตปะ  การแผดเผาความโลภ  ดังคำกล่าวว่า รู้จักพอไม่ก่อทุกข์
  7.  อักโกธะ  คือ ความไม่โกรธ  ระงับอารมณ์
  8.  อวิหิงสา คือ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น
  9.  ขันติ คือ ความอดทน
  10. อวิโรธนะ  คือ ความไม่คลาดจากธรรม ปกครองแบบธรรมาธิปไตย
 ช่วงเช้าของวันที่  3  มีนาคม  2550   การบริหารองค์กร สาเหตุของความล้มสลายขององค์กร ได้แก่
  1.  การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
  2.  สมาชิกในองค์กรสำคัญตนผิด คิดว่าองค์กรยิ่งใหญ่ สามารถการันตีอนาคตได้
  3. ไม่ไยดีในนวัตกรรมใหม่ ๆ
  4.  ขาดการวางแผนระยะยาว ขาดวิสัยทัศน์ ขาดงบประมาณ ขาดคน  ขาดลูกค้า
  5. การไม่ให้ความสำคัญทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะคนที่มีคุณค่าในองค์กร การสุญเสียคนที่มีคุณค่า ยิ่งกว่าเสียเงินมากมาย
 อ.ยม ยกตัวอย่าง ผู้บริหารบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ที่ประสบความสำเร็จใช้ทฤษฎี "กางร่ม" ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง
  1. การตื่นตัวขององค์กร
  2. การตั้งทีมเจ้าภาพ
  3. ให้ทีมกำหนดวิสัยทัศน์ , กลยุทธ์ Action Plan
  4. ทีมเจ้าภาพ เข้าใจกลยุทธ์ , สอนได้ , สื่อได้ , โน้มน้าวได้
  5. ให้ทุกคนมีส่วนร่วม ร่วมมือในการที่จะเปลี่ยนแปลง พัฒนา นวัตกรรมขึ้นมา
  6. รวบรวมผลลัพธ์จากการกระทำ มาสรุปผล และประเมินผล
  7. การสร้างชัยชนะในระยะสั้น
  8. การกำหนดแนวปฏิบัติใหม่เป็นรูปธรรมมากขึ้น
  9. พัฒนาอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้า , ขององค์กร และของพนักงาน
 แนวทางนำไปประยุกต์ใช้ใน "ธุรกิจบริการ ให้มีมูลค่าเพิ่มยิ่งขึ้น"
  1. รวดเร็ว
  2. ลูกค้าสะดวกสบาย
  3. เชื่อถือได้
  4. ปฏิบัติเสมอภาค
  5. สร้างความไว้วางใจได้
  6. การดูแลเอาใจใส่
 อ.ยม พูดถึง คุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งดิฉันได้สรุปคำ 2 คำ นี้แล้ว ตามความคิดของตนเองว่าแตกต่างกันดังนี้
  • คุณธรรม คือ  แนวหลักในการปฏิบัติ ซึ่งปรากฎในทุก ๆ ศาสนา แต่สำหรับศาสนาพุทธ คุณธรรมใช้หลักธรรม อริยสัจ 4 และอิทธิบาท 4 แล้วนำเอาหลักธรรมที่กล่าวนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล
  • จริยธรรม  คือ  พฤติกรรมที่ถูกต้องดีงาม ดังนั้นคนที่มีจริยธรรมดี ต้องมีคุณธรรมทีดีมาก่อนอ.ยมให้แบ่งกล่มทำงานส่ง แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 7 คน โดยให้ไปสรุปเนื้อหาภาคภาษาอังกฤษ เป็นภาษาไทยประมาณ 1 หน้ากระดาษ A4
 

ในช่วงบ่ายของวันที่  3 มีนาคม 2550 อ.ยม   ให้ทำงานกลุ่ม ในหัวข้อ

 

1.    ในความเห็นของกลุ่ม จริยธรรมของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยนานาชาติ แสตมฟอร์ดมีอะไรบ้าง

 

2.    ในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำ จริยธรรมของผู้นำที่พึ่งมีต่อองค์กร ต่อทีมงาม ต่อสังคม และต่อประเทศชาติ เป็นอย่างไรใช้กลุ่มเดิมที่แบ่งในช่วงเช้า ระดมความคิดประมาณ 30 นาที ส่งตัวแทนพูด   

     

หลังจากนั้น อ.ยม ฝึกความเป็นผู้นำให้นักศึกษาทุกคนได้แสดงออก โดยให้นักศึกษาพูดถึงหัวข้อ" ในชีวิตท่าน ณ วันนี้ มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ท่านประสบผลความสำเร็จและมีจริยธรรมประจำใจอะไร"         เมื่อทุกคนนำเสนอความคิดเห็น อ.ยมกล่าวสรุปและข้อเสนอแนะที่ต้องปรับปรุง

         

อ.ยม  แนะนำให้จำและทำความเข้าใจโมเดลที่เป็นรูปต้นไม้        

เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง          ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในหลวงทรงมีพระราชดำริ ให้คนไทยมีความสุขอย่างยั่งยืนแนวทางการดำเนินชีวิต เป็นกรอบแนวความคิด เพื่อความยั่งยืนตั้งอย่บนหลักการและเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันรองรับความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องมีความรู้คู่คุณธรรม         

สุดท้ายนี้ ดิฉันได้ยกเอาคำกลอน ของ ศ.อำไพ  สุจริตกุล ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของผู้นำ 

                

 ความรู้  คู่  คุณธรรม  "  

  

เมื่อความรู้         ยอดเยี่ยม        สูงเทียมเมฆ

 

แต่คุณธรรม              ต่ำเฉก             ยอดหญ้านั่น

 

อาจเสกสร้าง           มิจฉา               สารพัน

 

ด้วยจิตอัน                 ไร้อาย             ในโลกา

 

     แม้นคุณธรรม       สูงเยื่ยม            ถึงเทียมเมฆ

 

แต่ความรู้                  ต่ำเฉก              เพียงยอดหญ้า

 

ย่อมเป็นเหยื่อ            ทรชน               จนอุรา

 

ด้วยปัญญา                อ่อนด้อย           น่าน้อยใจ

 

      หากความรู้           สูงล้ำ                คุณธรรมเลิศ

 

แสนประเสริฐ              กอปรกิจ           วินิจฉัย

 

จะพัฒนา                    ประชาราษฎร์   ทั้งชาติไทย

 

ต้องฝึกให้                   ความรู้              คุ่คุณธรรม 

      
นายนิคม อำภารักษ์ MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน
นายนิคม อำภารักษ์ ID 106142006 รุ่น 6 เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 17:53 (182349)
 

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ  และ อ.ยม  

 

     จากการเรียนในวันที่  2-3 มี.ค. 2550  อ. ได้พูดถึงจริยธรรมของการเป็นผู้นำจริยธรรม มาจาก จริย + ธรรม คือ ความประพฤติที่ควรปฏิบัติในหมู่คณะจริยธรรม จึงเป็นหลักเกณฑ์หรือกฎที่สังคมใช้ในการตัดสินว่า การกระทำใด เป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ควรปฏิบัติและการกระทำใดที่ไม่ควรปฏิบัติทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น ประโยชน์ของจริยธรรม
  1. อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
  2. สำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
  3. พัฒนาชีวิตให้สำเร็จตามเป้าหมาย
  4. สามารถแก้ปัญหาชีวิตและความทุกข์ให้หมดไปได้
  5. เป็นเครื่องยึดเหนี่ยมและป้องกันการเบียดเบียนในทางส่วนตัวของสังคม
  6. พัฒนาคุณภาพชีวิต
จริยธรรมของผู้นำรัฐ + เอกชน ตามแนวความคิดของ พลเอกเปรม 
  1. ซื่อสัตย์
  2. ปฏิบัติตามกฎระเบียบ
  3. บริหารการจัดการด้วยความเป็นธรรม
  4. บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
  5. บริหารให้เกิดความมั่นใจ มั่งคง โดยใช้หลักพุทธศาสนา
  6. ปลูกฝังค่านิยมให้ถูกต้อง
  7. เป็นคุณงามความดี ความรัก ความเมตตา
 จริยธรรมของผู้นำ ต่อองค์กร
  1. มุ่งทำงานทุ่มเทการทำงานเพื่อความก้าวหน้าขององค์กร
  2. ศึกษาใฝ่เรียนใฝ่รู้อยู่เสมอ เพื่อนำความรู้มาพัฒนาองค์กร
  3. ซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อองค์กร
  4. มีความเป็นธรรม มีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนร่วมงาน
  5. มีความคิดริเริ่ม สิ่งใหม่ ๆ เพื่อสร้างให้องค์กรก้าวหน้า
จริยธรรมของผู้นำต่อสังคม
  1. ดูแลเอาใจใส่กิจการขององค์กรไม่ให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
  2. ให้ความร่วมมือกับชุมชนและสังคม
  3. ละเว้นการประกอบธุรกิจที่ทำให้สังคม
  4. เคารพสิทธิของผู้อื่น
 Leadership Strategies for  change(ผู้นำกับการเปลี่ยนแปลง)2 ทฤษฎีในการเปลี่ยนแปลง
  1. Top  down  เบื้องบนสั่งการ (ส่วนใหญ่เป็นองค์กรในระบบราชการ)
  2. Bottom  up (เปลี่ยนแปลงจากระดับล่าง) ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม
 บทบาทของผู้นำต่อการเปลี่ยนแปลง (Leadership Strategies for  change)
  1. ให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม
  2. สามารถโน้มน้าวจิตใจผู้ร่วมงาน
  3. มีความอดทนอดกลั้น
  4. กำหนดเป้าหมายชัดเจนว่าเปลี่ยนแปลงอะไร
  5. ผุ้นำที่เก่งต้องบริหารการขัดแย้งได้
 ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงขององค์กร·      
  1. ประชาสัมพันธ์ให้คนในองค์กรทราบ
  2. ตั้งคณะกรรมการกำหนดกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการคิด
  3. ให้ทุกส่วนขององค์กรมีส่วนร่วม
  4. ร่วมมือในการที่จะเปลี่ยนแปลงพัฒนา
  5. รวบรวมผลลัพธ์กับการกระทำ , รวบรวมข้อมูลสรุปผลประเมินผล
  6. นำผลสำเร็จมาดำเนินงาน
  7. กำหนดแนะปฏิบัติใหม่ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น 
มหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ดนานาชาติ   อ.หัวหิน สวัสดีคะ ท่านอาจารย์ยม และเพื่อนๆ  MBA ทุกท่าน  จากการเรียน เมื่อวันศุกร์ และเสาร์ที่ผ่านมา ได้ทราบถึงประโยชน์ของภาวะผู้นำนั้นมีต่อใครบ้าง  ดังนี้-          ต่อตัวผู้นำเอง-          ต่อทีมงาน-          ต่อองค์กร  คือสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จ และทำให้เกิดความเชื่อมั่นในองค์กร-          ต่อประเทศชาติ-          ต่อลูกค้าทำให้เกิดความเชื่อถือ  และได้เราได้รุ้ว่าจุดเด่นของภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่นเป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับคนไทยมีความต่างกันมากญี่ปุ่นมีจริยธรรมสูง ซื่อสัตย์  รักชาติ  เคารพในกฎระเบียบของประเทศตนเองมากซึ่งผิดกับคนไทย  เพราะนั้นคนไทยที่มีจริยธรรมต้องนำหลักทศพิราชธรรมมาใช้ควบคู่กันไปจึงจะมีจริยธรรมของภาวะผู้นำและการเป็นภาวะผู้นำต้องมีหลักในการปฎิบัติ ของ  6  ท.  มาใช้ให้ได้      - ท่าทีที่ดี  เช่นคิดดี   พูดดี   ทำดี    - ท้าทาย  กล้าที่จะทำ  กล้าที่จะคิด     -  ทน   ต้องอดทน     - เที่ยงธรรม  ทำอะไรจะต้องเป็นกลางเสมอ     - ทำ  จะต้องให้ได้     - ทบทวนสาเหตุของความเสื่อมที่เกิดขึ้นในองค์กรเกิดขึ้นได้ ด้วยสาเหตุ-          การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง-          สมาชิกในองค์กรสำคัญตนผิด-          ความไม่ใยดีต่อองค์กร  หรือไม่รักองค์กร-          ขาดการวางแผนระยะยาว-          การไม่ให้ความสำคัญต่อทรัพยากรณ์มนุษย์และอาจารย์ให้แสดงความคิดเห็นในห้องเรียนว่า   จริยธรรมของนักศึกษา MBA6  และMBA 7 เป็นอย่างไร  ซึ่งได้ฟังแนวความคิดแต่ละกลุ่มส่วนมากสรุปได้ว่าจริยธรรมของนักศึกษาคือ  ต้องให้เกียรติสถานศึกษา ซื่อสัตย์ต่อสังคม  และส่วนรวมจริยะรรมต่อองค์กรเป็นอย่างไรบ้าง ก็ต้องแยกออกเป็นประเด็น  ก็คือ -ด้าน องค์กร-ด้านสังคม   ช่วยเหลือสังคม-ด้านสิ่งแวดล้อม   ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมมีระบบบำบัดน้ำเสีย ถ้าเป็นประเภทโรงงานอุตสาหกรรม-ด้านประเทศชาติ  ไม่เอาเปรียบในเรื่องภาษีรัฐบาลเอาความรุ้ที่ได้เรียนมาใช้ในทางที่ผิดต่อประเทศชาติ และสุดท้ายอาจารย์ก็ให้แต่ละคนมาแสดงความคิดเห็นหรือเล่าถึงการประสบความสำเร็จในชีวิตคืออะไร   และมีจริยธรรมประจำตัวอะไร    ซึ่งได้ว่าฟังแต่ละคนที่ได้เล่าถึงการประสบความสำเร็จในชีวิตของแต่ละคนอย่างเปิดเผยแตกต่างกันไปทั้งต่อสู้  ดิ้นรน  มีความพยายาม  อดทน และกำหนดเป้าหมายและการวางแผนดำเนินชีวิต  ก็แสดงให้เห็นว่าทุกคนต่างมีภาวะผู้นำในการดำเนินชีวิตควบคู่กับจริยธรรมประจำตัวซึ่งนำไปสู่เส้นทางที่ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ เสาวนีย์    ทวีเผ่ารหัสนักศึกษา  106242006
นายชูศักดิ์ ลาภส่งผล MBA STAMFORD International University
นายชูศักดิ์ ลาภส่งผล เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 18:59 (183472)
 
สวัสดีครับ ท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  อ.ยม และนักศึกษาทุกท่าน 
จากการที่ได้เรียนภาวะผู้นำแล้วได้อะไรบ้างภาวะผู้นำนอกจากจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถหลายด้านแล้วสิ่งที่สำคัญคือเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรมที่มีอยู่ในตัวของผู้นำเอง ต้องมีการพัฒนาตัวเองอยู่สม่ำเสมอ ผู้นำต้องมีคุณค่าและควรมีทศพิศราชธรรม
เนื้้อหาที่สอนทำให้ทราบเกี่ยวกับ 
·        ทราบถึงศีลธรรม จริยธรรม จรรณยาบรรณแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน 
·        ผู้นำที่ดีควรมีการเปลี่ยนแปลงในองค์ได้อย่างได้ 
·        เทคนิควิธี และการพัฒนาภาวะผู้นำ 
·        จริธรรมของผู้นำที่พึงมีต่อการเป็นผู้นำ 
·        ทศพิศราชธรรมของผู้นำที่ดี 
·        ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของผู้นำในศตวรรษที่ 21 การอยู่ร่วมกันหรือศีลธรรมถือเป็นหัวใจของการพัฒนาทุกชนิด 
              
ศีลธรรม (การอยู่ร่วมกัน) 
·        เศรษฐกิจ
·        การเมืองการปกครอง
·        วัฒนธรรม
·        สังคม
·        สิ่งแวดล้อม
·        การศึกษา
·        ครอบครัว
·        ชุมชน 

ผู้นำที่ดีนอกจากจะเป็นบุคคลที่รอบรู้ ยังต้องมีการปรับตัวและสามารถเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรได้โดยที่ไม่ทำให้เกิดความขัดแย้ง และผู้นำควรจะต้องมีคุณธรรม จริยธรรมในการพัฒนาบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกผ่ายสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างปรองดองกัน ทั้งในด้านของความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

 

นายชูศักดิ์  ลาภส่งผล

นักศึกษา MBA 6

ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด                             
พนาวัลย์ คุ้มสุด นศ. ม.นานาชาติแสตมป์ฟอร์ด หัวหิน

พนาวัลย์ คุ้มสุด เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 02:14 (182822) ID: 106142010

จากการศึกษาสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ทราบว่าดิฉันได้ทำการบ้านของสัปดาห์ก่อนไม่ตรงประเด็น และการที่ไม่ได้จัดสรรเวลามาอ่านงานของเพื่อน ๆ  ใน Blog ทำให้พลาดโอกาสที่จะได้แก้ไขเพิ่มเติมในการบ้านของตน

สำหรับการเรียนในสัปดาห์นี้ดิฉันได้ยอมรับกับตัวเองว่าพอมีเวลาให้กับงาน ได้อ่านการบ้านของเพื่อนทุกคนทำให้ได้เห็นพัฒนาการของเพื่อนบางคน ทำให้ตนเองได้ค้นพบวิธีการและยอมรับในวิธีการนำเสนอของอาจารย์ใหญ่ และอาจารย์ยมว่าเป็นกุศโลบายในการสอนที่ทำให้พวกเราต้องทบทวน และส่งงานทาง Blog ก็เพื่อให้โอกาสพวกเราได้มี ทุนทาง IT ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนที่ผู้นำที่มีสภาวะผู้นำควรจะมี

ความรู้ทางวิชาการที่ได้ในสัปดาห์นี้พอสรุปโดยสังเขปดังนี้

  1. การพัฒนาภาวะผู้นำ
  2. จริยธรรมของการเป็นผู้นำ
  3. ภาวะผู้นำมีประโยชน์อย่างไร และจะพัฒนาให้ดี และคงอยู่ได้อย่างไร

แนวทางในการพัฒนาผู้นำ

  1. การพัฒนาแบบญี่ป่น 10 ประการ
  2. การพัฒนาแนวพุทธศาสนา สัปปุริสธรรม
  3. การพัฒนาผู้นำตามทศพิศราชธรรม
  4. การพัฒนาผู้นำตามแนวคิด Yom 2006
  5. การพัฒนาผู้นำตามแนวคิด Bennis
  6. การพัฒนาผู้นำตามแนวคิดตะวันตก ที่ประกอบด้วย 6C's, 5D's, 4E's, 4K's, 6L's, 5M's, 2R's, 4S's, 5T's

ความหมายของ จริยธรรม (Ethics)

     "ความประพฤติ กริยา ที่ควรปฏิบัติ"  หรือ

     "การกระทำที่ควรประพฤติในหมู่คณะ"

ได้ทราบถึงความแตกต่างระว่าง "ศีลธรรม" "จริยธรรม" และ"จรรยาบรรณ"

ประโยชน์ของการมีจริยธรรม

  1. อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
  2. สำนึกในหน้าที่ ความรับผิดชอบ
  3. พัฒนาชีวิตให้สำเร็จตามเป้าหมาย
  4. แก้ปัญหาชีวิต และขจัดความทุกข์
  5. เครื่องยึดเหนี่ว และป้องกันการเห็นแก่ตัว
  6. พัฒนาคุณภาพชีวิตให้สมบรูณ์  
  7. สร้างสันติภาพ

จริยธรรมของผู้นำ

  1. มุ่งมั่นทำงานเพื่อความก้าวหน้าขององค์กร
  2. มีเมตตากรุณา ยึดหลักพรหมวิหารสี่ และหลักธรรมทางศาสนา
  3. ประพฤติตนเป็นตัวอย่างดที่ดี
  4. ตั้งมั่นอยูในความยุติธรรม เสมอภาค
  5. มั่นศึกษาหาความรู้ ทันสมัยเสมอ
  6. ไม่ใช้วิธีการ หรืออิทธิพลแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเอง
  7. รักษาความลับของผู้ใต้บังคับบัญชา
  8. รับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ปัดความรับผิดชอบ
  9. อดทน เยือกเย็นต่อคำพูดขัดแย้ง
  10. เอาใจใส่ทุกข์ สุข ผู้ใต้บังคับบัญชา
  11. ระมัดระวังคำพูด ไม่ดุด่าต่อหน้าผู้อื่น
  12. เว้นอบายมุข ที่สังคมรังเกียจ
  13. สุภาพ อ่อนโยนต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
  14. ต้องมีความซื่อสัตย์
  15. ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตน และผู้อื่น

ผู้กำหนดจริยธรรมคือ พนักงาน หัวหน้างาน ผู้บริหาร หน่วยงาน องค์กร โดยเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม จะทำให้จริยธรรมนั้นมีการยอมรับมากขึ้น เป็นประโยชน์มากขึ้น

จากกิจกรรมที่อาจารย์มอบในห้อง โดยให้ทำเป็นกลุ่ม ทำให้ทุกคนได้ทราบถึง

  1. จริยธรรมของนศ. รุ่น 6 และ 7
  2. จริยธรรมขององค์กร
  3. จริยธรรมของทีมงาน
  4. จริยธรรมของชุมชน
  5. จริยธรรมของสังคม
  6. จริยธรรมของประเทศชาติ

สิ่งที่สำคัญที่ดิฉันได้จากการเรียนในสัปดาห์นี้ คือ วิชาการที่อาจารย์มอบให้ทำให้ดิฉันพอจะประเมินตนได้คร่าว ๆ ว่าอยู่ในภาวะใด และจะต้องพัฒนาต่อไปอย่างไร และทำให้มีความพร้อมที่จะเปิดใจกว้างเพื่อรับรู้วิชาการที่จะได้รับจากอาจารย์ใหญ่ในชั่วโมงต่อไปได้เป็นอย่างดี

ดิฉันมั่นใจว่า ความรู้ที่ได้รับจากวิชานี้ จะทำให้ดิฉันค้นพบเส้นทางที่จะพัฒนาตนไปส่การเป็นผู้นำที่มีสภาวะการเป็นผู้นำที่ดีต่อไปในอนาคต ทั้งภาคกิจการส่วนตัว และภาคผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อนำชุมชนไปสู่การพัฒนาทั้งรูปธรรม นามธรรม โดยมีจริยธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว

                    ด้วยความเคารพอย่างสูง

          น.ส. พนาวัลย์ คุ้มสุด ID: 106142010

นายณัฐพง์ ชุมนุมพันธ์ Stamford International University

นายณัฐพง์ ชุมนุมพันธื เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 13:19 (183177)

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ/อาจารย์ยม/นักศึกษา MBA มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด หัวหิน ผู้อ่านที่น่ารักทุกท่านครับ 

 

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่สองของผมที่ได้เรียนวิชา "ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร" ซึ่งก็เช่นเคยท่าน อ.ยม ได้ให้การบ้านว่า  "เรียนกับอาจารย์แล้วได้อะไร" ผมต้องยอมรับว่าสัปดาห์นี้ผมได้พลาดอะไรดีๆไปหลายอย่างเนื่องจากต้องไปสอบเลื่อนตำแหน่งและติดราชการเป็นเหตุให้ต้องมาสายทั้งสองวัน สิ่งที่ได้รับในสัปดาห์ที่ผ่านมาคือ 

  • ความหมายของจริยธรรมและแนวความคิด การนำจริยธรรมไปใช้ในองค์การต่างๆตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงระดับประเทศ
  • ได้รู้ว่า ทศพิธราชธรรม นั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง
  • กิจกรรมที่ทำในชั้นเรียน(อันนี้สำคัญมากครับ)  ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้จักเพื่อนในชั้นมากขึ้นได้เห็นภาวะผู้นำของหลายๆท่านซึ่งสามารถเป็นแบบอย่างให้กับตัวเราได้  ได้เห็นข้อบกพร่องของตัวเองและทำให้ผมได้หันมามองตัวเองครับ
 

สัปดาห์นี้ผมอาจจะเขียนสั้นนะครับแต่ที่ผมได้รับจริงๆคือได้รู้จักตนเองมาขึ้น ซึ่งผมถือว่ามีค่ามากที่สุด   ก็ต้องขอบคุณวิธีการเรียนการสอนของท่าน ดร.จีระ และท่าน อ.ยม ทำให้ผมสามารถทบทวนบทเรียนจาก Blog ที่เพื่อนๆได้เขียนมา ขอบคุณครับที่ทำให้ผมได้ฝึกคิดและประเด็นที่สำคัญที่สุด ทำให้ผมได้เริ่มเข้าใจตนเองมาขึ้นหันมามองตนเองมากขึ้น ว่าเราขาดอะไรและมีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุง   

ขอทดสอบ Font ขนาด 12 นะครับ เพราะขนาด 16 ของผมมันติดกันเป็นพรืดเลยครับ

Jaruwan Yunprayong MBA 6 Stamford International University

Jaruwan Yunprayong MBA 6 ID:106142009 เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 13:09 (184299)

 

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์, อาจารย์ยม และเพื่อนๆนักศึกษาทุกท่าน  

 

 เมื่อวันที่  2 - 3 มีนาคม  2550 ศึกษาภาวะผู้นำจาก ได้อะไรจากการเรียนบ้าง

อาทิตย์นี้ทางมหาวิทยาลัยพิมพ์ ชีท ประกอบการสอนให้นักศึกษาไม่ทันจึง ต้องจดบันทึกเองจาก อ.ยม ในการบรรยาย ซึ่งก็ได้เนื้อหา ความรู้และสนุกกับการเรียนเหมือนเดิมค่ะ

  

1. “การให้ที่ดีที่สุด ประเสริฐที่สุดคือการให้อะไร คำตอบคือ การให้ปัญญา จะนำไปสู่ความคิดทั้งปวง

  

2. ไม่น่าเชื่อว่าต้นไม้ของ อ.ยม แค่ต้นเดียว จะสามารถสร้างคนให้เป็นผู้นำที่ดีได้ ดูเหมือนง่าย ๆ นะคะ แต่จะมีสักกี่คนที่สามารถปฏิบัติตามหลักต่างๆ ในต้นไม้ของ อ.ยมได้ครบทุกข้อ??

  อ.ยม เน้นเสมอเรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง กับ 3 ห่วง 2 เงื่อนไขที่เข้าใจง่าย และมีความหมายดีค่ะ ซึ่งประกอบด้วย
  1. เงื่อนไขความรู้ : รอบรู้, รอบคอบและระมัดระวัง
  2. เงื่อนไขคุณธรรม: ซื่อสัตย์สุจริต, สติ ปัญญา, ขยัน อดทน, แบ่งปัน
 ส่วน 3 ห่วงนั้น ประกอบด้วย
  1. พอประมาณ,
  2. มีเหตุผลและ
  3. มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี นำไปสู่ เศรษฐกิจ, สังคม, สิ่งแวดล้อม, วัฒนธรรม, สมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง
 3.   ฝิ่นชอบประโยคหนึ่งที่ อ.ยม ยกมาจาก อ.คุณหญิงเต็มศิริ บุณยสิงห์ คือ ก่อนนอนให้ทบทวนว่าวันนี้ได้ทำ ข้อผิด พลาดอะไรไปบ้าง แล้วพรุ่งนี้จะต้องไม่ทำผิดพลาดอีกในเรื่องเดิมตอนนี้กลับมานอนคิดทุกคืนเลยค่ะ 4.  ได้แลกเปลี่ยน ประวัติส่วนตัวบางส่วนของเพื่อนๆ ในห้อง (ชอบมากเลยค่ะ!) แต่ให้เวลาคนละ 5 นาทีเอง ทำให้ได้ทราบถึงความพยายามและความอดทน บวกกับปัจจัยหลายๆอย่าง ที่ทำให้พี่ๆ และเพื่อนๆ บางคนที่ผ่านอุปสรรคอะไรมากมายหลายอย่างในชีวิต จนก้าวมาถึงวันนี้ได้ ฝ่าฟันกันมามากมาย จนประสบ    ความสำเร็จ น่าทึ่งมากๆ  และ สำหรับเพื่อนๆ และน้องๆ บางคนเช่นกันที่ เพิ่งเริ่มก้าวเดิน เพื่ออนาคต และยังมีอุปสรรคข้างหน้าที่ยังไปไม่ถึง และ สามารถนำข้อแนะนำ หรือตัวอย่างจากพี่ๆ ที่ผ่านประสบการณ์มาแล้วไปประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต 5.  มีจริยธรรมประจำใจจากหลายคนที่ชอบมากๆๆ เช่น จะรู้ว่าโลกนี้มันกว้างใหญ่ ต่อเมื่อเราออกเดินทางอันนี้เกิดขึ้นกับตัวเองเลยค่ะจะรู้ความหมายของ ฟ้าหลังฝน ก็ต่อเมื่อเราผ่านพ้นมันมาได้แล้วจะรู้ว่าในหนังสือมีอะไร เมื่อเราเปิดอ่านที่สำคัญคือ ความกตัญญู เพราะความสำเร็จที่ทำให้ บุบพการีมีความสุขและตื้นตัน ก็ถือว้าเป็นความกตัญญูอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของตัวฝิ่นเอง 6.  อ.ยมให้ แชร์ idea เกี่ยวกับภาวะผู้นำในฝ่ายต่างๆ
  • จริยธรรมของภาวะผู้นำของนักศึกษา
  • จริยธรรมของภาวะผู้นำของสังคม
  • จริยธรรมของภาวะผู้นำของทีมงาน หรือ องค์กร
  • จริยธรรมของภาวะผู้นำของประเทศ
 7.  อ.ยมให้ทุกคนประเมินตัวเองในการมีภาวะผู้นำ 50 หัวข้อ และให้เรียงความสำคัญจาก 1 – 50 ซึ่งเชื่อว่า ทุ คนเรียงไม่เหมือนกันแน่นอน ตามวิสัยทัศน์และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน แล้ว อ.ยมจะมาแจ้งให้ทราบอาทิตย์หน้าค่ะ 8.    เรียนเรื่องคุณค่าของผู้นำ 7 ข้อ
  1. มุ่งประโยชน์ส่วนรวม, ประโยชน์แผ่นดิน
  2. ปกครองด้วยหลักธรรมาธิปไตย, ธรรมมาภิบาล
  3. มีความสามารถ
  4. มีความสำนึกรับผิดชอบ
  5. มีความเป็นกลาง
  6. การมุ่งสัมฤทธิผล
  7. ความเป็นมืออาชีพ
 9  เรียนเรื่องภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่น 10 ข้อ
  1. มีวินัย, ตรงต่อเวลา กติกา มารยาท
  2. มีมารยาททางสังคม ซึ่งเป็นจุดเด่นของคนญี่ปุ่นข้อนี้ฝิ่นจำได้ติดตาในข่าวช่อง 7 เมื่อภูเขาไฟระเบิดที่ โกฮามา หลายปีมาแล้วตั้งแต่อยู่ ม. ปลายแล้วมีคนเสียชีวิตมากมาย ทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหาย ประมาณค่าไม่ได้ และทางรัฐบาลของญี่ปุ่นก็มาแจกของ ซึ่งน่าประทับใจอย่างมาก คนเหล่านั้นที่ประสบเคราะห์ร้าย ยืนเรียนแถวตอน 1 คนเพื่อรับสิ่งของที่ทางรัฐบาลเอามาบริจาคช่วยเหลืออย่างเป็นระเบียบ ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนเลยจริงๆ ค่ะ ยอมรับว่าพวกเค้าได้รับการปลูกฝังมาอย่างดี และสุดยอดมาก
  3. ขยันและอดทน
  4. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใช้ระบบ QC ในการคิด Innovation
  5. มีความจงรักภัคดีต่อองค์กร ทำงานอย่างทุ่มเทเป็น Team work
  6. มีนิสัยการรักอ่าน (ข้อนี้ตัวฝิ่นเองต้องปรับปรุงอย่างมากเลยค่ะ)
  7. รักสะอาด ความบริสุทธิ์ และยังหมายความว่า คนที่ไม่มีคุณภาพ คือคนที่สกปรก อีกด้วย
  8. มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง
  9. รักศักดิศรี และมีความเป็นชาตินิยม
  10. มีการพัฒนาตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่งและมีความกระตือรือร้นสูง
 10.  เรียนเรื่องทศพิษราชธรรม 10 ข้อ (กำจัด, รักษา, พัฒนาและป้องกัน)
  1. ทานัง อามิสทาน, ธรรมทานและอภัยทาน
  2. ศีล  ประพฤติดี ทั้ง กาย วาจาและใจ
  3. บริจาคะ  การบริจาค เป็นการเสียสละความสุขส่วนตัว
  4. อาชชวะ  ความซื่อสัตย์สุจริต
  5. มัททวะ   ความอ่อนโยน (ไม่อ่อนแอ) มีอัธยาศัยดี
  6. ตปะ  ความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้าน
  7. อักโกธะ ความไม่โกรธ ไม่ผูกพยาบาท
  8. อวิสังหา  ความไม่เบียดเบียน
  9. ขันติ มีความอดทน อดกลั้น ต่อแรงกดดันต่างๆ รวมทั้งความโลภ
  10. อวิโรชนะ ความโปร่งใส วิโรชนะ การทำงานอย่าให้เคลือบแคลงสงสัย
 11 เรียนเรื่องการฝึกตนให้เป็นผู้นำ ด้วย 6 ท. ง่าย ๆ ของอ.ยม
  1. ท่าที  มีท่าทีที่ดี
  2. ท้าทาย ทำงานที่ยากกว่าเดิมและคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
  3. ทน
  4. เที่ยงธรรม
  5. ทำ
  6. ทบทวน        
 

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า อาทิตย์หน้าจะได้มีโอกาสเรียนกับ อาจารย์ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ นะคะ

 

ทั้งนี้ฝิ่นขอออกตัวนิดหนึ่งและขอเป็นการขออนุญาตจากท่านอาจารย์ ศ.ดร.จิระ ในวันเสาร์ที่ 10 มีนาคม ที่ฝิ่นสามารถไปเรียนหนังสือได้ตอนช่วยบ่าย เนื่องจาก คณะ สสร. มาร่างรัฐธรรมนูญที่ โรงแรม Springfield Village Golf and Spa ที่ฝิ่นทำงานอยู่ จึงสามารถไปเรียนได้หลังจากที่ คณะท่านได้ check out จากโรงแรมไปแล้วค่ะ 

  

ด้วยความเคารพอย่างสูง

  จารุวรรณ ยุ่นประยงค์
น.ส.ปภาวี นาคสุข ID 106142008 MBA 6 Stamford International University

น.ส.ปภาวี นาคสุข ID 106142008 MBA 6 เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 13:14 (184311)

 

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์, อ.ยม และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน 

  เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (2-3 มี.ค.2550) ดิฉันได้ความรู้เพิ่มเติมมากมายเกี่ยวกับจริยธรรมของการเป็นผู้นำ และการพัฒนาภาวะผู้นำจากการสอนโดย อ.ยม ซึ่งสามารถสรุปได้เป็นเนื้อหาสำคัญ แนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาภาวะผู้นำ มีด้วยกันหลายแนวทาง คือ
  • แบบญี่ปุ่น 10 ประการ,
  • ตามแนวพุทธศาสตร์สัปปุริสธรรม 7,
  • ตามแนวทศพิศราชธรรม,
  • ตามแนวคิด Bennis 1989 และ
  • ตามแนวคิดของ อ.ยม ที่ใช้ ทฤษฎี 6 ท. (ท่าที, ท้าทาย, ทน, เที่ยงธรรม, ทำ, ทบทวน) ดิฉันขออนุญาตเพิ่มของอาจารย์ยม อีก 1 ท. นะคะ คือ ทัน ซึ่งทันในที่นี้ คือ ทันต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนไป รวมไปถึงทันต่อเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา เหตุผลที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเพราะปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อสังคมปัจจุบันอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์
 

สำหรับในเรื่องของจริยธรรมนั้น ผู้นำควรมีต่อองค์กร, สังคม, ผู้ร่วมงาน และประเทศชาติ ซึ่งก่อนที่จะมุ่งประเด็นไปที่ส่วนต่างๆ ก่อนอื่นผู้นำต้องมีจริยธรรมประจำใจของตนเองเสียก่อน เพื่อใช้เป็นหลักยึดถือในการประพฤติปฏิบัติ และเพื่อให้การบริหารงานเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์ประกอบภายนอกต่างๆ 

  

ปภาวี  นาคสุข

ID 106142008
กนกลักษณ์ เร้าเลิศฤทธิ์ MBA Stamford International University
กนกลักษณ์ เร้าเลิศฤทธิ์ เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 13:48 (184346)
เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน    ดิฉัน นางสาวกนกลักษณ์ เร้าเลิศฤทธิ์ ID:106342003 MBA  ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน จากการเรียนในวันที่ 2-3 มีนาคม 2550  ที่ผ่านมา อ.ได้สอนบรรยาย ในหัวข้อหลักๆ คือ
  1. ประโยชน์ของภาวะผู้นำ
  2. ยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาภาวะผู้นำ
  3. จริยะธรรม 
 ประโยชน์ของภาวะผู้นำ
  •  ต่อตนเอง ทำให้เรามีความรับผิดชอบ
  • ต่อองค์กร นำองค์กรสู่ความสำเร็จง่ายขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์กร
  • ต่อสังคมและประเทศชาติ สร้างจิตสำนึกในการรักสังคมและประเทศชาติ 
 *ถ้าภาวะผู้นำดีทำให้พนักงานมีขวัญและกำลังใจที่ดี และมีคนที่มีคุณภาพ  แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่น
  1. ฝึกเป็นคนมีมีวินัย เช่น ตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท
  2. มีมารยาททางสังคม  ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของญี่ปุ่น
  3. ฝึกเป็นคนขยัน  อดทนเป็น
  4. Interprise Spirit  กล้าริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ
  5. Team Work  คนญี่ปุ่นยึดฉันทามติ จงรักภักดีต่อองค์กร  ทำงานแบบอุทิศ  ทุ่มเท
  6. มีนิสัยรักการอ่าน
  7. รักความสะอาด  ความบริสุทธิ์
  8. มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง
  9. รักในศักดิ์ศรี ชาตินิยม
  10. พัฒนาตลอดเวลา  ไม่หยุดนิ่ง  และกระตือรือร้น  
 พัฒนาภาวะผู้นำ ตามทศพิศราชธรรม
  1. ทานัง คือ การให้ ซึ่งได้แก่ อามิสทาน(การให้สิ่งของ) ธรรมทาน(การให้ความรุ้) และ อภัยทาน
  2. ศีล คือการมีความประพฤติดีงาม สำรวมกาย วาจาใจ ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน 
  3. บริจาคะ (การบริจาค) การเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
  4. อาชชวะ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน ซื่อตรงต่อคำพูด ซื่อตรงต่อวิชาชีพ
  5. มัททวะ ได้แก่ ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี ซึ่งถ้าเป็นยุคนี้ต้องเรียกว่ามีความใจกว้างในการรับฟัง ไม่ดื้อ ไม่รั่น ไม่บ้า หรือมัวเมาในอำนาจ                            
  6. ตปะ ได้แก่ ความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว พยายามลดกิเลสของตน ซึ่งเป็นธรรมดาของคนที่มีอำนาจ ที่จะมีโอกาสจะเห็นผลประโยชน์รูปแบบต่างๆวิ่งผ่านหน้า ตปะ จะเป็นสิ่งที่เหนี่ยวรั้ง ไม่ให้คนดี เสียคน
  7. อักโกธะ คือการไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท หรือจงเกลียดจงชังคนใดคนหนึ่งหรือ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นักปกครองคนใด ครองธรรมมะข้อนี้ไม่ได้ ก้อาจจะนำไปสุ่การสร้างความอยุติธรรมในการตัดสินใจ
  8. อวิหิงสา คือการไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน, ลูกน้องของตน ,หน่วยงาน และครอบครัวตนเอง เพราะการเบียดเบียนนำไปสุ่การเอาเปรียบ การเอาเปรียบบ่อยๆ ก็ทำให้เสียนิสัยและนำไปสุ่ พฤติกรรมคอร์รัปชั่
  9. ขันติ ได้แก่ การมีความอดทนอดกลั้นความโลภ ต่อแรงกดดันต่างๆ
  10. อวิโรธนะ ความโปร่งใส วิโรธนะ การทำงาน อย่าให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย นั่นคือการทำงานอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา 
 ฝึกตนเป็นคนมีภาวะผู้นำ
กำจัด รักษา พัฒนา ป้องกัน
  1.   เพียรกำจัด (ลด ละ เลิก) สิ่งที่ไม่ดี ข้อบกพร่องหรืออกุศล ให้หมดไป                     
  2.   เพียรรักษา (รักษา) สิ่งที่ดี คุณภาพดีๆ มาตรฐานงานดีๆ วินัย หรือกฎข้อบังคับ ความรู้ ภูมิปัญญา ของตน ขององค์กร ให้คงอยู่ ยั่งยืนนาน                                                                  
  3. เพียรระวัง (ป้องกัน) มิให้สิ่งที่ไม่ดี เข้าครอบงำ มีข้อบกพร่อง ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยเน้นที่การดับที่เหตุรากเหง้า 4.    เพียรเจริญ (พัฒนาปรับปรุง) สิ่งที่ดีๆ สิ่งที่ทำอยู่ให้เจริญขึ้น หรือดีขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายขั้นสูง 
 Yom, 2005, 6 . สำหรับฝึกภาวะผู้นำ 
  • ท.ที่ 1 ท่าที  มีท่าทีที่ดี
  • ท.ที่ 2 ท้าทาย ทำงานที่ยากกว่า คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่
  • ท.ที่ 3 ทน ต้องอดทน
  • ท.ที่ 4 เที่ยงธรรม
  • ท.ที่ทำ
  • ท.ที่ 6 ทบทวน หมั่นทบทวน 
4 E’s Leadership
  1. Energy  ฝึกตนให้เป็นคนมีพลังเหนือชั้น ฝึกจิตใต้สำนึก
  2. Energize ฝึกตนให้เป็นคนที่สามารถกระตุ้นให้ทุกคนมีศักยภาพ    ทำงานในทิศทางเดียวกันและมีพลัง(ทฤษฎีกางร่ม)
  3. Edge ฝึกตนให้กล้าตัดสินใจ ให้ถูกจังหวะ
  4. Execution  ฝึกตนให้เป็นผู้ที่ต้องทำให้เสร็จและสำเร็จวัดผลได้ 
 6 C’s Leadership
  1. Conversations ติดต่อ ปราศรัย สร้างสัมพันธ์ดี
  2. Communicating ฝึกสื่อสาร สื่อสารให้เป็น  
  3. Culture  มีวัฒนธรรม เข้าได้ทุกระดั
  4. Creating change  สร้าง/บริหารการเปลี่ยนแปลง 
  5.  Creating team  สร้าง/บริหารที
  6. Charisma  เก่ง กล้า สามารถ  
 4 K’s Leadership   
  1. Knowing your competitors รู้คู่แข่ง คู่แข่งทางการค้า
  2. Knowing your customer รู้ลูกค้า ลูกค้าในอนาคตและปัจจุบัน และมีการวางแผน
  3. Knowing your people รู้ทีมงาน ทีมงานในอนาคตเป็นอย่างไรจุดอ่อนจุดแข็ง
  4. Knowing your yourself รู้ตัวเอง รู้จักตัวเอง เช่นการศึกษา วางแผนการพัฒนาตนเอง 
 6 L’s leadership
  1. Learning to love youeself รักตัวเอง ใส่ใจ ออกกำลังกาย สนใจเรื่องอนาคต
  2. Learning to love business รักธุระกิจ ทำอย่างไรให้ลูกน้องรักธุรกิจ
  3. Learning to love team รักทีม ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
  4. Learning to love customer รักลูกค้า
  5. Learning to love suppliers รักผู้ที่เกี่ยวข้อง ดูแลทุกคน
  6. Learning to relax โดยการหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา              
 5 M’s leadership
  1. Mission วิสัยทัศน์ ภารกิจที่ชัดเจน
  2. Meeting-learn-chair-develop ประชุมเรียนรู้แชร์ และพัฒนา
  3. Measurement การวัดความพึงพอใจของลูกค้า พนักงาน
  4. Memory จำได้ว่าข้อมูลที่แล้วมาเป็นอย่างไร โดยอาจจะมีตัวชี้วัด เช่นการบันทึก
  5. Mastering time เวลา 
 4 S’s Leadership
  1. Strategy เขียนกลยุทธ์เป็น
  2. Setting goals ต้องตั้งเป้าหมายเป็น
  3. Sleep well หาทางที่มันดี
  4. Selecting the right people เลือกคนที่ถูกต้อง 
 5 T’s Leadership
  1. Taking responsibility รู้จักมีความรับผิดชอบเอาใจใส่
  2. Teaching responsibility ต้องสอนถึงโทษและดี
  3. Take care of HR,Employee การดูแลพนักงานและทรัพยากรมนุษย์
  4. Take care of customer satisfaction ทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น5.
  5. Take care of Organization การดูแลองค์กรก็จะดีขึ้นผลประมาณการก็จะดีตามขึ้นไป 
 สาเหตุของความล้มสลายขององค์กร ได้แก่
  1.  การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
  2. สมาชิกในองค์กรสำคัญตนผิด
  3. ไม่ไยดีในนวัตกรรมใหม่ ๆ
  4. ขาดการวางแผนระยะยาว
  5. การไม่ให้ความสำคัญทรัพยากรมนุษย์ (การสูญเสียคนที่มีคุณค่า ยิ่งกว่าเสียเงินมากมาย)
 กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง มี 2 กลยุทธ์ คือ (2 Strategies for Changes) 
  1. Top Down (Programmatic)“Teaching & Application of Existing Knowledge" เบื้องบนสั่งลงมา คนเกี่ยวข้องไม่กี่คน ข้อดี รวดเร็ว ประหยัด  แต่พนักงานระดับล่างไม่มีส่วนร่วม  มีการต่อต้าน 
  2. Bottom-Up (Learning)“Stepwise Creation of Meaning & Understanding" พนักงานระดับล่างต้องมีส่วนร่วม ทำให้รู้สึกเป็นเจ้าของ  ความสำเร็จระยะยาว   แต่ต้องใช้เวลามากในการทำความเข้าใจ LEADERSHIP FOR CHANGE (ความเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง)
 จริยธรรม =จริยะ +  ธรรมะ =  (คำกริยา) ความประพฤติ  กริยาที่ควรปฏิบัติ   จริยธรรม มีประโยชน์อย่างไร? 
  • Quality worker : คนมีคุณภาพ
  • Quality Organization : องค์การมีคุณภาพ
  • Quality Product : สินค้า บริการ มีคุณภาพEmployee
  • Employee Retention เก็บรักษาบุคลากรไว้ได้
  • Customer Satisfaction : สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้
  • Orientation Trust : สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์การ
  • Market Orientation : ทำตลาดได้
  • Profitability : สร้างผลกำไรได้
  • Team Building : สร้างทีมงาน
  • Organization result: ผลประกอบการดีขึ้น
 จริยธรรมของผู้นำพึงมีต่อสังคม
  1. ละเว้นการประกอบธุรกิจทำให้สังคมเสื่อมนำความเดือนร้อนมาสู่สังคมทำลายวัฒนธรรมที่ดีงาม
  2. พึงดูแลเอาใจใส่กิจการของตนไม่ให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
  3. พึงเคารพให้สิทธิทางปัญญาของผู้อื่น
  4. พึงให้ความร่วมมือกับชุมนุมชนและสังคม 
 จริยธรรมของผู้นำที่พึงมีต่อพนักงาน/ทีมงาน
  1. พึงให้ค่าจ้าง ค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถให้รางวัลเมื่อมีกำไรมากขึ้น
  2. พึงเอาใจใส่สวัสดิการ จัดหาเครื่องป้องกันอันตราย อันเกิดจากการทำงาน
  3. พึงพัฒนาให้ความรู้เพื่อเพิ่มความชำนาญ
  4. พึงยุติธรรมต่อพนักงานทุกคน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
  5. พึงศึกษานิสัยใจคอของพนักงานแต่ละคน
  6. พึงเคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน
  7. พึงเชื่อถือไว้วางใจในงานที่มอบหมาย
  8. พึงให้คำแนะนำปรึกษาช่วยเหลือ
  9. พึงสนับสนุนให้พนักงานประพฤติตนดี ห้ามปรามถ้าพบว่าพนักงานทำไม่ดี 
 จริยธรรมของผู้นำที่พึงมีต่อลูกค้า
  1. พึงขายสินค้าบริการในราคายุติธรรม
  2. พึงขายสินค้าบริการที่มีคุณภาพตามที่แจ้งแก่ลูกค้า ในราคาที่ตกลงกัน
  3. พึงดูแลลูกค้าทุกคนเท่าเทียมกัน ใส่ใจในข้อร้องเรียนของลูกค้า
  4. พึงงดเว้นการสร้างเงื่อนไขให้ลูกค้าต้องทำตามเงื่อนไขเพื่อต่อรอง
  5. พึงปฏิบัติต่อลูกค้าด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี 
 จริยธรรมของผู้นำที่พึงมีต่อเพื่อนร่วมงาน
  1. พึงมีความจริงใจ
  2. พึงหลีกเลี่ยงการนินทาเพื่อน
  3. อย่าซัดทอดความผิดให้เพื่อน
  4. พึงยกย่องชมเชยเพื่อนในสิ่งที่สมควร
  5. พึงให้ความร่วมมือในกิจการของเพื่อนด้วยความเต็มใจ
  6. พึงรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน
  7. พึงหลีกเลี่ยงการทำตัวเหนือเพื่อน 
 จริยธรรมของผู้นำที่พึงมีต่อคู่แข่งขัน
  1. พึงละเว้นการกลั่นแกล้ง ให้ร้ายป้ายสี การขายตัดราคา การแย่งลูกค้าและข้อมูลของคู่แข่งมาโดยมิชอบ
  2. พึงให้ความร่วมมือในการแข่งขัน เพื่อสร้างสภาวะการตลาดที่ดี และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้เกิด ประโยชน์สูงสุดร่วมกันป้องกันดูและทรัพย์สินต่างๆ สรุป ดิฉันคิดว่าจะสามารถนำแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองในหน้าที่การงาน พร้อมทั้งฝึกให้ตนเองมีจริยธรรม
จริยา ลิ้มธรรมรักษ์

 

สวัสดีค่ะศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม และผู้อ่านทุกท่าน

 

จากการที่อาจารย์ยมได้ให้เกียรติมาสอนสัปดาหที่ 2 ในวันที่2-3 มีนาคม 2550  ในเนื้อหาดังนี้

 

1.ภาวะผู้นำมีประโยชน์อย่งไร

 

2.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ

 

3.จริยธรรมของการเป็นผู้นำ

 

1.จากความคิดเห็นของดิฉันภาวะผู้นำมีประโยชน์ในด้านต่างๆดังนี้

 

-ต่อตัวผู้นำเอง

       ช่วยให้ผู้นำมีความรับผิดชอบมากขึ้น

       ฝึกให้มีคุณธรรม จริยธรรม

       ฝึกให้กล้าคิด กล้าตัดสินใจ

 

 

-ต่อองค์กร

       สามารถนำองค์กรไปสู่ความ

สำเร็จ ตรงเป้าหมาย

       สร้างความเชื่อมั่นให้กับ

องค์กร

      

-ต่อประเทศชาติ ทำให้คนมีคุณภาพ มีความเชื่อ ศรัทธาปลูกจิตสำนึกให้คนรักและพัฒนาประเทศ ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า

 

***ภาวะผู้นำเปรียบเสมือน brand ที่จะสะท้อนตัวผู้นำเอง****

      

2.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำให้มีคุณค่าตามหลักทศพิธราชธรรม

 

ราชธรรม ๑๐ ประการ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ญมาโดยสม่ำเสมอ ได้แก่ ทาน ศีล บริจาค ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียน ความอดทน และความเที่ยงธรรม ราชธรรม ๑๐ ประการนี้เรียกว่า ทศพิธราชธรรม

 

สรุปและข้อเสนอแนะ

 

การเป็นผู้นำนั้นไม่ยาก แต่จะเป็นผู้นำที่มีคุณค่านั้นทำอย่างไร ดิฉันคิดว่าผู้นำที่ดีนั้น ควรจะพิจารณาหลักทศพิราชธรรม นำมาเป็นข้อคิดและปฏิบัติอย่างเหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม

      

3.จริยธรรมของการเป็นผู้นำ

 

สาเหตุของความเสื่อมขององค์กร

 

1.การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

 

2.สมาชิกในองค์กรสำคัญตนผิด

 

3.ความไม่ไยดีต่อ INNOVATION

 

4.ขาดการวางแผนระยะยาว ขาดวิสัยทัศน์

 

5.การไม่ได้ให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์

 

(การเสียคนที่มีคุณค่า ยิ่งกว่าเสียเงินทองมากมาย)

 

 

เทคนิคขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลง

 

1.ทำให้เกิดการตื่นตัวในองค์กร สร้าง

ความเร้าใจทั้งเชิงบวกเชิงลบ

 

2.ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เช่น คณะ

กรรมการระบบ ISO

 

3.ต้องให้คณะกรรมการกำหนดวิสัยทัศน์

ทำ action plan

 

4.จะต้องสื่อวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ ให้เข้าใจ

สื่อได้

 

5.ให้ทุกส่วนมีส่วนร่วมและร่วมมือในการ

เปลี่ยนแปลง พัฒนา สร้าง

INNOVATION ขึ้นมา

 

6.ทำการประเมินผล

 

7.เอาผลสำเร็จบางประการมาประกาศชัย

ชนะระยะสั้น

 

8.นำส่วนที่มีปัญหาบางจุดและผลสำเร็จ

ระยะสั้นมากำหนดแนวปฏิบัติใหม่9.ทำ

การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (CONTINUE

IMPROVMENT)

 

 

จริยธรรม คือ ความประพฤติ

หรือการกระทำที่ควรปฏิบัติ

 

 

ประโยชน์ของจริยธรรมช่วยให้

มนุษย์

 

1.ช่วยจัดระเบียบสังคม

 

2.อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

 

3.พัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นชีวิตที่

สมบูรณ์

 

4.พัฒนาชีวิตให้สำเร็จตามเป้าหมาย

 

5.สร้างสันติภาพ

 

6.สามารถแก้ปัญหาชีวิตและความทุกข์

ให้หมดไปได้

 

 

จริยธรรมของผู้นำทั้งภาครัฐ

และภาคเอกชน

 

1.ต้องมีความซื่อสัตย์

 

2.ปฏิบัติตามกฎระเบียบ

 

3.บริหารจัดการเรื่องของประสิทธิภาพ

และจริยธรรมให้ไปด้วยกันได้

 

4.บริหารจัดการด้วยความเป็นธรรม

 

5.บริหารให้เกิดความมั่นใจและมั่นคง

 

6.ปลูดฝังค่านิยมให้กับทีมงาน

 

 

ดิฉันได้เป็นตัวแทนของกลุ่มได้

นำเสนอเรื่องจริยธรรมของนักศึกษา MBA มีดังนี้

 

1.ต่อสถาบัน

 

-ให้ความเชื่อมั่นในตัวสถาบัน

 

-ให้เกียรติสถานที่

 

2.นักศึกษา

 

-ไม่แข่งขันกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

 

-มีการแชร์ประสบการณ์ แลกเปลี่ยน

ความคิดเห็น

 

3.ต่อองค์กร

 

-นำความรู้ที่ได้มาใช้ประโยชน์กับองค์กร

 

4.ต่อสังคม

 

-เมื่อมีความรู้แล้ว จะไม่นำความรู้มา

เบียดเบียนสังคม

 

-มีการนำความรู้เผยแพร่ให้กับสังคม เช่น

การสอนหนังสือ

 

 

จริยธรรมของผู้นำในองค์กร

 

CEO CONCEPT ได้แก่

 

-CUSTOMER SATISFACTION การ

บริการที่ดีประทับใจและการผลิตสินค้าที่

มีคุณภาพ

 

 -EMPLOYEE SATISFACTION  

สวัสดิการที่ดี(ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดิน

ทาง ค่าประกันภัย ประกันสังคม ) และมี

career path (ให้โอกาส ให้ความก้าว

หน้า ซึ่งช่วยสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน)

 

-ORGANIZATION RESULT แบ่งปันให้

กับสังคม เช่นจ่ายภาษีอย่างถูกต้องตาม

กฎหมาย , คำนึงถึงความปลอดภัยต่อ

สังคม

 

 

สรุปและข้อเสนอแนะ

       ผู้นำควรมีภาวะผู้นำที่มีจริยธรรมที่เหมาะสม สามารถบริหารการเปลี่ยนแปลง ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง(ความรอบรู้ มีเหตุมีผล มีคุณธรรม มีภูมิคุ้มกัน พอดีพอประมาณ) ทั้งนี้การพัฒนาจริยธรรมจะเป็นการสร้างสมดุลย์ในระหว่างความคิดและการกระทำให้อยู่ในทางสายกลาง ไม่มากหรือน้อยเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง สังคมเกิดความยั่งยืน สงบสุข 

 

จริยา ลิ้มธรรมรักษ์

106242001 MBA 7

ศรีสุดา วรรณสมบูรณ์ MBA STAMFORD INTERNATIONAL UNIVERSITY
ศรีสุดา วรรณสมบูรณ์ ID 106342002 เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 01:12 (185104)

สวัสดีค่ะ  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์/อาจารย์ ยม/เพื่อนๆ นักศึกษา MBA มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด หัวหิน และ เพื่อน ๆ นักศึกษา MBA 6,7 ทุกท่าน

          จากสัปดาห์ที่ผ่านมา ในวันศุกร์ที่ 2 และวันเสาร์ที่ 3 มีนาคม 2550  ของวิชาภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง  ทำให้เข้าใจถึงบทบาทที่ผู้ที่เป็นผู้นำพึงมี และพึงปฏิบัติ เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ ซึ่งความสำเร็จในที่นี้ ไม่ใช่สำเร็จเพียงด้านยอดขาย สถานะทางการเงิน เท่านั้นแต่นั่นยังต้องรวมถึง ภาพพจน์ที่ดี และทรัพยากรบุคคลที่อยู่ในองค์กร ด้วย และอาจารย์ ยม ยังได้ให้แนวทางที่ใช้ในการพัฒนาภาวะผู้นำ โดยมีแนวทาง คือ

          1.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักทศพิธราชธรรม

          2.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่น 10 ประการ

          3.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวคิด YOM, 2006 ทฤษฎี 6 ท.

          4.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวคิด Bennis, 1989 เบนนิส

          5.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7

          ทั้งนี้ยังได้ ให้คำนิยาม คำว่า พอเพียง ซึ่งอาจารย์ ยม ได้ให้ความหมาย คำว่า พอเพียงในความคิดของอาจารย์ว่าคือ การดำเนินชีวิตทางสายกลางเพื่อ ความยั่งยืน และต้องอยู่บนหลักการและเหตุผล อย่างพอประมาณ และมีแผนรองรับในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และต้องมีความรู้คู่คุณธรรม

          อีกทั้งผู้นำควรมีแผนรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตไว้ เพื่อให้องค์กรได้รับความเสียหายน้อยที่สุด  การจะเป็นผู้นำที่ดีไม่ใช่แต่บริหารจัดการ ให้บรรลุถึงเป้าหมายเพียงแต่ให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุดเพียงอย่างเดียว ผู้นำควรมีจริยธรรมซึ่งสามารถนำมาใช้ให้สอดคล้องได้กับสภาวะการณ์ต่าง ๆ ได้ เพื่อให้เกิดความสงบสุขของทุกคนในองค์กร

          ในสัปดาห์นี้ อาจารย์ ยม ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้นำที่มีต่อ เพื่อนนักศึกษา MBA 6,7 ,ต่อทีมงาน,ต่อองค์กร,ต่อสังคม และประเทศชาติ แม้ว่านักศึกษาทุกท่านจะต่างหน้าที่การงาน,ต่างองค์กร,ต่างอายุ และต่างประสบการณ์ แต่ว่าแต่ละท่านก็มีความคิดเห็นหลัก ๆ เป็นไปในทางเดียวกัน คือ ต้องการผู้นำเป็นคนดี, ไม่เห็นแก่ตัว, ให้โอกาสกับทุกคนเท่าเทียมกัน ให้อภัย เพื่อให้เกิดปัญญาคิดทำในสิ่งที่ถูกต้อง, ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น และที่สำคัญที่สุดคือทุกท่านต้องการให้สังคม และประเทศชาติมีความสงบสุข

นริศรา ทรัพย์ชโลธร MBA7 มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด
 จาก
นริศรา ทรัพย์ชโลธร เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 23:09 (184948)
สวัสดีค่ะ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข และเพื่อน ๆ นักศึกษาทุกท่าน 
จากที่ได้ศึกษากับอาจารย์ยม นาคสุข ในวิชาภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง ในวันที่ 2-3  มีนาคมที่ผ่านมา ทำให้รู้ถึงความสำคัญของการเป็นผู้นำที่ดีว่าจะต้องมีภาวะความพร้อมทางคุณสมบัติหลาย ๆ ประการ เพื่อที่จะได้นำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว
และแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำที่อาจารย์ได้สอนนั้นมีอยู่หลายแนวทางที่น่าสนใจ คือ        
1. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่น 10 ประการ
2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวคิด Yom, 2006    ทฤษฎี 6 ท.        
3. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามทศพิธราชธรรม        
4. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวคิด Bennis, 1989 เบนนิส       
5. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวและสัปปุริสธรรม 7  ซึ่งทุกแนวทางได้ให้ความสำคัญกับการมีภาวะผู้นำที่ครบถ้วนแต่สิ่งที่คิดว่าสำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งในการเป็นผู้นำที่ดีคือจะต้องมีจริยธรรมและคุณธรรม 
ซึ่งหลักจริยธรรมตามแนวพุทธศาสตร์  สามารถปฎิบัติได้ตามพรหมวิหาร 4 และสัปปุริสธรรม 7 ธรรมของสัตบุรุษ หรืออาจปฎิบัติตามแนวทางทศพิธราชธรรม 10 ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งธรรมมะ 10 ข้อนี้ครอบคลุมได้ทุกเรื่อง อีกทั้งผู้นำที่ดีจะต้องสามารถแก้ไขปัญหาและรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในทุกเวลาและสถานการณ์อีกด้วย
ผู้นำที่ดีควรจะมีการบริหารอารมณ์ที่ดี มีความเป็นกันเอง มีความยุติธรรมและมีใจเป็นกลาง ยอมรับฟังความคิดเห็นของบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์กร มีความซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ และมีการทำงานที่โปร่งใส
สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนในครั้งนี้คือ  ผู้นำเป็นตัวแทนขององค์กรดังนั้นภาวะผู้นำที่ครบถ้วนมีความสำคัญต่อองค์กรเป็นอย่างมากเพื่อนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ  
ขอบคุณค่ะ
นริศรา  ทรัพย์ชโลธร
MBA7 มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด 
นายประเสริฐ ชัยยะศิริสุวรรณ MBA 7
นายประเสริฐ ชัยยะศิริสุวรรณ MBA 7 เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 00:14 (185033)

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  .ยม นาคสุข   และเพื่อนๆนักศึกษา MBA ทุกท่าน

 

จากการที่ได้เรียนวิชาภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงในวันที่2-3 มีนาคม สามารถสรุปเนื้อหาได้ดังนี้

การพัฒนาผู้นำ ตามหลักทศพิศราชธรรม

1.    การให้ ได้แก่ ให้สิ่งของ  ให้ความรู้  ให้ทาน

2.    ศีล  คือ  การมีความประพฤติที่ดีงาม ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี

3.    การบริจาค คือ การสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

4.    การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต คือ มีความจริงใจ

5.    ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี คือ ต้องใจกว้างและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

6.    การบำเพ็ญความเพียร เพื่อจำกัดความเกียจคร้าน

7.    การไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท

8.    การไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้องของตน และหน่วยงาน

9.    การมีความอดทนอดกลั้น ความโลภ และแรงกดดันต่างๆ

10.           ความโปร่งใส ในการทำงาน และมีความตรงไปตรงมา 

 
จริยธรรมขององค์กร
 
- รับฟังความคิดเห็นของพนักงานในองค์กร
- มีความจริงใจต่อเพื่อนร่วมงาน
- มีความเสมอภาคกับพนักงานทุกระดับ
- ให้โอกาสและให้อภัยแก่ผู้ร่วมงานในองค์กร
- มีความเคารพต่อกฎระเบียบในองค์กร
- ให้ความเคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน
จริยธรรมต่อทีมงาน
- มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน
- มีความยุติธรรม
- ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน ด้วยความจริงใจ
- ให้ความเป็นกันเอง
- มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
- ให้เกียรติและยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน
- ให้คำปรึกษาและช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
จริยธรรมต่อสังคม
 
- มีคุณธรรม
- มีความสามัคคี
- ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น
- ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดีในสังคม
- ช่วยเหลือสังคม เมื่อมีโอกาส
- มุ่งประโยชน์ถือส่วนรวม
- มีความเมตตากรุณา
- ให้ความร่วมมือกับชุมชนและสังคม
- ดูแลองค์กรไม่ให้สร้างความเดือดร้อนกับสังคม

ขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงองค์กร

1.    มีการชี้แจงล่วงหน้าเพื่อให้พนักงานมีการตื่นตัว และต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้คนในองค์การทราบ โดยมีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ

2.    มีการจัดตั้งทีมเจ้าภาพที่จะทำการเปลี่ยนแปลงองค์การขึ้นมา

3.    ให้ทีมเจ้าภาพกำหนดวิสัยทัศน์

4.    ทีมเจ้าภาพที่จะทำการเปลี่ยนแปลง ต้องเข้าใจในกลยุทธ์และสามารถโน้มน้าวใจได้

5.    ให้ทุกส่วนในองค์การมีส่วนร่วมและร่วมมือในการที่จะเปลี่ยนแปลง พัฒนา และสร้าง Innovation ใหม่ๆ

6.    รวบรวมข้อมูลมาสรุปและประเมินผลออกมาดูว่าเป็นอย่างไร

7.    นำผลสำเร็จที่ประเมินออกมาได้มาสร้างชัยชนะในระยะสั้น

8.    มีการกำหนดแนวปฏิบัติใหม่ ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ให้เป็นวัฒนธรรมขององค์การทำการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้า พนักงาน ทีมงาน และผลประกอบการขององค์การ

นายประเสริฐ  ชัยยะศิริสุวรรณ

รหัส 106242007  MBA 7

มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

นางสาวปณิธาน เชื้อชาติ ID 106142013 MBA 6
เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม นาคสุข และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน!!!    
(นางสาวปณิธาน เชื้อชาติ ID 106142013 MBA 6 เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 14:45 (185531) )
จากการเรียนในวันที่ 2-3 มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา ทำให้ได้ทราบเนื้อหาดังนี้ 
  1. ประโยชน์ของภาวะผู้นำ 
  2. ยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาภาวะผู้นำ 
  3. จริยะธรรม  
ประโยชน์ของภาวะผู้นำ          
ต่อตนเอง ทำให้เรามีความรับผิดชอบ ต่อองค์กร นำองค์กรสู่ความสำเร็จง่ายขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์กร ต่อสังคมและประเทศชาติ สร้างจิตสำนึกในการรักสังคมและประเทศชาติ   
แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่น 
  1. ฝึกเป็นคนมีมีวินัย เช่น ตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท  
  2. มีมารยาททางสังคม  ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของญี่ปุ่น  
  3. ฝึกเป็นคนขยัน  อดทนเป็น  
  4. Interprise Spirit  กล้าริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ  
  5. Team Work  คนญี่ปุ่นยึดฉันทามติ จงรักภักดีต่อองค์กร  ทำงานแบบอุทิศ  ทุ่มเท 
  6. มีนิสัยรักการอ่าน  
  7. รักความสะอาด  ความบริสุทธิ์  
  8. มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง  
  9.  รักในศักดิ์ศรี ชาตินิยม  
  10. พัฒนาตลอดเวลา  ไม่หยุดนิ่ง  และกระตือรือร้น   
พัฒนาภาวะผู้นำ ตามทศพิศราชธรรม 
  1. ทานัง คือ การให้ ซึ่งได้แก่ อามิสทาน(การให้สิ่งของ) ธรรมทาน(การให้ความรุ้) และ อภัยทาน 
  2. ศีล คือการมีความประพฤติดีงาม สำรวมกาย วาจาใจ ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน
  3. บริจาคะ (การบริจาค) การเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง  
  4. อาชชวะ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน ซื่อตรงต่อคำพูด ซื่อตรงต่อวิชาชีพ 
  5. มัททวะ ได้แก่ ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี ซึ่งถ้ายุคนี้ต้องเรียกว่ามีความใจกว้างในการรับฟัง ไม่ดื้อ ไม่รั่น ไม่บ้า หรือมัวเมาในอำนาจ                              
  6. ตปะ ได้แก่ ความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว พยายามลดกิเลสของตน ซึ่งเป็นธรรมดาของคนที่มีอำนาจ ที่จะมีโอกาสจะเห็นผลประโยชน์รูปแบบต่างๆวิ่งผ่านหน้า ตปะ จะเป็นสิ่งที่เหนี่ยวรั้ง ไม่ให้คนดี เสียคน
  7. อักโกธะ คือการไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท หรือจงเกลียดจงชังคนใดคนหนึ่งหรือ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นักปกครองคนใด ครองธรรมมะข้อนี้ไม่ได้ ก้อาจจะนำไปสุ่การสร้างความอยุติธรรมในการตัดสินใจ
  8. อวิหิงสา คือการไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน, ลูกน้องของตน ,หน่วยงาน และครอบครัวตนเอง เพราะการเบียดเบียนนำไปสุ่การเอาเปรียบ การเอาเปรียบบ่อยๆ ก็ทำให้เสียนิสัยและนำไปสุ่ พฤติกรรมคอร์รัปชั่น
  9. ขันติ ได้แก่ การมีความอดทนอดกลั้นความโลภ ต่อแรงกดดันต่างๆ
  10. อวิโรธนะ ความโปร่งใส วิโรธนะ การทำงาน อย่าให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย นั่นคือการทำงานอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา  
ฝึกตนเป็นคนมีภาวะผู้นำ 
  1. เพียรกำจัด (ลด ละ เลิก) สิ่งที่ไม่ดี ข้อบกพร่องหรืออกุศล ให้หมดไป                     
  2. เพียรรักษา (รักษา) สิ่งที่ดี คุณภาพดีๆ มาตรฐานงานดีๆ วินัย หรือกฎข้อบังคับ ความรู้ ภูมิปัญญา ของตน ขององค์กร ให้คงอยู่ ยั่งยืนนาน                                                                
  3. เพียรระวัง (ป้องกัน) มิให้สิ่งที่ไม่ดี เข้าครอบงำ มีข้อบกพร่อง ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยเน้นที่การดับที่เหตุรากเหง้า  
  4. เพียรเจริญ (พัฒนาปรับปรุง) สิ่งที่ดีๆ สิ่งที่ทำอยู่ให้เจริญขึ้น หรือดีขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายขั้นสูง 
 6 . สำหรับฝึกภาวะผู้นำ   

 

  • ท.ที่ 1 ท่าที  มีท่าทีที่ดี
  • ท.ที่ 2 ท้าทาย ทำงานที่ยากกว่า คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่
  • ท.ที่ 3 ทน ต้องอดทน
  • ท.ที่ 4 เที่ยงธรรม
  • ท.ที่ทำ
  • ท.ที่ 6 ทบทวน หมั่นทบทวน 

 4 E’s Leadership 

  1. Energy  ฝึกตนให้เป็นคนมีพลังเหนือชั้น ฝึกจิตใต้สำนึก  
  2. Energize ฝึกตนให้เป็นคนที่สามารถกระตุ้นให้ทุกคนมีศักยภาพ    ทำงานในทิศทางเดียวกันและมีพลัง(ทฤษฎีกางร่ม)  
  3. Edge ฝึกตนให้กล้าตัดสินใจ ให้ถูกจังหวะ  
  4. Execution  ฝึกตนให้เป็นผู้ที่ต้องทำให้เสร็จและสำเร็จวัดผลได้ 

 6 C’s Leadership 

  1. Conversations ติดต่อ ปราศรัย สร้างสัมพันธ์ดี  
  2. Communicating ฝึกสื่อสาร สื่อสารให้เป็น    
  3. Culture  มีวัฒนธรรม เข้าได้ทุกระดับ 
  4. Creating change  สร้าง/บริหารการเปลี่ยนแปลง   
  5. Creating team  สร้าง/บริหารที  
  6.  Charisma  เก่ง กล้า สามารถ   

4 K’s Leadership    

  1. 1.Knowing your competitors รู้คู่แข่ง คู่แข่งทางการค้า 
  2. 2.Knowing your customer รู้ลูกค้า ลูกค้าในอนาคตและปัจจุบัน และมีการวางแผน  
  3. 3.Knowing your people รู้ทีมงาน ทีมงานในอนาคตเป็นอย่างไรจุดอ่อนจุดแข็ง 
  4. 4.Knowing your yourself รู้ตัวเอง รู้จักตัวเอง เช่นการศึกษา วางแผนการพัฒนาตนเอง  

6 L’s leadership 

  1. Learning to love youeself รักตัวเอง ใส่ใจ ออกกำลังกาย สนใจเรื่องอนาคต 
  2. Learning to love business รักธุระกิจ ทำอย่างไรให้ลูกน้องรักธุรกิจ 
  3. Learning to love team รักทีม ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม 
  4. Learning to love customer รักลูกค้า 
  5. Learning to love suppliers รักผู้ที่เกี่ยวข้อง ดูแลทุกคน 
  6. Learning to relax โดยการหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา              

 5 M’s leadership 

  1. Mission วิสัยทัศน์ ภารกิจที่ชัดเจน 
  2. Meeting-learn-chair-develop ประชุมเรียนรู้แชร์ และพัฒนา 
  3. Measurement การวัดความพึงพอใจของลูกค้า พนักงาน 
  4. Memory จำได้ว่าข้อมูลที่แล้วมาเป็นอย่างไร โดยอาจจะมีตัวชี้วัด เช่นการบันทึก 
  5. Mastering time เวลา 

 4 S’s Leadership 

  1. Strategy เขียนกลยุทธ์เป็น 
  2. Setting goals ต้องตั้งเป้าหมายเป็น 
  3. Sleep well หาทางที่มันดี 
  4. Selecting the right people เลือกคนที่ถูกต้อง  

5 T’s Leadership 

  1. Taking responsibility รู้จักมีความรับผิดชอบเอาใจใส่
  2.  teachimg responsibility ต้องสอนถึงโทษและดี 
  3. Take care of HR,Employee การดูแลพนักงานและทรัพยากรมนุษย์ 
  4. Take care of customer satisfaction ทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น 
  5. Take care of Organization การดูแลองค์กรก็จะดีขึ้นผลประมาณการก็จะดีตามขึ้นไป  

กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง มี 2 กลยุทธ์ คือ (2 Strategies for Changes)  

  1.  Top Down (Programmatic)“Teaching & Application of Existing Knowledge" เบื้องบนสั่งลงมา คนเกี่ยวข้องไม่กี่คน ข้อดี รวดเร็ว ประหยัด  แต่พนักงานระดับล่างไม่มีส่วนร่วม  มีการต่อต้าน   
  2.  Bottom-Up (Learning)“Stepwise Creation of Meaning & Understanding" พนักงานระดับล่างต้องมีส่วนร่วม ทำให้รู้สึกเป็นเจ้าของ  ความสำเร็จระยะยาว   แต่ต้องใช้เวลามากในการทำความเข้าใจ LEADERSHIP FOR CHANGE (ความเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง)จริยธรรม =จริยะ +  ธรรมะ =  (คำกริยา) ความประพฤติ  กริยาที่ควรปฏิบัติ  

จริยธรรม มีประโยชน์อย่างไร?   

  • Quality worker : คนมีคุณภาพ
  • Quality Organization : องค์การมีคุณภาพ
  • Quality Product : สินค้า บริการ มีคุณภาพEmployee
  • Employee Retention เก็บรักษาบุคลากรไว้ได้
  • Customer Satisfaction : สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้
  • Orientation Trust : สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์การ
  • Market Orientation : ทำตลาดได้
  • Profitability : สร้างผลกำไรได้
  • Team Building : สร้างทีมงาน
  • Organization result: ผลประกอบการดีขึ้น

  จริยธรรมต่อสังคม 

  1. ละเว้นการประกอบธุรกิจทำให้สังคมเสื่อมนำความเดือนร้อนมาสู่สังคมทำลายวัฒนธรรมที่ดีงาม 
  2. พึงดูแลเอาใจใส่กิจการของตนไม่ให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม 
  3. พึงเคารพให้สิทธิทางปัญญาของผู้อื่น 
  4. พึงให้ความร่วมมือกับชุมนุมชนและสังคม  

จริยธรรมต่อพนักงาน/ทีมงาน 

  1. พึงให้ค่าจ้าง ค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถให้รางวัลเมื่อมีกำไรมากขึ้น 
  2. พึงเอาใจใส่สวัสดิการ จัดหาเครื่องป้องกันอันตราย อันเกิดจากการทำงาน 
  3. พึงพัฒนาให้ความรู้เพื่อเพิ่มความชำนาญ 
  4. พึงยุติธรรมต่อพนักงานทุกคน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง 
  5. พึงศึกษานิสัยใจคอของพนักงานแต่ละคน 
  6. พึงเคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน 
  7. พึงเชื่อถือไว้วางใจในงานที่มอบหมาย 
  8. พึงให้คำแนะนำปรึกษาช่วยเหลือ 
  9. พึงสนับสนุนให้พนักงานประพฤติตนดี ห้ามปรามถ้าพบว่าพนักงานทำไม่ดี  

จริยธรรมต่อลูกค้า 

  1. พึงขายสินค้าบริการในราคายุติธรรม 
  2. พึงขายสินค้าบริการที่มีคุณภาพตามที่แจ้งแก่ลูกค้า ในราคาที่ตกลงกัน 
  3. พึงดูแลลูกค้าทุกคนเท่าเทียมกัน ใส่ใจในข้อร้องเรียนของลูกค้า 
  4. พึงงดเว้นการสร้างเงื่อนไขให้ลูกค้าต้องทำตามเงื่อนไขเพื่อต่อรอง 
  5. พึงปฏิบัติต่อลูกค้าด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี  

จริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน 

  1. พึงมีความจริงใจ 
  2. พึงหลีกเลี่ยงการนินทาเพื่อน 
  3. อย่าซัดทอดความผิดให้เพื่อน 
  4. พึงยกย่องชมเชยเพื่อนในสิ่งที่สมควร 
  5. พึงให้ความร่วมมือในกิจการของเพื่อนด้วยความเต็มใจ 
  6. พึงรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน 
  7. พึงหลีกเลี่ยงการทำตัวเหนือเพื่อน  

จริยธรรมต่อคู่แข่งขัน 

  1. พึงละเว้นการกลั่นแกล้ง ให้ร้ายป้ายสี การขายตัดราคา การแย่งลูกค้าและข้อมูลของคู่แข่งมาโดยมิชอบ 
  2. พึงให้ความร่วมมือในการแข่งขัน เพื่อสร้างสภาวะการตลาดที่ดี และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้เกิด ประโยชน์สูงสุดร่วมกันป้องกันดูและทรัพย์สินต่างๆ  

 

สรุป  ดิฉันมั่นใจว่าสิ่งที่ดิฉันได้เรียนในสัปดาห์นี้ จะสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาไปสู่การเป็นภาวะผู้นำที่ดีในอนาคตได้ โดยมีจริยธรรมในการดำเนินชีวิตควบคู่ไปด้วย 

นางสาวปณิธาน  เชื้อชาติ  ID : 106142013

นาย สราวุฒิ ฉายแสงรหัส 106142011มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด(หัวหิน)

จากนาย สราวุฒิ ฉายแสง เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 13:03 (185413)

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   อ.ยม นาคสุขและเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน           

จากที่ อ.ยมบรรยายถึงเรื่องการฝึกตนให้เป็นผู้นำของญี่ปุ่นดังนี้           

1.ฝึกเป็นคนมีวินัย           

2.มีมารยาททางสังคม           

3.ฝึกเป็นคนขยัน           

4.มีความคิดริเริ่ม           

5.จงรักพักดีต่อองค์กร           

6.มีนิสัยรักการอ่าน           

 7.รักความสะอาด           

8.มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง           

9.รักในศักดิ์ศรี           

10.พัฒนาตลอดเวลานี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในด้านต่างๆเพราะทุกคนรู้จักหน้าที่ของตัวเองว่า ควรทำอะไรและไม่ควรทำอะไร           

 

กล่าวถึง การพัฒนาภาวะผู้นำ ตามทศพิศราชธรรม ดังนี้           

1.การให้           

2.ศีล           

 3.การบริจาค           

4.การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต           

5.ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี           

6.การบำเพ็ญความเพียร           

 7.การไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท           

8.การไม่เบียดเบียน           

 9.การมีความอดทน อดกลั้น           

10.ความโปร่งใสในการทำงาน

เมื่อเชื่อมโยงหลักการของทั้งสองประเทศแล้วก็ทำให้ทราบว่าการเป็นผู้นำนั้นต้องเป็นคนดี และเก่ง โดยการเป็นคนดีนั้นต้องมีความเคารพต่อกฎกติกาของสังคม ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เพราะถ้าเก่งแต่ไม่ดีก็จะทำให้องค์กรเสียหาย โกงกิน ส่วนการเป็นคนเก่งนั้น ก็หมายถึง การที่เป็นผู้ใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ที่จะพัฒนาองค์กรให้ดียิ่งขึ้น

  นาย สราวุฒิ ฉายแสงรหัส 106142011มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด(หัวหิน)

นายเอกราช ดลยสกุล ID: 106142015

นายเอกราช ดลยสกุล MBA 6 เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 15:07 (185543)

 

 

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม นาคสุข และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน!!!  

 

  พัฒนาภาวะผู้นำ ตามทศพิศราชธรรม 

ทานัง คือ การให้ ซึ่งได้แก่ อามิสทาน(การให้สิ่งของ) ธรรมทาน(การให้ความรุ้) และ อภัยทาน ศีล คือการมีความประพฤติดีงาม สำรวมกาย วาจาใจ ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน 

บริจาคะ (การบริจาค) การเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง  

อาชชวะ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน ซื่อตรงต่อคำพูด ซื่อตรงต่อวิชาชีพ  

มัททวะ ได้แก่ ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี ซึ่งถ้าเป็นยุคนี้ต้องเรียกว่ามีความใจกว้างในการรับฟัง ไม่ดื้อ ไม่รั่น ไม่บ้า หรือมัวเมาในอำนาจ                              

ตปะ ได้แก่ ความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว พยายามลดกิเลสของตน ซึ่งเป็นธรรมดาของคนที่มีอำนาจ ที่จะมีโอกาสจะเห็นผลประโยชน์รูปแบบต่างๆวิ่งผ่านหน้า ตปะ จะเป็นสิ่งที่เหนี่ยวรั้ง ไม่ให้คนดี เสียคน

อักโกธะ คือการไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท หรือจงเกลียดจงชังคนใดคนหนึ่งหรือ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นักปกครองคนใด ครองธรรมมะข้อนี้ไม่ได้ ก้อาจจะนำไปสุ่การสร้างความอยุติธรรมในการตัดสินใจ

อวิหิงสา คือการไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน, ลูกน้องของตน ,หน่วยงาน และครอบครัวตนเอง เพราะการเบียดเบียนนำไปสุ่การเอาเปรียบ การเอาเปรียบบ่อยๆ ก็ทำให้เสียนิสัยและนำไปสุ่ พฤติกรรมคอร์รัปชั่น

ขันติ ได้แก่ การมีความอดทนอดกลั้นความโลภ ต่อแรงกดดันต่างๆ
 

อวิโรธนะ ความโปร่งใส วิโรธนะ การทำงาน อย่าให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย นั่นคือการทำงานอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา 

 

 ฝึกตนเป็นคนมีภาวะผู้นำ

 เพียรกำจัด (ลด ละ เลิก) สิ่งที่ไม่ดี ข้อบกพร่องหรืออกุศล ให้หมดไป                       

เพียรรักษา (รักษา) สิ่งที่ดี คุณภาพดีๆ มาตรฐานงานดีๆ วินัย หรือกฎข้อบังคับ ความรู้ ภูมิปัญญา ของตน ขององค์กร ให้คงอยู่ ยั่งยืนนาน                                                                    เพียรระวัง (ป้องกัน) มิให้สิ่งที่ไม่ดี เข้าครอบงำ มีข้อบกพร่อง ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยเน้นที่การดับที่เหตุรากเหง้า  

เพียรเจริญ (พัฒนาปรับปรุง) สิ่งที่ดีๆ สิ่งที่ทำอยู่ให้เจริญขึ้น หรือดีขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายขั้นสูง

 

 จริยธรรมต่อพนักงาน/ทีมงาน 1.พึงให้ค่าจ้าง ค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถให้รางวัลเมื่อมีกำไรมากขึ้น 2.พึงเอาใจใส่สวัสดิการ จัดหาเครื่องป้องกันอันตราย อันเกิดจากการทำงาน 3.พึงพัฒนาให้ความรู้เพื่อเพิ่มความชำนาญ 4.พึงยุติธรรมต่อพนักงานทุกคน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง 5.พึงศึกษานิสัยใจคอของพนักงานแต่ละคน 6.พึงเคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน 7.พึงเชื่อถือไว้วางใจในงานที่มอบหมาย 8.พึงให้คำแนะนำปรึกษาช่วยเหลือ 9.พึงสนับสนุนให้พนักงานประพฤติตนดี ห้ามปรามถ้าพบว่าพนักงานทำไม่ดี  

จริยธรรมต่อลูกค้า 1.พึงขายสินค้าบริการในราคายุติธรรม 2.พึงขายสินค้าบริการที่มีคุณภาพตามที่แจ้งแก่ลูกค้า ในราคาที่ตกลงกัน 3.พึงดูแลลูกค้าทุกคนเท่าเทียมกัน ใส่ใจในข้อร้องเรียนของลูกค้า 4.พึงงดเว้นการสร้างเงื่อนไขให้ลูกค้าต้องทำตามเงื่อนไขเพื่อต่อรอง 5.พึงปฏิบัติต่อลูกค้าด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี  

จริยธรรมต่อเพื่อนร่วมงาน 1.พึงมีความจริงใจ 2.พึงหลีกเลี่ยงการนินทาเพื่อน 3.อย่าซัดทอดความผิดให้เพื่อน 4.พึงยกย่องชมเชยเพื่อนในสิ่งที่สมควร 5.พึงให้ความร่วมมือในกิจการของเพื่อนด้วยความเต็มใจ 6.พึงรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน 7.พึงหลีกเลี่ยงการทำตัวเหนือเพื่อน  

จริยธรรมต่อคู่แข่งขัน 1.พึงละเว้นการกลั่นแกล้ง ให้ร้ายป้ายสี การขายตัดราคา การแย่งลูกค้าและข้อมูลของคู่แข่งมาโดยมิชอบ 

2.พึงให้ความร่วมมือในการแข่งขัน เพื่อสร้างสภาวะการตลาดที่ดี และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้เกิด ประโยชน์สูงสุดร่วมกันป้องกันดูและทรัพย์สิ

 

 

สรุป การจะสามารถเป็นภาวะผู้นำที่ดีได้ ต้องมีจริยธรรมด้วย 

 

นายเอกราช ดลยสกุล  ID: 106142015

ผมนายวิวัฒน์ นาเวียง ID:106342001 MBA 7 ม.นานาชาติ แสตมฟอร์ด หัวหิน
วิวัฒน์ นาเวียง เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 15:53 (185570)

 

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อ.ยม และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน

ผมนายวิวัฒน์ นาเวียง ID:106342001 MBA 7 ม.นานาชาติ แสตมฟอร์ด หัวหิน หลังจากที่ได้เรียนในวันที่ 2-3 มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา อ.ยม ได้บรรยาย และได้ทำกิจกรรมร่วมกันดังนี้

1.ภาวะผู้นำมีประโยชน์อย่างไร

    • ทำให้มีบุคลิกภาพ ท่าทางที่ดี
    • ทำให้มีความรับผิดชอบ
    • สามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ
    • สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับทีมงาน
    • นำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญและยั่งยืน
    • สร้างจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมและรักประเทศชาติ

2.แนวทางการพัฒนาผู้นำ

-แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบญี่ปุ่น

1. ฝึกคนมีวินัยเช่นตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท

2. มีมารยาททางสังคม ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของชาวญี่ปุ่น

3. ฝึกเป็นคนขยัน อดทนเป็น

4. Enterprise Spirit กล้าริเริ่มส่งใหม่ๆ

5. Team Work คนญี่ปุ่นยึดฉันทามติ จงรักภัคดีต่อองค์กร ทำงานแบบอุทิศ ทุ่มเท

6. มีนิสัยรักการอ่าน

7. รักความสะอาด ความบริสุทธิ์

8. มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง

9. รักในศักดิ์ศรี ชาตินิยม

10. พัฒนาตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง และกระตือลือล้น

-แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ ตามทศพิศราชธรรม

    1. ทานัง คือ การให้ ซึ่งได้แก่ อามิสทาน(การให้สิ่งของ) ธรรมทาน(การให้ความรุ้) และ อภัยทาน ให้ปัญญา
    2. ศีล คือการมีความประพฤติดีงาม สำรวมกาย วาจาใจ ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดี ให้เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน
    3. บริจาคะ (การบริจาค) การเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
    4. อาชชวะ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน ซื่อตรงต่อคำพูด ซื่อตรงต่อวิชาชีพ
    5. มัททวะ ได้แก่ ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี ซึ่งถ้าเป็นยุคนี้ต้องเรียกว่ามีความใจกว้างในการรับฟัง ไม่ดื้อ ไม่รั้น ไม่บ้า หรือมัวเมาในอำนาจ
    6. ตปะ ได้แก่ ความเพียรเพื่อกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว พยายามลดกิเลสของตน ซึ่งเป็นธรรมดาของคนที่มีอำนาจ ที่จะมีโอกาสจะเห็นผลประโยชน์รูปแบบต่างๆวิ่งผ่านหน้า ตปะ จะเป็นสิ่งที่เหนี่ยวรั้ง ไม่ให้คนดี เสียคน
    7. อักโกธะ คือการไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท หรือจงเกลียดจงชังคนใดคนหนึ่งหรือ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นักปกครองคนใด ครองธรรมมะข้อนี้ไม่ได้ ก้อาจจะนำไปสุ่การสร้างความอยุติธรรมในการตัดสินใจ
    8. อวิหิงสา คือการไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน, ลูกน้องของตน ,หน่วยงาน และครอบครัวตนเอง เพราะการเบียดเบียนนำไปสุ่การเอาเปรียบ การเอาเปรียบบ่อยๆ ก็ทำให้เสียนิสัยและนำไปสุ่ พฤติกรรมคอร์รัปชั่น
    9. ขันติ ได้แก่ การมีความอดทนอดกลั้นความโลภ ต่อแรงกดดันต่างๆ
    10. อวิโรธนะ ความโปร่งใส วิโรธนะ การทำงาน อย่าให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัย นั่นคือการทำงานอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา

      สัปปุริสธรรม 7
      1. ธัมมัญญุตา (รู้จักเหตุ) , 2. อัตถัญญุตา (รู้จักผล) 3.อัตตัญญุตา (รู้จักตน) 4. มัตตัญญุตา (รู้จักประมาณ), 5. กาลัญญุตา (รู้จักกาล), 6. ปริสัญญุตา (รู้จักชุมชน), 7.ปุคคลัญญุตา (เข้าใจความแตกต่างบุคคล)

ราชสังคหะ ๔
๑.สัสสเมธะ ฉลาดบำรุงธัญญาหาร
๒.ปุริสเมธะ ฉลาดบำรุงข้าราชการ
๓.สัมมาปาสะ ผูกประสานปวงประชา
๔.วาชไปยะ มีวาทะดูดดื่มใจ

กำจัด รักษา พัฒนา ป้องกัน

    1. เพียรกำจัด (ลด ละ เลิก) สิ่งที่ไม่ดี ข้อบกพร่องหรืออกุศล ให้หมดไป
    2. เพียรรักษา (รักษา) สิ่งที่ดี คุณภาพดีๆ มาตรฐานงานดีๆ วินัย หรือกฎข้อบังคับ ความรู้ ภูมิปัญญา ของตน ขององค์กร ให้คงอยู่ ยั่งยืนนาน
    3. เพียรระวัง (ป้องกัน) มิให้สิ่งที่ไม่ดี เข้าครอบงำ มีข้อบกพร่อง ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยเน้นที่การดับที่เหตุรากเหง้า
    4. เพียรเจริญ (พัฒนาปรับปรุง) สิ่งที่ดีๆ สิ่งที่ทำอยู่ให้เจริญขึ้น หรือดีขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายขั้นสูง

Yom, 2005, 6 ท. สำหรับฝึกภาวะผู้นำ

    • ท.ที่ 1 ท่าที มีท่าทีที่ดี
    • ท.ที่ 2 ท้าทาย ทำงานที่ยากกว่า คิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่
    • ท.ที่ 3 ทน ต้องอดทน
    • ท.ที่ 4 เที่ยงธรรม
    • ท.ที่ 5 ทำ
    • ท.ที่ 6 ทบทวน หมั่นทบทวน

4 E’s Leadership

    1. Energy ฝึกตนให้เป็นคนมีพลังเหนือชั้น ฝึกจิตใต้สำนึก
    2. Energize ฝึกตนให้เป็นคนที่สามารถกระตุ้นให้ทุกคนมีศักยภาพ ทำงานในทิศทางเดียวกันและมีพลัง(ทฤษฎีกางร่ม)
    3. Edge ฝึกตนให้กล้าตัดสินใจ ให้ถูกจังหวะ
    4. Execution ฝึกตนให้เป็นผู้ที่ต้องทำให้เสร็จและสำเร็จวัดผลได้

6 C’s Leadership

    1. Conversations ติดต่อ ปราศรัย สร้างสัมพันธ์ดี
    2. Communicating ฝึกสื่อสาร สื่อสารให้เป็น
    3. Culture มีวัฒนธรรม เข้าได้ทุกระดับ
    4. Creating change สร้าง/บริหารการเปลี่ยนแปลง
    5. Creating team สร้าง/บริหารที
    6. Charisma เก่ง กล้า สามารถ

 

 

4 K’s Leadership

1.Knowing your competitors รู้คู่แข่ง คู่แข่งทางการค้า2.Knowing your customer รู้ลูกค้า ลูกค้าในอนาคตและปัจจุบัน และมีการวางแผน

3.Knowing your people รู้ทีมงาน ทีมงานในอนาคตเป็นอย่างไรจุดอ่อนจุดแข็ง

4.Knowing your yourself รู้ตัวเอง รู้จักตัวเอง เช่นการศึกษา วางแผนการพัฒนาตนเอง

6 L’s leadership

1.Learning to love youeself รักตัวเอง ใส่ใจ ออกกำลังกาย สนใจเรื่องอนาคต

2.Learning to love business รักธุระกิจ ทำอย่างไรให้ลูกน้องรักธุรกิจ

3.Learning to love team รักทีม ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม4.Learning to love customer รักลูกค้า

5.Learning to love suppliers รักผู้ที่เกี่ยวข้อง ดูแลทุกคน6.Learning to relax โดยการหาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา

5 M’s leadership

1.Mission วิสัยทัศน์ ภาระกิจที่ชัดเจน

2.Meeting-learn-chair-develop ประชุมเรียนรู้แชร์ และพัฒนา

3.Measurement การวัดความพึงพอใจของลูกค้า พนักงาน4.Memory จำได้ว่าข้อมูลที่แล้วมาเป็นอย่างไร โดยอาจจะมีตัวชี้วัด เช่นการบันทึก5.Mastering time เวลา

4 S’s Leadership

1.Strategy เขียนกลยุทธ์เป็น

2.Setting goals ต้องตั้งเป้าหมายเป็น

3.Sleep well หาทางที่มันดี

4.Selecting the right people เลือกคนที่ถูกต้อง

5 T’s Leadership1.Taking responsibility รู้จักมีความรับผิดชอบเอาใจใส่2.teachimg responsibility ต้องสอนถึงโทษและดี3.Take care of HR,Employee การดูแลพนักงานและทรัพยากรมนุษย์4.Take care of customer satisfaction ทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น5.Take care of Organization การดูแลองค์กรก็จะดีขึ้นผลประมาณการก็จะดีตามขึ้นไป

สาเหตุของความล้มสลายขององค์กร ได้แก่
    1. การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
    2. สมาชิกในองค์กรสำคัญตนผิด
    3. ไม่ไยดีในนวัตกรรมใหม่ ๆ
    4. ขาดการวางแผนระยะยาว
    5. การไม่ให้ความสำคัญทรัพยากรมนุษย์ (การสูญเสียคนที่มีคุณค่า ยิ่งกว่าเสียเงินมากมาย)

      กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง มี 2 กลยุทธ์ คือ (2 Strategies for Changes)

      1. Top Down (Programmatic)“Teaching & Application of Existing Knowledge" เบื้องบนสั่งลงมา คนเกี่ยวข้องไม่กี่คน ข้อดี รวดเร็ว ประหยัด แต่พนักงานระดับล่างไม่มีส่วนร่วม มีการต่อต้าน
      2. Bottom-Up (Learning)“Stepwise Creation of Meaning & Understanding" พนักงานระดับล่างต้องมีส่วนร่วม ทำให้รู้สึกเป็นเจ้าของ ความสำเร็จระยะยาว แต่ต้องใช้เวลามากในการทำความเข้าใจ LEADERSHIP FOR CHANGE (ความเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง)จริยธรรม =จริยะ + ธรรมะ = (คำกริยา) ความประพฤติ กริยาที่ควรปฏิบัติ

จริยธรรม มีประโยชน์อย่างไร?

จริยธรรมเป็นกฏเกณฑ์ที่สังคมสร้างขึ้นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทำให้เกิดจิตสำนึกในหน้าที่ความรับผิดของตนเอง เป็นการกระทำหรือพฤติกรรมที่ถูกต้องและดีงามในสังคมนั้นๆ

จริยธรรมทำให้เกิด

  • Quality worker : คนมีคุณภาพ
  • Quality Organization : องค์การมีคุณภาพ
  • Quality Product : สินค้า บริการ มีคุณภาพEmployee
  • Employee Retention เก็บรักษาบุคลากรไว้ได้
  • Customer Satisfaction : สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้
  • Orientation Trust : สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์การ
  • Market Orientation : ทำตลาดได้
  • Profitability : สร้างผลกำไรได้
  • Team Building : สร้างทีมงาน
  • Organization result: ผลประกอบการดีขึ้น

 

 

 

 

จริยธรรมของผู้นำในความเห็นของผมดังนี้

  1. เป็นผู้เห็นการไกล
  2. คล่องเเคล่วว่องไว ในความคิด ทันเหตุการณ์
  3. ส่งเสริมสนับสนุนคนดีและความสามัคคี
  4. ดำเนินตามทางสายกลาง ไม่ลำเอียง (อคติ4)รู้จักพอประมาณ
  5. รู้จักฟัง หยั่งเสียง รู้ถึงความต้องการ
  6. ชอบความสะอาด ไม่กินของสกปก
  7. รู้จักทำหน้าที่ ที่เหมาะสม
  8. มีความละอายในการทำผิด(หิริโอตัปปะ)
  9. ไม่ปล่อยปะละเลยหน้าที่ ให้การทำงาน ควรทำให้แล้วเสร็จ
  10. รู้จักที่ต่ำที่สูง

สรุป ผู้นำที่สมบูรณ์แบบคือผู้นำทีเปี่ยมด้วยความรู้ ความสามารถและมีคุณธรรมจริยธรรม ผู้นำที่ได้รับการยอมรับนับถือ มีอำนาจบารมีได้ เพราะความมีคุณธรรมจริยธรรม เป็นที่เลื่องลือทำให้การดำเนินงานขององค์กรได้รับการยอมรับ เชื่อถือ เพราะผู้นำมีคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ ใช้หลักความมี
จริยธรรมตามหลักธรรมาภิบาล หรือหลักบรรษัทภิบาลในการบริหารงานถือเป็นคุณธรรมอันสำคัญอย่างยิ่งของผู้นำ

นางสาวสุพรรษา อาลี MBA7 ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด
นางสาวสุพรรษา อาลี ID 106242002 MBA 7 เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 23:50 (185009)

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   .ยม นาคสุข ที่เคารพ  และเพื่อนๆนักศึกษา MBA ทุกท่าน

     จากการที่ได้เรียนวิชาภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงในสัปดาห์ที่2 (วันที่2-3มีนาคม) ทำให้ได้รู้เกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำ  จริยธรรมของการเป็นผู้นำ และกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงองค์การสำหรับผู้นำ  ซึ่งสามารถสรุปเนื้อหาได้ดังนี้

     ในทุกองค์การนั้นจะต้องมีผู้นำเป็นผู้บริหารงานและคอยขับเคลื่อนให้พนักงานทำงานได้บรรลุเป้าหมายขององค์การ  ทำให้ผู้นำอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาที่มีมากมายอยู่เป็นประจำ  ดังนั้นผู้นำจึงต้องมีการพัฒนาตนให้มีภาวะผู้นำมากยิ่งขึ้น ด้วยวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำดังต่อไปนี้

เทคนิค 10 ประการ ในการฝึกตนให้เป็นผู้นำที่เข้มแข็ง (แบบชาติญี่ปุ่น)

1.    ฝึกเป็นคนมีระเบียบวินัย เช่น การตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท2.    มีมารยาททางสังคม3.    ต้องขยัน และ มีความอดทน4.    กล้าที่จะริเริ่มสิ่งใหม่ๆ5.    มีความจงรักภักดีต่อองค์กร  ทำงานให้องค์กรแบบอุทิศและทุ่มเท6.    มีนิสัยรักการอ่าน7.    รักความสะอาด8.    มีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง9.    รักในศักดิ์ศรี และ ชาตินิยม

10.พัฒนาอยู่ตลอดเวลา  ไม่หยุดนิ่ง และมีความกระตือรือร้น

การพัฒนาผู้นำตามหลักทศพิศราชธรรม

1.    การให้ ได้แก่ ให้สิ่งของ  ให้ความรู้  ให้ทาน2.    ศีล  คือ  การมีความประพฤติที่ดีงาม ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี3.    การบริจาค คือ การสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม4.    การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต คือ มีความจริงใจ5.    ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี คือ ต้องใจกว้างและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น6.    การบำเพ็ญความเพียร เพื่อจำกัดความเกียจคร้าน 7.    การไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท 8.    การไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้องของตน และหน่วยงาน9.    การมีความอดทนอดกลั้น ความโลภ และแรงกดดันต่างๆ

10. ความโปร่งใส ในการทำงาน และมีความตรงไปตรงมา

                การที่จะเป็นผู้นำที่ดีและมีคุณค่าได้นั้นผู้นำทุกคนจะต้องมีจริยธรรมของการเป็นผู้นำ เพราะการมีจริยธรรมนั้นจะเป็นประโยชน์มากที่จะช่วยทำให้คนในองค์การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข  

 

จริยธรรม  หมายถึง  พฤติกรรมที่ควรทำ        ในการกำหนดจริยธรรมนั้น ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วม ได้แก่ -         พนักงาน-         หัวหน้างาน-         ผู้บริหาร-         หน่วยงาน-         องค์การ

 

ผู้นำควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้1.    จริยธรรมของผู้นำ ต่อสังคม-         ไม่ประกอบธุรกิจที่นำความเดือดร้อนมาสู่สังคม-         คอยดูแลกิจการของตนไม่ให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม-         พึงเคารพในสิทธิทางปัญญาของผู้อื่น-         พึงให้ความร่วมมือกับชุมนุมและสังคม2.    จริยธรรมของผู้นำ ที่มีต่อพนักงานและทีมงาน-         ให้ค่าจ้าง ค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ-         เอาใจใส่ในสวัสดิการ-         พัฒนาให้ความรู้เพื่อเพิ่มความชำนาญ-         มีความยุติธรรมต่อพนักงานทุกคน-         ควรศึกษานิสัยใจคอของพนักงาน-         เคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน-         ให้คำแนะนำและคำปรึกษาเมื่อลูกน้องมีปัญหา3.    จริยธรรมของผู้นำ ที่พึงมีต่อลูกค้า-         ขายสินค้าและบริการในราคายุติธรรม-         ขายสินค้าและบริการที่มีคุณภาพตามที่แจ้งลูกค้าไว้-         ดูแลและใส่ใจลูกค้าสม่ำเสมอ-         มีอัธยาศัยดีกับลูกค้า4.     จริยธรรมของผู้นำ ที่พึงมีต่อเพื่อน ร่วมงาน-         มีความจริงใจ-         ให้ความร่วมมือ-         รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน-         ไม่นินทาเพื่อนร่วมงาน

    -   ไม่ทำตัวเหนือกว่าผู้อื่น

 

เมื่อองค์การได้ดำเนินกิจการได้ระยะหนึ่งแล้ว ผู้นำควรที่จะมีการเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อให้องค์การมีการพัฒนาเพราะจะทำให้องค์การมีผลกำไรมากขึ้น แต่ในการที่จะเปลี่ยนแปลงองค์การนั้น อาจจะได้รับการต่อต้านจากพนักงาน ดังนั้นผู้นำควรใช้ความสามารถและการมีภาวะผู้นำมาแก้ไขปัญหาเหล่านั้นที่จะเกิดขึ้น

 

ขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงองค์กร1.    มีการชี้แจงล่วงหน้าเพื่อให้พนักงานมีการตื่นตัว และต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้คนในองค์การทราบ โดยมีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ2.    มีการจัดตั้งทีมเจ้าภาพที่จะทำการเปลี่ยนแปลงองค์การขึ้นมา3.    ให้ทีมเจ้าภาพกำหนดวิสัยทัศน์4.    ทีมเจ้าภาพที่จะทำการเปลี่ยนแปลง ต้องเข้าใจในกลยุทธ์และสามารถโน้มน้าวใจได้5.    ให้ทุกส่วนในองค์การมีส่วนร่วมและร่วมมือในการที่จะเปลี่ยนแปลง พัฒนา และสร้าง Innovation ใหม่ๆ6.    รวบรวมข้อมูลมาสรุปและประเมินผลออกมาดูว่าเป็นอย่างไร7.    นำผลสำเร็จที่ประเมินออกมาได้มาสร้างชัยชนะในระยะสั้น8.    มีการกำหนดแนวปฏิบัติใหม่ ให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ให้เป็นวัฒนธรรมขององค์การ

9.    ทำการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้า พนักงาน ทีมงาน และผลประกอบการขององค์การ

 

กลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อการพัฒนา มี 2 แนวทาง ดังนี้

1.    Top Down (Programmatic)ลักษณะ : เป็นกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงที่สั่งลงมาจากด้านบนของแผนภูมิองค์การ กลยุทธ์นี้จะมีผู้เกี่ยวข้องอยู่ไม่กี่คน เนื่องจากมีทรัพยากร และ งบประมาณจำกัด และใช้ได้ในระยะสั้น

ข้อดี      :  รวดเร็ว  ประหยัด  ไม่เสียเวลามาก

ข้อเสีย   : มีผู้เกี่ยวข้องอยู่ไม่กี่คน ทำให้เกิดกระแสการต่อต้านมาก

2.    Bottom - Up (Learning)ลักษณะ : เป็นกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงที่ให้ระดับล่างมีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิดสู่เบื้องบน กลยุทธ์นี้จะมีผู้เกี่ยวข้องอยู่มาก

ข้อดี      :  คนระดับล่างมีส่วนร่วม ทำให้คนเหล่านั้นรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ ทำให้ลดการต่อต้าน และจะทำให้เกิดความสำเร็จในระยะยาว

ข้อเสีย       : เสียเวลามาก

 

    ในการที่จะเป็นผู้นำที่ดีและมีคุณค่านั้น ผู้นำต้องพัฒนาตนให้มีภาวะผู้นำมากยิ่งขึ้น โดยอาจจะใช้หลักการฝึกตนให้เป็นผู้นำของประเทศญี่ปุ่น หรืออาจใช้หลักทศพิศราชธรรมของไทย หรือหลักอื่นๆก็ได้

    ผู้นำต้องมีการเปลี่ยนแปลงโดยการพัฒนาองค์การให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยใช้ความรู้ ใช้เหตุผล และการมีคุณธรรม ถึงจะทำให้องค์การมีความสุขสำเร็จและมีความยั่งยืน

    และที่สำคัญที่สุดที่ผู้นำทุกคนจะต้องมีนั้นก็คือ จริยธรรม เพราะถึงแม้ว่าผู้นำคนนั้นจะเก่งและมีความสามารถเพียงใด แต่ถ้าไม่ยึดหลักจริยธรรมในการบริหารแล้วก็ไม่สามารถเป็นผู้นำที่ดีได้

 

นางสาวสุพรรษา  อาลี

ID  106242002   MBA 7

. นานาชาติแสตมฟอร์ด หัวหิน

สุกัญญา เพ็ญสุข MBA ม.นานาชาแสตมฟอร์ด (หัวหิน)

จาก สุกัญญา เพ็ญสุข เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 23:33 (185993)

 

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ / อ.ยม  นาคสุข / เพื่อน ๆ / และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

                ต้องยอมรับค่ะว่าในการเรียนวิชาภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กรสัปดาห์ที่ 2 นี้  ดิฉันเสียเปรียบเพื่อน ๆ ท่านอื่นเป็นอย่างยิ่ง  เพราะได้เรียนใน class วันศุกร์เท่านั้น  เนื่องจากป่วย  แต่ดิฉันก็จะพยายามศึกษาจากเอกสารที่ทางมหาวิทยาลัยแจกให้และจากเพื่อน ๆ ค่ะ

                 ในสัปดาห์นี้ที่ได้มาเป็นเนื้อ ๆ ก็คือ การเป็นผู้นำแบบญี่ปุ่น  ดิฉันประทับใจการเป็นผู้นำแบบญี่ปุ่นตรงที่คนญี่ปุ่น-          รักษาเวลา-          เคร่งครัดในกฎระเบียบ-          มีความเป็นชาตินิยมสูง-          มีความเป็นทีม

-          และชอบคิดค้นวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ

 

สุกัญญา  เพ็ญสุข

MBA ม.นานาชาแสตมฟอร์ด (หัวหิน)
นายเตชสิทธิ์ หอมฟุ้ง MBA ม.นานาชาแสตมฟอร์ด (หัวหิน)
เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ อ.ยม นาคสุข และสวัสดีเพื่อนนักศึกษาMBA ทุกท่าน!!!      
      
นายเตชสิทธิ์ หอมฟุ้ง เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 23:50 (186007)
หลังจากที่ได้ศึกษาวิชาภาวะผู้นำเมื่อวันที่ 23-24 ก.พ. 50 นั้น จะได้ความรู้และความเข้าใจดังนี้ 
ภาวะผู้นำ (Leadership)       หากพูดถึง"ผู้นำ" เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีส่วนช่วย ให้องค์การประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลว และสามารถแข่งขันกับองค์การอื่นได้หรือไม่ ่ในโลกปัจจุบันที่ภาวะการแข่งขันนั้นสูงหากเราเปรียบองค์การเหมือนกับเรือลำหนึ่งการที่เรือจะแล่นสู่ฝั่งได้อย่างปลอดภัยหรือไม่นั้น มีองค์ประกอบหลายประการทั้ง ความสามารถของลูกเรือสภาพทะเลฯลฯแต่องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดคือกัปตันหรือผู้นำในเรือลำนั้นหากกัปตันไม่มีความรู้ ความสามารถที่เพียงพอ โอกาสที่เรือจะเข้าสู่ฝั่งได้อย่าง ปลอดภัยก็จะมีน้อยแต่หากกัปตันมีความรู้ความสามารถมีประสบการณ์ความชำนาญที่ดีแล้วโอกาสที่เรือจะเข้าสู่ฝั่งได้อย่างปลอดภัยก็จะมีสูง เช่นเดียวกับองค์การหากมีผู้นำหรือ ผู้บริหารที่มี ีความรู้ สามารถ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ฯลฯ องค์การก็สามารถที่จะแข่งขันกับผู้อื่นได้ และประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้      
ในอดีตลักษณะผู้นำที่ดีและเข้มแข็งนั้น จะมองเพียงในด้านกายภาพ บุคลิกภาพ ความรู้ความสามารถ ความมั่งคั่ง และบารมี เท่านั้น แต่สำหรับในปัจจุบันที่เกิดการ เปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา ผู้นำที่ดีและเข้มแข็งยังต้องมีวิสัยทัศน์ท ี่กว้าง ไกล มีการติดต่อสื่อสารในองค์การที่ดี ฯลฯ เพื่อที่จะนำองค์การไปสู่ความสำเร็จตาม ที่เป้า หมายได้ตั้งไว้ ขณะเดียวกันก็ต้องทำให้สมาชิกในองค์การเกิดความพึงพอใจ ในงานที่เขา ทำด้วย
ลักษณะของผู้นำได้มีผู้ศึกษาถึงลักษณะผู้นำไปในหลายแนวทาง ทั้งในด้านคุณลักษณะ บทบาท หน้าที่ ฯลฯ แต่ในความเป็นจริงนั้นเราสามารถที่จะแบ่งผู้นำออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1.ผู้นำแบบเป็นทางการ (Formal Leaders) หมายถึง ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน เพราะว่าผู้บังคับบัญชานั้นคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้า
หรือให้มีอำนาจ หน้าที่ในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎระเบียบขององค์การ
2. ผู้นำแบบไม่เป็นทางการ (Informal Leaders) คือผู้นำที่ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชา เพราะไม่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าในองค์การ แต่สมาชิกในหน่วยให้การยอมรับ และยกย่องให้เป็นผู้นำ เพราะเขามีคุณสมบัติบางประการที่หน่วยงานหรือสมาชิกในองค์การ ต้องการ ให้การยอมรับ หรือให้ความไว้วางใจ เช่น ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ มนุษย์สัมพันธ์ เป็นต้นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของผู้นำไม่ว่าจะเป็นแบบทางการ หรือ ไม่เป็นทางการ ก็คือ จะต้องมีลูกน้อง มีเงื่อนไขในการปกครองต่างๆเช่นกฏระเบียบ ข้อบังคับ การให้คุณ ให้โทษ ฯลฯ นอกจากนี้ผู้นำยังมีเรื่องของ วิสัยทัศน์ ความซื่อสัตย์ การจัดความสำคัญก่อนหลัง ความสามารถในการสร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลงทางบวก ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการสื่อสารที่ดี และมีวินัย
ความเปลี่ยนแปลงของภาวะผู้นำ  ในสภาวะที่มีการแข่งขันสูง ภาวะผู้นำถือเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยผลักดัน ให้องค์การประสบความสำเร็จ ดังนั้นภาวะผู้นำจึงต้องได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง จากเดิมที่ผู้นำมีหน้าที่ในการวางแผนและบริหารเพื่อให้องค์การประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้เท่านั้น
 แต่สำหรับในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร สภาพ แวดล้อม (Environment)มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ดังนั้น นอกจากความสามารถ ในการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ผู้นำยังต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล โดยอาศัย เทคโนโลย ีทางด้านข้อมูลข่าวสารต่างๆเป็นเครื่องมือในการที่จะรวบรวมข้อมูลต่างๆทั้งด้าน ความเคลื่อนไหวของคู่แข่งขัน ความต้องการของลูกค้า ปัญหาอื่นๆที่มีผลต่อธุรกิจหรือ องค์การ ฯลฯ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนและดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิผลที่เรียกว่า "Integrated leadership" กล่าวคือ เป็นการใช้ข้อมูลข่าวสารต่างๆที่ได้รับจากทั้งในองค์การ และนอกองค์การเพื่อใช้ในการวางแผนและดำเนินการภายใต้กรอบทางด้านคุณภาพและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก โดยเน้นไปที่กระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษา ความได้เปรียบและ รักษาความเป็นผู้นำในตลาดไว้ โดยพิจารณาจากสิ่งสำคัญ 2 ประการคือ
1.ภาวะผู้นำ ที่จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจ ทีมงานในองค์การ การสื่อสารในองค์การให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการสร้างภาวะผู้นำ นั้นต้องอาศัย ความตั้งใจ ความพยายาม รวมถึงประสบการณ์ของตัวผู้นำเอง
2.การใช้ระบบการรวบรวมข้อมูลสำคัญๆต่างๆทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ , ข้อมูลข่าวสารความรู้ต่างๆ ที่เรียกว่า Control panel เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนา องค์การอย่าง ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วนี้ ทำให้เกิดปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อองค์การ อย่างมากมายทั้งในด้านเทคโนโลยีที่สูงขึ้น ระยะเวลาในการผลิตสินค้าที่สั้นลง ความรู้และ ความต้องการของลูกค้าเพิ่มมากขึ้น
การที่โลกเข้าสู่ยุคGlobalization ทำให้การติดต่อสื่อสาร เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และเข้าถึงคนได้ทั่วโลกเช่น Internet และอื่นๆอีกมาก ทำให้บทบาท ของผู้นำในอดีต หรือบุคคลเพียงคนเดียวไม่สามารถรับผิดชอบได้ ในยุคนี้จึงเน้น การพัฒนา ภาวะ ผู้นำควบคู่ไปกับการทำงานเป็นทีมเป็นสำคัญ และในขณะเดียวกัน การติดต่อสื่อสารภาย ในองค์การก็ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะการที่จะสื่อสารในเรื่องของภารกิจ วิสัยทัศน์ และค่านิยมต่างๆขององค์การไปสู่พนักงานที่อยู่ในองค์การ เนื่องจากหากพนักงาน เหล่านั้น มีความเข้าใจและมีความรู้ไปในทิศทางเดียวกันประสิทธิภาพขององค์การก็จะเพิ่มมากขึ้น
และเป็นการช่วยลดปัญหาต่างๆในองค์การได้เป็นอย่างดี และผู้นำยังต้องพยายามจูงใจ พนักงานให้ เขาเกิดความกระตือรือล้นในการทำงาน โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น ให้มีส่วนร่วมในทีม มีส่วน ร่วมในความสำเร็จที่สำคัญ มีการแบ่งผลกำไร(Profit Sharing)อย่างเป็นธรรม ให้การยอมรับ ในตัวพนักงาน เป็นต้น ซึ่งจะส่งผล ให้เกิดความเข้าใจและแนวคิดในวัตถุประสงค ์ของ องค์การในตัวพนักงานตรงกัน และนำไปสู่ความสำเร็จขององค์การในที่สุด
นอกจากนี้การ ที่ภาวะผู้นำจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องเกิดจากสภาพแวดล้อมในองค์การมีส่วนช่วยสนับสนุน ดังนั้นผู้นำที่ต้องการพัฒนาภาวะผู้นำของตนเองจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องต่อไปนี้
-ผู้นำควรจะวางตัวให้เสมอต้นเสมอปลาย ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
-ต้องสื่อสารความสำคัญของวิสัยทัศน์ให้แก่พนักงานทุกคน
-ให้ความเคารพทุกคนในองค์การอย่างเท่าเทียมกันในฐานะที่เป็นมนุษย์เหมือนกัน
-ให้ความสำคัญและเปิดกว้างต่อความคิดของผู้อื่น
-ต้องโปร่งใส
-พยายามทำให้คนในองค์การยอมรับ
-ช่วยผลักดันและแก้ไขเพื่อให้พนักงานประสบความสำเร็จในงานของเขา
-กระจายอำนาจแก่พนักงานให้เหมาะสมกับความรับผิดชอบของเขาซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้นำในองค์การและ
ในขณะเดียวกันก็เป็นการช่วยผลักดันให้องค์การพัฒนาประสิทธิภาพด้วย เนื่องจากพนักงานรวมถึงทุกคนที่อยู่ใน องค์การจะให้การยอมรับในตัวผู้นำและเต็มใจที่จะทำงานให้กับองค์การที่เขาอยู่อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ และทำให้ผู้นำได้ทราบถึงความเป็นไปภายในองค์การ ทราบถึงความคิด และปัญหาของผู้ที่อยู่ภายในองค์การ ฯลฯ เพื่อที่จะได้กำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินการ และการแก้ไขได้อย่างถูกต้องในยุคนี้นอกจากภาวะผู้นำมีความสำคัญแล้ว
Control panel ก็มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจาก Control panel เป็นที่รวมข้อมูล ความรู้ รวมทั้งเป็นเครื่องมือสำคัญต่อกลยุทธ์ และเทคนิคในการดำเนินการของธุรกิจ และเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารที่ทำให้ ทุกคนที่ปฏิบัติงานเฉพาะของตนสามารถเชื่อมโยงระหว่างกันได้ทั้งองค์การ ระบบของ Control panel อาจมีในส่วนของการวางแผน การรวมศูนย์ การใช้งานประจำวัน การทำงาน เป็นทีม ระบบข้อมูลข่าวสารฯลฯ ซึ่งการวางแผนงาน การวางแผนกลยุทธ ์ในอนาคตนั้น จะอาศัย ระบบ Control panel มากขึ้น และจะเป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่อง หรือเป็น Ongoing function คือการปรับเปลี่ยนให้ถูกต้องอยู่ตลอดเวลา โดย Control panel จะสร้าง ความเป็นหนึ่งเดียว เปรียบเสมือนสิ่งที่เป็นสื่อกลางขององค์การและเป็นที่รวบรวม และ วิเคราะห ์ข้อมูลต่างๆเพื่อการตัดสินใจขององค์การ การกระจายทรัพยากรต่างๆเป็นต้น และ
ในระบบControl panel จะมีการรับข้อมูลจากหน่วยที่เรียกว่า Sensors ในรูปแบบต่างๆ โดย Sensors เหล่านี้จะตั้งอยู่ในจุดหรือหน่วยที่สำคัญในกระบวนการ หรือในองค์การเพื่อ ให้ผู้ บริหารสามารถเรียกข้อมูลผลการดำเนินการขององค์การในแต่ละส่วนได้อย่างรวดเร็ว เพื่อใช ้ในการประมวลผล กำหนดกลยุทธ์ หรือ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ได้ทันเวลาเพื่อลดความ เสียหาย ให้น้อยที่สุด
โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน 
นายเตชสิทธิ์     หอมฟุ้ง
MBA 6มหาวิทยาลัยนานาชาติสแตมป์ฟอร์ด      
นางสาวหยาดอรุณ อาสาสำเร็จ MBA มหาวิทยาลัยนานาชาติสแตมป์ฟอร์ด
สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   .ยม นาคสุข ที่เคารพ  และเพื่อนๆนักศึกษา MBA ทุกท่าน
นางสาวหยาดอรุณ อาสาสำเร็จ เมื่อ พฤ. 08 มี.ค. 2550 @ 08:02 (186168)
อย่างไรก็ตามต้องขอโทษจริงๆค่ะที่ส่งงานล่าช้ากว่าท่านอื่นๆ 
การพัฒนาผู้นำตามหลักทศพิศราชธรรม
1.    การให้ ได้แก่ ให้สิ่งของ ให้ความรู้  ให้ทาน
2.    ศีล  คือ  การมีความประพฤติที่ดีงาม ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี
3.    การบริจาค คือ การสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
4.    การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต คือ มีความจริงใจ
5.    ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี คือ ต้องใจกว้างและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
6.    การบำเพ็ญความเพียร เพื่อจำกัดความเกียจคร้าน
7.    การไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท
8.    การไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้องของตน และ        หน่วยงาน 
9.    การมีความอดทนอดกลั้น ความโลภ และแรงกดดันต่างๆ
10.    ความโปร่งใส ในการทำงาน และมีความตรงไปตรงมา  
จริยธรรม  หมายถึง  พฤติกรรมที่ควรทำ ซึ่งทุกๆคนในองค์กรได้แก่         พนักงาน        หัวหน้างาน         ผู้บริหาร         
ผู้นำควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้ 
จริยธรรมต่อองค์กรØ     รับฟังความคิดเห็นของพนักงานในองค์กร Ø     มีความจริงใจต่อเพื่อนร่วมงาน Ø     มีความเสมอภาคกับพนักงานทุกระดับ Ø     ให้โอกาสและให้อภัยแก่ผู้ร่วมงานในองค์กร Ø     มีความเคารพต่อกฎระเบียบในองค์กร Ø     ให้ความเคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน 
จริยธรรมต่อทีมงานØ     มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน Ø     มีความยุติธรรม Ø     ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน ด้วยความจริงใจ Ø     ให้ความเป็นกันเอง Ø     มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ Ø     ให้เกียรติและยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน Ø     ให้คำปรึกษาและช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 
จริยธรรมต่อสังคม  Ø     มีคุณธรรม Ø     มีความสามัคคี Ø     ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น Ø     ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดีในสังคม Ø     ช่วยเหลือสังคม เมื่อมีโอกาส Ø     มุ่งประโยชน์ถือส่วนรวม Ø     มีความเมตตากรุณา Ø     ให้ความร่วมมือกับชุมชนและสังคม Ø     ดูแลองค์กรไม่ให้สร้างความเดือดร้อนกับสังคม 
จริยธรรมต่อคู่แข่งขัน Ø     พึงละเว้นการกลั่นแกล้ง ให้ร้ายป้ายสี การขายตัดราคา การแย่งลูกค้าและข้อมูลของคู่แข่งมาโดยมิชอบØ     พึงให้ความร่วมมือในการแข่งขัน เพื่อสร้างสภาวะการตลาดที่ดี และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้เกิด ประโยชน์สูงสุดร่วมกันป้องกันดูและทรัพย์สินต่างๆ   
การฝึกตนเป็นคนที่มีภาวะผู้นำต้องรู้จัก
1.ลด ละ เลิกสิ่งของและเรื่องที่ไม่ดี ที่เป็นอกุศลหรืออบายมุขทั้งหมด
2. ต้องหมั่นรักษาความดี หรือกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ  รวมถึงความรู้ ภูมิปัญญา ให้คงอยู่
3. ต้องรู้จักป้องกัน ไม่ให้สิ่งที่ไม่ดีเข้าครอบงำ หากมีข้อบกพร่อง ก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยเน้นที่การดับที่เหตุ
4.ต้องรู้จักพัฒนาปรับปรุงสิ่งที่ดีๆ ที่ทำให้เจริญขึ้น หรือดีขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายขั้นสูง    
กลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อการพัฒนา มี 2 แนวทาง ดังนี้
1.    Top Down (Programmatic) เป็นกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงที่สั่งลงมาจากด้านบนของแผนภูมิองค์การ กลยุทธ์นี้จะมีผู้เกี่ยวข้องอยู่ไม่กี่คน เนื่องจากมีทรัพยากร และ งบประมาณจำกัด และใช้ได้ในระยะสั้น
2.    Bottom-Up (Learning) เป็นกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงที่ให้ระดับล่างมีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิดสู่เบื้องบน กลยุทธ์นี้จะมีผู้เกี่ยวข้องอยู่มาก 
นางสาวหยาดอรุณ  อาสาสำเร็จ 
 ID 106142012 MBA#6

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ / นักศึกษา MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด หัวหิน และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

ขณะนี้ มีนักศึกษา ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแห่งการเรียนรู้ใน Blog นี้ เรียงตามลำดับ ได้ดังนี้ 

  1. นายบุญยอด มาคล้าย เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 11:36 (182028)
  2. นางจำเนียร อำภารักษ์ ID 106142002 รุ่น 6 เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 17:25 (182328)  
  3. นายนิคม อำภารักษ์ ID 106142006 รุ่น 6 เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 17:53 (182349)
  4. นายชาญชัย พานิชนันทนกุล ID:105342002 เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 00:56 (182777)
  5. พนาวัลย์ คุ้มสุด เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 02:14 (182822) ID: 106142010
  6. นายราเชนทร์ แดงโรจน์ เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 10:41 (183017)
  7. นายณัฐพง์ ชุมนุมพันธื เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 13:19 (183177)
  8. นายชูศักดิ์ ลาภส่งผล เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 18:59 (183472)
  9. เสาวนีย์ ทวีเผ่า เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 23:33 (183723)
  10. Jaruwan Yunprayong MBA 6 ID:106142009 เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 13:09 (184299)
  11. น.ส.ปภาวี นาคสุข ID 106142008 MBA 6 เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 13:14 (184311)
  12. กนกลักษณ์ เร้าเลิศฤทธิ์ เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 13:48 (184346)
  13. นริศรา ทรัพย์ชโลธร เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 23:09 (184948)
  14. จริยา ลิ้มธรรมรักษ์ เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 23:44 (184997)
  15. นางสาวสุพรรษา อาลี ID 106242002 MBA 7 เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 23:50 (185009)
  16. นายประเสริฐ ชัยยะศิริสุวรรณ MBA 7 เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 00:14 (185033)
  17. ศรีสุดา วรรณสมบูรณ์ ID 106342002 เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 01:12 (185104)
  18. นางสาวปณิธาน เชื้อชาติ ID 106142013 MBA 6 เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 12:25 (185393)
  19. นาย สราวุฒิ ฉายแสง เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 13:03 (185413)
  20. นายเอกราช ดลยสกุล MBA 6 เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 15:07 (185543)
  21. วิวัฒน์ นาเวียง เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 15:53 (185570)
  22. นายเตชสิทธิ์ หอมฟุ้ง เมื่อ พ. 07 มี.ค. 2550 @ 23:50 (186007)
  23. นางสาวหยาดอรุณ อาสาสำเร็จ เมื่อ พฤ. 08 มี.ค. 2550 @ 08:02 (186168)

 ขอชื่นชม นักศึกษาที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจเขียนแชร์ไอเดีย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมแห่งการเรียนรู้   

อย่างไรก็ตามขอชื่นชมมากเป็นพิเศษ สำหรับนักศึกษาที่ส่งเข้ามาติดอันดับ Top Ten ได้แก่

 
  1. นายบุญยอด มาคล้าย เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 11:36 (182028)
  2. นางจำเนียร อำภารักษ์ ID 106142002 รุ่น 6 เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 17:25 (182328)  
  3. นายนิคม อำภารักษ์ ID 106142006 รุ่น 6 เมื่อ อ. 04 มี.ค. 2550 @ 17:53 (182349)
  4. นายชาญชัย พานิชนันทนกุล ID:105342002 เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 00:56 (182777)
  5. พนาวัลย์ คุ้มสุด เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 02:14 (182822) ID: 106142010
  6. นายราเชนทร์ แดงโรจน์ เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 10:41 (183017)
  7. นายณัฐพง์ ชุมนุมพันธื เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 13:19 (183177)
  8. นายชูศักดิ์ ลาภส่งผล เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 18:59 (183472)
  9. เสาวนีย์ ทวีเผ่า เมื่อ จ. 05 มี.ค. 2550 @ 23:33 (183723)
  10. Jaruwan Yunprayong MBA 6 ID:106142009 เมื่อ อ. 06 มี.ค. 2550 @ 13:09 (184299)
 ผู้นำยุคใหม่ นอกจากเก่ง ดีแล้ว ต้องรวดเร็วด้วย จึงจะสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้ การเขียนแชร์ไอเดียของนักศึกษาโดยรวมมีการพัฒนาการที่ดี  ทั้งปริมาณ คุณภาพ และความรวดเร็ว  นักศึกษาที่เขียนได้ดี ดูได้จากแนวทางการเขียน ได้แก่
  1. ต้องมีครบ 3 ขั้นตอน คือ เปิดประเด็น ดำเนินเรื่อง และสรุป
  2. อย่างน้อยต้องแชร์ไอเดียตรงประเด็น ให้ครอบคลุม  สาระที่ได้มีการเรียนการสอน อยู่ในขั้นตอนดำเนินเรื่อง
  3. ที่ดีไปกว่านั้นคือสามารถกลั่นกรองความรู้บูรณาการประสบการณ์ และความรู้เดิม นำมาต่อยอดได้  ซึ่งมักจะอยู่ในขั้นตอนสรุป เสนอแนะ
  4. ต้องแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นพยายาม ไม่เขียนสั้นจน เกินไป คือแทบไม่ได้สาระอะไร ตามที่ระบุไว้ใน ข้อ 2 3 ข้างต้น

นักศึกษาที่ส่งมา ติดอันดับ Top Ten ส่วนใหญ่ทำได้ดี และถ้าศึกษาแนวการเขียนทั้ง 4 ประการที่กล่าวมาข้างต้นนี้ หลายท่านคงจะทราบว่า แนวการเขียนของท่านเป็นอย่างไร   นักศึกษาที่ทำได้ดี จะได้เปรียบกว่า เพราะเท่ากับได้ฝึกการเขียน และสามารถนำไปใช้ประยุกต์เขียนสอบในทุกวิชา ได้เป็นอย่างดี

ส่วนนักศึกษาที่ส่งมาช้าสุด หรือและเขียนมาสั้นที่สุด ขอให้ทบทวนน๊ะครับ  ท.ทบทวนดูว่าเราจะพัฒนาอย่างไรให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ในยุคโลกาภิวัฒน์ ความดี ความเก่ง ความรอบรู้ ความรวดเร็ว และคุณธรรมฯ เป็นสิ่งที่เราต้องลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ 

สัปดาห์นี้ ศุกร์และเสาร์ที่จะถึงนี้จะมีการเรียนการสอน โดยอาจารย์ใหญ่ของเรา ศ.ดร.จีระ แน่นอน ในสัปดาห์นี้ ผมอาจจะไม่ได้ไปร่วมกิจกรรมด้วย เนื่องจากติดสัมมนาในกรุงเทพฯ ในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการปริญญาเอก

การเขียนบทความแชร์ความรู้ ของพวกเรา ขอให้ย้ายไปเขียนใน Blog ของ ศ.ดร.จีระ ที่ Blog ของ MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด ซึ่ง ศ.ดร.จีระ ได้เปิด Blog เรียบร้อยแล้ว โดยเข้าไปที่http://gotoknow.org/blog/chirakm/81898 

 

ส่วนเนื้อหา เกี่ยวกับผู้นำ ใน Blog ที่ผมตั้งขึ้นรองรับความเห็นของพวกเรานี้ จะยังคงมีข้อความเกี่ยวกับผู้นำ ต่อเนื่อง ตลอดไป อย่างน้อย สัปดาห์ละครั้ง

ผมจะเขียน บทความแชร์ไอเดีย เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเกี่ยวกับผู้นำ ภาวะผู้นำ ในโครงการปริญญาโท และปริญญาเอก เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ต่อไป

ท้ายนี้อย่าลืม ว่ามีงานแปลบทความ ที่แต่ละกลุ่มจะต้องส่งมาร่วมแชร์กัน น๊ะครับ

ขอความสวัสดีจงมีแด่นักศึกษาและท่านผู้อ่าน

พนาวัลย์ คุ้มสุด เมื่อ ศ. 09 มี.ค. 2550 @ 00:26 (187346)

สวัสดีค่ะ ศ.ดร. จีระ อ. ยม เพื่อนนักศึกษา MBA รุ่น 6, 7 และผู้อ่านที่รักทุกท่าน

          ดิฉันได้เข้ามาอ่านงานของเพื่อนในBlog แล้วรู้สึกประทับใจ และอดชื่นชมกับการเรียน การสอนของท่านอาจารย์ และนักศึกษามิได้ เพราะต้องยอมรับว่าวิธีการนี้ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการเรียนรู้อย่างยิ่งจริง ๆ จากที่คิดว่าเราแค่เป็นผู้บริหาร มีเลขาไว้ทำงาน จะพิมพ์อะไรก็สั่งการไป อยากได้ข้อมูลอะไรก็สั่งการไป บางครั้งยังไม่มีเวลามาตรวจสอบ จึงทำให้งานที่ได้ ไม่ได้ดั่งใจ หรือผิดพลาดไปไม่อาจแก้ไขก็มี

          วันนี้หลังจากได้เข้ามาทำเอง พิมพ์เองตรวจเองทำให้รู้ว่าที่เราเคยคิดว่าไม่มีเวลานั้นบางครั้งมันเป็นข้ออ้างของตัวเราเองด้วยซ้ำไป ลองจัดสรรเวลาดูจริง ๆ เราเองก็สามารถทำได้แล้วทำให้เรารู้สึกภาคภูมิใจในผลการกระทำของเราแล้วทำให้มีความสุขและมีพลังขึ้นมาด้วยซ้ำไป

          สรุปข้อคิดเห็น : ดิฉันคิดว่าการเรียนการสอนของวิชาภาวะผู้นำ ตามแนวของ อ.ยม และอ.ใหญ่ ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นกับตัวดิฉัน และเชื่อว่าก็ได้เกิดขึ้นกับเพื่อน ๆ หลาย ๆ คนด้วยเช่นกัน และคงจะเป็นแนวทางที่เราสามารถนำไปใช้กับชีวิตการงานของแต่ละคนได้เป็นอย่างดีต่อไปในอนาคต

          พรุ่งนี้วันศุกร์คงได้มีโอกาสได้พบกับท่านอาจารย์ใหญ่ และคงได้รับฟังเรื่องราวของ ITV ซึ่งเป็นเรื่องที่พวกเราทุก ๆ คนตั้งตาคอยได้รับคำชี้แนะเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา วิเคราะห์เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเราต่อไปในอนาคตนะคะ

                   ด้วยความเคารพอย่างสูง

       พนาวัลย์  คุ้มสุด นศ.MBA ID 106142010

      มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด หัวหิน

นางสาวศิรดา มากมี ID 106242004 MBA 7 เมื่อ ศ. 09 มี.ค. 2550 @ 09:08 (187482)

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   .ยม นาคสุข และเพื่อนๆนักศึกษา MBA ทุกท่าน

จากการที่ได้เรียนวิชาภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงในสัปดาห์ที่2 ทำให้ได้รู้เกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำ  จริยธรรมของการเป็นผู้นำ และกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงองค์การสำหรับผู้นำ  ซึ่งสามารถสรุปเนื้อหาได้ดังนี้

การพัฒนาผู้นำ ตามหลักทศพิศราชธรรม

1.    การให้ ได้แก่ ให้สิ่งของ  ให้ความรู้  ให้ทาน2.    ศีล  คือ  การมีความประพฤติที่ดีงาม ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี3.    การบริจาค คือ การสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวม4.    การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต คือ มีความจริงใจ5.    ความอ่อนโยน การมีอัธยาศัยดี คือ ต้องใจกว้างและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น6.    การบำเพ็ญความเพียร เพื่อจำกัดความเกียจคร้าน 7.    การไม่ถือโกรธ ไม่ผูกพยาบาท 8.    การไม่เบียดเบียน ประชาชน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้องของตน และหน่วยงาน9.    การมีความอดทนอดกลั้น ความโลภ และแรงกดดันต่างๆ10.           ความโปร่งใส ในการทำงาน และมีความตรงไปตรงมาจริยธรรม  หมายถึง  พฤติกรรมที่ควรทำ

ในการกำหนดจริยธรรมนั้น ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วม

และระหว่างที่เรียนนั้น ท่านอาจารย์ยมได้ให้ทำงานกลุ่ม เกี่ยวกับเรื่องจริยธรรมของผู้นำในด้านต่างๆ สามารถสรุปเนื้อหาได้ดังนี้

จริยธรรมของนักศึกษาปริญญาโท รุ่น 6 และ 7
  • ตรงต่อเวลา
  • มีส่วนร่วมในการเรียนรู้
  • มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
  • มีความรับผิดชอบ
  • มีเป้าหมายในการเรียน
  • มีความซื่อสัตย์ (ในการทำข้อสอบ
  • รู้รักสามัคคี
  • ให้เกียรติซึ่งกันและกัน
  • แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
  • การแต่งกายสุภาพ
 
จริยธรรมขององค์กร
  • รับฟังความคิดเห็นของพนักงานในองค์กร
  • มีความจริงใจต่อเพื่อนร่วมงาน
  • มีความเสมอภาคกับพนักงานทุกระดับ
  • ให้โอกาสและให้อภัยแก่ผู้ร่วมงานในองค์กร
  • มีความเคารพต่อกฎระเบียบในองค์กร
  • ให้ความเคารพสิทธิส่วนบุคคลของพนักงาน
 
จริยธรรมต่อทีมงาน
  • มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน
  • มีความยุติธรรม
  • ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน ด้วยความจริงใจ
  • ให้ความเป็นกันเอง
  • มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
  • ให้เกียรติและยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน
  • ให้คำปรึกษาและช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
 
จริยธรรมต่อสังคม
 
  • มีคุณธรรม
  • มีความสามัคคี
  • ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น
  • ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดีในสังคม
  • ช่วยเหลือสังคม เมื่อมีโอกาส
  • มุ่งประโยชน์ถือส่วนรวม
  • มีความเมตตากรุณา
  • ให้ความร่วมมือกับชุมชนและสังคม
  • ดูแลองค์กรไม่ให้สร้างความเดือดร้อนกับสังคม
 
จริยธรรมต่อประเทศชาติ
 
  • ตั้งอยู่บนความพอเพียง
  • ซื่อสัตย์
  • ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
  • เสียสละเพื่อส่วนรวม
  • สามัคคี ปรองดอง เพื่อความสงบสุขของชาติ
ผู้นำทุกคนต้องมีจริยธรรมในการบริหารงานเพราะเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
   เมื่อองค์การได้ดำเนินกิจการได้ระยะหนึ่งแล้ว ผู้นำควรที่จะมีการเปลี่ยนแปลงองค์
การเพื่อให้องค์การมีการพัฒนาเพราะจะทำให้องค์การมีผลกำไรมากขึ้น แต่ในการที่จะเปลี่ยนแปลงองค์การนั้น อาจจะได้รับการต่อต้านจากพนักงาน ดังนั้นผู้นำควรใช้ความสามารถและการมีภาวะผู้นำมาแก้ไขปัญหาเหล่านั้นที่จะเกิดขึ้น
กลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อการพัฒนา มี 2 แนวทาง ดังนี้
  
1.    Top Down (Programmatic)
      เป็นกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงที่สั่งลงมาจากด้านบนของแผนภูมิองค์การ กลยุทธ์นี้จะมีผู้เกี่ยวข้องอยู่ไม่กี่คน เนื่องจากมีทรัพยากร และ งบประมาณจำกัด และใช้ได้ในระยะสั้น รวดเร็ว  ประหยัด  ไม่เสียเวลามาก แต่มีข้อเสียคือ มีผู้เกี่ยวข้องอยู่ไม่กี่คน ทำให้เกิดกระแสการต่อต้านมาก 
2.    Bottom - Up (Learning)
     เป็นกลยุทธ์ในการเปลี่ยนแปลงที่ให้ระดับล่างมีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิดสู่เบื้องบน กลยุทธ์นี้จะมีผู้เกี่ยวข้องอยู่มาก จะมีคนระดับล่างมีส่วนร่วม ทำให้คนเหล่านั้นรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ ทำให้ลดการต่อต้าน และจะทำให้เกิดความสำเร็จในระยะยาว แต่มีข้อเสียคือเสียเวลามาก
นางสาวศิรดา มากมี 
ID 106242004
MBA 7

สำหรับ ศิษย์พนาวัลย์ คุ้มสุด  ผมดีใจที่มีการพัฒนาขึ้น และรู้จักพัฒนาการบริหารตน  ผมขอให้กำลังใจ ให้พนาวัลย์มุ่งมั่นพัฒนาตนเองยิ่ง ๆ ขึ้นไป พัฒนาอย่างต่อเนื่อง 

ต่อไปนี้ เราจะไม่พูดคำว่า ไม่มีเวลา อีกต่อไป  "ชีวิตมีค่า เกินกว่าที่จะมีแค่แผนเดียว"  ครับ  การวางแผน การจัดการ เป็นธรรมชาติว่า ช่วงแรก ๆ จะยุ่ง และเสียเวลา แต่ระยะยาว จะได้ผลยั่งยืนกว่ากัน ขอฝากแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  นำมาบูรณาการปรับใช้กับการดำเนินชีวิต ต่อไป ขอให้ประสบความสำเร็จกับการเป็นผู้นำ ที่มีภาวะผู้นำที่เป็นเลิศ สวัสดี
นายชาญชัย พานิชนันทนกุล ID:105342002
สวัสดีครับท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์/อ.ยม/และเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน                 จากการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ของท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยาและท่าน ศ. ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ สรุปได้เป็น 5       ส่วนดังนี้    1.เรื่องของ 2 แชมป์                2.คัมภีร์คนพันธ์แท้                3.จักรวาลแห่งการเรียนรู้                4.สู่การเพิ่มผลผลิต                5.ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้- เรื่องของ 2 แชมป์จะพูดถึงความเชื่อและศรัทธาและความมุ่งมั่นในเรื่องของคนของทั้ง 2 ท่านที่เหมือนกันคือ เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ กระหายกับการหาความรู้อย่างไม่รู้จักอิ่มและ เน้นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มในทรัพยากรมนุษย์ เช่นจักรยานนานไปก็เสื่อม แต่ถ้าคนพัฒนายิ่งนานยิ่งเก่งกล้า คนจึงเป็นผลกำไรไม่ใช่ต้นทุน คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร  คุณภาพของคน กับการเพิ่มผลผลิตเป็นความสัมพันธ์ที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ เน้นที่การมีส่วนร่วมของพนักงานให้เกิดความผูกพันกับบริษัทเป็นสำคัญ 
4L’S พารณ 4L’S จีระ
Village that Learn Learning Methodology
School that Learn Learning Environment
Industry that Learn Learning Opportunity
Nation that Learn Learning Community
 คนที่จะนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จต้องเก่งคน เก่งงาน เก่งคิด เก่งเรียนและต้องดีด้วย ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรมการพัฒนาคนต้องพัฒนาพนักงานทุกระดับรวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ทั้งด้านคุณธรรมและจริยธรรม รวมไปถึงการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ใช้นโยบายการดึงคนเป็นพวก มีการลงทุนในการพัฒนาบุคลากร Bench-markสร้างเครือข่ายมีความพึงพอใจในที่ทำงานผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ Listening Skill Network and Partnership        ทฤษฏี 3 วงกลมChanging Managementวงกลมที่ 1 เรื่อง Context หรือบริบท IT มีความสำคัญในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทำงานแบบProcessวงกลมที่ 2 เรื่องภาวะผู้นำ นวัตกรรม การบริหารเวลา เรียกว่าทฤษฏีเพิ่มศักยภาพของคนวงกลมที่ 3 ต้องมีแรงบันดาลใจใช้หลัก Pm-Personnel management มีความโปร่งใส ทำงานเป็นทีม  - เรื่องคัมภีร์คนพันธุ์แท้ บอกแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เช่นปรัชญาของทรัพยากรมนุษย์ที่ว่าคนคือ ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร  การพัฒนามนุษย์โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ พร้อมทั้งกลยุทธ์สร้างแรงจูงใจนำองค์กรสู่ความเป็นเลิศเล่าถึงประสบการณ์ ง่ายต่อการนำไปประยุกต์ใช้คุณภาพด้านการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญต่อคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ถ้าเป็นจุดอ่อนองค์กรต้องทดแทนด้วยการสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ หรือLearning Organization การเพาะปลูกสำคัญแต่การเก็บเกี่ยวสำคัญกว่าเครือซิเมนต์ไทยกำหนดกรอบแนวคิดไว้ 4 ประเด็นหลัก        1ปรัชญาหรือแนวคิดของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์        2เป้าหมายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์        3วิธีที่จะทำให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ประสบความสำเร็จ        4ปัจจัยต่าๆที่ก่อให้เกิดความสำเร็จในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อุดมการณ์ 4 ประการ1เป็นธรรม 2เป็นเลิศ  3เชื่อมั่นในคุณค่าของคน 4ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมต้องดึงศักยภาพออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรสูงสุด8K’S          K1  Human Capital        K2  Intellectual Capital        K3  Ethical Capital        K4  Happiness Capital        K5  Social  Capital        K6  Sustainable Capital        K7  DIGITAL Capital        K8  Talented  Capitalบันไดแห่งความเป็นเลิศ1.ลองทำ Plan Do Check Act2.ต้องจัดลำดับก่อนหลัง3.มีPaticipationทุกคนทุกระดับ Team4.ทุกโครงการต้องมีผู้เป็นเจ้าของในประเทศโลกตะวันออกมีวัฒนธรรมมีความจงรักภักดีอยู่ในสายเลือดขณะที่อเมริกาเป็นประเทศเสรีนิยมแรงจูงใจ การได้ทำงานเป็นทีม การให้รางวัลพิเศษ การจ่ายค่าตอบแทนที่ยุติธรรม - จักรวาลแห่งการเรียนรู้ ส่วนนี้จะบอกถึงการขยายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ประชาชน โดยให้ประชาชนมีความสามารถในการเรียนรู้และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตGlobal Citizenมีคุณสมบัติ        1ความคล่องแคล่วในภาษาไทย/อังกฤษ        2เทคโนโลยี        3คุณธรรม   - สู่การเพิ่มผลผลิต  มองภาพกว้างบอกถึงการสร้างศักยภาพในการแข่งขันระดับประเทศ โดยได้รับความร่วมมือจาก รัฐบาล เอกชน นักวิชาการ และแรงงาน เมื่อมีการแข่งขันมากขึ้นต้องมองคน 2 ประเภท คือ คนใน และคนนอกซึ่งหมายถึงลูกค้าปัจจุบันให้ความสำคัญกับลูกค้ามาก  - ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้  สรุปและย้ำถึงความเชื่อในแนวทางที่มุ่งมั่นในเรื่องทรัพยากรมนุษย์ จากความคล้ายคลึงของท่านทั้งสองนี้1 เดินสู่สนามของงานสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่างบังเอิญ2 มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนปรัชญาแห่งความยั่งยืน3 จากความยั่งยืนสู่การเป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม4 มีบุคลิกลักษณะแบบ Global Man ทำให้เป็นคนมีวิสัยทัศน์5 มีความเป็นผู้ใหญ่ พร้อมจะเป็นผู้ให้ ทั้งความรู้และความรัก แก่คนใกล้ชิด6 มีความสุขกับการเป็นผู้ให้ ต่อสังคมโดยไม่สนใจว่าจะได้รับกล่องหรือการเชิดชูเกียรติจากใคร               
ราเชนทร์ แดงโรจน์
1. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด (หัวหิน) หลักสูตร                 บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตรหัสวิชา/ชื่อวิชา     ภว.524 ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กรอาจารย์ผู้สอน         ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และทีม Chira  Academy สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ/อาจารย์ยม/นักศึกษา MBA มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด หัวหิน  เพื่อน ๆ ร่วมวิชาเรียนในหัวข้อดังกล่าวทุกท่าน สัปดาห์ที่ผ่านมาในวันศุกร์ ที่ 9  และเสาร์ ที่ 10  มีนาคม 2550   ผมและนักศึกษาร่วมชั้นในการเรียนวิชา ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร  ได้รับฟังการสอนและบรรยายจาก ศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ เป็นครั้งแรก ซึ่งสร้างความประทับใจให้กับตัวผมเป็นอย่างมาก  เพราะสัปดาห์ที่ผ่านมาทุกท่านคงได้รับทราบข่าวอาจารย์ในเรื่องเกี่ยวกับภารกิจที่ท่านอาจารย์ได้รับมอบหมายในการบริหารสถานีโทรทัศน์ไอทีวี  ผ่านสื่อทั้ง TV. และหนังสือพิมพ์  ผมจึงเห็นว่าภารกิจของท่านดังกล่าวมีความสำคัญมาก  แต่ท่านกลับให้ความสำคัญกับลูกศิษย์ในการเผยแพร่ความรู้หรือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นไปตามปณิธานที่ท่านตั้งไว้มากกว่า  จึงเป็นความโชคดีของผมและเพื่อน ๆ  ที่ได้รับฟังการสอนและการบรรยายในหัวข้อดังกล่าวจาก Guru ในเรื่อง ภาวะผู้นำซึ่งเกี่ยวเนื่องกับ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับชาติและสากลโดยตรงอย่างไรก็ตาม ภายหลังจากผมและเพื่อน ๆ ได้เรียนในชั้นเรียนทั้ง 2 วัน ก็ได้รับมอบหมายจากท่านอาจารย์ให้นักศึกษาจัดส่งรายงานลง Blog ใน 3 ห้วข้อเรื่อง คือ1. ให้สรุปการอ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ของ ท่านอาจารย์ และ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ว่า  นักศึกษาได้อะไรจากหนังสือเล่มดังกล่าว พร้อมกับให้ตั้งข้อสังเกตความแตกต่างระหว่างสองท่าน ถึงแม้ทั้งสองท่านจะมีเป้าหมายอย่างเดียวกัน คือ การมุ่งมั่นในการพัฒนาทรัพยากรมนษย์ หรือ คน นั่นเอง.2.  ให้สรุปว่า ในการเรียนทั้ง 2 วัน กับท่านอาจารย์ ได้อะไรจากการเรียนนั้นพร้อมให้พิจารณาถึงตนเองทั้งในด้านจุดแข็งและจุดอ่อนเปรียบเทียบ 3 ข้อ เสนออาจารย์ 3.  ให้นักศึกษาเลือกผู้นำที่นักศึกษาชอบเป็นพิเศษ  และเสนอประวัติพร้อมกับวิเคราะห์ภาวะผู้นำของผู้นำที่ตนเองชื่นชอบรายงานลง Blog จากทั้งสามหัวข้อดังกล่าว  ผมจึงขอสรุปดังต่อไปนี้1.     สิ่งที่ผมได้รับจากการอ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้คือ1.     ได้รับทราบประวัติย่อส่วนตัว ประวัติการทำงาน ประสบการณ์ทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบันของ คู่รู้ ในเรื่องทรัพยากรมนุษย์2.     ได้ทราบถึงทฤษฎี 4L’s คุณพารณ  และ 4L’s อาจารย์จีระ3.     ได้รับทราบประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในกลุ่มบริษัทในเครือปูนซิเมนต์ไทยผ่านคำบอกเล่าจากคุณพารณซึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ว่า บริษัทดังกล่าวเป็นที่ยอมรับจากสังคมในเรื่องของคุณภาพของคนและบุคลากรที่อยู่ในองค์กร  ทั้งในเรื่องของความเป็นคนเก่งและเป็นคนดีที่ถูกหล่อหลอมโดยวัฒนธรรมองค์กรจากท่านพารณ ซึ่งให้ความสำคัญและเชื่อมั่นว่า คน เป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร4.     ได้รับรู้ถึงความรู้สึกของ ผู้ให้ คือ ท่านอาจารย์จีระ ที่มีความสุขกับการเป็นผู้ให้ต่อสังคมโดยไม่สนใจว่าจะได้รับ กล่อง หรือการเชิดชูเกียรติจากใคร พร้อมกับได้ทราบถึงปรัชญาชีวิตที่น่าสนใจของอาจารย์ที่ว่าเกิดมาเพื่อที่จะเรียนรู้ และเรียนรู้อย่างสนุก พร้อมกับนำความรู้มาใช้เพื่อสร้างสรรค์5.     ผมคงจะต้องหยิบหนังสือเล่มนี้มาอ่านอีกหลาย ๆ ครั้ง ที่จะได้ซึมซับความรู้ ความคิด จากนักปฏิบัติในเรื่องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ต่อองค์กร ต่อสังคม และต่อประเทศชาติ  คงจะทำให้กระผมเป็นคนดีเพิ่มขึ้นตามแนวคิดจากหนังสือที่ท่านทั้งสองสนทนามุ่งเน้นให้ผู้อ่านตระหนักถึงการเป็นคนดีที่มีคุณธรรมต่อเพื่อนมนุษยชาติ สำหรับความแตกต่างระหว่างสองท่าน  ทั้งที่มีเป้าหมายเดียวกันในด้านมุ่งเน้นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนเป้าหมายเดียวกัน  ผมคงจับประเด็นได้ดังต่อไปนี้ 
ข้อเปรียบเทียบ คุณพารณ อาจารย์จีระ
วัยวุฒิ เป็นผู้มีอาวุโสมากกว่าอาจารย์ จิระ กว่า 20 ปี อาวุโสน้อยกว่า  แต่ประสบความสำเร็จค่อนข้างเร็วกว่าบุคคลที่ประสบความสำเร็จโดยเฉลี่ย
คุณวุฒิ จบทางด้านวิทยาศาสตร์ คือ วิศวกรรม จบทางด้านสังคมศาสตร์  คือ เศรษฐศาสตร์
ประวัติการทำงาน อยู่ในภาคธุรกิจเอกชนเป็นส่วนใหญ่ อยู่ในภาคการศึกษาโดยเฉพาะสถาบันการศึกษา
ประสบการณ์ เป็นผู้ประสบความสำเร็จในการบริหารภาคธุรกิจ เป็นผู้ประสบความสำเร็จทางด้านนักวิชาการและวิจัย
                   อย่างไรก็ตาม  เมื่อนำส่วนต่างของท่านทั้งสองมาผนึกรวมกันโดยมีเป้าหมายเดียวกัน ทำให้บทสนทนาว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของนักคิดและนักปฏิบัติแห่งยุค กลมกลืนกัน  จนกล่าวว่า  หนังสือเล่มนี้มีประโยชน์ทั้งในด้านการศึกษาและการนำไปประยุกต์ในองค์กรสำหรับพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้เป็นอย่างดียิ่ง 2.     เรียนแล้วได้อะไร1.     ผมได้เรียนรู้ ภาวะผู้นำ (Excellent Leadership)  จากการบรรยายในชั้นเรียนและการมีส่วนร่วมในการแสดงออกถึงความคิดเห็นภายหลังจากที่อาจารย์บรรยายเสร็จสิ้นลงในแต่ละหัวข้อ  เพื่อทบทวนให้ผมและนักศึกษาได้เข้าใจและนำประยุกต์เอาไปใช้ทั้งส่วนตน องค์กร และสังคม2.     ผมได้รับ Quotations ดี ๆ และทฤษฎีต่าง ๆ จากเอกสารประกอบการบรรยาย  ซึ่งผมสามารถนำมาทบทวนและทำความเข้าใจ3.     บรรยากาศในชั้นเรียนเป็นไปอย่างสนุกและมีความสุขในการฟังอย่างมีสาระ ต่างกับ การเรียนในชั้นเรียนที่ผ่าน ๆ มา ซึ่งเป็นทฤษฎีเฉพาะตนของอาจารย์จีระ ที่มีความตั้งใจในการเป็นผู้ให้ต่อศิษย์อย่างยั่งยืน4.     เมื่อเรียนแล้วสร้างความรู้สึกที่จะต้องเป็นผู้ใฝ่รู้เพิ่มมากขึ้น เพราะการเรียนรู้ไม่มีการจบสิ้น  ด้วยเทคนิคการสอนของอาจารย์ และได้ข้อคิดในการต่อยอดธุรกิจหรือชีวิตส่วนตัวได้เป็นอย่างดี5.     ประทับใจในความรักความเมตตาของอาจารย์ที่มีต่อศิษย์โดยมิได้คำนึงถึงวุฒิภาวะในทุก ๆ ด้านของนักศึกษาในชั้นเรียน   สำหรับข้อพิจารณาถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง  มีดังต่อไปนี้
จุดแข็ง จุดอ่อน
1. ใฝ่รู้  และรักการอ่าน 1. ไม่ค่อยดูแลสุขภาพ
2. ขยันและตั้งใจทำงาน 2. ขาดการพักผ่อน
3. เป็นที่เชื่อถือของผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา 3. มีความเชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป
  3.  ผู้นำที่ผมชื่นชมเป็นพิเศษ  คือ มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์

                   ประวัติ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Martin Luther King, Jr. 15 มกราคม พ.ศ. 2472-4 เมษายน พ.ศ. 2511) เป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียง (civil right) และหมอสอนศาสนานิกายแบปติส เกิดที่นครแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย เป็นบุตรชายของพระแบปติส ได้รับการศึกษาจากวิทยาลัยมอร์เฮาส์ แอตแลนตา จากวิทยาลัยการศาสนาโครเซอร์ รัฐเพนซิลเวเนีย และจากมหาวิทยาลัยบอสตัน ต่อมาได้กลายเป็นผู้นำขบวนการเรียกร้องสิทธิเสมอภาคของชาวผิวดำเนื่องจากนโยบาย และแนวทางต่อต้านที่ใช้ความนุ่มนวลตามแนวทางของมหาตมะ คานธี และจากทักษะการพูดต่อสาธารณะที่เป็นที่เลื่องลือ คิงได้เป็นผู้นำในการคว่ำบาตรไม่ยอมรับการแบ่งแยกคนผิวดำที่ไม่ให้โดยสารรถประจำทาง ร่วมกับคนผิวขาวที่เมืองมอนต์โกเมอรี รัฐแอละบามาและจัดประชุมผู้นำศาสนาคริสเตียนตอนใต้ ในระหว่างนี้เขาถูกจับขังคุกหลายครั้งในปี พ.ศ. 2506 คิงเป็นผู้นำในการเดินขบวนอย่างสันติที่อนุสาวรีย์ลิงคอล์นในวอชิงตัน ดี.ซี. โดยมีผู้เข้าร่วมเดินมากถึง 200,000 คน ในการประชุมครั้งนี้เองที่คิงได้แสดงสุนทรพจน์ที่มีชื่อเสีงคือ "ข้าพเจ้ามีความฝัน" (I Have a Dream)ในโอกาสนี้เขายังได้ประกาศว่า อเมริกาจะปราศจากความลำเอียงและไม่มีอคติต่อคนผิวสีในปี พ.ศ. 2507ในปี พ.ศ. 2507 มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ได้รับรางวัลสันติภาพเคเนดี (Kendy Peace Prize) รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ความสำเร็จสูงสุดของเขาได้แก่การท้าทายอำนาจของกฎหมายแบ่งแยกผิวในภาคใต้ของสหรัฐฯ หลังจากปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นไป มาร์ติน ลูเธอร์ คิงได้หันความสนใจไปเน้นการรณรงค์ให้มีการปรับปรุงสภาพสังคมของคนผิวดำ และคนยากจนในภาคเหนือของประเทศซึ่งพบว่าง่ายกว่า นอกจากนี้ คิงได้รณรงค์ต่อต้านการทำสงครามเวียดนามและจะจัดการชุมนุมใหญ่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. อีกครั้งหนึ่งมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ถูกลอบยิงถึงแก่ชีวิตที่เมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี โดยเจมส์ เอิร์ล เรย์ ชาวผิวขาว ซึ่งต่อมาถูกจับกุมได้ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษและถูกศาสลพิพากษาจำคูก 99 ปีหลังจากเขาถูกลอบสังหารในปี 1968 เขาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านเพื่อความยุติธรรมทางเชื้อชาติจวบจนทุกวันนี้วันที่ 15 มกราคมทุกๆ ปี ซึ่งเป็นวันเกิดของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ได้รับการประกาศให้เป็น "วันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง" วันนักขัตรระดับชาติและค่อยๆ ได้รับทยอยการยอมรับจากรัฐต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับนับตั้งแต่ พ.ศ. 2529 เป็นต้นมาคิงมีชื่อเสียงในเรื่องการพูดต่อสาธารณชน สุนทรพจน์ "I Have a Dream" ที่เขากล่าวในการเดินขบวนปี 1963 ได้รับการยกย่องอย่างสูง ว่าทรงพลังและเป็นแบบอย่างของการพูดในที่สาธารณะ สาเหตุที่ชื่นชม คือ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2549  ผมได้เข้ารับการอบรม “The 7 Habits of Highly Effective People” จาก บริษัท Pacrim ซึ่งเป็นบริษัทรับฝึกอบรมให้กับองค์กรที่ผมร่วมงานอยู่  วิทยากรได้นำภาพยนตร์ประวัติของ มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ มาแพร่ภาพให้กับผู้เข้าอบรมชม  มีประโยคหนึ่งที่ประทับใจผมเป็นพิเศษ คือ คำกล่าวสุนทรพจน์ของ มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ที่กล่าวกับสาธารณชนที่เข้าฟัง ประโยคที่ว่า คือ I have a dream” ผมคิดว่ามนุษย์ทุกคนควรจะต้องมี Dream ของตัวเอง และสร้าง Dream นั้นให้บังเกิดเป็นความจริงโดย Dream ที่ตั้งไว้จะต้องไม่มุ่งร้ายหรือเอาเปรียบผู้อื่นและตนเอง  Dream ในที่นี้ ผมคิดว่าเป็นการวางแผนในทุก ๆ ด้านทั้งส่วนตน องค์กร สังคม และประเทศชาติ  สำหรับ Dream ของมาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ คือผู้นำต้องมองโลกในแง่ดี  ต้องมีความเชื่อและศรัทธาในสิ่งที่ตนมุ่งหมายจะทำด้วยคุณธรรม มาร์ติน  ลูเธอร์ คิงส์ ถูกวิจารณ์ว่า  เขามีความฝันที่อยากเห็นบุคคลได้รับการตัดสินด้วยบุคลิกภาพของความเป็นคน มิใช่สีผิว ว่าเป็นคนผิวดำหรือคนผิวขาวนั้น  เป็นความฝันที่เป็นไปไม่ได้  แต่ความฝันของเขาก็เป็นจริงในเวลาต่อมา  แม้ว่า สัมฤทธิผลแห่งความฝันของเขาจะไม่ได้เห็นในช่วงชีวิตของเขาก็ตาม  เพราะแม้เขาตายไปแล้วก็ยังมีผู้สานต่อเจตนารมณ์นั้นของเขาต่อไป  ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์มองเห็นอนาคตที่ดีกว่า  และจะก้าวสู่จุดนั้นได้อย่างไร  โดยการตั้งเป้าหมายกำหนดกรอบการปฏิบัติงาน  มอบหมายงานและประเมินผล                                                                    กราบขอบพระคุณครับ ราเชนทร์  แดงโรจน์                                                                   รหัส  106242005  
นายชาญชัย พานิชนันทนกุล ID:105342002
สวัสดีครับท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์/อ.ยม/และเพื่อนนักศึกษาทุกท่านผู้นำที่ชอบเลือกมาใช้ในที่นี้ของผมคือ Jack Welch เป็น CEO ของ GEที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลกแจ๊ก เวลช์ คือจีอี และจีอีคือ แจ๊ก เวลช์ คงเป็นคำกล่าวที่ไม่ผิด สำหรับช่วงเวลา 20 ปีที่เวลช์ขึ้นเป็นผู้บริหารสูงสุดของจีอี (GE-General Electric) และนำบริษัทอเมริกันที่เก่าแก่แห่งนี้ ยืนหยัดเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง เมื่อปี2000 จีอีมีรายได้สูงกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเติบโตถึง 11 เปอร์เซ็นต์ และ เวลช์ได้รับการยกย่องจากนิตยสารฟอร์จูน (Fortune) ให้เป็น "ผู้บริหารแห่งศตวรรษ - Manager of the Century" เวลช์เขียนหนังสือใหม่ออกมาเล่มหนึ่ง ซึ่งไทม์ วอร์เนอร์ เทรด พับลิชชิง (Time Warner Trade Publishing) ในเครือของไทม์ วอร์เนอร์ ชนะประมูลได้ลิขสิทธิ์หนังสือที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อเล่มนี้ของเวลช์ ด้วยจำนวนเงินที่สูงถึง 7 ล้าน 1 แสนเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 284 ล้านบาท ซึ่งเป็นค่าลิขสิทธิ์ เฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือเท่านั้น ไม่รวมถึงลิขสิทธิ์ทั่วโลก นับเป็นค่าลิขสิทธิ์หนังสือซึ่งไม่ใช่นวนิยาย (non-fiction) ที่สูงที่สุด เวลช์ได้นำเงินค่าลิขสิทธิ์นี้เขาจะนำไปบริจาคเพื่อการกุศลทั้งหมด ประวัติของ Jack Welch                                         แจ๊ก เวลช์ หรือ จอห์น ฟรานซิส เวลช์ จูเนียร์ (John Francis Welch Jr.) เกิดเมื่อปี พ.ศ.2478 ที่เมืองซาเลม รัฐแมสซาชูเซตส์ ทางฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา เป็นลูกชายคนเดียวของครอบครัวชนชั้นกลาง บ้านหลังใหญ่ที่ครอบครัวเวลช์อาศัยอยู่นั้น ล้อมรอบด้วยสุสานถึง 3 ด้านด้วยกัน ซึ่งพ่อของ เขาบอกว่า นั่นแหละคือ เพื่อนบ้านที่ดีที่สุด! พ่อของเขาทำงานรถไฟกับ Boston & Maine Railroad ขณะที่แม่เป็นแม่บ้าน ซึ่งเวลช์บอกว่า จุดนี้เอง ที่ทำให้เขากับแม่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันอย่างมาก และแม่ได้สอนบทเรียนที่สำคัญ 3 ประการให้เขา คือให้เป็นคนพูดจาเปิดเผย เผชิญกับความจริง และควบคุมให้ชีวิตดำเนินไปตามจุดมุ่งหมาย เวลช์ชอบกีฬามาตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะเบสบอล บาสเกตบอล และฮ็อกกี้ กีฬานี่เองที่ทำให้แววการเป็นผู้นำของเขาฉายออกมา ในสมัยเด็ก เวลช์ได้ชื่อว่าเป็นเด็กที่ช่างพูดและชอบส่งเสียงดังที่สุดในชั้นเรียนอีกด้วย แจ๊ก เวลช์กับเพื่อนร่วมชั้นอีกคนหนึ่ง เคยถูกเสนอชื่อให้ได้ทุนของโรงเรียนนายเรือ แต่ปรากฏว่าเวลช์พลาด ทุนดังกล่าว แม้จะทำให้เขาและครอบ ครัวผิดหวังอย่างมาก แต่ก็นับเป็นจุดหักเหที่สำคัญในชีวิตของเขา ถึงแม้เวลช์จะเป็นเด็กที่เรียนหนังสือไม่เลว แต่เขาก็ไม่เลือกเรียนที่สถาบันซึ่งมีชื่อเสียงอย่างเอ็มไอที (MIT - Massachusetts Institute of Tech-nology) กลับเลือกที่จะเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ (University of Massachusetts - UMass) แทน ด้วยเหตุผลเฉพาะตัวที่น่าสนใจทีเดียว เขาบอกว่า ถ้าเรียนที่เอ็มไอที เขาก็จะกลายเป็นเพียงนักศึกษาระดับหัวปานกลางคนหนึ่งในหมู่นักเรียนระดับสุดยอดของประเทศ แต่การไปเรียนในมหา วิทยาลัยอย่าง UMass ทำให้เขาสามารถ เปล่งประกายได้อย่างเต็มที่ เวลช์เป็นคนแรกของตระกูลที่ได้เรียนในระดับมหาวิทยาลัย แต่กระนั้น เวลช์ก็ไม่ได้เรียนอย่างที่ครอบครัวของเขาฝันหรือต้องการ แม่น่าจะพอใจมากกว่า ถ้าหากว่าลูกชาย คนเดียวจะเป็นพระหรือเป็นหมอ แต่เวลช์ก็กลับไปหลงรักวิชาเคมีและเลือกเรียนทางด้านวิศวกรรมเคมี เมื่อจบจาก UMass เขาก็ได้รับการส่งเสริมจากบรรดาคณาจารย์ด้วยการจัดหาทุนให้เขาไปเรียนต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกทางด้านวิศวกรรมเคมีที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (University of Illinois) และที่นี่เองที่ทำให้เขาได้ พบกับ แคโรลิน ออสเบิร์น (Carolyn Osburn) ภรรยาคนแรก และร่วมชีวิตกันในปี 2502 ทั้งคู่มีบุตรชาย 2 คน หญิง 2 คนและครองชีวิตคู่กัน 26 ปี หลังจากแยกทางกับภรรยาคนแรก 4 ปี เวลช์ได้แต่งงานใหม่กับเจน บีสลี (Jane Beasly) นักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการควบกิจการ เมื่อเวลช์จบปริญญาเอกในปี 2503 เขาได้รับการเสนองาน 3 แห่งด้วย กัน แต่เขาเลือกจีอี เพราะจะได้กลับมาทำงานที่แมสซาชูเซตส์ - ความรู้สึกว่าได้ กลับบ้าน ทำให้เขาเลือกจีอี เขาขับรถโฟล์คเต่าที่เป็นของขวัญในโอกาสจบปริญญาเอกจากพ่อ พาเจ้าสาวคนแรกของเขาไปเริ่มงานทางด้านพลาสติกกับ จีอีที่เมืองพิตส์ฟิลด์ เวลช์ทำงานเต็มที่ ถึงสิ้นปีแรก เขาได้เงินเดือนขึ้นเท่ากับคนอื่นๆ ซึ่งทำให้เขาไม่พอใจกับระบบดังกล่าว ยื่นใบลาออกและจะไปทำงานที่อื่น แต่นาทีสุดท้าย รองประธานจีอีในสมัยนั้นก็ได้ดึงให้เขากลับมาอยู่กับจีอี โดยมอบหมายงานให้รับผิดชอบมากขึ้นและให้เงินเดือนสูงขึ้น... ทำให้เวลช์ไปไหนไม่รอด ต้องกลับมาตายรังจีอี! ในปี 2511 ด้วยวัย 33 ปี เวลช์ขึ้นเป็นระดับผู้จัดการที่อายุน้อยที่สุดของจีอี พออายุ 37 เขาก็ได้เป็นผู้บริหาร กลุ่ม และดูเหมือนจะไม่มีอะไรมาหยุดยั้งการเติบโตของเวลช์ในจีอีได้ ในปี 2524 ขณะที่อายุได้ 45 ปี เวลช์ได้เป็นเบอร์หนึ่งของจีอี นับเป็นประธานบริษัทที่มีอายุน้อยที่สุด เวลช์เริ่มต้นวันของเขาด้วยการเดินบนเครื่องออกกำลังกายเป็นระยะทาง 3 ไมล์ ก่อนที่รถจะมารับเขาไปยังที่ทำงานเมื่อหลัง 7 โมงเช้า และหลังจากนั้น ชีวิตเขาก็เลื่อนไหลไปกับการงานของ จีอี บางครั้งเขาก็ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปยังหน่วยงานต่างๆ เวลช์จะเดินทางไปยุโรป ปีละครั้ง ซึ่งมักจะเป็นในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เพื่อพูดคุยกับบรรดาผู้บริหารของจีอีในภาคพื้นยุโรป ส่วนตะวันออกไกลนั้น เขามักจะมาในช่วงฤดูใบไม้ร่วง โดยใช้เวลาครั้งละหลายสัปดาห์ด้วยกันในการดูงานของจีอีในย่านนี้ เวลช์ชอบที่จะได้ใกล้ชิดกับเพื่อนร่วมงานของเขาเสมอ ไม่มีระบบราชการในจีอี! ว่ากันว่า เวลช์พยายามทำให้จีอีเป็นประชาธิปไตยแบบอเมริกา ด้วยการให้พนักงานธรรมดาๆ มีสิทธิ์มีเสียง ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้จีอีกลายเป็นบริษัทชั้นนำของโลก แม้จะมีบางเสียงค่อนแคะว่า เขาคือเผด็จการตัวจริงก็ตาม เวลช์เชื่อว่า การสื่อสารที่ดีภายในองค์กรจะช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงาน โดยเฉพาะควรมี "ข้อเท็จจริง" หนึ่ง ที่ทุกคนในองค์กรไม่ว่าจะอยู่ในระดับใด มีโอกาสรับรู้อย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนั้น เวลช์เชื่อในการฝึกอบรม โดยเฉพาะในการเตรียมสร้างทีมผู้บริหาร รุ่นใหม่ให้กับจีอี เวลช์เคยพูดเสมอว่า มีบริษัทอยู่ 2 ประเภท พวกแรกเป็นพวกที่บอกว่า อนาคตจะทำให้เราประหลาดใจก็จริง แต่เราจะไม่ประหลาดใจกับสิ่งที่ทำให้ประหลาดใจดังกล่าว ขณะที่พวกที่สอง เป็นพวกที่ต้องประหลาดใจจริงๆ เพราะไม่ได้เตรียมตัวที่จะเผชิญกับความประหลาดใจ อีกทั้งยังต่อต้านการเปลี่ยนแปลงอีกด้วย เวลช์บอกว่าจีอีอยู่ในพวกแรก... หัวใจสำคัญคือ จงเปลี่ยนแปลง ก่อนที่จะถูกบังคับให้ต้องเปลี่ยนแปลง!    Jack Welch ตำนานซีอีโอ

ชื่อเสียงการบริหารและนำพา GE ให้เจริญก้าวหน้าเป็นองค์กรที่แข็งแกร่ง จนตัวเขาเองได้รับยกย่องให้เป็นสุดยอดซีอีโอดีเด่นในรอบร้อยปีนั้น เป็นภาพที่คนทั่วไปรู้จักดีอยู่แล้ว แต่หลายคนอาจไม่เคยทราบว่า เมื่อเขาจบปริญญาเอกด้านวิศวกรรมเคมีจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เมื่อปี ค.ศ. 1960 แล้วมาร่วมงานกับ GE ในตอนแรกนั้น อยู่ได้แค่ปีเดียวเขาก็ตัดสินใจลาออกเสียแล้ว เพราะระอากับระบบระเบียบขององค์กรใหญ่ที่งุ่มง่ามเงอะงะ แม้จะขึ้นเงินเดือนให้ 1,000 $ เขาก็ไม่สน คนที่มีส่วนให้เวลช์เป็นสุดยอดนักบริหารได้ในในวันนี้ ย่อมหนีไม่พ้น Reuben Gutoff หัวหน้าของเวลช์ในตอนนั้น ที่เห็นแววในตัวเขา และเกลี้ยกล่อมจนยอมอยู่ต่อได้สำเร็จ โดยเวลช์ยื่นข้อเสนอขอปรับสภาพแวดล้อมการทำงานในองค์กรให้มีความคล่องตัวมากขึ้นคล้ายบริษัทขนาดเล็ก

อย่างที่รู้กันทั่วไปว่าเวลช์ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองประธานในปี 1972 เป็นรองประธานอาวุโสในปี 1977 เป็นรองประธานบริษัทในอีก 2 ปีถัดมา และกลายเป็นซีอีโออายุน้อยที่สุดในปี 1981 ซึ่งตอนนั้นเขามีอายุย่าง 46 ปี ตลอดเวลาการเป็นผู้นำของ GE เวลช์ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้บริหารที่กวาดล้างพนักงานออกไปมากที่สุด จนได้ฉายา Neutron Jack จากตัวเลขจำนวนพนักงาน 411,000 คนช่วงปี 1980 ลดลงไปเกือบครึ่งในอีก 5 ปีถัดมา และยังคงลดอีกเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งมาจากแนวคิดการแบ่งเกรด A B C ซึ่งกลุ่มหลังนี้จะถูกย้ายออกไปเพื่อให้เกิดผลดีแก่บริษัทและตัวพนักงานเอง

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับ GE คือการเปลี่ยนสภาพจากอุตสาหกรรมการผลิต มาเป็นบริษัทผู้ผลิตสินค้าและบริการ ครอบครองตลาดค่อนโลก มีอัตราเติบโตของรายได้แบบก้าวกระโดด จาก 26,800 ล้านเหรียญในปี 1980 ไปสู่ 130,000 ล้านเหรียญในปี 2000 ก่อนที่เข้าจะวางมือเกษียณไปในปีถัดมา จนปัจจุบัน GE ยังคงเติบโตไม่หยุด

ใน Winning หนังสือเล่มใหม่ของเวลช์และภรรยา พูดถึงหลัก 8 ข้อ ของการเป็นผู้นำที่ดีว่า

1. ผู้นำต้องพัฒนาทีมตลอดเวลา ทุกครั้งที่พบปะกันนั่นคือโอกาสของการประเมิน การแนะนำ และสร้างความมั่นใจให้กับทีม
2. ผู้นำไม่ใช่เพียงแค่ทำให้ลูกทีมเข้าใจในวิสัยทัศน์ แต่ต้องทำให้เขารับสิ่งนั้นเข้าไปในวิถีปฏิบัติของชีวิตและการทำงานด้วย
3. ต้องแทรกซึมเข้าสู่ทุกตัวตนของลูกทีม คอยแสริมและกระตุ้นพลังงานรวมทั้งทัศนคติในเชิงบวก
4. สร้างความไว้วางใจให้เกิดแก่ลูกทีม ด้วยความจริงใจ ความโปร่งใส และความน่าเชื่อถือ
5. มีความกล้าหาญที่จะทำการใดๆ ที่อาจขัดแย้งกับความรู้สึกของคนหมู่มาก หรือแม้แต่ความรู้สึกส่วนตัว
6. ลงมือกระทำด้วยตัวเอง เพื่อพิสูจน์ความคิดและผลักดันลูกทีม ข้อสงสัยหรือความไม่แน่ใจใดๆ ให้ใช้การกระทำเป็นคำตอบ
7. จุดประกายให้ทีมกล้าที่จะเสี่ยง ขณะเดียวกันก็สร้างสถานการณ์ตัวอย่างเพื่อเรียนรู้
และ 8. สังสรรค์กันบ้าง
Jack Welch ค้นหาวิธีการสร้างภาวะผู้นำที่ดีที่ทำให้เขาประสบกับความสำเร็จอย่างสูงสุดคือ ผู้นำ 4E ที่มีพลัง  สามารถจุดประกายให้ผู้อื่นมีพลัง มีคมความคิด กล้าตัดสินใจ ลงมือปฎิบัติให้เกิดผลสำเร็จ ทำให้จีอี กลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก-Energy มีพลังขับเคลื่อนและน้อมรับการเปลี่ยนแปลง บุคคลที่รักงานที่จะทำบุคคลพวกนี้ตื่นขึ้นมาก็อยากจะทำงานที่มีอยู่ในมือทันที-Energizes รู้วิธีจุดประกายให้ผู้อื่นมีผลงาน ใช้วิสัยทัศน์วางแนวทางและจุดประกายให้ผู้อื่นปฏิบัติตามวิสัยทัศน์นั้น เขาพร้อมที่จะมอบชื่อเสียงให้ผู้อื่นเมื่องานสำเร็จและยอมรับผิดเมื่อเกิดปัญหา ซึ่งเป็นการจุดพลังให้กับเพื่อนร่วมงาน-Edge ผู้ที่มีคม คือพวกที่มีความแข็งแกร่ง เขารู้ว่าจะตัดสินใจในเรื่องที่ยากจริงๆได้อย่างไร และจะไม่ยอมแพ้ให้แก่ความยากลำบากนั้น ไม่ลังเลที่จะตัดสินใจ-Executes การลงมือปฎิบัติ ผู้นำที่เก่งจะรู้วิธีการใช้พลังและคมทำให้เกิดผลงาน ต่อเนื่องก่อนหน้า 4E ผู้นำต้องมีคุณสมบัติต่างๆเช่น คุณธรรม บุคลิก และจริยธรรมJack Welch ได้เพิ่ม E ตัวที่5 เมื่อมาอยู่ที่ โฮมดีโป้ คือ Endurance  ความอดทนเพราะใน 1 ปีมีวันหยุดแค่ 2วันคือวันขอบคุณพระเจ้าและวันคริสต์มาส ความอดทนจึงเป็นตัวสำคัญในธุรกิจค้าปลีกJack Welch ได้เป็น CEOในปี1981 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงกฎการแข่งขันหลายอย่าง เกิดกระแสโลกาภิวัตน์  การปฎิวัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล การปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ มีผลให้ธุรกิจประสบปัญหาเขาเชื่อว่าขนาดเป็นปัญหาของ GE ทำให้เชื่องช้าจากระบบการทำงานแบบราชการ Jack Welch ใช้ความเด็ดขาด ขายธุรกิจ 100 แห่งออกไปและไล่พนักงานออกมากกว่า 100,000 คน ขั้นตอนนี้เรียกว่าการปรับฮาร์ดแวร์ขั้นตอนการปรับซอฟแวร์ การปรับเปลี่ยนที่มุ่งการส่งเสริมขวัญ กำลังใจ  และผลผลิตให้สูงขึ้น การปรับปรุงทั้ง 2 ขั้นถ้าไม่ทำให้ GE เกิด ก็จะทำให้GE ตายใน 10ปี  Jack Welch ต้องสร้างขวัญกำลังใจของพนักงานขึ้นมาใหม่พร้อมกับทำให้พนักงานมีผลงานที่สูงขึ้นกว่าเดิม เพิ่มผลผลิตในระดับที่ไม่เคยทำได้มาก่อนสิ่งที่ท้าทายที่สำคัญคือการเปลี่ยนจากการเติบโตจากภายในมาเป็นการเติบโตจากภายนอก และมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับตลาด และลูกค้าJack Welch กำหนดรูปแบบผู้บริหาร 3 ประเภท คือ A B Cกลุ่ม A ยอมรับค่านิยมและมีผลงานตามเป้า พวกนี้ขานรับแนวทางที่บริษัทวางไว้ พร้อมๆไปกับการดูแลธุรกิจของบริษัทกลุ่มนี้   Jack Welch และทีมของเขาใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดที่จะเก็บรักษาไว้ ทำให้พวก A มีความสุข GE สามารถรักษาพวก A ได้ถึง 99%  ทุกครั้งที่พวก A ลาออกจะมีการหาสาเหตุในการออกอย่างละเอียดกลุ่ม B ยอมรับค่านิยม แต่ผลงานได้ตามเป้าบ้างไม่ได้บ้าง Jack Welchเห็นว่าสมควรให้โอกาสพวกนี้อีกครั้งในตำแหน่งเดิมหรือในตำแหน่งใหม่กลุ่ม C ไม่ยอมรับค่านิยมแต่อาจมีผลงานตามเป้า  สมควรให้ออกไป เพราะมองระยะยาวแล้วบริษัทจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมิ่อทุกคนในทีมยึดถือกฎระเบียบเล่มเดียวกันGE แยกลูกน้องโดยตรงออกเป็น 3 ประเภทกลุ่ม เก่งสุด 20%กลุ่มสำคัญ 70%กลุ่มล่างสุด 10% จะถูกให้ออกกลุ่มA ได้รับข้อเสนอเรื่องหุ้นและการปรับเงินเดือนอย่างสูงกลุ่มB มี 50-60%ที่เรียกว่า กลุ่มมีคุณค่าสูงเท่านั้นที่จะได้รับข้อเสนอเรื่องหุ้นรูปแบบผู้นำ GE ของจริงE เป็นอักษรย่อของรูปแบบผู้นำในอุดมคติของ Jack Welch รูปแบบผู้นำของจริงที่เป็นเรื่องของ 4E และยังอธิบายลักษณะของผู้นำในอุดมคติของเวลซ์อย่างอื่นๆ รายละเอียดที่มากกว่าที่เคยมีมาในรูปแบบใดๆรูปแบบละเอียดนี้ประกอบด้วยลักษณะ 12 ประการดังนี้1 ผู้นำที่แข็งแกร่งนำด้วยบุคลิก/จริยธรรม ผู้นำที่ดีที่สุดคือ ผู้ที่มีความน่าไว้ใจมากที่สุด2 ผู้นำที่แข็งแกร่งมีความสามารถในการแข่งขันธุรกิจ/ไหวพริบเฉียบแหลมเขามีสัญชาตญาณทางธุรกิจ ความกล้า ที่นำทางให้เขา3 ผู้นำที่แข็งแกร่งคิดแบบสากล แนวคิดใหม่อย่างแรกของเวลช์ที่นำมาใช้กับทั้งบริษัทคือ เรื่องโลกาภิวัตน์ และเขาต้องการให้ผู้นำทั้งหมดของเขามีมุมมองที่กว้างไกลครอบคลุมทั้งโลก4 ผู้นำที่แข็งแกร่งมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ลูกค้าเป็นผู้กำหนดธุรกิจ5 น้อมรับการเปลี่ยนแปลงและขจัดระบบราชการออกไป6 ผู้นำที่ดีต้องมีความสามารถในการสื่อสารสูง เอาใจเขาใส่ใจเรา รู้จักพูด รู้จักฟัง7 สร้างทีมที่มีประสิทธิภาพ8 ผู้นำที่ดีต้องพุ่งความสำคัญไปที่การทำให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรผลงานของแต่ละบุคคลจะมีค่าก็ต่อเมื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร9 ผู้นำที่ดีที่สุดจะต้องมีพลังมหาศาลและสามารถจุดประกายให้ผู้อื่นสร้างสรรค์ผลงานได้ มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และโน้มน้าวผู้อื่นให้เกิดแรงบันดาลใจได้10 ต้องมีการแพร่กระจายความกระตือรือร้น เพิ่มความสามารถขององค์กร11 มีความสามารถในการบรรลุเป้าหมายและสร้างผลงาน12 รักในสิ่งที่ทำอยู่  งานไม่ใช่งาน แต่งานคือ สิ่งที่เขารักสรุป  ผู้นำที่ดีที่สุดจะมีสไตล์ที่ ไร้ขอบเขต เปิดเผย จริงใจ เข้าใจลูกค้าน้อมรับการเปลี่ยนแปลง เกลียดระบบราชการ ไม่ขอให้ลูกน้องทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ทำ และเป็นผู้ที่มีพรสวรรค์ในการมีพลังและศักยภาพที่ไม่มีวันหมด รู้จักวิธีสร้างทีม  และวิธีสร้างผลงานต้องเป็นผู้มีความสามารถในการสื่อสารที่ดีเข้ากับลูกค้าได้และสามารถจุดประกายพลัง มีระบบการประเมินผลให้รางวัลและบทลงโทษที่ชัดเจน มีคุณธรรม จริยธรรมและมีความโปร่งใส
นายชาญชัย พานิชนันทนกุล ID:105342002
สวัสดีครับ/ค่ะท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์/อ.ยม นาคสุขและเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน      จากที่ได้รับมอบหมายแปลหนังสือเรื่อง The Leader of The Future 2 บทที่ 15 เรื่องLeading New Age Professionals เขียนโดย Marshall Goldsmith ของกลุ่ม 3 มีรายชื่อสมาชิกดังนี้                      1.นายชาญชัย      พานิชนันทนกุล   รหัส  105342002                      2.นางจำเนียร       อำภารักษ์         รหัส  106142002                      3.นายนิคม           อำภารักษ์         รหัส  106142006                      4.นางสาวปภาวี     นาคสุข                    รหัส  106142008                      5.นางจารุวรรณ     ยุ่นประยงค์        รหัส  106142009                      6.นางสาวปณิธาน  เชื้อชาติ           รหัส  106142013                      7.นายเอกราช       ดนยสกุล          รหัส  106142015จากการอ่านเนื้อเรื่องของกลุ่ม  3 สามารถสรุปได้ดังนี้…. เป็นผู้นำยุคใหม่อย่างมืออาชีพ นายมาร์แชล โกลด์สมิธเป็นที่ยอมรับนับถือในสมาคมการจัดการของประเทศอเมริกาและเป็น1ใน50 นักคิดยอดเยี่ยมที่มีบทบาทสำคัญของวงการการจัดการโดย Business Week ซึ่งเขาเป็นหนึ่งผู้นำที่ได้รับการจัดอันดับ จากหนังสือพิมพ์ The Wall Stress Journal ให้เป็น1ใน 10 ของนักบริหารชั้นนำจากทำเนียบ Forbes ซึ่งยกย่องให้เขาเป็น 1 ใน 5 ของนักบริหารที่น่าเชื่อถือที่สุด อีกทั้งยังได้รับการยกย่องจาก นักเศรษฐศาสตร์ ว่าเป็นหนึ่งในผู้นำทางความคิดที่ยอดเยี่ยมที่สุดอีกด้วยจากหนังสือ The Leader of the Future 2   กว่า20ปีที่ผ่านมาบทบาทความเป็นผู้นำในองค์กรใหญ่ๆได้เปลี่ยนแปลงไปซึ่งองค์กรต่างๆเห็นความสำคัญของผู้นำที่เฉลียวฉลาด คล่องแคล่ว ทุ่มเท มีแรงกระตุ้น เป็นนักบริหารมืออาชีพปัจจุบันผู้นำมีความกดดันในภาวะไม่แน่นอน ทำให้ต้องกลับมาดูตัวเองว่าความหมายของผู้นำที่ดีคืออะไรและงานมีความหมายอย่างไร    ในต้นปี 1980 นายมาร์แชล โกลด์สมิธ ได้มีโอกาสทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาใน องค์กรที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกาหลายแห่ง เขารู้สึกประหลาดใจมากที่วันนี้ ผู้จัดการองค์กรและพนักงานมืออาชีพทำงานหนักกันได้อย่างไร เกิดอะไรขึ้นโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงของการทำงานอย่างมืออาชีพปัจจัย 5 ประการที่สร้างโลกใหม่แห่งการทำงานอย่างมืออาชีพ·        การเพิ่มความแตกต่างของค่าตอบแทนได้เน้นเกี่ยวกับการเพิ่มค่าตอบแทนอย่างมหาศาลแก่ CEO ซึ่งเปรียบเทียบกับจำนวนของพนักงานทั่วไปรวมถึง ผู้จัดการองค์กรและพนักงานมืออาชีพซึ่งมีการขึ้นเงินเดือนในอัตราที่ต่ำมากเมื่อได้นำการปรับเงินเดือนมาเปรียบเทียบเงินเดือนที่สูงก็ย่อมมาพร้อมกับความคาดหวังที่สูงเช่นกัน บรรทัดสุดท้ายของงบการเงินคือแรงกดดันที่เกิดจากผู้ถือหุ้น·        หลักประกันความมั่นคงของงานลดลงการแข่งขันของโลกในวันนี้ งานที่มีหลักประกันความมั่นคงของผู้จัดการ และพนักงานมืออาชีพ เหมือนความฝันที่ยังห่างไกล ตลอดจนการให้รางวัลแก่ผู้ทำความดี ผู้จัดการและพนักงานมืออาชีพต่างก็อยู่กับกฎที่เข้มงวดกวดขันเพราะกลัวตกงาน โดยทั่วไปการทำงานอย่างมืออาชีพควรเพิ่มจริยธรรมเพื่อให้เกิดคุณค่าแห่งความสำเร็จ·        หลักประกันความมั่นคงทางสุขภาพและเบี้ยบำนาญลดลงเมื่อ 10 ปีที่แล้ว หลักในเรื่องการประกันสุขภาพและเบี้ยบำนาญใน อเมริกามีความซบเซาลงอย่างเห็นได้ชัด  ลูกจ้างในบริษัทหลายแห่ง ต่างประสบปัญหาธุรกิจขาดทุน และปัญหาการไม่ได้รับค่าจ้าง  ทำให้พนักงานต้องทำงานกับแรงกดดันและจำเป็นต้องสะสมของเงินตัวเองไว้ เผื่อค่าใช้จ่ายเมื่อเกษียนจากการทำงานอีกด้วย·        การแข่งขันระดับโลกถึงแม้ว่าในสมัยนั้นมีเพียงไม่กี่คนที่พูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่งในการติดต่อธุรกิจ ไม่น่าเชื่อว่า ประเทศจีน, อินเดีย หรือประเทศในแถบยุโรปตะวันออกที่มีการศึกษาน้อย จะสามารถแข่งขันทางธุรกิจกับอเมริกา และประเทศในยุโรปตะวันตกได้ ทุกวันนี้มีมืออาชีพที่ไม่ใช่คนอเมริกา ที่มีการศึกษาสูง ทำงานหนัก และสามารถพูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่วเป็นล้านคน  พวกเขาทำงานแลกเงินเดือน ถึงแม้ว่าค่าจ้างจะต่ำกว่าคนอเมริกาก็ตาม แต่พวกเขาก็มีความสุขกับการทำงานในระยะยาว·        เทคโนโลยีสมัยใหม่เดิมทุกคนเข้าใจผิดคิดว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้คนตกงานเพิ่มขึ้นซึ่งปัจจุบันผู้จัดการและพนักงานมืออาชีพได้ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและได้สร้างแนวคิด24-7Mind–setซึ่งสามารถเห็นได้ว่ามืออาชีพต่างก็ใช้โทรศัพท์มือถือหรือ PDA ในการติดต่อสื่อสาร เทคโนโลยีได้แพร่ขยายไปทั้งโลกและจะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดนิ่ง  คนรุ่นใหม่มืออาชีพต้องการอะไรจากผู้นำของเขา·        การสร้างขวัญและกำลังใจเราต้องดูที่ความต้องการของคนรุ่นใหม่มากกว่าที่จะใช้เพียงทักษะของผู้นำเท่านั้น หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าคนที่จะเป็นผู้นำนั้นต้องมีความรู้ความสามารถ ปฎิบัติตัวเป็นผู้นำตัวอย่างที่ดี  รู้จักให้กำลังใจ  ·        การเพิ่มขีดความสามารถเนื่องจากหลักประกันของงานลดลงและการแข่งขันทั่วโลกเพิ่มขึ้นการปรับปรุงทักษะเป็นสิ่งจำเป็นในอนาคต ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์พวกพนักงานมืออาชีพส่วนใหญ่นั้นมักจะเต็มใจทำงานถึงแม้ว่างานนั้นจะให้ผลตอบแทนน้อยแต่จะส่งผลให้เขาเติบโตในหน้าที่การงานในอนาคตความจงรักภักดีจะได้รับผ่านการเรียนเรียนรู้ไม่ใช่เงิน·        ทำเวลาให้มีคุณค่าคนรุ่นใหม่เหล่านี้มักมองว่าเวลาเป็นสิ่งมีค่าเพราะฉะนั้นผู้นำต้องเล็งเห็นถึงคุณค่าของเวลาใช้เวลาให้เกิดประโยชน์มีประสิทธิภาพ·        สร้างเครือข่ายในการทำงานความมั่นคงของอาชีพในอนาคตมาจากความสามารถและการสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกบริษัท คนรุ่นใหม่ จึงมักสร้างเครือข่ายนี้แก่ผู้อื่นทั้งในและนอกบริษัทให้ความรู้และนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความจงรักภักดีต่อบริษัท และจะทำให้บริษัทเติบโตสร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้าได้ในอนาคต   ·        สนับสนุนอุดมการณ์ของพนักงานพนักงานมืออาชีพที่ดีที่สุดทำงานเพื่ออนาคตข้างหน้า ไม่ได้ทำงานเพื่อเงิน พวกเขาต้องการให้สนับสนุนอุดมการณ์ของพวกเขาให้เป็นจริง·        การขยายช่องทางการจำหน่าย มีมืออาชีพหลายคนที่เป็น ตัวแทนอิสระ องค์กรต้องให้โอกาสและช่วยผลักดันไปให้ถึงอุดมการณ์  ซึ่งผู้นำที่ดีควรจะแสดงให้เห็นว่าองค์กรมีความสามารถในการช่วยเหลือพนักงานมืออาชีพและสนับสนุนพวกเขาให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก  ปัจจัยที่สำคัญที่สุด 2 ข้อ คือ 1.ต้องการให้พนักงานมืออาชีพที่ทำงานหนักมีความสุขให้กำลังใจเกิดบรรยากาศการทำงานที่ดีทุกคนอยากมาทำงาน  2.ให้ความสำคัญกับพวกเขาโดยสรุปว่า  การเป็นผู้จัดการและพนักงานมืออาชีพที่มีความเป็นผู้นำที่ดีในอนาคต   ต้องมีความรอบรู้มีความสามารถในการทำงานให้สำเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย พวกเขาต้องยอมรับสภาวะที่เปลี่ยนไปของโลกโลกาภิวัตน์ และเทคโนโลยีต่างๆและการแข่งขันที่รุนแรงในรูปแบบต่างๆ  โดยพวกเขามีความยินดีและพร้อมที่จะทำงานหนักเพื่อให้โลกรับรู้ในความสำเร็จของพวกเขา ผู้นำต้องตระหนักถึงความสำคัญของงานและองค์กรไปพร้อมๆ กัน ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความก้าวหน้าในอนาคตของพวกเขาอีกด้วย  โดยสรุปว่า  การเป็นผู้นำมืออาชีพที่ดีในอนาคต   พวกเขามีความยินดีและพร้อมที่จะทำงานหนักเพื่อให้โลกรับรู้ในความสำเร็จของพวกเขา ผู้นำต้องตระหนักถึงความสำคัญของงานและองค์กรไปพร้อมๆ กัน ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความก้าวหน้าในอนาคตของพวกเขา ซึ่งผู้นำมืออาชีพต้องมีความรอบรู้มีความสามารถในการ  ทำงานให้สำเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย พวกเขาต้องเข้าใจถึงสภาวการณ์ที่เปลี่ยนไปในโลกยุคโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะเทคโนโลยีและการแข่งขันที่รุนแรงในรูปแบบต่างๆ  ที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งผู้นำต้องมีความสามารถในการตั้งรับกับสิ่งใหม่ๆ เหล่านี้ อีกทั้งต้องสามารถพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ผู้นำจึงต้องเป็นผู้ที่ใฝ่รู้ตลอดเวลา มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถบริหารเวลาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ ที่สำคัญต้องสามารถเป็นต้นแบบที่ดีให้กับพนักงานได้  และสามารถสร้างค่านิยมในการทำงานให้พนักงานทุกคนล้วนทำงานเพื่อความสุขเป็นอันดับแรก มิใช่เพื่อเงินทอง                                                                                                                                                 

นางสาวหยาดอรุณ อาสาสำเร็จ เมื่อ อ. 13 มี.ค. 2550 @ 17:11 (192213) @ 17:58 (192256)
เรียน ศ.ดร.จีระ อ.ยม และเพื่อนๆนักศึกษา MBA ดิฉัน นางสาวหยาดอรุณ  อาสาสำเร็จ ID: 106142012 ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด (หัวหิน)

จากหัวข้อที่ได้รับมอบหมายคือให้หาจุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง เมื่อมองดูภาพรวมของตนเองก็มีดังนี้  

S จุดแข็ง

·        มีความอดทน

·        อ่อนน้อม ถ่อมตน

·        เรียบร้อย และเรียบง่าย

 

  W จุดอ่อน

·        ขี้น้อยใจ

·        ชอบคิดมาก

·        คิดช้า ไม่ค่อยทันการณ์

·        ไม่ฉลาด

·        เชื่อผู้อื่นง่ายเกินไป

·        คิดถึงผู้อื่นมากกว่าตนเอง

 

 

อย่างไรก็ตาม มนุษย์เรามักจะไม่ค่อยมองเห็นความเป็นจริงของตนเองสักเท่าไหร่  หากเพื่อนๆ ท่านใด มองเห็นจุดดี และจุดบกพร่องของดิฉัน รบกวนเสนอแนะกลับด้วยค่ะ 

 

   

นอกจากนี้  จากหัวข้อที่ได้รับมอบหมายคือให้หาจุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง และประวัติบุคคลที่ชื่นชอบเมื่อมองดูภาพรวมของตนเองก็มีดังนี้

  S จุดแข็ง
·        มีความอดทน
·        อ่อนน้อม ถ่อมตน
·        เรียบร้อย และเรียบง่าย
·       ชอบช่วยเหลือบุคคลอื่น
 W จุดอ่อน
·        ชอบคิดมาก
·        คิดช้า ไม่ค่อยทันการณ์ ไม่ฉลาด
·   เชื่อผู้อื่นง่ายเกินไป
·        คิดถึงผู้อื่นมากกว่าตนเอง

 

 

อย่างไรก็ตาม มนุษย์เรามักจะไม่ค่อยมองเห็นความเป็นจริงของตนเองสักเท่าไหร่  หากเพื่อนๆ ท่านใด มองเห็นจุดดี และจุดบกพร่องของดิฉัน รบกวนเสนอแนะกลับด้วยค่ะ
นอกจากนี้แล้วจากงานที่ได้รับมอบหมายให้หาประวัติของผู้นำที่ดิฉันชื่นชอบ ดิฉันเห็นว่ามีพระมหากษัตริย์ไทยที่ในอดีตหลายๆพระองค์ และเป็นผู้ซึ่งมีพระปรีชาสามารถในหลายๆด้าน และบางครั้งอาจมีบ้างที่หลายๆท่านคงจะลืม ดิฉันจึงได้ค้นหาประวัติบางส่วนของสมเด็จพระนารายณ์มหารามาให้เพื่อน ได้ลองอ่านดูนะคะ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ  
ประวัติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช            สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรืออีกพระนามหนึ่งว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ หรือสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสรรเพชญ์ เป็นพระราชโอรส ในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง มีพระเชษฐาคือ สมเด็จเจ้าฟ้าไชย มีพระอนุชาคือ เจ้าฟ้าอภัยทศ พระไตรภูวนาทิตยวงศ์ พระองค์ทอง และพระอินทราชา  

           พระองค์ได้ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๙๙ เมื่อพระชนมายุได้ ๒๕ พรรษา พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ทรงพระปรึชาสามารถมาก ทำให้กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของพระองค์ มีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าในทุกด้าน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ
การต่างประเทศ การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม วรรณคดีที่สำคัญหลายเรื่องเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ จนได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของวรรณคดีในสมัยกรุงศรีอยุธยา
 
           ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีชาวตะวันตกเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย เผยแพร่ศาสนาตลอดจนเข้ารับราชการ ทำให้ชาวตะวันตกยอมรับนับถือกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก
 
           ในด้านการค้าขาย ได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากยิ่งกว่าในรัชสมัยอื่น ๆ ทรงปรับปรุงกรมพระคลังสินค้า โปรดเกล้า ฯ ให้ต่อเรือกำปั่นหลวง เพื่อทำการค้ากับต่างประเทศ จึงทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้ากับชาวต่างประเทศ และต่อมาเมื่อเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ผู้เป็นชาวกรีกได้ช่วยปรับปรุงงานของกรมพระคลังสินค้าอีก ทำให้การค้าขายกับต่างประเทศเจริญรุ่งเรืองสูงสุด มีพ่อค้าชาวฝรั่งเศสบันทึกไว้ว่า "ในชมพูทวีปไม่มีเมืองใดที่จะแลกเปลี่ยนสินค้ามากเท่ากับในสยาม สินค้าขายได้ดีมากในสยามและการซื้อขายใช้เงินสด สำหรับเมืองท่าของไทยในเวลานั้น มีอยู่หลายเมืองด้วยกัน ได้แก่ มะริด ตะนาวศรี ภูเก็ต ปัตตานี สงขลา นครศรีธรรมราช เพชรบุรี และบางกอก
 
           พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ได้ส่งบาทหลวงสามคนเดินทางมากรุงศรีอยุธยา เมื่อทั้งสามคนมาถึงแล้วก็ได้มีใบบอกไปยัง พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และพระสันตปาปา ซึ่งมีความเห็นตรงกันว่าจะใช้กรุงศรีอยุธยา เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่คริสตศาสนา พระบาทหลวงได้ตั้งโรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ สมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นว่า เป็นการนำความเจริญมาให้กรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้พระราชทานที่ดินให้สร้างวัดทางคริสตศาสนาด้วย
 
           ในปี พ.ศ.๒๒๒๔ สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทรงจัดคณะทูตนำพระราชสาสน์ไปเจริญทางพระราชไมตรี ณ ประเทศฝรั่งเศส แต่คณะราชทูตสูญหายไประหว่างทาง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๒๒๖ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดคณะทูตเดินทางไปฝรั่งเศสอีกครั้ง เพื่อสอบสวนความเป็นไปของทูตคณะแรก พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงทราบก็เข้าใจว่าสมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทรงเลื่อมใสจะเข้ารีต จึงได้จัดคณะราชทูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา โดยมีเชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ เป็นหัวหน้าคณะทูต เมื่อปี พ.ศ.๒๒๒๘ ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทูลขอให้ทรงเข้ารีต แต่พระองค์ทรงปฏิเสธด้วยพระปรีชาสามารถว่า
          "การที่ผู้ใดจะนับถือศาสนาใดนั้น ย่อมแล้วแต่พระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์จะบันดาลให้เป็นไป  ถ้าคริสตศาสนาเป็นศาสนาดีจริงแล้ว
และเห็นว่าพระองค์สมควรที่จะเข้าเป็นคริสตศาสนิกแล้ว สักวันหนึ่งพระองค์จะถูกดลใจให้เข้ารีตจนได้"
           พระองค์ได้ให้เสรีภาพแก่ราษฎรทั่วไปที่จะนับถือคริสตศาสนาได้ตามความเลื่อมใสของตน ทำให้เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ พอใจ
 
           ต่อมาในปี พ.ศ.๒๒๒๘ เมื่อคณะราชทูตฝรั่งเศสเดินทางกลับ พระองค์ก็ได้จัดให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นหัวหน้าคณะราชทูตเดินทางไปฝรั่งเศส นำพระราชสาส์นของพระองค์ไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และได้ส่งกุลบุตร ๑๒ คน ไปศึกษาวิชาที่ประเทศฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงโปรดปรานเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นอย่างมาก ได้ให้เหรียญที่ระลึก และเขียนรูปภาพเหตุการณ์ไว้ด้วย เมื่อคณะราชทูตเดินทางกลับ พระองค์ได้โปรดให้มองสิเออร์ เดอลาลูแบร์ เป็นราชทูตเข้ามากรุงศรีอยุธยา พร้อมกับเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) และได้นำทหารฝรั่งเศสจำนวน ๖๓๖ นาย เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาด้วย สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ทหารฝรั่งเศสจำนวนดังกล่าว ไปรักษาป้อมที่เมืองธนบุรีส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งมีกำลังสองกองร้อยให้ไปรักษาเมืองมะริด ซึ่งมีอังกฤษเป็นภัยคุกคามอยู่
 
           ในปี พ.ศ.๒๒๓๐ สมเด็จพระนารายณ์ทรงประกาศสงครามกับอังกฤษ เนื่องจากมีเหตุบาดหมางกันในเรื่องการค้าขายกับอินเดีย รัฐบาลอังกฤษให้บริษัทอังกฤษ เรียกตัวคนอังกฤษทั้งหมดที่รับราชการอยู่ ณ กรุงศรีอยุธยา ให้กลับประเทศอังกฤษ ต่อมาชาวอังกฤษได้มาก่อความวุ่นวายในเมืองมะริดและรุกรานไทยก่อน แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรไทยได้  เนื่องจากขณะนั้นมีทหารฝรั่งเศสรักษาเมืองมะริดอยู่
 
           ในรัชสมัยของพระองค์ แม้ว่าจะมีการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ ที่เจริญรุ่งเรืองแล้วก็ตาม แต่ก็ได้มีการทำสงครามหลายครั้ง ครั้งที่สำคัญได้แก่ การยกกองทัพออกไปตีพม่าที่กรุงอังวะ ตามแบบอย่างที่สมเด็จพระนเรศวร ฯ ได้ทรงกระทำมาแล้วในอดีต และได้มีการยกกองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่สองครั้งจนได้ชัยชนะ
          
 ชาวไทยทุกคนจึงพรอ้มใจกันถวายพระสมัญญานาม    "มหาราช"แด่พระองค์ สมเด็จพระนารายณ์ ฯ เสด็จสวรรคต เมื่อ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๒๓๑ เมื่อพระชนมายุได้ ๕๖ พรรษา ครองราชย์ได้ ๓๒ ปี   ชาวจังหวัดลพบุรีได้ร่วมการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์  สมเด็จพระนารายณ์มหาราชขนาดเท่าครึ่งพระองค์จริง  ประดิษฐานไว้กลางวงเวียนเทพสตรี ซึ่งในทุกปีจังหวัดลพบุรีได้จัดการแสดง แสง สี เสียง พร้อมนิทรรศการเทิดพระเกียรติ พระองค์ท่านในงาน    "แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช"     ที่บริเวณพระนารายณ์ราชนิเวศน์ 
นางสาวหยาดอรุณ  อาสาสำเร็จ
รหัส 106142012    
นางสาวพนาวัลย์ คุ้มสุด ID: เมื่อ อ. 13 มี.ค. 2550 @ 21:13 (192416)

เรียน ศ.ดร.จีระ อ.ยม และเพื่อนๆนักศึกษาMBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด (หัวหิน) 

จากที่ดิฉันได้เรียนวิชาภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กรที่ผ่านมา โดยสัปดาห์นี้ได้รับมอบหมายให้ศึกษาผู้นำที่ชื่นชอบ โดยดิฉันขออนุญาติเลือกศึกษาประวัติท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ มีประวัติดังนี้

P 
ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์
เกิดวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2488
การศึกษา
  • ปริญญาเอกทางเศรษฐศาสตร์ ม.วอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาโททางนโยบายรัฐ ม.
    วิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาโททางเศรษฐศาสตร์ ม.วิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาตรีทางเศรษฐสตร์ ม.วิคตอเรีย นิวซีแลนด์

สถานะครอบครัว

บิดา     ฯพณฯ  สุนทร   หงส์ลดารมภ์(อดีตรองนายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

มารดา     ท่านผู้หญิงลำเจียก  หงส์ลดารมภ์

ภรรยา     คุณหญิงกัญญา  หงส์ลดารมภ์

ที่อยู่ปัจจุบัน

เลขที่ 71/39 ถ.บรมราชชนนี แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700  โทรศัพท์  0-2884-9420-2  โทรสาร 0-2884-9422

www.chiraacademy.com e-mail:[email protected]

ตำแหน่งปัจจุบัน

  • ประธานคณะทำงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เอเปค
  • เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
  • ประธาน Chira Academy ในนาม บริษัท เอเชีย แปซิฟิค คอนซัลแตนท์ จำกัด

ประสบการณ์ในอดีต

  • ผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ ม.ธรรมศาสตร์(เป็นผู้ก่อตั้งและอยู่ในตำแหน่งนาน 15 ปี)
  • รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการทางวิชาการแก่สังคม ม.ธรรมศาสตร์
  • ประธานสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ
  • กรรมการค่าจ้าง
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานประกันสังคม
  • คณะกรรมการการดำเนินงานช่วยคณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในด้านสังคม
  • คณะกรรมการจัดทำแผนอุดมศึกษาระยะยาว ทบวงมหาวิทยาลัย
  • คณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านแรงงาน
  • คณะกรรมการจัดทำแผนหลักวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลย ด้านการพัฒนากำลังคน
  • รองประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในรัฐวิสาหกิจ
  • ที่ปรึกษาประจำของธนาคารโลก, UNDP, ESCAP
  • ประธานที่ปรึกษาผู้ว่าราชการหรุงเทพฯ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • อนุกรรมการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคมในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8

บทบาทและกิจกรรมที่สำคัญในปัจจุบัน

  • ประธานคณะทำงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เอเปค
  • เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
  • ประธาน Chira Academy และบริษัท เอเชียแปซิฟิค คอนซัลแตนท์ จำกัด
  • นายกสภาวิทยาลัยวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • กรรมการสภา ม.ขอนแก่น
  • กรรมการสภา ม.อุบลราชธานี
  • นายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์

งานด้านที่ปรึกษา

  • โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร มบจ.มีเดีย อ็อฟ มีเดียส์
  • โครงการสัมมนาเพื่อหาวิสัยทัศน์ของกระทรวงแรงงาน
  • โครงการศึกษาและจัดทำโครงสร้างเงินเดือนสำหรับการเป็นรัฐวิสาหกิจที่ดีให้การไฟฟ้านครหลวง
  • โครงการดำเนินการปรับปรุงองค์กรของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • โครงการสัมมนา เพื่อหาวิสัยทัศน์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  • การวิจัยสำรวจบรรยากาศในการทำงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
  • โครงการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสำนักงาน ประกันสังคม
  • โครงการศึกษาโครงสร้างการเกษตรและสินค้ายุทธศาสตร์เกษตรในกิจกรรมด้านการจัดสรรทรัพยากรเกษตรให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • โครงการปรับปรุงกระบวนการการทำงาน บริษัท Tn-NIXDORF COMPUTER (THAILAND) CO.,LTD

เกียรติประวัติทางวิชาการ

  • ปริญญาตรีทุน Columbo
  • ปริญญาโทและปริญญาเอก ทุน Fockefeller
  • ได้รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นของ University of Washington 2545
  • เป็นนายกสมาคมศิษย์เก่าของ Universit of Washington
  • เป็นนายกสภา Schiller International University of Stamford
  • เป็นศาสตราจารย์ประจำ Schiller International University of Stamford
  • ได้ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก Schiller International University of Stamford 
  •  Award for Professional Excellence "In Rceognition of Superior Achievement in Agricultral Economice as Exemplified by Quality of Research discovery" By The American Agricultural Economics Association.

กิจกรรมด้านสื่อ

  • ที่ปรึกษาและพิธีกรรายการโทรทัศน์ "มองไปข้างหน้า" ของหนังสือพิมพ์เส้นทางเศรษฐกิจ ออกอากาศทางช่อง 9 อสมท. (2532-2533)
  • ควบคุมและเขียนบทความนำในคอลัมน์ "มันสมอง" หนังสือพิมพ์เส้นทางเศรษฐกิจ(2532-2533)
  • ควบคุมและเขียนบทความนำในคอลัมน์"Towards The 21st Century" หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์(2537-2538)
  • ผู้ผลิตรายการและพิธีกรรายการ "คนนำหน้า" ออกอากาศทางสทท.11(2538-2539)
  • ผู้ผลิตรายการและพิธีกรรายการ "แสงทองของคนกรุงเทพฯ"ให้กรุงเทพมหานคร ออกอากาศทาง สทท.11(2539-2541)
  • ผู้ผลิตรายการและดำเนินรายการ "สู้ศตวรรษใหม่"(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น "บทเรียนจากความจริงกับ ดร.จีระ") ออกอากาศทางช่อง สทท.11(2536-ปัจจุบัน)
  • ผู้ผลิตรายการและดำเนินรายการสนทนากับสาธารณชน คิดเป็น...ก้าวเป็น กับ ดร.จีระ ออกอากาศทางช่อง UBC 07(UBC News)(2541-ปัจจุบัน)
  • ควบคุมและเขียนบทความในคอลัมน์ "สู่ศตวรรษใหม่"(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น"บทเรียนจากความจริงกับ ดร.จีระ") หนังสือพิมพ์แนวหน้า (2542-ปัจจุบัน)
  • ผู้ผลิตรายการวิทยุ "Knowledge for People" ทางสถานีวิทยุอ.ส.ม.ท. FM.96.5 MHz.(ออกอากาศทุกวันนอาทิตย์ เวลา 6.00 น. - 7.00 น.)
  • เจ้าของเว็บไซต์ www.chaiacademy.com
  • เจ้าของ Blog:ทุนมนุษย์(www.gotoknow.org/chirakm)

***การบ้านที่ให้อ่านหนังสือ 2 เล่ม คือ "2 พลังความคิด ชิวิตและงาน" กับ "ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้"  ดิฉันขอส่งใน Blog ต่อไปนะค่ะ***

นางสาวพนาวัลย์  คุ้มสุด ID: 106142010

นางสาวสุพรรษา อาลี MBA 7 เมื่อ อ. 13 มี.ค. 2550 @ 22:55 (192526)

สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   .ยม นาคสุข ที่เคารพ  และเพื่อนๆนักศึกษา MBA ทุกท่าน

     จากการที่ได้เรียนวิชาภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงในสัปดาห์ที่ 3 (วันที่ 9 - 10 มีนาคม)  ดร.จีระได้สอนเกี่ยวกับเรื่องผู้นำ  และได้ให้ทำงานลง Blog ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1   คำถามที่ 1  อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้แล้วได้อะไรบ้างและเกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำอย่างไร จากการที่ได้อ่านหนังสือแล้วทำให้ได้รู้ว่า คนเป็นสมบัติที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร  เมื่อก่อนนั้นจะมีความเชื่อเก่าๆว่า คน เป็นเพียงต้นทุนการผลิต ซึ่งไม่ใช่เลย คนต่างหาก คือ ผลกำไร ที่แท้จริงขององค์กร หากได้รับการดูแลเอาใจใส่ เพิ่มศักยภาพ โดยการพัฒนาอย่างจริงจัง สม่ำเสมอ และเป็นระบบ หนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในเรื่องของการพัฒนาคน ถึงแม้ว่าท่านทั้งสองจะมีอายุที่แตกต่างกัน มีการศึกษาที่แตกต่างกัน แต่ท่านทั้งสองมีเป้าหมายเดียวกันคือ การมุ่งมั่นในเรื่อง คน คุณพารณฯ ได้เข้าไปทำงานใน เครือซิเมนต์ไทย เริ่มแรกในงานด้านวิศวกรรมคือเป็นวิศวกร เพราะท่านจบการศึกษามาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ แต่เมื่อกรรมการผู้จัดการใหญ่ได้เห็นบางอย่างในตัวของท่าน จึงให้ท่านไปเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการบุคคล ของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ถึงแม้ว่าท่านจะไม่เคยทำงานเกี่ยวกับการบริหารคนมาเลย แต่เมื่อได้รับมอบหมายท่านก็จำเป็นต้องทำ และทำได้ดีเสียด้วย คุณพารณฯ ได้ดูแลนโยบายเรื่องคนของปูนซีเมนต์ ตั้งแต่เขาเดินเข้ามาทำงานกับบริษัท และเขาจะได้รับการฝึกอบรม เอาใจใส่ดูแลจนถึงวันที่เขาเกษียณอายุออกไป เพราะคุณพารณฯ เชื่อว่าองค์กรจะดีเพราะมีคนเก่งและดี 

        และจากการที่ก่อนหน้านี้คุณพารณฯ ได้เคยทำงานในบริษัท เชลล์ ซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติมาก่อน ทำให้ท่านได้รู้ว่า เหนือสิ่งอื่นใดคือ มีการดูแล คน อย่างดี เพราะมีแนวคิดว่าคนเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดขององค์กร งานจะสำเร็จได้ด้วยคน จึงมีแผนในการพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

        และเมื่อคุณพารณฯ ได้เข้ามาอยู่ที่ปูนซิเมนต์ไทย ท่านก็ได้นำเอาวิธีการบริหารงานแบบบริษัทข้ามชาติอย่างที่เคยได้เรียนรู้มาปรับใช้เริ่มตั้งแต่การจัดโครงสร้างและระเบียบการบริหารองค์กร การทำงานที่เป็นระบบ

หลักการบริหารคนของคุณพารณฯ ที่เป็นปัจจัยให้ประสบความสำเร็จมีดังนี้

  1. เน้นความมีส่วนร่วมของพนักงานให้เกิดความผูกพันกับบริษัท
  2. ถ้ามีปัญหาต้องคุยกับพนักงานให้รู้เรื่องก่อน
  3. คุณพารณฯ จะเปิดประตูอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ลูกน้องได้พบปะปรึกษาหารือเสมือนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน
  4. มีการเอาใจใส่ดูแลและให้เพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้พนักงานตลอดเวลา
  5. มีการสนับสนุนด้านการศึกษา

     

    จะเห็นได้ว่าหลักการบริหารคนของคุณพารณฯ นั้น ได้แสดงให้เห็นถึงภาวะผู้นำของคุณพารณฯ หลายๆด้านดังนี้

    • ในตอนที่คุณพารณฯ ได้เปลี่ยนจากการเป็นวิศวกรมาเป็นนักพัฒนาคน ถึงแม้ว่าท่านจะไม่เคยทำงานด้านนี้มาก่อน แต่ท่านก็ทำได้อย่างดีมาก ซึ่งผู้นำที่ดีนั้นต้องมีความสามารถ และมีความเป็นมืออาชีพ
    • การที่คุณพารณฯ จะเปิดประตูอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ลูกน้องได้พบปะปรึกษาหารือ ถือเป็นการกระทำของผู้นำที่ดี คือ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีเมตตา มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
    • การเอาใจใส่ดูแลและให้เพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้พนักงานและการสนับสนุน ถือเป็นบุคลิกของผู้นำที่ต้องเป็นผู้ใฝ่รู้ตลอดเวลา

       

      ส่วน ดร.จีระ นั้น ด้วยความที่เป็นคนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีความกล้าที่จะทำงานทำให้ท่านได้รับเลือกให้เป็นผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยวัยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และยังเป็นผู้วางพื้นฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทย และจนถึงปัจจุบันนี้ หลายๆคนก็ยังคงนึกถึง ดร.จีระ ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์เหมือนเคย         ด้วยความที่ ดร.จีระ เป็นคนที่มีฝีมือและความสามารถ จึงได้รับมอบหมายให้ทำวิจัยเกี่ยวกับแรงงานสัมพันธ์ และการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ ขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศอย่าง ILO – International Labor Organization         จากการที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานดังกล่าวแล้ว ทำให้ ดร.จีระ ได้พบกับ คุณพารณฯ เป็นครั้งแรก เพราะ ดร.จีระ ไม่มีความรู้เรื่องนี้ เขาจึงต้องการที่จะได้เรียนรู้จากผู้รู้นั่นก็คือคุณพารณฯ ซึ่งในตอนนั้น ปูนซิเมนต์โดดเด่นมากในเรื่องการพัฒนาคน และหลังจากนั้นมา ดร.จีระ ก็ได้ยึดคุณพารณฯ เป็นต้นแบบอยู่เสมอ 

              ดร.จีระ ได้เกษียณตัวเองออกจากการสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวัยเพียง 55 ปี บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่า เขาสามารถเป็นอาจารย์ได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย ทำให้เขาสามารถขยายฐานสังคมแห่งการเรียนรู้ได้กว้างขวางกว่าเดิม

      ภาวะผู้นำของ ดร.จีระ มีดังนี้

      1. ดร.จีระ เป็นคนที่แสวงหาการเรียนรู้ตลอดเวลา
      2. สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้
      3. เป็นคนที่ขวนขวายและใฝ่รู้
      4. การมีเครือข่ายตั้งแต่วัยเยาว์ เป็นทุนทางสังคมของผู้นำ
      5. มีครอบครัวที่อบอุ่น ซึ่งเป็น ทุนมนุษย์ที่ผู้นำต้องมี
      6. มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล

         

        คำถามที่ 2  คุณพารณฯ และ ดร.จีระ มีภาวะผู้นำที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

        ท่านทั้งสองมีภาวะผู้นำที่เหมือนๆกัน หลายอย่าง สรุปได้ดังนี้

         

        • ท่านทั้งสองเกิดมาในชนชั้นปกครองของสังคมเหมือนกัน มีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดี และได้รับการอบรมสั่งสอนที่ดี ซึ่งถือเป็น ทุนมนุษย์
        • มีเป้าหมายเดียวกันคือการที่องค์กรจะสำเร็จได้ต้องให้ความสำคัญกับคน
        • ใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลาและให้ความสำคัญกับการศึกษา
        • มีทัศนคติที่ดี มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล
        • มีคุณธรรมสูงมีความเป็นธรรม
        • เน้นการทำงานเป็นทีม

         

        ส่วนที่ 2  เลือกผู้นำมา 1 คน แล้วให้เขียนประวัติ + วิเคราะห์ตามทฤษฎี

         

        ข้าพเจ้าได้เลือก คุณอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ ประวัติ เกิด 3 สิงหาคม 2507 บิดา ศ.น.พ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ มารดา ศ.พ.ญ.สดใส เวชชาชีวะ ภรรยา ดร. พิมพ์เพ็ญ (ศกุนตาภัย) เวชชาชีวะ อาจารย์ประจำ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุตร - ธิดา น.ส.ปราง เวชชาชีวะ ด.ช.ปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ  การศึกษา โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์
        โรงเรียนอีตัน ประเทศอังกฤษ
        ปริญญาตรีสาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 1) มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
        ปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
        ปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัย
        อ๊อกซฟอร์ดประเทศอังกฤษ
        ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
         ประสบการณ์การทำงาน 

        ปี 2535 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 6 (สาธร, ยานนาวา, บางคอแหลม พ.ศ.2535/1, 2535/2) กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์
        ปี 2538 และปี 2539 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 5 (ดินแดน, ห้วยขวาง, พระโขนง, คลองตัน)กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์
        ปี 2544 และ ปี 2548 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์
        ปี 2535-2537 โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
        ปี 2537-2538 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
        ปี 2538-2539 ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร
        ปี 2538-2540 โฆษกพรรคประชาธิปัตย์
        ปี 2540-2544 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบ
        - กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
        - กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
        - กำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
        - กำกับสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
        ปี 2541 ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
        ปี 2542 รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
        ปี 2548 – ปัจจุบัน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
        ปี 2548 – 23 กุมภาพันธ์ 2549 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

                เนื่องจากข้าพเจ้าชื่นชมและชื่นชอบ คุณอภิสิทธิ์ มานานแล้ว เพราะท่านเป็นคนที่มีบุคลิกดีและดึงดูดใจ และได้ติดตามผลงานของท่านมาบ้าง และเมื่อได้ศึกษาประวัติของคุณอภิสิทธิ์เกี่ยวกับด้านครอบครัว การศึกษา อาชีพการงาน และผลงานของท่าน ก็ยิ่งทำให้รู้ว่าคุณอภิสิทธิ์นั้นเป็นบุคคลที่มีความรู้และความสามารถมากมาย ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าเป็นบุคคลหนึ่งที่มีความเป็นผู้นำ

        ซึ่งสามารถวิเคราะห์ตามหลักทฤษฎี  8H’S และ 8K’S ได้ดังนี้

        • Heritage (รากฐานของชีวิต) @ Sustainable Capital (ทุนแห่งความยั่งยืน)

             คุณอภิสิทธิ์ ได้ถูกส่งไปเรียนที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่อายุ 13 ปี ซึ่งเป็นช่วงมัธยมจนถึงระดับปริญญา แต่ถึงแม้ว่าท่านจะเติบโตมาจากต่างประเทศ แต่ท่านก็รู้รากฐานของตัวเองว่าเป็นคนไทย หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วท่านจึงกลับมาที่ประเทศไทย และเริ่มอาชีพด้วยการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

                คุณอภิสิทธิ์ สนใจการเมืองมาตั้งแต่อายุ 9 ปี เนื่องจากระหว่างนั้นเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา และท่านได้เห็นคนนับหมื่นนับแสนออกมาชุมนุมกันตามท้องถนนและต่อสู้เพื่อเอาชีวิตเข้าแลก และคุณพ่อของท่านได้อธิบายว่าผู้คนเหล่านั้นออกมาเรียกร้องสิทธิ ทำให้คุณอภิสิทธิ์รู้สึกว่าทุกคนเป็นเจ้าของประเทศไทยเหมือนกัน ท่านจึงตัดสินใจตั้งแต่ครั้งนั้นว่าจะเป็นนักการเมือง

               จะเห็นได้ว่า การที่คุณอภิสิทธิ์ ตัดสินใจจะเป็นนักการเมืองนั้น เหตุผลก็คือ ท่านรู้รากเหง้าของตนเองว่าท่านเป็นคนไทยและเป็นเจ้าของประเทศไทยซึ่งเป็นแผ่นดินเกิด ท่านมีความคิดที่จะทำให้ประเทศไทยสงบสุข และนั่นก็ถือเป็นทุนแห่งความยั่งยืนทางสังคม

        • Head (สมอง : คิดเป็น คิดดี)  @  Intellectual Capital (ทุนทางปัญญา)
                คำว่า Head ในที่นี้หมายถึง การใช้สมอง การมีความคิด มีความรู้ และยังต้องมีสติ เมื่อคิดเป็นแล้วต้องคิดดีด้วย        จากการที่คุณอภิสิทธิ์มีผลงานที่โดดเด่นในหลายๆเรื่อง ทำให้ได้รับโอกาสเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายก ตอนสมัยนายกชวน หลีกภัย ทำให้คุณอภิสิทธิ์ได้แสดงความรู้ความสามารถออกมาอย่างเต็มที่ และในช่วงที่ประเทศไทยประสบกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ คุณอภิสิทธิ์ก็ได้มีส่วนช่วยคิดและช่วยผลักดันมาตรการต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหาเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดได้        และอีกประการหนึ่งคือคุณอภิสิทธิ์นั้นถึงแม้ว่าจะมีการศึกษาที่สูงอยู่แล้ว แต่ท่านก็ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่ตลอด จะเห็นได้จากการที่ท่านกลับมาศึกษาต่อเพิ่มที่ประเทศไทย

          

        • Hand (ทำงานด้วยฝีมือตนเอง)  @  Talent Capital (ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ)
                 จากการใฝ่ฝันที่จะเป็นนักการเมืองในวัยเด็กของคุณอภิสิทธิ์นั้น ทำให้เห็นว่าท่านได้ลงมือทำให้ความฝันนั้นเป็นจริงได้ โดยการศึกษาเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง มาตั้งแต่ตอนเรียนมหาวิทยาลัย และยังมาศึกษาวิชาทางกฎหมายต่อที่ประเทศไทย ท่านจึงเป็นนักการเมืองที่มีความรู้ และได้นำความรู้ที่มีอยู่นั้นมาใช้ในการพัฒนาประเทศ และท่านยังได้มีการฝึกทักษะให้พัฒนาอยู่เสมอด้วยการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ ซึ่งท่านก็ได้เป็นคนคิดและลงมือทำด้วยตัวเอง และสิ่งสำคัญท่านยังเป็นคนที่มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน แม้ว่าจะมีผู้ไม่เห็นด้วยก็ตาม 
        • Heart (จิตใจที่ดี)  @  Ethical Capital (ทุนทางจริยธรรม)
                        คุณอภิสิทธิ์เป็นคนที่มีจิตใจที่ดีและใจกว้าง จะเห็นได้ว่าเมื่อประชาชนเดือนร้อน ท่านจะยื่นมือเข้าไปช่วยเสมอ เห็นได้จาก การรับบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมปี 2548 และยังเป็นผู้แทนของประชนทุกกลุ่ม        และเมื่อปี 2546 คุณอภิสิทธิ์ได้เสนอตัวเป็นหัวหน้าพรรคแต่ไม่ได้เป็น เพราะคุณบัญญัติ บรรทัดฐาน ได้เสียงข้างมากกว่า แต่ในการพ่ายแพ้ครั้งนี้ ท่านได้ยอมรับมันและยังได้แสดงสปิริตในการให้ความร่วมมือและช่วยเหลือพรรคต่อไป ซึ่งถือเป็นทุนทางจริยธรรม  
        • Health (สุขภาพ พลานามัยที่สมบูรณ์)  @  Digital Capital (ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ)
                 จากการที่มาจากพื้นฐานครอบครัวที่ดี ทำให้คุณอภิสิทธิ์ มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง เมื่อท่านมีเวลาว่างท่านก็จะออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และท่านยังให้ความสำคัญกับกีฬาฟุตบอลเป็นอย่างมากเพราะเป็นกีฬาที่ชื่นชอบ        ส่วนทุนทางเทคโนโลยีและสารสนเทศนั้น คุณอภิสิทธิ์ก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีใหม่ๆ จึงได้จัดทำเวบไซต์ของตนเองขึ้นมา เพื่อให้ประชาชนเข้ามาดูประวัติและผลงานของท่านได้ตลอดเวลา ซึ่งถือเป็นการพัฒนาทาง IT อย่างหนึ่ง  
        • Home (บ้านและครอบครัว)  @  Human Capital (ทุนมนุษย์)
                 คุณอภิสิทธิ์ มีทุนที่เป็นทุนขั้นพื้นฐานนั่นก็คือ ทุนมนุษย์ คือตั้งแต่เด็กได้รับการอบรมและเลี้ยงดูที่ดีจากบิดามารดา ท่านมีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดีคือคุณพ่อและคุณแม่เป็นแพทย์ทั้งคู่ และท่านยังมีพื้นฐานการศึกษาที่ดีอีกด้วย จะเห็นได้ว่าคุณอภิสิทธิ์ได้เรียนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยชื่อดังทั้งในและต่างประเทศ        และเมื่อคุณอภิสิทธิ์ได้มามีครอบครัวเป็นของตัวเองแล้ว ถือได้ว่าประสบความสำเร็จในชีวิตครอบครัว เพราะได้คู่สมรสที่ดีและเก่ง และยังมีลูกๆที่น่ารักอีก 2 คน  
        • Happiness (ความสุข)  @  Happiness Capital (ทุนแห่งความสุข)
                        ถึงแม้ว่าคุณอภิสิทธิ์ จะต้องเจอกับปัญหามากมายเนื่องจากเป็นพรรคฝ่ายค้าน แต่ท่านก็ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข จะเห็นได้จากใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา และท่านมีความพึงพอใจในตนเอง มีความเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จะเห็นได้จากเมื่อเวลาที่ประชาชนเกิดปัญหา ท่านจะช่วยแก้ไขด้วยตัวของท่านเอง ซึ่งถือเป็นความสุขอย่างหนึ่งแล้วที่ได้ช่วยประชาชน  
        • Harmony (ความปรองดองสมานฉันท์)  @  Social Capital (ทุนทางสังคม)
         

                แม้ว่าในปัจจุบันนี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้มีบทบาททางการเมืองน้อยลง แต่คุณอภิสิทธิ์ก็ยังคงรักษาพรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงดูแลคนภายในพรรค และยังสร้างความสามัคคีภายในพรรค เพื่อให้อุดมการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ดำรงอยู่ต่อไป แม้ว่าระยะนี้จะมีปัญหาทางการเมือง แต่ท่านก็ยังมีเครือข่ายมากมายคือพรรคประชาธิปัตย์ตามภูมิภาคต่างๆ และท่านยังหวังอีกว่าเครือข่ายเหล่านั้นจะช่วยกันสร้างพรรคประชาธิปัตย์ให้กลับมาอีกครั้ง

         

        ส่วนที่ 3  เขียนจุดอ่อน และ จุดแข็ง ของตัวเอง

        จุดแข็ง
        • มองโลกในแง่ดีเสมอ
        • เข้ากับผู้อื่นได้ง่าย
        • ร่าเริง สนุกสนาน
        • พูดจริง ทำจริง
        • ถ้าตั้งใจทำอะไรแล้วต้องทำให้สำเร็จ
        • สามารถเรียนรู้ได้เร็ว
         จุดอ่อน
        • เชื่อคนง่าย
        • ขี้น้อยใจ
        • เอาแต่ใจตัวเอง
        • ไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
        • ไม่มีเหตุผล

         

        นางสาวสุพรรษา  อาลี

        ID 106242002    MBA 7

        มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

นางสาวปณิธาน เชื้อชาติ ID: 106142013 เมื่อ อ. 13 มี.ค. 2550 @ 23:08 (192533)

เรียน ศ.ดร.จีระ อ.ยม และเพื่อนๆนักศึกษา MBA  ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด (หัวหิน) 

งานที่ได้รับมอบหมายประการแรกคือให้หาจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง จากการที่ดิฉันได้พิจารณาตัวเองพบว่า

จุดแข็ง

  1. เป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ผูกมิตรเข้ากับผู้อื่นได้โดยง่าย
  2. มีทุนทาง IT โดยที่ดิฉันเป็นคนที่ชอบเรียนรู้ ศึกษาด้าน IT และชอบลองผิดลองถูก ด้วยตัวเองหรือสอบถามจากผู้รู้ ซึ่งทำให้เข้าได้โดยไม่ต้องจำ
  3. ชอบช่วยเหลือผู้อื่น

จุดอ่อน

  1. เป็นคนมีความรู้รอบตัวน้อย  ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม
  2. เชื่อคนง่าย มองคนในแง่ดีเกินไป
  3. เป็นคนอารมณ์ร้อน หงุดหงิดบ่อย แต่หายเร็ว

 ***อย่างไรก็ตามคนทุกคนย่อมมีจุดอ่อนและจุดแข็งแตกต่างกันออกไป   ถ้าได้รับการพัฒนาก็จะทำให้คนคนนั้นอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นคนดีและเป็นคนเก่ง***

จากการศึกษาผู้นำ ดิฉันขอเลือกนายพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

พระประวัติเสด็จในกรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์

 

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นับลำดับราชสกุลวงศ์เป็นองค์ที่ ๒๘ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์

 

ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๒๓ เวลา ๑๕.๕๗ น. ตรงกับแรม ๓ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๔๒ เป็นพระลูกยาเธอองค์ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ ( วร  บุญนาค) สมุหพระกลาโหมในรัชกาลที่ ๕

 

 พระองค์ทรงมีพระกนิษฐาและพระอนุชา ร่วมพระมารดา ๒ พระองค์ คือ พระองค์เจ้าหญิงอรองค์อรรคยุพา ( สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ ) และพระองค์เจ้าสุริยงประยูรพันธุ์ ( ต่อมาได้ดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส - ต้นราชสกุล สุริยง )

 

สมรสพระราชทาน

รัชกาลที่ ๕ ทรงสู่ขอพระราชธิดาองค์โต - หม่องเจ้าหญิงทิพยสัมพันธุ์ ของ สมเด็พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงค์ ในอภิเษกสมรสกับเสด็จในกรมฯ เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๓ พระองค์ทรงมีโอรส และพระธิดา ๓ พระองค์คือ

๑. มจ. เกียรติ อาภากร ประสูติและสิ้นชีพิตักษัยในวันเดียวกัน
๒. (พล.ท. , พล.ร.ท., พล.อ.ท) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา
๓. พล.อ.ท. มจ.รังษิยากร อาภากร

บรรดาหม่อมของเสด็จในกรม

๑. หม่อมกิม
๒. หม่อมแฉล้ม
๓. หม่อมเมี้ยน
๔. หม่อมช้อย
๕. หม่อมแจ่ม ( น้องร่วมมารดาเดียวกับหม่อมเมี้ยน)

การออกจากราชการ

 พระองค์ได้ออกจากราชการเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๔๕๔ เนื่องจากกรณีที่ถูกคิดว่า พระองค์จะคิดล้มราชบังลังค์ ร. ๖ ซึ่งพระองค์ก็ยิงยอมเพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย ตั้งแต่นั้นพระองค์ก็ศึกษาและเขียนตำรายา จึงได้สมญาว่า "หมอพร" พระองค์ได้เสด็จไปรักษาคนไข้ทั่วไป โดยมีตำรวจสะกดรอยตามไปดูด้วย แต่พระองค์ก็หายตัวทุกครั้งเมื่อรักษาเสร็จ

แม้การออกจากราชการมิได้ทำให้อำนาจของพระองค์หมดไป เมื่อครั้งพระองค์เสด็จไปตรวจตราปืนที่ป้อมพระจุลฯ พบว่า มีจุดที่ต้องแก้ไขทั้ง ๖กระบอก จึงรับสั่งให้คนดูแลเอากระดาษมา แล้วเขียนบันทึกถึงกรมพระนครสวรรค์ เสนาบดีทหารเรือ กรมพระนครสวรรค์ได้ปฏิบัติตามข้อแนะนำอย่าเคร่งครัด และทำบันทึกการแก้ไขไว้เพื่อป้องกันการเข้าถึงพระเนตรพระกรรณ์ของ ในหลวง ร. ๖ แล้วเกิดความเดือดร้อนกันเสด็จเตี่ยในภายหลัง

 

กลับเข้ารับราชการ

 ในวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเรือตรี พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ กลับเข้ารับราชการในกระทรวงทหารเรือ แล้วพระราชทานยศให้เป็นพลเรือโทตามลำดับ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ พระองค์ได้จับเรือเชลยได้ ๖ ลำ หลังจากนั้นก็ทรงทูลขอที่ดินสร้างฐานทัพเรือสัตหีบ และทรงซื้อเรือรบหลวงพระร่วง ซึ่งพระองค์เดินทางไปรับเรือด้วยพระองค์เอง และขับเรือกลับมายังแผ่นดินสยาม นับเป็นคนไทยคนแรกที่สามารถบังคับเรือได้ไกล

อาทิตย์ดับที่หาดทรายรี

 เสด็จในกรมฯ ทรงรับตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงทหารเรือไม่กี่วัน ได้กราบบังคมลาราชการออกไป เพราะมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ และประชวรโรคภายใน ทางกระทรวงทหารเรือได้ถวายเรือหลวงเจนทะเลเป็นพาหนะ พร้อมนายแพทย์ประจำพระองค์ตามเสด็จไปที่ด้านใต้ปากน้ำเมืองชุมพร ซึ่งเป็นที่ที่พระองค์จองไว้เพื่อทำสวน ขณะประทับอยู่ก็เป็นไข้หวัดใหญ่เนื่องจากตากฝน ประชวรอยู่ได้ ๓ วันก็ชิ้นพระชนม์ที่ตำบลหาดทรายรี ในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๖๖ สิริพระชนมายุ ๔๔ พรรษา   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเพลิงศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๔๖๖***การบ้านที่อ่านหนังสือขอสรุปส่งใน Blog ต่อไปนะค่ะ*** 

 

นางสาวปณิธาน  เชื้อชาติ 

 

ID: 106142013

นายประเสริฐ ชัยยะศิริสุวรรณ MBA 7 เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 12:22 (192918)

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   .ยม นาคสุข ที่เคารพ  และเพื่อนๆนักศึกษา MBA ทุกท่าน 

จากการที่ได้ค้นหาตัวเองทำให้ได้รู้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง ดังนี้ 

จุดแข็ง

  1. มีความรู้รอบตัวมากพอสมควร
  2. มีบุคลิกดี
  3. หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา
  4. มีมนุษยสัมพันธ์ดี
  5. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเสมอ
  6. มีน้ำใจกับผู้อื่น
  7. มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง
 จุดอ่อน
  1. ไม่ค่อยตรงต่อเวลา
  2. มองโลกในแง่ดีเกินไป
  3. เชื่อคนง่าย มักจะถูกคนอื่นหลอกเสมอ

  อ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ แล้วได้อะไรบ้างและเกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำอย่างไร 

คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา นั้นท่านเป็นต้นแบบที่ดีถ้าพูดถึงเรื่อง คนท่านเป็นต้นแบบใน 4 เรื่องดังนี้ 

เรื่องแรก เรื่องของคนเก่ง-คนดี ท่านมีความเชื่อว่าคนที่สามารถพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จจะต้องทั้งเก่ง ทั้งดี ไม่ใช่เก่งอย่างเดียว ท่านได้ค้นพบหลัก เก่ง 4 ดี 4” เก่ง 4 ได้แก่ เก่งงาน  เก่งคน  เก่งคิด  และเก่งเรียน ดี 4 ได้แก่ ประพฤติดี  มีน้ำใจ  ใฝ่ความรู้  คู่คุณธรรม ท่านจะแปะสูตรนี้ไว้ที่ข้างฝาเลยว่า นี่เป็นคนเก่งที่ท่านต้องการให้เกิดขึ้นในปูนซิเมนต์ไทย และก็จะเริ่มสร้างคนด้วยการทำเป็น ตัวอย่าง 

เรื่องที่สอง  ความเชื่อในเรื่องคุณค่าของคน การที่คุณพารณฯเป็นนักพัฒนาที่ยอดเยี่ยมมากๆ ก็เพราะความคิดนี้ท่านเชื่อว่าทุกคน เป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากกว่าทรัพย์สินอื่นใดในองค์กร  เราต้องพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ต้องขัดมันอยู่เรื่อยๆ แล้วก็ต้องรักษาไว้ให้ดีที่สุด 

เรื่องที่สาม  การที่คุณพารณฯ ดูแลทุกข์สุขของคนอย่างใกล้ชิด โดยมีความเชื่อว่า คนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินทองอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย 

เรื่องที่สี่  การทำงานเป็นทีม ท่านมีความเชื่อว่า สองหัวดีกว่าหัวเดียว การทำงานเป็นทีมจะเกิดจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของมากๆ เพราะเราได้มีส่วนร่วมที่จะตัดสินใจในการดำเนินการของบริษัท 

ส่วน ดร.จีระ นั้น ด้วยความที่เป็นคนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีความกล้าที่จะทำงานทำให้ท่านได้รับเลือกให้เป็นผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยวัยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  

ด้วยความที่ ดร.จีระ เป็นคนที่มีฝีมือและความสามารถ จึงได้รับมอบหมายให้ทำวิจัยเกี่ยวกับแรงงานสัมพันธ์ และการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ ขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศอย่าง ILO – International Labor Organization        

จากการที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานดังกล่าวแล้ว ทำให้ ดร.จีระ ได้พบกับ คุณพารณฯ เป็นครั้งแรก เพราะ ดร.จีระ ไม่มีความรู้เรื่องนี้ เขาจึงต้องการที่จะได้เรียนรู้จากผู้รู้นั่นก็คือคุณพารณฯ ซึ่งในตอนนั้น ปูนซิเมนต์โดดเด่นมากในเรื่องการพัฒนาคน และหลังจากนั้นมา ดร.จีระ ก็ได้ยึดคุณพารณฯ เป็นต้นแบบอยู่เสมอ 

 

ภาวะผู้นำของ ดร.จีระ มีดังนี้

  1. แสวงหาการเรียนรู้ตลอดเวลา
  2. สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้
  3. เป็นคนที่ขวนขวายและใฝ่รู้
  4. การมีเครือข่ายตั้งแต่วัยเยาว์ เป็นทุนทางสังคมของผู้นำ
  5. มีครอบครัวที่อบอุ่น ซึ่งเป็น ทุนมนุษย์ที่ผู้นำต้องมี
สิ่งที่เหมือนกัน
    1. มีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดี และได้รับการอบรมสั่งสอนที่ดี ซึ่งถือเป็น ทุนมนุษย์
    2. มีเป้าหมายเดียวกันคือการที่องค์กรจะสำเร็จได้ต้องให้ความสำคัญกับคน
    3. ใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา
    4. ให้ความสำคัญกับการศึกษา
    5. มีทัศนคติที่ดี 
    6. มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล

สิ่งที่ต่างกัน

    1. จบการศึกษามาคนละแขนงวิชา
    2. คุณวุฒิและวัยวุฒิ
    3. ประสบการณ์

++อาจารย์ให้เลือกผู้นำมา 1 คน++ 

นายชาตรี โสภณพนิช
ประธานกรรมการ
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
 

นายชาตรีดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพตั้งแต่ปี 2542 

ประวัติ

นายชาตรี เกิดในประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2476 เป็นบุตรชายคนที่สองของนายชิน โสภณพนิช  

การศึกษา

สำเร็จการศึกษาด้านการบัญชีชั้นสูงจาก Kwang Tai High Accountancy College ที่ฮ่องกง และได้ไปศึกษาเพิ่มเติมด้านการธนาคารจากประเทศอังกฤษที่ The Regent Street Polytechnic of London และ The Institute of Bankers รวมทั้งได้ฝึกงานที่ The Royal Bank of Scotland กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ชีวิตการทำงาน

เริ่มชีวิตการทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการบัญชีที่ บริษัท เอเชียทรัสต์ จำกัด เมื่อปี 2501 และมาร่วมงานกับธนาคารกรุงเทพในตำแหน่งเดียวกัน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2502 ขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ในปี 2523 นายชาตรี เป็นผู้สร้างความเจริญก้าวหน้าให้ธนาคารอย่างมากในช่วง 12 ปีทองของการดำรงตำแหน่ง ผลประกอบการทุกด้านของธนาคารกรุงเทพขยายตัวอย่างรวดเร็ว ด้วยนโยบายธนาคารแห่งคุณภาพและความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยี ที่รวมถึงการเป็นผู้นำในการใช้ระบบเครือข่ายออนไลน์แห่งแรกในประเทศไทย

นายชาตรียังได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประธานสมาคมธนาคารไทย 3 สมัย ประธานสภาธนาคารอาเซียน กรรมการกลางสภาที่ปรึกษาผู้นำทางธุรกิจระหว่างประเทศของผู้ว่าการนครเซี่ยงไฮ้ และเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น ได้รับปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย De La Salle ประเทศฟิลิปปินส์ ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย Peperdine ประเทศสหรัฐอเมริกา และรางวัลเกียรติยศ ‘Lifetime Achievement Award’ จาก Asia Pacific Bankers Congress (APBC) ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์โดยอุทิศตนเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงภาคธุรกิจการธนาคาร ทำให้ธนาคารกรุงเทพเติบโตก้าวหน้าอย่างยั่งยืน และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในภูมิภาคเอเชีย

จะเห็นได้ว่าจากการที่ท่านได้เข้ามาบริหาร ทำให้ธนาคารกรุงเทพฯ มีความก้าวหน้าจากเดิมเป็นอย่างมาก 

ท่านเป็นผู้นำที่ใช้หลักการต่างๆได้อย่างดี และตัวของท่านเองก็มี ทุนตามทฤษฎี 8K'S ทุกอย่าง 

 

นายประเสริฐ  ชัยยะศิริสุวรรณ

ID : 106242007

ม.นานาชาติแสตมฟอร์ดหัวหิน

นางสาวสุกัญญา เพ็ญสุข เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 13:09 (192960)

สวัสดีค่ะ ศ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  ท่านอาจารย์ยม นาคสุข และเพื่อนๆทุกท่าน

อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้แล้วได้อะไรบ้างและเกี่ยวกับผู้นำอย่างไร 

จากการที่ได้อ่านหนังสือแล้วทำให้ได้รู้ว่า คนเป็นสมบัติที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร  เมื่อก่อนนั้นจะมีความเชื่อเก่าๆว่า คน เป็นเพียงต้นทุนการผลิต ซึ่งไม่ใช่เลย คนต่างหาก คือ ผลกำไร ที่แท้จริงขององค์กร หากได้รับการดูแลเอาใจใส่ เพิ่มศักยภาพ โดยการพัฒนาอย่างจริงจัง สม่ำเสมอ และเป็นระบบ หนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในเรื่องของการพัฒนาคน ถึงแม้ว่าท่านทั้งสองจะมีอายุที่แตกต่างกัน มีการศึกษาที่แตกต่างกัน แต่ท่านทั้งสองมีเป้าหมายเดียวกันคือ การมุ่งมั่นในเรื่อง คน คุณพารณฯ ได้เข้าไปทำงานใน เครือซิเมนต์ไทย เริ่มแรกในงานด้านวิศวกรรมคือเป็นวิศวกร เพราะท่านจบการศึกษามาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ แต่เมื่อกรรมการผู้จัดการใหญ่ได้เห็นบางอย่างในตัวของท่าน จึงให้ท่านไปเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการบุคคล ของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ถึงแม้ว่าท่านจะไม่เคยทำงานเกี่ยวกับการบริหารคนมาเลย แต่เมื่อได้รับมอบหมายท่านก็จำเป็นต้องทำ และทำได้ดีเสียด้วย คุณพารณฯ ได้ดูแลนโยบายเรื่องคนของปูนซีเมนต์ ตั้งแต่เขาเดินเข้ามาทำงานกับบริษัท และเขาจะได้รับการฝึกอบรม เอาใจใส่ดูแลจนถึงวันที่เขาเกษียณอายุออกไป เพราะคุณพารณฯ เชื่อว่าองค์กรจะดีเพราะมีคนเก่งและดี 

คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา นั้นท่านเป็นต้นแบบที่ดีถ้าพูดถึงเรื่อง คนท่านเป็นต้นแบบใน 4 เรื่องดังนี้ 

1. เรื่องของคนเก่ง-คนดี ท่านมีความเชื่อว่าคนที่สามารถพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จจะต้องทั้งเก่ง ทั้งดี ไม่ใช่เก่งอย่างเดียว ท่านได้ค้นพบหลัก เก่ง 4 ดี 4” เก่ง 4 ได้แก่ เก่งงาน  เก่งคน  เก่งคิด  และเก่งเรียน ดี 4 ได้แก่ ประพฤติดี  มีน้ำใจ  ใฝ่ความรู้  คู่คุณธรรม ท่านจะแปะสูตรนี้ไว้ที่ข้างฝาเลยว่า นี่เป็นคนเก่งที่ท่านต้องการให้เกิดขึ้นในปูนซิเมนต์ไทย และก็จะเริ่มสร้างคนด้วยการทำเป็น ตัวอย่าง 

2.  ความเชื่อในเรื่องคุณค่าของคน การที่คุณพารณฯเป็นนักพัฒนาที่ยอดเยี่ยมมากๆ ก็เพราะความคิดนี้ท่านเชื่อว่าทุกคน เป็นทรัพย์สินที่มีค่ามากกว่าทรัพย์สินอื่นใดในองค์กร  เราต้องพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ต้องขัดมันอยู่เรื่อยๆ แล้วก็ต้องรักษาไว้ให้ดีที่สุด 

3. ดูแลทุกข์สุขของคนอย่างใกล้ชิด โดยมีความเชื่อว่า คนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินทองอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย 

4. การทำงานเป็นทีม ท่านมีความเชื่อว่า สองหัวดีกว่าหัวเดียว การทำงานเป็นทีมจะเกิดจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของมากๆ เพราะเราได้มีส่วนร่วมที่จะตัดสินใจในการดำเนินการของบริษัท 

ส่วน ดร.จีระ นั้น ด้วยความที่เป็นคนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีความกล้าที่จะทำงานทำให้ท่านได้รับเลือกให้เป็นผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยวัยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  

 ส่วนที่เหมือนกัน
  1. มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
  2. พัฒนาตนเองใฝ่เรียนใฝ่รู้อยู่เสมอ
  3. มีเป้าหมายในการทำงานที่แน่นอน
  4. ให้ความสำคัญเรื่อง "คน" เป็นอันดับแรก
  5. สร้างความผูกพันต่อเพื่อนร่วมงาน

 ข้อแตกต่าง

  1. คุณพารณทำงานด้านเอกชนส่วนอาจารย์จีระเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นราชการ
  2. มีอายุที่แตกต่างกัน
  3. คุณพารณจบวิศวกรรมศาสตร์ ส่วนอาจารย์จีระจบด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นคนละสาขาวิชากันเลย

 

จุดแข็ง

  1. มีความเมตตา
  2. มองโลกในแง่ดี
  3. มีเหตุผลเพียงพอ
  4. ตัดสินใจเด็ดเดี่ยว
  5. มีวิสัยทัศน์

จุดอ่อน

  1. ขี้น้อยใจ
  2. ใจอ่อน
  3. ดื้อรั้น ไม่ค่อยเชื่อพ่อแม่
  4. ไม่ค่อยมีความรู้รอบตัว
  5. ขาดความกระตือรือร้น     

 

++ สำหรับเรื่องผู้นำที่อาจารย์ให้ทำจะส่งใน Blog ต่อไปนะคะ ++

 

นางสาวสุกัญญา  เพ็ญสุข

MBA 7

นาย สราวุฒิ ฉายแสง เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 13:13 (192964)
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   อ.ยม นาคสุขและเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน           
จากการที่ได้อ่านหนังสือ ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์นั้น เนื้อหาภายในนั้นเน้นหนักไปที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก โดยการที่แสดงให้เห็นความสำคัญของบุคลากรภายในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากการส่งพนักงานไปฝึกอบรมให้มีความรู้ ความชำนาญในลักษณะงานที่ทำอยู่ การที่ส่งไปพนักงานอบรมนั้นก็เพื่อกลับมาพัฒนาองค์กร กล่าวคือการที่เราใช้เครื่องจักรนับวันมีแต่จะเสื่อมลง แต่กับคนยิ่งใช้ไปก็ยิ่งจะเกิดความรู้ ความชำนาญ ความสามารถที่มากขึ้น ดังนั้นก็คือการฝึกคนให้เก่ง เพียงแต่เก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องดีด้วย ความเก่งที่กล่าวถึงคือ เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด และเก่งเรียน ส่วนเรื่องดีนั้นก็คือ ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม เพราะถ้าเก่งอย่างเดียวก็อาจจะโกงบริษัท จึงจำเป็นต้องดีด้วย           
 จากทฤษฎีต่างๆที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ให้ความสำคัญกับความรู้ และการศึกษา ความรู้นั้นหมายถึงการใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจากการอ่าน การดูข้อมูลจากอินเตอร์เน็ท เพื่อที่เราจะได้ทันสมัยตลอดเวลา ส่วนการศึกษานั้นเมื่อเราเรียนจบจากสถาบันนั้นๆแล้ว ก็ไม่ควรจะศึกษาแต่ภายในรั้วของสถาบันนั้นๆ เราสามารถศึกษาได้จากทุกที่ ทุกเวลา เพื่อจะได้มีแนวความคิดใหม่ๆ  อีกอย่างที่สำคัญคือ ต้องมีการกำหนดเป้าหมายขององค์กรที่ชัดเจนและบุคลากรทุกคนต้องตระหนักอยู่ตลอดเวลาที่จะไปให้ถึงเป้าหมายนั้นให้ได้
กล่าวคือต้องมีเป้าหมายเดียวกันทั้งองค์กร ซึ่งเรื่องที่จะทำให้คนทั้งองค์กรดำเนินการตามเป้าหมายนั้น ต้องมีความรัก ความผูกพันกับองค์กร โดยการปลูกฝังค่านิยมต่างๆขององค์กรให้กับทุกคนนั้นต้องใช้เวลาและความสามารถมากโดยส่าวนตัวผมแล้วถือว่าการศึกษาหาความรู้นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนแต่ในห้องเท่านั้นเราสามารถเรียนรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเรา เช่นจากงานที่เราทำก่อน ศึกษาว่าทำอย่างไรให้งานออกมาดี มีคุณภาพ และประหยัดเวลา ซึ่งมันก็จำเป็นที่ทำให้เราต้องค้นหาวิธีเพื่อจะให้ได้ตามเป้าหมายที่หวังไว้               
 การพิจารณาจุแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง
จุดแข็ง
·       เป็นคนซื่อสัตย์ ไม่เอาเปรียบใคร
·       จริงจังกับงานที่ทำ
·       จริงใจ ตรงไป ตรงมา กับทุกคนจุดอ่อน
·       อารมณ์ไม่มั่นคง
·       บางครั้งไม่รับฟังความเห็นของผู้อื่น
·       สังคมน้อย  ผู้นำที่ชื่นของ ได้แก่ ประธาน เหมา  ( เหมา เจ๋อ ตุง )
เหมาเจ๋อตุง
อดีตประธานาธิบดี ผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ท่านประธานเหมา เจ๋อ
ตุง เกิดวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2436 ในครอบครัวชาวนา อาศัยอยู่ในเขตชนบทชานเมืองสาวซาน มณฑลหูหนาน อายุ 8 ขวบ เข้าโรงเรียนประถมในหมู่บ้าน ร่ำเรียนคำสอนหลักลัทธิขงจื้อ ปลูกฝังความคิดตามจารีตโบราณ ต่อมาถูกคลุมถุงชนให้แต่งงานกับหญิงสาวที่อายุมากกว่า ด้วยวัยเยาว์ทำให้ไม่ประสากับชีวิตครอบครัว อีกทั้งต้องการก้าวสู่โลกกว้างมากกว่ามีชีวิตปลูกพืชเลี้ยงสัตว์อยู่กับบ้านไปวันๆ

ตัดสินใจขัดใจพ่อแล้วเดินทางออกจากบ้านเกิดเข้าตัวอำเภอฉางชา
เรียนหนังสือในโรงเรียนตามหลักสูตรรัฐบาล เป็นนักเรียนโค่งร่วมชั้นกับเด็กเล็กๆ ต่อมาสอบเข้าเรียนต่อวิทยาลัยครูหูหนาน จากนั้นมุ่งหน้าเข้ามหาวิทยาลัยปักกิ่ง เรียนไปทำงานหน้าที่ผู้ช่วยบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยไปด้วย

และห้องสมุดนั่นเองที่เป็นคลังความรู้ให้สะสมภูมิปัญญา ทั้งแตกฉานทางอักษรศาสตร์ยอดเยี่ยม ว่ากันว่าความรู้ที่ได้จากห้องสมุดมหาวิทยาลัยปักกิ่งคือต้นทุนที่ทำให้เขาปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของจีนได้สำเร็จ

เหมาทุ่มเทเวลาให้กับการเรียนหนังสืออย่างจริงจัง
เวลาว่างเขาเขียนบทความลงหนังสือของวิทยาลัยครู ใช้นามแฝง "เอ้อสือปาวาเซิง" หรือ "นายยี่สิบแปดขีด" ตามชื่อของเขาที่เมื่อเขียนเป็นภาษาจีนแบบตัวเต็มรุ่นเก่า จะมีทั้งหมด 28 ขีด งานเขียนส่วนใหญ่ของเหมาแสดงทัศนะวิพากษ์วิจารณ์การปกครองของราชสำนักชิงซึ่งเป็นชาวแมนจู

นักศึกษาหนุ่มหัวก้าวหน้าจึงเป็นที่จับตาของสายลับรัฐบาล
นั่นไม่เป็นผลอะไร เพราะที่สุดเหมารวมพลคนใจเดียวกัน ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนใน พ.ศ.2464 และปีเดียวกัน เขาเป็นแกนนำหยุดงานประท้วงของคนงานเหมืองแร่ที่อันหยวน เขียนหนังสือ "พลังปฏิวัติเบ่งบานออกมาจากปากกระบอกปืน" แล้วก่อตั้งกองทัพแดงกรรมกรและชาวนา ตามด้วยกองทัพปลดแอกประชาชน ปฏิบัติการ "ป่าล้อมเมือง" จนมีชัยเหนือเจียง ไค เช็ก

เหมา เจ๋อ ตุง กุมอำนาจรัฐเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เขาสถาปนา
"สาธารณรัฐประชาชนจีน" ดำรงตำแหน่งประธานสาธารณรัฐจนถึงพ.ศ.2512


ชีวิตครอบครัวเขามีภรรยา 3 คน 1.นางหยาง ไค อุย เสียชีวิตในการทำสงครามเพื่อชาติ พ.ศ.2464 2.นางเอ ชิ เจิ้น นายพลหญิงแห่งกองทัพแดง และ 3.เชียง ชิง ผู้นำการปฏิวัติกองทัพแดง หรือเรด การ์ด อันนองเลือดลือลั่นครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีนใหม่ นางฆ่าตัวตายปี 2534

เหมา เจ๋อ ตุง ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2519นาย สราวุฒิ ฉายแสงรหัส 106142011มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด(หัวหิน)
นางสาวหยาดอรุณ อาสาสำเร็จ เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 13:21 (192971)

 

เรียน ศ.ดร.จีระ อ.ยม และเพื่อนๆนักศึกษา MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด 

 

ขอเพิ่มเติมพระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชดังนี้ค่ะ



สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 27 ของกรุงศรีอยุธยา ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231
  

สมเด็จพระนารายณ์มีพระขนิษฐาร่วมพระมารดาเดียวกัน นามว่า พระราชกัลยาณี มีพระราชอนุชานามว่า เจ้าฟ้าอภัยทศ พระอัยกาของสมเด็จพระนารายณ์ก็คือ สามเด็จพระเอกาทศรถ ขณะมีพระชนม์ได้ 5 พรรษา เสด็จออกไปเล่นที่เกย ขณะนั้นฝนกำลังตก พระนมพี่เลี้ยงห้ามไม่ฟัง ให้กรดกางก็ห้ามเสีย ขณะยืนอยู่ที่เสาหลักชัย ฟ้าฝ่าลงมาต้องหลักชัยแตก แต่พระนารายณ์กุมารมิได้เป็นอันตราย


พระขนิษฐาพระราชกัลยาณี ต่อมาภายหลังจึงได้มีการสถาปนาเป็นกรมหลวงโยธาทิพ ส่วนพระราชธิดาเป็นกรมหลวงโยธาเทพ พระเจ้าหลุยซ์ที่ 14 เคยส่งของมีค่ามาถวายกรมหลวงโยธาเทพอีกด้วย


สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญแตกต่างจากวีรกษัตริย์พระองค์อื่น พระองค์ทรงมีความเฉลียวฉลาดปราดเปรื่อง เป็นที่ยกย่องสรรเสริญ พระปรีชาสามารถแผ่ไปไกลถึงต่างประเทศ แม้แต่ปืนใหญ่ซึ่งพระองค์ถวายเป็นของขวัญแก่พระเจ้าหลุยซ์ที่ 14 ปืนกระบอกนั้น นักต่อต้านชาวฝรั่งเศสเคยใช้ยิงทำลายคุกบาสติลมาแล้ว


สมเด็จพระนารายณ์ ทรงทำนุบำรุงให้บ้านเมืองรุ่งเรืองยิ่งกว่าสมัยใดในกรุงศรีอยุธยา มีความสามารถพิเศษในการปกครอง มีข้าราชการและเหล่าทหารหาญตามคัมภีร์พิชัยสงครามคือ หัวศึก ได้แก่เจ้าพระยาโกษาเหล็ก มือศึก ได้แก่พระยาเดโชชัย ตีนศึก ได้แก่พลช้างม้าครบถ้วน ตาศึก ได้แก่พระพิมลธรรม หูศึก ได้แก่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ปากศึก ได้แก่พระวิสุตรสุนทร (โกษาปาน) กำลังศึก ก็คือผู้คนช้างม้า เสบียงอาหารอุดมสมบูรณ์ในรัชสมัยของพระองค์


สำหรับ พระราชกัลยาณี พระขนิษฐาของพระนารายณ์ ทรงเป็นราชธิดาที่มีพระรูปสิริวิลาสเลิศนารีเป็นที่ยิ่ง พระศรีสุธรรมาซึ่งเป็นพระเจ้าอาของพระนารายณ์และพระราชกัลยาณีครองกรุงศรีอยุธยามาได้สองเดือนกับอีก 20 วัน และถูกสำเร็จโทษ ณ วัดโคกพระยา   ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของชาติไทยย้อนอดีตไปได้ประมาณกว่า 300 ปี สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีคณะราชทูตจากฝรั่งเศส อัญเชิญพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มาถวายแด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในปีพุทธศักราช 2228 ในระหว่างปีพุทธศักราช 2228 - 2230 รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชคณะบาทหลวงเจชูอิตชาวฝรั่งเศส ได้มาเผยแพร่ดาราศาสตร์ไทยในประเทศไทย มีสิ่งก่อสร้าง เช่น หอดูดาววัดสันเปาโล เป็นหอดูดาวแห่งแรกในประเทศไทย

 

 

 พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์ ดังนี้ 1. พระราชนิพนธ์โคลง  เรื่องทศรถสอนพระราม
 2. พระราชนิพนธ์โคลง  เรื่องพาลีสอนน้อง
 3. พระราชนิพนธ์โคลง  เรื่องราชสวัสดิ์
 4. สมุทรโฆษคำฉันท์   (ตอนกลาง)
 5. คำฉันท์กล่อมช้าง    (ของเก่า)
 6.  บทพระราชนิพนธ์โคลงโต้ตอบกับศรีปราชญ์และกวีมีชื่ออื่นๆ
  อนุสรณ์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ที่แท่นฐานมีแผ่นป้ายประดิษฐานคำจารึกว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง
ทรงพระราชสมภพ ณ กรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2175
สวรรคต ณ เมืองลพบุรี เมื่อ พ.ศ. 2231
พระองค์ทรงมีพระบรมราชกฤษดาภินิหารเป็นอย่างยิ่งในรัชสมัยของพระองค์
วรรณคดีและศิลปของไทยได้เจริญถึงขีดสูงสุด
มีสัมพันธไมตรีแผ่ไพศาลเป็นอย่างยิ่ง
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ประชาชนชาวไทย
 นอกจากอนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว อนุสรณ์ที่สำคัญของสมเด็จพระนารายณ์ ได้มีผู้แต่งเพลงเทอดพระเกียรติคุณอันสูงส่งของพระองค์ คำร้องเพลงนี้ไม่ทราบนามผู้แต่ง เป็นเพลงทำนองโยสลัม    
วิเคราะห์ภาวะผู้นำสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
1.    เป็นผู้คิดและมองการณ์ไกล เช่นมีการค้าและการติดต่อกับชาวต่างประเทศ ได้แก่ เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย มลายู ชวา อังกฤษ ฮอลันดา โปรตุเกส และฝรั่งเศส
2.    เป็นผู้รอบรู้ เป็นยอดนักปราชญ์ทางด้านการปกครองทั้งทางการทางทหาร ต่างประเทศ รวมถึงวรรณกรรมต่างๆ
3.    มีการเรียนรู้ตลอดเวลา และมีการนำสิ่งใหม่ๆมาดัดแปลงใช้ให้กับสังคมไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4.    มีการวางแผน และคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตได้
5.    มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว
6.     พระองค์ทรงมีความคิดรอบคอบใช้พระสติตริตรองปัญหาที่เผชิญหน้าอย่างดีที่สุด7.    มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ สร้างความสามัคคี
8.    เป็นผู้มีจรรยาบรรณ
9.    เป็นผู้ที่มีความเสียสละ 

 

นางสาวหยาดอรุณ  อาสาสำเร็จ

 

ID: 106142012 

นางสาวหยาดอรุณ อาสาสำเร็จ เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 13:32 (192979)

เรียน ศ.ดร.จีระ อ.ยม และเพื่อนๆนักศึกษา MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ดทุกท่าน  

ก่อนอื่นต้องขออภัยทุกท่านที่ดิฉันต้องทยอยส่ง Blog  เนื่องจากทางหมู่บ้านของดิฉันมีปัญหาเรื่องไฟฟ้า ซึ่งดับวันละหลายๆครั้ง (จนกลายเป็นเรื่องปกติ) และการขาดแคลนทางด้านเทคโนโลยี  

ฉบับนี้จึงขอส่งงานจากการที่ได้อ่าน "ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้" ค่ะหนังสือเล่มนี้ ได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ช่วงความรู้ ได้แก่ เรื่องของสองแชมป์, คัมภีร์คนพันธุ์แท้, จักรวาลแห่งการเรียนรู้ และ สู่การเพิ่มผลผลิต   

โดยในช่วงแรก เรื่องของสองแชมป์ ได้มีการกล่าวถึง ประวัติ และประสบการณ์ทำงานของบุคคลที่น่าสนใจคือ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งได้มีเป้าหมายที่เหมือนกัน  คือมีการมุ่งเน้นและให้ความสำคัญในเรื่องของ พัฒนาคน  ถึงแม้นว่าทั้ง 2 ท่านจะมีประวัติชีวิต ประวัติการทำงาน และมีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน    

ช่วงที่สอง คัมภีร์คนพันธุ์แท้ ได้มีการกล่าวถึงปรัชญา ความเชื่อและความศรัทธา  ·   ปรัชญา ในส่วนของ HR จะมุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้ คือคุณภาพด้านการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะมีส่วนต่อคุณภาพทรัพยากรมนุษย์โดยตรง

·   ความเชื่อ และความศรัทธา  ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม จะต้องมีความเชื่อในระบบการเรียนรู้ และในสิ่งที่จะทำก่อน เพราะถ้ามีความเชื่อ หรือศรัทธาว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นสิ่งที่ดี ที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ ก็จะทำให้เกิดมีพลังความมุ่งมั่น และก่อให้เกิดกำลังใจ ที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จ     

ช่วงที่สามจักรวาลแห่งการเรียนรู้  ได้มีการกล่าวถึงคุณสมบัติ 3 ประการสำหรับคนไทยเพื่อก้าวสู่ระดับโลก ได้แก่

1.    ความกล่องแคล่วทางด้านภาษา ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

2.    เทคโนโลยี

3.    คุณธรรมนอกจากนี้แล้วยังมุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาบุคคลทางด้านการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการปฏิบัติจริง รู้จริง เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ แยกแยะปัญหา และมีการคิดอย่างมีระบบ รวมทั้งสามารถพึ่งพาอาศัยตนเองได้ ซึ่งจะทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้แล้วจะต้องมีการเรียนอยู่อยู่ตลอดชีวิต   

ช่วงที่สี่ สู่การเพิ่มผลผลิตบอกถึงการพัฒนาทรัพยากรเพื่อให้สามารถก้าวไปสู่ระดับประเทศได้นั้น จะต้องได้รับความร่วมมือจากภาคต่างๆ เช่น ภาคเอกชน ภาครัฐบาล ภาควิชาการ และพนักงานหรือแรงงานโดยมีความเชื่อที่ว่า วิธีที่จะส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ การสร้างความร่วมมือในกลุ่มพันธมิตรกับหน่วงงานราชการ และการเผยแพร่แนวความคิดการเพิ่มผลผลิต ตลอดจนเทคนิคต่างๆไปยังเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ และนักธุรกิจทั่วไป

 

นอกจากนี้แล้วการเพิ่มผลผลิตจะประสบความสำเร็จได้นั้น องค์กรจะต้องมีวัฒนธรรม และคนในองค์กรจะต้องมีระเบียบวินัย ซึ่งผู้นำจะต้องมีความสามารถในการตัดสินใจสูง และจะต้องลงมือทำควบคู่ไปด้วย ไปใช่เพียงแต่สั่ง แล้วไม่ได้ทำอะไรเลย นอกจากนี้แล้วการสนับสนุนด้านงบประมาณและคน เช่นการให้กำลังใจแก่พนักงาน การหาผู้ที่มีความรู้มาให้ความรู้ และมีการส่งพนักงานไปฝึกงาน    

นอกจากนี้แล้วตอนท้ายของเล่ม ได้มีบทวิเคราะห์ถึงความคล้ายคลึงกันขงบุคคลทั้งสอง ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 6 ข้อคือ

1.    การเดินเข้าสู่สนามของงานสร้างทรัพยากรมนุษย์ด้วยความบังเอิญ

2.    มุ่งมั่น และยืนหยัดในการพัฒนาทรัพยากรบนปรัชญาแห่งความยั่งยืน

3.    การเป็นผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดต่อสังคม

4.    การมีบุคลิกแบบ  “Global Man”

5.    มีความเป็นผู้ใหญ่ ที่พร้อมไปด้วยการเป็นผู้ให้ ทั้งความรู้และความรัก กับคนใกล้ชิด

6.    มีความสุขกับการเป็นผู้ให้ โดยไม่สนใจ และไม่หวังสิ่งใดตอบแทน    

ทฤษฎี 4 L’s  คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ·        Village that Learn    : หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้

·        School that Learn    : โรงเรียนแห่งการเรียนรู้

·        Industry that Learn  : อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู้

·        Nation that Learn    : ชาติแห่งการเรียนรู้ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

·        Learning Methodology   : เข้าใจวิธีการเรียนรู้

·        Learning Environment   : สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

·        Learning Opportunity    : สร้างโอกาสในการเรียนรู้

·        Learning Community     : สร้างชุมชนการเรียนรู้   

สิ่งที่ได้รับจากการอ่านหนังสือเล่มนี้คือ

·        วิธี และแนวทางในการบริหารทรัพยากรมนุษย์

·        ต้องรู้จักคิดเป็น และต้องสามารถลงมือปฏิบัติได้ ไม่ใช่เพียงแต่พูดเท่านั้น

·        คนคือผลกำไร และเป็นสมบัติที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร

·        องค์กรจะต้องมีการหมั่นพัฒนาทำอยู่สม่ำเสมอ

·        ต้องหมั่นเป็นผู้ใฝ่รู้

·        การที่จะเป็นผู้นำที่ดีขององค์กร จะต้องเป็นผู้รู้จักให้ และเสียสละ   

ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่าง คุณพารณและ ศ.ดร.จีระ

·        ความเหมือน

1.    มุ่งเน้น และความสำคัญในเรื่อง คน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร

2.    การเป็นผู้ใฝ่รู้ที่ไม่มีวันหมดสิ้น

3.    เป็นผู้ให้โดยไม่หวังผลตอบแทน

4.    รู้จักคิดอย่างมีเหตุ มีผล และรอบคอบ

5.    การมีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดี และมีการปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก6.    เป็นผู้นำทางด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 

·        ความต่าง

1.    วัยวุฒิ

2.    การศึกษา

3.  ตำแหน่งในหน้าที่การงานแลทางสังคม

โดย ศ.ดร. จีระเป็นนักวิชาการทำงานให้กับภาครัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ ส่วนคุณพารณเป็นนักบริหารองค์กรเอกชน

นางสาวนภาพร พิพัฒน์ MBA 6 ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด หัวหิน เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 13:48 (192988)

เรียน ศ.ดร.จีระ อ.ยม และเพื่อนๆนักศึกษา MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด 

จากการอ่านหนังสือพลังความคิดชีวิตและงานของคุณหญิงทิพาวดีเมฆสวรรค์ และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมในช่วงของบทนำคุณหญิงทิพาวดีได้กล่าวที่มาของทฤษฎี 8 H มาจากได้อ่านหนังสือ 7 ้habit และเพื่อให้จดจำง่ายและเป็นสากลจึงได้มีทฤษฎี 8้ ้H เกิดขึ้น และได้นำเอาวัฒนธรรมไปเชื่อมโยงเพื่อให้จับต้องได้เช่นสินค้า OTOP ท่านได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับคนโดยกล่าวว่าองค์กรณ์จะประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับคน ไม่ใช่อุปกรณ์หรือเทคโนโลยี

 

8 H ประกอบด้วย กับ Heritage ซึ่งตรงK ของศ.ดร.คือ

Sustainable Capitalทุนแห่งความยั่งยืน เมื่อเราเกิดมาต้องรู้จักรากเหง้าของตนเองก่อนและต้องมีculture ด้วย เพื่อให้คนไทยได้ลึกซึ้งทราบถึง วัฒนธรรมของตน เมื่อเรารู้ความเป็นตัวของตัวเองแล้วจะรู้ว่าเรามีอะไรที่พอเพียง อะไรเกิน และอะไรที่ขาดอยู่ อะไรที่ต้องพัฒนาต่อไป

Head ตรงกับK ของศ.ดร.จีระคือ Intellctual Capital ทุนทางปัญญา    จากการที่ กิจ.ดร.กับคุณหญิงทิพาวดีได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันทำให้ทราบว่าปัจจุบันสังคมเศรษฐกิจใช้ความรู้เป็นพื้นฐาน เมื่อรู้แล้วรวยจะตามมาเอง ในแวดวงสุขภาพจะพูดว่าคุณกินอะไรสำหรับคุณหญิงทิพาวดีคุณคิดอะไร คุณหญิงเชื่อว่าทรัพยากรมนุษย์นั้นสามารถเพิ่มมูลค่าและพัฒนาไปได้ตลอดไม่มีจบสิ้น ซึ่งต่างจากทรัพยากรอื่นที่จะลดมูลค่าลงเรื่อยๆ ในยุคโลกาภิวัฒน์ ความรู้และปัญญาคืออำนาจ การเป็นผู้นำนั้นต้องรู้มาก รู้็้้กว้าง และรู้ลึก ตามทฤษฎี 4 L

 

Hand ตรงกับKของ ศ.ดร.จีระคือTalent Capitalทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนะคติ   ความเป็นมืออาชีพนั้นงานที่ทำไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไร ก็สามารถทำให้เป็นมืออาชีพได้ ก็เท่ากับประสบผลสำเร็จในส่วนนั้นแล้ว ความคิดใหม่เกิดขึ้นทุกวันแต่คนที่ประสบความสำเร็จคือคนที่นำความคิดนั้นไปทำให้เกิดผล ศ.ดร.จีระกล่าว่าผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ควรเร่งสร้าง

ทุนความรู้ในมนุษย์ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้องค์กร

 

Heart ตรงกับทฤษฎีของศ.ดร.จีระคือEthical Capital ทุนทางจริยธรรม   ถ้าผู้นำขาดคุณธรรมก็ไม่สามารถพัฒนาองค์กรหรือประเทศได้ ก็จะสร้างปัญหาให้กับสังคมมากยิ่งขึ้น

 

 Health ตรงกับK ของศ.ดร.จีระDigital Capital ทุนทางITซึ่งเป็นข้อเดียวที่ความหมายต่างกันทางทฤษฎีของ ศ.ดร.จีระกับคุณหญิงทิพาวดี คุณหญิงทิพาวดีกล่าวว่าการจะมีสุขดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตเด็กรุ่นใหม่หมกมุ่นกับIT จนลุ่มหลง จะต้องเรียนรู้อย่างมีสติจะต้องรู้ว่าเราเป็นนายหรือทาสของIT   

 

HomeตรงกับKของศ.ดร.จีระคือHuman Capital ทุนมนุษย์ทุนมนุษย์เริ่มมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และเกิดมาต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากพ่อ-แม่ การศึกษาและเมื่อมีสิ่งเหล่านี้แล้วจะสามารถต่อยอดทุนมนุษย์สร้างมูลค่าเพิ่มให้ตนเอง สังคม องค์กรและประเทศชาติได้เป็นอย่างดี

 

 

Happiness ตรงกับKของศ.ดร.จีระคือHappiness Capital ทุนแห่งความสุข  การมีทัศนะคติเชิงบวกทำให้มีความสุขทุกสถานการณ์ถ้ามนุษย์มีทุนทางความรู้   ทุนทางปัญญาและทุนทางจริยธรรมแล้วย่อมมีความสุขได้ง่ายกับทุกสถานการณ์ เพราะมีความรู้ความสามารถ มีสติปัญญาที่จะประสบความสำเร็จโดยไม่เบียดเบียนใคร

 

 

HarmonyตรงกับKของ ศ.ดร.จีระคือSocial Capital ทุนทางสังคม  คนที่จะประสบวามสำเร็จได้ต้องรู้จักการวางตัวที่เหมาะสม และรู้จักการเข้าสังคมได้เหมาะสมกับหน้าที่และบทบาทของตัวเองต่อสังคม

 

 

จากการอ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ ทำให้ทราบถึงแนวทางในการดำเนินชีวิตให้ประสบผลสำเร็จทั้งทางด้านชีวิตการงานและชีวิตครอบครัว และยังทราบอีกว่าได้เกิดปีเดียวกันกับ ศ.ดร.จีระได้รับรู้ถึงการเอาชนะกับปัญหาทุกสิ่งอย่างด้วยวิธีการคิดอย่างมีแบบแผนการหลักแหลมในการวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ นอกจากหนังสือเล่มนี้จะให้แนวทางมากมายในการประสบผลสำเร็จด้วยการนำไปประยุกต์ใช้แล้ว ยังได้รับรู้ถึงอรรถรสของอารมณ์ต่างๆ ตามการสนทนา  ข้อแตกต่างระหว่างคุณพารณกับ ศ.ดร.จีระคือ วัยวุฒิ พื้นฐานการเลี้ยงดูของครอบครัว จบการศึกษาต่างวิชาชีพกัน  ข้อเหมือนกันคือ เป้าหมายที่ต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพราะมีความเชื่อเดียวกันคือมนุษย์มีแต่มูลค่าเพิ่มซึ่งต่างจากสิ่งอื่นใดในโลก

 

 

ข้อดีของตนเอง
1.  อดทน ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก
2.  ควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ดีในทุกๆสถานการณ์
3.  ให้กำลังใจตัวเองทุกครั้งเมื่อเหนื่อยล้า
ข้อเสียของตนเอง
1.  ขาดความมั่นใจเมื่อต้องพบเจอคนมาก
2.  มีโลกส่วนตัวสูง
3. พูดตรงเกินไป

 

 

.ส นภาพร พิพัฒน์   MBA 6   

 

ID  106142007

 

น.ส.ปภาวี นาคสุข ID 106142008 MBA 6 เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 13:51 (192992)

เรียน ท่านศ.ดร.จีระ , ท่าน อ.ยม และสวัสดีเพื่อน MBA 6 และ 7 ทุกท่าน

 

จากการที่ดิฉันได้ทำการสำรวจ และวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนของตนเองแล้ว พบว่า

จุดแข็ง
  1. เป็นคนมองโลกในแง่ดี
  2. มีความกตัญญูรู้คุณ
  3. เก่งวิชาคำนวณ
  4. เรียนรู้เร็ว
  5. เป็นคนดี
จุดอ่อน1.        รักการนอน มากกว่าการอ่าน2.        ความรู้รอบตัวมีน้อย3.        ไม่ชอบวิชาบรรยาย เพราะอ่านหนังสือมากๆ แล้วมักจะง่วงนอน4.        ยังไม่ได้ตั้งเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน 

จากที่ได้อ่านหนังสือเรื่องทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้แล้ว สิ่งที่ได้จากการอ่านคือ ได้ทราบถึงประวัติ และแนวความคิดต่างๆในการบริหารองค์กร และบริหารคนอันน่าชื่นชมของท่านอาจารย์ที่มากด้วยประสบการณ์และเป็นปูชนียบุคคลที่ทรงคุณค่าทั้ง 2 ท่านคือ ท่านพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  โดยเนื้อหาสำคัญของหนังสือเล่มนี้ ทั้ง 2 ท่านมีจุดประสงค์หลักคือนำเสนอแนวทางในการบริหาร โดยการมุ่งมั่นในเรื่อง คนเน้นเรื่องวัดผล เรื่องความยั่งยืนระยะยาว และแสวงหาความคิดใหม่ๆ อยู่เสมอ

 

หนังสือเล่มนี้ มีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารองค์กรให้ประสบความสำเร็จมากมาย ซึ่งดิฉันจะขอสรุปแนวคิดที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรเป็นข้อๆ ดังนี้

1)       คนเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร เพราะองค์กรจะดีเพราะมีคนเก่งและดี องค์กรจะแย่เพราะมีคนไม่เห่งและคนไม่ดี

2)       ท่านพารณฯ ได้นำระบบ TQM มาใช้เป็นนโยบายหลักของทุกบริษัทในเครือซิเมนต์ไทย โดยเน้นการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพควบคู่ไปกับการพัฒนาคน ในขณะที่นักบริหารของไทยส่วนใหญ่จะมุ่งให้ความสำคัญกับปัญหาทางด้านการเงิน และผลกำไรมากกว่าความสำคัญของพนักงาน

3)       ต้องหมั่นเรียนรู้และเข้ารับการฝึกอบรมปีละหลายๆ เรื่อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์

4)       เน้นความมีส่วนร่วมของพนักงานให้เกิดความผูกพันกับบริษัท 

5)       การพัฒนาบุคลากรเป็นการลงทุนของบริษัทที่ไม่ใช่ต้นทุน เพราะคนเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญสูงสุดที่ต้องมีการเอาใจใส่ดูแล หมั่นพัฒนาให้เพิ่มพูนความรู้ความสามารถอยู่ตลอดเวลา ดังเช่นที่ท่านพารณฯ ได้ให้ทุนการศึกษาแก่พนักงานบริหารทุกระดับชั้นที่มีความสามรถไปศึกษาต่อยังมหาวิทยาลัยชั้นนำ TOP 10

6)       ผู้บริหารต้องเป็นผู้ที่ขับพลังและอัจฉริยภาพของบุคลากรในทุกระดับองค์กร

7)       ผู้บริหารควรมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความกล้าที่จะทำงานแหวกวงล้อมเพื่อเดินไปสู่เป้าหมายให้สำเร็จ8)       บุคลิกที่ท่านพารณฯ มีและผู้นำทุกคนควรมี คือ การอ่อนน้อมถ่อมตน ท่านจะไม่ยึดติดกับคำยกย่องสรรเสริญทั้งปวง

9)       ท่าน ศ.ดร.จีระ มีความกล้าที่จะกระโดดออกมาจากการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยฯ ซึ่งกลับทำให้ท่านสามารถขยายฐานสังคมแห่งการเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง และสามารถเป็นอาจารย์ได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย นั่นก็แสดงถึงการจะเป็นผู้นำที่ดีได้ ต้องกล้าที่จะคิด กล้าที่จะตัดสินใจ และต้องเชื่อในสิ่งที่จะกระทำ  และที่สำคัญก็กล้าที่จะคิดนอกกรอบ บ่งบอกถึงการมีความคิดสร้างสรรค์

10)    แนวคิดของท่าน ศ.ดร.จีระ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับตนเองได้มีดังนี้

10.1)      การทำงานที่ดีคือการทำงานที่เอาความสามารถของคน แต่ละคนมารวมกัน และสามารถปรับตัวได้ดี โดยมีทุนที่ 4 คือ ทุนแห่งความสุขและความสมดุล มากกว่าคนอื่น

10.2)      ไม่ควรหลงยึดติดกับความเก่งของตัวเอง

10.3)      ชีวิตของอาจารย์ทุกวันนี้มีแต่คำว่าไม่รู้ และพร้อมที่จะเรียนรู้ และรับฟังชีวิต มองตัวเองให้            น้อยลง มองคนอื่นมากขึ้น10.4)      ข้อดี 4 ประการจากวัยเยาว์ที่ช่วยส่งเสริมให้ ศ.ดร.จีระ ประสบความสำเร็จได้คือ

1. การเป็นนักฟุตบอลของโรงเรียน ในตำแหน่งกองหน้า เป็นการฝึกฝนให้ท่านเป็นคนแสวงหาการเรียนรู้ตลอดเวลา สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ 

2. เป็นคนเกิดปีลิง ทำให้ท่านเป็นคนขวนขวายและใฝ่รู้ ดูได้จากการที่ท่านเคยสอบซ่อมวืชา English 1 ยังผลให้ท่านขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมในห้องสมุดจนไม่พลาดเรื่องสอบอีก 

3. มีเครือข่ายตั้งแต่วัยเยาว์ และมาจากครอบครัวที่อบอุ่น บ่งบอกถึงการมีทุนมนุษย์ที่ดี  

4. อาชีพอาจารย์ สามารถทำงานได้ภายใต้แรงกดดัน และทำงานได้หลากหลายแบบ11)    

 ทฤษฎี 4 L’s ของท่านพารณฯ

·        Village that Learn  หมู่บ้านแห่งการเรียนรู้

·        School that Learn  โรงเรียนแห่งการเรียนรู้

·        Industry that Learn  อุตสาหกรรมแห่งการเรียนรู้

·        Nation that Learn   ชาติแห่งการเรียนรู้12)    ทฤษฎี 4 L’s ของท่าน ศ.ดร.จีระ ฯ

·        Learning Methodology  เข้าใจวิธีการเรียนรู้

·        Learning Environment  สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

·        Learning Opportunity  สร้างโอกาสในการเรียนรู้

·        Learning Community  สร้างชุมชนการเรียนรู้

13)    ท่านพารณฯ นิยมชมชื่นในสิ่งที่ลูกน้องทำ และเวลาชมก็จะชมต่อหน้าคนอื่นๆ จึงทำให้ลูกน้องเกิดความตั้งใจในการทำงานอย่างมา

4)    คนที่มีความสุขคือคนที่อดทนคนอื่นได้เก่ง

15)    ไม่ว่าจะทำอะไรต้องมีความเชื่อก่อน เชื่อว่าสิ่งนี้แล้วจึงทำ ไม่ใช่ทำเพราะเขาว่ากันมา

16)    เรื่อง เก่ง 4 ดี 4 , เก่ง 4 ได้แก่ เก่งงาน เก่งคน  เก่งคิด  และเก่งเรียน , ดี 4 ได้แก่ ประพฤติดี  มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้  คู่คุณธรรม ตั้งเพื่อให้พนักงานมีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน

17)    การฝึกอบรมควรจัดให้พนักงานทุกระดับ ทั้งระดับล่าง และระดับบน เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจตรงกัน

18)    คนไม่ได้ต้องการผลตอบแทนที่เป็นเงินเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องการผลตอบแทนทางใจด้วย  คือให้การดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น ร่วมทานอาหารกลางวันกับพนักงานเป็นประจำ เพื่อให้พนักงานเกิดความรู้สึกที่ดีต่อผู้บริหาร ในความเป็นกันเอง และยังช่วยในเรื่องการรับรู้ข่าวสาร และบางปัญหาที่เกิดกับพนักงานระดับล่างได้อีกด้วย

19)    สภาพแวดล้อมในการทำงาน ควรเป็นบรรยากาศของความเป็นมิตรเป็นทีมเวิร์ค การทำงานเป็นทีมจะเกิดจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของมากๆ เพราะพนักงานได้มีส่วนร่วมที่จะตัดสินใจในการดำเนินการของบริษัท

20)    เรื่องการมีส่วนร่วม เวลาที่มีการออกความเห็น พนักงานทุกคนจะมีแต้มเท่ากับผู้บริหาร โดยที่ไม่จำเป็นต้องยึดติดว่าประธานที่ประชุมจะต้องเป็นเสียงใหญ่สุด

21)    เราควรคิดเสมอว่า เราทำงานเพื่องาน เพื่อความสุขจากการทำงาน แล้วเงินคือสิ่งที่จะตามมา

และประโยคที่ดิฉันประทับใจมากจากหนังสือเล่มนี้ คือ จักรยานนานไปก็เสื่อม แต่คนถ้าทะนุบำรุง พัฒนา ยิ่งนานยิ่งเก่งกล้า แต่ในทำนองเดียวกัน คนถ้าไม่ดูแลพัฒนาก็เสื่อม หรือเสื่อมเร็วกว่าวัตถุด้วย” ทำให้รู้ซึ้งเลยว่าคนเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง หากองค์กรใดมีคนเก่ง และดี องค์กรก็จะไปได้ดี และการที่คนจะดีและเก่งได้ ต้องได้รับการดูแล บำรุงรักษา อย่างถูกวิธี เปรียบเสมือนกับการปลูกต้นไม้ในบ้าน ต้นไม้เปรียบได้กับคนในองค์กร บ้านเปรียบเป็นองค์กร 

 

ส่วนผู้บริหารก็เป็นคนรดน้ำ ใส่ปุ๋ย เมื่อเรานำต้นไม้มาปลูกเราก็ต้องรดน้ำ ใส่ปุ๋ย หากมีส่วนใดที่ดูแล้วไม่สวยงาม หรือไม่เป็นประโยชน์ ก็ทำการตัดและตกแต่งเสียใหม่ เพื่อให้ต้นไม้ต้นนี้เติบโต ให้ผลผลิต และเมื่อเติบโตเป็นไม้ใหญ่ก็จะสามารถให้ร่มเงาแก่บ้านของเราได้ องค์กรก็เช่นกัน ผู้บริหารมีหน้าที่ดูแล และพัฒนาคนในองค์กรให้เติบโตเป็นเหมือนต้นไม่ใหญ่ จึงจะทำให้องค์กรนั้น เป็นองค์กรแห่งความสำเร็จได้

 

 ประวัติของผู้นำที่เลือกเพื่อทำการศึกษา และวิเคราะห์แนวความคิด ได้แก่ชื่อ  : คุณวิกรม กรมดิษฐ์
วันเกิด : 15 เมษายน 2496
ที่อยู่  : 2126 อาคารกรมดิษฐ์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
E-mail : [email protected], [email protected]
Website : www.amata.com, www.vikrom.net
การศึกษา 
Bachelor’s Degree : วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ไต้หวัน
PHD’s Degree  : ปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารทั่วไป มหาวิทยาลัยราม           
 ตำแหน่งปัจจุบัน
1975 :  ประธานกรรมการ บริษัทอมตะ โฮลดิ้ง จำกัด
1989 : ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทอมตะคอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน)
         : กรรมการบริษัท บี ไอ พี ดีเวลล๊อปเม้นท์ จำกัด
1994 : ประธานกรรมการบริหารบริษัท อมตะเวียดนาม จำกัด
1995 : กรรมการบริษัท อมตะพาวเวอร์ จำกัด
         : กรรมการบริษัท อมตะเอ็กโก้ พาวเวอร์ จำกัด
1996 : ประธานกรรมการบริหารบริษัท อมตะ พาวเวอร์ เบียนหัว จำกัด
         : ประธานมูลนิธิอมตะ
2001 : ประธานบริษัท อมตะ เนชั่นแนลแกส ดิสตริบิวชั่น จำกัด กรรมการบริษัท อมตะเอ็กโก้ พาวเวอร์ จำกัด
2002 : ประธานกรรมการที่ปรึกษา บริษัท อมตะเวียดนาม จำกัด
Simple Life
ที่พักของเศรษฐีที่รวยเป็นอันดับที่ 29 ของเมืองไทย คุณคิดว่าจะโอ่โถงเพียงไหน... บ้านหินอ่อน โซฟาหลุยส์ แชนเดอเลียหรูจากอิตาลี โฮมเธียเตอร์ครบชุด ชุดเฟอร์นิเจอร์ไม้สักทองโบราณ จากุซซี่ขนาดยักษ์ ห้องฟิตเนสครบวงจร...ที่กล่าวมาไม่มีสักอย่าง ณ บ้านพักของวิกรมที่เขาใหญ่
Profit Organization
วันที่ 17 มีนาคม 2550 หลังรับการบริจาคเงินก้อนมหาศาลจากวิกรม มูลนิธิอมตะจะมีทุนหนาเกือบหมื่นล้านบาท ซึ่งน่าจะขึ้นแท่นเป็นมูลนิธิระดับบุคคลอุปถัมภ์ที่มีเงินมากมายที่สุดอีกแห่ง แต่นั่นไม่เพียงพอที่จะทำให้มูลนิธินี้เป็น "อมตะ" สมความตั้งใจของผู้ก่อตั้งวิกรมจึงต้องนำโมเดลธุรกิจมาจัดการอย่างเข้มข้น
Great Image Creator
จากลูกที่เคยเกือบจะยิงพ่อ จากเพลย์บอยหาตัวจับยาก วันนี้ภาพลักษณ์ใหม่ในสังคมของวิกรมคือ นักบริหารผู้มีวิสัยทัศน์ที่มักได้รับเชิญให้แสดง "วิชั่น" ผ่านสื่อหลายแขนง และนักบุญผู้คอยสนับสนุนผู้ด้อยโอกาส
I’m a Dreamer!!
"ผมเป็นคนชอบหลอกตัวเองด้วยการสร้างความรู้สึกในแง่ดีบ่อยๆ กระทำจนเป็นนิสัยในการล่อหลอกตัวเองให้ทำในสิ่งที่ "ฝัน" ไว้ เพราะความฝันคือเข็มทิศ เป็นพลังขับเคลื่อนชีวิต เป็นน้ำหล่อเลี้ยงมนุษย์ และที่สำคัญ ความฝันไม่เสียสตางค์" วิกรมเขียนไว้ในหนังสือ "มองโลกแบบวิกรม"
วิกรม กรมดิษฐ์ Think Tank ที่ไม่ทำงาน?
ไม่บ่อยครั้งนักที่อันดับต้นๆ ของผลโหวต 50 "ผู้จัดการ" Role Model จะปรากฏชื่อบุคคลที่ "ผู้จัดการ" ไม่เคยนำเสนอเรื่องราวของเขามาก่อน การที่ "วิกรม กรมดิษฐ์" ได้รับคะแนนการยอมรับจากผู้อ่านสูงถึงอันดับ 5 ในปีนี้จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องหาคำตอบ
   
นันทผล เถาลิโป้ เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 15:28 (193100)

เรียน ท่านอาจารย์ จิระ และ ท่านอาจารย์ ยม  

1.    คุณได้อะไรจากการเรียนในสัปดาห์นี้

·        สิ่งแรกที่จะกล่าวนั้นก็คือ ได้เจออาจารย์จิระ ซึ่งถือว่าเป็นเกียติอย่างยิ่งอีกครั้ง หลังจากที่เคยเจออาจารย์เมื่อตอนที่ได้เรียน Mini-MBA ซึ่งตอนนั้นกล่าวได้ว่ายังไม่เข้าใจ แต่ครั้งนี้ที่ได้เรียนเกี่ยวกับภาวะผู้นำ ทำให้เกิดความเข้าใจเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้กับ ร้านอาหารชาวเล ของผมได้เป็นอย่างดี 

2.    วิเคราะห์ข้อดี- ข้อเสีย ของตัวเอง 

ข้อดี ข้อเสีย
1.    จริงใจ 1.    ใจอ่อนในการทำงาน
2.    มุ่งมั่น 2.    อารมณ์ร้าย
3.    กล้าคิด กล้าทำ 3.    ด้าน IT

 

3.    อ่านและจับประเด็น ในหนังสือ HR Champions

·        ผมได้ทราบถึงความเป็นมาของทั้ง 2 ผู้รู้ ในด้านบุคคลที่มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนษย์

·        ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารงานของคุณพารณ ในขณะที่ท่านบริหารงานอยู่ที่ ปูนซีเมนต์ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจร้านอาหารได้

·        ได้รู้เกี่ยวกับการบริหารงานอย่างมีคุณธรรม

·        ได้ทราบถึงทฤษฏี 4L’s ของคุณพารณ และ อาจารย์จิระ

·        ได้รู้เกี่ยวกับการบริหารคน การส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับพนักงาน เพื่อเพิ่มค่าให้พนักงาน ซึ่งตอนแรกผมคิดว่าการจ่ายเงินเดือนพนักงาน เพื่อส่วนหนึ่งของต้นทุน แต่เมื่อได้เรียนและได้อ่านหนังสือแล้ว

 

ทำให้ทราบว่า พนักงานนั้นถือว่าเป็นส่วนสำคัญของร้านอาหาร เพื่อส่วนในการสร้างรายได้ให้กับร้านถ้าไม่มีพนักงานที้งหมด 60 คนในร้าน ด้วยตัวผมเองก็ไม่สามารถทำงานทั้งหมดได้ด้วยคนเดียว

นันทผล เถาลิโป้ เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 15:30 (193103)
1.    ประวัติผู้นำที่ข้าพเจ้าชื่นชอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว http://kmitnb05.kmitnb.ac.th/~at36318/king.htmlพระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาชูเซสท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๘๙ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๗๐ มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (พระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) และสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ซึ่งภายหลังทั้งสองพระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระเชษฐภคินีและพระเชษฐา

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นิวัติประเทศไทยเป็นครั้งแรก ในพุทธศักราช ๒๔๘๑ โดยประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เป็นการชั่วคราว แล้วเสด็จกลับไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จนถึงพุทธศักราช ๒๔๘๘ จึงโดยเสด็จพระราชดำเนิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นิวัติประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ครั้งนี้ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง ในวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตโดยกระทันหัน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกันนั้น แต่เนื่องจากยังทรงมีพระราชภารกิจด้านการศึกษา จึงต้องทรงอำลาประชาชนชาวไทย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร พร้อมทั้งพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม

สรุป

คงจะไม่มีเหตุผลใดๆ มาบรรยายได้พอเพียงว่าทำไมผมถึงชื่นชอบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ในหลวง)

สำหรับหลักการภาวะผู้นำของในหลวง นั้นเมื่อเทียบกับทฤษฎี 8K’s ของอาจารย์จิระแล้วนั้น ผมสามารถตอบได้เลยว่า พระองค์ทรงมี ครบทุกหลักการ โดยมุ่นเน้นด้านจริยธรรม

สำหรับการวิเคราะห์เชิงบริหาร วิศัยทัศน์ของในหลวง อาจจะไม่ได้มุ่งเน้นให้ประเทศไทยต้องเป็นที่ หนึ่งด้านการค้าโลก หรือว่าจะต้องมีชื่อเสียง ด้านการค้ากับนานาชาติแต่วิศัยทัศน์ของพระองค์มุ่งเน้นความอยู่รอดของประชาชน ทุกระดับชั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในกลุ่ม เกษตรกร และประชาชนราดหญ้า พระองค์ทรงสนับสนุนการส่งเสริมการเกษตร อย่างต่อเนื่อง

และนี้เองคือสาเหตุว่าทำไมคนไทยถึงรัก ในหลวง รวมทั้งผม
อัสมา แวโน๊ะ ชุด2 เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 15:35 (193111)
เรียน ท่านอาจารย์ จิระ และ ท่านอาจารย์ ยม และผู้อ่านทุกท่าน สำหรับการบ้านในสัปดาห์นี้ประกอบไปด้วย

1.    คุณได้อะไรจากการเรียนในสัปดาห์นี้

2.    วิเคราะห์ข้อดี- ข้อเสีย ของตัวเอง

3.    อ่านและจับประเด็น ในหนังสือ HR Champions พร้อมทั้งวิเคราะห์หาความเหมือนและแตกต่างระหว่าง อาจารย์พารณ และ อาจารย์จิระ

 4.    ประวัติผู้นำที่เลือก พร้อมทั้งวิเคราะห์ ทักษิณ 

1 คุณได้อะไรบ้างจากการเรียนในสัปดาห์นี้

 วันศุกร์ สำหรับสิ่งที่ดิฉันได้โดยภาพรวม จะเป็นเกี่ยวกับการเปิดกรอบแนวความคิดสำหรับการเป็นผู้นำ ให้คิดเป็น ทำเป็น พร้อมทั้งควรมีการคิดต่อยอด เพื่อเป็นการป้องกันปัญหา ตลอดจน แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผนแบบยั่งยืน วันเสาร์ สิ่งที่ได้รับในการเรียนวันนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎี 8k, 8H และทฤษฏี 3 วงกลม ซึ่งเป็นทฤษฏีที่สามารถนำไปใช้ในการบริหารการเป็นผู้นำของตนเองได้ ตลอดจนการมุ่งเน้นถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างต่อเนื่องรวมถึงการวัดผลอย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วงบ่ายได้มีการเปิด VDO สัมภาษณ์ อาจารย์พารณ เมื่อ 13 ปีที่แล้วทำให้ได้เข้าใจถึงหลักการบริหารบุคลากรมากขึ้น ซึ่งสามารถจับประเด็นได้ว่า

·        ทรัพยากรมนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์

 

·        เน้นเรื่องการดูแลรักษาบุคคลภายในและภายนอก หมายถึง ความเป็นอยู่ของพนักงาน และ สนองตอบถึงความต้องการของลูกค้า

 

·        หลักการบริหารงาองค์กร คือ การกระจายอำนาจ empowerment

 

 ·        เรียนรู้เกี่ยวกับการยกตัวอยางการบริหารงานของอาจารย์ พารณ เมื่อสมัยท่านบริหารงานที่ปูนซีเมนต์ไทย ซึ่งสามารถนำปรับใช้กับการบริหารงานในองค์ของตัวเองได้ สรุป         นอกเหนือจากการได้เรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฏีต่างๆ ข้างต้นแล้ว ในรูปแบบการเรียนการสอนของอาจารย์จิระ เป็นรูปแบบ Work Shop ทำให้มีการระดมความคิด แลกเปลี่ยนความคิดกับพี่ๆ และเพื่อนในกลุ่ม ซึ่งถือเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

ข้อเสนอ สำหรับการเรียนครั้งต่อไป อยากให้มีการสลับที่นั้งเพื่อจะมีเห็นมุมมองของพี่ๆ และเพื่อนในชั้นเรียนกันอย่างทั่วถึง

 

 2. วิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ของตัวเอง         ก่อนจะทำการวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ของตัวเองนั้นของแนะนำตัวเล่าประวัติส่วนตัวเล็กน้อยเพื่อช่วยในการวิเคราะห์พิจารณา        ดิฉัน นางสาวอัสมา  แวโน๊ะ อายุ 22 ปี 8 เดือน จบการศึกษาปริญญาตรี บริหารธุรกิจสาขาการบัญชีต้นทุน หลังจบการศึกษาทำงานเป็นผู้ช่วยผู้สอบบัญชี และปัจจุบันได้ตัดสินในออกมาเปิดบริษัท เกี่ยวกับการอบรมและพัฒนาบุคลากร โดยเน้นด้านสายงานโรงแรมและธุรกิจบริการ  
ข้อดี
·        มีความเชื่อมั่นในตัวเอง
·        มีเหตุผล
·        เป็นคนสนุกสนาน เป็นกันเอง 
 ข้อเสีย
·        เป็นคนใจร้อน
·        ไม่ตรงต่อเวลา
·        ไม่ดูแลสุขภาพ
3. อ่านและจับประเด็น ในหนังสือ HR Champions พร้อมทั้งวิเคราะห์หาความเหมือนและแตกต่างระหว่าง อาจารย์พารณ และ อาจารย์จิระ  จากการได้มีโอกาสได้อ่านหนังสือ HR Champions นั้นสามารถสรุปได้ตามประเด็นของหัวข้อในรายการตาม สารบัญ ได้ดังนี้  เรื่องของสองแชมป์ 1.    ทางชีวิตสองแชมป์ 2.    พารณฯ : “ช่างใหญ่ธงชัยปูน 3.    จิระ : จารึกไว้บนรายทาง สรุป           จากการได้อ่านในบทที่ 1-3 ทำให้ทราบถึงประวัติของคุณพารณ และอาจารย์จิระ โดยเริ่มจากการกล่าวถึงความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ท่าน มาเจอกันได้อยางไร ได้ร่วมงานอะไรกันมาบ้าง และมีแนวคิดที่เหมือนกันคือ การส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนษย์ของไทย            ในส่วนบทต่อมาเป็นการเล่าถึงประวัติความเป็นมาของคุณพารณ เกี่ยวกับการทำงานที่เชล และต่อมาทำที่ ปูนซีเมนต์ไทย ซึ่งได้มีการสัมภาษณ์ คุณยุพา บัวธรา และ คุณอุทัย คันธเสวี ซึ่งเป็นบุคคที่เคยทำงานร่วมกับคุณพารณ ได้เล่าเกี่ยวกับแนวการบริหารงาน บริหารคน ของคุณพารณ ซึ่งสามารถนำมาปรับกับองค์ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ซึ่งคุณพารณได้บริหารงานด้วยความมีจริยธรรม           สำหรับในส่วนของบทที่ 3 เป็นการพูดถึงอาจารย์จิระ จากหลายๆบุคคลที่เคยทำงานร่วมกับอาจารย์จิระ ซึ่งทำให้ทราพถึงแนวทางการทำงานตลาดจนการที่มุ่งมั่นในการสร้าง สถาบันทรัพยากรมนุษย์ที่มหวิทยาลัยธรรมศาสาตร์   คัมภีร์คนพันธุ์แท้ 1.    ปรัชญาที่ปลายนวม  2.    ความเชื่อและศรัทธา 3.    บันไดแห่งความเป็นเลิศ 4.    ให้ความรักถึงจะภักดี 5.    มหัสจรรย์แรงจูงใจ สรุปเป็นการกล่าวถึงแนวทางการพัฒนาซึ่งได้เน้นเรื่องการศึกษาและการฝึกอบรม เพื่อส่งผลให้มีการเพิ่มผลผลิตมากขึ้น โดยได้เรียนรู้หลักการของอาจารย์จิระ สำหรับทฤษฏี 8 K’s          ตลอดจนมีการยกตัวอย่างการทำงาน การมีคุณธรรมกับลูกน้องและพนักงานเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงาน   จักรวาลแห่งการเรียนรู้ 1.    สานสร้าง Global Citizenสรุป      เป็นเสมือนตั๋วเดินทางสำหรับคนไทยก้าวสู่ระดับโลก 1.    ความคล่องแคล่วในภาษาไทยและ อังกฤษ 2.    เทคโนโลยี 3.    คุณธรรม  สู่การเพิ่มพลผลิต 1.    ปลายทางไทยสู่ชัยชนะ คือนิยามทรัพยากรมนุษย์พันธุ์ใหม่2.    บทบันทึกพารณจีระณ สู่ศตวรรษใหม่ 3.    ส่งท้าย..คนพันธุ์แท้ ! 4.    จีระพบ Guru   สรุป      เป็นการกล่าวให้เห็นว่า เมื่อ คู่รู้ ทั้งอาจารย์พารณ และ อาจารย์จิระ หลังจากที่มานะพยายาม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคคลกรแล้ว ควรที่จะมีการปรับองค์กร มาเป็นองค์แห่งการเรียนรู้ ซึ่งหมายความถึง นอกเหนือจากการกระตุ้นให้พนักงานรักที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองแล้ว องค์กร หรือ หน่วนงานก็ต้องช่วยกันพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดทรัพยากรมนุษย์พันธ์ใหม่ในองค์กร       ซึ่งจากบทสนทนา นอกเหนือจาก ลูกค้า ที่องค์กรจะให้ความสนใจแล้ว ยังรวมถึง พนักงาน ซึ่งเป็นกลุ่มคนในที่สำคัญอันดับหนึ่ง นั้นหมายถึง ขวัญ และกำลังใจในการทำงาน
น.ส.ศิรดา มากมี เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 20:04 (193346) เมื่อ ศ. 16 มี.ค. 2550 @ 13:25 (195087)
สวัสดีค่ะ ศ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  ท่านอาจารย์ยม นาคสุข และเพื่อนๆทุกท่านจากการที่ได้เรียนวิชาภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงในสัปดาห์ที่ 3 (วันที่ 9 - 10 มีนาคม 2550)  ขอนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายดังต่อไปนี้  ตอนที่1 เขียนจุดแข็ง-จุดอ่อน ของตนเอง และจากการที่ได้ค้นหาตัวเองทำให้ได้รู้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง ดังนี้   
จุดแข็ง
    
  1. มองโลกในแง่ดี    
  2. มีความจริงใจกับผู้อื่น
  3. สามารถเรียนรู้และปรับตัวยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้
  4. มีมนุษยสัมพันธ์ดีเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย
  5. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเสมอ
  6. มีน้ำใจกับผู้อื่น
 
จุดอ่อน
    
  1. ไม่ค่อยตรงต่อเวลา
  2. ไม่ค่อยมีความคิดสร้างสรรค์
  3. ขาดประสบการณ์
  4. ขี้น้อยใจ
  5. เชื่อคนง่าย
  ตอนที่ 2   คำถามที่ 1  อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธ์แท้แล้วได้อะไรบ้างและเกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำอย่างไร  จากการที่ได้อ่านหนังสือแล้วทำให้ได้รู้ว่าคนเป็นสมบัติที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร  เมื่อก่อนนั้นจะมีความเชื่อเก่าๆว่าคนเป็นเพียงต้นทุนการผลิต ซึ่งไม่ใช่เลย คนต่างหาก คือผลกำไรที่แท้จริงขององค์กร หากได้รับการดูแลเอาใจใส่ เพิ่มศักยภาพ โดยการพัฒนาอย่างจริงจัง สม่ำเสมอ และเป็นระบบ หนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในเรื่องของการพัฒนาคน  ถึงแม้ว่าท่านทั้งสองจะมีอายุที่แตกต่างกัน มีการศึกษาที่แตกต่างกัน แต่ท่านทั้งสองมีเป้าหมายเดียวกันคือ การมุ่งมั่นในเรื่องคน” คุณพารณฯ ได้เข้าไปทำงานใน เครือซิเมนต์ไทย เริ่มแรกในงานด้านวิศวกรรมคือเป็นวิศวกร เพราะท่านจบการศึกษามาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ แต่เมื่อกรรมการผู้จัดการใหญ่ได้เห็นบางอย่างในตัวของท่าน จึงให้ท่านไปเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการบุคคล ของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ถึงแม้ว่าท่านจะไม่เคยทำงานเกี่ยวกับการบริหารคนมาเลย แต่เมื่อได้รับมอบหมายท่านก็จำเป็นต้องทำ และทำได้ดีเสียด้วย คุณพารณฯ ได้ดูแลนโยบายเรื่องคนของปูนซีเมนต์ ตั้งแต่เขาเดินเข้ามาทำงานกับบริษัท และเขาจะได้รับการฝึกอบรม เอาใจใส่ดูแลจนถึงวันที่เขาเกษียณอายุออกไป เพราะคุณพารณฯ เชื่อว่าองค์กรจะดีเพราะมีคนเก่งและดี          และจากการที่ก่อนหน้านี้คุณพารณฯ ได้เคยทำงานในบริษัท เชลล์ ซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติมาก่อน ทำให้ท่านได้รู้ว่า เหนือสิ่งอื่นใดคือ มีการดูแลคนอย่างดี เพราะมีแนวคิดว่าคนเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดขององค์กร งานจะสำเร็จได้ด้วยคน จึงมีแผนในการพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ        และเมื่อคุณพารณฯ ได้เข้ามาอยู่ที่ปูนซิเมนต์ไทย ท่านก็ได้นำเอาวิธีการบริหารงานแบบบริษัทข้ามชาติอย่างที่เคยได้เรียนรู้มาปรับใช้เริ่มตั้งแต่การจัด โครงสร้างและระเบียบการบริหารองค์กร การทำงานที่เป็นระบบหลักการบริหารคนของคุณพารณฯ ที่เป็นปัจจัยให้ประสบความสำเร็จมีดังนี้1.    เน้นความมีส่วนร่วมของพนักงานให้เกิดความผูกพันกับบริษัท 2.    ถ้ามีปัญหาต้องคุยกับพนักงานให้รู้เรื่องก่อน 3.    คุณพารณฯ จะเปิดประตูอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ลูกน้องได้พบปะปรึกษาหารือเสมือนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน 4.    มีการเอาใจใส่ดูแลและให้เพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้พนักงานตลอดเวลา 5.    มีการสนับสนุนด้านการศึกษา  จะเห็นได้ว่าหลักการบริหารคนของคุณพารณฯ นั้น ได้แสดงให้เห็นถึงภาวะผู้นำของคุณพารณฯ หลายๆด้านดังนี้·           ในตอนที่คุณพารณฯ ได้เปลี่ยนจากการเป็นวิศวกรมาเป็นนักพัฒนาคน ถึงแม้ว่าท่านจะไม่เคยทำงานด้านนี้มาก่อน แต่ท่านก็ทำได้อย่างดีมาก ซึ่งผู้นำที่ดีนั้นต้องมีความสามารถ และมีความเป็นมืออาชีพ ·          การที่คุณพารณฯ จะเปิดประตูอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ลูกน้องได้พบปะปรึกษาหารือ ถือเป็นการกระทำของผู้นำที่ดี คือ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีเมตตา มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ·          การเอาใจใส่ดูแลและให้เพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้พนักงานและการสนับสนุน ถือเป็นบุคลิกของผู้นำที่ต้องเป็นผู้ใฝ่รู้ตลอดเวลา  ส่วน ดร.จีระ นั้น ด้วยความที่เป็นคนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีความกล้าที่จะทำงานทำให้ท่านได้รับเลือกให้เป็นผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยวัยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และยังเป็นผู้วางพื้นฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทย และจนถึงปัจจุบันนี้ หลายๆคนก็ยังคงนึกถึง ดร.จีระ ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์เหมือนเคย          ด้วยความที่ ดร.จีระ เป็นคนที่มีฝีมือและความสามารถ จึงได้รับมอบหมายให้ทำวิจัยเกี่ยวกับแรงงานสัมพันธ์ และการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ ขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศอย่าง ILO – International Labor Organization         จากการที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานดังกล่าวแล้ว ทำให้ ดร.จีระ ได้พบกับ คุณพารณฯ เป็นครั้งแรก เพราะ ดร.จีระ ไม่มีความรู้เรื่องนี้ เขาจึงต้องการที่จะได้เรียนรู้จากผู้รู้นั่นก็คือคุณพารณฯ ซึ่งในตอนนั้น ปูนซิเมนต์โดดเด่นมากในเรื่องการพัฒนาคน และหลังจากนั้นมา ดร.จีระ ก็ได้ยึดคุณพารณฯ เป็นต้นแบบอยู่เสมอ          ดร.จีระ ได้เกษียณตัวเองออกจากการสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวัยเพียง 55 ปี บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่า เขาสามารถเป็นอาจารย์ได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย ทำให้เขาสามารถขยายฐานสังคมแห่งการเรียนรู้ได้กว้างขวางกว่าเดิมภาวะผู้นำของ ดร.จีระ มีดังนี้1.    ดร.จีระ เป็นคนที่แสวงหาการเรียนรู้ตลอดเวลา 2.    สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ 3.    เป็นคนที่ขวนขวายและใฝ่รู้ 4.    การมีเครือข่ายตั้งแต่วัยเยาว์ เป็นทุนทางสังคมของผู้นำ 5.    มีครอบครัวที่อบอุ่น ซึ่งเป็น ทุนมนุษย์ที่ผู้นำต้องมี 6.    มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล7.    คำถามที่ 2  คุณพารณฯ และ ดร.จีระ มีภาวะผู้นำที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไรท่านทั้งสองมีภาวะผู้นำที่เหมือนๆกัน หลายอย่าง สรุปได้ดังนี้ 1.    ท่านทั้งสองเกิดมาในชนชั้นปกครองของสังคมเหมือนกัน มีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดี และได้รับการอบรมสั่งสอนที่ดี ซึ่งถือเป็น ทุนมนุษย์2.    มีเป้าหมายเดียวกันคือการที่องค์กรจะสำเร็จได้ต้องให้ความสำคัญกับคน3.    ใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลาและให้ความสำคัญกับการศึกษา4.    มีทัศนคติที่ดี มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล5.    มีคุณธรรมสูงมีความเป็นธรรม6.    เน้นการทำงานเป็นทีม  ตอนที่ 3   เลือกผู้นำมา 1 คน แล้วให้เขียนประวัติ  ข้าพเจ้าได้เลือก     นายอานันท์ ปันยารชุน เกิดเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๔๗๕ ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน ๑๒ คนของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) และ คุณหญิงปรีชานุสาสน์ (ปฤกษ์ โชติกเสถียร)       ประวัติครอบครัว การทำงานและการอบรมบุตรธิดาของมหาอำมาตย์ตรี พระยาปรีชานุสาสน์นั้นน่าสนใจ และมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อความเป็นนายอานันท์ (ประวัติโดยละเอียดดูได้จากหนังสือ อานันท์ ปันยารชุน : ชีวิต ความคิด และการงาน ของอดีตรัฐมนตรีสองสมัย โดย ประสาร มฤคพิทักษ์ และคณะ สำนักพิมพ์อมรินทร์)        พระยาปรีชานุสาสน์เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานหลายด้าน ทั้งภาคราชการและภาคเอกชน ในภาคราชการ ก่อนที่ท่านจะลาออกไปประกอบธุรกิจส่วนตัว ท่านเคยดำรงตำแหน่ง ปลัดทูลฉลอง กระทรวงธรรมการ อันเป็นตำแหน่งสูงสุดตำแหน่งหนึ่งของข้าราชการประจำ หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี ๒๔๗๕ ท่านกราบถวายบังคมลามาประกอบธุรกิจก่อตั้งบริษัทไทยพาณิชการ จำกัด และออกหนังสือ Siam Chronicle ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษฉบับแรกของคนไทย ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นนายกคนแรกของสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าราชการพิเศษ ในตำแหน่งที่ปรึกษาทางวัฒนธรรม ประจำสถานทูตไทย ณ กรุงลอนดอน คนแรก        นายอานันท์เริ่มเข้ารับการศึกษา ณ โรงเรียนประถมเล็ก ๆ แห่งหนึ่งบนถนนสุรศักดิ์ที่เชื่อมต่อระหว่างถนนสีลมและถนนสาทร ในปี ๒๔๘๖ เข้ารับการศึกษาในระดับมัธยม (ประถมปีที่ ๕ ในปัจจุบัน) ที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ จนจบมัธยมปีที่ ๓ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองย้ายเข้ารับการศึกษาในชั้นมัธยม ๔ (มัธยมศึกษาปีที่ ๑ ในปัจจุบัน) ที่โรงเรียนนันทศึกษาเป็นการชั่วคราว แล้วจึงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จนจบมัธยม ๗ (มัธยมศึกษาปีที่ ๕ ในปัจจุบัน) ต่อจากนั้นได้เดินทางไปศึกษา ณ โรงเรียนดัลลิช (Dulwich College) ประเทศอังกฤษในปี ๒๔๙๑ ก่อนเข้ารับการศึกษา ณ ตรินิตี้คอลเลจ (Trinity College) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge) ในปี ๒๔๙๕ จนสำเร็จการศึกษาวิชากฎหมายในระดับปริญญาตรีด้วยเกียรตินิยม ในปี ๒๔๙๘      นายอานันท์เป็นผู้ที่ก้าวสู่ตำแหน่งสูงสุดในหน้าที่การงานหลายด้าน ทั้งในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะข้าราชการประจำ ในด้านการทูต ด้านธุรกิจ และด้านการเมือง นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งอื่นๆ อีกมากในด้านสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาศึกษา เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น       ในการปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการประจำในกระทรวงการต่างประเทศ นายอานันท์เริ่มเข้ารับราชการในปี ๒๔๙๘ เป็นข้าราชการชั้นโท ต่อมาในปี ๒๕๐๒ ปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ แล้วมาเป็นเลขานุการเอกและที่ปรึกษา คณะทูตถาวรแห่งประเทศไทย ประจำสหประชาชาติ ในปี ๒๕๐๗       ในปี ๒๕๑๐ นายอานันท์เข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต รักษาการผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ และเอกอัครราชทูตประจำประเทศแคนาดา แล้วในปี ๒๕๑๕ เข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐอเมริกา และผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ กรุงนิวยอร์ค ก่อนเดินทางกลับประเทศไทยในปี ๒๕๒๐ เพื่อเข้าดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ  และต่อมาในปี ๒๕๒๐ จึงเข้าดำรงตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูตพิเศษประจำกระทรวงการต่างประเทศ และเอกอัครราชทูตประจำสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน       ด้วยความผกผันอันสืบเนื่องมาจากสาเหตุด้านการเมือง ในปี ๒๕๒๒ นายอานันท์ลาออกจากราชการเข้าสู่วงการธุรกิจ โดยเข้ารับตำแหน่งเป็นรองประธานกรรมการบริษัท สหยูเนี่ยน จำกัด (มหาชน) แล้วขึ้นเป็นประธานกรรมการบริษัทฯ ในปี ๒๕๓๔  ปัจจุบันนายอานันท์เป็นประธานกรรมการของบริษัทต่างๆ รวม ๕ บริษัท และเป็นกรรมการบริษัท กรรมการที่ปรึกษา และที่ปรึกษาของบริษัทข้ามชาติต่างๆ อีก ๕ บริษัท ทั้งในอดีต นายอานันท์เคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญต่างๆ ในภาคธุรกิจอีกมากมาย เช่น ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น        ปัจจุบันนายอานันท์ดำรงตำแหน่งที่สำคัญขององค์กรต่าง ๆ ของประเทศและองค์กรนานาชาติหลายองค์กร เช่น ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูง ด้านภัยคุกคาม ความท้าทาย และการเปลี่ยนแปลง องค์การสหประชาชาติ เป็นกรรมการ สถาบันอู ถั่น เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการ เอเซีย แปซิฟิค ลีดเดอชิพ ฟอรัม ออน เอชไอวี/เอดส์ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ (เอพีแอลเอฟ)        ในด้านสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาการศึกษา เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันนายอานันท์ดำรงที่สำคัญ เช่น เป็นสมาชิกคณะที่ปรึกษาคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ เป็นประธานสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเอเซีย เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย เป็นประธานกรรมการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ประธานกรรมการสภาสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ฯลฯ ทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญในอดีตอีกมากมาย        ในด้านการเมือง นายอานันท์เคยดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีถึง ๒ สมัย สมัยแรกตั้งแต่ ๒ มีนาคม ๒๕๓๔ ถึง ๒๑ เมษายน ๒๕๓๕ และสมัยที่สองตั้งแต่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕ ถึง ๑ ตุลาคม ๒๕๓๕        ในยุคที่มีกระแสความต้องการให้มีการปฏิรูปการเมือง สภาร่างรัฐธรรมนูญได้ก่อกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ อันเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ หรือที่เรัยกกันทั่วไปว่าเป็น รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่สภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยบุคคลต่าง ๆ ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และประชาชนมีส่วนร่วม ในการออกความคิดเห็น และวิพากษ์วิจารณ์ นายอานันท์มีบทบาทสำคัญคือ ได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และ ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ       ด้วยผลงานด้านต่างๆ ที่นายอานันท์ได้ทำมา ทำให้นายอานันท์ได้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาบริการรัฐกิจในปี ๒๕๔๐ ได้รับการประกาศเกียรติคุณต่างๆ รวมทั้งปริญญากิตติมศักดิ์จากสถาบันศึกษาหลายแห่งทั้งในประเทศและต่างประเทศรวม ๒๐ สถาบัน นายอานันท์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญรัตนาภรณ์ (ชั้น ๓) มหาวชิรมงกุฎ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ และมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ทั้งได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากประเทศอิตาลี เกาหลี อินโดนีเซีย เบลเยี่ยม ญี่ปุ่น และในกรณีของอังกฤษนั้น ได้รับ Honorary Knight Commander of the Civil Division of the Most Exellent Order of the British Empire (KBE) ซึ่งถ้าเป็นคนสัญชาติสหราชอาณาจักร ก็จะมีตำแหน่งเป็น Sir        นายอานันท์สมรสกับ ม.ร.ว. สดศรี จักรพันธุ์ มีบุตรี ๒ คนคือ นางนันดา ไกรฤกษ์ และนางดารณี เจริญรัชต์ภาคย์ มีหลาน ๓ คนคือ น.ส. ทิพนันท์ จากนางนันดา ซึ่งสมรสกับ นายไกรทิพย์ ไกรฤกษ์ และ ด.ญ. ศิริญดา และ ด.ช. ธนาวิน จากนางดารณี ซึ่งสมรสกับ ดร. ชัชวิน เจริญรัชต์ภาคย์   ข้อมูลชีวประวัติโดยละเอียด ประวัติ

 นายอานันท์ปันยารชุน
อดีตนายกรัฐมนตรี

ประธานสภาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
(นับถึงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๙)


ธุรกิจ
๒๕๒๗:กรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
๒๕๓๒:ประธานกรรมการบริษัท อีสเทอร์น สตาร์ เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)
เมษายน ๒๕๓๕:ประธานกรรมการบริษัท เชียงใหม่ ไนท์บาซาร์ จำกัด
เมษายน ๒๕๓๖:กรรมการที่ปรึกษาบริษัท อเมริกัน อินเตอร์แนชเชอนัล กรุ๊ป (เอ.ไอ.จี.)
เมษายน ๒๕๔๙:กรรมการที่ปรึกษา บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
พฤษภาคม ๒๕๔๙:ที่ปรึกษา บริษัท เชฟรอน เอเซีย เซ้าท์ จำกัด
  อื่นๆ
๒๕๓๑:กรรมการสภาที่ปรึกษา สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๒๕๓๓:ประธานคณะกรรมการมูลนิธิเคมบริดจ์ (ไทย)
มิถุนายน ๒๕๓๕ :ประธานสภาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยและกรรมการบริหาร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
เมษายน ๒๕๓๖:ประธานกรรมการสภาสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
ตุลาคม ๒๕๓๖:ประธานคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย
สิงหาคม ๒๕๓๘:ประธานกรรมการบริษัท อิมพีเรียล เทคโนโลยี แมเนจเม้นท์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
กันยายน ๒๕๓๘:รองประธานกรรมการคนที่ ๒ มูลนิธิสวนหลวง ร. ๙
ตุลาคม ๒๕๓๘:ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์กฏหมายภูมิภาคแม่น้ำโขง
มกราคม ๒๕๓๙:ดิสติงกวิชด์ อินเตอร์แนชเชอนัล ไอซิส เฟลโลว์ (มาเลเซีย) :ทูตองค์การยูนิเซฟประจำประเทศไทย
สิงหาคม ๒๕๓๙:ประธานกรรมการที่ปรึกษา มูลนิธิคาร์ลอส พี. รอมูโล
ธันวาคม ๒๕๔๐:ประธานสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียน
มกราคม ๒๕๔๑:กรรมการที่ปรึกษา สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย
มีนาคม ๒๕๔๒:ที่ปรึกษาปัญหาต่อต้านคอรัปชั่นภูมิภาคเอเซีย - แปซิฟิค ของธนาคารโลก
กรกฎาคม ๒๕๔๒:กรรมการที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ดัลลิชคอลเลจ กรุงลอนดอน
มกราคม ๒๕๔๓ :กรรมการที่ปรึกษา องค์การเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ
พฤศจิกายน ๒๕๔๖ :กรรมการ สถาบันอู ถั่น  :เฟลโลว์ ของโรงเรียนดัลลิช กรุงลอนดอน
 สถานที่และวันเกิด  
กรุงเทพฯ ประเทศไทย วันที่ ๙ สิงหาคม ๒๔๗๕
 การศึกษา 
๒๔๘๖ - ๒๔๘๘ :โรงเรียนอำนวยศิลป์ ๒๔๘๘ - ๒๔๙๑ :โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ๒๔๙๑ - ๒๔๙๕ :ดัลลิชคอลเลจ กรุงลอนดอน ๒๔๙๕ - ๒๔๙๘ :มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ
นางสาว นริศรา ทรัพย์ชโลธรมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 21:33 (193437)
สวัสดีค่ะอาจารย์  จีระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์  ยม  นาคสุข และเพื่อนๆนักศึกษาทุกท่าน              จากที่ได้เรียนกับอาจารย์จีระในวันที่ 9-10 มีนาคมที่ผ่านมา อาจารย์ได้สอนให้ความรู้และแง่คิดที่มีประโยชน์มากๆ ซึ่งความรู้ที่อาจารย์สอนนั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน  และอาจารย์ได้ให้การบ้านไว้ดังนี้ 1.    - บอกถึงความแตกต่างและความเหมือนระหว่างอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์และ คุณพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา จากการอ่านหนังสือเรื่องทรัพยามนุษย์พันธุ์แท้- สรุปแง่คิดจากการอ่านหนังสือเรื่องทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ความเหมือนระหว่างอาจารย์จีระ  หงส์ลดารมณ์ และ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา  คือ มีเป้าหมายในการทำงานที่เหมือนกันและมีรูปแบบการดำเนินชีวิตด้านการทำงานที่คล้ายๆกัน   ให้ความสำคัญกับเรื่องของทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมาก  มีความมุ่งมั่นและมีทัศนคติแนวทางในการทำงานที่เหมือนกัน ด้านความแตกต่างระหว่างอาจารย์จีระ  หงส์ลดารมณ์ และ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา  สำหรับดิฉันคิดว่าอายุและการศึกษาเท่านั้นที่แตกต่างกันเท่านั้น       และจากการที่ได้อ่านหนังสือเรื่องทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้นั้นทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กรอย่างมาก  เพราะองค์กรจะก้าวไปสู่ความสำเร็จในระยะยาวได้นั้นต้องมีการบริหารบุคลากรที่ดี และมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กรตลอดเวลา เหมือนในหนังสือที่กล่าวไว้ว่า  คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร  เพราะว่าเรื่องคุณภาพของคนกับการเพิ่มผลผลิตเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กันที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จซึ่งกันและกันอย่างสมบูรณ์ที่สุด  2.            - ประวัติของผู้นำที่ประทับใจ   NAME โชค  บูลกุล             BORN:   เกิด   24  สิงหาคม  2510            EDUCATION:   ประถมศึกษาปีที่ 1- 6 โรงเรียนสาธิตเกษตรมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 5 St.Joesph’s College,Sydney,Australiaมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน Worcester Academy, Massachusetts,U.S.A.ปริญญาตรี ทางด้านการจัดการฝูงโคนมจาก Vermont Technical Collegeปริญญาตรี ทางด้านวิทยาศาสตร์ สาขาสัตวศาสตร์ จาก Vermont Technical College Career Highlight: 2535 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ  สายงานธุรกิจการเกษตร  ฟาร์มโชคชัย2537-2539 รองกรรมการผู้จัดการ2539-2544 กรรมการผู้อำนวยการ2544- ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ  กลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย Family:   -บิดา นายโชคชัย  บูลกุล                -มารดา นางสุจริต บูลกุล                        -น้องสาว นางอร  วัฒนวรางกูล                          -น้องชาย นายชัย  บูลกุล       Positioning:   -   เป็นทายาทคนโตของ โชคชัย บูลกุล ผู้บุกเบิกฟาร์มโชคชัย  ต้นตำนานคาวบอยเมืองไทย-   พลิกธุรกิจที่เคยติดลบให้ทำกำไร  และเป็นที่รู้จักด้วยการเปลี่ยนฟาร์มโคนมให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว-   เป็นผู้บริหารฟาร์มโคนมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เนื้อที่ 20,000 ไร่ วัว 5,000 ตัว)-        บุกเบิกการส่งออกแม่พันธุโคนม  จากเดิมที่ประเทศแถบเอเชียต้องสั่งวัวเข้ามาจากประเทศออสเตรเลียปัจจุบันไทยมีข้อตกลงทวิภาคีทำ FTA กับออสเตรเลีย  เกษตรกรได้รับผลกระโดยตรงจากการผ่อนปรนเงื่อนไขภาษีนำเข้าสินค้าเกษตร  ดังนั้นการส่งออกวัวไปประเทศเพื่อนบ้าน  รวมทั้งสินค้าเกี่ยวเนื่องอย่างอาหารวัว  จึงเป็นการเผื่อทางรอดให้กับฟาร์มโชคชัย             ผู้บริหารยุคใหม่ต้องเข้าใจสถานการณ์โลก  และบริษัทให้ดี  รู้จักศักยภาพตัวเองให้ดี  ต้องเข้าใจตัวเอง  และกำหนดนโยบายของบริษัทให้สมบูรณ์ทั้งแนวรับและแนวรุกให้สัมพันธ์กัน            เรื่องแนวรุกคือ  การวางแผนการตลาด  การใช้เงินลงทุนๆ เป็นต้น ส่วนแนวรับคือ การสร้างความพร้อมขององค์กรทั้งเรื่องคน การวางแผน การวางระบบต่างๆ ไม่ใช่ว่าจะบริหารเชิงรุกอย่างเดียว            นักธุรกิจหรือผู้บริหารยุคใหม่ต้องเข้าใจการทำธุรกิจ  มีจุดยืนของตัวเองว่าควรทำอย่างไรให้ธุรกิจมีความยั่งยืน  ไม่ใช่ว่าเอาแจต่ทำตามคนอื่นที่ประสพความสำเร็จ  ซึ่งอาจจะได้  แต่เป็นระยะสั้นๆ ทำให้ธุรกิจไม่มีเสถียรภาพ  ดังนั้นควรรู้จักศักยภาพตัวเองทำในสิ่งที่ตัวเองเชี่ยวชาญ              การทำงานควรเป็นระบบ  ซึ่งต้องเรียนรู้จากคนรุ่นเก่า  ต้องผสมผสานกัน คือ คนรุ่นก่อนโดยเฉพาะยุคบุกเบิกว่าเขามีความโดดเด่นต่อเรื่องความอดทนอย่างไร ขณะที่คนรุ่นเก่ามีน้อยแต่ก็ดีตรงที่มีความกล้าตัดสินใจ  มีวินัยการทำงาน  มองงานอย่างเป็นระบบ  ดังนั้นควรเอาทั้งสองรุ่นมาผสมผสานกัน            นี่คือวิสัยทัศน์และวิธีคิดของโชค บูลกุล  ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีแนวความคิดที่มีภาวะผู้นำครบถ้วนและสามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ในระยะยาว                                                                  3.    - วิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งของตัวเอง 
จุดอ่อน จุดแข็ง
 -        ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่กล้าแสดงออก-        ใจอ่อน-        ขาดความกระตือรือร้น   -        ใจเย็น-        มีความพยายามและอดทน-        ช่วยเหลือตัวเองได้ดี
  นางสาว นริศรา  ทรัพย์ชโลธรมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด
สวัสดีค่ะอาจารย์  จีระ  หงส์ลดารมภ์  อาจารย์  ยม  นาคสุข และเพื่อนๆนักศึกษาทุกท่าน              
จากที่ได้เรียนกับอาจารย์จีระในวันที่ 9-10 มีนาคมที่ผ่านมา อาจารย์ได้สอนให้ความรู้และแง่คิดที่มีประโยชน์มากๆ ซึ่งความรู้ที่อาจารย์สอนนั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน  และอาจารย์ได้ให้การบ้านไว้ดังนี้ 
1.    - บอกถึงความแตกต่างและความเหมือนระหว่างอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์และ คุณพารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา จากการอ่านหนังสือเรื่องทรัพยามนุษย์พันธุ์แท้- สรุปแง่คิดจากการอ่านหนังสือเรื่องทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้ความเหมือนระหว่างอาจารย์จีระ  หงส์ลดารมณ์ และ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา 
คือ มีเป้าหมายในการทำงานที่เหมือนกันและมีรูปแบบการดำเนินชีวิตด้านการทำงานที่คล้ายๆกัน   ให้ความสำคัญกับเรื่องของทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมาก  มีความมุ่งมั่นและมีทัศนคติแนวทางในการทำงานที่เหมือนกัน ด้านความแตกต่างระหว่างอาจารย์จีระ  หงส์ลดารมณ์ และ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา 
สำหรับดิฉันคิดว่าอายุและการศึกษาเท่านั้นที่แตกต่างกันเท่านั้น       และจากการที่ได้อ่านหนังสือเรื่องทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้นั้นทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กรอย่างมาก  เพราะองค์กรจะก้าวไปสู่ความสำเร็จในระยะยาวได้นั้นต้องมีการบริหารบุคลากรที่ดี และมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กรตลอดเวลา
เหมือนในหนังสือที่กล่าวไว้ว่า  คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร  เพราะว่าเรื่องคุณภาพของคนกับการเพิ่มผลผลิตเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กันที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จซึ่งกันและกันอย่างสมบูรณ์ที่สุด  
2.            - ประวัติของผู้นำที่ประทับใจ  
NAME โชค  บูลกุล           
BORN:   เกิด   24  สิงหาคม  2510           
EDUCATION:  
ประถมศึกษาปีที่ 1- 6 โรงเรียนสาธิตเกษตร
มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 5 St.Joesph’s College,Sydney,Australia
มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน Worcester Academy, Massachusetts,U.S.A.
ปริญญาตรี ทางด้านการจัดการฝูงโคนมจาก Vermont Technical College
ปริญญาตรี ทางด้านวิทยาศาสตร์ สาขาสัตวศาสตร์ จาก Vermont Technical College 
Career Highlight:
2535 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ  สายงานธุรกิจการเกษตร  ฟาร์มโชคชัย
2537-2539 รองกรรมการผู้จัดการ
2539-2544 กรรมการผู้อำนวยการ
2544- ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ  กลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัย 
Family:  
 -บิดา นายโชคชัย  บูลกุล                -มารดา นางสุจริต บูลกุล                        -น้องสาว นางอร  วัฒนวรางกล                         
-น้องชาย นายชัย  บูลกุล       
Positioning:  
-   เป็นทายาทคนโตของ โชคชัย บูลกุล ผู้บุกเบิกฟาร์มโชคชัย  ต้นตำนานคาวบอยเมืองไทย
-   พลิกธุรกิจที่เคยติดลบให้ทำกำไร  และเป็นที่รู้จักด้วยการเปลี่ยนฟาร์มโคนมให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว
-   เป็นผู้บริหารฟาร์มโคนมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เนื้อที่ 20,000 ไร่ วัว 5,000 ตัว)
-        บุกเบิกการส่งออกแม่พันธุโคนม  จากเดิมที่ประเทศแถบเอเชียต้องสั่งวัวเข้ามาจากประเทศออสเตรเลียปัจจุบันไทยมีข้อตกลงทวิภาคีทำ FTA กับออสเตรเลีย  เกษตรกรได้รับผลกระโดยตรงจากการผ่อนปรนเงื่อนไขภาษีนำเข้าสินค้าเกษตร  ดังนั้นการส่งออกวัวไปประเทศเพื่อนบ้าน  รวมทั้งสินค้าเกี่ยวเนื่องอย่างอาหารวัว  จึงเป็นการเผื่อทางรอดให้กับฟาร์มโชคชัย             
ผู้บริหารยุคใหม่ต้องเข้าใจสถานการณ์โลก  และบริษัทให้ดี  รู้จักศักยภาพตัวเองให้ดี  ต้องเข้าใจตัวเอง  และกำหนดนโยบายของบริษัทให้สมบูรณ์ทั้งแนวรับและแนวรุกให้สัมพันธ์กัน         
เรื่องแนวรุกคือ  การวางแผนการตลาด  การใช้เงินลงทุนๆ เป็นต้น ส่วนแนวรับคือ การสร้างความพร้อมขององค์กรทั้งเรื่องคน การวางแผน การวางระบบต่างๆ ไม่ใช่ว่าจะบริหารเชิงรุกอย่างเดียว           
นักธุรกิจหรือผู้บริหารยุคใหม่ต้องเข้าใจการทำธุรกิจ  มีจุดยืนของตัวเองว่าควรทำอย่างไรให้ธุรกิจมีความยั่งยืน  ไม่ใช่ว่าเอาแจต่ทำตามคนอื่นที่ประสพความสำเร็จ  ซึ่งอาจจะได้  แต่เป็นระยะสั้นๆ ทำให้ธุรกิจไม่มีเสถียรภาพ  ดังนั้นควรรู้จักศักยภาพตัวเองทำในสิ่งที่ตัวเองเชี่ยวชาญ             
การทำงานควรเป็นระบบ  ซึ่งต้องเรียนรู้จากคนรุ่นเก่า  ต้องผสมผสานกัน คือ คนรุ่นก่อนโดยเฉพาะยุคบุกเบิกว่าเขามีความโดดเด่นต่อเรื่องความอดทนอย่างไร ขณะที่คนรุ่นเก่ามีน้อยแต่ก็ดีตรงที่มีความกล้าตัดสินใจ  มีวินัยการทำงาน  มองงานอย่างเป็นระบบ 
 ดังนั้นควรเอาทั้งสองรุ่นมาผสมผสานกัน    นี่คือวิสัยทัศน์และวิธีคิดของโชค บูลกุล  ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีแนวความคิดที่มีภาวะผู้นำครบถ้วนและสามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ในระยะยาว                                                                  3.    - วิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งของตัวเอง 
จุดอ่อน จุดแข็ง

 -        ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่กล้าแสดงออก
-        ใจอ่อน

-        ขาดความกระตือรือร้น 

 -        ใจเย็น

-        มีความพยายามและอดทน

-        ช่วยเหลือตัวเองได้ดี

  
นางสาว นริศรา  ทรัพย์ชโลธรมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด
นางสาวพนาวัลย์ คุ้มสุด ID:106142010 เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 22:52 (193516)

เรียน ศ.ดร.จีระ อ.ยม และเพื่อนๆนักศึกษา MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด

จากการที่ดิฉันได้อ่านหนังสือ "ทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้" ทำให้ดิฉันได้ความรู้เพิ่มเติมมากมายเกี่ยวกับ ประวัติท่าน พารณ  อิศรเสนา ณ อยุธยา ในการบริหารงานในองค์กรให้สำเร็จบรรลุตามเป้าหมาย  ดังนี้

  • ให้ความสำคัญเรื่องคน
  • มีความจงรักภักดีต่อองค์กร
  • อ่อนน้อมถ่อมตน
  • รู้ทันเทคโนโลยีใหม่ๆ
  • มีความอดทนสูง ไม่ชอบคำเยิ่นยอ
  • สร้างแรงจูงใจให้กันพนักงาน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  • มีความคิดสร้างสรรค์
  • ชอบศึกษาสิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา
  • มีทุนแห่งความสุข
  • เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ชอบมองบุคคลอื่นมากกว่ามองที่ตัวเอง
  • เป็นนักวิชาการที่ติดดิน มีงานค้นคว้าวิจัยอย่างลึกซึ้ง
  • มีโอกาสได้ศึกษาในต่างประเทศ
  • คิดนอกกรอบอยู่เสมอ

  ข้อแตกต่างระหว่างอาจารย์จีระและคุณพารณ

  • มีอายุที่ต่างกัน
  • จบการศึกษาคนละสาขาวิชา

อาจารย์จีระและคุณพารณมีส่วนที่เหมือนกัน

  • มีเป้าหมายที่เหมือนกันเรื่องคน
  • วิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
  • มีความเชื่อมันในตัวบุคคล
  • สร้างการเรียนรู้อยู่เสมอ

นางสาวพนาวัลย์  คุ้มสุด  ID:106142010

นายเตชสิทธิ์ หอมฟุ้ง เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 23:12 (193532)
เรียน ดร.จีระ , อ.ยม และเพื่อนๆ MBA6และ 7 ทุกๆ        ท่านจากการที่ได้เข้าเรียนในวันศุกร์และเสาร์ที่ผ่านมาซึ่งได้รับมอบหมายงานให้ศึกษากระผมขอตอบคำถามเป็นข้อๆดังนี้งานที่ได้รับมอบหมายประการแรกคือตอนที่ 1หาจุดแข็งและจุดอ่อนของตัวเอง จากการที่ผมได้พิจารณาตัวเองพบว่าจุดแข็ง1. มีความคิดสร้างสรรค์2. มีความรับผิดชอบ3. เป็นตัวของตัวเอง4. กล้าแสดงออก5. ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น6. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี7. มองโลกในแง่ดีจุดอ่อน1.ไม่ชอบอ่านหนังสือ2. เบื่อวิชาท่องจำ3. ขี้เกียจในเรื่องที่ตัวเองไม่ชอบ4. ขาดประสบการณ์5. มองโลกในแง่ดีเกินไปจนบางครั้งไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมคน  ตอนที่ 2 คำถามที่ 1 อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้แล้วได้อะไรบ้างและเกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำอย่างไร         ในโลกยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง โดยเฉพาะเทคโนโลยีข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมาย จนถือกันว่าเป็นยุค "สังคมฐานความรู้" [Knowledge Base] ชี้ให้เห็นว่าโลกยุคใหม่ที่คนทั้งโลกติดต่อทำธุรกรรมต่างๆ ร่วมกันได้ภายในเครือข่ายไอที โดยเวลาและสถานที่ไม่ได้เป็นปัญหาอีกต่อไป ทำให้ปัจจัยด้าน "คน" กับ "ปัญญาความรู้" และทักษะความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ ถูกชูขึ้นเป็นหัวใจหลักของการสร้างประสิทธิภาพของการทำงาน และขับเคลื่อนองค์กรให้รุกเติบโตอย่างมั่นคงสภาพโลกาภิวัตน์ยังสะท้อนว่า "การจัดการทรัพยากรมนุษย์" ถึงเวลาต้องปรับตัว และต้องคิด วิเคราะห์ และวางแผน โดยคาดคะเนถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้เท่าทัน และตรงเงื่อนไขใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหน้าที่หลักของการบริหารปัจจัยด้าน "คน" ยังคงเหมือนเดิม คือ ต้องจัดการสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับคน ทั้งการสรรหาคน จูงใจ รักษาคน แต่ที่ต้องดูเพิ่มมากขึ้นคือต้องพิถีพิถันเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงดูพนักงานให้อยู่ได้ รวมทั้งมุ่งเน้นพัฒนาความรู้ให้กับพนักงานมากขึ้นด้วยเหตุผลของการพัฒนาธุรกิจที่ก้าวข้ามประเทศทำให้ระดับการครองชีพและความเป็นอยู่ถูกกระทบสูง โดยเฉพาะ ความมั่นคงในการทำงานอันเนื่องจากการขาดความรู้ซึ่งกลายเป็นปัญหาของพนักงานโดยตรงต้องมีการพัฒนาความรู้ให้กับนักบริหารและผู้ทำงานด้านทรัพยากรมนุษย์ [HR Professionals] ให้มีการเรียนรู้ต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถเติบโตในสายงาน หรือเติบโตได้ในส่วนอื่นๆ ขององค์กรด้วยความจริงที่ว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากอิทธิพลด้านไอทีทำให้โครงสร้างองค์กรยืดหยุ่น และพึ่งพามากขึ้นในเรื่อง "คนกับระบบการทำงานบนไอที" ดังนั้นการสร้างความสามารถที่มี "คน" เป็นศูนย์กลางจึงมีความสำคัญมากขึ้นตอนที่ 3 ศึกษาประวัตบุคคลที่สนใจ        จากการได้อ่านบทสัมภาษณ์ของคุณตัน ภาสกรนที ทำให้ได้รับข้อมูลความรู้หลายๆอย่างรวมทั้งการดำเนินชีวิต การฝ่าฟันอุปสรรค วิธีการคิด การเริ่มต้นในธุรกิจที่หลายๆคนมองข้าม จึงอยากจะนำบทสัมภาษณ์นี้ขึ้นมาแทนประวัติของคุณตัน ภาสกรนที ซึ่งคาดว่าน่าจะได้เป็นแนวทางและเข้ากับภาวะผู้นำที่ทุกท่านได้ศึกษากันอยู่ ณ ขณะนี้เป็นอย่างดีตัน ภาสกรนที หรือที่บรรดาสื่อมวลชนจะถนัดเขียนถึงเขาว่า ตัน โออิชิ
        เขาเติบโตมาในครอบครัวที่ยากจน เริ่มต้นสร้างทุกอย่างจากจุดที่เรียกว่า...ศูนย์ ถึงแม้เส้นทางเดินบนถนนสายธุรกิจของเขาในวันนี้อาจจะไม่ยิ่งใหญ่ระดับที่เรียกว่าเป็นตำนาน
        หากแต่ว่าเขาเริ่มต้นจากการเป็นพนักงานขายของ แบกของ กินเงินเดือนไม่ถึงพันบาท สู่การบริหารงานธุรกิจระดับพันล้านในเครือโออิชิกรุ๊ป ไม่ว่าจะเป็น สตูดิโอถ่ายภาพแต่งงาน, โออิชิ, โออิชิ กรีนที, ฯลฯ โดยกลยุทธ์ทางธุรกิจของเขาไม่ได้มีปริญญาด้านการตลาดจากสถาบันใดมาการันตี แต่เขาเป็นนักธุรกิจที่เป็นทั้งนักคิด นักถาม นักวางแผน นักการตลาด ที่ประสบความสำเร็จในถนนสายธุรกิจได้อย่างไม่เป็นรองใคร
        จากพนักงานกินเงินเดือนไม่กี่ร้อย จนมีอาณาจักรภายใต้แบรนด์โออิชิ สู่ความเป็นมหาชน ตัน ภาสกรนที บอกว่า...จุดเริ่มต้นของเขา คือจุดที่ใคร ๆ ก็เริ่มต้นได้

ที่ผ่านมาเพิ่งมีกรณีข่าวเกี่ยวกับเครื่องดื่มโออิชิ กรีนทีที่ลูกค้าดื่มแล้วมีปัญหา
        เขาสรุปออกมาว่าชาเขียวที่มีปัญหาที่ลูกค้าซื้อไปเป็นกรดเกลือ ซึ่งเป็นกรดเกลือที่ในวงการอุตสาหกรรมอาหารไม่มีใครใช้ กระทรวงสาธารณสุขและ อย. เขาเข้าไป ตรวจแล้วไม่ได้อยู่ที่การผลิต แต่ทั้งหมดนี้เราคงไม่กล่าวโทษใคร เพราะเราไม่มีหลักฐาน และมันต้องใจเขาใจเรา
มีคำพูดว่าใน วิกฤตบางทีก็มี โอกาส
        ครับ ผมมองในแง่ดีว่าการมีวิกฤตทำให้เราได้เห็นว่าเรามีลูกค้าเยอะแค่ไหน มีคนเข้ามาให้กำลังใจเยอะ ผมรับโทรศัพท์แทบจะไม่ไหว รับทั้งต่างประเทศ ต่างจังหวัด มีเจ้าของสินค้าที่เคยเจอวิกฤตแบบนี้โทร.มาให้กำลังใจ ให้คำแนะนำ เขาเคยเจอเหมือนกันนะเมื่อปีนี้ ๆ เขาโทร.มาว่า เคยเจอปัญหาคล้าย ๆ กัน แต่ผมหนักกว่าตรงที่สื่อสมัยนี้เร็ว หนังสือพิมพ์ลงแค่หนึ่งฉบับ ทีวี 3,5,7,9 อ่านครบทุกช่องเลย แล้วลงติดต่อกัน 3-4 วัน ถึงแม้อ่านหัวข่าวแล้วปรากฏว่าข้างในไม่มีอะไร บางทีอ่านแค่หัวข่าว ข้างในข่าวไม่ได้อ่าน แต่ทุกคนตกใจไปหมดแล้ว

 


กว่าที่คุณตันจะมาถึงจุดที่มีธุรกิจเป็นพันล้านแบบนี้ ชีวิตเริ่มจากศูนย์
        พอเรียนจบมศ.3 อายุ 17 ปี ผมตัดสินใจออกมาทำงานเลย ผมเป็นคนเรียนหนังสือไม่เก่ง และมีจิตใจอยากเป็นนักธุรกิจ ตอนเด็ก ๆ เห็นคนทำงานแล้วอยากไปทำ เวลาปิดเทอมผมจะไปทำงานช่วยเสิร์ฟบะหมี่ ไปช่วยเขาลวกบะหมี่ ไปขายเฉาก๊วย เลี้ยงไก่ยังเคยเลย มีญาติของเพื่อนเขาเลี้ยงไก่ เราก็ขอไปดูไปช่วย ชอบทำงาน มีความสุข ในการทำงาน ไม่เคยคิดว่าเหนื่อย ทำได้เรื่อย ๆ
ในวัย 17 ปี ก็ค่อนข้างคิดต่างจากวัยรุ่นทั่วไปแล้ว ซึ่งวัยเท่านี้ส่วนใหญ่กำลังเที่ยวเล่นเลยนะคะ
        ผมเป็นคนรูปไม่หล่อ พ่อไม่รวย เรียนไม่เก่ง ถ้าผมยังทำตัวเที่ยวเล่น วันนี้ผมก็แย่สิ สิ่งเดียวที่ผมมีคือต้องตั้งใจทำงานให้ดีกว่าคนอื่น...ตอนผมอายุ 17 ปี ผมรู้สึกว่าสู้เพื่อนไม่ได้ แพ้เพื่อนเด็ดขาดเลย ผมบอกเพื่อนว่า ผมไม่เรียนแล้ว ผมจะออกไปทำธุรกิจ อีก 10 ปีข้างหน้า ผมจะมาพบเพื่อน ๆ ใหม่ 10 ปียังไม่สาย เหมือนหนังจีนไหม ดูหนังมากไปหน่อย (ยิ้ม) แต่เป็นอย่างนั้นจริง ๆ พออีก 10 ปี ผมกลับไปหาเพื่อน ๆ ที่สนิทกัน เพื่อนที่ผมรู้สึกว่าตอนนั้นเราสู้เขาไม่ได้ เราเป็นบ๊วยอยู่คนเดียวกลับไปก็ยังสู้เขาไม่ได้อยู่นะ (หัวเราะ) บางคนเขามีธุรกิจใหญ่กว่าผม แต่ว่าผมดีกว่าเดิมเยอะ วันที่ผมกลับไป ผมไม่ใช่ที่หนึ่งแต่ผมไม่ได้บ๊วยแล้ว ผมมีธุรกิจเป็นของตัวเอง แต่อย่างน้อยถ้าวันนั้นผมไม่สู้ ผมไม่มีวันนี้
การที่ต้องทำมากกว่าคนอื่น ทำให้คุณตันผ่านการทำงานมาหลายอย่าง
        การที่ไม่มีความรู้ทำให้ผมต้องทำทุกอย่าง ช่วงแรก ๆ ผมใช้แรงงานเป็นหลัก เป็นพนักงานแบกของ ส่งของ ผมไม่ได้ทำเพื่อเงินอย่างเดียว ทำเพราะถือว่าทำมากได้ประสบการณ์มาก
        ผมเริ่มต้นการทำงานด้วยเงินเดือน 700 บาท ทำงานส่งของ แบกของมาเรื่อย ๆ จนมีโอกาสได้เป็นพนักงานขาย...พอผมออกจากการเป็นพนักงาน ธุรกิจแรกที่ผมเริ่มเอง คือแผงขายหนังสือพิมพ์ ช่วงแรก ๆ เหนื่อย เพราะเราแลกด้วยเหงื่อ เราไม่มีทุน พอออกมาเปิดแผงขายหนังสือ ผมนำเงินไปซื้อหนังสือรอบแรก หมดตัวตั้งแต่ 5 หมื่นแรกเลย เพราะฝนตกหนังสือเปียกน้ำทั้งหมด เจ๊งตั้งแต่วันที่ยังไม่เปิดร้าน แต่ผมไม่ยอมแพ้ เอาใหม่ ผมอยู่ได้ด้วยการทำงานมากกว่าคนอื่น ร้านขายหนังสือซ้ายขวาขายหนังสือน้อยกว่าผมเยอะ เขาขาย 8 ชั่วโมง ผมขาย 18 ชั่วโมง เขาตื่น 7 โมงเช้า แต่ตี 5 ผมตื่นมาขายแล้ว คุณปิด 2 ทุ่ม ผมปิดตี 2 ปิดแค่ 3 ชั่วโมง ลูกค้ามาผมก็ขาย ลูกค้าไม่มาผมเดินไปหาลูกค้า...หนทางเดียวที่จะประสบความสำเร็จผมต้องทำงานให้มากกว่าคนอื่น เพราะความสำเร็จไม่ได้หล่นลงมาจากฟ้าแล้วเราออกไปเก็บได้
เพราะทำมากกว่าคนอื่น ทำให้เป็นเจ้าของธุรกิจได้เร็ว
        ผมเขยิบมาเปิดร้านกิ๊ฟช็อป ร้านกาแฟ ร้านอาหาร แล้วก็มาทำธุรกิจเรียลเอสเตท...กำลังจะมีเงิน 100-200 ล้านบาท พอรัฐบาลประกาศค่าเงินบาทลอยตัว กลายเป็นผมมีหนี้ร้อยกว่าล้าน ตายตอนปี 2539 แต่ผมพยายามแก้ปัญหา ผมมีทั้งหนี้ธนาคารและหนี้นอกระบบ ค่อย ๆ แก้วิกฤต เจรจาประนอมหนี้ ค่อย ๆ ใช้หนี้ไป ผมเริ่มต้นใหม่ ผมว่าทุก ๆ ช่วงของชีวิตเหมือนฟ้าทดสอบเรา หรือถ้าพูดอีกแบบชีวิตมันมีวิกฤตอยู่ ว่าแต่จะเจอตอนไหน แล้วคุณจะยอมแพ้หรือเปล่า

ตอนเปิดโออิชิสาขาแรกคุณตันก็ยังทำงานอยู่เบื้องหลัง
        ตอนเปิดโออิชิวันแรกผมซ่อมก๊อกน้ำอยู่ในห้องน้ำ จะเห็นว่า 2-3 ปีแรกผมไม่เคยออกข่าว เป็นคนที่ดูแลงานเบื้องหลังมากกว่า คุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา เขาเล่าให้ฟังว่า เจอผมครั้งแรกเห็นผมใส่ขาสั้นเช็ดโต๊ะอยู่ในร้าน ตอนนี้ไม่มี เวลาไปทำแล้ว ถึงไปทำก็ไม่มีประโยชน์เพราะมีคนทำอยู่แล้ว แต่ผมต้องพร้อมที่จะทำได้ เราบอกว่าห้องน้ำเหม็นใช่ไหม เราชี้ให้คนอื่นทำ ถ้าเรายังรู้สึกรังเกียจ เราจะไปเรียกให้คนอื่นทำไม่ได้หรอก ถ้าเรากล้าที่จะล้างห้องน้ำ ไม่มีใครไม่กล้าไม่ทำหรอก สมัยก่อนผมจะทำบ่อย แต่เดี๋ยวนี้ไม่จำเป็นต้องทำ แต่ผมพร้อมจะทำ ผมทำให้ได้

ทุกวันนี้ยังเสียเหงื่อกับการทำงานเหมือนเมื่อ 20 ปี ที่แล้วไหม
ต่างกันครับ สมัยก่อนผมทำเอง มีลูกน้องไม่กี่คนแต่เดี๋ยวนี้เป็นมหาชน มีการบริหารที่เป็นระบบ มีการแบ่งหน้าที่ชัดเจน ผมยังต้องทำงานอยู่ แต่ว่าหน้าที่บางอย่างไม่ต้องทำแล้ว เดี๋ยวนี้ทำงานเป็นทีมมากขึ้น ทำงานแบบมืออาชีพมากขึ้น...ถ้าเป็นเมื่อก่อนยังเป็นบริษัทเล็ก ๆ ถ้าทำแบบนี้ไม่ดี เพราะไม่คล่องตัวหรือถ้าเป็นบริษัทใหญ่แล้วผมยังทำแบบเดิมที่เคยทำ ก็ไม่ดี เพราะเรารู้คนเดียว และไม่มีแผนงานรองรับ ไม่รู้ว่าจะต้องใช้เงินเท่าไหร่ แต่ตอนนี้งานจะถูกวางแผนทั้งปี เงินจะเข้าบริษัทเท่าไหร่ แล้วเราจะใช้เท่าไหร่ จะมีกำไรเท่าไหร่ มีตัววัดผลทุก 1 เดือน ทุก 3 เดือน ทำตามแผนงาน ถ้าไม่ทำตามแผนก็แก้

ตัน ภาสกรนที คนเก่ากับคนปัจจุบัน ณ วันนี้ เปลี่ยน ไปมาก-น้อยแค่ไหน
        ตัวผมยังเหมือนเดิม แต่งานไม่เหมือนเดิม ถามว่าผมอยากเป็นคนเดิมไหม อยากครับ แต่มันเป็นไม่ได้แล้ว ถามว่าชีวิตเปลี่ยนไหม คนเราจะมีชีวิตเหมือนเดิม ๆ เป็นไปไม่ได้หรอก ชีวิตผมเปลี่ยนครับ แต่ไม่ใช่สิ่งที่ผมอยากเป็นทุกอย่าง เพราะบางอย่างผมก็ไม่ได้อยากเป็น ผมไม่อยากเป็นคนดัง สมัยก่อนใส่ขาสั้น เดี๋ยวนี้ใส่ไม่ได้แล้ว ลูกน้องบอกว่าพี่ตันไม่ได้แล้วนะ เสื้อผ้าหยิบตัวไหนมาเถอะ มีแต่ลูกน้องซื้อให้ทั้งนั้น ผมชอบกินอาหารที่ขายริมถนน เดี๋ยวนี้พอไปกิน ลูกน้องก็จะบอกว่า... พี่ตัน อันตรายไปนั่งกินข้างถนนคนเดียว เดี๋ยวโดนเขาอุ้มหรอก หรือผมไปลาว ไปจัดงานอีเวนท์ จะไปเดินงานวัด แต่ลูกน้องไม่ให้ไปเดิน ก็ผมอยากไปน่ะ ผมบอกผมจะไป ปรากฏไปเรียกตำรวจมาเฝ้าผมเลยนะซ้ายขวา โอ๊ย...อะไรของมันวะ ในตัวไม่ได้มีอะไร กระเป๋าก็ไม่มี มีนาฬิกาเรือนเดียว คือเป็นคนเดิมไม่ได้ คนรอบข้างไม่อยากให้เป็น เขาคิดมากกัน (ยิ้ม) เพราะเรามีความรับผิดชอบเยอะ

มีคำแนะนำอย่างไร กับประโยคที่บอกว่า...จุดเริ่มต้นของคุณตัน คือจุดที่ใคร ๆ ก็เริ่มต้นได้
        ผมเชื่อว่าคนเรามีโอกาสเหมือนกัน เพียงแต่มันจะมาหาเรา เมื่อไหร่ บางคนโชคดีตั้งแต่ปีแรก บางคนทำงานแป๊บเดียวก็ดี บางคนทำงาน 5 ปียังไม่ดี บางคนขยันและประหยัดมา 10 ปียังไม่เห็นผลเลย แต่มันอาจจะไปเห็นผลปีที่ 11 บางคนทำ 20 ปีจึงจะเห็นผล โอกาสจะมาหาเราเมื่อไหร่ ไม่รู้ แต่ถ้าวันหนึ่งโอกาสมาแล้วเราไม่พร้อม เราก็พลาดโอกาส หรือวันนี้อะไรก็ดี แต่คุณทำตัวเหลวไหล มันก็สายไปแล้ว ทุกคนต้องพร้อม ต้องมีความหวัง ความพยายามต้องใหญ่ ความทุ่มเทต้องเยอะ คิดแล้วต้องลงมือทำ มีคนทำแต่ไม่คิด อันนี้เจ๊งแหง ๆ หรือคิดแล้วไม่ได้ทำ แม้แต่คิดว่าจะประสบความสำเร็จมันยังไม่มีเลย ต้องคิดดีแล้วลงมือทำทันที ชีวิตคนเราไม่แน่ไม่นอน มีขึ้นมีลง แต่ได้ดีแล้วอย่าลืมตัว เวลาเจอปัญหาอย่าท้อแท้ ผมว่าทุกคนทำได้
        ผมเชื่อว่าไม่ว่าฟ้าจะผ่า ฟ้าจะร้อง สักวันหนึ่ง คุณก็ได้ดี เพราะหลาย ๆ ธุรกิจที่มีโอกาส ผมได้มาเพราะตรงนี้ ผมไม่ได้บอกว่าผมเป็นคนดีนะ แต่อย่างน้อยผมก็ไม่ได้เป็นคนชั่ว หลายธุรกิจที่เขาให้โอกาสผม เขาเห็นว่าผมเป็นคนขยัน เป็นคนไม่เที่ยว ไม่สูบบุหรี่ ไม่เล่นการพนัน ก็เลยสนับสนุนผม ผมอยากฝากถึงคนรุ่นใหม่ว่าถึงคุณจะขยันมาก คุณจะเก่งมาก คุณจะพยายามมาก ที่สำคัญอย่าลืมเป็นคนดีด้วย เพราะคนดีวันหนึ่งจะมีความหมาย คนเราทุกคนถ้าคุณถึงจุดจุดหนึ่งคุณอยากจะทำอะไรดี ๆ ถามว่าแล้วคุณจะทำให้กับใคร ก็ต้องอยากทำให้กับคนดี ๆ ถามผมว่าผมอยากจะช่วยเหลือใคร ผมก็ต้องอยากช่วยเหลือ คนดี ๆ ใครจะไปอยากช่วยเหลือคนที่มันไม่ดี
        เราย้อนกลับไปเปิดหนังสือ ชีวิตนี้ไม่มีทางตัน ที่ถือไปให้เจ้าของเรื่องราวได้เซ็นชื่อให้ เหนือลายเซ็นของเขา ข้อความ นั้นเขียนไว้ว่า...ไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้

อย่างที่เขาเอ่ยกับเราว่า...แท้จริงแล้วทุกคนมีต้นทุน อยู่ในตัว ตัน ภาสกรนที จึงเป็นอีกหนึ่งชีวิตของคนสู้งาน ที่ยืนยันว่าความสำเร็จไม่ได้หล่นจากฟ้า แต่มาจากสมอง สองมือ และหนึ่งใจที่เปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจของตัวเราเอง...ที่เกิดกับใครก็ได้

 

นายเตชสิทธิ์   หอมฟุ้งรหัส 106142005

MBA 6 มหาวิทยาลัยนานาชาติสแตมป์ฟอร์ด

ศรีสุดา วรรณสมบูรณ์ ID 106342002 เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 23:26 (193547)
สวัสดีค่ะ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์   .ยม นาคสุข ที่เคารพ  และเพื่อนๆนักศึกษา MBA ทุกท่าน    
จากการที่ได้เรียนวิชาภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงในสัปดาห์ที่ 3 (วันที่ 9 - 10 มีนาคม)  ดร.จีระได้สอนเกี่ยวกับเรื่องภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลงในองค์กร และได้ให้ทำงานลง Blog ดังต่อไปนี้   
คำถามที่ 1  อ่านหนังสือทรัพยากรมนุษย์พันธุ์แท้แล้วได้อะไรบ้างและเกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำอย่างไร           
หลังจากได้ศึกษาบทสนทนาว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของนักคิดและนักปฏิบัติแห่งยุคทั้งสองท่าน คือ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ คุณจีระ หงส์ลดารมภ์ แล้วนั้น ขณะที่ดิฉันอ่านนั้น ก็คิดและนึกภาพตามไปด้วย ว่าตลอดเวลานั้นท่านทั้งสองได้ทำประโยชน์ ให้กับสังคมและประเทศชาติอย่างไรบ้าง ดิฉันคิดว่าท่านทั้งสองเกิดมาเพื่อทำสิ่งที่คนอื่นไม่ค่อยเห็นความสำคัญสักเท่าไหร่ และที่ท่านทั้งสองมีเหมือนกันก็คือ ท่านยังเป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล  มีความอดทน  มีคุณธรรม มีความนอบน้อมถ่อมตน ให้โอกาสคน ที่สำคัญท่านทั้งสองเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และยังเล็งเห็นว่าทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะเป็นตัวขับเคลื่อน ให้ทุกอย่างประสบความสำเร็จ      แม้ว่าท่านทั้งสองจะต่างกำเนิดมาในชนชั้นปกครองของสังคมเหมือนกัน  แต่ท่านก็สามารถเข้าใจความรู้สึกของชนชั้นธรรมดา หรือ ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชา    ทั้งยังเห็นความสำคัญของการทำงานเป็นทีมเวิร์ค ให้การเอาใจใส่กับคนทุกคนเท่าเทียมกัน  ไม่ถือตัวว่าเป็นใคร สามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้แบบติดดิน พร้อมทั้งให้โอกาสคนทุกคนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านความรู้ความสามารถและให้เป็นที่ยอมรับขององค์กร สังคม และในระดับประเทศ        ถึงท่านทั้งสองจะมีอุดมการณ์ และวิสัยทัศน์ เหมือนกันอย่างไรก็ตาม แต่สิ่งที่ดิฉันเห็นว่า ท่านทั้งสองอาจมีโอกาสและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลสำเร็จนั้นอาจมีข้อแตกต่างกันก็คือ
1. ท่านพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา  ท่านไม่ได้มีความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับทางด้านทรัพยากรมนุษย์ เลย แต่กลับกันท่านเป็นนักวิศวกร ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเครื่องกล แต่ได้รับโอกาสจากผู้ใหญ่ที่เห็นว่าท่านพารณ สามารถทำงานทางด้านทรัพยากรมนุษย์ได้  และท่านก็ทำได้ดีจนเป็นที่ยอมรับขององค์กร ตลอดจนถึงในวงการธุรกิจ ท่านก็ได้รับการยอมรับ โดยท่านลงไปสัมผัสคลุกคลีกับพนักงานเอง  จนกลายเป็นวัฒนธรรมที่สร้างบรรยากาศความร่มเย็นให้กับองค์กรและท่านได้พัฒนาบริษัทในเครือให้เจริญก้าวหน้า จนเกษียณอายุงาน อาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคทองของการพัฒนาบุคลากร    เลยก็ว่าได้ที่มีผู้บริหารอย่าง คุณพารณ
2. ท่านจีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านเรียนจบการศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์และทางด้านโยบายของรัฐ ซึ่งถ้าถามว่าเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยตรงไหม อาจกล่าวได้ว่าไม่เกี่ยวกันโดยตรง แต่อาจจะตรงก็ตรงที่ท่านจีระ ท่านได้เคยทำวิทยานิพนธ์ทางด้านประชากร เลยมีผู้ใหญ่เล็งเห็นว่าท่านจะทำหน้าที่ได้ดีจึงเสนอตำแหน่งที่ท้าทายให้กับท่าน ซึ่งท่านก็ไม่ทำให้ใครผิดหวัง เพราะท่านได้ทุ่มเท แรงกาย แรงใจเต็มที่เพื่อให้สถาบันเกิดขึ้นและสามารถทำประโยชน์ให้กับองค์กร และประเทศชาติ  และท่านได้กล้าที่จะเกษียณตัวเองเพื่อมุ่งทำงานในสิ่งที่ตนเองตั้งใจ และทุ่มเทเพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับผู้ใช้แรงงานอย่างเสมอต้นเสมอปลาย  และที่สำคัญท่านเป็นคนไม่หยุดนิ่ง แสวงหาสิ่งที่ทำให้เกิดช่องว่างในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน       
 ภาวะผู้นำที่ท่านพารณ และท่านจีระ มีให้กับองค์กร สังคม และประเทศชาตินั้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้กับงาน เพื่อนร่วมงาน ลูกค้าหรือผู้ที่เกี่ยวข้ององค์กร สังคม  และประเทศชาติได้คือ
1. ให้โอกาสทุกๆ คนเท่าเทียมกัน และให้อภัย  
2. ควรพัฒนาตนเองโดยนำความรู้ความสามารถที่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อส่วนรวม
3. ควรสร้างบรรยากาศในที่ทำงาน หรือในองค์กรให้เกิดความอบอุ่น ร่มเย็น เพื่อให้ทุกคนในองค์กรมีความสุขที่จะอยู่ร่วมกันเหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน
4. รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ๆ แม้ว่าคน ๆนั้นจะอยู่ใต้บังคับบัญชา เพราะคนที่เป็นหัวหน้างานหรือเป็นผู้นำนั้นจะต้องคอยดูผู้ที่อยู่ข้างล่างเสมอว่า ยังมีความสุขในหน้าที่และมีปัญหาอะไรเพื่อจะได้ช่วยกันแก้ไขให้เกิดแนวทางการปฏิบัติงานในทางเดียวกัน     
คำถามที่ 2  เลือกผู้นำมา 1 คน แล้วให้เขียนประวัติและวิเคราะห์     
นายชวน หลีกภัยเกิดวันที่ 28 กรกฎาคม 2481 ต.ท้ายพรุ อ.เมือง จ.ตรัง
ประวัติการศึกษา
ประถมศึกษา
โรงเรียนวัดควนวิเศษ
มัธยมศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษ และโรงเรียนตรังวิทยา
เตรียมอุดมศึกษา
โรงเรียนศิลปศึกษา แผนกจิตรกรรม และปฏิมากรรม

อุดมศึกษา
นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.
2505
เนติบัณฑิตไทย
สำนักอบรมศึกษาทางกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา สมัย 17
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ทางรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2528
มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2530
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ทางกฎหมาย
มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ พ.ศ. 2536
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาจิตรกรรม
มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2537
นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล พ.ศ. 2541
ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
มหาวิทยาลัย San Marcos สาธารณรัฐเปรู พ.ศ. 2542 ตำแหน่งหน้าที่การงาน (ด้านการเมืองและอื่น ๆ)
ทนายความ

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สมัยแรก) พ.ศ.
2512
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สมัยที่สอง) พ.ศ.
2518
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สมัยที่สาม) พ.ศ.
2519
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สมัยที่สี่) พ.ศ.
2522
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สมัยที่ห้า) พ.ศ.
2526
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สมัยที่หก) พ.ศ.
2529
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สมัยที่เจ็ด) พ.ศ.
2531
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สมัยที่แปด) พ.ศ. 2535 (22 มี.ค.2535)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สมัยที่เก้า) พ.ศ. 2535 (13 ก.ย.2535)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สมัยที่สิบ) พ.ศ. 2538 (2 ก.ค.
2538)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สมัยที่สิบเอ็ด) พ.ศ. 2539 (17 พ.ย.
2539)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สมัยที่สิบสอง) พ.ศ. 2544 (6 ม.ค.
2544)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ.
2518
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ.
2519
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ.
2519
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พ.ศ.
2523
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.
2524
รัฐมนตรว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2525-2526
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2526-2529
ประธานสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.
2529-2531
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.
2531-2532
รองนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2535 - 26 ส.ค.
2533
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2533 (ส.ค.-ธ.ค.
2533)
นายกรัฐมนตรี พ.ศ.2535 (23 ก.ย.2535 - 20 ก.ค.
2538)
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2538 (4 ส.ค.
2538)
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2539 (21 ธ.ค.
2539)
นายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2540 (9 พ.ย.2540 - 18 ก.พ.
2544)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2540 (14 พ.ย.2540-18 ก.พ
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 (11 มี.ค.2544)
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (26 ม.ค.2534 - 4 พ.ค.
2546)
ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ.2546 - ปัจจุบัน) 
 
ศาสตราจารย์พันเอกพิเศษหญิง มาลี ภู่เรือหงษ์ ครูผู้หักเหเส้นทางชีวิตของนายชวน ได้กล่าวว่า "…นายกฯ ชวน เป็นคนเก่งมากๆ ในวิชาสามัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษ สอบทีไรได้คะแนนสูงสุดทุกที มีความกระฉับกระเฉง เวลาครูสอนจะตั้งใจเรียนมาก และมีความจำเป็นเลิศ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน และมีอารมณ์ทางศิลปะด้วย เวลาที่จะพูดกับครูอาจารย์ จะพูดด้วยความเคารพ จะออกความเห็นอะไร ก็พูดด้วยความเรียบร้อย"     
นายชวนไต่เต้าขึ้นมาจากสมาชิกธรรมดาๆ คนหนึ่ง ใช้เวลาพิสูจน์ความเชื่อมั่นจากเพื่อนสมาชิกบนพื้นฐานของการทำงานหนัก แม้จะไม่มีเงินทุน และอำนาจอิทธิพลอื่นใดหนุนหลัง ปฏิเสธที่จะเป็นหัวหน้าพรรคด้วยการล้มล้างหัวหน้าพรรคคนเก่า ในที่สุดนายชวนซึ่งเป็น ส.ส. จากต่างจังหวัดคนแรกก็ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อปี 2534 ซึ่งใช้เวลาพิสูจน์ตัวเองถึง 22 ปีโดยไม่มีทางลัด     พรรคประชาธิปัตย์ ภายใต้การนำของนายชวน หลีกภัย ได้จัดตั้งรัฐบาล
เมื่อปี 2535 - 2538 นับเป็นรัฐบาลที่นายกรัฐมนตรีมากจากการเลือกตั้งที่อยู่ได้นานที่สุด และกลับไปเป็นฝ่ายค้านระหว่างปี 2538 -2540 แล้วหวนกลับมาเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน 2540 ด้วยภารกิจคือ นำเศรษฐกิจ สังคมไทย ฟันฝ่าวิกฤติที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์และการสานต่อการปฏิรูปทางการเมือง ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ประกาศใช้ในเดือนตุลาคม 2540     
สิ่งที่ทำให้ดิฉันชื่นชมและรู้สึกว่า คุณชวน หลีกภัย ท่านเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่ง เนื่องจากคุณชวน มีความสุภาพ โอบอ้อมอารี ซื่อสัตย์ และเป็นคนที่พอใจในสิ่งที่มี เสมอต้นเสมอปลายกับประชาชน และแม้ท่านจะไม่มีบทบาทในการเมืองเหมือนแต่ก่อนแต่ท่านก็ยังคงทำประโยชน์ให้กับบ้านเมือง เมื่อท่านมีโอกาส      
 คำถามที่ 3  ให้หาจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง อย่างละ 3 ข้อ 
จุดแข็ง 
  1. มีความคิดสร้างสรรค์ดี
  2. มี่ความตั้งใจและพยายาม
  3. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่เอาเปรียบคนอื่น

 จุดอ่อน 

1.     เป็นคนเบื่อง่าย

2.     เก็บอารมณ์ไม่อยู่เมื่อเกิดความรู้สึกต่าง ๆ3.     สมาธิสั้น  

น.ส.ศรีสุดา  วรรณสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด หัวหิน        

น.ส.นภาพร พิพัฒน์ เมื่อ พฤ. 15 มี.ค. 2550 @ 19:35 (194218)
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พระนามเดิม     พระองค์ดำ
พระบรมชนกนาถ   พระมหาธรรมราชา
สถานที่พระราชสมภพ  เมืองพิษณุโลก
วันพระราชสมภพ  พ.ศ. ๒๐๙๘
วีรกรรมสำคัญ   ช่วยให้ประเทศไทยพ้นจากการปกครองของข้าศึก
กอบกู้เอกราชของชาติไทยคืนมาได้เป็นผลสำเร็จ

     พระราชประวัติโดยย่อ

        "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" ทรงเป็นพระโอรสใน "สมเด็จพระมหาธรรมราชา" (สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์) กับ "พระวิสุทธิกษัตริย์"พระราชบิดาสืบเชื้อสายราชสกุลมาจากราชวงศ์"พระร่วง"แห่งกรุงสุโขทัยส่วนพระราชมารดาเป็นพระธิดา  ใน"สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ"กับ "สมเด็จพระศรีสุริโยทัย" (วีรกษัตริย์ที่สิ้นประชนม์บนคอช้าง  เมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๑ ) ราชวงศ์ "สุพรรณภูมิ"ทรงพระราชสมภพเมื่อปีเถะพ.ศ. ๒๐๙๘  ณ  พระราชวังสนามจันทร์เมืองพิษณุโลก  ขณะทรงพระเยาว์  มีพระนามสามัญว่า  "พระองค์ดำ" ทรงมีพระพี่นาง  ๑  องค์พระนามว่า  "พระสุพรรณเทวี" (สุวรรณกัลยานี) และพระอนุชา  ๑  องค์  พระนามว่า  "พระเอกาทศรถ" (พระองค์ขาว)  เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จสวรรคตใน  พ.ศ. ๒๑๑๑  พระราชโอรส  ก็เสด็จขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า  "พระมหินทราธิราช"  บ้านเมืองในราชการนี้เกิดศึกสงครามมากมาย  เพราะพระเจ้าหงสาวดี (บุเรงนอง)  ต้องการยึดกรุงศรีอยุธยาเป็นประเทศราชของพม่าให้ได้และประสบผลสำเร็จ  เมื่อพระมหาธรรมราชาพระราชบุตรเขยซึ่งครองหัวเมือฝ่ายเหนือ  คือ  เมืองพิษณุโลกเอาใจออกห่างไปฝักใฝ่กับพม่า  พระเจ้าหงสาวดี  จึงถือโอกาสยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา  และให้พระยาจักรี  (เชลยศึก)แสร้งทำอุบายหนีจากพม่ามาลอบเปิดประตูเมืองรับกองทัพพม่าเข้าเมือง   กรุงศรีอยุธยาถูกโจมตีทุกด้านจนต้องเสียเอกราชให้แก่พม่าเมื่อวันอาทิตย์  เดือน ๙ แรม ๑๑ ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๑๑๒

 "สมเด็จพระนเรศวร" ทรงเจริญพระชันษาในพม่าตั้งแต่พระชนมายุได้ ๙ พรรษาเนื่องจาก พระเจ้าบุเรงนอง ต้องการนำเอาพระองค์เป็นตัวประกัน  มิให้พระมหาธรรมราชาคิดกระด้างกระเดื่องจนพระชนมายุได้  ๑๕ พรรษา  ก็ได้กลับมาเป็นพระมหาอุปราชปกครองเมืองพิษณุโลก  "สมเด็จพระนเรศวร"ทรงมีพระทัยกล้าหาญเด็ดเดี่ยว และเฉลียวฉลาดตั้งแต่ทรงพระเยาว์ดังได้แสดงให้ปรากฏในการตีหัวเมืองพม่าที่แข็งเมืองต่อหงสาวดี  ต่อมาได้ทรงรวบรวมคนไทยที่มีความสามารถและมีฝีมือมาฝึก  จนมีความเชี่ยวชาญทางยุทธวิธีการรบทั้งแบบไทยและแบบพม่าพระองค์ได้ทรงเหนื่อยยากตรากตรำพระวรกาย   เพื่อกอบกู้เอกราชที่เราต้องเสียให้แก่พม่ากลับคืนมา  ทรงพระวิริยะอุตสาหะในการสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติบ้านเมืองในปี      พ.ศ. ๒๑๒๗   "สมเด็จพระนเรศวร"  ทรงทำพิธีหลั่งน้ำทักษิโณทกประกาศอิสรภาพของกรุงศรีอยุธยา  นับเป็นการกอบกู้เอกราชของไทยจากพม่า หลังจากนั้นได้ทรงทำสงครามป้องกันประเทศจากการรุกรานของพม่าหลายครั้งจนพม่าเกิดความขยาดไม่กล้ารุกรานไทยอีก  นอกจากนี้  ยังได้ทรงยกทัพไปตีเมืองประเทศราชของพม่าถึง  ๕  ครั้ง  ทำให้อาณาเขตของไทยแผ่ขยายออกไปมากกว่าครั้งใด ๆ นับตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี           

           "สมเด็จพระนเรศวร"ทรงเป็นนักรบกล้าและทรงเป็นผู้นำที่เข้มแข็งปลุกปลอบขวัญและผนึกกำลังสามัคคีคนไทยทั้งชาติเข้าด้วยกันขับไล่ศัตรูให้พ้นไปจากผืนแผ่นดินไทย  พระองค์ทรงออกรบนำหน้าทัพทุกครั้ง   โดยไม่พรั่นพรึงต่อศาสตราวุธของฝ่ายตรงข้าม  วีรกรรมที่ตำบลบางประหันและการทำยุทธหัตถีที่ตำบลหนองสาหร่าย  เป็นเครื่องยืนยันถึงความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของพระองค์  พระบรมเดชานุภาพเป็นที่เลื่องลือเกรงขามทุกทิศานุทิศ   แม้ในวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพในปี  พ.ศ. ๒๑๔๘  ก็กำลังเสด็จไปในงานพระราชสงครามเพื่อความเป็นไทอันไพบูลย์ของพระสกนิกรในพระองค์     แม้ว่าจะเสด็จสวรรคตแล้วก็ตาม  แผ่นดินไทยก็ยังว่างเว้นศึกสงครามอีกเป็นเวลานาน  ด้วยวีรกรรมของพระองค์ทำให้คนไทยได้มีองค์พระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งที่ทรงเป็น  "มหาราช" พระองค์แรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาทรงพระนามว่า  "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช"


          กองทัพเรือได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของพระนาม  "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" จึงได้ขอพระราชทานนาม  "นเรศวร"  เป็นชื่อเรือ  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและเป็นนิมิตหมายว่า  เรือหลวงนเรศวร  จะสร้างชื่อเสียงและวีรกรรมให้ปรากฏเช่นเดียวกับวีรบุรุษของไทยที่ได้เคยสร้า11งชื่อเสียงมาแล้วในอดีต

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ / นักศึกษา MBA ม.นานาชาติ สแตมฟอร์ด และท่านผู้อ่านทุกท่าน  

 

ขอชื่นชม นักศึกษา MBA ม.นานาชาติสแตมฟอร์ด ที่ส่งข้อมูลมาแชร์ความรู้ใน Blog ของอาจารย์ใหญ่และของผม  นักศึกษามีพัฒนาการ การเขียนได้ดี ทั้งปริมาณ และคุณภาพ และรักษาเวลา ได้ดี  เห็นได้ชัดว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ มีความตั้งใจ มุ่งมั่น และมีมีพัฒนาการด้านความรู้ทางวิชาการ และเริ่มมีทักษะ ทาง IT มากขึ้น และผมมากไปกว่านั้นคือความรับผิดชอบต่อตนเอง ผมรู้สึกประทับใจศิษย์รักทุกคน

จากการอ่านข้อมูลของนักศึกษา ที่ทยอยส่งเขียนแชร์ความรู้มา ในสัปดาห์นี้  มีนักศึกษาส่งเรียงตามลำดับวันและเวลา ดังนี้

  1. พนาวัลย์ คุ้มสุด เมื่อ ส. 10 มี.ค. 2550 @ 22:57 (189234)
  2. นายชาญชัย พานิชนันทนกุล ID:105342002 เมื่อ อ. 11 มี.ค. 2550 @ 02:20 (189340)
  3. ราเชนทร์ แดงโรจน์ เมื่อ อ. 11 มี.ค. 2550 @ 16:08 (189776)
  4. นางจำเนียร อำภารักษ์ ID 106142002 รุ่น 6 เมื่อ จ. 12 มี.ค. 2550 @ 18:13 (191128)
  5. นายนิคม อำภารักษ์ ID 106142006 รุ่น 6 เมื่อ จ. 12 มี.ค. 2550 @ 19:55 (191206)
  6. จริยา ลิ้มธรรมรักษ์ เมื่อ จ. 12 มี.ค. 2550 @ 23:32 (191397)
  7. นายณัฐพงศ์ ขุมนุมพันธ์ เมื่อ อ. 13 มี.ค. 2550 @ 04:43 (191538)
  8. นาย สราวุฒิ ฉายแสง เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 13:13 (192964)
  9. นางสาวหยาดอรุณ อาสาสำเร็จ เมื่อ อ. 13 มี.ค. 2550 @ 17:11 (192213)
  10. นายวิวัฒน์ นาเวียง เมื่อ อ. 13 มี.ค. 2550 @ 22:24 (192495)
  11. นางสาวสุพรรษา อาลี MBA 7 เมื่อ อ. 13 มี.ค. 2550 @ 22:55 (192526)
  12. นางสาวปณิธาน เชื้อชาติ ID: 106142013 เมื่อ อ. 13 มี.ค. 2550 @ 23:08 (192533)
  13. กนกลักษณ์ เร้าเลิศฤทธิ์ เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 10:00 (192815)
  14. นายประเสริฐ ชัยยะศิริสุวรรณ MBA 7 เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 12:22 (192918)
  15. นางสาวสุกัญญา เพ็ญสุข เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 13:09 (192960)
  16. น.ส.ปภาวี นาคสุข ID 106142008 MBA 6 เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 13:51 (192992)
  17. นันทผล เถาลิโป้ เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 15:28 (193100)
  18. อัสมา แวโน๊ะ ชุด1 เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 15:33 (193108)
  19. น.ส.ศิรดา มากมี เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 20:04 (193346)
  20. นางสาว นริศรา  ทรัพย์ชโลธรมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมป์ฟอร์ด เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 21:33 (193437)
  21. นางสาวปณิธาน เชื้อชาติ ID 106142013 MBA 6 เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 22:30 (193489)
  22. นริศรา ทรัพย์ชโลธร เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 22:40 (193502)
  23. นายเตชสิทธิ์ หอมฟุ้ง เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 23:12 (193532)
  24. ศรีสุดา วรรณสมบูรณ์ ID 106342002 เมื่อ พ. 14 มี.ค. 2550 @ 23:26 (193547)

กรณีที่นักศึกษาส่งมาสอง/สามครั้ง ผมได้นำเอาวันแรกที่ส่งเป็นข้อมูลบันทึกการส่ง  ส่วนเนื้อหาครบถ้วน ในแต่ละครั้งหรือไม่  ผมกับ อาจารย์ใหญ่ จะได้ร่วมกันพิจารณาต่อไป  

ส่วนที่ผมให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกัน ทำการศึกษาจากเอกสารภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับผู้นำ นั้นก็เพื่อให้นักศึกษาได้คุ้นเคย มีประสบการณ์การศึกษาเอกสารตำราภาษาอังกฤษมากขึ้น ประการต่อมา เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้งานนี้ในการสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อน ฝึกภาวะผู้นำการทำงานเป็นทีม เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ระหว่างกลุ่ม ระหว่างกันและกัน

 มีกลุ่มแรกที่ส่งมาโดยการประสานงานของคุณชาญชัย  ขอชื่นชมที่ส่งก่อนเวลา และทำได้ดี เพราะที่จริงให้ส่งหลังสอบ แล้ว 1 สัปดาห์ แต่ก็ส่งมาก่อน ถือเป็นตัวอย่างที่ดี ขอให้สมาชิกในกลุ่ม ศึกษาในรายละเอียดให้เข้าใจทั่วกันด้วย จะเป็นการดีที่สุด 

สัปดาห์นี้ ทราบข่าว ว่า ท่านอาจารย์ใหญ่ ของเรา ศ.ดร.จีระ ไปดำเนินการเรียนการสอนด้วยตัวท่านเอง  แต่มีการเปลี่ยนกำหนดการ ขอให้นักศึกษากรุณาสอบถามกับทางเจ้าหน้าที่ของทางมหาวิทยาลัย เพราะทราบว่า ทางเลขา CEO ของ อาจารย์ใหญ่ ประสานไว้กับทางเจ้าที่ของทางมหาวิทยาลัยแล้ว

เท่าที่ผมทราบคือ ศุกร์ เสาร์นี้ อาจารย์ใหญ่ขอเลื่อนไป วันอาทิตย์  ที่ 18 มี.ค. ตั้งแต่เช้าครับ ส่วนวันอื่น ๆ มีการปรับเปลี่ยนหรือไม่อย่างไร รายละเอียดขอให้สอบถามกับทางเจ้าหน้าที่ของทางมหาวิทยาลัย 

นอกจากนี้ทราบว่าวันเสาร์ที่ 24 นี้ จะมีการสอบ ขอให้ทบทวนในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไป และเตรียมตัวไว้แต่เนิ่น เป็นการดีที่สุด

   

ขอให้ทุกท่านโชคดี  สวัสดีครับ    

อาจารย์ยม

สวัสดีครับ/ค่ะท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์/อ.ยม นาคสุขและเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน

(ข้อแก้ไขข้มมูลและจัดหน้าใหม่ เพื่อความสะดวกกับเพื่อนๆ นักศึกษาทุกท่าน)

      จากที่ได้รับมอบหมายแปลหนังสือเรื่อง The Leader of The Future 2 บทที่ 15 เรื่องLeading New Age Professionals เขียนโดย Marshall Goldsmith ของกลุ่ม 3 มีรายชื่อสมาชิกดังนี้

  1. นายชาญชัย      พานิชนันทนกุล       รหัส  105342002  (หัวหน้า)
  2. นางจำเนียร       อำภารักษ์              รหัส  106142002
  3. นายนิคม           อำภารักษ์              รหัส  106142006
  4. นางสาวปภาวี     นาคสุข                  รหัส  106142008
  5. นางจารุวรรณ     ยุ่นประยงค์             รหัส  106142009
  6. นางสาวปณิธาน  เชื้อชาติ               รหัส  106142013
  7. นายเอกราช       ดนยสกุล               รหัส  106142015

 

จากการอ่านเนื้อเรื่องของกลุ่ม  3 สามารถสรุปได้ดังนี้….

 

เป็นผู้นำยุคใหม่อย่างมืออาชีพ

นายมาร์แชล โกลด์สมิธ  เป็นที่ยอมรับนับถือในสมาคมการจัดการของประเทศอเมริกาและเป็น1ใน50 นักคิดยอดเยี่ยมที่มีบทบาทสำคัญของวงการการจัดการโดย Business Week ซึ่งเขาเป็นหนึ่งผู้นำที่ได้รับการจัดอันดับ จากหนังสือพิมพ์ The Wall Stress Journal ให้เป็น1ใน 10 ของนักบริหารชั้นนำจากทำเนียบ Forbes ซึ่งยกย่องให้เขาเป็น 1 ใน 5 ของนักบริหารที่น่าเชื่อถือที่สุด อีกทั้งยังได้รับการยกย่องจาก นักเศรษฐศาสตร์ ว่าเป็นหนึ่งในผู้นำทางความคิดที่ยอดเยี่ยมที่สุดอีกด้วยจากหนังสือ The Leader of the Future 2     กว่า20ปีที่ผ่านมาบทบาทความเป็นผู้นำในองค์กรใหญ่ๆได้เปลี่ยนแปลงไปซึ่งองค์กรต่างๆเห็นความสำคัญของผู้นำที่เฉลียวฉลาด คล่องแคล่ว ทุ่มเท มีแรงกระตุ้น เป็นนักบริหารมืออาชีพปัจจุบันผู้นำมีความกดดันในภาวะไม่แน่นอน ทำให้ต้องกลับมาดูตัวเองว่าความหมายของผู้นำที่ดีคืออะไรและงานมีความหมายอย่างไร         ในต้นปี 1980 นายมาร์แชล โกลด์สมิธ ได้มีโอกาสทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาใน องค์กรที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกาหลายแห่ง เขารู้สึกประหลาดใจมากที่วันนี้ ผู้จัดการองค์กรและพนักงานมืออาชีพทำงานหนักกันได้อย่างไร เกิดอะไรขึ้น  โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงของการทำงานอย่างมืออาชีพ  ปัจจัย 5 ประการที่สร้างโลกใหม่แห่งการทำงานอย่างมืออาชีพ  ·        การเพิ่มความแตกต่างของค่าตอบแทน  ได้เน้นเกี่ยวกับการเพิ่มค่าตอบแทนอย่างมหาศาลแก่ CEO ซึ่งเปรียบเทียบกับจำนวนของพนักงานทั่วไปรวมถึง ผู้จัดการองค์กรและพนักงานมืออาชีพซึ่งมีการขึ้นเงินเดือนในอัตราที่ต่ำมากเมื่อได้นำการปรับเงินเดือนมาเปรียบเทียบเงินเดือนที่สูงก็ย่อมมาพร้อมกับความคาดหวังที่สูงเช่นกัน บรรทัดสุดท้ายของงบการเงินคือแรงกดดันที่เกิดจากผู้ถือหุ้น  ·        หลักประกันความมั่นคงของงานลดลง  การแข่งขันของโลกในวันนี้ งานที่มีหลักประกันความมั่นคงของผู้จัดการ และพนักงานมืออาชีพ เหมือนความฝันที่ยังห่างไกล ตลอดจนการให้รางวัลแก่ผู้ทำความดี ผู้จัดการและพนักงานมืออาชีพต่างก็อยู่กับกฎที่เข้มงวดกวดขันเพราะกลัวตกงาน โดยทั่วไปการทำงานอย่างมืออาชีพควรเพิ่มจริยธรรมเพื่อให้เกิดคุณค่าแห่งความสำเร็จ  ·        หลักประกันความมั่นคงทางสุขภาพและเบี้ยบำนาญลดลง  เมื่อ 10 ปีที่แล้ว หลักในเรื่องการประกันสุขภาพและเบี้ยบำนาญใน อเมริกามีความซบเซาลงอย่างเห็นได้ชัด  ลูกจ้างในบริษัทหลายแห่ง ต่างประสบปัญหาธุรกิจขาดทุน และปัญหาการไม่ได้รับค่าจ้าง  ทำให้พนักงานต้องทำงานกับแรงกดดันและจำเป็นต้องสะสมของเงินตัวเองไว้ เผื่อค่าใช้จ่ายเมื่อเกษียนจากการทำงานอีกด้วย  ·        การแข่งขันระดับโลก ถึงแม้ว่าในสมัยนั้นมีเพียงไม่กี่คนที่พูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่งในการติดต่อธุรกิจ ไม่น่าเชื่อว่า ประเทศจีน, อินเดีย หรือประเทศในแถบยุโรปตะวันออกที่มีการศึกษาน้อย จะสามารถแข่งขันทางธุรกิจกับอเมริกา และประเทศในยุโรปตะวันตกได้ ทุกวันนี้มีมืออาชีพที่ไม่ใช่คนอเมริกา ที่มีการศึกษาสูง ทำงานหนัก และสามารถพูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่วเป็นล้านคน  พวกเขาทำงานแลกเงินเดือน ถึงแม้ว่าค่าจ้างจะต่ำกว่าคนอเมริกาก็ตาม แต่พวกเขาก็มีความสุขกับการทำงานในระยะยาว  ·        เทคโนโลยีสมัยใหม่  เดิมทุกคนเข้าใจผิดคิดว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้คนตกงานเพิ่มขึ้นซึ่งปัจจุบันผู้จัดการและพนักงานมืออาชีพได้ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและได้สร้างแนวคิด24-7Mind–setซึ่งสามารถเห็นได้ว่ามืออาชีพต่างก็ใช้โทรศัพท์มือถือหรือ PDA ในการติดต่อสื่อสาร เทคโนโลยีได้แพร่ขยายไปทั้งโลกและจะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดนิ่ง  คนรุ่นใหม่มืออาชีพต้องการอะไรจากผู้นำของเขา  ·        การสร้างขวัญและกำลังใจ  เราต้องดูที่ความต้องการของคนรุ่นใหม่มากกว่าที่จะใช้เพียงทักษะของผู้นำเท่านั้น หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าคนที่จะเป็นผู้นำนั้นต้องมีความรู้ความสามารถ ปฎิบัติตัวเป็นผู้นำตัวอย่างที่ดี  รู้จักให้กำลังใจ    ·        การเพิ่มขีดความสามารถ  เนื่องจากหลักประกันของงานลดลงและการแข่งขันทั่วโลกเพิ่มขึ้นการปรับปรุงทักษะเป็นสิ่งจำเป็นในอนาคต ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์พวกพนักงานมืออาชีพส่วนใหญ่นั้นมักจะเต็มใจทำงานถึงแม้ว่างานนั้นจะให้ผลตอบแทนน้อยแต่จะส่งผลให้เขาเติบโตในหน้าที่การงานในอนาคตความจงรักภักดีจะได้รับผ่านการเรียนเรียนรู้ไม่ใช่เงิน  ·        ทำเวลาให้มีคุณค่า  คนรุ่นใหม่เหล่านี้มักมองว่าเวลาเป็นสิ่งมีค่าเพราะฉะนั้นผู้นำต้องเล็งเห็นถึงคุณค่าของเวลาใช้เวลาให้เกิดประโยชน์มีประสิทธิภาพ  ·        สร้างเครือข่ายในการทำงาน  ความมั่นคงของอาชีพในอนาคตมาจากความสามารถและการสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกบริษัท คนรุ่นใหม่ จึงมักสร้างเครือข่ายนี้แก่ผู้อื่นทั้งในและนอกบริษัทให้ความรู้และนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความจงรักภักดีต่อบริษัท และจะทำให้บริษัทเติบโตสร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้าได้ในอนาคต    ·        สนับสนุนอุดมการณ์ของพนักงาน  พนักงานมืออาชีพที่ดีที่สุดทำงานเพื่ออนาคตข้างหน้า ไม่ได้ทำงานเพื่อเงิน พวกเขาต้องการให้สนับสนุนอุดมการณ์ของพวกเขาให้เป็นจริง  ·        การขยายช่องทางการจำหน่าย   มีมืออาชีพหลายคนที่เป็น ตัวแทนอิสระ องค์กรต้องให้โอกาสและช่วยผลักดันไปให้ถึงอุดมการณ์  ซึ่งผู้นำที่ดีควรจะแสดงให้เห็นว่าองค์กรมีความสามารถในการช่วยเหลือพนักงานมืออาชีพและสนับสนุนพวกเขาให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก   ปัจจัยที่สำคัญที่สุด 2 ข้อ คือ   1.    ต้องการให้พนักงานมืออาชีพที่ทำงานหนักมีความสุขให้กำลังใจเกิดบรรยากาศการทำงานที่ดีทุกคนอยากมาทำงาน2.    ให้ความสำคัญกับพวกเขา 

โดยสรุปว่า   การเป็นผู้จัดการและพนักงานมืออาชีพที่มีความเป็นผู้นำที่ดีในอนาคต   ต้องมีความรอบรู้มีความสามารถในการทำงานให้สำเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย พวกเขาต้องยอมรับสภาวะที่เปลี่ยนไปของโลกโลกาภิวัตน์ และเทคโนโลยีต่างๆและการแข่งขันที่รุนแรงในรูปแบบต่างๆ  โดยพวกเขามีความยินดีและพร้อมที่จะทำงานหนักเพื่อให้โลกรับรู้ในความสำเร็จของพวกเขา ผู้นำต้องตระหนักถึงความสำคัญของงานและองค์กรไปพร้อมๆ กัน ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความก้าวหน้าในอนาคตของพวกเขาอีกด้วย  โดยสรุปว่า    การเป็นผู้นำมืออาชีพที่ดีในอนาคต   พวกเขามีความยินดีและพร้อมที่จะทำงานหนักเพื่อให้โลกรับรู้ในความสำเร็จของพวกเขา ผู้นำต้องตระหนักถึงความสำคัญของงานและองค์กรไปพร้อมๆ กัน ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความก้าวหน้าในอนาคตของพวกเขา ซึ่งผู้นำมืออาชีพต้องมีความรอบรู้มีความสามารถในการ  ทำงานให้สำเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย พวกเขาต้องเข้าใจถึงสภาวการณ์ที่เปลี่ยนไปในโลกยุคโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะเทคโนโลยีและการแข่งขันที่รุนแรงในรูปแบบต่างๆ  ที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งผู้นำต้องมีความสามารถในการตั้งรับกับสิ่งใหม่ๆ เหล่านี้ อีกทั้งต้องสามารถพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ผู้นำจึงต้องเป็นผู้ที่ใฝ่รู้ตลอดเวลา มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถบริหารเวลาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ ที่สำคัญต้องสามารถเป็นต้นแบบที่ดีให้กับพนักงานได้  และสามารถสร้างค่านิยมในการทำงานให้พนักงานทุกคนล้วนทำงานเพื่อความสุขเป็นอันดับแรก มิใช่เพื่อเงินทอง                                                                                                                                                 

    

 

ไม่แสดงตน เมื่อ ศ. 16 มี.ค. 2550 @ 16:48 (195259)
วัสดีครับ/ค่ะท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์/.ยม นาคสุขและเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน(ข้อแก้ไขข้มมูลและจัดหน้าใหม่ เพื่อความสะดวกกับเพื่อนๆ นักศึกษาทุกท่าน)

      จากที่ได้รับมอบหมายแปลหนังสือเรื่อง The Leader of The Future 2 บทที่ 15 เรื่องLeading New Age Professionals เขียนโดย Marshall Goldsmith ของกลุ่ม 3 มีรายชื่อสมาชิกดังนี้

  1. นายชาญชัย      พานิชนันทกุล       รหัส  105342002  (หัวหน้า)
  2. นางจำเนียร       อำภารักษ์              รหัส  106142002
  3. นายนิคม           อำภารักษ์              รหัส  106142006
  4. นางสาวปภาวี     นาคสุข                  รหัส  106142008
  5. นางจารุวรรณ     ยุ่นประยงค์             รหัส  106142009
  6. นางสาวปณิธาน  เชื้อชาติ               รหัส  106142013
  7. นายเอกราช       ดนยสกุล               รหัส  106142015
  จากการอ่านเนื้อเรื่องของกลุ่ม  3 สามารถสรุปได้ดังนี้….  เป็นผู้นำยุคใหม่อย่างมืออาชีพ นายมาร์แชล โกลด์สมิธ  เป็นที่ยอมรับนับถือในสมาคมการจัดการของประเทศอเมริกาและเป็น 1 ใน50 นักคิดยอดเยี่ยมที่มีบทบาทสำคัญของวงการการจัดการโดย Business Week ซึ่งเขาเป็นหนึ่งผู้นำที่ได้รับการจัดอันดับ จากหนังสือพิมพ์ The Wall Stress Journal ให้เป็น 1 ใน 10 ของนักบริหารชั้นนำจากทำเนียบ Forbes ซึ่งยกย่องให้เขาเป็น 1 ใน 5 ของนักบริหารที่น่าเชื่อถือที่สุด  อีกทั้งยังได้รับการยกย่องจาก นักเศรษฐศาสตร์ ว่าเป็นหนึ่งในผู้นำทางความคิดที่ยอดเยี่ยมที่สุดอีกด้วยจากหนังสือ The Leader of the Future  กว่า 20 ปีที่ผ่านมา บทบาทความเป็นผู้นำในองค์กรใหญ่ ๆได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งองค์กรต่าง ๆ เห็นความสำคัญของผู้นำที่เฉลียวฉลาด คล่องแคล่ว ทุ่มเท มีแรงกระตุ้น เป็นนักบริหารมืออาชีพ  ปัจจุบันผู้นำมีความกดดันในภาวะที่ไม่แน่นอน ทำให้ต้องกลับมาดูตัวเองว่าความหมายของผู้นำที่ดีคืออะไรและงานมีความหมายอย่างไร         ในต้นปี 1980 นายมาร์แชล โกลด์สมิธ ได้มีโอกาสทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาใน องค์กรที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกาหลายแห่ง เขารู้สึกประหลาดใจมากที่วันนี้ ผู้จัดการองค์กรและพนักงานมืออาชีพทำงานหนักกันได้อย่างไร เกิดอะไรขึ้น   โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงของการทำงานอย่างมืออาชีพ  ปัจจัย 5 ประการที่สร้างโลกใหม่แห่งการทำงานอย่างมืออาชีพ  
  1. การเพิ่มความแตกต่างของค่าตอบแทน  ได้เน้นเกี่ยวกับการเพิ่มค่าตอบแทนอย่างมหาศาลแก่ CEO ซึ่งเปรียบเทียบกับจำนวนของพนักงานทั่วไปรวมถึง ผู้จัดการองค์กรและพนักงานมืออาชีพซึ่งมีการขึ้นเงินเดือนในอัตราที่ต่ำมาก เมื่อได้นำการปรับเงินเดือนมาเปรียบเทียบเงินเดือนที่สูงก็ย่อมมาพร้อมกับความคาดหวังที่สูงเช่นกัน บรรทัดสุดท้ายของงบการเงินคือแรงกดดันที่เกิดจากผู้ถือหุ้น  
  2. หลักประกันความมั่นคงของงานลดลง  การแข่งขันของโลกในวันนี้ งานที่มีหลักประกันความมั่นคงของผู้จัดการ และพนักงานมืออาชีพ เหมือนความฝันที่ยังห่างไกล ตลอดจนการให้รางวัลแก่ผู้ทำความดี ผู้จัดการและพนักงานมืออาชีพต่างก็อยู่กับกฎที่เข้มงวดกวดขันเพราะกลัวตกงาน โดยทั่วไปการทำงานอย่างมืออาชีพควรเพิ่มจริยธรรมเพื่อให้เกิดคุณค่าแห่งความสำเร็จ  
  3. หลักประกันความมั่นคงทางสุขภาพและเบี้ยบำนาญลดลง  เมื่อ 10 ปีที่แล้ว หลักในเรื่องการประกันสุขภาพและเบี้ยบำนาญใน อเมริกามีความซบเซาลงอย่างเห็นได้ชัด  ลูกจ้างในบริษัทหลายแห่ง ต่างประสบปัญหาธุรกิจขาดทุน และปัญหาการไม่ได้รับค่าจ้าง  ทำให้พนักงานต้องทำงานกับแรงกดดันและจำเป็นต้องสะสมของเงินตัวเองไว้ เผื่อค่าใช้จ่ายเมื่อเกษียนจากการทำงานอีกด้วย  
  4. การแข่งขันระดับโลก ถึงแม้ว่าในสมัยนั้นมีเพียงไม่กี่คนที่พูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่งในการติดต่อธุรกิจ ไม่น่าเชื่อว่า ประเทศจีน, อินเดีย หรือประเทศในแถบยุโรปตะวันออกที่มีการศึกษาน้อย จะสามารถแข่งขันทางธุรกิจกับอเมริกา และประเทศในยุโรปตะวันตกได้ ทุกวันนี้มีมืออาชีพที่ไม่ใช่คนอเมริกา ที่มีการศึกษาสูง ทำงานหนัก และสามารถพูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่วเป็นล้านคน  พวกเขาทำงานแลกเงินเดือน ถึงแม้ว่าค่าจ้างจะต่ำกว่าคนอเมริกาก็ตาม แต่พวกเขาก็มีความสุขกับการทำงานในระยะยาว  
  5. เทคโนโลยีสมัยใหม่  เดิมทุกคนเข้าใจผิดคิดว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้คนตกงานเพิ่มขึ้นซึ่งปัจจุบันผู้จัดการและพนักงานมืออาชีพได้ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและได้สร้างแนวคิด24-7Mind–setซึ่งสามารถเห็นได้ว่ามืออาชีพต่างก็ใช้โทรศัพท์มือถือหรือ PDA ในการติดต่อสื่อสาร เทคโนโลยีได้แพร่ขยายไปทั้งโลกและจะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดนิ่ง  
 คนรุ่นใหม่มืออาชีพต้องการอะไรจากผู้นำของเขา  
  1. การสร้างขวัญและกำลังใจ  เราต้องดูที่ความต้องการของคนรุ่นใหม่มากกว่าที่จะใช้เพียงทักษะของผู้นำเท่านั้น หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าคนที่จะเป็นผู้นำนั้นต้องมีความรู้ความสามารถ ปฎิบัติตัวเป็นผู้นำตัวอย่างที่ดี  รู้จักให้กำลังใจ    
  2. การเพิ่มขีดความสามารถ  เนื่องจากหลักประกันของงานลดลงและการแข่งขันทั่วโลกเพิ่มขึ้นการปรับปรุงทักษะเป็นสิ่งจำเป็นในอนาคต ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์พวกพนักงานมืออาชีพส่วนใหญ่นั้นมักจะเต็มใจทำงานถึงแม้ว่างานนั้นจะให้ผลตอบแทนน้อยแต่จะส่งผลให้เขาเติบโตในหน้าที่การงานในอนาคตความจงรักภักดีจะได้รับผ่านการเรียนเรียนรู้ไม่ใช่เงิน  
  3. ทำเวลาให้มีคุณค่า  คนรุ่นใหม่เหล่านี้มักมองว่าเวลาเป็นสิ่งมีค่าเพราะฉะนั้นผู้นำต้องเล็งเห็นถึงคุณค่าของเวลาใช้เวลาให้เกิดประโยชน์มีประสิทธิภาพ  
  4. สร้างเครือข่ายในการทำงาน  ความมั่นคงของอาชีพในอนาคตมาจากความสามารถและการสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกบริษัท คนรุ่นใหม่ จึงมักสร้างเครือข่ายนี้แก่ผู้อื่นทั้งในและนอกบริษัทให้ความรู้และนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความจงรักภักดีต่อบริษัท และจะทำให้บริษัทเติบโตสร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้าได้ในอนาคต    
  5. สนับสนุนอุดมการณ์ของพนักงาน  พนักงานมืออาชีพที่ดีที่สุดทำงานเพื่ออนาคตข้างหน้า ไม่ได้ทำงานเพื่อเงิน พวกเขาต้องการให้สนับสนุนอุดมการณ์ของพวกเขาให้เป็นจริง  
  6. การขยายช่องทางการจำหน่าย   มีมืออาชีพหลายคนที่เป็น ตัวแทนอิสระ องค์กรต้องให้โอกาสและช่วยผลักดันไปให้ถึงอุดมการณ์  ซึ่งผู้นำที่ดีควรจะแสดงให้เห็นว่าองค์กรมีความสามารถในการช่วยเหลือพนักงานมืออาชีพและสนับสนุนพวกเขาให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก   
 ปัจจัยที่สำคัญที่สุด 2 ข้อ คือ   
  1. ต้องการให้พนักงานมืออาชีพที่ทำงานหนักมีความสุขให้กำลังใจเกิดบรรยากาศการทำงานที่ดีทุกคนอยากมาทำงาน
  2. ให้ความสำคัญกับพวกเขา 
 

โดยสรุปว่า   การเป็นผู้จัดการและพนักงานมืออาชีพที่มีความเป็นผู้นำที่ดีในอนาคต   ต้องมีความรอบรู้มีความสามารถในการทำงานให้สำเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย พวกเขาต้องยอมรับสภาวะที่เปลี่ยนไปของโลกโลกาภิวัตน์ และเทคโนโลยีต่างๆและการแข่งขันที่รุนแรงในรูปแบบต่างๆ  โดยพวกเขามีความยินดีและพร้อมที่จะทำงานหนักเพื่อให้โลกรับรู้ในความสำเร็จของพวกเขา ผู้นำต้องตระหนักถึงความสำคัญของงานและองค์กรไปพร้อมๆ กัน ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความก้าวหน้าในอนาคตของพวกเขาอีกด้วย 

  โดยสรุปว่า    การเป็นผู้นำมืออาชีพที่ดีในอนาคต   พวกเขามีความยินดีและพร้อมที่จะทำงานหนักเพื่อให้โลกรับรู้ในความสำเร็จของพวกเขา ผู้นำต้องตระหนักถึงความสำคัญของงานและองค์กรไปพร้อม  ๆ กัน ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความก้าวหน้าในอนาคตของพวกเขา  ซึ่งผู้นำมืออาชีพต้องมีความรอบรู้มีความสามารถในการ  ทำงานให้สำเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย พวกเขาต้องเข้าใจถึงสภาวการณ์ที่เปลี่ยนไปในโลกยุคโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะเทคโนโลยีและการแข่งขันที่รุนแรงในรูปแบบต่างๆ  ที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งผู้นำต้องมีความสามารถในการตั้งรับกับสิ่งใหม่ๆ เหล่านี้  

อีกทั้งต้องสามารถพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ผู้นำจึงต้องเป็นผู้ที่ใฝ่รู้ตลอดเวลา มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถบริหารเวลาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ ที่สำคัญต้องสามารถเป็นต้นแบบที่ดีให้กับพนักงานได้  และสามารถสร้างค่านิยมในการทำงานให้พนักงานทุกคนล้วนทำงานเพื่อความสุขเป็นอันดับแรก มิใช่เพื่อเงินทอง

นายชาญชัย พานิชนันทนกุล ID:105342002
สวัสดีครับ ท่านศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์/อ.ยม และเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2550 เรียนแล้วได้อะไร ?        การที่จะเป็นผู้นำที่ดีต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจและปฎิบัติได้ตามเป้าหมายดูสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรแล้วนำมาเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์กร วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนทฤษฏี 3 วงกลมวงกลมที่ 1 Context เปรียบเหมือนบ้านหรือองค์กร เกิดความรู้เฉพาะทางวงกลมที่ 2 Competencies เปรียบเหมือนคนที่อาศัยอยู่ในบ้าน เกิดความรู้เชิงผู้บริหารวงกลมที่ 3 Motivation  สร้างแรงจูงใจให้คนอยู่ในบ้านอยากจะอยู่ จากบทความของศ.ดร. จีระ หงลดารมภ์จะเห็นได้ว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจต้องยั่งยืนเติบโตไปพร้อมกับความสมดุลของธรรมชาติ ผู้นำต้องทั้งเก่งและดี มีคุณธรรมและจริยธรรม มีความรู้ความสามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ  มองไปถึงผู้นำที่หัวหินต้องมีวิสัยทัศน์รอบรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา มีคุณธรรมจริยธรรม รู้จักวางแผนงาน ผังเมือง รองรับการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สำหรับปัญหาทางภาคใต้วิธีแก้ไข รัฐต้องสร้างความเชื่อถือ ศรัทธาแก่ประชาชนชาวใต้แต่ถ้าเริ่มตอนนี้อาจจะสายเกินไป เนื่องจากสถานการณ์ค่อนข้างวิกฤติ ง่ายต่อการปลุกระดมของผู้ไม่หวังดี ส่งคนเก่งคนดีไปก็ตายหมด ช่วงนี้ไม่จำเป็นต้องส่งคนเก่งคนดีลงไปแก้ไข แต่ต้องส่งคนที่มีความรู้ความสามารถตอบโจทย์ทางใต้ได้ มีความเด็ดขาด ผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูกเลิกสงสารคนทำผิด กลุ่มโจรฆ่าคนไม่ผิด แต่ตำรวจจับโจรใต้ถูกกดดันสารพัดให้ปล่อยตัว  ทหารถูกยั่วยุให้ใช้ความรุนแรง แต่ทำอะไรไม่ได้หน่วยงานราชการทางภาคใต้ไม่มีความร่วมมืออย่างจริงใจในการทำงานแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง แล้วเมื่อไรจะเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงแค่ใช้ลมปากในการแก้ไขปัญหาจึงไม่ประสบความสำเร็จ  ไม่มีการลงมือปฏิบัติให้ชัดเจนเห็นเป็นรูปธรรมดังนั้นทุกคนต้องร่วมมือร่วมใจกันแก้ปัญหาให้ถูกจุดตรงประเด็นจึงจะสำเร็จผู้นำชายกับหญิงต่างกันอย่างไรชาย ได้รับการยอมรับจากสังคม มีความเด็ดขาด การตัดสินใจดีกว่า มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีทุนความสุข ทุนสังคม ทุนปัญญา และทุนความรู้ดีกว่าผู้หญิงหญิงมีทุนจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุน IT ดีกว่าชาย มีภาระครอบครัวที่ต้องดูแล  ผู้หญิงมักจะขาดทุนทางสังคม  และเครือข่ายบทบาทของผู้หญิงมักจะถูกกำหนดให้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของผู้นำที่ยิ่งใหญ่เสมอ เช่น คุณฮิลลารี คลินตันหลังจาดูเทปดร.ปุระชัย ปะทะ.ดร. จีระ จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 ท่านมีทุนมนุษย์ที่ดีมากจากผู้ให้กำเนิด รักการอ่าน ใฝ่รู้ ชอบถ่ายทอดให้ความรู้ให้ผู้อื่น  แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ -ท่านปุระชัยจะมีความลุ่มลึกในแต่ละเรื่องที่ท่านอ่านแต่ยังไม่สามารถทำออกมาเป็นทฤษฏีของตนเองได้- ท่านอ.จีระจะมีความรู้ในด้านกว้าง กล้าพูดกล้าคิดนอกกรอบ มีการApply เป็นทฤษฎีของตนเองและสามารถนำไปเชื่อมกับสิ่งต่างๆได้อย่างต่อเนื่องสรุปจะเห็นได้ว่าทั้ง 2 ท่านกว่าจะประสบความสำเร็จต้องมีองค์ประกอบ ทุนมนุษย์ ทุนปัญญา ทุนจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางIT และทุนความรู้ จึงจะเป็นผู้นำที่ดีได้และจากการแปล Chapter 3 ทำให้ทราบถึงลักษณะเฉพาะตัวของผู้นำ และChapter 4 กระบวนการภาวะผู้นำ เน้นการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันและพัฒนาเป้าหมาย
นายชาญชัย พานิชนันทนกุล ID:105342002 เมื่อ อ. 18 มี.ค. 2550 @ 23:55 (197225)

สวัสดีครับ ท่านศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์/อ.ยม และเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน 

 

วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2550 เรียนแล้วได้อะไร ?       

การที่จะเป็นผู้นำที่ดีต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจและปฎิบัติได้ตามเป้าหมายดูสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรแล้วนำมาเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์กร วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนทฤษฏี 3 วงกลม

  • วงกลมที่ 1 Context เปรียบเหมือนบ้านหรือองค์กร เกิดความรู้เฉพาะทาง
  • วงกลมที่ 2 Competencies เปรียบเหมือนคนที่อาศัยอยู่ในบ้าน เกิดความรู้เชิงผู้บริหาร
  • วงกลมที่ 3 Motivation  สร้างแรงจูงใจให้คนอยู่ในบ้านอยากจะอยู่ 

จากบทความของศ.ดร. จีระ หงลดารมภ์จะเห็นได้ว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจต้องยั่งยืนเติบโตไปพร้อมกับความสมดุลของธรรมชาติ ผู้นำต้องทั้งเก่งและดี มีคุณธรรมและจริยธรรม มีความรู้ความสามารถนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ  มองไปถึงผู้นำที่หัวหินต้องมีวิสัยทัศน์รอบรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา มีคุณธรรมจริยธรรม รู้จักวางแผนงาน ผังเมือง รองรับการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

สำหรับปัญหาทางภาคใต้วิธีแก้ไข รัฐต้องสร้างความเชื่อถือ ศรัทธาแก่ประชาชนชาวใต้แต่ถ้าเริ่มตอนนี้อาจจะสายเกินไป เนื่องจากสถานการณ์ค่อนข้างวิกฤติ ง่ายต่อการปลุกระดมของผู้ไม่หวังดี ส่งคนเก่งคนดีไปก็ตายหมด ช่วงนี้ไม่จำเป็นต้องส่งคนเก่งคนดีลงไปแก้ไข แต่ต้องส่งคนที่มีความรู้ความสามารถตอบโจทย์ทางใต้ได้ มีความเด็ดขาด ผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูกเลิกสงสารคนทำผิด กลุ่มโจรฆ่าคนไม่ผิด แต่ตำรวจจับโจรใต้ถูกกดดันสารพัดให้ปล่อยตัว  ทหารถูกยั่วยุให้ใช้ความรุนแรง แต่ทำอะไรไม่ได้หน่วยงานราชการทางภาคใต้ไม่มีความร่วมมืออย่างจริงใจในการทำงานแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง แล้วเมื่อไรจะเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงแค่ใช้ลมปากในการแก้ไขปัญหาจึงไม่ประสบความสำเร็จ  ไม่มีการลงมือปฏิบัติให้ชัดเจนเห็นเป็นรูปธรรม

ดังนั้นทุกคนต้องร่วมมือร่วมใจกันแก้ปัญหาให้ถูกจุดตรงประเด็นจึงจะสำเร็จผู้นำชายกับหญิงต่างกันอย่างไรชาย ได้รับการยอมรับจากสังคม มีความเด็ดขาด การตัดสินใจดีกว่า มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีทุนความสุข ทุนสังคม ทุนปัญญา และทุนความรู้ดีกว่าผู้หญิงหญิงมีทุนจริยธรรม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุน IT ดีกว่าชาย มีภาระครอบครัวที่ต้องดูแล  ผู้หญิงมักจะขาดทุนทางสังคม  และเครือข่ายบทบาทของผู้หญิงมักจะถูกกำหนดให้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของผู้นำที่ยิ่งใหญ่เสมอ เช่น คุณฮิลลารี คลินตัน

หลังจาดูเทปดร.ปุระชัย ปะทะ.ดร. จีระ จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 ท่านมีทุนมนุษย์ที่ดีมากจากผู้ให้กำเนิด รักการอ่าน ใฝ่รู้ ชอบถ่ายทอดให้ความรู้ให้ผู้อื่น  แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ 

  • -ท่านปุระชัยจะมีความลุ่มลึกในแต่ละเรื่องที่ท่านอ่านแต่ยังไม่สามารถทำออกมาเป็นทฤษฏีของตนเองได้
  • - ท่านอ.จีระจะมีความรู้ในด้านกว้าง กล้าพูดกล้าคิดนอกกรอบ มีการApply เป็นทฤษฎีของตนเองและสามารถนำไปเชื่อมกับสิ่งต่างๆได้อย่างต่อเนื่อง

สรุปจะเห็นได้ว่าทั้ง 2 ท่านกว่าจะประสบความสำเร็จต้องมีองค์ประกอบ ทุนมนุษย์ ทุนปัญญา ทุนจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางIT และทุนความรู้ จึงจะเป็นผู้นำที่ดีได้และจากการแปล Chapter 3 ทำให้ทราบถึงลักษณะเฉพาะตัวของผู้นำ และChapter 4 กระบวนการภาวะผู้นำ เน้นการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันและพัฒนาเป้าหมาย

นายชาญชัย พานิชนันทนกุล ID: 105342002
สวัสดีครับ/ค่ะ ท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์/อ.ยมและเพื่อนนักศึกษาทุกท่าน จากที่กลุ่ม 3 ได้รับมอบหมายให้แปลหนังสือ Reinventing Leadership Chapter3 เรื่อง The Personal Side of Leadership สมาชิกกลุ่ม 3 มีดังนี้ 1.นายชาญชัย พานิชนันทนกุล รหัส 105342002(หัวหน้า) 2.นางจำเนียร อำภารักษ์ รหัส 106142002 3.นายนิคม อำภารักษ์ รหัส 106142006 4.น.ส.ปภาวี นาคสุข รหัส 106142008 5.นางจารุวรรณ ยุ่นประยงค์ รหัส 106142009 6.น.ส.ปณิธาน เชื้อชาติ รหัส 106142013 7.นายเอกราช ดนยสกุล รหัส 106142015 สามารถสรุปเนื้อหาได้ดังนี้ แง่มุมด้าน “ คน ”ของความเป็นผู้นำ ผู้นำจะสื่อสารมุมมองความคิดและวิสัยทัศน์ของตนไปยังผู้ที่สามารถทำให้มุมมองนั้นเป็นความจริงได้ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้คนเหล่านี้ได้รับความสนใจว่าเป็นคนที่นำความฝันไปปฏิบัติได้ เพื่อกระตุ้นและโน้มน้าวให้บุคคลเข้าร่วมกับอุดมการณ์ คุณต้องมีความตระหนักรู้ตนเองหรือรู้จักตนเข้าใจตัวเองและอยากจะพัฒนาตนเอง การเป็นผู้นำนั้นต้องแสดงออกอย่างดีที่สุดเพื่อผู้อื่นจะได้ทำตาม ผู้นำต้องรู้จักตนเองและปรารถนาที่จะพัฒนาตนเองเสมอ ในการจะเป็นผู้นำทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ผู้นำควรจะปรับปรุงตนเองก่อนที่จะพัฒนาผู้อื่น ในบทนี้จะได้เรียนรู้ว่าการค้นพบตนเองสามารถเป็นจุดเริ่มต้นที่จะส่งผลกระทบต่อองค์กร การชี้ให้เห็นถึงการสร้างทัศนคติในเชิงบวก และยังจะได้ทราบถึงวิธีที่จะสร้างการมองตนเองโดยการเสริมสร้างจุดแข็งของตนเองทราบความต้องการขององค์กรและความคาดหวังที่องค์กรจะได้รับรวมถึงทำให้เกิดการประเมินเสียงสะท้อน (Reflective backtalk) ในทุกๆ โอกาส การที่ผู้นำได้มีการพัฒนาด้านบุคคลมาถึงจะนำพาไปสู่การเป็นผู้นำที่ดี นอกจากการพัฒนาด้านบุคคลมาถึงจะนำพาไปสู่การเป็นผู้นำที่ดีแล้ว ยังช่วยสร้างนวัตกรรมใหม่ และเพิ่มมูลค่าขีดความสามารถในการผลิตให้กับบริษัท นำไปสู่การพัฒนาขององค์กรด้วย ความหมายแง่มุมด้านคนของความเป็นผู้นำคืออะไร? เราต้องสร้างกลไกเหนี่ยวรั้งเทียมขึ้น เมื่อใดก็ตามที่ความคิดเห็นของเราถูกโจมตี โดยทั่วไปเราต่างก็รีบปกป้องทันที แต่ผู้นำที่ดีจะเหนี่ยวรั้งความรู้สึกนั้น(ที่จะปกป้องทันที) เราคิดว่าความแตกต่างระหว่างการเคารพนับถือในตัวเองกับความมีอัตตา ก็คือ ความสามารถในการโต้แย้งโดยได้ไตร่ตรองแล้ว การเป็นผู้นำต้องมีทัศนคติเชิงบวก(Positive self-regard)เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ • ต้องรู้ข้อดีและข้อด้อยของตนเอง ข้อดีควรส่งเสริมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ควรกำจัดข้อเสียให้น้อยลงหรือ กำจัดให้หมดไป • เปิดโอกาสให้มีการพัฒนาตนเองเพื่อที่จะเสริมสร้างข้อดีโดยการกำหนดเป้าหมายไว้ ผู้นำที่ดีส่วนใหญ่ต้องการผลตอบรับ (Feedback) เพื่อใช้ในการประเมินตนเองว่า ทำงานได้ดีแค่ไหนและก้าวหน้าขนาดไหนแล้ว • ผู้นำต้องมีความเข้าใจความต้องการขององค์กรและตนเองสามารถพัฒนาองค์กรได้ไม่มากก็น้อย ผู้นำที่มีศักยภาพนั้นจะตระหนักได้ว่าควรพยายามทำและพัฒนาตรงจุดไหน ในการศึกษาวิจัยครั้งแรกเมื่อหลายปีที่ผ่านมาพบว่ามีผู้นำเพียง 2 คนจาก 90 คน ที่อยู่ในตำแหน่ง CEO ได้นานในองค์กรของเขา ซึ่ง 2 คนนี้ พวกเขาเข้าใจผิดว่าความสามารถของพวกเขาไม่เหมาะสมกับความต้ององค์กรแล้ว แต่โดนบังคับให้อยู่ในตำแหน่งเพราะคณะกรรมการอื่นๆ ทั้งนี้ปัจจัยที่กำหนดการเลือกผู้นำคนใหม่คือ ความสามารถ (รู้ว่าตนเองกำลังทำอะไร) และรู้ว่าตนเองจะต้องหมดหน้าที่ลงเมื่อใด หากเลือกผู้นำผิด ความผิดพลาดก็จะถูกฝังและอยู่ในองค์กรตลอดไป และพวกคณะกรรมการที่คัดเลือกผู้นำใหม่ก็ไม่กระตือรือร้นที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดนี้อีกด้วย ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อผู้นำคือ คู่สมรสที่ดีซึ่งจะสามารถให้การช่วยเหลือเกื้อกูลหรือเป็นกระจกสะท้อนตัวผู้นำออกมา นอกจากนี้คนรอบข้างในองค์กรหรือนอกองค์กร ก็มีส่วนสำคัญในการสะท้อนและสามารถบอกความจริงในสิ่งต่างๆ ในตัวผู้นำได้ สาเหตุที่ทำให้ CEO รักษาชีวิตสมรสที่ยาวนานคือประสิทธิภาพของคู่สมรส ผู้นำหลายคนไม่สามารถจะก้าวเป็น CEO ได้หากขาดภรรยาหรือสามีให้ความช่วยเหลือ ให้กำลังใจและช่วยในการจัดการและสนับสนุนอย่างดีในทุกเรื่อง ซึ่งมีความสำคัญมากกว่าเสียงสะท้อนกลับมา นอกจากคู่สมรส ผู้นำต้องการ เสียงสะท้อน จากคนในองค์กรและนอกองค์กรอีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้นำที่จะต้องสร้างสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิด เสียงสะท้อน โดยการสัมภาษณ์เพราะผู้นำสามารถจะเจอคนที่มีจุดแข็งในตนเอง ซึ่งคนพวกนี้จะเป็นแหล่งเสียงสะท้อนของผู้นำ รวมถึงคนที่มักจะมีความคิดเห็นแตกต่างจากผู้อื่นในกลุ่ม เพราะความคิดของคนกลุ่มนี้จะส่งผลต่อการดำเนินงานขององค์กรเพื่อไม่ดำเนินไปในทิศทางเดียว นอกจากนี้ผู้นำควรให้ความสำคัญกับ การสับเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่งหน้าที่ (devil’s advocate) ซึ่งจะสามารถช่วยให้มีคนคอยตักเตือนเราและมองเห็นการทำงานของเราและการที่มีคนพูดสะท้อนในสิ่งที่คุณทำนั้นในชีวิตควรมีมากกว่า 1 คนหรือไม่ก็อย่างน้อย 1 คนก็ยังดี วิธีสะท้อนเพื่อให้กำลังใจนั้นคือ ระบบผลตอบแทนสินน้ำใจเหมือนการให้โบนัส , เสียงสะท้อนถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่ในการช่วยส่งเสริมการเป็นผู้นำที่ดี มีบทเรียนแห่งความรู้ที่เป็นประโยชน์ที่มาจากผู้นำหลายท่าน 4 ประการ • ตัวเองเป็นครูที่ดีที่สุด • มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และไม่โยนความผิดให้ผู้อื่น • เรียนรู้สิ่งต่างๆ ตามความต้องการเพื่อเสริมสร้างโลกทัศน์ให้กว้างขึ้นเสมอ • ความเข้าใจอย่างแท้จริงมาจากประสบการณ์ที่ผ่านมาและสามารถสะท้อนให้เห็นตัวเอง มีคำกล่าวที่ว่า “การค้นหาคำตอบที่ถูกต้องชัดเจน มาจากคำถามที่ตรงประเด็นในเวลาที่เหมาะสม” การเดินทางสู่การค้นพบทั้งหมดตั้งอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ยังต้องการให้ผู้อื่นให้คำแนะนำและการพูดโต้ตอบกลับกับบุคคลที่มีคุณค่าเหล่านั้น ผลที่ได้รับทำให้เห็นภาพสะท้อนตัวเรา คนจำนวนมากต้องผิดหวังกับชีวิตการแต่งงานและการหย่าร้างปัญหาของแต่ละคนที่เกิดขึ้น ควรต้องผลักดันให้คนรู้จักการเริ่มต้นใหม่ บางทีอาจจะเป็นครั้งแรกที่ให้เขาย้อนมองดูชีวิต ประสบการณ์ที่ล้มเหลว สิ่งเหล่านี้อยู่เหนือคำอธิบายใดๆ การศึกษาผู้ชาย ผู้หญิงและพยายามทำความเข้าใจ คนที่ไม่เคยเรียนรู้ก็ไม่สามารถก้าวเพื่ออนาคตข้างหน้าได้ คนที่จะเป็นผู้นำที่ดีจำเป็นต้องกล้าตัดสินใจเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ด้วยตัวเอง และพวกเขาจะต้องเข้าใจในจุดที่สำคัญ และค้นพบสิ่งเหล่านั้นได้จากการเรียนรู้ และควรพยายามจะลองทำในสิ่งอื่นๆอีกที่ไม่คิดว่าจะทำได้ จะทำให้สามารถเปลี่ยนตัวเองเป็นผู้นำที่ดีได้ โดยที่ไม่ต้องไปเรียนที่ไหน ถ้าเปรียบเทียบอาหาร Fast food เหมือนกับการสร้างการเป็นผู้นำเอาคนใส่ในไมโครเวฟแล้วกดออกมาเป็นผู้นำ McDonald ในเรื่องจริงมันไม่สามารถเป็นไปได้เลย ผู้นำที่ดีจริงๆ ต้องเกิดการพัฒนาขึ้นจากตัวเอง ไม่ได้มาจากวางแผนที่จะเรียนหนักแต่มาจากความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดจากตนเองต่างหาก ยังมีอีกความหมายหนึ่งของคำว่า bricoleurs นักประดิษฐ์คิดค้น หรือช่างซ่อม คือผู้ที่สามารถรวมสิ่งต่างๆที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกันและสามารถเชื่อมโยงสิ่งต่างๆเข้าหากันและแก้ปัญหาได้ แต่อย่างไรก็ตาม bricoleurs ก็รับสมัครผู้นำที่ดีด้วยเช่นกัน สามารถอธิบายได้ดีถึงภาวการณ์เป็นผู้นำที่เก่งได้จากองค์กรที่กำลังจะหมดหวังหลายๆแห่ง ผู้บริหารจะทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถที่สุดจากความสามารถของพวกเขาเลยทีเดียว Dialogue Starters 1. Definition Exercise: แบบทดสอบการให้คำจำกัดความ บอกลักษณะเฉพาะของการเป็นผู้นำในตัวคุณที่เหมือนกับผู้นำที่คุณชื่นชม และภาวะผู้นำที่ได้มาจากประสบการณ์ของคุณ คุณบอกได้ไหมว่าจุดเล็กๆ ที่สามารถสร้างลักษณะเฉพาะในตัวคุณ เกิดขึ้นมาได้จากสถานการณ์ในช่วงไหนของชีวิตคุณ 2. What – if Discussion: การอภิปราย วิเคราะห์ว่า อะไรจะเกิดขึ้นถ้าหากคุณนั่งตำแหน่งบริหารสูงสุดของบริษัท และดำเนินรอยตามทุกขั้นตอนของ Martin Kaplan คุณได้อะไรจากการเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำ ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน สามารถให้คุณมองคนได้อย่างถ่องแท้ สิ่งที่คุณควรให้ความสำคัญก่อนหลัง ความอึดอัดจากความล้มเหลว ซึ่งคุณสามารถพิจารณานำไปใช้กับบริษัทของคุณได้ สรุป…แง่มุมด้าน คน ของความเป็นผู้นำ คุณสมบัติของการเป็นผู้นำนั้นถ้ามีกรณีถกเถียงหรือโต้แย้งใดๆก็ตาม เราควรจะหยุด คิด นิ่ง หรือระงับอารมณ์ อารมณ์ต่างๆซึ่งซ่อนอยู่ภายใน เพราะว่าโดยสัญชาตญาณของมนุษย์เมื่อโกรธหรือไม่พอใจในเรื่องใดๆก็จะโต้เถียงหรือระเบิดอารมณ์ออกมาในทันที การเป็นผู้นำที่ดีนั้นควรระมัดระวังเรื่องการปะทะกันด้านของอารมณ์ ไม่ควรหุนหันพลันแล่นหรือวู่วามในการตัดสินใจที่จะแก้ปัญหาภายใต้แรงกดดันของทุกฝ่าย ควรที่จะเก็บอารมณ์ให้นิ่งแล้วถอยออกมาสักก้าวหนึ่ง เพื่อที่จะได้ประเมินสถานการณ์ ของปัญหานั้นได้ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องตัดสินใจด้วยอารมณ์ในทันที โดยการปล่อยให้ฝ่ายตรงข้ามได้ระเบิดปัญหาหรือความขัดแย้งออกมามากๆเราจะได้มองเห็นตัวตนของเขาได้อย่างลึกซึ้ง (รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง ) ในที่สุดเราก็จะสามารถ มองเห็นผลลัพท์ของความแตกต่างระหว่างการป็นคนที่มีมุมมองโลกในแง่บวก คิดในด้านดี กับการที่เอาแต่ใจตั้งตนเป็นใหญ่ แต่เพียงฝ่ายเดียวแบบไหนได้ประโยชน์สูงสุด ผลลัพท์ที่ว่านั้นก็คือถ้าเราตั้งสติให้มั่น ปัญญาก็จะเกิดแก่ตัวเราเท่านั้นแล้วก็จะทำให้เรา อ่านเกมหรือมองกลยุทธ์ของฝ่ายตรงข้าม ได้อย่าทะลุทะลวงเป็นเหตุให้เรากลายเป็นผู้นำ ซึ่งเปี่ยมด้วยปัญญา แก้ไขปัญหา ด้วยความรอบคอบ โอกาสที่จะผิดพลาดก็น้อย ( ผู้ชนะ ) ดังนั้นผู้นำจึงต้องสื่อสารมุมมองความคิดและวิสัยทัศน์ของตนไปยังผู้ที่อยู่รอบตัวสามารถทำให้เป็นจริงได้ กระตุ้นและโน้มน้าวให้บุคคลเข้าร่วมกับอุดมการณ์ ต้องมีความตระหนักรู้ตนเองหรือรู้จักตนเข้าใจตัวเองและอยากจะพัฒนาตนเอง จึงจะเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จมีคุณค่า ผู้นำควรรู้จักปรับปรุงตนเองก่อนที่จะพัฒนาผู้อื่น การค้นพบตนเองสามารถเป็นจุดเริ่มต้นที่จะชี้ให้เห็นถึงการสร้างทัศนคติในเชิงบวก ทราบถึงวิธีที่จะสร้างการมองตนเองโดยการเสริมสร้างจุดแข็งของตนเอง กล้าคิด กล้าทำและกล้าตัดสินใจ ทราบความต้องการขององค์กรและความคาดหวังที่องค์กรรวมถึงทำให้เกิดการประเมินเสียงสะท้อน จากทุกคนเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขสู่ความเป็นเลิศ ทั้งยังช่วยสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรก้าวไปสู่เป้าหมายได้อย่างยอดเยี่ยม

อืมดีจังค่ะ เป็นการทบทวนของตัวเองด้วย ขอบคุณที่ทำสิ่งดีๆให้ค่ะ เป็นประโยชน์เพื่อส่วนรวมมากๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท