ประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางการขับเคลื่อนขบวนองค์กรชุมชนสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุข


ทุกถิ่นที่มีสมเด็จพระนเรศวรหรือให้ถูกยิ่งกว่าคือมีตัวตนในประวัติศาสตร์ของผู้นำอย่างบ้านบาง ระจันอยู่ทั้งนั้น การสืบทอดความเป็นมาและการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยคือความรู้ที่จะก่อเกิดสำนึกรักในถิ่นซึ่งมีความสำคัญสูงสุดในการเคลื่อนงานระยะยาว

ประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางการขับเคลื่อนขบวนองค์กรชุมชนสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุข

วันที่26ก.พ.2550 ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช(ไสใหญ่) จังหวัดนครศรีธรรมราช

มีการหารือกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งผมได้บันทึกไว้ในแบบจำลอง จตุคามรามเทพแล้ว สำหรับการแบ่งกลุ่มย่อย ทีมงานได้นัดทีมวิทยากรกระบวนการประจำกลุ่มย่อยหารือกันเมื่อวันที่21ก.พ.ที่ผ่านมา สรุปว่าจะมีทั้งหมด8กลุ่มในส่วนของพื้นที่และ1กลุ่มภาคีสนับสนุน โดยที่แต่ละกลุ่มจะมีวิทยากรกระบวนการ2คนมีคุณลิขิตประจำกลุ่มๆละ1คน เพื่อสรุปประเด็นส่งให้ทีมกลางซึ่งได้มอบหมายให้ผมเป็นผู้สรุปสังเคราะห์การประชุมในภาพรวมตอนท้ายรายการ ประเด็นหารือในกลุ่มย่อยเท่าที่ทราบคือให้ผู้เข้าร่วมทำแบบสำรวจข้อมูลกลุ่มองค์กรในตำบล เล่าการดำเนินงานของชุมชนที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน และเมื่อได้รับทราบข้อมูลจากเวทีแล้ว ทีมงานของตำบลที่เข้าร่วมในวันนี้คิดจะกลับไปดำเนินการอย่างไรบ้าง?

ถ้าจะเตรียมความคิดสำหรับคนที่ต้องทำหน้าที่สรุปการประชุมตอนท้ายรายการก็ต้องทราบความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการประชุม ผมรู้สึกว่า กรณีนี้คล้ายคลึงกับการทำโครงการKMของจังหวัดที่ลงไปดำเนินการในหมู่บ้าน คือ ในพื้นที่มีการทำแผนชุมชนอยู่ก่อนแล้ว โครงการKMต้องการทำอย่างเป็นระบบโดยมีการเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่องทั้งขบวน เช่นเดียวกับเป้าหมายของโครงการซึ่งเป็นที่มาของการประชุมในครั้งนี้คือ ภาคีสนับสนุนนำโดยสกว. สสส. พม. และอื่นๆต้องการสนับสนุนให้หน่วยจัดการระดับจังหวัดมีการบูรณาการการทำงานร่วมกัน สิ่งที่ต้องการคือ1)กลไกในการประสานจัดการที่เชื่อมโยงขบวนชุมชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และวิชาการเข้ามาทำงานร่วมกัน 2)ใช้แผนแม่บทชุมชนเป็นกระบวนการเรียนรู้และยกระดับเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการท้องถิ่นทั้งระดับตำบล อำเภอและจังหวัด 3)การเคลื่อนขบวนการจัดสวัสดิการชุมชนบนฐานการจัดการขององค์กรชุมชนในระดับตำบลซึ่งมีเป้าหมายนำร่องตามจำนวนตำบลที่เชิญเข้าร่วมประชุม (ซึ่งเป็นหน้างานของพม.)

ที่ผมเห็นว่าคล้ายคลึงกับโครงการKMที่ลงไปทำในชุมชนก็คือ เป้าหมายที่ภาคีสนับสนุนต้องการนั้นเป็นสิ่งที่จังหวัดนครศรีธรรมราชกำลังดำเนินการอยู่พอดี จึงเป็นเรื่องเดียวกันที่น่าจะไปได้ดี

ในงานวิจัย การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน ที่ผมกับคณะร่วมกันทำจนสำเร็จได้รับเลือกให้เป็นผลงานวิจัยเด่น1ใน19โครงการจากจำนวน1,000กว่าโครงการของสกว.ในปี2549 มีข้อสรุปและข้อเสนอแนะที่สอดคล้องกับการเคลื่อนขบวนในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง

ข้อเสนอแแนะจากงานวิจัยคือใช้ตัวแบบของนครศรีธรรมราชที่ดำเนินการภายใต้ชื่อ เสริมสร้างกระบวนการชุมชนเข้มแข็งอย่างสมบูรณ์และยั่งยืนซึ่งใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือในเชิงระบบโดยมุ่งเน้นที่หน่วยงานสนับสนุน ใช้แผนแม่บทชุมชนเป็นเครื่องมือในเชิงกระบวนการโดยมุ่งเน้นที่ขบวนชุมชน งานวิจัยเสนอให้จังหวัดบูรณาการหรือผู้ว่าซีอีโอในขณะนั้นและอปท.ทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานเชื่อมโยงagenda function และareaเข้าด้วยกันด้วย2เครื่องมือหลักดังกล่าว

โดยที่ในแผนแม่บทชุมชน ควรสนับสนุนให้เกิดแผนการเงินชุมชนที่มาจากการจัดตั้งกองบุญ/ สวัสดิการลดรายจ่ายวันละ1บาทขึ้นในระดับตำบล ตามตัวแบบของจังหวัดสงขลา

งานวิจัยพบว่าจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลามีจุดเด่นของขบวนการทางสังคมที่ต่างกันและหากประสานพลังกันจะทำให้เกิดความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

สำหรับนักสังเกตการณ์อย่างผม ขบวนสัจจะลดรายจ่ายของครูชบที่ขับเคลื่อนโดยสมาคมสวัสดิการภาคประชาชนสงขลาเป็นขบวนการทางสังคมที่ใช้ตัวกิจกรรมที่ง่าย ไม่สร้างความขัดแย้ง มีพลังในการประสานผู้คนเข้ามาร่วมมือกันเพื่อทำการใหญ่ที่ยากยิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป ในขณะที่ขบวนการแผนแม่บทชุมชน เป็นขบวนการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการระเบิดจากภายใน เกิดสำนึกและตระหนักในการพึ่งตนเองและพึ่งพากันซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก แต่หากทำได้ก็จะยั่งยืนกว่า

อย่างไรก็ตาม ผมเห็นด้วยกับพี่เล็กผู้นำเครือข่ายลำสินธิ์ พัทลุงที่เห็นว่าการเรียนรู้จากรากเหง้าหรือประวัติศาสตร์ชุมชนจะก่อเกิดพลังที่กล้าแกร่งยิ่งกว่า

ทุกถิ่นที่มีสมเด็จพระนเรศวรหรือให้ถูกยิ่งกว่าคือมีตัวตนในประวัติศาสตร์ของผู้นำอย่างบ้านบาง ระจันอยู่ทั้งนั้น การสืบทอดความเป็นมาและการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยคือความรู้ที่จะก่อเกิดสำนึกรักในถิ่นซึ่งมีความสำคัญสูงสุดในการเคลื่อนงานระยะยาว

(ว่าจะเตรียมความคิดสำหรับการประชุมวันพรุ่งนี้ ไงไปออกเรื่องพระนเรศวร สงสัยเห็นหน้าลูกชายที่กลับมาจากดูหนังเรื่องสมเด็นพระนเรศวรกับเพื่อนๆ)

กำหนดการประชุม

9.00-9.15น. กล่าวเปิด/ต้อนรับโดยผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช

9.15-10.45น. อภิปรายแนวทางการดำเนินงานของภาคีการพัฒนาจากส่วนกลาง

10.45-11.00น. นำเสนอกรณีศึกษา"การจัดการข้อมูลครัวเรือนเพื่อใช้ในการบริหารจัดการชุมชนตำบลขอนหาด อำเภอชะอวด""

11.00-12.00น. ผู้ว่าราชการจังหวัดให้ข้อเสนอแนะต่อภาคีส่วนกลางและกรณีศึกษา และ

นำเสนอการดำเนินงานสนับสนุนชุมชนเข้มแข็งของจังหวัดนครศรีธรรมราช

12.00-13.00น. พักอาหารเที่ยง

13.00-14.00น. นำเสนอ 6 กรณีศึกษาการจัดสวัสดิการชุมชนบนฐานความรู้ขององค์กรชุมชน

-วิสาหกิจสู่สวัสดิการชุมชน

-พลิกฟื้นนาร้างสู่กองทุนสวัสิการภัยพิบัติ

-กองทุนที่ดินบ้านสระพัง

-กองทุนสวัสดิการตำบลจากฐานสัจจะวันละ1บาท

-เครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์วัดป่ายางสู่สวัสดิการชุมชนทั้งระบบ

-กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล

14.00-14.30น. บรรยายนโยบายการจัดสวัสดิการชุมชนของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยนายเอนก นาคะบุตร

14.30-16.00น. แบ่งกลุ่มย่อย2ฐาน

-กลุ่มปฏิบัติการเชิงพื้นที่แบ่งตามฐานโซน อำเภอ เสวนาในประเด็น

"การจัดสวัสดิการชุมชนโดยยึดพื้นที่ตำบลเป็นตัวตั้ง"

-กลุ่มภาคีสนับสนุน เสวนาในปประเด็น

"แนวทางความร่วมมือสนับสนุนความเข้มแข็งขบวนการพัฒนาภาคประชาชน"

16.00-16.30น. สรุป/สังเคราะห์ผลการประชุมโดยนายภีม ภคเมธาวี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

16.30น. ปิดการประชุมโดย ผู้แทนเครือข่ายขบวนภาคประชาชน

กลุ่มเป้าหมาย

จังหวัดนครศรีธรรมราช

-ส่วนราชการในจังหวัด(คุณเอื้อจังหวัด)

-นายอำเภอ(คุณเอื้ออำเภอ)

-นายกอบต.(คุณเอื้อตำบล)และผู้แทนตำบลละ2คนประมาณ65ตำบลนำร่องที่มีการดำเนินงานเรื่องสวัสดิการชุมชนอยู่ก่อนแล้ว

-สถาบันการศึกษา

ภาคีพัฒนาส่วนกลาง

สสส. สกว. พอช. ศอ.สส. พม. ธกส. ท้องถิ่น อื่นๆ

หมายเลขบันทึก: 80567เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2007 18:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นด้วยกับอาจารย์ภีมว่า  "ขบวนการแผนแม่บทชุมชน เป็นขบวนการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการระเบิดจากภายใน เกิดสำนึกและตระหนักในการพึ่งตนเองและพึ่งพากันซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก แต่หากทำได้ก็จะยั่งยืนกว่า"

งานยากอย่าง "แผนแม่บทชุมชน"   "การจัดการความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากร"ที่ลุ่มน้ำปะเหลียนของอาจารย์พิศิษฐ์   หรือแม้แต่งานสวนกระแสเรื่อง "ระบบแลกเปลี่ยนชุมชน" ที่ตัวเองกำลังสรุปอยู่ ต้องการทั้ง "การจัดการกิจกรรม" และ "การจัดการความรู้ ความคิด" ผ่านการทบทวนประวัติศาสตร์ของพื้นที่ที่เคยอุดมสมบูรณ์ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน หรือแม้แต่ต่อสู้กับภัยคุกคามภายนอกมาด้วยกัน (ทำนองเดียวกับพระนเรศวรหรือบ้านบางระจัน)

อาจารย์พิศิษฐ์เองก็บอกให้ฟังตอนเรานั่งเรือที่ตรังว่า "เราต้องใช้ประวัติศาสตร์เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นความเป็นตัวตนของชุมชน"  เมื่อนั้น คนเล็กคนน้อยจึงจะมีที่ยืน

อาจารย์พิศิษฐ์กับพี่เล็ก ลำสินธุ์ คิดตรงกันค่ะ

         พัชเป็นแฟนคลับของอ.ภีมกับครูนงเมืองคอนถ้าพอมีโอกาสเปิดมาอ่านก็จะติดตามใหม่กว่าจนครบทำให้ตัวเองได้เรียนรู้ไปด้วยเพราะนึกภาพออกและส่วนใหญ่ตัวเองก็จะอยู่ในบรรยากาศ/เหตุการณ์ของเรื่องด้วย แต่เป้นการอยู่เบื้องหลัง เสียมากกว่า  

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท